ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

เม็ดหลัก 7 : รับประทานอาหารปรับสมดุล

พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาหารเป็นหนึ่งในโลก
มีฤทธิ์ที่สุดในโลก ทำให้เรา แข็งแรง อายุยืน บรรลุธรรม ได้มากที่สุดในโลก
วัตถุดิบหรืออาหาร มีฤทธิ์ที่สุดในโลก ต่อร่างกายและจิตใจ
อยากแข็งแรงต้องเรียนรู้อาหารให้แจ่มแจ้ง
เพราะอาหารเข้าไปเป็นเนื้อตัวของเรา

รับประทานอาหารปรับสมดุล: Playlist

การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย

1. ถ้าถูกสมดุลร้อน-เย็น ชีวิตจะย่อยและกลายเป็นพลังของชีวิต จะทำให้เรารู้สึกสบาย (เบาท้อง-สบาย-เบากาย-มีกำลัง-อิ่มนาน)
2. ถ้าอาหารไม่สมดุลกับชีวิต จะเกิดโทษต่อร่างกาย(หนักท้อง-ไม่สบาย-ไม่เบากาย-ไม่มีกำลัง-หิวเร็ว) เพราะไม่สมดุลชีวิตก็พยายามดันออกเมื่อเข้าไปในชีวิต ชีวิตจะรู้สึกไม่สบาย เกิดเป็นกลไกลก่อโรคต่างๆ
เรียนรู้อาหารหรือสมุนไพรที่มี ฤทธิ์ร้อนและฤทธิ์เย็น เพื่อปรับสมดุลของร่างกายให้ถูกต้องจากอาหารหรือสมุนไพร วัดจากภาวะของร่างกายคือ ร้อนเกิน-เย็นเกินเป็นหลักหรือร้อนเกิน-เย็นเกิน-เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือดูภาพรวมทั้งหมด ว่ารับประทานอาหารหรือสมุนไพรนั้นแล้วมีผลอย่างไรต่อภาวะของร่างกายหรือสังเกตอาการเด่นมี 2 ประเด็นหลักดังนี้

1.เมื่อรับประทานอาหารหรือสมุนไพรชนิดใดก็ตามเข้าไปมากๆก็ตาม ดื่มน้ำตามเข้าไปแล้วรู้สึกสดชื่นแสดงว่าอาหารชนิดนั้นมี ฤทธิ์ร้อน (ชีวิตต้องการน้ำเข้าไปดับร้อนจึงทำให้รู้สึกสดชื่น)

2. เมื่อรับประทานอาหารหรือสมุนไพรชนิดใดก็ตามเข้าไปมากๆก็ตาม ดื่มน้ำตามเข้าไปแล้วรู้สึก จืดผิดปกติแสดงว่าอาหารชนิดนั้นมี ฤทธิ์เย็น (เพราะร่างกายเย็นจะสร้างความรู้สึกจืดผิดปกติขึ้นมา)

กรณีแยกอาหารหรือสมุนไพรชนิดนั้น ไม่ออกว่าเป็นฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็นให้สังเกตุจากการดูสีของน้ำปัสสาวะ

1. ปัสสาวะ สีเข้ม ปริมาณ น้อย อาหารชนิดนั้นมี ฤทธิ์ร้อน

2. ปัสสาวะ สีใส ปริมาณมาก อาหารชนิดนั้นมี ฤทธิ์เย็น

กรณียังไม่ได้ทดสอบจากการรับประทานอาหารหรือสมุนไพร ว่ามี ฤทธิ์เย็น หรือ ฤทธิ์ร้อน ให้สังเกตจาก สี ของอาหารหรือสมุนไพรชนิดนั้น จากการคาดการณ์พบว่า 80% ถ้าถูกต้องจะได้สมดุล 20% ถ้าผิดพลาดจะกลายเป็นวัคซีนทำให้แข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน ถ้าผิดพลาดมาก จะทำให้แย่ เกิดโทษต่อร่างกาย

วิธีการดูสีของอาหารหรือสมุนไพร เรียงตามลำดับจาก ฤทธิ์เย็น ไปหา ฤทธิ์ร้อน ดังนี้

  • เย็น ― ใส ขาว เขียว
  • กลาง ― เหลือง แดง
  • ร้อน ― ม่วง ดำ

ยกเว้น เฉาก๊วย สีดำ มีฤทธิ์เย็น
ยกเว้น มะเขือเทศ สีแดง มีฤทธิ์เย็น
ยกเว้น สีเขียวเข้มบางชนิด มีฤทธิ์ร้อน คะน้า-ชะอม-ชะพลู

