ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

จิตใจที่ผาสุกแท้ คือ จิตใจที่มีปัญญารู้ว่า

ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลกไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิตสิ่งไม่มีชีวิต ดินน้ำลมไฟ กิจกรรมการงาน ความดี ความชั่ว ความเหมาะ ความไม่เหมาะ ความถูกต้อง ความไม่ถูกต้อง ความเจ็บป่วย ความไม่เจ็บป่วย ปัญหาต่าง ๆ ทั้งหมดในโลก ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ในใจเรา แต่เป็นเพียงวัตถุสสาร พลังงาน ที่เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หมุนวนอยู่ในโลก ตราบชั่วกาลนาน ไม่มีหมดไปอย่างถาวร และไม่มีตั้งอยู่อย่างถาวร ครูบาอาจารย์สอนไว้ว่า มีเพียงผู้ที่ฝึกฝนจนได้จิตวิญญาณที่ผาสุกอย่างอย่างยั่งยืนแท้จริงเท่านั้นที่เลือกจะเกิดก็ได้ เลือกจะดับก็ได้

“ปัญหาไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แต่เป็นสิ่งที่ควรแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้” 

รังเกียจก็ทุกข์เปล่า ๆ รังเกียจให้โง่ทำไม เพราะปัญหาไม่เคยหมดไปจากโลก ปัญหาหมดได้ที่ใจเราเท่านั้น หน้าที่/กิจกรรม/การงาน ก็ไม่เคยหมดไปจากโลก ดังนั้นเราจงยินดีเต็มใจเบิกบานแจ่มใสผาสุกสงบสบายกับการยอมรับความจริงดังกล่าว แล้วทำหน้าที่ลดปัญหาที่ต้นเหตุ หรือทำหน้าที่/กิจกรรม/การงานที่สัมมา (เป็นกุศล/ไม่เป็นบาป-เวร-ภัย) สร้างสรรค์เต็มที่สุดฝีมือตามองค์ประกอบเหตุปัจจัยที่จะทำได้ (ตามอุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม-บุญบารมี-ความเพียร ทั้งของเราและของผู้อื่นในโลก) ไม่มากเกินจนเบียดเบียนทรมานตนเองและผู้อื่น อย่าอยากขยายดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง (ลำบากเกิน/ทำไม่ไหว) และรู้พักอย่างพอดี (เพียรเต็มที่ พักพอดี) เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ทำใจรับรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้น

“ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง อย่าอยากได้ดีหรืออยากให้เกิดสิ่งที่ดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง จงทำความผาสุกที่ตน จนคนที่มีปัญญาเห็น เกิดศรัทธาอยากได้ จึงค่อยบอกทางแก่ผู้ที่มีปัญญาและศรัทธานั้น”

จากนั้นก็ทำใจให้ผาสุกกับการปล่อยการกระทำและผลนั้นให้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ให้โลกได้อาศัยแล้วก็ดับไปเมื่อหมดฤทธิ์ของเหตุปัจจัยที่กอบก่อ หมุนวนอยู่อย่างนั้น ๆ เมื่อเราพักพอดีแล้ว ก็เพียรอย่างเต็มที่ใหม่ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ ตราบที่เรายังมีชีวิตอยู่ ถ้าเราฝึกฝนกระทำสิ่งดังกล่าวให้ได้มั่นคงทุก ๆ วินาที เราก็จะได้จิตใจที่ผาสุกอย่างยั่งยืน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

“เราไม่พัก เราไม่เพียร ก็ข้ามโอฆะสงสารได้” (พระไตรปิฎกเล่ม 15 โอฆตรณสูตรข้อ 2) แปลว่า รู้เพียร รู้พัก ก็พ้นทุกข์ได้”

เมื่อถึงเวลาสมควรที่ต้องพากเพียรใหม่แต่ละครั้ง เราก็พากเพียรด้วยจิตใจที่ผาสุก รู้คุณค่า รู้ประโยชน์ของกุศลที่กำลังกระทำอยู่นั้น เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ปล่อยวางด้วยจิตใจที่ผาสุก อย่าไปโง่หลงสร้างสุขสร้างทุกข์ ยึดมั่นถือมั่นในใจกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก และมหาจักรวาล เพราะจะทำให้จิตใจไม่ผาสุกอย่างยั่งยืน

