ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูขั้นตอนการสมัคร กดที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารลงชื่อคัดค้านกาสิโนถูกกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร กดที่นี่  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ที่นี่

ตลาดวิถีธรรม

ตลาดวิถีธรรม ของดี ราคาถูก ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ

วัตถุประสงค์โครงงานตลาดวิถีธรรม

  1. ส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืนตามปณิธานขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล (รัชกาลที่ 9)
  2. สนับสนุนการพึ่งตนเอง แบบ เรียบง่าย และ ประหยัด
  3. เสริมสร้างจิตวิญญาณคนในชุมชนให้รู้จักการแบ่งปันไม่โลภไม่เห็นแก่ตัว ระหว่างผู้ซื้อและผู้ให้
  4. สนับสนุนพี่น้องกสิกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ไร้สารพิษ เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ และธัญพืช ฯลฯ
  5. เพื่อมวลมนุษยชาติ (เกื้อกูลผองชน/ให้ได้รับประทานอาหารไร้สารพิษ)

บริบทและลักษณะโครงงาน

โครงงานบริการสังคมไม่เป็นอาชีพ สร้างการเปลี่ยนแปลง/พัฒนาในชุมชน/สังคม

โครงงาน ”ตลาดวิถีธรรม” เป็นงานส่วนหนึ่งของจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมตามนโยบายของ ท่านอาจารย์ ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)  โดยใช้สถานที่ สวนป่านาบุญ 3 เป็นที่ทำการตลาดและเป็นเหมือนศูนย์ประสานงานกับเครื่อข่ายทั่วประเทศ รวมถึงการดูแลและเก็บสต๊อคสินค้า เช่น ข้าวและธัญพืช เพื่อให้คนในชุมชนหรือชาวค่ายได้เรียนรู้ฝึกฝน ได้บริโภคอาหารที่ไร้สารพิษ จากกสิกรคนไทยสนับสนุน เรื่องการแบ่งปันฝึกฝนปฏิบัติศีล 5 เป็นขั้นต่ำรู้รักรู้อภัยไม่เห็นแก่ตัว โดยใช้ราคาเป็นเอกลักษณ์ และไม่มีสินค้าฟุมเฟีอยในตลาดวิถีธรรม โดยใช้ราคาบุญนิยม 4 ระดับ

  1. ขายราคาต่ำกว่าท้องตลาด
  2. ขายราคาเท่าทุน
  3. ขายราคาขาดทุน
  4. แจกฟรี

 

ท่าข้าวคลองสาม

ภาพ “ท่าข้าวคลองสาม” ในยุคแรก ๆ ที่ข้าวยังบรรจุใส่ลังกระดาษตามที่ต้นทางสามารถจัดหาได้

ข้าววิถีธรรมไร้สารพิษถุงแรก

ข้าววิถีธรรมไร้สารพิษถุงแรกที่ แพ็คที่ท่าข้าวคลองสาม เมื่อ 29 พฤศจิกายน  2557

ภาพบางส่วนของจิตอาสาที่ไปบำเพ็ญที่ศิริราชวิถีธรรม

ภาพบางส่วนของจิตอาสาที่ไปบำเพ็ญที่ศิริราชวิถีธรรม เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558 ครั้งที่อ. หมอเขียวมาให้กำลังใจ

การดูงานตลาดอาริยะ ณ ชุมชนราชธานีอโศก ต.บุ่งไหม อ.วารินชำราบ  จ.อุบลราชธานี 13-15 เมษายน 2558  งานตลาดอาริยะเป็นตลาดของการแบ่งปัน โดยพ่อให้แม่ให้ทั้งหลายจะจัดหาสินค้า อาหารที่จำเป็นมาขายในราคาต่ำกว่าทุน เป็นการแสดงการปฎิบัติ สละ ลดความโลภออกจากตนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเงินทุนที่จะมาอาริยะครั้งนี้เกิดจากการรวมกำลังทรัพย์ของชาวอโศกทั่วประเทศ ที่ตั้งใจร่วมกันมาเสียสละซื้อ หรือผลิตสินค้าไม่เอากำไร ไม่บวกค่าขนส่ง ไม่บวกค่าแรงงาน และต้องขายต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาจริง การขายต่ำกว่าทุนนี้ ก็คือขาดทุนนั่นเอง ขาวอโศกเรียกว่า “กำไร อาริยะ” ซึ่งชาวอโศกทำเป็นประเพณีติดต่อกัน

