วิธีการแก้ไขภาวะไม่สมดุล
Share1. ตื่นนอนตอนเช้า
ให้ดื่มน้ำมาก ๆ จะเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาก็ได้ ที่ดื่มแล้าเรารู้สึกสบาย (ไม่ต้องไปยึดเอาตามทฤษฎีเป็นหลักตายตัว
แต่ให้เอาผลที่เกิดกับร่างกายเราเป็นหลัก โดยเอาทฤษฎีเป็นตัวประกอบ) บางคนที่ดื่มน้ำอุ่นแล้วรู้สึกสบายตัว ก็ให้ดื่มน้ำอุ่น ส่วนบางคน
ดื่มน้ำธรรมดาแล้วรู้สึกสบายตัีว ก็ให้ดื่มน้ำธรรมดา ถ้าสามารถดื่มน้ำปัสสาวะได้ประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว เอาส่วนตรงกลาง ส่วนท้ายเราก็
ไม่เอา การดื่มน้ำปัสสาวะจะช่วยให้เราเช็คโรคของเาได้ด้วย ซึ่งระบบวิทยาศาตร์์ของแพทย์ทางเลือก ได้ทำสถิติเอาไว้ว่า รัสปัสสาวะออก
มาแต่ละรสจะมีแนวโน้มสัมพันธ์กับความเืสื่อมของแต่ละอวัยวะ ดังต่อไปนี้
การดื่มปัสสาวะควรดื่มตอนเช้าหลังตื่นนอน ปริมาณประมาณครึ่งถึงหนึ่งแก้ว (ประมาณ 100 - 200 ซีซี) แต่ถ้ารสปัสสาวะจัดมาก
เ่ช่น เค็มมาก ขมมาก เปรี้ยวมาก เป็นต้น อย่าดื่มเยอะ ให้ดื่มไปประมาณ 1 - 2 ช้อนโต๊ะ แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ถ้าเราดื่มปัสสาวะ
ที่รสจัดมากไตเราจะเสีย ดังนั้นต้องเจือจางก่อนหรือดื่มแต่น้อยแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ แต่ถ้าปัสสาวะรสจืดเราสามารถดื่มปริมาณมากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัสสาวะ คือ ในปัสสาวะมีสารอินเตอร์โฟรอลเป็นสารช่วยต้านมะเร็ง และน้ำปัสสาวะเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่
ต้องการจึงขับออก เมื่อเราดื่มเข้าไป ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวไล่กิน ปัสสาวะที่เรา
ดื่มเข้าไป ซึ่งกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่กินเชื้อโรค กินมะเร็งและกินสิ่งที่แปลกปลอมในร่างกายอยู่แล้ว
เขาไม่ได้กินเฉพาะปัสสาวะเท่านั้น แต่จะไล่กินสิ่งที่เป็นพิษกับร่างกายตัวอื่น ๆ ด้วย ร่างกายจึงมีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น เป็นเหมือนกับ
กรณีที่หมอฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ก็จะใช้วิธีฉีดพิษอ่อน ๆ ของเชื้อโรคเข้าสุ่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้่ร่างกายผลิต
เม็ดเลือดขาวมากินเชื้อโรคก มาสลายพิษ จึงเกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกายสำหรับผุ้ที่เป็นโรคกตาแดง ข้าพเจ้าพบว่ายาที่รักษาโรคตาแดงได้ดีที่สุด คือ ปัสสาวะใช้หยอดเลย ข้าพเจ้าเองนั้น ใช้หยอดตาตัวเอง
แทบทุกวัน หลังจากดื่มเหลือไว้นิดหน่อย เอาไว้หยอดใ่ส่ตา เป็นการถอนพิษออกทางตา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าไม่ต้องใส่แว่น
เลย ทั้ง ๆ ที่อ่านหนังสือมาก และการหยอดทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงที่ตาแดงระบาด เราก็จะไม่เ็ป็นตาแดงเลย ข้าพเจ้าพบว่าผู้ป่วยที่เป็น
ตาแดงส่วนใหญ่ หลังจากที่หยอดปัสสาวะต่อเนื่องแล้ว ก็จะหายภายใน 2 -3 วัน แต่ถ้าข้าพเจ้าจ่ายยาปฎิชีวนะ ยาหยอดตา - ป้ายตา และ
ยาแก้ปวด ส่วนใหญ๋ใช้เวลาประมาร 5 - 7 วัน จึงจะหาย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจทีเดียวอีกกรณีหนึ่งคือ หลังจากใช้คอมพิวเตอร์เสร็จมักจะเคืองตาหรือแสบตา ข้าพเจ้ามักใช้น้ำปัสสาวะหยอด ก็สามารถแก้ไข
อาการดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว ช่วง 1 - 10 วินาทีแรก จะแสบเล็กน้อย หลังจากนั้นจะรู้สึกเย็นสบาย มองดูสิ่งต่าง ๆ ได้แจ่มใส่
ชัดขึ้น (แต่ถ้าปัสสาวะรสเข้มจัด ควรเจือจาง) ถ้ามีบาดแผลก็ใช้น้ำปัสสาวะได้ แผลจะหายไวและบรรเทาอาการปวดแผลได้ดี
ใช้ล้างหน้าก็ได้ด้วย
2. ใช้น้ำมะนาวสามหยด
(จะใช้น้ำส้มควันไม้แทนมะนาวก็ได้) ใส่น้ำ 1 แ้ก้ว (ประมาณ 200 ซีซี) อมไว้ประมาณ 1 - 3 นาที แล้วบ้วนทิ้ง
ทำไปเรื่อย ๆ จนน้ำหมด 1 แก้ว วิธีนี้เป็นวิธีถอนร้อนพิษออกทางลิ้น ในขณะอมน้ำมะนา เราจะยืนหรือนั่งก็ได้ พร้อมกับนั้นก็ยกแขนแนบหู
แบมือ ความร้อนจะวิ่งออกจากหัวใจและตับ โดยระบายออกทางแขนและมือ ซึ่งจะเห็นว่าเ้้ส้นเลือดหดเล็กลง เหมือนฤดูหนาวอากาศเย็น
เส้นเลือดจะหดตัวมีครั้งหนึ่งข้าพเจ้ารับบรรยายมากเกิน มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนรู้สึกเหมือนบ้านหมุน ไม่มีแรงที่จะกดเส้นลมปราณตัวเอง จึงใช้วิธีียกแขน
แนบหู แบมือ หายใจลึก ๆ โดยหายใจเข้าทางจมูก แล้วผ่อนออกทางปากทำเหมือนถอนหายใจ อาการเริ่มดีขึ้นทันที อาการบ้านหมุนเริ่ม
ค่อย ๆ หยุดลง จากนั้นข้าพเจ้าเอาหญ้าปัักกิ่งและเอารางจืดมากิน อการดังกล่าวก็หาย ภายใน 10 นาทีกรณีที่ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกหรือท้องผูก ซึ่งแพทย์แผนไทยเรียกอาการดังกล่าวว่า ภาวะน้ำหย่อน ควรแก้ด้วยเปรี้ยวที่ออกฤทธิ์
เย็นหรือฤทธิ์กลาง และควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อแก้ไขอาการดังกล่าว โดยให้เอามะนาว 1 ลูก ใส่น้ำตาลประมาณ ครึ่งถึง 1 ช้อนแกง แล้วใส่
เกลือขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว เิติมน้ำ 1 แก้ว (ประมาณ 200 ซีซี) ดื่มในตอนเช้า ก็จะช่วยขับเคลื่อนน้ำและเติมน้ำให้กับร่างกาย จะใช้น้ำ
มะขามสุกที่เป็นมะขามเปรี้ยว 1 - 3 ฝัก แทนมะนาวก็ได้ (ถ้าเราดื่มแล้วรู้สึกชุ่มคอ) แต่ต้องระวังอย่ากินเปรี้ยวตอนที่มีอากาศร้อนจัด