ในขณะที่เรายังดำรงชีวิตอยู่ เราควรทำใจผาสุกกับการไม่ทำอกุศล เพราะอกุศลเป็นโทษ ทำให้เดือดร้อน แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง ในอกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากอกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัยของการกอปรก่อและดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอปรก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหาจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน ควรทำใจผาสุกกับการทำกุศล เพราะกุศลเป็นประโยชน์ที่ควรอาศัย แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง ยึดมั่นถือมั่นในกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัยของการกอบก่อและดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอบก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหาจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน

แต่ในขณะที่ทำกุศลต้องทำอย่างยึดมั่นถือมั่น (กำให้แน่น) ติดในกุศลอย่างรู้คุณค่าประโยชน์ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีพลังและไม่มีความผาสุกในการทำกุศล แต่เมื่อเสร็จแล้ว พึงปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นให้หมดทั้งการกระทำและผลของการกระทำ ปล่อยวางทุกอย่างให้โลก (แบให้เกลี้ยง) เราเอาความผาสุกสงบสบายในใจกับความปล่อยวาง กับความไม่ได้ ไม่เป็น ไม่มีอะไร เพราะเป็นทางเอกสายเดียวที่จะทำให้เราได้จิตใจที่ผาสุก อย่างยั่งยืน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา (การปฏิบัติสู่ความสมดุล พอดี เป็นกลาง) เป็นทางเอกสายเดียวที่พาพ้นทุกข์” (กลางในการหยุดชั่ว/อกุศล/บาป-เวร-ภัย/ความไม่สมดุล/ความไม่พอดี ด้วยใจที่ผาสุก กลางในการทำดี/กุศล/ความสมดุล/ความพอดีด้วยใจที่ผาสุก กลางในจิตใจที่ผาสุก สงบ สบาย เบิกบาน ผ่องแผ้ว ผ่องใส จากการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง)

ทุกวินาทีพึงหมั่นตรวจสอบและล้างความชอบความชังทุกอย่างในจิตใจ เพราะมันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในใจ และสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบ ไม่เคยหมดไปจากโลกอย่างถาวร และไม่เคยอยู่กับเราอย่างถาวร ในความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปหมุนวน อยู่อย่างนั้นตราบชั่วกาลนาน ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ในใจเราเลย แต่เราหลงโง่สร้างความรู้สึกชอบ/เป็นสุขหรือไม่ชอบ/เป็นทุกข์ในใจของเราเอง

ถ้าเราหลงชอบ/หลงว่าเป็นสุข ก็ทำให้เกิดอารมณ์ทุกข์จากความอยากได้ดังใจหมาย ถ้าไม่ได้ก็เกิดความทุกข์ใจ ถ้าได้ก็ลดความทุกข์ใจลงสู่ความไม่ทุกข์ชั่วคราว สั่งสมเป็นพลังงานหลงติดว่าเป็นสุขฝังไว้ในใจ แล้วก็อยากใหม่/ทุกข์ใจใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน ต่อให้สิ่งนั้นไม่มีโทษ เป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ แต่เราหลงว่าเป็นสุขในใจเรา ก็จะทำให้เราอยากได้มาก ถ้าไม่ได้ก็ทุกข์ใจ ถ้าสามารถหามาตอบสนองได้ ก็จะหาเอามามากจนเกินพอดี เมื่อการกระทำและสิ่งที่ได้มานั้นเกินพอดี สิ่งนั้นจะกลายเป็นพิษเป็นโทษทันที

ส่วนถ้าเราหลงชัง/หลงไม่ชอบใจ/หลงว่าเป็นทุกข์ในใจเรา เวลาเราประสบพบเจอสิ่งนั้น เราก็จะไม่ชอบใจ/ทุกข์ใจ อยากทำลายหรืออยากหลบเลี่ยงสิ่งนั้น ถ้าทำลายหรือหลบเลี่ยงไม่ได้ก็จะทุกข์ใจต่อไป ถ้าทำลายหรือหลบเลี่ยงได้ทุกข์ใจก็ระงับหรือลดลงสู่ความไม่ทุกข์/ เป็นสุขในใจชั่วคราว สั่งสมเป็นพลังงานฝังไว้ในใจ ซึ่งเป็นพลังงานหลงเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ถ้าทำลายหรือหลบเลี่ยงได้จึงจะเป็นสุข เวลาประสบพบเจออีกก็ทุกข์ใจ/ไม่ชอบใจอีก ต้องการทำลายหรือหลบเลี่ยงอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน

