เทคนิคการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ

เทคนิค 9 ข้อ (ยา 9 เม็ด)

เพื่อควบคุมป้องกันโรค บำบัดบรรเทาโรคและฟื้นฟูสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง Share


 

สถิติพบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 1,397 คน
หลังจากที่ใช้เทคนิคการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ ภายใน 5 วัน

ผู้ป่วยมีอาการของความเจ็บป่วยลดน้อยลงจำนวน 1,291 คน
คิดเป็น 92.41 % ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคหรืออาการที่แพทย์แผน
ปัจจุบัน วินิจฉัยว่า ...

เป็นโรคเรื้อรัง ต้องตายหรือรักษาไม่หาย เช่น มะเร็ง เนื้องอก
เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ภูมิแพ้
เก๊าท์ รูมาตอยด์ ปวดตามข้อ ปวดตึงเมื่อย ตามร่างกาย
โรคทางเดินกระเพาะอาหารลำไส้เรื้อรัง อ่อนเพลียอ่อนล้า
หน้ามืด วิงเวียนปวดศรีษะเรื้อรัง ภูมิต้านทานลด
และการอักเสบ เรื้อรังตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น


จากสถิติพบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 1,397 คน
หลังจากที่ใช้เทคนิคการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ ภายใน 5 วัน
ผู้ป่วยมีอาการของความเจ็บป่วยลดลง ดังนี้

ประเภทความเจ็บป่วย
จำนวน
ผลที่ได้รับ(หลังจากใช้เทคนิคดูแลสุขภาพแบบพึ่งตน)
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
ผู้ป่วยทั้งหมด
1,291 คน
ความเจ็บป่วยลดน้อยลง
92.41 %
ผู้ป่วยเบาหวาน
117 คน
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
88.03 %
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
158 คน
ระดับความดันโลหิตสูงลดลง
83.54 %
ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง
78 คน
ไขมันไตรกลีเซอไรด์และคลอเลสเตอรอลในเลือดลดลง
73.78 %
ผู้ป่วยโรคหัวใจ
12 คน
อาการเจ็บป่วยทุเลาลง
75 %
ผู้ป่วยมะเร็ง
111 คน
อาการเจ็บป่วยทุเลาลง
85.59 %

 (ในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด หลังจากปฎิบัติตัวอย่างต่อเนื่อง มีผลตรวจร่างกายจากแพทย์แผนปัจจุบันไม่พบมะเร็ง
หรือสภาพร่างกายมีอาการเหมือนคนปกติต่อเนื่องกัน 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 22.52 %
" มีชีวิตอยู่ด้วยอาการไม่สบายจากพิษของมะเร็งลดน้อยลง
หรือยืดอายุออกไปได้มากกว่าการคาดการของแพทย์แผนปัจจุบัน 63.07 % " อาการไม่ทุเลาลง 14.41 % )

นอกจากนี้ยังพบว่า
อาการไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน เป็นหวัด เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
หรือความเจ็บป่วยเล็กน้อยอื่น ๆ ก็สามารถบำบัดบรรเทาให้ทุเลาเบาบางได้
ด้วยเทคนิคการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ

ท่านอาจเลือกทำเพียงข้อใดข้อหนึ่งหรือทำหลายข้อร่วมกัน
ตามแต่สภาพร่างกายหรือการทุเลาเบาบางของความเจ็บป่วยในแต่ละท่าน

โดยมีตัวชี้วัด คือ ให้เกิดสภาพพลังชีวิต ได้แก่ สบาย เบากาย มีกำลัง

 

 

เทคนิค 9 ข้อ ของการพึ่งตนในการดูแลสุขภาพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

 

1.  การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล

2.  กัวซาหรือขูดซาหรือขูดพิษหรือขูดลม

3.  การสวนล้างลำไส้ใหญ่ (ดีทอกซ์)

4.  การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร

5.  การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน คือเมื่อใช้แล้วรู้สึกสบาย

6.  การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ที่ถูกต้อง

7.  การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย

8.  ใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด

9.  รู้เพียร รู้พักให้พอดี

 


1. การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล

กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน
ดื่มน้ำำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือที่เรียกว่า น้ำคลอโรฟิลด์สดจากธรรมชาติ/น้ำเขียว/น้ำ้ย่านางน้ำย่านาง คลอโรฟิลด์สด

วิธีทำ
ใช้สมุนไพรฤทธฺ์เย็น เช่น
- ใบย่านางเขียว 5-20 ใบ
- ใบเตย 1-3 ใบ
- บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ
- หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
- ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง-1 กำมือ
- ผักบุ้ง ครึ่ง-1 กำมือ
- ใบเสลดพังพอน ครึ่ง-1 กำมือ
- หยวกกล้วย ครึ่ง-1 คืบ
- ว่านกาบหอย 3-5 ใบ เป็นต้น

จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ โขลกให้ละเอียดหรือ
ขยี้ผสมกับน้ำเปล่า 1-3 แก้ว (บางครั้งอาจผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล
น้ำมะนาว น้ำมะขาม ในรสไม่จัดเกินไป เพื่อทำให้ดื่มได้ง่ายในบางคน)
กรองผ่านกระชอน เอาน้ำที่ได้มาดื่ม ครั้งละประมาณ ครึ่ง-1 แก้ว
วันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือ ตอนท้องว่างหรือดื่มแทนน้ำตอนที่รู้สึก
กระหายน้ำปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพร อาจมากหรือ
น้อยกว่านี้ก็ได้ ตามความต้องการของร่างกาย ณ เวลานั้น ๆ โดยดูความ
พอดีได้จาก ความรู้สึกที่กลืนง่าย ไม่ฝืดไม่ฝืนไม่พะอืดพะอมและความสบายตัว

กรณีที่ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดแล้วรู้สึกไม่สบาย


ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือนำไปต้มให้เดือด ก่อนดื่ม หรืออาจนำสมุนไพรฤทธ์ร้อนมาผสมก่อนดื่มก็ได้
เช่น นำน้ำต้มขมิ้น/ขิง/ตะไคร้ มาผสม เป็นต้น หรืออาจดื่่มสมุนไพรฤทธิ์ร้อนอย่างเดียวก็ได้ ถ้าดื่มแล้วรู้สึกสบาย

กลับสารบัญ

2. กัวซาหรือขูดซาหรือขูดพิษหรือขูดลม
ไม้กัวซา

เป็นการแพทย์ดั้งเดิมของชาวไทยภูิเขา ชาวจีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย
และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการเอาพิษออก
จากร่างกาย โดยระบายพลังงานที่เป็นพิษจากเลือดที่ถูกกระตุ้นให้เคลื่อนที่มาระบายพิษ
ที่่ผิวหนัง ทำให้สามารถบรรเทาอาการไม่สบายได้อย่างรวดเร็๋ว

ประโยชน์ของการกัวซา
- เรียนรู้ง่าย สามารถทำได้ด้วยตนเอง ทำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ไม่มีผลแทรกซ้อนใด ๆ ทั้งสิ้น
- ช่วยลดอาการปวดหัวตัวร้อน เป็นไข้ เป็นหวัด ไอเฉียบพลัน/เรื้อรัง
- ลดอาการเจ็บปวดมึนชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย สร้างความแข็งแรงให้เซลล์โดยการเพิ่มออกซิเจน
  และระบายของเสียในเซลล์ ทั้งเซลล์ของเม็ดเลือดและเซลล์อื่น ๆ ของร่างกาย โดยระบายพลังงาน
  ที่เป็นพิษออกมาพร้อมกับเลือดที่ถูกกระตุ้นให้เคลื่อน มาระบายพิษที่ผิวหนัง

วิธีกัวซา
- ควรทำการกัวซาในสถานที่โล่งโปร่ง และลมไม่โกรกจัดขี้ผึ้งย่านาง-นำมันเขียว

- ใช้ขึ้ผึ้งย่านาง ขึ้ผึ้งเสลดพังพอน ขึ้ผึ้งแก้หวัด ยาหม่องดำ น้ำมันเขียว น้ำมันเหลือง
น้ำมันพืช น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือน้ำเปล่า อย่างใดอย่างหนึ่งทาบนผิวหนังก่อนขูดซา
ในบริเวณที่รู้สึกไม่สบายหรือบริเวณที่ถอนพิษจากร่างกาย ได้ดี เช่น บริเวณหลัง แขน ขา เป็นต้น
แม้ไม่มีสมุนไพรทาเลย ก็สามารถขูดซาได้เลย โดยที่ไม่ต้องทาอะไร ก็ช่วยถอนพิษได้

ถ้ารู้สึกหนาวเย็น
ควรใช้น้ำอุ่น น้ำมันพืช หรือขึ้ผึ้งที่ไม่เย็นเกินไป ทาก่อนขูดซาหรือขูดซา
โดยที่ไม่ต้องทาอะไรเลยก็ได้

- ใช้อุปกรณ์ีเรียบง่าย เช่น ช้อน ชาม เหรียญ ไม้ขอบเรียบหรือวัสดุขอบเรียบต่าง ๆ ขูดได้
ทั้งที่ผิวหนังตรง ๆ หรือจะขูดผ่านเสื้อผ้า็ก็ได้