จะทำให้เกิดภาวะร้อนมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ตามหลักการแพทย์แผนไทยแนะนำให้กินเปรี้ยวในช่วงเวลา 06.00 - 10.00 น. จะเหมาะ
กับร่างกาย เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการขับเคลื่อนน้ำ เช่น ขับพิษออกทางอุจจาระ - ปัสสาวะ และเป็นช่วงเหมาะที่จะเคลื่อนไหว
ร่างกาย ทำงานที่ใช้แรง เพื่อให้น้ำในร่างกายเคลื่อนตัว และการทำงานที่ใช้แรงในช่วงนี้จะมีน้ำคุ้มครองร่างกาย เหมือนรถยนต์ที่มีน้ำ
เต็มหม้อน้ำ เครื่องจะไม่ร้อนง่าย แต่ถ้าใช้แรงมาก ๆ ในช่วงอากาศร้อนหรือในช่วงที่ร่างกายมีน้ำน้อย เครื่องของร่างกายก็จะร้อนและ
ไหม้เอาได้ ถ้าเรารู้สึกคอแห้งในตอนเย็น ก็สามารถดื่มเปรี้ยวแก้ได้ต่อจากนั้นให้สวนล้าวลำไส้ใหญ่ (ดีท็อกซ์) เพราะจะช่วยถอนพิษร้อนที่ร่างกายส่งมาระบายออกทางลำไส้ได้อย่างดี (บางคนที่เ้ป็นไข้
ภายหลังจากที่ดีดีท็อกซ์ อาการไข้จะทุเลาลงทันที) จะใช้สมุนไพรอะไรก็ได้ เชน มะนาว มะขาม กาแฟ ฯลฯ ก็แล้่วแต่สภาพร่างกาย
ของแต่ละคน ไม่ต้องเอาทฤษฎีเป็นหลักเป็นหลักตายตัว แต่ให้สังเกตว่า เราใช้อะไรแล้วโปร่งโล่งสบายร่างกายเราดี ก็ให้ใช้ตัวนั้น
3. ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น
ในช่วงเวลาประมาณ 9.00 - 14.00 น. ให้เอาน้ำย่านาง 5-20 ใบ (ธาตุลมหรือไฟ ใช้ 5-10 ใบ ส่วนธาตุน้ำหรือดิน
ใช้ 10 - 20 ใบ) หรือจะใช้พืชอะไรก็ได้ที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักบุ้ง 1-2 กำืมือ ใบเตย 1-3 ใบ เสลดพังพอนตัวเมีย 10-20 ใบ ใบบัวบก 1 กำมือ
หรือผักฤทธิ์เย็นอื่น ๆ ที่ถูกกันกับเราและที่เรามี โขลกหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำ 1-3 แก้ว คั้นกรองเอาแต่น้ำแล้วดื่ม (จะกรองโดย
ใช้ผ้าหรือกระชอนก็ได้) สมุนไพรเหล่านี้จะช่วยถอนพิษร้อนได้เป็นอย่างดี ถ้าจะดื่มแต่เช้าเพื่อ ให้ฤทธิ์ของสมุนไพรเคลื่อนเข้ารักษา
เซลล์ได้อย่างดี อย่างสุขุม ควรบีบน้ำมะนาวครึ่งถึง 1 ลูก ใส่น้ำสมุนไพรด้วย อาจใช้ใบมะขาม 5-7 ยอดหรือก้าน (แทนน้ำมะนาว) ขยี้
หรือปั่นพร้อมพืชฤทธิ์เย็นก็ได้ แต่ช่วงเวลาที่อากาศร้อน ไม่ควรใส่รสเปรี้ยว
ถ้าผู้ป่วยมีภาวะเย็นแทรก เช่น บางคนที่มีอาการร้อนเกิน แล้วกินน้ำ้ั่คั้นพืชฤทธิ์เย็นแล้่วท้องอืด ให้ใช้ตะไคร้ 1 หัว ต้มกับน้ำ 1-3 แก้ว
ให้เดือด 10 นาที ทิ้งให้อุ่นหรือเย็น ใช้คั้นกับพืชฤทธิ์เย็นแทนการใช้น้ำเปล่า
4. ให้อาบน้ำเย็นธรรมดาหรือน้ำสมุนไพร
ในตอนเที่ยงและตอนเย็น (ถ้าทำได้) ซึ่งน้ำสมุนไพรนั้นทำได้โดยเอาใบมะขาม 1 กำ มือ
ตะไคร้ทุกส่วน 1 ต้น ต้มใส่น้ำ ประมาณ 3-5 ขัน ต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที นำไปผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นจัดพอทนได้สบาย แล้วอาบ
หลังจากที่อาบแล้ว ถ้าไม่สบายตัวให้รอประมาณ 10-20 นาที จึงไปอาบน้ำธรรมดาตาม แต่ถ้าสบายตัวดีแล้ว ก็ไม่ต้องอาบน้ำธรรมดา
ตาม ถ้ามีสมุนไพรอื่น ๆ เช่น ใบหนาด ใบเปล้า ใบส้มป่อย กระชาย ขมิ้น ไพล ใบมะกรูด ผลมะกรูด ฯลฯ จะใช้ผสมเพื่อต้มอาบด้วยก็ได้
แต่ตัวหลักคือใบมะขาม (รสเปรี้ยวช่วยชะล้างสิ่งสกปรกที่อุดตันผิวหนัง ทำให้การระบายพิษร้อนทางผิวหนังเป็นไปได้ดี) กับตะไคร้
(รสเผ็ดร้อนช่วยในการไหลเวียนเลือดลม ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ) หรือถ้าไม่มีสมุนไพรก็อาบน้ำอุ่นธรรมดาก็ได้สมุนไพรฤทธิ์ร้อนบางตัว ที่ใส่ลงไป เช่น ตะไคร้ ใบหนาด กระชาย ขมิ้น ไำพล ใบมะกรูด ก็อาจทำให้ร้อนที่ผิวหนังเรา เวลาอาบน้ำสมุนไพร
ก็ให้เราตัดออกได้ โดยเราใช้สมุนไพรรสเปรี้ยวอย่างเดียวก็พอ เมื่อเราทดลองอาบน้ำอุ่นหรือน้ำสมุนไพร แล้วในขณะที่อาบหรือเมื่อ
อาบเสร็จ รู้สึกไม่สบายตัว ให้ทดลอง 1-3 วัน ถ้าอาการไม่สบายตัว ยังเกิดขึ้นในลักษณะเดิมอีก ให้หยุดการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำสมุนไพร
แล้วให้อาบน้ำเย็นธรรมดาแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่อาบน้ำเย็นธรรมดา แล้วรู้สึกสดชื่น สบายตัว ก็ให้อาบน้ำเย็นธรรมดา โดย
ที่ไม่าต้องอาบน้ำอุ่นหรือน้ำสมุนไพรการอาบน้ำสมุนไพรเป็นเทคนิคการใช้ ร้อนดับร้อน (หยางดับหยาง) จะช่วยถอนพิษร้อนออก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อาบน้ำเย็น
ธรรมดาแล้วรู้สึกหนาวสบั้นสะท้านในร่างกายตอนเที่ยง ควรสระผมด้วย จะช่วยระบายความร้อนออกทางผิวหนังด้านศรีษะ ช่วงเที่ยง
เราจะร้อนหัวมากเลย เพราะเป็นช่วงไฟกำเริบเต็มที่ (ระบบวิทยาการแพทย์แผนไทย บอกไว้ว่า ช่วง 10.00 - 14.00 น. เป็นช่วงไฟกำเริบ
ซึ่งเกิดจากร่างกายเริ่มทำงานแต่เช้า ความร้อนในร่างกายจึงสะสมมาเรื่อย ๆ ประกอบกับความร้อนจากแสดงอาทิตย์ส่งมาโลกมาที่สุด
ในช่วงนี้) ถ้าเราสระผม ความร้อนจะถูกระบายออก เราก็จะรู้สึกเย็นสบาย ควรใช้ยาสระผมที่มีเคมีน้อยที่สุด จะใช้น้ำหมักชีวภาพ
ฤทธิ์เย็น หรือสมุนไพรสระผมก็ยิ่งดี สำหรับผุ้ที่ไม่มีเวลาอาบน้ำช่วงเที่ยงวันหรือช่วงที่มีอากาศร้อน ช่วงที่กำลังมีภาวะร้อนเกิน ก็
ควรใช้น้ำเย็นธรรมล้างหน้าหรือราดหัวต่อเนื่องกัน 5 - 10 นาที จะช่วยให้สดชื่นสบายตัวขึ้น หรือจะใช้ผ้าชุบน้ำเย็นให้เปียกพอหมาด ๆ
พันคอ พันบริเวณที่ภาวะร้อนเกินแสดงออก จะช่วยถอนพิษร้อนได้ดีอีกทางหนึ่ง
