ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

ผู้ป่วยมีอาการคล้ายโควิด 19 : คุณ Celine Idlas

สาระนี้เป็นส่วนหนึ่งของกรณีศึกษา

เรื่อง การดูแลสุขภาพพึ่งตนด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมกับการรักษาอาการเจ็บป่วยจากอาการคล้ายโควิด 19

  • ชื่อภาษาฝรั่งเศส : คุณ Celine Idlas
  • ชื่อทางธรรม : ในแสงธรรม
  • ชื่อภาษาไทย : มะลิ
  • อยู่ที่ : ภูเก็ต หาดราไวย์
  • จาก : ประเทศฝรั่งเศส

ผู้ป่วยมีอาการเริ่มต้น (คล้าย) โควิด 19 เมื่อปี 2563 (ไม่ได้ไปตรวจที่โรงพยาบาล) 5 วันแรกมีอาการอ่อนแรงนิดหน่อย ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร พอมีอาการเจ็บคอทั้ง 7 คนวันเดียวกัน คิดได้แล้วว่าโควิดเข้ามาที่โรงเรียนแล้ว

วันต่อมาเจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ วันถัดไปเริ่มหนักแล้ว ปวดที่หัวใจ หายใจลำบาก รู้สึกได้ว่าชีวิตไม่ปลอดภัยแล้ว และเข้าใจว่าถ้าไม่ได้เป็นคนวางใจไม่กลัวตายจะกลัวมาก ๆ เพราะเป็นอาการที่ปวดน้อยแทบไม่ทรมาน แต่น่ากลัวที่สุดตรงที่รู้สึกได้ว่าตายได้ง่ายมาก โรคโควิดไม่ใช่โรคทรมานจากการปวด แต่ทรมานจากความกลัวมากที่สุด ปวดมากแค่ไหนที่หัวใจและปอดมันก็ไม่หนักไม่แรง

แต่ทำไมผู้ป่วยรู้สึกปวดมาก ก็เพราะหัวใจเต้นไม่เหมือนเดิม ช้าบ้าง เร็วบ้าง ผู้ป่วยรับรู้ว่าอาการหนักแล้ว แต่ถ้าถามว่าปวดจริงไหม ความจริงคือปวดน้อย พอหายใจลำบากก็เช่นกัน แทบไม่ปวดแต่ยิ่งหายใจลำบากยิ่งกลัวตาย คนส่วนใหญ่ตายเพราะกลัว

ถ้าไม่กลัว เป็นยังไง สบายมาก เป็นครั้งแรกที่ป่วยแล้วมีอาการหนัก แต่ดูแลตัวเองอย่างสบาย ๆ สนุกกับธรรมะเพิ่มศีลเพราะยอมกินสูตร 1 สนุกกับยา 9 เม็ด ทำตามกำลัง ไม่กังวลอะไร เหนื่อยแต่ยังดูแลตัวเองได้

อาการหนักที่สุด 24 ชั่วโมงหายใจไม่เข้าไม่ออก 7-8 ครั้ง ไปนอนตาย ถึงท่านอนเป็นท่าหายใจลำบากที่สุด หมดแรงยอมนอนยอมตายตามความสบาย ใจสงบนิ่งไม่คิดถึงใครไม่เสียดายอะไร ไปนอนตายเหมือนตอนไปนอนหลับ สุดท้ายฟื้นมาทุกครั้งและแปลกใจทุกครั้งว่ายังไม่ตาย ใจที่เบิกบานไม่ให้ใครเชื่อว่าไม่สบายหนัก สนุกดีเพราะมะลิไม่ได้บอกใครว่าเป็นหนักจนหาย รักษาใจคนดูแลให้มากที่สุด