- การกัวซาควรเริ่มจากด้านซ้ายก่อนเสมอ
ยกเว้น เกิดอาการไม่สบายเด่นชัดที่้ด้านขวา มากกว่าด้านซ้ายก็ให้ขูดด้านขวาก่อน


                                 กายภาพด้านหลัง                                                              กายภาพด้านหน้า

กายภาพด้านหลังกายภาพด้านหน้า


- การขูดแต่ละครั้งให้ลงน้ำหนักแรง
พอสบายไม่แรงเกินไม่เบาเกินความแรง
ที่ได้ผลดีนั้นให้ลงน้ำหนักไปค่อนข้างแรง
หน่อยเท่าที่จะ ไม่เจ็บ/ไม่ทรมารมากเกินไป อาจไม่รู้สึกเจ็บเลยหรือรู้สึกเจ็บเล็กน้อยใน
ขีดที่ทนได้ โดยไม่ยากไม่ลำบากก็๋ได้ลง
ลงน้ำ้หนัก สม่ำเสมอ

การขูดที่พอดีคือ ขูดให้ผิวมีสีแดง จนกว่า
จะไม่แดง ไปกว่านั้นหรือขูดจุดละประมาณ
10-50 ครั้ง อาจขูดมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้
เท่าที่รู้สึกสบาย

- หลังทำกัวซา ควรเกิน 4-8 ชั่วโมงขึ้นไป
จึงสามารถอาบน้ำได้ ถ้าจำเป็นที่จะต้อง
อาบน้ำทันทีหลังกัวซา ก็ควรอาบน้ำอุ่น
หรือ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือจำเป็นที่จะต้อง
อาบน้ำอาจอาบน้ำธรรมดา  หลังกัวซา
อย่างน้อย 30 นาที  เีพื่อให้เลือดที่เคลื่อน
มาบริเวณ ผิวหนังมีเวลาระบายพิษออกไป
ได้มากถ้าเรารีบอาบน้ำเย็นเร็วเกินไป เส้น
เลือดจะหดตัวบีบเลือด ที่ยังระบายพิษได้
ไม่มากลับคืนไปสู่เซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะ
ภายในของเรา ทำให้ระบายพิษได้น้อย

                

 

 

 

 

 

     ทิศทางของการกัวซา

การขูดกัวซาใบหน้าขูดศรีษะ         
ขูดจากกลางศรีษะจนถึงตีนผม จนทั่วศรีษะ การขูดกัวซาศรีษะ

ขูดใบหน้า
บริเวณใบหน้า ให้เอากึ่งกลางรหว่างคิ้วเป็น
จุดศูนย์กลาง แล้วขูดออกไปเป็นรัศมีวงกลม
ทุกทิศทุกทางหรือ ขูดออกด้านข้างก็ได้
สำหรับบริเวณตาให้หลับตาลง แล้วขูดเบา ๆ
จากหัวตามาหางตาและให้ทั่วบริเวณรอบตา
ทั้งหมด ลงน้ำหนักและปริมาณการขูดแค่
พอรู้สึกสบาย

 


 

การขูดกัวซาด้านหลังและด้านหน้า

ขูดแผ่นหลัง
ส่วนที่ชิดประดูกสันหลัง ขูดตั้งแต่ต้นคอยาวลงมาจนถึงเอว
ฟื้นที่แผ่นหลังส่วนที่เหลือให้ขูดออกข้าง

ขูดบริเวณลำตัวด้านหน้า
เริ่มจากกลางหน้าอกให้ขูดลง ใต้ไหล่ด้านหน้าให้ขูดออกข้าง
หรือขูดลงก็ได้ ใต้ราวนมขูดตามร่องซี่โครงเฉียงเข้าหาสะดือ
บริเวณท้องขูดลงหรือขูดเข้าหาสะดือก็ได้

ขูด คอ แขน มือ สะโพก ขา เท้าและจุดที่ไม่สบายอื่น ๆ
หรือจุดที่จำทิศทางการขูดไม่ได้
ให้ขูดลงหรือขูดตามทิศที่เราขูดแล้วรู้สึกสบาย
เพระาสภาพที่เกิดการบำบัดรักษาคือ สภาพที่รู้สึก
สบายตามหลักสปฎิบัติเพื่อความแข็งแรงอายุยืน
ในพระไตรปิฎก อนายุสสสูตร ข้อที่ 1
การรู้จักทำความสบายแก่ตนเอง

 

 

ข้อควรรู้ของการกัวซา

1.
การใช้แรงขูดควรสม่ำเสมอ ควรขูดจนเห็นรอย จุดแดงปรากฎขึ้นมาจนกว่าจะไม่แดงไปกว่านั้น
(หากขูดสักพักแล้วไม่แดงก็ย้ายจุดขูดได้) หรือขูดจนบริเวณที่ขูดนั้นรู้สึกสบายขึ้น จากนั้นจึงขูดตำแหน่งอื่นต่อไป

2. บางครั้งหลังจากขูดแล้ว 2-3 วัน ตำแหน่งที่ขูดอาจจะมีอาการระบมปรากฎขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปรกต
หลังขูดจนเกิดรอยแดง ณ จุดนั้น ๆ ออกมาแล้ว เราสามารถแปลผลได้ดังนี้

   1. สีชมพูหรือสีแดงเรื่อ ๆ                         แสดงว่า ดี
   2. เป็นปื้น                                                    แสดงว่า พิษเริ่มสะสม
   3. เป็นจ้ำเหมือนไข้เลือดออก                 แสดงว่า พิษสะสมนานแล้ว ในทางแพทย์ทางเลือก เรียกว่า ลมแตก
   4. ถ้าเป็นลักษณะช้ำ                                แสดงว่า มีพิษสะสมมาก
       ยิ่งถ้าช้ำจนถึงขั้นสีม่วงหรือสีดำ     ในทางแพทย์ทางเลือกถือว่า มีพิษมากถึงขั้นมะเร็ง



ซึ่งการตรวจในทางการแพทย์แผนปัจจุบันอาจพบว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ก็ได้ ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เรียบเรียงพบว่า
ผู้ป่วยที่แพทย์แผนปัจจุบันวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง มากกว่า ร้อยละ 80 มักขูดซาพบสีม่วงหรือสีดำ
การกัวซาจึงเป็นทั้งการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค ไปพร้อมกัน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 7 วัีน รอยแดงนั้นมักจะยุบหายไป
 
มักจะมีคำถามว่าเมื่อกัวซาแล้วจะกัวซาอีกครั้งเมื่อไหร่ คำตอบก็คือ เมื่อรู้สึกไม่สบายอีกครั้ง ถ้าเป็นผู้ป่วยหนักอาจจะ
กัวซาทุกวันหรือกัวซาวันละหลายครั้งก็ได้ ถ้าการกัวซานั้นทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น

3. ไม่ควรขูดในจุดที่เป็นแผลฝีหนองหรือจุดที่เมื่อถูกขูดแล้วรู้สึกไม่สบายเจ็บปวดแสบร้อน
ทรมานมากเกินไป แต่สามารถขูดตรงข้ามกับจุดที่ไม่สบายนั้น ๆ ก็สามารถรักษาจุดที่ไม่สบายนั้นได้

กลับสารบัญ

3. การสวนล้างลำไส้ใหญ่ (ดีทอกซ์)
กายภาพด้านหน้า

เป็นการปรับสมดุลด้วยการล้างพิษ 3 อย่าง ออกจากลำไส้ใหญ่ ได้แก่

  1. พิษของเนื้ออุจจาระที่หมักหมม

  2. น้ำที่เป็นพิษอันเกิดจากทุกอวัยวะในร่างกาย
ส่งสิ่งที่เป็นพิษมากำจัดที่ตับ ตับก็ระบายส่งไปที่ลำไส้เล็ก
แล้วก็ส่งต่อไปลำไส้ใหญ่

  3. พิษของพลังงานความร้อนที่เป็นของเีสีย
จากทุกอวัยวะในร่างกาย ซึ่งส่งมาระบายที่ลำไส้ใหญ่มากกว่าที่อื่น ๆ
จะเห็นได้ว่าหมอแผนปัจจุบัน ถ้าวัดไข้ทางทวาร เมื่อวัดอุณหภูมิได้เท่าไหร่
จะต้องลบออก 0.5 องศาเซลเซียส ในขณะที่การวัดไข้ในที่อื่น ๆ ไม่ลบออก
เพราะที่ลำไส้ใหญ่มีความร้อน มากกว่าที่อื่นในร่างกายถึง 0.5 องศาเซลเซียส
แม้หมอจีน ไม่ว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคอะไร ก็นิยมฝังเข็ม หรือกดจุดที่ จุดเหอกู่
ตรงบริเวณกึ่งกลางระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ของมือ วัดเข้ามาด้านหลังมือจาก
ง่ามมือหนึ่งข้อนิ้วโป้ง เป็นจุดระบายพิษจาก ลำไส้ใหญ่ที่ดีมาก ซึ่งมักจะ
ทำให้อาการไม่สบาย ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นอวัยวะใดก็ตามลดลงอย่าง
รวดเร็วผู้ป่วยที่อาการหนัก ทำวันละ 1-2 ครั้ง ส่วนคนทั่วไปทำสัปดาห์
ละ 1-3 ครั้งหรือเท่าที่ร่างกายรู้สึกสบาย