5. ถ้าตื่นมาปัสสาวะกลางคืน
ประมาณช่วงเที่ยงคืน ถึง ตี 2 ให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพราะการดื่มน้ำช่วงนี้ จะช่วงถอนพิษร้อน ไม่ต้องกลัีวว่า เราจะลูกปัสสาวะอีก
เพราะมักพบว่าจะไม่ลุกปัสสาวะมากกว่าเิดิม (ถ้าเราแก้ภาวะร้อนเกินได้ดี อาการลุกปัสสาวะกลางคืน ก็จะหายไป)
เืนื่องจากในช่วงนี้ ระบบวิทยาการแพทย์แผนไทย บอกไว้ว่า เป็นช่วงไฟกำเริบ ถ้าเราสังเกตจะพบว่าอาการต่าง ๆ ของภาวะร้อนเกิน
มักจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เชน ปวดหัว อ่อนเพลีย หายใจไม่ออก หัวใจวาย (ไหลตาย) เป็นต้น คนที่ลุกขึ้นมาปัสสาวะในช่วงนี้ เพื่อไม่ให้้
พิษร้อนทำร้ายร่างกาย ต้องถอนพิษโดยการดื่มน้ำมาก ๆ
6. ทาขี้ผึ้งฤทธิ์เย็น
เ้ช่น ขี้ผึ้งแก้หวัด ขึ้ผึ้งเสลดพังพอน น้ำมันเหลือง พิมเสมน้ำ วิค ฯลฯ ทาบริเวณที่ไม่สบาย เ่ช่น จุดที่ปวด ออกร้อน (ยกเว้นที่ตา)
ถ้าเราไม่มีขึ้ผึ้งก็ใช้มือชุบน้ำเปล่า ๆ ก็ได้ แต่ถ้ามีขึ้ผึ้งฤทธิ์เย็นก็ยิ่งดี ตัวอย่างการแก้ภาวะร้อนเกิน เช่น ถ้าใครสะอึกก็ให้ลูบที่
คอเบา ๆ อาการสะอึก ก็จะบรรเทาอย่างรวดเร็ว ซึ่งการแก้โดยดื่มน้ำลงไป ก็จะทำให้ร่างกายเย็นลง และหายสะอึกได้ แต่ถ้าเป็น
มาก ๆ การดื่มน้ำอย่างเดียวก็ไม่มีฤทธิ์มากพอในการถอนพิษร้อน การลูบคอโดยวิธีการดังกล่าวไปเรื่อย ๆ ก็จะช่วยเสริมให้อาการ
สะอึกหายเร็วยิ่งขึ้น
- กรณีตัวอย่าง มีอยู่วันหนึ่ง คุณดินหอม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอบรมสวนส่างฝัน มีอาการสะอึกทำอย่างไรก็ไม่หาย ข้าพเจ้าแนะนำ
ให้ใช้มือเขี่ยคอเบา ๆ ไม่ถึง 5 นาที อาการสะอึกก็หายไป
- สำหรับขี้ผึ้งที่ห้ามใช้ในกลุ่มร้อน คือ ขี้ผึ้งน้ำมันระกำ ขี้ผึ้งมันไพล ขึ้ผึ้งน้ำมัีนงา ซึ่งเป็นกลุ่มขี้ผึ้งร้อน ใช้สำหรับทาเท้าทามือที่เย็น
เอาไว้แก้อาการเย็น หรือแก้ในส่วนที่ภาวะร้อนเกินแล้วตีกลับเป็นเย็นเิกิน ขึ้ผึ้งที่หมอทั่วไป สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลจัดให้
จะมีทั้งฤทธิ์ร้อนและเย็น ดังนั้นต้องดูให้ดี ถ้ามีส่วนประกอบของน้ำมันระกำก็จะร้อน ถ้ามีส่วนประกอบของไดโคลฟิแนค ก็จะเย็น
- บางสถานการณ์สามารถใช้ึ้ขึ้ผึ้งฤทธิ์ร้อนถอนพิษร้อนได้ เช่น เดินจาริกธุดงค์ำำไกล ๆ แล้วเท้าร้อน สามารถใช้ึขึ้ผึ้งน้ำมันระกำ ทาที่
เท้าเพื่อถอนพิษร้อนได้ เ้่ท้าจะไม่พอง บางคถูกต่อต่อยแล้่วรีบใช้ขี้ผึ้งน้ำมันระกำทา ก็หายปวด หายบวมได้อย่างรวดเร็ว เป็นการ
ใช้ร้อนดับร้อนที่ได้ผลสำหรับคน ๆ นั้น ข้อพึงสังเกต ถ้าเราทาขึ้ผึ้งฤทธิ์ร้อนในอวัยวะที่ถูกพิษร้อนทำร้ายแล้วรู้สึกสบาย แสดงว่่า
ในกรณีนั้น ใช้ร้อนดับร้อนได้ แต่ถ้าใช้ร้อนดับร้อนไม่ได้ อาการจะแย่ลง ให้รีบแก้โดยใช้เย็นดับร้อน
7. ใช้สมุนไพรถอนพิษร้อน บางคนถูกกับสมุนไพรถอนพิษร้อนรสขม
ก็ใช้เฉพาะตัวที่ถูกกับเรา เชน ลูกใต้ใบ ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ใช้ประมาณครึ่งถึง 1 กำมือ เปลือกสะเดา
(เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างเปลือกแข็งกับแก่นใน ซึ่งจะมีรสขมฝาด) ยาวหนึ่งคืบอยู่กว้างหนึ่งข้อนิ้วมือ ต้มใส่น้ำประมาณ 3 แก้ว
เดือด 10 นาที ดื่มครั้งละครึ่งถึง 1 แก้ว 3 เวลา ก่อนอาหาร สมุนไพรรสขมนั้นมีฤทธ์ร้อน ดับร้อน แพทย์แผนไทยจึงถือว่า
รสขมเป็นยาเส้น การดูสมุนไพรรสขมว่าเป็นร้อนที่ดับร้อนได้ผล คือ อาการเจ็บป่วยจะทุเลาลง ภายใน 1-3 วัน แต่ถ้าใช้แล้ว
ไม่ถูกันจะมีอาการหนักขึ้นกว่าเดิมภายใน 1-3 วัน สมุนไพรรสขมตัวอื่น ๆ ก็เช่นกัน ก็จะมีฤทธฺ์เป็นร้อน ดับร้อน คือ ถอนพิษร้อนได้
แต่ถ้าดับร้อนไม่ได้ ก็จะตีกลับเป็นร้อนมากขึ้นต้องรีบหยุด เช่น ฟ้าทะลายโจร ส่วนใหญ่จะไม่ถูกกับ ธาตุไฟ
(คนที่เกิดประมาณเดือนมกราคม - มีนาคม) ยกเว้นบางคนที่เป็นธาตุไฟ แต่เป็นไฟเย็นก็กินได้ส่วนบางคนอาจถูกกับสมุนไพรถอนพิษร้อนรสจืดเย็น เช่น รางจืด ใช้ใบประมาณ 3-7 ใบ หรือ ใบเตย 3-5 ใบ ต้มใส่น้ำ ประมาณ
3-5 แก้ว ให้เดือดประมาณ 10 นาที ดื่มครั้งละครึ่งถึงหนึ่งแก้ว สามเวลาก่อนอาหาร หรือจะใช้หญ้าปักกิ่งกินเคี้ยวกินก็จะช่วยถอนพิษ
ได้ไว แก้เจ็บคอ ออกร้อนท้อง หูตึง ปวดหัว และอาการร้อนเกินอื่น ๆ ได้ดี ข้อพึงสังเกต คือ กินหญ้าาปักกิ่งหรือสมุนไพรถอนพิษร้อน
ตัวอื่น ๆ แล้วมีอาการยุบยิบ ๆ เหมือนไรไต่ คันเล็กน้อยแต่ไม่ใช่คันแบบผื่นขึ้น อาการดัีงกล่าวอาจเกิดขึ้นที่คอ ที่หูหรือส่วนอื่น ๆ ของ
ร่างกาย อย่าตกใจ เป็นอาการที่ดี แสดงถึงยากำลังขับพิษจากร่างกาย ออกทางบริเวณนั้น อาการดังกล่าวเป็นอาการที่ดี และถ้าเรา
ดูแลอย่างถูกต้องต่อเนื่องอีกไม่นาน อาการไม่สบายต่าง ๆ จะทุเลาลงการกินสมุนไพรนั้น อาจใช้วิธีต้มหรือกินสดหรือใช้เป็นลูกกลอน แคปซูลก็ได้ การกินสมุนไพรชนิดใดก็ตาม ถ้าถูกกันจะรู้สึกสดชื่น
กระปรี้กระเปร่า อาการเจ็บป่วยจะบรรเทาลงภายในหนึ่งวัน หรือไม่เกินสามวัน แต่ถ้ากินแล้วรู้สึกไม่สบายตัว ภายในสามวัน อาการ
ไม่ดีขึ้น ให้หยุดยาทัีนที การทดสอบสมุนไพรที่ดี ควรใช้ตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เพราะถ้าใช้หลายจัวพร้อม ๆ กัน เราจะแยกไม่ออกว่า
สมุนไพรตัวใดถูกหรือแสลงกับเรา และแต่ละคนก็ควรค้นหาว่า ตนเองถูกกับสมุนไพรตัวใด บางคนอาจถูกกับตัวใดตัวหนึ่ง หรือ