มนุษย์ผู้ฉลาดแท้ จะคงไว้เพียงการรับรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดเป็นโทษเท่านั้น จึงมีความผาสุกกับการละเว้นสิ่งที่เป็นโทษ มีความผาสุกกับการอาศัยสิ่งที่เป็นประโยชน์ และพึงจำไว้เสมอว่าอาการหลงชอบหรือหลงชัง ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ในใจเราจะปรากฎออกมา เป็นเป็นคราว ๆ อยู่เรื่อย ๆ (ยกเว้น ผู้ที่ละล้างมาหลายชาติจนเหลือน้อยแล้ว) เพราะเราได้หลงโง่สั่งสมพลังงานดังกล่าวอย่างมากมายมาหลายภพหลายชาติ เราไม่มีหน้าที่งงว่า ทำไมมันมากจัง เราไม่มีหน้าที่ท้อว่า ทำไมมันไม่หมดสักที เรามีหน้าที่คอยตรวจสอบและพากเพียรล้างพลังงานหลงโง่ดังกล่าวด้วยความผาสุกเท่านั้น ซึ่งละล้างได้ด้วยการวิปัสสนา คือ การใช้สติปัญญาหมั่นไตร่ตรองผลเสียของการมีอารมณ์ชอบ/ชังดังกล่าว หมั่นไตร่ตรองผลดีของการรู้ความจริงตามความเป็นจริง ผลดีของการไม่มีอารมณ์ชอบ/ชังดังกล่าวและพิจารณากรรม (การกระทำ) และวิบาก (ผลของการกระทำ) ว่าใครกระทำสิ่งใด ๆ เป็นสมบัติของผู้นั้น รอวันให้ผล บางอย่างให้ผลทันที บางอย่างต้องรอเวลาจึงจะให้ผล บางอย่างให้ผลข้ามภพข้ามชาติ สร้างกรรมดีก็ให้ผลดี สร้างกรรมไม่ดีก็ให้ผลไม่ดี เมื่อให้ผลจนหมดฤทธิ์ของเหตุแล้ว กรรมนั้นก็จบดับไป ถ้าสร้างกรรมใหม่ก็สั่งสมเป็นสมบัติใหม่และรอเวลาให้ผลตามเหตุปัจจัย

จงทำกุศล/แก้ปัญหาทีละอย่างด้วยจิตใจที่ผาสุก เมื่อกำลังทำกุศล/แก้ปัญหาใดอยู่ จงตัดความกลัวความวิตกกังวล ความห่วงหาอาลัยอาวรณ์ ในกุศลในปัญหา ในบทบาทหน้าที่อื่น ๆ ให้หมด เพราะความกลัว ความวิตกกังวล ความห่วงหาอาลัยอาวรณ์ ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย แต่จะเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงที่สุดต่อจิตใจและร่างกายของเรา

ต่อให้เรามีความกลัว วิตกกังวล ห่วงหาอาลัยอาวรณ์กับสิ่งอื่น เราก็ไม่สามารถกระทำพร้อมกันทั้งหมดได้ ในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว เมื่อองค์ประกอบเหตุปัจจัยจัดสรรให้เราต้องทำกุศลนั้น แสดงว่า ณ เวลานั้น สิ่งนั้นสำคัญที่สุด ดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด ควรทำที่สุด เป็นสาระแท้ที่สุด สิ่งอื่น ๆ ล้วนไม่ใช่สาระสำคัญทั้งสิ้น เพราะสิ่งต่าง ๆ บนโลกและจักรวาล ล้วนไม่มีสิ่งใดเป็นสาระแท้

ในขณะที่กำลังทำกิจกรรมใดก็ตามการทำด้วยความผาสุก อย่างรู้คุณค่าประโยชน์ อย่างยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละคือสาระแท้ที่ควรทำ เป็นสภาพการรู้เพียรอย่างมีเมตตา (ปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดี/สิ่งที่เป็นประโยชน์/ พ้นทุกข์/ผาสุก)กรุณา (ลงมือกระทำตามความปรารถนาดีนั้น) โดยกระทำด้วยอิทธิบาท ได้แก่ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ(จิตใจจดจ่อ ทุ่มโถมเอาใจใส่) วิมังสา (ตรวจสอบใคร่ครวญ ทั้งผลทางวัตถุและทางใจ) เพราะพระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือความสุขในโลกพระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสุขคือความพอใจ และพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่มีอิทธิบาทจะมีอายุเกินกัปล์ คือมีอายุยืนเกินกว่าที่ได้มา

