ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

เม็ดเสริม 5 : การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ

การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ: Playlist

สภาวะร้อนเกิน

นำสมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น ย่านาง ใบเตย บัวบก ผักบุ้ง กาบกล้วย สมุนไพรรสฝาด โขลก สับ ให้ละเอียด นำไปพอก-ทา ในจุดที่รู้สึกไม่สบาย

กรณีมีภาวะร้อนเกินหรือเย็นหลอก


ถอนพิษด้วยการพอก/ทา
ด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น โดยนำสมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น ใบเตย เบญจรงค์ (อ่อมแซบ) ผักบุ้ง บัวบก ย่านาง รางจืด วุ้นว่านหางจระเข้ ใบมะขาม ใบส้มป่อย กาบหรือใบหรือ หยวกกล้วย เป็นต้น จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ มาหั่นหรือโขลกให้แตกพอประมาณ

-อาจใช้กากสมุนไพรที่เหลือจากการทำนํ้าเขียว หรือนํ้าสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดก็ได้
-อาจใช้ผ้าชุบน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดก็ได้
-อาจใช้ดินคลุกกับน้ำให้เหลวเหมือนดินตมก็ได้
-อาจใช้นํ้าสมุนไพรฤทธิ์เย็นสด คลุกกับดินสอพอง หรือปูนเคี้ยวหมากหรือแป้งฝุ่นที่ใช้ทาหน้าทาผิวให้พอเหลวก็ได้
-อาจใช้ถ่านที่ใช้ก่อไฟโขลกหรือบดให้ละเอียด ผสมกับดินสอพองหรือดินเปล่า ๆ นํ้าปัสสาวะและ น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น (บางอย่างที่หาไม่ได้ก็ไม่ต้องใช้สิ่งนั้น) คลุกเคล้าให้เข้ากันพอเหลวก็ได้
-อาจใช้นํ้าสกัดด้วยการกลั่นสมุนไพรฤทธิ์เย็น น้ำมันเขียว น้ำมันเหลือง น้ำมันพิมเสน การบูร เมนทอล ขี้ผึ้งย่านาง เบญจรงค์ ขี้ผึ้งเสลดพังพอน ขี้ผึ้งแก้หวัด ยาหม่องดำก็ได้

ในกรณีที่เป็นฝีเป็นหนอง ตุ่มนํ้าใส ตุ่มนํ้าขุ่น นํ้าเหสืองไหลซึมที่ผิวหนัง ใช้สมุนไพรรสฝาด เช่น เปลือกต้นแค เปลือกต้นหว้า เปลือกต้นสะเดา (ส่วนกะพี้ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างเปลือกนอก กับแก่น) เปลือกต้นทับทิม เปลือกต้นประดู่ เปลือกต้นค้อ เปลือกต้นเปลือย เปลือกผลมังคุด เปลือกผลทับทิม เป็นต้น ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน โขลกให้แตกหรือฝนให้ละเอียด ใส่นํ้าสะอาดหรือนํ้าปัสสาวะหรือน้ำสมุนไพรที่ถูกกันเข้าไปเล็กน้อย คั้นเอาแต่นํ้าสมุนไพรรสฝาดจะดูดซับนํ้าดูดซับหนองได้ดี

นํ้าสมุนไพรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง มา พอก/ทาบริเวณที่รู้สึกไม่สบายให้นานเท่าที่รู้สึกสบาย โดยทั่วไปใช้เวลาพอก ประมาณ 10-60 นาที เท่าที่รู้สึกสบายทุก 5-6 ชั่วโมงหรือทุก 12 ชั่วโมงก็ได้ หรือ จำนวนครั้งที่พอกต่อวันเท่าที่รู้สึกสบาย ถ้าสมุนไพร เริ่มแห้งหรือเริ่มรู้สึกไม่สบาย อาจล้างออก หรือถ้าต้องการใช้ถอนพิษต่อก็พรมด้วยน้ำหรือสมุนไพรให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ เมื่อพอกถอนพิษได้เหมาะสมตามความต้องการจึงค่อยล้างออก สามารถพอก/ทาได้หลายครั้ง เท่าที่รู้สึกสบาย

การอาบ แช่ หรือเช็ดตัว ด้วยน้ำธรรมดาหรือ นํ้าสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดที่เจือจางกับนํ้าเปล่า ก็ช่วยถอนพิษร้อนได้ดี