อาจจะถูกกับสมุนไพรหลายตัวก็ได้ เช่น บางคนใช้บอระเพ็ดก็ได้ ใช้รางจืดก็ได้ ในกรณีนั้่น ข้าพเจ้าจะถูกกับสมุนไพรแตกต่างกันไป
เช่น- ธาตุไฟ (คนเกิดในช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค.) ที่มีลักษณะขี้ร้อน รูปร่างมักผอม (มีส่วนน้อยที่รูปร่างอ้วน) ทำงานที่ต้องใช้สมอง ความคิด
หรือใช้ข้อมูลได้ดี ส่วนงานที่ต้องใช้แรงมาก ๆ มักทำได้ไม่ค่อยทน ส่วนใหญ่จะถูกกับบอระเพ็ด ลูกใต้ใบ- ธาตุไฟผสมลม (คนเกิดในช่วงเดือน มี.ค. -- เม.ย.) เป็นคนที่เมื่ออาการร้อนก็จะรู้สึกร้อนมาก อากาศหนาวก็จะรู้สึกหนาวมาก รูปร่าง
มักผอมบาง (มีส่วนน้อยที่รูปร่างอ้วน) ทำงานที่ต้องใช้สมอง ความคิดหรือใช้ข้อมูลได้ดี ส่วนงานที่ต้องใช้แรงมาก ๆ มักทำได้ไม่ค่ิอยทน
ในคนธาตุนี้ที่เป็นคนขี้หนาว คือ มักทนอากาศร้อนได้มากกว่าเย็น ส่วนใหญ่จะถูกกับรางจืด ส่วนที่เป็นคนขึ้ร้อน มักทนอากาศเย็นได้มาก
กว่าร้อน ส่วนใหญ่ถูกับบอระเพ็ด ลูกใต้ใบ- ธาตุลม (คนเกิดในช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย.) เป็นคนที่มีลักษณะเป็นคนขี้หนาว รูปร่างมักผอมบาง (มีส่วนน้อยที่่รูปร่างอ้วน) กระดูกมัก
หลวม มักชอบพูด ทำงานที่ต้่องใช้สมอง ความคิดหรือใช้ข้อมูลได้ดี ส่วนงานที่ต้องใช้แรงมาก ๆ มักทำได้ไม่ค่อยทน ส่วนใหญ่จะถูกกับ
รางจืด ที่เจือจาง ไม่เข้มข้น สมุนไพรตัวอื่น ๆ ทีเจือจาง หรือตัวยาไม่แรงมาก- ธาตุลมผสมน้ำ (คนเกิดในช่วงเดือน มิ.ย. - ก.ค.) ที่มีลักษณะอาจขี้หนาวหรือขี้ร้อนก็ได้ รูปร่างมักสมส่วน จะทำงานหนักหรืองานใช้
สมองก็ทำได้ดี ในคนที่ขี้หนาว คือ มักทนอากาศร้อนได้มากกว่าเย็น ส่วนใหญ่จะถูกกับรางจืด ส่วนที่เป็นคนขี้ร้อน คือ มักทนอากาศเย็น
ได้มากกว่าร้อน ส่วนใหญ่ถูกกับบอระเพ้ด ลูกใต้ใบ)- ธาตุน้ำ (คนเกิดในช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย.) ที่มีลักษณะอาจขี้หนาว หรือขี้ร้อนก็ได้ โดยส่วนใหญ่มักขี้หนาว รูปร่างมักสมส่วน ผิวพรรณดู
มีน้ำมีนวล ทำงานที่ต้องใช้สมองหรือความคิดมาก ๆ ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยชองงานที่ต้องใช้สมองหรือความคิดมาก ๆ ส่วนใหญ่จะถูกกับ
รางจืด ฟ้าทะลายโจร สำหรับบางคนที่ขี้ร้อน มักถูกกับบอะเพ็ด ลูกใต้ใบ- ธาตุดิน (คนเกิดในช่วงเดือน ต.ค. - ธ.ค.) ที่มีลักษณะเป็นคนขี้หน่าว รูปร่างมักล้ำสัน ทำงานที่ต้องใช้แรงมาก ๆ ได้ดี
ทำงานได้ทนมักไม่ค่อยชอบงานที่ต้องใช้สมองหรือความคิดมาก ๆ ส่วนใหญ่จะถูกกับฟ้าทะลายโจร บางคนก็ถูกกับบอระเพ็ดและรางจืดด้วย- ธาตุดินผสมไฟ (คนเกิดในช่วงเดือน ธ.ค. - ม.ค.) ที่มีลักษณะขี้ร้อน รูปร่างมักสมส่วน ไม่อ้วนไม่ผอมเกินไป ทำงานทน จะทำงานหนัก
หรืองานใช้สมอง แล้วกินรางจืดก็ยังไม่หาย ให้ใช้รางจืดบอระเพ็ด และฟ้าทะลายโจร 3 ตัวรวมกันส่วนสมุนไพรย่านาง หญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา) เบญจรงค์ (อ่อมแซ๊บ) เหงือกปลาหมอ มักใช้ได้กับทุกธาตุ แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่ถูกตามคน
ส่วนใหญ่ก็ได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรตัวใดกับเรา ต้องสังเกตอาการว่าทุเลาลงภายใน 1-3 วันหรือไม่ ถ้าไม่ทุเลาแสดงว่าไม่ถูกกัน ให้รีบหยุด
แล้วค้นหาสมุนไพรตัวใหม่แทน
8. อาหารที่ควรกินและของแสลง
ในกลุ่มที่มีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
(อาหารแสลงในที่นี้ หมายถึง อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หรือ ถ้าอดไม่ได้จริง ๆ กินได้เล็กน้อยในช่วงอากาศเย็น ถ้าจะใช้เป็นศิลปะในการรักษาโรค อาจใช้ผสมได้ในสัดส่วนที่เล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่ถูกกันหรือที่ควรกิน เพื่อให้เกิดความกลมกล่อม สุขุมอันจะไม่ทำให้อาหารที่ถูกหลักเป็นส่วนใหญ่นั้น กระแทกหรือระคายเคือง วิธีการนี้ต้องใช้ศิลปะอย่างยิ่ง ที่จะไม่ทำให้อาหารแสลงทำร้ายร่างกาย ซ้ำยังให้ก่อประโยชน์กับร่างกายด้วย)
อาหารที่ควรกิน ของแสลงข้าวที่ควรกิน ควรกินข้้าวกล้องเหลือง แต่ถ้ายังมีภาวะร้อนเกินอยู่ก็ให้กินข้าวซ้อมมือแทน เพราะข้าวซ้อมมือร้อนน้อยกว่าข้าวกล้อง (เนื่องจากในข้าวกล้องมีไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ มากกว่าข้าวชนิดอื่น ๆ ซึ่งสารดังกล่าวจะกระตุ้นขบวนการผลิตพลังงานของร่างกาย ส่วนข้าวและแป้งชนิดอื่น ๆ จะถูกขัดสารอาหารดังกล่าวออก จึงร้อนน้อยกว่าข้าวกล้อง) ถ้ามีภาวะร้อนเกินมาก ๆ จนไม่สามารถกินข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือได้ ก้ให้กินข้าวขาว เพราะข้าวขาวร้อนน้อยกว่าข้าวซ้อมมือ แต่ถ้ากินข้าวขาวแล้ว ก็ยังรู้สึกว่าภาวะร้อนเกินเป็นมากขึ้นอยู่อีก ก็ควรกินแป้งที่ทำเป็นเส้นแทนข้าว เช่น เส้นถั่วเขีียว เส้นหมี่ เส้นก๊วยเตี๋ยว (ที่ไม่มีน้ำมันปนหรือลวกล้างเอาน้ำมันออกจนเหลือน้ำมันติดเส้นน้อยที่สุด) เพราะเส้นแป้งจะร้อนน้อยกว่าข้าวขาว