และเมื่อทำเสร็จหรือทำยังไม่เสร็จ แต่มีเหตุจัดสรรให้ต้องกระทำอย่างอื่น ควรทำใจพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน (ไม่ยึดมั่นถือมั่น) ไปทำอย่างอื่นตามเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ไม่ทุกข์ใจ และพึงทำใจว่าการกระทำและผลที่ผ่านมานั้นก็ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง (มุทิตา-ยินดีที่เกิดดีขึ้น) จากนั้นทำใจให้ผาสุกกับการปล่อยวาง

การกระทำนั้น ๆ รวมถึงผลของการกระทำนั้น ๆ ให้เกิดดับอยู่บนโลกเป็นธรรมดา เป็นกลาง ๆ ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่สุข ไม่ทุกข์ในใจเรา แต่เรามีความผาสุกในใจกับความไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่รัก ไม่เกลียด (อุเบกขา-ทำใจให้เป็นกลาง ปล่อยวางความติดยึดและ เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง) นั้นแหละคือสาระแท้ที่ควรทำ เพราะสาระแท้ คือ ความผาสุกที่ยั่งยืนในใจเรา

ดังนั้นเมื่อมีปัญหาหรือกุศลอื่นแทรกเข้ามา ในขณะที่เรากำลังแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลอย่างหนึ่งอยู่ แล้วองค์ประกอบเหตุปัจจัยจัดสรรให้เราแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลที่แทรกเข้ามานั้น ให้ถือว่าการแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลที่แทรกเข้ามานั้นสำคัญที่สุด ดีที่สุดเป็นประโยชน์ที่สุด ควรทำที่สุด เป็นสาระแท้ที่สุด สิ่งอื่น ๆ ล้วนไม่ใช่สาระแท้ทั้งสิ้น


เพราะสิ่งต่าง ๆ บนโลกและจักรวาล ล้วนไม่มีสิ่งใดเป็นสาระแท้ เพราะสาระแท้ คือความผาสุกในใจเราทุกวินาที

เราพึงกระทำการแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลที่แทรกเข้ามานั้นด้วยความผาสุก เพราะต่อให้เรามี ความกลัว วิตกกังวล ห่วงหาอาลัยอาวรณ์กับปัญหาหรือกุศลเดิมหรือสิ่งอื่น ๆ เราก็ไม่สามารถกระทำพร้อมกันทั้งหมดได้ในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว โง่ทุกข์ทำไม ฉลาดผาสุกดีกว่า

ความกลัวโรค ยิ่งกลัวมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้โรคกำเริบรุนแรงมากเท่านั้น ๆ ความกลัวตาย ยิ่งกลัวมากเท่าไหร่   ยิ่งทำให้ความตายกำเริบมาเท่านั้น ๆ พึงทำจิตปล่อยวางความกลัว รู้ว่าโรคมันเป็นธรรมดาของมันอยู่อย่างนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตราบชั่วกาลนาน ไม่ดับตอนเป็น ก็ดับตอนตาย เป็นธรรมดา โรคดับไปแล้วก็มาใหม่ได้ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ มาแล้วก็ดับไปได้ ไม่ดับตอนเป็นก็ดับตอนตาย โรคเป็นของอยู่คู่โลก โรคเป็นเพื่อนของทุกคน เป็นเพื่อนที่คอยมาบอกว่าร่างกายเราไม่สมดุล/มีพิษ เราจะได้ปรับสมดุลล้างพิษจากร่างกายเสีย

โรคอยู่กับคนทุกคนเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า “โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ” ไม่มีใครสามารถทำความสมดุลทางวัตถุสสารพลังงานภายนอกจิตให้ยั่งยืนถาวรได้ (ความสมดุลที่ยั่งยืน มีได้ที่พลังงานทางจิตวิญญาณเท่านั้น) ดังนั้นในขณะที่เราสามารถจัดสรรวัตถุสสารพลังงานนอกจิตให้สมดุลได้โรคก็จะไม่แสดงอาการ และเมื่อความสมดุลที่จัดสรรได้แล้วนั้น ถูกเหตุปัจจัยกระทบจนความสมดุลแปรเปลี่ยนไปสู่ความไม่สมดุล โรคก็จะแสดงอาการ ดังนั้นทุกคนจึงมีโรคอยู่กับตัวเป็นธรรมดา โรคจะแสดงอาการเมื่อไม่สมดุล และจะไม่แสดงอาการเมื่อสมดุล โรคเป็นสัจจะที่มีหน้าที่เกิดและตายพร้อมกับคนเป็นธรรมดา