บรรยากาศตลาดอาริยะ ที่ ณ ชุมชนราชธานีอโศก

บรรยากาศตลาดอาริยะ ที่ ณ ชุมชนราชธานีอโศก

การดูงานตลาดอาริยะ ณ ชุมชนราชธานีอโศก ต.บุ่งไหม อ.วารินชำราบ  จ.อุบลราชธานี 13-15 เมษายน 2558  งานตลาดอาริยะเป็นตลาดของการแบ่งปัน โดยพ่อให้แม่ให้ทั้งหลายจะจัดหาสินค้า อาหารที่จำเป็นมาขายในราคาต่ำกว่าทุน เป็นการแสดงการปฎิบัติ สละ ลดความโลภออกจากตนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเงินทุนที่จะมาอาริยะครั้งนี้เกิดจากการรวมกำลังทรัพย์ของชาวอโศกทั่วประเทศ ที่ตั้งใจร่วมกันมาเสียสละซื้อ หรือผลิตสินค้าไม่เอากำไร ไม่บวกค่าขนส่ง ไม่บวกค่าแรงงาน และต้องขายต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาจริง การขายต่ำกว่าทุนนี้ ก็คือขาดทุนนั่นเอง ขาวอโศกเรียกว่า “กำไร อาริยะ” ซึ่งชาวอโศกทำเป็นประเพณีติดต่อกัน

การตลาดวิถีธรรมหรือวิถีพุทธ

เป้าหมายคือสร้างคนดีขึ้นในสังคมในสังคม เรามีคำขวัญที่ว่า “ของดี ราคาถูก ซื่อสัตย์ มีน้ำใจ” ทุกครั้งที่มีการจัดค่ายสุขภาพ 5 วันหรือ 9 วันเราจะจัดตลาดวันสุดท้ายกับพี่น้องที่เข้าค่ายประมาณ  200 ถึง 300 คนไม่รวมจิตอาสา คนเหล่านี้คือองค์ประกอบของตลาดคือสังคมเล็กที่เกิดขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่องทั้วประเทศเราพบพานคนดีๆมากมายเมื่อเขาได้มาเข้าค่ายมากินมานอนร่วมกันมาดูแลเรื่องสุขภาพทางกาย เราเติมเต็มความผาสุขทางใจให้ในการทำตลาดวิถีธรรมได้ช่วยชาวนาชาวไร่ได้เกื้อกูลกระดูกสันหลังของชาติ สนับสนุนกสิกรไร้สารพิษอย่างจริงจัง สนับสนุนคนดีให้มีโอกาศ เรามิสามารถช่วยคนได้ทั้งหมดแต่เราขอเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยสังคมให้คนดีมีที่ยืน (อาจารย์หมอเขียวเคยพูดว่า”ผมจะช่วยชาวนาจนกว่าชาวนาจะเลิกปลุกข้าว”) นำพาให้จิตอาสาถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ ข้าพเจ้าเองมีหน้าที่โดยตรงในการทำตลาดและช่วยเหลือกลุ่มกสิกรไร้สารหรือเครื่อข่ายที่อยู่ในกติกาของแพทย์วิถีธรรมรับซื้อผลผลิตจากชาวนาโดยให้เขาเป็นผู้กำหนดราคา เพื่อให้เขาอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ตามคำในหลวงรัชกาลที่ 9 นำพาเป็นตัวอย่าง อยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงอย่าทำอะไรเกินตัวเกินกำลังอย่าอยากได้อะไรที่ไม่จำเป็น ประหยัด อดออม เสียสละพี่งพากันได้ อยากกินอะไรปลูกสิ่งนั้น ผักไร้สารพิษ กฐินริมรั้ว ผักบุ้งริมคลอง ฯลฯ

ตลาดวิถีธรรม เกิดขึ้นมาโดยการเสียสละมาทำงานฟรีจากทีมจิตอาสาทั่วประเทศเป้าหมายคือช่วยสังคมช่วยมนุษยชาติให้บริโภคอาหารที่ไร้สารพิษเป็นสังคมที่พี่งพากันได้ ค้าขายก็ไม่เอาเปรียบผู้บริโภคอยู่บนฐานของคนมีศึลธรรมเลือกสรรของดีมีคุณภาพ ทำงานเป็นทีม มีความจริงใจต่อกัน ขายของดี ราคาถูก ซื่อสัตย์ มีน้ำใจคนดีจะมาเจอกัน น้ำจะใหลมาหาน้ำ  ขาดทุนคือ กำไรของเรา เหมือนคำดำรัสของพ่อหลวงภูมิพล ของเรา

อุดมการณ์ของพี่น้องและ ทีมงาน “ยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา”