พิษทั้งสามประการนั้น จะเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติของร่างกายทุกวัน
ถ้าไม่รีบระบายออก หรือมีการหมักหมมสะสมมากเกินไป ก็จะถูกดูดซึม
กลับหรือแพร่กระจายกลับไปทำลาย ทุกอวัยวะในร่างกาย ทำให้ร่างกาย
ทรุดโทรม และเจ็บป่วย ในทางตรงกันข้ามการสวนล้างสำไส้ใหญ่(ดีทอกซ์)
นั้นจะสามารถขับและระบายพิษทั้งสามประการออกจากร่างกายได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และพลังงานของสมุนไพรที่ถูกกันที่เราใส่เข้าไป
ใน ลำไส้ใหญ่ ก็จะเคลื่อนไปดับพิษปรับสมดุล ทุกอวัยวะในร่างกายได้อย่าง
รวดเร็ว จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว

วิธีทำ เลือกสมุนไพรที่เหมาะสม คือ เมื่อใช้ทำดีท๊อกซ์แล้วรู้สึกสดชื่นโปร่งโล่งสบาย ตัวอย่างสมุนไพร เช่น

   - ใบเตย 1 ใบสมุนไพรทำดีทอกซ์
   - อ่อมแซบครึ่งกำมือ
   - ย่านาง 1-3 ใบ
   - น้ำมะนาว ครึ่ง-1 ช้อนโต๊ะ
   - น้ำมะขามครึ่งกำมือ
   - มะขามเปียก 1-3 ฝัก
   - ใบส้มป่อยครึ่งกำมือ
   - กาแฟ 1 ช้อนชา
   - บอระเพ็ด 1 ข้อนิ้วมือ
   - ลูกใต้ใบ 1 ต้น
   - ฟ้าทะลายโจร 1 ยอด(ยาวครึ่ง-1 คืบ) เป็นต้น

ให้เลือกใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถูกกับร่างกายเรา คือ พอทำดีทอกซ์แล้วรู้สึกสดชื่น
โปร่ง โล่ง เบา สบายตัว ถ้าใช้แล้วไม่สบาย ก็แสดงว่าไม่ถูกกับคนนั้น ณ เวลานั้น ควรงดเสีย

นำสมุนไพรต้มในน้ำเปล่า เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นหรือใช้ใบสมุนไพรสดขยี้กับน้ำเปล่า
กรองผ่านกระชอน นำน้ำที่ได้ ไปใส่ขวดหรือถุงที่เป็นชุดสวนล้างลำไส้ โดยทั่วไปใช้น้ำสมุนไพร 500-1,500 ซี.ซี.
เปิดน้ำให้วิ่งตามสายเพื่อไล่อากาศออกจากสายแล้วล็อคไว้

จากนั้น นำเจลหรือวาสลีนหรือน้ำมันพืชหรือว่านหางจระเข้ทาที่ปลายสายสวน ประมาณ 1 ซม. เพื่อหล่อลื่น
หรืออาจใช้ปลายสายสวนจุ่มในน้ำก็ได้ ต่อจากนั้นค่อย ๆ สอดปลายสายสวน เข้าไปที่รูทวารหนัก สอดให้ลึกเข้าไป
ประมาณเท่านิ้่วมือเรา (ประมาณ 3-5 นิ้วฟุต) ยกหรือแขวนขวดสมุนไพรสูงจากทวารประมาณ 2 ศอก ค่อย ๆ
ปล่อยน้ำสมุนไพรให้ไหลเข้าไปในลำไส้ใหญ่ของเรา โดยใส่ ปริมาณน้ำเท่าที่ร่างกายเรารู้สึกสบายที่ทนได้
โดยไม่ยากไม่ลำบากเกินไป แล้วใช้มือนวดคลึงที่ท้อง พอปวดอุจจาระก็ไปถ่ายระบายออกในขณะที่ทำดีทอกซ์
เราสามารถนอน(ส่วนใหญ่นิยมนอนทำ) นั่งหรือยืนทำก็ได้ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายและสถานที่

ในกรณีที่คนกลั้นได้เก่ง เมื่อรู้สึกปวดถ่ายครั้งแรกให้กลั้นไว้ก่อน เพื่อให้ลำไส้บีบตัว สิ่งสกปรกที่ติดบริเวณ
ผนังลำไส้จะได้หลุดออกมาที่น้ำดีทอกซ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่เกินครึ่งนาทีก็จะหายปวด พอปวดอีกครั้งก็ไป
ถ่ายออกจะทำให้พิษถูกระบายออกได้ดี ส่วนผู้ที่ไม่มีกำลังกลั้น พอปวดครั้งแรกก็ให้ไปถ่ายระบายออกเลย
โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาการกลั้น เฉลี่ยไม่ควรเกิน 20 นาที

สำหรับผู้ป่วยที่อาการหนัก อาจทำดีทอกซ์ วันละ 1-2 ครั้ง อาจมากหรือน้อยกว่า ตามสภาพของร่างกาย คือ
ทำเท่าที่รู้สึกสบาย ส่วนคนทั่วไป ทำดีทอกซ์เฉลี่ย สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง หรือตามสภาพร่างกาย คือ ทำเท่าที่รู้สึกสบาย

สำหรับกรณีที่มีการผ่าตัดสำไส้่
ควรรอให้แผลหายดีอย่างน้่อยหลัีงผ่าตัด 3 เดือนขึ้นไป จึงค่อยทำดีทอกซ์
โดยครั้งแรก ๆ ให้ใช้น้ำดีทอกซ์น้อย ๆ แค่พอรู้่สึกปวดระบายถ่ายท้องก่อน พอลำไส้ปรับสภาพดีแล้วจึงค่อยเพิ่ม
น้ำดีทอกซ์ในปริมาณที่รู้่สึกสบาย (ทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก)

ถ้าทำดีทอกซ์แล้วรู้สึกไม่สบายมักเกิดจาก

   1. สมุนไพรนั้นไม่ถูกกับร่างกายเรา เช่น บางคนเวลาใช้กาแฟทำดีทอกซ์แล้วจะรู้สึกใจสั่นอ่อนเพลีย
       ก็แสดงว่าคนนั้นไม่ถูกกับกาแฟ ถ้าใช้กาแฟทำดีทอกซ์แล้วรู้ึสึกสบาย ก็แสดงว่าคนนั้นถูกับกาแฟ

   2. ใช้สมุนไพรเข้มข้นเกินไป ทำให้สมุนไพรเคลื่อนเข้าร่างกายเร็วและมากเกินไป เพราะช่องทางของลำไส้ใหญ่นั้น
        เป็นเส้นทางลมปราณที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นช่องทางที่พลังานจะเคลื่อนเข้า-ออกเร็วมาก ดังนั้นช่องทางนี้
        ควรใช้สมุนไพรเจือจางแค่พอดีสบายจะดีที่สุด

   3. เลือกใช้น้ำไม่ถูกกัน ณ เวลานั้น บางคนถูกกับน้ำอุ่น บางคนถูกกับน้ำอุณหภูมิธรรมดา ให้ดูที่ความรู้สึกสบายเป็นหลัก

   4. ปริมาณน้ำมากเกินไป ให้ใส่น้ำในปริมาณที่รู้สึกสบายหรือทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก

   5. แขวนขวดสูงเกินไป ปล่อยน้ำเข้าไปในลำไส้ แรงและเร็วเกินไป มักจะทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนหรือเวียนศรีษะได้ง่าย
       ดังนั้น ควรค่อย ๆ ปล่อยน้ำเข้าไปในลำไส้ช้า ๆ เท่าที่รู้สึกสบาย กรณีที่แขวนขวดสูง ควรใช้เทคนิคการบีบหรือหักสายดีทอกซ์
       แล้วค่อย ๆ ปล่อยน้ำเข้าไปในลำไส้ช้า ๆ ในปริมาณที่เรารู้สึกสบาย

   6. กลั้นอุจจาระนานจนรู้สึกทรมานเกินไป ให้กลั้นในจุดที่เรารู้สึกทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบากเกินไป

กลับสารบัญ

4. การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุมไพร
การแช่มือแช่เท้า

ให้ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น ประมาณ ครึ่ง- 1 กำมือ เช่น
- ใบเตย
- เบญจรงค์(อ่อมแซบ)
- ผักบุ้ง
- บัวบก
- ย่านาง
- รางจืด
- ใบมะขาม
- ใบส้มป่อย
- กาบหรือใบหรือหยวกกล้วย เป็นต้น

จะใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ ต้มกับน้ำ 1 ขัน
(ประมาณ 1 ลิตร)เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอ
รู้ึสึกสบาย ถ้าไม่มีสมุนไพรเลย ก็ใช้น้ำเปล่าต้มให้เดือดแล้วผสมน้ำธรรมดา
ให้อุ่นก็ได้ จากนั้นแช่มือแช่เท้่า แค่พอท่วมข้อมือข้อเท้่า 3 นาที แล้วยกขึ้น
จากน้ำอุ่น 1 นาที ทำซ้ำจนครบ 3 รอบ โดยทำวันละประมาณ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ค่อยมีเวลา็ทำเฉลี่ย สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง ถ้าใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นต้มแล้ว
รู้สึกไม่สบายก็ปรับใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อนต้ม ถ้ารู้สึกสบายกว่า