เทคนิคการปรับเปลี่ยนจากเส้นแป้งเป็นข้าว เราจะเริ่มกินข้าวแทนเส้นแป้งก็ต่อเมื่อเรารู้สึกว่า กินเส้นแป้งแล้วไม่อยู่ท้อง (หิวง่ายและเวลาหิวก็จะรู้สึกระโหยอ่อนแรง) ประกอบกับภาวะร้อนทุเลาจนกินข้าวได้ โดยที่ไม่มีอาหารร้อนเกินกำเริบ เพราะถ้ากินเ้ส้นแป้งนานเกิน ก็จะเกิดภาวะเย็นเิกินและสามารถตีกลับเป็นร้อนได้อีก อาการท้องผูกก็จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากเส้นแป้งไม่มีกากเส้นใย (ไฟเบอร์) ที่จะช่วยขับถ่าย การปรับเปลี่ยนชนิดของคาร์โบไฮเดรท ให้เริ่มจากกินข้าวขาว ต่อมาก็เป็นข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องตามลำดับ โดยลดปริมาณคาร์โบไฮเดรทชุดเดิมลงเล็กน้อยแล้วค่อย ๆ ผสมข้าวตามลำดับดังกล่าวเข้าไปแทน ในปริมาณที่ไม่ทำให้อาการภาวะร้อนเกินเกิดขึ้น เช่น เริ่มลดปริมาณเส้นแป้งลงแล้วเติมข้าวขาวลงไปแทน วันต่อ ๆ มาก็ลดเส้นแป้งลงเรื่อย ๆ แล้วเิติมข้าวขาวมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อสามารถหยุดการกินเส้นแป้ง จนสามารถกินข้าวซ้อมมือได้โดยไม่ภาวะร้อนเกินกำเริบ ก็ขยับขึ้นมากินข้าวกล้องโดยทำในลักษณะเดียวกันกับการปรับเปลี่ยนจากเส้นแป้งมาเป็นข้าวขาว และจากข้าวขาวมาเป็นข้าวซ้อมมือ สาเหตุที่เราต้องขยับขึ้นมากินข้าวซ้อมมือและข้าวกล้อง เพราะเมื่อร่างกายเราแข็งแรงดีแล้ว ก็จะสามารถทนใช้พลังงานและระบายพลังงานจากข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องได้ ซึ่งจะทำให้่ร่างกายแข็งแรงกว่าการกินข้าวขาวและเส้นแป้ง
ข้าวที่แสลง สำหรับคนที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน จะไม่สามารถทน ไม่สามารถใช้ และไม่สามารถระบายพลังงาน จากข้าวซ้อมมือและข้าวกล้องได้ ซึ่งถ้ากินข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้องเข้าไป อาการไม่สายก็จะเป็นมากยิ่งขึ้น เราควรปรับการกินคาร์โบไฮเดรทแต่ละประเภท ตามสภาพร่างกายปัจจุบันและสภาพอากาศ เ่ช่น คนที่ภาวะร้อนเกินมาก ก็ควรกินคาร์โบไฮเดรทที่มีฤทธิ์ร้อนมากขึ้น ถ้าเป็นคนสภาพร่างกายปกติฤดูหนาวควรกินข้าวกล้อง ฤดูร้อนควรกินข้าวซ้อมมือ และในคนที่มีภาวะร้อนเิกินนั้น สิ่งที่ควรจะทำเกี่ยวกับอาหาร คือ กินผักฤทธิ์เย็นให้มากขึ้น ควรลดปริมาณมากจะทำให้เกิดภาวะร้อนเิกินได้
อาหารแสลงกลุ่มคาร์โบไฮเดรทที่มีฤทธิ์ร้อนมาก เชน ขนมปังข้าวเหนียวทั้งที่ทำเป็นข้าวกล้องและข้าวขาว ข้าวสีดำ (ข้าวก่ำ) ข้าวแดง ข้าวอาร์ซี เผือก มัน กลอย ฯลฯ
ผักที่ควรกิน ควรกินฤทธิ์เย็น เช่น มะละกอ ผักบุ้ง ตำลึง อ่อมแซล ก้านตรง ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า บวบ ฟักแฟง แตงต่าง ๆ สายบัว บัวบก มะเขือ อีหล่ำ ขุนศึก กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม (ผักสลัด) ผักกาดหัว (หัวไชเท้า) ฯลฯ
อาหารที่้ข้าพเจ้าใช้ได้ผลดีมากในกลุ่มที่มีภาวะร้อนเกิน คือ แกงอ่อมผักฤทธิ์เย็นใส่ย่านาง โดยทุบตะไคร้ใส่แทนพริก แกงจืดฟัก ส้มตำที่ไม่ใส่พริก หรืออาจใส่พริกครึ่งถึงหนึ่งเม็ด หรือใช้ตะไคร้แทนพริก ปรุงไม่เค็มมาก แล้วกินกับผักที่มีฤทธิ์เย็น มะละกอดิบจะมีฤทธิ์เย็น แต่ถ้าตำใส่สมุนไพรรสเผ็ดปริมาณที่มากพอและปรุงให้เค็มพอควร ก็จะมีฤทธิ์ร้อน จะเหมาะสำหรับกลุ่มที่มีภาวะเย็นเิกิน ตัวอย่างการใช้อาหารปรับสมดุลร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์ของพี่ประดิษฐ์ เป็นงูสวัดซึ่งเป็นอาการของภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ถอดรหัสร้อน โดยให้กินแกงจืดฟัก ให้กินถั่วเขียวต้มน้ำตาล (ใส่น้ำเยอะ ต้มแค่พอถั่วเขียวแตก อย่าให้เปื่อย ใส่น้ำตาลเล็กน้อย) อาการได้ทุเลาลงมาก ภายใน 2 วัน
ผักที่แสลง คือ ผักที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ฟักทอง คะน้า หน่อไม้ กะหล่ำปลี แครอท บีทรูท ถั่วฝักยาว ผักโขม ถั่วพู สาหร่ายทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และผักสมุนไพรรสเผ็ดร้อนอื่น ๆ ถั่วที่ควรกิน ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม (อีสานเรียกเห็ดบด)
ถั่วเหลืองและเห็ด มีความเป็นหยิน (เย็น) มาก ถ้าจะให้ดีควรผ่านพลังหยาง (ร้อน) ก่อนปรุง เพื่อเป็นการช่วยให้ย่อยง่ายและไม่ให้เกิดการตีกลับเป็นร้อนได้
ถั่วเหลือง แม้จะให้โปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ แต่ก็มีไฟเตต จึงจะกินได้ปลอดภัย เช่น การหมักเป็นเต้าเจี้ยว ซีอิ้ว มิโสะ โยเกิร์ต เต้าฮวย (มีน้ำขิงช่วย) ถ้าเป็นเต้าหู้แผ่น ควรต้มใส่สมุนไพรเผ็ดร้อนหรือเครื่องเทศก่อนนำมาปรุงอาหาร หรือกินคู่กับสมุนไพรเผ็ดร้อน ส่วนเต้าหู้น้ำ ถ้าระบบไฟย่อยเราดีกินแล้วท้องไม่อืดก็ไม่เป็นไร
เห็ด มีฤทธิ์เย็นมากกว่าถั่ว (ยกเว้นเห็ดหอมที่มีฤทธฺ์ร้อน) การนำมาผ่านพลังหยาง (ร้อน) ก่อนการประกอบอาหาร จะทำให้กินได้อย่างปลอดภัย เช่น ตากแห้ง หรือคั่วนำ้มันงา หรือย่าง หรือแกง ใส่สมุนไพรเผ็ดร้อน โดยใส่น้ำน้อย ๆ หรือทำเป็นน้ำพริกใส่สมุนไพรที่เผ็ดร้อนหรือทอดในน้ำมันแล้วหลังจากที่ยกออกจาก น้ำมันให้โรยเกลือใส่ทันที เพื่อดับพิษน้ำมัน แต่เวลากินให้เขี่ยเกลือออก แล้วกินฉพาะเห็ดเท่านั้น
ถั่วเขียว ทำเป็นถั่วเขียวต้มน้ำตาลกินก็ได้ แต่อย่าให้หวานมาก ให้ใส่หวานแค่เล็กน้อย ซึ่งจะช่วยถอนพิษร้อนได้อย่างดี หรือจะปรุงเป็นแบบน้ำพริกปลาก็ได้ (ภาษาอีสานเรียกป่นปลา) เพียงแต่ใช้ถั่วเขียวต้มแทนปลาก็จะได้อาหารถอนพิษร้อนอย่างดี ถั่วขาว ก็ทำกินเช่นเดียวกับถั่วเขียว