โรคเกิดจากวิบากเก่าที่ไม่ดีและความไม่สมดุลวิบากกรรมเก่าที่ไม่ดี สามารถแก้/บรรเทาได้ด้วยการบำเพ็ญกุศล ส่วนความไม่สมดุล สามารถแก้/บรรเทาได้ด้วยการดูแลรักษาปรับสมดุลเต็มที่ตามอค์ประกอบเหตุปัจจัยที่ทำได้ พึงปล่อยวางความกลัวความเกลียดโรค ทำใจให้เป็นกลาง ๆ และมีความผาสุกสงบสบายกับความเป็นกลาง ๆ ทำใจรับรู้ว่าแม้โรคหายเราก็ต้องตายต้องดับ แม้โรคไม่หายเราก็ต้องตายต้องดับ จะทุกข์กลัวตาย กลัวดับให้โง่ทำไม เมื่อเราดูแลรักษาอย่างเต็มที่แล้ว ถึงอย่างไรโรคมันก็ต้องหายอยู่ดี ไม่หายตอนเป็น มันก็หายตอนตาย และความตายก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ความตายเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ธรรมชาติให้มาเพื่อช่วยในการเปลี่ยนร่างกายที่ทรุดโทรมหรือทุกข์ทรมารมากเกินไป ให้ไปเอาร่างใหม่ที่ดีกว่าเดิมจะได้ทำหน้าที่/ทำกุศลได้ดียิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่มีปรินิพพานได้ ก็ทำให้สามารถสูญจากโลกได้ การหมั่นพิจารณาทบทวนยอมรับความจริงเหล่านี้ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับจิตใจและร่างกาย ช่วยให้หายหรือบรรเทาอาการของโรคได้เร็วได้ดีที่สุด แม้ไม่หายก็ช่วยให้ทุกข์ทรมานน้อย

ความเร่งรีบ/เร่งรัด/รีบร้อน ให้เกิดผลสำเร็จเร็ว ๆ เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จช้า พึงทำใจให้ผาสุกกับการพากเพียรทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่ ตามองค์ประกอบเหตุปัจจัย แต่อย่าเร่งผล เพราะการเร่งผล จะเกิดผลเสียร้ายแรงที่สุดต่อร่างกายและจิตใจ

พึงหมั่นพิจารณาว่า ความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นทุก ๆ วินาที ที่เราได้พากเพียรอย่างเต็มที่ ดังนั้น เราจึงควรมีความพอใจ/ผาสุกในใจ ทุกวินาทีที่เราได้พากเพียรเต็มที่ เพราะมันสำเร็จตามจริงทุก ๆ วินาทีอยู่แล้ว อย่าโง่ขาดทุนรอผลสำเร็จปริมาณมากหรือผลสำเร็จตอนจบ ภารกิจทั้งหมดแล้วค่อยผาสุก พึงทำใจให้ความผาสุกกับความสำเร็จแม้น้อย ตามรายทางไปเรื่อย ๆ อย่ารอผาสุกแค่ปลายทางอย่างเดียว

และผลก็ไม่ได้เกิดจากการเร่งผล ผลเกิดจากการกระทำเหตุ เมื่อเรามีความผาสุกกับพากเพียรทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่แล้ว จงมีความผาสุกในการปล่อยวางผล โดยทำใจว่าหายก็ได้ ไม่หายก็ได้ หายตอนเป็นก็ได้ หายตอนตายก็ได้ หายเร็วก็ได้ หายช้าก็ได้ เป็นก็ได้ ตายก็ได้ เพราะเราไม่สามารถกำหนดผลได้ ว่าจะให้ผลนั้นเกิดมากเกิดน้อยเกิดเร็วเกิดช้า และในความเป็นจริงเมื่อเราได้พากเพียรเต็มที่แล้ว ผลที่เกิดขึ้นทุกวินาทีก็มากที่สุดและเร็วที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง และไม่ว่าผลมันจะออกมาอย่างไร สุดท้ายมันก็ต้องดับไปอยู่ดี (การทำใจในผลของกิจกรรมการงานอย่างอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน)