สามัคคีคือพลังเป็นกุศลติดตามตัวไปทุกภพชาติ เราทั้งผองพี่น้องกัน

การดำเนินงานทางการเงินและบัญชี

การตลาดวิถีธรรมเกิดขึ้นจากการเสียสละของจิตอาสาและผู้มีน้ำใจเข้าใจวิถีของการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนสินค้าในซื้อเป็นเงินสดทั้งหมดโดยมีฝ่ายบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบหรือถ้ามีการจ่ายหรือรับก็มีเอกสาร เช่น บิลมาเบิกโดยมีการลงบันทึกโดยละเอียด และสรุปบัญชีทุกเดือนว่าในแต่ละเดือนมีตลาดกี่่ครั้งจัดที่ไหน และซื้อของเข้าสต๊อคไปเท่าไรมีสินค้าคงเหลือเท่าไหร่ ซึ่งก็ได้แรงบุญของทีมงานจิตอาสาหรือคนในค่ายได้มาร่วมกันบำเพ็ญ สิ่งสำคัญไปกว่านั้นผลิตภัณฑ์หรือผักหรือสินค้าบางอย่างที่เข้ากฏเกณฑ์จะได้รับจากการบริจาคจากจิตอาสาหรือผู้เข้าค่ายมามอบให้ ทั้งจากที่เลิกกิจการ ทั้งจากแบ่งปันมาจากธุรกิจร้านค้าของตนเอง มามอบให้ในตลาดเพราะเนื่องจากเราไม่รับบริจาคเงิน ”หลักการบำเพ็ญศูนย์บาท” จึงทำให้สินค้าในตลาดส่วนหนึ่งไม่มีต้นทุนแต่มีมูลค่าของน้ำใจของผู้มอบ ซึ่งมีอยู่อย่างต่อเนื่องเกือบๆทุกค่ายทุกภาค และเมื่อสินสุดการปิดตลาดสมาชิกในตลาดที่เราเรียกว่า พ่อให้ แม่ให้ ได้นำเงินจากการขายมามอบให้เราเป็นทุนรอนในการจัดตลาดครั้งต่อๆไปหรือจัดหาสินค้าเข้ามาในตลาด เช่น

ตัวอย่าง คุณผาสุข (จิตอาสา) ขายกล้วยในตลาดได้ 12 หวี ได้นำมามอบให้กับทีมตลาดทั้งหมดเหตุผลคืออยากทำบุญและเข้ากฏเกณ์ฑเราจำนวน 120 บาท

คุณบารมีผู้เข้าค่าย 5 วันในวันสุดท้ายของค่ายได้นำกระเป๋าสารพื้นบ้านจำนวน 10 ใบมามอบให้ในตลาดเพื่อขายนำเงินมาเป็นทุนในการดำเนินการตลาดและตลาดได้ขายได้เงินมา 1000 บาท

คุณกุศลบริจาคไม้กวาด 10 ด้ามให้มาเป็นสินค้าในตลาดเอามาขายได้เงินมา 400 บาท เป็นต้น

การบันทึกบัญชีก็จะแยกประเภทและตีเป็นมูลค่าไว้ชัดเจนและสรุปบัญชีทุกเดือนส่งให้อาจาร์ยหมอเขียวตรวจและสรุปงานที่ไปบำเพ็ญมาและแจ้งสรุปหมู่กลุ่มใหญ่โดยมี ฝ่ายบัญชี/และการเงิน สรุปมาถึงข้าพเจ้าและนำส่งถึงคุณหมอเขียว บัญชีของตลาดไม่ซับซ้อนเพราะเราไม่มีหนีต้นทุนของเราเริ่มจากการเสียสละ การซื้อขายก็ซื้อขายเป็นเงินสดฯลฯ

หลักพุทธศาสนากับความรับผิดชอบทางสังคม

หลักการแพทย์วิถีธรรมโดยการนำของท่านอาจารย์ใจเพชร กล้าจน เป็นแนวทางในการพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  จิตอาสาของแพทย์วิถีธรรมต้องผ่านการฝึกฝนการฟังธรรมอย่างต่อเนื่อง และทำงานหนักไปพร้อมๆกัน มีการประชุมหมู่อย่างต่อเนื่อง ทำกิจการหลักๆเช่น ตื่นเช้าสวดมนต์ตั็งแต่ 4 นาฬิกาของทุกวันทุกค่ายทุกศูนย์ หลังสวดมนต์ประชุมสรุปใจเพื่อเป็นการขัดเกลาจิตวิญญาน รู้อภัย รู็ถึงการเสียสละและอานิสงฆ์ของการบำเพ็ญ เข้าใจเป้าหมายของกลุ่มของทีมาตามนโยบายอย่างชัดเจน มีการสังเคราะห์หาเหตุและผล เสนอความเห็นความคิดแล้ววางให้หมู่เป็นผู้ตัดสินใจไม่ทำตามใจตนเองต้องแจ้งให้หมู่กลุ่มรับทราบหรือนำเสนออาจารย์หมอเขียวได้รับทราบและขอคำแนะนำ จิตอาสาทุกคนถือปฏิบัติและรับผิดชอบโดยจิตวิญญาณของผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ทำโดยไม่หวังอะไรอยู่บนพื้นฐานของการรักษาศีล ตามอินทรีย์พละของแต่ละคน