ถั่วที่แสลง ถั่วลิสง ถั่วดำ ถั่วแดงและเนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่และสัตว์ที่มีไขมันมาก เพราะมีความเป็นหยาง (ร้อน) มากเกิน อาหารที่ดีรสต้องไม่เค็มจัด เพราะเค็มเป็นหยาง (ร้อน) เราจะสังเกตว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต หมอจะสั่งห้ามไม่ให้กินเค็ม เพราะกินเค็มจะทำให้ความดันโลหิตขึ้น จะทำลายหัวใจและไต ร้อนจากเค็มมันจะเผาเรา ควรกินอาหารรสจืด ๆ หน่อย อย่าเค็มมาก เอาเค็มพอปะแล่ม ๆ หรือถ้าท่านต้องการตรวจตนเอง ในตอนเช้าให้ลองชิมปัสสาวะของตนเอง ถ้าปัสสาวะมีรสเค็มแสดงว่าวันนั้นกินเค็มเกินไป และการกินหวานจัด ก็จะทำให้ตีกลับเป็นร้อนได้ จึงควรงดอาหารหวานจัด อาหารที่ใช้น้ำมันหรืออาหารรสมันทุกชนิด เป็นอาหารแสลง เช่น ผัด ทอด รวมถึงเมล็ดฟักทอง (เพราะัร้อนมาก ๆ ) มะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดอัลมอนด์ กะทิ งา (ถ้าจะกินงา ควรกินงาสดหรืองาแช่ เพราะจะร้อนน้อยกว่างาคั่ว ในคนที่มีภาวะร้อนเกิน ถ้าจะกินงาคั่วก็ควรกินปริมาณเล็กน้อยไม่เกินครึ่งถึงหนึ่งช้อนชา ซึ่ง 5-7 วัน กินครั้งหนึ่งก็พอ) อาหารที่ปรุงโดยใช้น้ำมัน คนที่มีกำลังมีภาวะร้อนเกิน ไม่ควรกินเลย ผลไม้ควรกิน เป็นผลไม้กลุ่มเย็น เช่น มังคุด มะยม แตง สัปปะรด แตงโม กล้วยน้ำว้า กระท้อน ชมพู่ สมอไทย (อีสานเรียก หมากส้มมอ) มะม่วงดิบ มะขามดิบ ฯลฯ ผลไม้แสลง เป็นผลไม้กลุ่มร้อน ฝรั่ง ลิ้นจี่ ลำไย น้อยหน่า ขนุน ทุเรียน ส้มเขียวหวาน เงาะ กล้วยไข่ กระทกรก ลองกอง มะไฟ มะปราง ยอ มะเฟือง มะขามป้อม มะม่วงสุก ฯลฯ
ถ้าแก้อาการภาวะร้อนเกินด้วยอาหารและวิธีการอื่น ๆ แล้ว ถ้าัยังถอนพิษร้อนไม่ออก จะต้องไปแก้ลมปราณ ทั้งเส้นสมปราณไทยและลมปราณจีน รวมด้วยจึงจะได้ผล
1. ตื่นนอนตอนเช้า ดื่มน้ำมาก ๆ จะเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา
ก็ได้ ที่เราดื่มแล้วรู้สึกสบาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีภาวะเย็นเิกินมักจะถูกกับน้ำอุ่น การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยปรับสมดุลและขับพิษออกจากร่างกาย
ถ้าจะให้ดีควรดื่มน้ำปัสสาวะประมาณครึ่งถึง 1 แก้ว ก่อนดื่มน้ำก็ได้ แต่ถ้าปัสสาวะรสเข้มจัดให้กินเพียง 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ
การดื่มน้าำปัสสาวะจะช่วยปรับสมดุลและเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายต่อจากนั้นสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยน้ำตะไคร้ น้ำขมิ้นหรือน้ำกาแฟ ตามที่เรารู้สึกว่าใช้แล้วโปร่ง โล่งสบาย สดชื่น
2. ให้อมเกลือไว้ใต้ลิ้น
ปริมาณเกลือเท่ากับ 1 เมล็ดงา เพราะเกลือ เป็นพลังร้อน (พลังหยาง) ลิ้นเป็นจุดที่เชื่อมโยงลมปราณของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนปลายลิ้นนั้น
เป็นจุดเชื่อมโยงลมปราณหัวใจ ดังนั้นพลังร้อนของเกลือจะส่งผ่านตามเ้ส้นลมปราณ กระตุ้นให้ร่างกายอุ่นขึ้นทำการอมเกลือพร้อมกับการบริหารกายแบบการงด การก้ม เช่น ยืนก้มเอาเท้าแตะพื้นแล้วเงยขึ้น หรือหลังจากที่ตื่นขึ้นมา ก็นอนงอเข่า กอดเข่าไว้
กลิ้งไป-มา ทำ 5-10 ครั้ง เพราะการที่ทำให้ร่างกายก้ม พับงอ กำมือ และการห่อตัวเข้า จะช่วยเก็บรักษาความร้อนในร่างกาย สังเกตได้จากสัญชาตญาณ
ของคนและสัตว์ เวลารู้สึกหนาวเย็น ก็จะขดงอตัว เราจะรู้่สึกว่าร่างกายอุ่นขึ้น ส่วนเวลาที่เรามีภาวะอาการร้อนเกิน เช่น กำลังอ่อนเพลีย ปวดหัว ถ้าเรา
ก้มหัวลง หรือขดงอตัว ภาวะอาการร้อนเกินดังกล่าวก็จะเป็นหนักยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราทำร่างกายแบบเหยียดตรง แผ่ แบะออก เชิดหน้า แอ่นตัว ความร้อน
ก็จะวิ่งออกจากร่างกาย อาการของภาวะร้อนเกินก็จะเบาลงการออกกำลังกายก็ทำให้เกิดการเคลื่อนไหลเวียนเลือดลมและเกิดการส้างพลังงานในร่างกาย มีผลให้่ร่างกายร้อนขึ้น แต่ถ้าลมปรารณทะลุทะลวงดี
การออกกำลังกายที่พอเหมาะ จะช่วยปรับความสมดุลทั้งร้อนและเย็น คือ คนที่ร้อนก็ทำให้เย็นลง ส่วนคนที่เย็นก็ทำให้ร้อนขึ้นการฝึกหายใจเข้าออกเร็ว ๆ จะเกิดการเร่งผลิตพลังงานในร่างกาย หรือฝึกกลั้นลมหายใจ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะคั่ง ร่างกายก็จะพยายามสร้าง
พลังออกมาเพื่อก๊าซดังกล่าวออก จึงทำให้ร่างกายร้อนขึ้น
3. ให้กินสมุนไพรรสเปรี้ยวที่ออกฤทธิ์ร้อน
ช่วงประมาณ 16.00 น. - 10.00 น ระบาดวิทยาทางแพทย์แผนไทย เก็บข้อมูลเอาไว้ว่า เป็นช่วงน้ำกำเริบ คือ เป็นช่วงที่ร่างกายมีน้ำมาก
ดังนั้นในคนที่มีภาวะเย็นเกิน จึงควรช่วยขับเคลื่อนน้ำและสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย โดยให้กินสมุนไพร รสเปรี้ยวที่ออกฤทธิ์ร้อน
เช่น เสาวรส มะขามป้อม ฯลฯ หรือที่ออกฤทธิ์กลาง ๆ เช่น มะขามสุกที่รสเปรี้ยว ดอกกระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
4. อบสมุนไพรตอนเย็น
ประมาณไม่เกิน 15 นาที ขณะที่อบ ให้เอาน้ำเย็นธรรมดาลูบตัวตลอดเวลา หลังจากนั้นให้อาบน้ำ โดยเอาน้ำสมุนไพรที่ใช้อบมาผสมน้ำให้อุ่นจัด
ที่สามารถอาบได้สบาย เลือดลมจะไหลเวียนดี สมุนไพรตัวหลัก คือ ตะไคร้กับใบมะขาม ถ้ามีสมุนไพรตัวอื่น ๆ จะใส่เพิ่มก็ได้ เช่น ใบหนาด
ใบเปล้า ขมิ้น ไพลการอบถ้ารู้่สึกเพลียให้ออกมาทันที การอบนั้น ถ้าอบเพื่อถอนพิษร้อน ให้พอเหงื่อออกแล้วให้รีบหยุด เพราะกลไกลการถอนพิษร้อน จะเกิดขึ้น
ในการอบช่วงไม่เกิน 5 นาทีแรกของการอบเนื่องจากช่วงแรกที่ร่างกายถูกความร้อน กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายเส้นเลือดที่ผิวหนังจะขยาย ทำให้