ในกรณีที่ แช่น้ำต้มสมุนไพรแล้วมีอาการไม่สบาย ก็ให้งดเสีย แสดงว่าสภาพร่างกายตอนนั้นไม่ถูกกับน้ำอุ่น
น้ำร้อน อาจแช่น้ำธรรมดาหรือน้ำสมุนไพรสดที่ไม่ผ่านความร้อนแทน ถ้าทำแล้วรู้สึกสบาย โดยแช่นาน เท่าที่รู้สึกสบาย

กลไกการถอนพิษก็คือ ร่างกายมีธรรมชาติของการระบายพลังงานที่เป็นพิษจำนวนมากออกทางมือเท้าอยู่แล้ว
จะเห็นได้ว่าแพทย์โบราณหลายประเทศมีการกดจุดหรือขูดระบายพิษจากมือและเท้่า เมื่อคนเราใช้มือและเท้าใน
กิจวัตรประจำวัน กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่มือและเท้ามัีกก็จะเกิดสภาพแข็งแรงเกร็งค้าง ทำให้ขวางเส้นทางการระบาย
พิษจากร่างกาย การแช่ในน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่แข็งแกร็งค้างคลายตัว พลัังานที่เป็นพิษในร่างกาย
จึงจะระบายออกได้ดี ทำให้สุขภาพดีขึ้น

จากการเก็บสถิติ ณ ปัจจุบัน พบว่า เมื่อแช่ในน้ำอุ่นพลังงานพิษที่อัีดอยู่ในร่างกายจะเคลื่อนออกภายใน 3 นาที
หลังจากนั้น พิษของน้ำอุ่นน้ำร้อนจะเคลื่อนเข้าไปทำร้ายร่างกาย เืมื่อแช่น้ำอุ่นนานเกิน 3 นาที จึงมักจะพบว่า
มีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายในร่างกาย หลายคนที่เคยมีประสบการณ์ไปแช่น้ำดโป่ง เดือดหรือน้ำพุร้อน
ถ้าแช่นานเกิน 3 นาที พอขึ้นมาจากการแช่ ก็มักจะมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายต่าง ๆ เพราะพิษจะเคลื่อน
ออกได้แค่ประมาณ 3 นาที จากนั้นพิษของน้ำอุ่นจะเคลื่อนเข้าทำร้ายร่างกาย

ดังนั้น คนที่มีความรู้ก็จะแช่น้ำอุ่นแค่ 3 นาที แล้วขึ้นจากน้ำอุ่น 1 นาที เมื่อร่างกายเย็นดีแล้ว พลังงานพิษร้อนใน
ร่างกายก็จะเคลื่อนสวนทางกับความเย็น เมื่อเราแช่ในน้ำอุ่นอีกครั้ง กล้ามเนื้อก็จะคลายตัว พลังงานพิษร้อนก็
จะเคลื่อนออกจากร่างกายได้มาก ผู้เขียนพบว่า พิษสามารถเคลื่อนออกได้มากเพียง 3 รอบ หลังจากนั้น ถ้าเรา
ยังแช่น้ำอุ่นต่ออีก พิษน้ำอุ่นก็จะเคลื่อนเข้าไปทำร้ายร่างกาย

กลับสารบัญ

5. การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน คือเมื่อใช้แล้วรู้สึกสบาย
การต้มสมุนไพร

เช่น พอกด้วยกากสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือพอกทาด้วยผงถ่านที่ใช้ก่อไฟทั่วไป
ผสมกับน้ำสมุนไพรฤทธ์เย็น (อาจผสมดินสอพองหรือน้ำปัสสาวะด้วยก็ได้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถอนพิษได้ดียิ่งขึ้น) โดยพอกทาทุก 4-6 ชั่วโมง
หรืออาจพอกทาทิ้งไ้ว้ทั้งคืนก็ได้ ถ้าใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นแล้วรู้สึกไม่สบาย
ก็ปรับใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อน ถ้ารู้สึกสบายกว่า

กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน

การถอนพิษด้วยการพอก/ทาด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น โดยนำสมุนไพรฤทธิ์เย็น
เช่น ใบเตย เบญจรงค์(อ่อมแซบ) ผักบุ้ง บัวบก ย่านาง รางจืด วุ้นนว่านหางจระเข้
ใบมะขาม ใบส้มป่อย กาบหรือใบหรือหยวกกล้วย เป็นต้น จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ มาหั่นหรือโขลกให้แตกพอประมาณ
       อาจใช้กากสมุนไพรที่เหลือจากการทำน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นก็ได้
       อาจใช้ผ้าชุบน้ำสมุนไพรฤทธฺ์เย็นก็ได้
       อาจใช้ดินคลุกกับน้ำให้เหลวเหมือนตมก็ได้
       อาจใช้น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสด คลุกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากหรือ
แป้งฝุ่นที่ใช้ทาหน้าทาผิว ให้พอเหลวก็ได้
       อาจใช้ นำ้สกัดด้วยการกลั่นสมุนไพรฤทธฺ์เย็น น้ำมันเขียว นำ้มันเหลือง
น้ำมันพิมเสนการบูร เมนทอล ขึ้ผึ้งย่านาง-เบญจรงค์               
       ขึ้ผึ้งเสลดพังพอน ขึ้ผึ้งแก้หวัด ยาหม่องดำ ก็ได้

กรณีที่มีภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน
ให้ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นผ่านไฟ หรือสมุนไพรทั้งร้อนและเ้ย็นผ่านไฟ เช่น นำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือสมุนไพรทั้งร้อนและเย็น
ต้มให้เืดือด 5-10 นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่น ใช้อาบหรือนำผ้าชุบบิดให้หมาด วางประคบบริเวณที่ไม่สบาย หรืออาจ
นำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือสมุนไพรทั้งร้อนและเย็น หั่นให้เล็กหรือโขลกพอแตก ห่อเป็นลูกประคบ นึ่งให้ร้อน วางประคบ
บริเวณที่ไม่สบาย ถ้ารู้สึกร้อนเกินไปก็ใช้ผ้่ารองที่ผิวหนังก่อนประคบก็ได้

กรณีที่มีภาวะเย็นเกินอย่างเดียว
ให้พอก ทา ประคบหรืออบด้วยสมุนไพรฤทธฺ์ร้อน เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ไพล ใบมะกรูด เกลือ
น้ำมันพืช/น้ำมันสัตว์ชนิดต่าง ๆ ขึ้ผึ้งขมิ้น ขึ้ผึ้งไพล ขึ้ผึ้งน้ำมันงา ขึ้ผึ้งน้ำมันระกำ เป็นต้น

กลับสารบัญ

6. การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ที่ถูกต้อง

การทำโยคะ

การบริหารกายที่ถูกต้องสมดุล เป็นประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย เมื่อทำเสร็จ ต้องได้คุณสมบัติ 3 อย่าง
      1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
      2. ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
      3. การเข้าที่เข้าทางของกระดูก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ

การจะได้คุณสมบัติทั้ง 3 อย่างดังกล่าว ต้องมีการบริหารกาย 2 ลักษณะ

1. การออกกำลังกายที่มีการใช้กำลังแรงกาย
ถ้าไม่ออกกำลังกายที่ใช้่แรงกำลัง กล้ามเนื้อก็จะไม่มีกำลังที่จะบีบเอาของดีไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีกำลัง
ที่จะบีบเอาของเีสียออกจากร่างกาย ร่างกายก็จะเสื่อมเร็วและเกิดคววมเจ็บป่วยตามมา การออกกำลังกายที่ดีต้องใช้
กำลังเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันนานพอประมาณ (เฉลี่ยโดยทั่วไป ใช้เวลาประมาณ 15-45 นาที อาจมากหรือน้อยกว่านี้
ก็ได้ตาม สภาพร่างกายของบุคคลนั้น ๆ ณ เวลานั้น อาจทำทุกวันหรือวันเว้นวันก็ได้)

โดยออกกำลังกายจนถึงขั้นหอบเหนื่อยแต่ไม่มากเกินไปถึงขั้นหอบเหนื่อยจนรู้สึกใจสั่นหวิวหรือพูดกบคนอื่นไม่ชัดถ้อยไม่ชัดคำ
พอพักไม่เกิน 10-20 นาที ก็สามารถหายเหนื่อยและทำงานตามปกติได้ จึงจะทำให้กล้ามแข็งแรงมีกำลังสามารถบีบของดีไป
เลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ สามารถบีบของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี เช่น ดินเร็ว (เหมาะสำหรับ
ทุกวัยโดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่ขึ้นไป) วิ่งจ๊อกกิ้ง (มักเหมาะสำหรับเด็กหรือวัยรุ่น) กระโดดเชือก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น