ดูแลรักษาอาการด้วยเทคนิค 9 ข้อ ด้วยตนเอง

  1. ตอนเริ่มอ่อนแรงไม่ได้แก้อาการเพราะคิดไม่ออกว่าติดโควิด พอเริ่มเจ็บคอดื่มน้ำอุ่นไม่หาย ดื่มน้ำมะนาวก็ไม่หายและไม่รู้สึกดีขึ้น พักเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น เพียรบ้างพักบ้างก็ไม่ดีขึ้น ไม่เหมือนหลายปีที่ผ่านมาตอนไม่สบาย แค่พักก็ดีขึ้น วันนั้นยอมไม่แก้อาการด้วยวัตถุ ทำอะไรก็ไม่หาย ตัดสินใจใช้ธรรมะ ยาเม็ดที่ 8 ทำใจว่าไม่หายก็ได้ชั่งหัวมัน สบายใจดี
  2. พอเริ่มปวดคล้ามเนื้อและปวดหัว ตั้งใจกินอาหารสูตร 1 (อาหารไม่ปรุงแต่ง) เทคนิคข้อ 7 อาหารปรับสมดุล และใช้ยาเม็ดที่ 9 รู้เพียรรู้พักตามความสบาย แต่ไม่คิดว่าจะหาย ปล่อยวางแล้วว่าหายก็ได้ไม่หายก็ได้ สิ่งนี้ทำให้รู้สึกไม่ทรมาน รู้สึกสบาย ๆ
  3. พอเริ่มหายใจลำบากและปวดที่หัวใจ มีกำลังใจเพียรใช้ยาอื่น ๆ ตอนเช้ากัวซาบริเวณปอดหัวใจกระดูกสันหลังไหล่และหลังเท่าที่ทำได้ กัวซาตัวเองเพราะสีออกแดงเข้มทุกที่ (เทคนิคข้อ 2 การกัวซาขูดพิษขูดลม ) อาการดูน่ากลัว เลยไม่ให้ใครเห็นโดยเฉพาะพี่ชายที่ห่วงมากอยู่แล้ว มะลิเห็นอาการตัวเองแบบนี้ก็ไม่กลัว มะลิสบายใจมากที่ได้ระบายพิษออก ตั้งใจจะกัวซาอีก 2-3 วัน พอทำแบบนีสีเริ่มแดงอ่อน
  4. วันที่หายใจลำบากที่สุดเป็นไข้ ใช้การพอกหน้าด้วยดินสอพอง ภายใน 2 ชั่วโมงหายเป็นไข้ (เทคนิคข้อ 5 การพอกทาประคบอบอาบด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน)
  5. ตอนบ่ายทุกวันที่มีอาการหนักที่สุด ประมาณ 3 วัน กดจุดเส้นลมปราณ (เทคนิคข้อที่ 6 กายบริหารโยคะ กดจุดลมปราณ )
  6. และแช่มือแช่เท้าใช้น้ำปัสสาวะเก่ากับน้ำปัสสาวะใหม่ผสมน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาตามอากาศข้างนอกและความรู้สึกข้างใน (เทคนิคข้อที่ 4 แช่มือแช่เท้าส่วนที่ไม่สบาย) ไม่ได้รู้สึกด้วยตรงว่า อาการดีขึ้นตอนกัวซา แช่มือแช่เท้า หรือกดจุดลมปราณ แต่รู้สึกสนุกที่เต็มใจดูแลตัวเองให้ดีที่สุดโดยไม่รอผล และรู้สึกว่าที่ทำยา 9 เม็ดตามกำลังที่มีมันทำให้มีชีวิตชีวาทำให้ใจเบิกบานและสงบ ตอนนั้นก็ดีทอกซ์ทุกวันและรู้สึกเบาสบาย

ดื่มน้ำปัสสาวะทุกวันหลายครั้ง แต่สบายใจที่ทำหน้าที่ดูแลตัวเอง พบว่ายาที่มีผลมากที่สุดคืออาหารสมดุลร้อนเย็น (ร้อนเย็นพันกัน)ตามสูตร 1 และธรรมะ ยาเม็ดที่ 8 (สำคัญที่สุด) กับยาเม็ดที่ 9 และ เทคนิคข้อ 3 ดีท็อกซ์ (การสวนล้างลำไส้ใหญ่)