ดังนั้น จงทำใจอย่ากลัวตาย อย่ากลัวโ่รค อย่าเร่งผล อย่ากังวล อย่าสอนคนที่ไม่ศรัทธา อย่าใจร้อน อยากขยายดีให้กว้างเกินมากเกินจนลำบากเกิน หรือทำไม่ไหว หรือทำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ให้ค่อย ๆ ทำไป มันก็จะค่อย ๆ ขยาย ค่อย ๆ โตขึ้นเองตามธรรม และอย่างอยากได้ดี หรืออยากให้เกิดสิ่งที่ดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่มีจริง/ที่ทำได้จริง การทำใจอย่างนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจมากที่สุด

จริงใจ ไมตรี

ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ความเจ็บป่วยที่หายช้าเพราะชีวิตทำชั่วมากกว่าดี

ชั่วมีมากกว่า ปวดฟันที่ยังหายเร็ว ปวดเหงือก ปวดฟันหายเร็วเลย ไม่ใช่หายง่าย ๆ หรอก ชั่วมากกว่าดี จะบอกให้ ต่อให้มียาดี หมอดี...

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

การปฏิบัติศีลให้ถูกตรงจะมีญาณปัญญา

มีญาณปัญญาในการชำแรกกิเลส จะมีญาณปัญญาในการทำกิจกรรมการงานมากขึ้น จะสืบเนื่องกันไปเพื่อชำแรกกิเลสได้ จะมีเหตุปัจจัยให้เรามีญาณปัญญามากขึ้น...

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

พลังของการให้อภัย ที่มีคุณค่าต่อเราและผู้อื่น

จิตของเรา เมื่อเราพร่องเราพลาดไปแล้ว ถ้าเราได้รับการให้อภัยและได้รับโอกาสจากใคร ๆ โดยเฉพาะความพร่อง ความพลาดที่ร้ายแรงที่หนัก...

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

การปฏิบัติธรรมกับการทำกสิกรรมไร้สารพิษ

ความเป็นคนจนของเรา ความไม่มีอุปกรณ์ของเรา ไม่มีเครื่องกล ไม่มีอะไรช่วย ก็ทำให้เราได้มีความสามารถ มีศักยภาพ มีปัญญา ได้ใช้ปัญญา ใช้ความสามารถ...

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

กสิกรรมไร้สารพิษกับธรรมะ เกี่ยวกันอย่างไร

เกี่ยวกันอย่างยิ่งเลย สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียวกัน หนุนกันไปหนุนกันมา ถ้าไม่มีกสิกรรมไร้สารพิษไม่มีทางมีสุขภาพที่ดีได้...

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

การตั้งศีลแบบละเอียดในเรื่องของอาหาร

อาหารเป็นหนึ่งในโลก อาหาร 4 อาหารคือ เครื่องค้ำจุนชีวิต 1. กวฬิงการาหาร อาหารที่เป็นคำข้าวด้านรูปธรรม พึงกำหนดรู้ความยินดีในกามคุณ 2....

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของความพ้นทุกข์ในชีวิต

อาจารย์ว่าพวกเราก็ฝึกฝนกันไป ก็ตามที่พวกเราพี่น้องเราทำมากันเป็นลำดับ ๆ รายการอริยสัจ 4 นี่ก็เป็นหัวใจสำคัญของชีวิต อริยสัจ 4...

รวมคำถามคำตอบรายการสุขภาพดีวิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว

รายการสุขภาพดีกับแพทย์วิถีธรรม ตอบปัญหาเพิ่มปัญญากับหมอเขียว ออกอากาศเวลา 9:30 -11:30 น. ทุกวัน ทางหมอเขียวทีวี ทางทีมสื่อแพทย์วิถีธรรมได้จัดทำวิดีโอแยกแต่ละคำถาม เพื่อสะดวกในการสืบค้นต่อไป

สันติภาพ

สันติภาพ

แด่พี่น้องและเพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย อาตมารู้สึกเป็นเกียรติอย่างเหลือประมาณ ที่คณะกรรมการแมนเฮ เล็งเห็นงานที่อาตมาทำมาทั้งชีวิต...

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

ธรรมะกับการทำนาแปลงเล็ก

การทำนาแปลงเล็กเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมอย่างไร - ก็เริ่มตั้งแต่เราทำไร้สารพิษ เป็นการทำนาแบบมีศีล ไม่เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น -...

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต

#ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ที่สุด_เป็นวิบากดีที่สุดต่อทุกชีวิต คำถามขอสัมมาทิฎฐิจากอาจารย์หมอเขียว อยู่บ้านตอนติดโควิด...