ความร้อนที่อั้นอยู่ในร่างกายเคลื่อนระบายออกทางผิวหนัง แต่ภายหลังจาก 3-5 นาที ไปแล้วความร้อนจากตู้อบจะเริ่มเคลื่อนแผ่เข้าสู่ร่างกาย
ดังนั้นผู้ที่มีภาวะร้อนเกิน ถ้าอยู่นานก็จะรู้่สึกเพลีย ส่วนการอบแบบเพิ่มร้อน เพิ่มการไหลเวียนของเลือดควรจะใช้เวลาอยู่ในตู้อบนานหน่อย
แต่ก็ไม่ควรมากเกิืนจนรู้สึกเพลีย หรือจนมีอาการหายใจไม่ออก หน้ามืด เป็นลม ซึ่งถ้าเริ่มมีอาการดังกล่าวต้องรีบออกมาจากตู้่อบทันทีเทคนิคการอบที่ปลอดภัย อีกอย่างหนึ่งก็คือ ในขณะที่อบให้เอาน้ำเย็นธรรมดาใส่ภาชนะ เข้าไปลูบพรมตามร่างกายตลอดเวลาเพื่อปรับสภาพ
ร่างกาย จะทำให้ร่างกายปลอดภัยจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากพลังความร้อนในตู้อบ ที่อาจจะแรงมากไปถ้าเราไม่มีตู้อบหรือห้องอบสมุนไพร ก็มีวิธีการทำอย่างง่าย ๆ คือ ใช้ร่มหรือกลดหรือสุ่มไก็ได้ ถ้าเป็นรมหรือกลด นำมากางออก พลิกกลับเอา
ด้านล่างขึ้นบนแล้วแขวนบนขื่อหรือคาน หลังจากนั้นเอาผ้าผืนใหญ่ (อาจใช้ผ้าห่มผืนที่ไม่หนามาก) พันรอบคล้ายกระโจมให้ผ้าคลุมถึงพื้น โดย
ใช้คลิบหนีบผ้าหลาย ๆ ตัว หนีบผ้าให้ยึดกับชายร่มหรือชายกลด ถ้าเป็นสุ่มไก่ก็แขวนสุ่มให้สูงพอประมาณ ทีื่เราาจะเข้าไปนั่งได้สบาย แล้วใช้
ผ้าคลุมรอบเช่นเดียวกับร่มหรือกลด จากนั้นเอาเก้าอี้หรือตั่งเข้าไปตั้งข้างใน ขั้นตอนต่อไปก็ใช้หม้อหุงข้าวหรือกะทะไฟฟ้า ใส่น้ำให้ท่วมสมุนไพร
ที่ใช้อบเสียบปลั๊กเปิดสวิท นำไปวางไว้บริเวณพื้นกลางตู้อบ พอน้ำเดือดก็สามารถเข้าอบได้เลย
5. ย่างสมุนไพร
เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มความร้อนและเพิ่มการไหลเวียนเลือดลม ในร่างกาย
วิธีทำก็คือ เอาสมุนไพร เชน ใบหนาด ใบเปล้า ใบพลับพลึง ฯลฯ วางบนแคร่ไม้ไผ่ แล้วเอาเื่สื่อที่ทอจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น
เสื่อที่ทอจากมือ วางทับสมุนไพรเอาไว้ นำถ่านไฟที่ติดไฟลุกแดงแล้ววางใต้แคร่ ในปริมาณที่ให้ความร้อน ที่เราพอทนได้และ
รู้สึกสบายตัวเรานอนหรือนั่งย่างบนเสื่อ ใช้เวลา ประมาณ 10-30 นาทีในคนที่มีภาวะเย็นเกินมาก ๆ อาจย่างได้ทั้งวัน ถ้ารู้สึกสบายแต่ต้องใช้ไฟอ่อน ๆ ถ้ารู้่สึกไม่สบายจากการย่าง (อันเป็นภาวะ้ร้อนเกิน)
เช่น อ่อนเพลีย หน้ามืด คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดหั ฯลฯ ให้รีบหยุดทันที
6. ให้ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์ร้อนในตอนเช้าและเย็น
หรือในตอนที่เรารู้สึกหนาวเย็น เช่น น้ำิขิง ตะไคร้ ข่า มะตูม กระชาย ยอ ฝาง ย่านางแดง ฯลฯ โดยดื่มในปริมาณที่ร่างกายรู้สึกสบาย
ถ้าดื่มมากเกิน อาการไม่สบายตัวก็จะเกิดขึ้น คือ จะไม่สบายด้วยภาวะร้อนเกิน
7. กินรำปิ้งกล้วยวันละครึ่งหรือหนึ่งห่อ
โดยเอาเนื้อกล้วยน้ำว้่าสุก 1 ผล งาคั่วไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ รำ่อ่อนคั่วไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ เอาส่วนผสมทั้งสามขยำเข้ากัน ห่อใบตอง
แล้วย่างไฟ ประมาณ 5-10 นาที ทำกินตอนเช้าหรือตอนเย็นก็จะดี คนที่ขี้ร้อนแต่ป่วยด้วยภาวะเย็นเกิน ก็ใส่งาและรำอ่อนน้อยหน่อย
ส่วนคนที่ขี้หนาวแต่ป่วยด้วยภาวะเย็นเกิน ก็ใส่งาและรำมากหน่อยในงานั้นมีฤทธิ์ร้อนในแง่วิทยาศาสตร์มีสารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายมากมาย เช่น แลคซิตินช่วยบำรุงสมอง แคลเซี่ยมช่วยบำรุงกระดูก
กล้ามเนื้อและระบบประสาท วิตามินอีช่วยบำรุงผิวพรรณ เป็นต้น ส่วนในรำข้าวนั้น มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 วิตามินบีรวม
ช่วยบำรุงระบบประสาท และช่วยในขบวนการสร้างพลังงานของเซลล์ ซิเลเนียมช่วยต้านมะเร็ง วิตามินอีบำรุงผิวพรรณ ธาตุเหล็กบำรุงเลือด
ฟอสฟอรัสบำรุงกระดูก ไฟเบอร์ช่วยดูดซับสารพิษจากร่างกาย เป็นต้น และในกล้วยน้ำว้านั้นมีโปแตสเซียมสูง ช่วยให้การทำงานของหัวใจดียิ่งขึ้น
เพราะการทำงานของหัวใจต้องให้ระบบไหลเวียนเลือดลมดี บำรุงกระดูก บำรุงรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานได้เป็นปกติ
8. ใช้ขี้ผึ้งฤทธิ์ร้อนหรือน้ำมันฤทธิ์ร้อน
เ่ช่น ขี้ผึ้งนำมันไพล ขี้ผึ้งน้ำมันงา ขี้ผึ้งน้ำมันระกำ หรือน้ำมันไพล น้ำมันงา น้ำมันระกำ น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ ทำบริเวณที่รู้สึกเย็น ไม่สบาย
หรือปวด ความร้อนก็จะแผ่ไปขับพิษเย็นออก จะช่วยให้อาการเย็นเกินทุเลาลงเร็ว
9. อาหารที่ควรกินและของแสลง
ในกลุ่มที่มีภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
อาหารที่ควรกิน ของแสลงข้าวที่ควรกิน ข้าวกล้องและเหลือง ข้างกล้องแดง ข้างกล้องดำ ข้าวเหนียวกล้อง เผือก มัน กลอย ข้าวอาร์ซี ขนมปัง
ข้าวที่แสลง ข้าวขาว เส้นขาว เส้นหมี่ ข้าวเหนียวขาว
ผักที่ควรกิน ควรกินผักที่มีฤทธิ์ร้อนหรืออาจเติมสมุนไพรเผ็ดร้อนลงไปในอาหาร ผักที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ฟักทอง คะน้า กะหล่ำปลี แครอท บีทรูท
