เม็ดเลิศ 9 : รู้เพียรรู้พักให้พอดี
มีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ แต่ต้องการคำตอบที่สั้นที่สุด พระพุทธเจ้า ตอบว่า “เราไม่พัก เราไม่เพียร ก็ข้ามโอฆะสงสารได้” ครูบาอาจารย์ได้แปลให้เข้าใจง่ายก็คือ “รู้เพียรรู้พักก็พ้นทุกข์ได้” การเพียรพอดีพักพอดี จะทำให้พลังชีวิตเต็ม การเพียรน้อย/เกินพักมากเกิน พลังชีวิตก็ตก ทำให้เสียสุขภาพ การเพียรมากเกิน/พักน้อยเกิน พลังชีวิตก็ตก ทำให้เสียสุขภาพ ดังนั้น กิจกรรมทุกอย่างจึงควรรู้เพียรรู้พักให้พอดี จึงจะทำให้เกิดสุขภาพดีสุด
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เราไม่พัก(เราเพียร) เราไม่เพียร(เราพัก)
เราข้ามโอฆะได้แล้ว (เราพ้นทุกข์ได้แล้ว)”
(พระไตรปิฎก เล่ม 15 ข้อ 2)
คือ การพากเพียรทำหน้าที่กิจกรรมการงานที่เป็นประโยชน์ต่างๆนั้นทำตามองค์ประกอบเหตุปัจจัยที่ทำได้อย่างเต็มที่ในขนาดที่ให้หนักเหนื่อยแต่อย่าให้ป่วยอย่าให้ทรมานตนเองเกินไป(จะทำให้ชีวิตแข็งแรงแข็งแกร่งที่สุด) แล้วพักผ่อนให้พอดีสุขสบายเบากายมีกำลัง ไม่ว่าจะเป็นการเพียรหรือการพักนั้น ควรทำในขนาดที่ไม่มากหรือน้อยจนทรมานตัวเองเกินไปจะทำให้เลือดลมสารและพลังงานต่าง ๆไหลเวียนดี ได้พลังคลื่นแม่เหล็กวิบากดีด้วย โรคภัยไข้เจ็บลดน้อยลง แข็งแรง และอายุยืน
(ยกเว้น เมื่อมีสถานการณ์บีบบังคับให้มีความจำเป็นต้องพากเพียรหนักมากเกิน หรือพักมากเกิน เป็นบางคราว ถ้าคุ้มกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นก็ยอมให้เกิดความเจ็บป่วยได้ แล้วค่อยมาซ่อมแซมแก้ไขปัญหาสุขภาพในภายหลัง ถือว่าเป็นวัคซีนที่สร้างภูมิต้านทาน/ความแข็งแกร่งให้กับชีวิต ซึ่งสามารถกระทำได้ในบางครั้งบางคราว ไม่ใช่กระทำเป็นประจำ)
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ตั้งตนอยู่บนความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง
-พากเพียรอยู่ในขีดลำบาก
-แต่อย่าให้ทรมานมากเกินไป
-พักให้พอ จุดสำคัญก็คือ เพียรให้หนักให้เหนื่อย แต่อย่าให้ป่วยและก็พักให้พอ
มีส่วนสำคัญ 3 ข้อ ดังนี้
1. การพากเพียรทำกิจกรรมการงานต่างๆ มากเกินไปก็จะทำให้เกิด ร่างกายทรุดโทรม เสียหาย
2. พักมากเกินไป ก็เสียสุขภาพ เลือดลมไหลเวียนไม่ดี
3. ทางสายกลาง คือไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป อาจจะตึงเป็นบางครั้งไม่เป็นไร
แต่ทำตรงนี้ให้ได้มากที่สุด (เท่าที่จะทำได้)