การหยอดตา/หู ด้วยนํ้าสมุนไพรฤทธิ์เย็นสด หรือนํ้าสมุนไพรฤทธิ์เย็น ต้มแล้วปล่อยให้เย็น หรือ นํ้าสกัด(กลั่น) สมุนไพรฤทธิ์เย็นที่เมื่อดื่ม/สัมผัสผิวกาย/ หยอดตา-หู แล้วรู้สึกสบาย ก็ช่วยลดอาการไม่สบาย ช่วยถอนพิษ/ปรับสมดุลที่ตา-หู และถอนพิษ/ปรับสมดุล จากอวัยวะภายในได้ดี

สภาวะเย็นเกิน

นำสมุนไพรฤทธิ์ร้อน (นำไปต้ม) เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด นำไปพอก-ทา ในจุดที่รู้สึกไม่สบาย

กรณีที่มีภาวะเย็นเกินหรือเย็นหลอก


ให้พอก ทา ประคบ อบ อาบ หรือเช็ด
ด้วยสมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ไพล ใบมะกรูด เกลือ น้ำมันพืช/นํ้ามันสัตว์ชนิดต่าง ๆ ขี้ผึ้งขมิ้น ขี้ผึ้งไพล ขี้ผึ้งนํ้ามันงา ขี้ผึ้งนํ้ามันระกำ เป็นต้นในปริมาณและระยะเวลาเท่าที่รู้สึกสบาย

การเช็ดด้วยสมุนไพรที่ถูกกันให้ใด้ผลดี คือ เช็ดเน้นจุดลมปราณสำคัญที่จะช่วยระบายพิษได้มาก ได้แก่ ข้างกระดูก ข้างเส้นเอ็น ข้างเส้นประสาท ร่องกล้ามเนื้อ และรอยบุ๋มของส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย

การหยอดตา/หู ด้วยนํ้าสมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น นํ้าขมิ้นสดหรือนํ้าขมิ้นต้มที่ปล่อยให้เย็นแล้ว หรือน้ำขมิ้นสกัด (กลั่น) หรือสมุนไพรฤทธิ์ร้อน ที่เมื่อดื่ม/สัมผัสผิวกาย/หยอด ตา-หู แล้วรู้สึกสบาย ก็ช่วยลดอาการไม่สบาย ช่วยถอนพิษ/ปรับสมดุลที่ตา-หู และถอนพิษ/ปรับสมดุลจากอวัยวะภายในได้ดี

สภาวะเย็นเกินหรือร้อน-เย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน

ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น(นำไปต้ม) เช่น ย่านาง ใบเตย บัวบก ผักบุ้ง กาบกล้วย สมุนไพรรสฝาด นำไปพอก-ทา ในจุดที่รู้สึกไม่สบาย

กรณีที่มีภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน

ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นผ่านไฟ หรือสมุนไพรทั้ง ร้อนและเย็นผ่านไฟ เช่น น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือ สมุนไพรทั้งร้อนและเย็น ต้มให้เดือด 5-10 นาที แล้วผสมนํ้าธรรมดาให้อุ่น ใช้อาบ หรือนำผ้าชุบบิดให้ หมาด วางประคบหรือเช็ดบริเวณที่ไม่สบาย หรืออาจ นำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือสมุนไพรทั้งร้อนและเย็น หั่น ให้เล็ก หรือโขลกพอแตก ห่อเป็นลูกประคบ นึ่งให้ร้อน วางประคบบริเวณที่ไม่สบาย ถ้ารู้สึกร้อนเกินไปก็ใช้ผ้ารองที่ผิวหนังก่อนประคบก็ได้

กรณีการอบสมุนไพร

การอบสมุนไพรเป็นการช่วยปรับสมดุลให้ปอด หลอดลม และระบบทางเดินหายใจแข็งแรง ทำให้มีประสิทธิภาพในการระบายพิษได้ดี

อุปกรณ์

  • หม้อหุงข้าวเติมน้ำ
  • สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น ใบย่านาง ใบเตย หยวกกล้วย
  • สมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง
  • เก้าอี้ ผ้าคลุม ผ้าห่ม

การหยอดตา/หู ด้วยน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นผสมฤทธิ์ร้อน เช่น นํ้าสกัด(กลั่น) ใบพลูผสมว่านหางจระเข้ หรือนํ้าใบพลูสดผสมว่านหางจระเข้สด หรือนํ้าต้มใบพลูผสมว่าน หางจระเข้ แล้วปล่อยให้เย็น ที่เมื่อดื่ม/สัมผัสผิวกาย/หยอด ตา-หู แล้วรู้สีกสบาย ก็ช่วยลดอาการไม่สบาย ช่วยถอนพิษ/ปรับ สมดุลที่ตา-หู และถอนพิษ/ปรับสมดุลจากอวัยวะภายในได้ดี

หนังสือน่าสนใจ