2. การกายบริหารที่สร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น สร้างการเข้าที่เข้าทางของกระดูก กล้ามเนื้อและเ้ส้นเอ็น
แพทย์แผนปัจจุบันพบว่า ถ้ากล้ามเนื้อและเ้ส้นเอ็นตึงแข็งเกร็งค้างไม่ยืดหยุ่น หรือกระดูกเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเคลื่อน
ออกจาก ตำแหน่งปกติ ก็จะกดรัดเส้นเลือดเส้นประสาท เลือดลมจะไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เกิดความเจ็บปวดมึนชา
และความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

แพทย์ทางเลือกพบว่า พลังงานลมปราณ คือ พลัีงงานที่หล่อเลี้ยงร่างกาย
อันเกิดจากการ สันดาป เผาผลาญอาหาร เส้นลมปราณเยื่อหุ้มหัวใจตั้งแต่ระดับหยาบจนถึงระดับละเอียด
และพลัีงงานที่เป็นพิษเป็น ของเสียอันเกิดจากการสันดาปอาหาร ตั้งแต่ระดับ
หยาบจนถึงระดับละเอียด รวมถึงพลังานที่เป็นพิษอื่น ๆ ที่ร่างกายรับเข้าไป

และแพทย์ทางเลือกก็พบว่า พลังงานที่ดีจะขับเคลื่อนไปหล่อเลี้ยงร่างกาย
มากที่สุดเร็วที่สุด ทางเส้นลมปราณ ส่วนพลังงานที่ไม่ดีจะถูกขับออกจาก
ร่างกายมากที่สุด เร็วที่สุดทาง เ้ส้นลมปราณเช่นเดียวกัน ซึ่งการเคลื่อน
ของพลังงานทั้งที่ดีและไม่ดี ดังกล่าว จะเคลื่อนตามข้างกระดูกข้าง
เส้นเอ็น ข้างเส้นประสาทและตามร่องของกล้ามเนื้อ ซึ่งตรงกับ
เส้นลมปราณหลัก 12 เส้นของแพทย์แผนจีนและเส้นลมปราณ
หลัก 10 เส้น ของแพทย์แผนไทย(เส้นสิบ)

ถ้ากล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตึงแข็งเกร็งค้างไม่ืยืดหยุ่น หรือกระดูก
เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ จะทำให้การ
เคลื่อนของพลัีงงานดังกล่าวติดขัดเกิดอาการกำลังตก และเกิด

อาการไม่สบายต่าง ๆ ทันที เรียกว่าลมปราณติดขัด/ลมปราณล็อค
แต่ถ้าแก้ไขให้เกิด ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ให้เกิด
การเข้าที่เข้าทางของกระดูก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ อาการกำลังตก
และอาการไม่สบายต่าง ๆ จะทุเลาเบาบางหรือหายไปอย่างรวดเร็๋ว
จนน่าประหลาดใจ

หลายครั้งที่ผู้เขียนพบผู้ป่วยที่อาการ หนักจวนเจียนจะเสียชีวิต
บางคนแพทย์แผนปัจจุบันถึงกับต้องให้ออกซิเจนให้ยาแผนปัจจุบันต่าง ๆ
เพื่อช่วยชีวิตฉุกเฉิน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยเรื้อรังที่ัรับประทานยา
อย่างไรก็ไม่หาย แต่พอปรับสมดุลให้เส้นลมปราณเข้าที่(เกิดความยืดหยุ่น
ของกล้ามเนื้อ และเ้ส้นเอ็น เกิดการเข้าที่ เข้าทางของกระดูก เ้ส้นเอ็น
และกล้ามเนื้อ) อาการกลับทุเลาเบาบางหรือหายไปอย่างรวดเร็ว เป็นที่น่า
ประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง วิชาดังกล่าวนั้น อยู่ในแพทย์ทางเืลือกและ
แพทย์แผนไทย ที่เชี่ยวชาญ การจัดกระดูกและการกดจุดลมปราณ

และแต่ละท่านก็สามารถปฎิีบัติได้เอง หรือช่วยเหลือญาติที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้ ด้วยการ
ฝึกกดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ซึ่งเป็นสวนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการบำบัดรักษา
ควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เพราะจะทำให้เกิดการ
ไหลเวียนเลือดลมที่ดี สสารและพลังที่ดีสามารถเคลื่อนไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ สสารและพลังงานที่ไม่ดีที่เ่ป็นพิษไม่ว่าจะเป็นพิษร้อนหรือพิษเย็นสามารถ
ถูกเคลื่อนขับออกจากร่างกายได้อย่างมีประสทธิภาพ

การกดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ถ้าเราทำได้ถูกต้องหลังทำเสร็จก็จะทำให้เกิดสภาพเบาสบายและมีกำลังในตัวเราทันที

กลับสารบัญ

7. การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย

พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า " อาหารเป็นหนึ่งในโลก "
อาหารที่สมดุล ก็จะได้สุขภาพดีที่หนึ่ง อาหารไม่สมดุล ก็จะได้สุขภาพเสียที่หนึ่ง


ตัวอย่างอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ

มีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ท่านหนึ่งอยู่ภาคเหนือ มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ได้ไปจี้ที่
โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เสียค่ารักษาพยาบาล 5 หมื่นบาท เมื่อผ่านไประยะหนึ่งเลือดก็
ออกมาอีก ในขณะที่ผู้่ป่วยกำลังเดินทางมาเข้าค่ายที่ผู้่เขียนจัดผู้ป่วยได้ปรึกษามาทีมงาน
สุขภาพ จึงได้แนะนำว่าเป็นภาวะร้อนเิกิน ให้หาสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นรับประทานผู้ป่วยได้เฉาก๊วยซึ่งมีฤทธฺ์เย็นมารับประทาน ปรากฏว่า จากปัสสาวะเป็นเลือดสีน้ำล้างเนื้อก็ค่อย ๆ ใสขึ้น
เรื่อย ๆ จนเป็นปกติ (เลือด หยุดไหล) ภายใน 4 ชั่วโมง จะเห็นได้ว่า การไปจี้ที่โรงพยาบาล
เสียค่ารักษาพยาบาล 5 หมื่นบาท แต่การรู้่อาหารร้อน-เย็นแล้วปรับสมดุลตัวเสียค่าใช้่จ่าย
ซื้อเฉาก๊วยแค่ 5 บาท

ลูกศิษย์ของผู้เขียนท่านหนึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ มีอาการปวดศรีษะ เมื่อรู้ว่าเกิดจาก
ภาวะร้อน เกิดแต่ไม่อยากรักประทานยาแก้ปวดเพราะ รูู้ว่ายาแก้ปวดทุกชนิดที่เป็๋นเคมีพิษ
ต่อร่างกาย จึงไปเอามังคุด ซึ่งมีฤทธิ์เย็นมารับประทาน ประมาณ 6 ลูก อาการปวดศรีษะก็หายไป

ผู้ป่วยเอดส์คนหนึ่ง มีตุ่มหนองเริมงูสวัดขึ้นทั้งตัว หมอท่านหนึ่งที่ดูแลผู้ป่วยอยู่ ได้โทรมาปรึกษา
ผู้่เขียน ผู้่เขียนจึงบอกว่า เป็นภาวะร้อนเกิน ให้ถอนพิษร้อน ช่วงเวลาต่อมา หมอท่านนั้นได้มา
กล่าวคำขอบคุณผู้่เขียนและบอกว่าหลังจากที่ปฎิบัติแค่ 2 วัน อาการดังกล่าวก็ุยุบลง ผู้เขียน
จึงถามว่าทำอย่างไร หมอท่านนั้นตอบว่าต้มฟัก ต้มถั่วเขียวให้รับประทาน (ฟักและถั่วเขียว มีฤทธฺ์เย็น)

อีกกรณี มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนไปรับประทานจับฉ่าย (ซึ่งมีฤทธิ์ร้อนมาก จากน้ำมันและการอุ่นซ้ำ ๆ)
เกิดอาการหูอื้อ (หูดับตับไหม้/ตับร้อน) ผู้เขียนจึงแก้ไขด้วยการเอาส้มตำรสไม่จัด(มีฤทธิ์เย็น)
มารับประทาน อาการทุเลาและหายภายใน 5 นาที จากนั้นผู้เขียนก็รับประทานจับฉ่ายอีก
อาการหูอื้อก็กับมาอีก พอรับประทานส้มตำแก้ อาการหูอื้อก็หายไปอีก

ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่ผู้เขียนไม่สามารถนำเสนอได้หมดในที่นี้ จะเห็นได้ว่า อาหารมีผลต่อสุขภาพอย่างมาก
อาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ถ้าเรารีบแ้ก้ด้วยการปรับสมดุลด้วยอาหาร อาการก็มักจะทุเลาหรือหายไปอย่างรวดเร็ว
แต่ถ้าเป็นเรื้อรังอาจต้องใช้เวลาบ้าง การปรับสมดุลด้วยก็มักจะทุเลาหรือหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นเรื้อรัง
อาจต้องใช้่เวลาบ้าง การปรับสมดุลด้วยอาหาร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่น่าฝึกฝนเรีบนรู้
ดังรายละเอียดต่อไปนี้



   7.1 เพิ่มการรับประทาน ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด และโปรตีนจากถั่วหรือปลา (สำหรับผู้ที่ไม่สามารถงดเนื้อสัตว์)