รอให้รู้สึกหิวมาก ๆ ก่อนแล้วค่อยลงมือรับประทาน
       – หมั่นระลึกถึงประโยชน์ของอาหารสุขภาพให้มาก
       – หมั่นระลึกถึงผลเสียของอาหาร ที่ไม่สมดุลหรือเป็นพิษให้มาก

อาหาร เป็นหนึ่งในโลก อาหาร รักษาโรค

สูตร 1. พลังพุทธ (ย่ำยีมาร/พิฆาตมาร) ไม่ปรุงเลย กินแยกทีละอย่าง กินสดได้กินสด ถ้ากินสุกใช้วิธีง่ายๆ ทำให้สุกคือ ไม่ปรุงรส ลวก ต้ม ปิ่ง ย่าง ไม่ปรุงเป็นกับข้าว

สูตร 2 วรรณะ 9 มีกับข้าวปรุงรสชาติ 30% โดยใช้เกลือเป็นหลัก กินตามลำดับ เคี้ยวให้ละเอียด

การกิน 1 มื้อให้ได้พลังและประโยชน์มากกว่า การกิน 3 มื้อ หรือกินแต่ละมื้อให้ได้ประโยชน์สูงสุด กรณีกินหลายมื้อ

1. กินเท่าที่ร่างกายต้องการ (กินปริมาณที่เคยกิน 1 มื้อปกติ ไม่ใช่เอา 3 มื้อมารวมเป็น 1 มื้อ)
2. กินถูกสมดุล ร้อน-เย็น และไม่ปรุงหรือปรุงน้อย
3. เคี้ยวให้ละเอียด
4. ยินดีในการ กินเอาประโยชน์ กินกันหิว กินกันตาย
5. กินเป็นยา กินฆ่ากิเลส อย่างไม่ชอบไม่ชัง ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ของอาหารกินในปริมาณที่ อิ่มสบาย ไม่แน่นท้องพลังเต็ม สบายเบากายมีกำลัง อิ่มนาน

หลักการสำคัญในการเคี้ยวอาหาร มี 3 วิธีการหลังดังนี้

1. เคี้ยวให้ละเอียด ละชอบละชัง-กลืน-เอาประโยชน์ รสชาติดีกว่า-กินเอาความอร่อย (รสทิพย์)
2. เคี้ยวให้ ละเอียด-หยาบ กลืนส่วนที่ละเอียดเว้นส่วนที่หยาบไว้ เคี้ยวส่วนที่เหลือให้ละเอียด-กลืนตามลงไป
3. การเคี้ยวที่เสียสุขภาพที่สุดคือ เคี้ยว 2-3 ครั้งแล้วกลืน คำเตือนใช้ในเวลาฉุกเฉินเท่านั้น

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ใจเป็นประธาน
ใจเป็นใหญ่
ไม่ให้ติดใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

ผู้ใดไม่ติดผู้นั้นจะได้รสทิพย์การเคี้ยวอาหารให้ได้รสชาติดี

ความอร่อยของอาหาร ไม่ได้อยู่ที่ลิ้น อยู่ที่ใจ

กลไกการทำให้สุขภาพดี

ก็คือเมื่อรับประทานอาหารที่สมดุลร้อนเย็นกับชีวิต สัญญาของชีวิตจะดูดดึงสารและพลังงานของอาหารดังกล่าว ไปดับพิษร้อนเย็นไม่สมดุลและหล่อเลี้ยงชีวิต ทำให้ชีวิตมีพลังมากขึ้นจากการที่สารและพลังของอาหารที่สมดุลร้อนเย็นไปหล่อเลี้ยงชีวิต และจากการที่ไม่ต้องเสียพลังขับพิษที่ดับได้แล้ว เมื่อชีวิตมีพลังมากขึ้น สัญญาของชีวิตจึงสามารถผลักดันพิษร้อนเย็นที่ไม่สมดุลที่ยังตกค้างอยู่ออกจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ทำให้โรคภัยไข้เจ็บลดน้อยลง แข็งแรง และอายุยืน

วิธีปฏิบัติคือ

ควรรับประทานอาหารไร้สารพิษดีที่สุด หรือลดพิษจากเคมีให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีต่างๆ การแพทย์วิถีธรรมใช้การลดพิษจากเคมี ด้วยการด้วยน้ำซาวข้าว หรือถ่าน 1-5 ก้อนขนาดครึ่ง- 1 กำมือ หรือเกลือ 1-3 ช้อนแกง ผสมกับน้ำซาวข้าวหรือน้ำเปล่า 5-10 ลิตร แช่พืชผักผลไม้หรือธัญพืชประมาณ 10-20 นาทีขึ้นไป

ลดหรืองดเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้โปรตีนจากถั่วแทน (สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถงดเนื้อสัตว์ได้ ควรลดหรืองดเนื้อสัตว์ใหญ่ หันมารับประทานสัตว์เล็กแทน จนเหลือรับประทานปลา และไข่ เป็นลำดับ) เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด

ปรุงรสไม่จัดจนเกินไป สำหรับองค์ประกอบของสภาพร่างกาย อากาศ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยโดยรวม ในปัจจุบัน ควรปรุงรส อยู่ในระดับประมาณ 10-30 % ของที่เคยปรุงโดยทั่วไป คือ รับประทานเกลือประมาณ 1 ช้อนชา/คน/วัน, น้ำตาล ไม่เกิน 5 ช้อนชา/คน/วัน, พริก(พริกชี้ฟ้า) ไม่เกิน 1-3 เม็ด/คน/วัน และน้ำมันพืช 1-4 ช้อนชา/คน/สัปดาห์ โดยสามารถปรับลดหรือเพิ่มตามสภาพร่างกาย ณ เวลานั้น เท่าที่รู้สึกสุขสบายเบากายมีกำลัง ใช้เกลือปรุงอาหารเป็นหลักดีที่สุด ถ้าต้องการใส่เครื่องปรุงอื่นๆ เช่น ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว กะปิ น้ำปลา ปลาร้า เป็นต้น ควรใส่เพียงเล็กน้อย 

กรณีชีวิตมีภาวะร้อนเกินและอากาศร้อน ควรใช้ไฟกลางนานแค่พอสุก ไม่ควรอุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก ในการปรุงอาหาร/หุงต้มข้าวหรือถั่ว ส่วนกรณีชีวิตมีภาวะเย็นเกินและอากาศหนาวเย็น ควรใช้ไฟแรง ตั้งไฟนาน อุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ ในการปรุงอาหาร/หุงต้มข้าวหรือถั่ว เพราะความแรงของไฟมีผลต่อคุณสมบัติของอาหาร ใช้ไฟแรงมากขึ้นอาหารก็มีฤทธิ์ร้อนมากขึ้นไปตามลำดับ ควรปรับใช้ความแรงของไฟในสัดส่วนที่ผู้รับประทานรู้สึกสุขสบายเบากายมีกำลัง การใช้ฟืนหรือถ่านในการปรุงอาหารจะทำให้อาหารอยู่ในสภาพที่ชีวิตสามารถนำไปใช้สังเคราะห์เป็นพลังชีวิตได้สูงสุด รองลงมาคือแก๊ส รองลงมาคือหม้อหุงข้าวไฟฟ้า กระทะไฟฟ้า เครื่องปิ้งย่างไฟฟ้า แย่ที่สุดคือไมโครเวฟหรือเครื่องมือที่มีพลังคลื่นแม่เหล็กที่แรงเกิน เพราะมีคลื่นแม่เหล็กที่แรงเกินทำให้อาหารอยู่ในสภาพที่เป็นพิษต่อพลังชีวิต จึงไม่ควรใช้หรืออาจใช้เมื่อมีความจำเป็นในบางครั้ง

ฝึกรับประทานอาหารตามลำดับ กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน มีเทคนิคการรับประทานอาหารตามลำดับ ดังต่อไปนี้

 

อาหารแพทย์วิถีธรรม ย่ำยีมาร

ลำดับที่ 1 ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล เช่น น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นต่างๆ หรือที่เรียกว่า น้ำคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ เป็นต้น

ลำดับที่ 2 รับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร กระท้อน สับปะรด ส้มโอ ชมพู่ มังคุด แตงโม แตงไทย แคนตาลูป มะม่วงดิบ มะขามดิบ มะละกอดิบ มะละกอห่าม พุทรา เป็นต้น

ควรงดหรือลดผลไม้ฤทธิ์ร้อน เช่น ทุเรียน ขนุนสุก มะม่วงสุก ลูกยอ ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย มะไฟ มะเฟือง มะปราง มะตูม กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง ส้มเขียวหวาน สละ องุ่น ฝรั่ง น้อยหน่า กระทกรก (เสาวรส) ละมุด ระกำ (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก(ร้อนเล็กน้อย) มะขามหวานสุก (ร้อนเล็กน้อย) ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ นึ่ง ปิ้ง ย่าง ต้ม หรือตากแห้ง เป็นต้น