ในทางพุทธศาสนาในแนวทางที่อาจารย์หมอเขียวพยายามหล่อหลอมลูกศิษย์มาจนถึงวันนี้เราเป็นค่ายสุขภาพควบคู่กับการปฏิบัตธรรมหนักมีวินัยฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา สำนึกในจิตวิญญานว่าสังคมโลกใกล้กุลียุคแล้วถ้าเราไม่เร่งบำเพ็ญตั้งแต่วันนี้มัวแต่ไม่เอาจริงเมื่อกุลียุคมาถึงเราจะช่วยตนเองและคนอื่นอย่างไร และจะช่วยคนอื่นอย่างไร

ประโยชน์ตนในการปฏิบัติ     

เมื่อเรามีความซื่อสัตย์กับพระศาสนาเชื่อมันในบุญกุศล สร้างทุกวินาทีให้เป็นบุญ รักษาศีลมั่นคงปฏิบัติต่อเนื่อง จริงใจต่อพระศาสนาเชื่อฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าฝึนฝนตนอย่างต่อเนื่องเป็นผู้เสียสละเป็นผู้ให้ ประโยชน์ตนที่ได้รับคือกุศลคือได้แน่นอนจิตอาสาค่ายแพทย์วิถีธรรมเชื่อในบุญกรรม และเชื่อว่าเมื่อเรามีความจริงใจในทุกๆเรื่องกุศลจะเกิดเป็นประโยชน์แก่ตนเป็นกำลัง ทำให้อินทรีย์พละเรากล้าแข็งขึ้น และมีกำลังที่จะช่วยผู้อื่นได้

ประโยชน์ท่านที่ได้รับ     

ส่วนประโยชน์ท่านคือการที่เราได้ฝึกฝนจนกล้าแข็งแรงทั้งทางโลกและทางธรรมก็สามารถแบ่งปันกำลังสติปัญญาของเราช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมได้เพื่อช่วยให้เขาเดือดร้อนน้อยลง ให้กำลังใจส่งเสริมให้มีอาชีพนำทางชี้ทางให้เห้นคุณและโทษสอนให้เข้าพึ่งตนเองได้ เมื่อเราได้กระทำหรือปฏิบัติเช่นนี้อย่างต่อเนื่องถือว่าเราสร้างประโยชน์ท่านคืนสู่สังคมช่วยให้สังคมแข็งแรง จริงอยู่เราไม่สามารถช่วยใครได้ทุกคน แต่อย่างน้อยเราก็ได้ช่วยได้ตามกำลังสติปัญญาความสามารถของเรา

ศรัทธา  คือความเชื่อมั่นอย่างเป็นสัมมาทิฏฐิ กรรมมีจริง มีผลจริง สัตว์โลกมีกรรมเป็นของ ๆตน และ พระพุทธเจ้ามีจริง

พุทธพจน์ 7  คือ (สาราณียธรรม 6) คือ การหมั่นระลึกถึงกัน

  1. ระลึกถึงกัน (สาราณียะ)
  2. รักกัน (ปิยกรณะ)
  3. เคารพกัน (ครุกรณะ)
  4. เกื้อกูลช่วยเหลือกัน (สังคหะ)
  5. ไม่วิวาทกัน (อวิวาทะ)
  6. พร้อมเพรียงกัน (สามัคคียะ)
  7. เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (เอกีภาวะ)

ทาง (มรรค) มีองค์ 8 ทางนี้ทางเดียวเท่านั้น

มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุดมีทางนี้ทางเดียวเท่านั้น  ไม่มีทางอื่นที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์ แห่งทัศนะพวกเธอจงเดินตามทางนี้เถิด บนทางสายนี้ก็เถอะ พญามารมักออกฤทธิ์พาให้หลงทางได้เสมอ

บทสรุป

พุทธศาสนาเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของชาวพุทธถ้าเราได้เรียนได้ศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วเชื่อว่าสังคมในโลกนี้จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบันการทำดีบำเพ็ญบุญอย่างต่อเนื่องเป็นการสะสมบารมีของตนเองเพื่อจะได้มีโอกาสและกำลังช่วยผู้อื่นใด้  “ศีลนำความสุขมาให้” ตนเป็นที่พี่งแห่งตนอย่าถือสากันจงอภัยให้กัน ความสุขหาได้ง่ายนิดเดียวเพียงแค่รู้จัก “อภัยให้กัน”  มาร่วมกันสร้างบารมีสะสมบุญเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม เพื่อมวลมนุษยชาติ

เพลงตลาดวิถีธรรม

ตลาดวิถีธรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช

ตลาดวิถีธรรม ณ บวรสันติอโศก

บทความน่าสนใจ