   7.2 ควรปรุงอาหารด้วยการต้มหรือนึ่ง ปรุงรสไม่จัดจนเกินไป ถ้าเป็นไปไ้ด้ ควรปรุงรสอยู่ในระดับประมาณ 10-30 % ของที่เคยปรุง
อาจปรุงมากหรือน้อยกว่านี้ตามความสมดุลพอดีของร่างกาย ณ ปัจจุบันนั้น ๆ ซึ่งตัวชี้วัดของความสมดุลพอดี คือ ความรู้สึุกสบาย
เบากาย มีกำลัง หรือถ้าผู้ที่ติดรสจัดมาก ก็ค่อย ๆ ลดรสจัดของอาหารลง ให้มากที่สุด เ้่ท่าที่จะพอรับประทานได้โดยไม่ลำบากนัก

   7.3 งดหรือลดการรับประทานอาหารที่หวานจัด เช่น ของหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องบำรุงกำลัง ผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่หวานจัด
อาหารที่เค็มจัด เช่น ปลาร้า ผักดอง เนื้อเค็ม ไข่เค็ม อาหารที่ปรุงเค็มมาก และอาหารที่มีผงชูรสมาก

(มีการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า อาหารที่มีโซเดียมมากเกิืน เค็มจัดหรือมีผงชูรสมาก
ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจโตน้ำหนักเพิ่ม ไตเสื่อม ภูมิต้านทานลด และรหัสพันธุกรรมผิดปกติ)

อาหารที่มีไขมันสูง เ่ช่น อาหารผัดทอด เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อหมู วัว ควาย ไก่พันธุ์เนื้อ อาหารทะเล เป็นต้น
และอาหารที่ปรุงรสอื่น ๆ จัดเกินไป เช่น เผ็ด เปรี้ยว ขม ฝาด เป็นต้น

  ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ๆ
นำ้หมัก ข้าวหมาก รวมถึงอาหารที่มีวิตามินน้อย แต่มีโซเดียมหรือไขมันสูงเกิน ได่แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ
เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอมขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค้ม
ของหมักดอง อาหารทะเ้ล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น

   7.4 หลักปฎิบัติ 4 อย่าง ในการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
         1. ฝึกรับประทานอาหารตามลำดับ
         2. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
         3. รับประทานในปริมาณที่พอดีรู้สึกสบาย
         4. กลืนลงคอให้ได้ เพราะอาหารสุขภาพมักจะไม่อร่อย ยกเว้น ผู้ที่มีบุญบารมีมากหรือผู้ที่ฝึกรับประทานบ่อย ๆจะรู้สึกอร่อยไปเอง

เทคนิคที่สำคัญในการรับประทานอาหารให้อร่อย คือ ...

       - รอให้รู้สึกหิวมาก ๆ ก่อนแล้วค่อยลงมือรับประทาน
       - หมั่นระลึกถึงประโยชน์ของอาหารสุขภาพให้มาก
       - หมั่นระลึกถึงผลเสียของอาหาร ที่ไม่สมดุลหรือเป็นพิษให้มาก



กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน
ในมื้อหลัก 1 มื้อ ใน 1 วัน อาจเป็นช่วงเช้าหรือเที่ยงก็ได้ มีเทคนิคการรับประทานอาหารตามลำดับ คือ

    ลำดับที่ 1  ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล เช่น น้ำย่านาง ฯลฯ
    ลำดับที่ 2  รับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร กระท้อน สับปะรด ส้มโอ ชมพู่ มังคุด แตงโม แตงไทย ฯลฯ
    ลำดับที่ 3  รับประทานผักฤทธิ์เย็นสด เช่น อ่อมแซบ(เบญจรงค์) ผักบุ้ง แตง กว้างตุ้ง สายบัว ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักสลัด
    ลำดับที่ 4  รับประทานข้าวจ้าวพร้อมกับข้าว โดยรับประทานข้าวกล้องหรือข้าวซ๋อมมือ ควรงดหรือลดคาร์โบไฮเดรท ที่มีฤทธิ์ร้อนมาก
                      เช่น ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ(ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าบาเลย์ เผือก มัีน กลอย
    ลำดับที่ 5  รับประทานต้มถั่วหรือธัญพืชฤทธิ์เย็น เช่น ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย

กรณีที่มีภาวะเย็นเกินแทรกขึ้นมา ให้กดน้ำร้อนใส่สมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือตั้่งไฟให้ร้อนก่อนรับประทาน ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็น
รับประทานผักหรืออาหารผ่านไฟให้มากขึ้น เพิ่มสิ่งที่มีฤทธฺ์ร้อนเข้าไป ตามสภาพร่างกายที่รับประทานแล้วรู้สึกสบาย

กลับสารบัญ

8. ใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด

ลด ละ เลิกและหลีกเลี่ยง อารมณ์ที่ำทำลายสุขภาพ/อารมณ์ที่เป็นพิษ ได้แก่ ความเครียด ความเร่งรีบ/เร่งรัด/เร่งร้อน
ความวิตกกังวล ความไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบายใจ ความไม่พอใจ ความมุ่งร้่าย อาฆาต พยาบาท ความโลภ โกรธ
หลง ยึดเกิน เอาแต่ใจตัวเอง เป็นต้น เพราะผู้ที่มีอารมณ์ดังกล่าว จะทำให้ร่างกายหลั่งสารแอดดรีนาลีนออกมาจาก
ต่อมหมวกไตสารดังกล่าวจะกระตุ้นเซลล์เยื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายผลิตพลังงานอย่างมากมายจนเกินความสมดุล
พอดีของร่างกาย พลังงานส่วนเกินที่ไม่สมดุลดังกล่าว จะเผาทำร้ายเซลล์เนื้อเยื่อทุกส่วนในร่างกาย อวัยวะใด
ที่อ่อนแอก็จะแสดงอาการไม่สบายก่อนอวัยวะอื่น ถ้าอารมณ์ดังกล่าวยังอยู่อวัยวะอื่น ๆ ก็จะเสื่อมและแสดง
อาการไม่สบายตามกันไป

ตรงกันข้่ามถ้าเราสามารถสลายอารมณ์ดังกล่าวได้ จิตใจก็จะรู้สึกสบาย เบิกบานแจ่มใส มีความสุข สารเอ็นโดรฟิน
ก็จะหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองที่ื่ชื่อต่อมพิทูอิทารี่ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ระงับปวดแรงกว่าฝิ่น 200 เท่า
(แต่ไม่มีพิษเหมือนฝิ่น) จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดีิ และสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการช่วยส่งพลังชีวิต /
พลังงานที่เป็นประโยชน์ไปยังเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย จึงช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรง ช่วยให้
เม็ดเลือดขาวแข็งแรง เม็ดเลือดขาวจึงสามารถกำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมและสิ่งที่เป็นพิษออกจากร่างกาย
ได้ดี ร่างกายจึงแข็งแรงขึ้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือ การยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในสิ่งนั้น ๆ

จึงทำให้เกิดพลังงานอารมณ์ทุกข์ในใจเกิดอารมณ์ที่ำทำลายสุขภาพหรืออารมณ์ที่เป็นพิษเทคนิคที่สำคัญในการสลาย
ล้างพลังงานยึดมั่น ถือมั่นปักมั่นในสิ่งนั้น ๆ เพื่อดับต้นเหตุของทุกข์ ดับอารมณ์ที่ทำลายสุขภาพ/อารมณ์ที่เป็นพิษ ได้แก่ ...

   - การหมั่นไตร่ตรองผลเสียของการเสพ/การติด/การยึดมั่นถือมั่นปักมั่น/การเอาสิ่งนั้น ๆ
   - การหมั่นไตร่ีตรองผลดีของการไม่เสพ/ไม่ติด/ไม่ยึดมั่นถือมั่น/ไม่ปักมั่น/ไม่เอา/ให้/ปล่อย/วางสิ่งนั้น ๆ
      ให้เป็นของโลกให้หมุนวนเกิดดับ ๆ อยู่ในโลก
   - การไตร่ตรองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับอยู่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ล้วนเกิดจาก สิ่งทีเราทำมาทั้งชาตินี้
      และชาติก่อนเมื่อให้ผลของการกระทำแล้วก็จบดับไป โดยไตร่่ตรองซ้ำแล้วซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง
   - ในขณะที่มีอารมณ์ทุกข์หรืออารมณ์ที่เป็นพิษนั้น จนพลังงานหรืออารมณ์ที่ทุกข์นั้นลดน้อยลงหรือหายไป
      ถ้ามีอารมณ์ทุกข์ดังกล่าวอีก เราก็ปัสสนาอีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอารมณ์ที่เป็นทุกข์นั้น จะหมดไปจากชีวิตเรา