ถั่วฝักยาว ถั่วพู ผักโขม สาหร่าย ชะอม และผักที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย กระเพรา โหระพา เป็นต้นผักที่แสลง ผักที่มีฤทธิ์เย็น เช่น มะละกอดิบ ผักบุ้ง ตำลึง อ่อมแซบ ก้านตรง หวานบ้าน หวานป่า บวบ ฟัก แฟง แตงต่าง ๆ สายบัว บัวบก มะเขือ อีหล่ำ ขุนศึก (อีซึก) กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม (ผักสลัด) ผักกาดหัว เป็นต้น ในคนที่ี่มีภาวะเย็นเกิน ถ้าจะกินผักฤทธิ์เย็น ควรกินปริมาณเล็กน้อย ในตอนที่อากาศร้อนหรือเที่ยงวัน หรือถ้าจะให้ดีควรปรุงผ่านไฟและปรุงใส่สมุนไพรเผ็ดร้อน ถั่วที่ควรกิน โปรตีนจากถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วลิสง เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดโคน เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดละโงก เพราะมีฤทธิ์ร้อน
กินอาหารผัดทอดได้บ้าง ถ้ากินไขมันมากเกิน จะท้องอืดได้ หรืออาจทำให้ร่างกายโต่งมาทางร้อนเิกินได้
ถ้าจะกินอาหารผัดทอดควรกินคู่เปรี้ยว เช่น บีบน้ำมะนาวใส่ก่อนก็จะปลอดภัย และควรกินในตอนเช้าหรือตอนเย็นหรือตอนที่อากาศเย็น ไม่ควรกินไขมันตอนเที่ยงหรือตอนที่อากาศร้อน ถ้าจะให้ดีควรกินอาหารที่มีไขมันจากเมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน งา (โดยเฉพาะคนกลุ่มเย็นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงาึคั่วหรืองาต้ม) หรือผัดด้วยน้ำก่อนแล้วใส่น้ำมันทีหลัง เพราะน้ำมันที่ทอดซ้ำ ๆ หรือน้ำมันที่ผ่านไฟ จะก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
ถั่วที่แสลง ถั่วเขียว ถั่วขาว ถั่วเหลือง
ถ้าจะกินต้องปรุงผ่านสมุนไพรเผ็ดร้อนก่อน รวมถึงเห็ดทุกชนิดด้วย
ในกลุ่มโปรตีนนั้น ถ้าเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งจากภาวะร้อนเกินหรือเย็นเกิน ที่ร่างกายอ้วนมาก ควรงดโปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์ก่อนจนกว่ามะเร็งจะฝ่อ หรือจนกว่าความร้่อนจะลดลง จนได้น้ำหนักและร่างกายสมส่วน แล้วค่อยกินโปรตีนจากพืชเสริมให้พอเหมะทีหลัง ถ้าจำเป็นต้องใช้โปรตีนจากสัตว์ก็ควรใช้จากสัตว์เล็กสัตว์น้อย เชน ปลาที่ไขมันน้อย ไม่ควรกินสัตว์ที่มีไขมันมากควรกินอาหารที่รสไม่จืดเกินไป แต่ไม่ควรเค็มมากเกินไป
เพราะปรุงจืดเกินก็จะออกฤทธิ์เย็นเกิน แต่ปรุงเค็มเกินก็จะทำลายไต ปรุงขนาดที่พอดีคือ ขณะเคี้ยวน้ำลายออกมาก ชุ่มคอ กลืนได้ง่าย ไม่เหนียวคอ และไม่รู้่สึกหนาวเย็นสะท้่าน ถ้าชิมปัสสาวะตอนเช้า จะไม่มีรสเค็มไม่ควรกินอาหารที่รสหวาน ถ้าอดไม่ได้ก็กินได้เล็กน้อย
ตอนเช้า แต่ควรกินพร้อมเปรี้ยวจะปลอดภัย ตอนเที่ยงก็อาจกินหวานได้เล็กน้อย
ตอนเที่ยงไม่ว่าคนร้อนเกินหรือเย็นเกินไม่ควรกินหวานมาก จะทำให้เิกิดภาวะระคายเคืองกับเซลล์ เราจะไม่สบายตัว เพราะเกิดการต่างขั้วกันมาก ระหว่างภาวะร้อนของอากาศกระทบกับฤทธิ์เย็นของน้ำตาล จะมีกลไกคล้ายกับกะทะหรือหม้อขณะถูกความร้อนจากไฟ เผาไหม้จนน้ำแห้ง แล้วเราก็รีบเอาน้ำเย็นเทใส่ จะเกิดภาวะกัดกร่อนทำลายเนื้อกะทะหรือหม้อทันที ถ้าเรากินน้ำตาลมาก ๆ ตอนเที่ยง หรือเรากินน้ำแข็งหรือน้ำในตู้เย็น โดยกินในขณะที่ร่างกายกำลังร้อน ๆ หรืออากาศร้อน ร่างกายคนก็จะถูกทำลายเช่นเดียวกันกับกะทะหรือหม้อที่ถูกทำลาย ดังกลไกข้างต้น
ส่วนตอนเย็นไม่ควรกินไม่ควรกินหวานเลย เพราะเป็นช่วงเวลาพัก ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานมาก ตอนกลางคืนอากาศจะเย็น เมื่อเสริมฤทธิ์กับน้ำตาล
ซึ่งมีฤทธิ์เย็นอยู่แล้ว จะทำให้ร่างกายมีภาวะเย็นเกินควรกินผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน แต่ถ้าผลไม้หวาน ไม่ควรกินมากเกิน เพราะว่าจะทำใ้ห้เกิดภาวะเย็นเิกินแทรกได้ เพราะน้ำตาลในผลไม้หวานมีมาก ส่วนผลไม้ที่รสไม่หวานแต่มีฤทธิ์ร้อนกินมากได้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง มีเบตาแคโรทีนสูง จะเป็นกลุ่มร้อน ผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ฝรัง ขนุน ลิ้นจี่ ลำไย น้อยหน่า ทุเรียน ส้มเขียวหวาน เงาะ กล้วยไข่ กะทกรก (เสาวรส) ลองกอง มะไฟ มะปราง ลูกยอ มะเฟือง มะขามป้อม มะม่วงสุก แกงผักที่มีรสขม เช่น แกงหวาย แกงขี้เหล็ก กินตอนอากาศเย็นจะออกฤทธิ์ร้อน ถ้ากินตอนอากาศร้อนจะถอนพิษร้อน ยกเว้น บางคนที่กินแล้่วรู้สึกไม่สบาย แสดงว่าไม่ถูกกับคนนั้น เช่น กินแล้วอาจมีภาวะร้อนเกินมากขึ้น ตัวอย่างเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะเย็นเกิน เช่น ต้มยำสมุนไพร แกงเลียงสมุนไพร แกงคั่วสมุนไพร แกงถั่วอินเดีย น้ำพริกผักลวกผักสด ยำสมุนไพร ส้มตำสมุนไพร เป็นต้น (สมุนไพร ในหัวข้อนี้ หมายถึงสมุนไพรที่เผ็ดร้อน)
ไม่ควรอาบน้ำสระผมหลังจากตะวันตกดิน
เพราะจะไม่มีพลังจากแสงอาทิตย์มา่ช่วยสร้างความอบอุ่น อาการเย็นเกินก็จะรุนแรงหนักขึ้น
ถ้าร่างกายเริ่มมีกำลังแข็งแรงขึ้นมาแล้ว
พอตื่นเช้ามา ให้อาบน้ำธรรมดา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายผลิตความร้อนมาต่อสู้กับความเย็น (ใช้เย็นดับเย็น)
แต่ในคนที่ร่างกายยังไม่แข็งแรงพอ อย่าพึ่งทำตามข้่อนี้ั เพราะจะทำให้ช๊อคได้
ถ้าทำทุกอย่างแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้จัดสมดุลโครงสร้างกระดูก-กล้ามเนื้อและแก้ลมปราณไทย-จีน
เสริมการรักษาเพื่อให้ยา อาหาร พลังงาน ไหลเวียนไปตามอวัยวะต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น และการระบายความไม่สมดุลออกจากร่างกาย ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น