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีเท่ากับธรรมะแท้ๆ

ธรรมะแท้ๆ ที่ถ้าได้ทำให้ถูกตรงเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านมากที่สุดในโลก ในการดับทุกข์ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นสูงที่สุด...

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ความสุขสบายใจไร้กังวล

ทำสมดุลร้อนเย็น เรียนรู้ให้ดีเถอะ นี้คือ ความสุขสบายใจไร้กังวล #พึ่งตนเองได้เป็นหลัก ทำให้ชีวิตไม่ลำบากมาก อยู่ได้โดยไม่กังวล...

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

เราทำดีอะไรได้ เราก็ทำ

ทำในสิ่งที่เราทำได้ ก็ช่วยกันไป เราทำดีให้ดีที่สุด เท่าที่เราทำได้ ให้ผลดีเกิดขึ้นได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไป...

โทษของการคิดอกุศล

โทษของการคิดอกุศล

แค่แว๊ปเดียว แค่คิดในใจ นี้ยังไม่ออกมาทางกายวาจา แม้แค่คิดแค่ใจ มันยังหนัก มันก็มีแต่หนัก หนักมาก หนักมากที่สุด ญาณข้อที่ 4 พระโสดาบัน 7...

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้าย

เหตุปัจจัย วิบากร้ายจัดสรร ให้ไปเจอหรือดึงเรื่องร้ายมาใส่ได้ทุกเรื่อง จากการผิดศีลในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม มันจะดึงเรื่องร้ายๆ...

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

ธรรมะพาพ้นทุกข์จากภัยโควิด 19

พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะรักษาชีวิตก่อน สละได้ไหม สละการงานก่อนและเพื่อรักษาธรรม ด้วยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น...

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

วิธีที่สงบสบายแบบยั่งยืน คือ ต้องกำจัดกิเลสได้

ระหว่างความรู้สึก กินอร่อยๆ ทั้งวัน กับอิ่มสบายทั้งวัน อิ่มสบาย มันสบายกว่านะ ต่อให้มันอร่อย แต่ไม่อิ่มสักที หิวๆๆ กับอิ่มสบาย...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 2/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส ต่อ #2/2 (จบ) เทวดาโลกียะ(สมมติเทพ) คนดีที่เต็มไปด้วยการเสพ โลกธรรม กาม อัตตา อบายมุข...

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

ความซวยของคนดีที่ไม่ลดกิเลส 1/2

คนที่ทำชั่วมามากทำไมไม่รู้สึกผิด?? *ไฮไลท์ #คนก็หลงว่าโอ้โหมันได้ดีก็ไปทำตามกันตามกัน ก็ยิ่งเป็นบาปบาปซ้ำซ้อนเข้าไปอีก...

630418_ธรรมะพาพ้นทุกข์

630418_อาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน อาคารดอยฟ้า พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ บ้านแม่เลา แม่แตง เชียงใหม่ 18 เมษายน 2563 13.00-15.00 น....

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

ลิงค์เสียงบรรยายค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ 27

เสียงบรรยายของอ.หมอเขียว ค่ายพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๒๗ ระหว่างวันที่ 26  ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2562 รุ่น ดับกิเลส ดับเครื่องกังวล 621026_1...

ผู้มีปัญญามาก  แม้ประสบทุกข์ก็หาสุขพบ

อ.หมอเขียว ยกเตสกุณชาดกที่ 1 ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2438-2444 โดยนำข้อที่ 2444 มาขยายความ...

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

ถ้าใครมีธรรมะ จะไม่หวั่นไหวในสถานการณ์โควิด 19

อ.หมอเขียวยกศิริมันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อที่ 2084-2089 โดยนำข้อ 2089 มาขยายความ คนมีปัญญาน้อยมีเหตุการณ์สุขหรือทุกข์ก็สร้างความหวั่นไหวให้กับตัวเองได้ ในช่วงท้ายอ.หมอเขียวแนะนำวิธีคิดที่ไม่ทุกข์ ในเหตุการณ์การระบาดของโควิด ไม่ว่าเราจะติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ซึ่งหลักการดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเหตุการณ์ ทุกปัญหาในชีวิต

อ่านรายละเอียดที่
https://morkeaw.net/?p=3742&preview=true

Playlists-Youtube แนะนำแพทย์วิถีธรรมกับโควิด-19

#เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

ถึงวันนี้การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินไป ความกลัว ระแวง หวั่นไหวเพิ่มขึ้นทั่วโลก แพทย์วิถีธรรม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน และขอส่งลิงค์แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ให้ทุกท่านได้พิจารณา