ยิ่งถ้าเราทำควบคู่พร้อมกับสมถะก็ยิ่งดี (สมถะไม่ใช่ตัวล้างพลังงานทุกข์ แต่เป็นตัวที่เสริมพลังของวิัปัสสนาให้มี
ประสิทธิภาพในการล้างสลายพลังงานที่เป็นทุกข์ให้ดียิ่งขึ้น) สมถะ คือ การอดทนฝึนข่มที่จะไม่ทำตามกิเลส/ซาตาน
การหลบเลี่ยงพรากห่าง เมื่อรู้สึกว่า มีความเครียดมากเกินไป ทนฝึนได้ยากทนฝืนได้ลำบาก ถ้าอยู่ในจุดที่มีกิเลสนั้น ๆ
การฝึกจิตให้สงบด้วยการเอาจิตไปกำหนดไว้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจุดใดจุดหนึ่ง และการใช้ปัญญาสมถะ เช่น มัีน/เขา
ก็เป็นธรรมดาของมัน/เขาอย่างนั้นแหละ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่่และดับไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวเราของเรา
ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ เป็นต้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า กรรมสโกมหิ กรรมทายาโท กรรมโยนิ กรรมพันธุึ กรรมปฏิสรโน แปลว่า

    - เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน
    - เรามีกรรมเป็นทายาท
    - เรามีกรรมเป็นแดนเกิด
    - เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    - เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล

สิ่งที่ตนเองและผู้อื่นได้รับ ล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของแต่ละคนแต่ละคนเองทั้งนั้น

นับว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุมีผลรู้ที่ไปที่มาของการเกิดดับของทุกสิ่งทุกอย่างโดยแท้
ซึ่งคำตรัสทุกคำของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ท่านตรัสว่า ...
   - เชื้อเชิญหรือท้าทายให้มาพิสูจน์กันได้(เอหิปัสสิโก)
   - เป็นจริงตลอดกาล(อะกาลิโก)
   - ผู้ศึกษาและปฏิับัติพึงรู้เห็นได้ด้วยตนเอง(สันทิฏฐิโก)

พระุพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์สอนว่า ...
   - ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมวิบาก(การกระทำและผลของการกระทำ)
   - ย่อมเป็นผู้งมงายอย่างแท้จริงมืดดำมืดบอด(ไสยศาตร์)
     อย่างแท้จริง ไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ไม่รู้ที่ไปที่มาของสิ่งใด ๆ ในโลก

การจะล้างหรือดับพลังงานที่เป็นทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เราต้องปฎิบัติสมถะธุระ และวิัปัสสานะธุระควบคู่กัน
อย่างต่อเนื่อง โดยปฏิบัติิซ้ำ ๆๆๆๆๆๆ จนเกิดผลำเร็จคือ อาการทุกข์ในใจลดน้อยลงหรือหมดไป
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"วิริเยนะทุกขมเจติ"
แปลว่า คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

การฝึกพรหมวิหาร 4 ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดสุขภาพดี ดังที่พระุพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฏก " อนายุสสสูตร " ว่า
การปฏิบัติพรหมวิหาร 4 (พรหม 4 หน้า) ได้แก่
   1. เมตตา (ปรารถนาให้ผู้อื่นผาสุก/พ้นทุกข์/ได้ประโยชน์/ได้สิ่งที่ดี)
   2. กรุณา (ลงมือกระทำตามที่เราปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีนั้น ๆ)
   3. มุทิตา (ยินดีที่เขาได้ดีหรือเมื่อเกิดสิ่งที่ดี)
   4. อุเบกขา (จิตอยู่ในสภาพปล่อยวาง/สงบสบาย)
เมื่อได้พากเพียรพยายามทำดีเต็มที่แล้ว ไม่ว่าดีจะเกิดขึ้นมาก เกิดขึ้นน้อยหรือดีไม่เกิดขึ้น ก็ปล่อยวางสิ่งนั้นให้โลก
เป็นผู้ไม่ติดไม่หลงยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในการกระทำและผลของการกระทำ ว่าเป็นตัวเราของเรา
เป็นผู้ไม่อยากได้ไม่อยากเป็นไม่อยากมีอะไรตอบแทน จึงสงบสบายไม่มีทุกข์ในใจใด ๆ เป็นเหตุให้แข็งแรงอายุยืน

แต่บางคนที่หลงยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในดีมาก ๆ (หลงดี) ก็จะใจร้อนเร่งรัดเร่งรีบ ไปกดดัน/บีบคั้น/บีบบังคับ/ยัดเยียด
สิ่งที่ตนเห็นว่าดี ให้กับตนเองและผู้อื่น จนเกิดทุกข์โทษภัยผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่น เรียกว่า พรหม 3 หน้า
หลงติดหลงยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในหน้าที่ 3 ของพรหม หลงติดยินดีที่เขาได้ดี หลงติดยินดีที่ดีเกิด แต่ถ้าเขา
ไม่ได้ดีหรือดีไม่เกิดก็จะยินร้าย ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่สบายใจเป็นทุกข์ใจ แล้วทำอุเบกขาวางวางดีวางทุกข์
ไม่เป็น ความจริงแล้ว การมีมุทิตา(ยินดีที่เขาได้ดีหรือเกิดดี) เป็นสิ่งที่ดีแต่การหลงติดหลง ยึดมั่นถือมั่นปักมั่น
ในมุทิตานั้นไม่ดี

เทคนิคดับโลก(โรค) ร้อนด้วยวิุถีแห่งพรหม

โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง พรหม 3 หน้า และ
พรหม 4 หน้า

พรหม 3 หน้า (หลงดี กิเลส อัตตามานะ)

 พรหม 4 หน้า (โลกอยู่ได้ด้วยพรหมวิหารธรรม)

ทำดีมีทุกขใจ มีจิตไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบายปะปน

ทำดีไม่มีทุกข์ใจ จิตโปร่ง โล่ง สบายตลอด

เป็นผู้จัดการชีวิตผู้อื่น

เป็นที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น

เป็นเืสือกชน ล่วงละเมิด จุ้นจ้าน วุ่นวาย กดดัน
บีบคั้น บีบบังคับ ให้ผู้ื่อื่นคิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง
เหมาะสมดีงาม ดังที่ใจตนคิด และต้องการ แ้ม้่ผู้่อื่น
จะไม่พร้อมและไม่เต็มใจ

เป็นสุภาพชน ไม่ล่วงละเิมิด ไม่จุ้นจ้าน ไม่วุ่นวาย ให้อิสระเสรี
ให้สิทธิ เสรีภาพผู้อื่นใน การคิด พูดทำ ตามความเห็นความต้องการ
ของเขา เขาจะดีจะชั่ว มันก็เป็นสิทธิเสรีภาพของเขา เรามีหน้าที่
เชื้อเชิญ ชวนเชิญ ชักชวนให้มาพิสูจน์ หันมาทำในสิ่งที่ถูกต้อง
เหมาะสม ดีงาม ด้วยความ เต็มใจสมัครใจของเขา โดยไม่บีบบัีงคับ
จิตใจ จะช่วย เหลือเกื้อกูล หรือรับใช้ผู้อื่น เมื่อเขาพร้อมและเต็มใจ
ให้เราช่วย

น่ารำคาญที่สุด น่ารังเกียจที่สุด น่าเบื่อหน่ายทีุ่สุด
น่าไกลห่างที่สุด

เมื่อคบหามีความสบายใจ อบอุ่น สงบเย็น ผาสุก น่าเข้าใกล้
น่าระลึกถึง

คนดีที่โลกเกลียดชัง เบื่อระอา รำคาญ

คนดีที่โลกรัก รอ และต้องการ

อยากให้เกิดสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมดีงาม และจะ
ทุกข์กาย ทุกข์ใจ หงุดหงิด โมโห พยาบาท น้อยใจ
ไม่โปร่งไม่โล่ง ไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ อึดอัดขัดเคือง
หาเรื่อง เอาเรื่อง กดดัน ผลักดัน ดีดดิ้น ซัดส่าย
เมื่อไม่ได้ดังใจตนต้องการ (มุ่งหมายและปักมั่น)

อยากให้ิเกิดสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมดีงาม แต่ไม่ทุกข์กาย
ไม่ทุกข์ใจยังมีความสบายใจ อยู่ได้ แม้จะไม่ได้ดังใจ
ดังความคิดที่ตนต้่องการ (มุ่งหมายแต่ไม่ปักมั่น)

ยินดีในการทำความดีด้วยความวิตกกังวล กลัวว่าดีจะ
ไม่เกิด หลงเสพดี หลงอัสสาทะ (เอร็ดอร่อย ชื่นชอบใจ)
ฟูใจ ดีใจสุข ใจ สบายใจ เมื่อเกิดดีสมดังใจ

 

ทำดีด้วยความยินดี เต็มใจ สบายใจ สุขใจ เพราะรู้ว่าดีก็เป็นประโยชน์
เป็นคุณค่า เป็นความประเิสริฐในดี เมื่อดีเกิดก็รู้ว่าเกิดได้ เพราะทั้่งผู้ให้
และผู้ฝึกได้ทำเหตุปัจจัยพอเหมาะและรู้ว่าดี ที่เกิดนั้น เมื่อตั้งอยู่และให้
ผลดีตามฤทธิ์แรงที่ก่อเกิด ก็จะดังไปหรือไม่เราก็ดับขันธ์ ทิ้งดีนั้นเป็น
ของโลก และรู้ว่าดีทำหน้าที่ยังอกุศลให้เบาบางลง จึงมีความยินดี
เต็มใจ สบายใจในการทำดี และทำใจในใจสักแต่ว่าอาศัยประโยชน์ของ
ดีอยู่ชั่วครา ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราอย่างเที่ยงแท้ถาวร
จึงเป็นผู้ที่มีความสุขในการทำดีเมื่อมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสม

เมื่อเหตุปัจจัยไม่เหมาะสม เช่น ถ้าทำสิ่งที่เราเห็นว่าดีนั้น ในเวลานั้น
สถานการณ์อย่างนั้นจะทำให้เกิดการเบียดเบียนจิตใจและร่างกาย
ของตนเองและผู้อื่น ก็จะมีความสุขมีความพอใจในการไม่ทำ
เพราะนอกจากจะไม่เสียหายแล้ว ยังไม่เปลืองแรง ไม่เปลืองตัวด้วย
มีความสุข ในการไม่หลงเสพดี มีความสุขในการทำดีแล้ววางดี
ทิ้งดีให้โลก มีความสุข ในการไม่อยากได้ไม่อยากเป็น ไม่อยากมีมา
เพื่อตัวเราของเรา เพราะรู้ว่าสมบัติที่มนุษย์ควรอาศัยขณะยังมีชีวิต
ของจิตวิญญาณนี้ อยู่ก็คือ กรรมดี(กุศลธรรม) และความไม่ทุกข์
ส่วนสมบัติแท้ ๆ ชิ้นสุดท้่ายก็คือ ความไม่ได้ ไมเป็น ไม่มีอะไร

คิดหวังว่าโลกนี้ต้องสมบูรณ์แบบ

รู้ความจริงว่าโลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ

เป็นการให้เพื่อจะเอา เป็นผู้จะเอาจะเสพพฤติกรรมดี ๆ
จากผู้อื่นเหมือนจะให้ผู้อื่นได้ดี หรือมีพฤติกรรมดี ๆ
แต่ตนเองก็เอาการเสพสิ่งดีนั้นตอบแทนให้สมใจตน
จิตที่คิดจะเอาจะเร่าร้อนทุกข์ระทม

เป็นการให้เพื่อให้ เป็นผู้ให้่ผู้อื่นได้สิ่งดีหรือมีพฤติกรรมดี ๆ
โดยไม่อยากได้ ไม่อยากเป็นไม่อยากมีอะไรตอบแทน
แม้แต่รอยยิ้มและคำขอบคุณ อย่าว่าแต่เพีียงเท่านั้นเลย
จะไม่เสพแม้ดีที่เกิดขึ้น จิตที่คิดจะให้สบายกว่าจิตที่คิดจะเอา

ไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริงว่าใครจะได้รับอะไร
เท่าไหร่ เวลาใดก็ตามเหตุปัจจัยของการกระทำ (กรรม)
ของคน ๆ นั้น ทำมา จะได้ดีมากไปกว่าที่ตนทำมาไม่ได้

รู้ความจริงตามความเป็นจริงว่าใครจะได้รับอะไร เท่าไหร่
เวลาใดก็ตามเหตุปัจจัยของการกระทำ (กรรม) ของคน ๆ นั้น
ทำมา จะได้ดีมากไปกว่าที่ตนทำมาไม่ได้

เป็นผู้หลงผลของการกระทำ ผลออกมาดี สมใจ
ก็จะฟูใจ สุขใจ ผลออกมาไม่ดีหรือได้น้อยก็จะทุกข์ใจ
ไม่พอใจ

 

เป็นผู้อยู่เหนือผลของการกระทำ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร
ก็ไม่ทุกข์ใจ เพราะรู้ว่า เมื่อเราได้เพียรพยายามเต็มที่อย่างพอดี
แล้ว ผลที่เกิดขึ้นก็ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง จึงพอใจในผลนั้น
แล้ววางผลนั้นให้โลกได้อาศัย ส่วนตนเองเอาความสงบสบาย
ความไม่ได้ ไม่เป็น ไม่มีอะไรดีไม่ใช่สุข-ไม่ใช่ทุกข์ในใจ
แต่ดีเป็นประโยชน์ เป็นคุณค่า เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เป็นสิ่ง
ที่ควร กระทำและควรอาศัย
ส่วนชั่ว..ก็ไม่ใช่สุข-ไม่ใช่ทุกข์ในใจเรา ชั่วเป็นความเดือดร้อน
เป็นความเสื่อมต่ำ เป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรทำ ไม่ควรส่งเสริม
(ควรต่อต้าน) และไม่อาศัย เรารู้่ดีรู้่ชั่วได้ แต่เราหลงรักหลงเกลียด
ความดีความชั่วไม่ได้ เพราะทั้งรักและเกลียดเป็นเหตุทำให้ใจเป็น
ทุกข์ มนุษย์ผู้มีปัญญาและมีความประเสริฐแท้ จึงเป็นผู้ยินดีเต็มใจ
ในการไม่ทำชั่ว ยินดีเต็มใจในการทำแต่ความดีอย่างเต็มที่
โดยไม่เบียดเบียนไม่ทรมานตน ตามองค์ประกอบเหตุปัจจัยที่จะ
ทำได้ ณ เวลานั้นแล้วทำจิตใจให้ผ่องใสผาสุกสงบสบาย
ด้วยการปล่อยวางทั้งการกระทำและผลของการกระทำ
นั้นให้โลกไป

ทำดีด้วยความกังวลใจและเปลืองพลังในการลุ้นผล

ยังมีความสบายใจอยู่ได้ ทำดีด้วยความยินดี เต็มใจ สบายใจ
ไม่กังวลกับผล แต่มีความสุขในการตรวจผล ว่า ทำเหตุอย่างนี้
มีองค์ประกอบอย่างนี้ เกิดผลอย่างนี้ ถ้าคราวต่อไป
สามารถทำให้ดีกว่าได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็วางใจ

ขยันเกินอย่างไม่ดูตาม้าตาเรือ (สถานการณ์
และความพร้อม ของตัวเองและผู้อื่น) ขยันเกินจน
ตัวเองต้องเสียสุขภาพเป็นประจำกินใช้ไม่พอดี
สละผลที่ได้ออกไปอย่างไม่พอดี เช่น
มากไป หรือน้อยไป จนเบียดเบียนตน

ขยันพอดีอย่างดูตาม้าตาเรือ (สถานการณ์และความพร้อมของตัวเอง
และผู้อื่น) ขยันเต็มที่ พอดีเท่าที่จะมีสุขภาพดี เพราะรู้ความจริงตามความ
เป็นจริงว่า ขยันเกินร่างกายก็เสื่อมเร็วขี้เกียจเกินร่างกายก็เสื่อมเร็ว ขยัน
เต็มที่พอดีแข็งแรงที่สุด สบายที่สุด เสื่อมช้าที่สุด สละผลที่ำ้ได้ออกไป
อย่างพอดี เพราะรู้ความจริงตามความเป็นจริงว่า ถ้าสละมากไปก็ขาด
แคลน ไม่มีทุนขยายกิจการบุยนั้น ๆ ต่อไป หรือถ้ากักไว้ มากเกินหรือ
สละออกน้อยไป ก็จะเป็นภาระ และวิตกกังวลในการดูแลเปล่า ๆ
แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและเป็นกุศลต่อตนเองกลับกลายเป็น
ปัญหาต่อตัวเอง ทุกข์ยากลำบากในการรักษา และทุกข์ยากลำบากใน
การขยายกิจการต่อ ตามความโ่ง่ ไม่รู้ทุกข์ โทษภัยของการมีมากเกิน
ของตนเอง นี้คือความซวยของคนรวยคนรวยจึงซวยกว่าคนจน
(คนจนที่มีปัญญารู้สัจธรรม)

 

กลับสารบัญ

9. รู้เพียร รู้พักให้พอดี

มีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ แต่ต้องการคำตอบที่สั้นที่สุด พระพุทธเจ้า ตอบว่า

                         " เราไม่พัก เราไม่เพียร ก็ข้ามโอฆะสงสารได้ "


ครูบาอาจารย์ได้แปลให้เข้าใจง่าย ก็คือ

                    
" รู้เพียรรู้พักก็พ้นทุกข์ได้ " หรือ " รู้เพียรรู้พักทำให้เป็นอรหันต์ "
                            เพราะกิเลสจะไม่ยอมให้เราเพียรพอดี พักพอดีหรอก


      - การเพียรพอดีพักพอดี จะทำให้พลังชีวิตเต็ม
      - การเพียรน้อย/เกินพักมากเกิน พลังชีวิตก็ตก ทำให้เสียสุขภาพ
      - การเพียรมากเกิน/พักน้อยเกิน พลังชีวิตก็ตก ทำให้เสียสุขภาพ

ดังนั้นกิจกรรมทุกอย่างจึงควรรู้เพียรรู้พักให้พอดีจึงจะทำให้เกิดสุขภาพดีที่สุด


ท้้่ายนี้ ผู้เขียนก็ขออวยพรให้พี่น้องผองเพื่อน ผู้ที่รักสุขภาพทุกท่าน จงประสบความสำเ็ร็จ
ในการพากเพียพยายามดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนได้สุขภาพที่ดี อันเป็นรางวัลที่ล้ำค่าของทุก ๆ ชีวิต

 

จริงใจไมตรี

เราทั้งผองพี่น้องกัน

 

กลับสารบัญ