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

3 สิ่งสำคัญที่สุดในโลกของชีวิต

ฟังเสียงอ.หมอเขียวกล่าวถึงเรื่อง 3 สิ่งสำคัญของชีวิต ที่เป็นหัวใจของความแข็งแรง มั่นคง มีคุณค่า และผาสุกที่สุดในโลก คือปัจจัย4 มิตรดี มีศีล

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

การปฎิบัติของพระโพธิสัตว์ยามพบภัย

อ.หมอเขียวเน้นย้ำว่า เมื่อเกิดวิกฤต ชาวพุทธจะตั้งและปฏิบัติอริยศีลที่ถูกตรง เพื่อเพิ่มพลังกุศล ครั้งนี้ อ.หมอเขียวยกตัวอย่างการปฎิบัติของพระโพธิสัตว์เมื่อเจอภัยพิบัติ ซึ่ง มีทีมจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมทำการตัดต่อเสียง และเผยแพร่ใน Morkeaw Podcast

630320 แนะนำรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ ทุกวัน 20:00น

พบกับรายการธรรมะพาพ้นทุกข์ โดยดร.ใจเพชร กล้าจน ทุกวัน ในช่วงเวลาประมาณ 20:00 - 21:00 น บางทีก็ประมาณ 19:45 น หรือถึงประมาณ 21:00 น...

ยังไม่ชัดเจนกับทางโลกทางธรรม มีวิธีการเลือกอย่างไร

ถาม : ทำอย่างไรเราจึงจะมีวิธีการเลือกว่าชีวิตเราจะเลือกในโลกีย์หรือโลกุตระ  เพราะตอนนี้ตนเองเหมือนกับยังไม่ชัดเจนกับทางธรรม...

ุ630318 21.195 กรรมเก่าใช้แล้วก็หมดไป ไม่สร้างวิบากร้ายใหม่

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อที่ 195  เนื้อหาย่อ พระพุทธเจ้าบอกวิธีปฏิบัติว่า ทำอย่างไรวิบากเก่าที่เราได้รับนั้นมันจะไม่เพิ่มขึ้น...

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ

มหาวรรคที่ 5 พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 ข้อ 194 องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ 1 สีลปาริสุทธิ...

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

ขยายความบททบทวนธรรม เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่าง ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เราจะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น

เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เท่าที่เป็นไปได้ตามภูมิ เท่าที่จะทำได้ คือ ตามภูมิตามบารมีที่มีตามภูมิตามบารมีที่มี มีเท่าไหร่ก็สุดฝีมือเท่านั้นแหละจบ ก็ปรารถนาให้เกิดดีแล้วก็จบ ให้โลกแล้วเราได้อาศัยก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับไปเท่านั้น ก็เมื่อเราทำดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว โลกก็จะได้อาศัย คนในโลกก็จะได้อาศัย เราก็จะได้อาศัยดีที่เราทำนั้น ก็ได้อาศัยเพราะชีวิตอยู่ก็ต้องอาศัยสภาพดีๆ นั่นแหละ เท่าที่มันจะเป็นไปได้ดีเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ได้อาศัย ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นแหละดีเท่าไหร่ก็เท่านั้น ที่จะได้อาศัย แม้อาศัยแล้ว แต่มันก็จะดับไปนะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ไปตลอด สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา แม้ดีก็ต้องดับไปนะ แม้ร้ายก็ต้องดับไปน อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันจะอยู่ตลอด เกิดแล้วมันก็ดับๆ หมดฤทธิ์เขาก็ดับๆ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเราไม่ยึดมั่นถือมั่นเราก็ไม่ทุกข์
…ฝึกทำดีแล้วก็วางดีๆ ให้ฝึกไว้ ให้ทบทวนไว้ว่า มันไม่ได้อยู่ไปตลอดนะ แม้ดีแค่ไหนเกิดแล้วก็ดับๆ บอย่างนี้เป็นต้น ก็จะได้ไม่ทุกข์ จิตเราก็เป็นอิสระจากทุกข์

620704 ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้

ไม่มีใครอยากทุกข์ ที่เขาทำทุกข์เพราะเขาไม่รู้ ที่เขาไม่รู้เพราะมีวิบาก 11 ประการ จากการไม่เคารพไม่ศรัทธาพระพุทธเจ้าหรือสาวกแท้...