ลำดับที่ 3 รับประทานผักฤทธิ์เย็นสด เช่น อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง แตง กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม (สลัด) ถั่วงอก สายบัว บัวบก มะเขือ ฮว่านง็อก  ใบมะยม เป็นต้น

ควรงดหรือลดผักฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ผักรสเผ็ด กลิ่นฉุน เครื่องเทศทุกชนิด เช่น พริก ขิง ตะไคร้ ข่า (ข่าแก่ร้อนมาก) พริกไทย (ร้อนมาก) กุยช่าย (ผักแป้น ร้อนมาก) ขมิ้น โหระพา เป็นต้น และพืชที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ชะอม คะน้า กะหล่ำปลี แครอท บีทรูท(ผักกาดฝรั่งหรือผักกาดแดง) ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง ลูกตำลึง กระเฉด กระถิน โสมจีน โสมเกาหลี แปะตำปึง (ร้อนเล็กน้อย) ผักกาดเขียวปลี ใบยอ ผักโขม ใบปอ ผักแขยง ยอดเสารส ฟักทองแก่ หน่อไม้ เม็ดบัว สาหร่าย ไข่น้ำ รากบัว เป็นต้น

ลำดับที่ 4 รับประทานข้าวจ้าวพร้อมกับข้าว โดยรับประทานข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือเป็นปกติก็ยิ่งดี ควรงดหรือลดคาร์โบไฮเดรทที่มีฤทธิ์ร้อนมาก เช่น เผือก มัน ข้าวนิล   ข้าวเหนียว ข้าวสาลี

โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรทที่มีฤทธิ์ร้อนมากแต่ขาดวิตามิน เช่น ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมจีน

กับข้าว ควรใช้ผักฤทธิ์เย็นเป็นหลักในการปรุง ได้แก่ ผักฤทธิ์เย็นที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงผักฤทธิ์เย็นอื่นๆ เช่น บวบ ใบ/ยอดตำลึง ผักปลัง ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ก้านตรง ฟัก แฟง แตงต่างๆ หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว กระหล่ำดอก บร๊อคโคลี่ หัวไชเท้า (ผักกาดหัว) ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดอีสึก (ขุนศึก) มังกรหยก ดอกสลิด (ดอกขจร) ฝัก/ยอด/ดอกแค ข้าวโพด ขนุนดิบ มะรุม เป็นต้น

ลำดับที่ 5 รับประทานโปรตีนฤทธิ์เย็น ได้แก่ ต้มถั่วหรือธัญพืชฤทธิ์เย็นเป็นหลัก เช่น ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย หรือเห็ดฤทธิ์เย็น(บางวัน) เช่น เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดลม (เห็ดบด) เห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เป็นต้น แต่ละวันควรทานโปรตีนฤทธิ์เย็นหมุนเวียนชนิดไปเรื่อยๆ

ควรงดหรือลดการรับประทานโปรตีนฤทธิ์ร้อน เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วทุกชนิดที่เอามาทอด เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง เป็นต้น รวมถึงโปรตีนทั้งพืชและสัตว์ที่เอามาหมักดอง ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ รำข้าว จมูกข้าว งา กะทิ เนื้อมะพร้าว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ลูกก่อ เมล็ดกระบก เป็นต้น

กรณีที่มีภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน ก็ใช้ทั้งฤทธิ์ร้อนและเย็นผสมกันเท่าที่รู้สึกสุขสบาย กรณีที่มีภาวะเย็นเกิน ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็น แล้วเพิ่มสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน ในสัดส่วนปริมาณที่เมื่อรับประทานแล้วรู้สึกว่าสุขสบายเบากายและมีกำลังที่สุด ตามแต่สภาพร่างกายของคนๆนั้น ณ เวลานั้นๆควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน รับประทานในปริมาณที่พอดีอิ่มสบายเบากายมีกำลังเต็มที่สุด และกลืนลงคอให้ได้ คือฝึกรับประทานอาหารสุขภาพให้รู้สึกว่ามีรสดีอร่อยกว่าอาหารที่เป็นพิษให้ได้

 

เทคนิคที่สำคัญในการรับประทานอาหารให้อร่อย คือ

  • รอให้รู้สึกหิวมาก ๆ ก่อนแล้วค่อยลงมือรับประทาน
  • หมั่นระลึกถึงประโยชน์ของอาหารสุขภาพให้มาก 
  • หมั่นระลึกถึงผลเสียของอาหาร ที่ไม่สมดุลหรือเป็นพิษให้มาก

เลื่อนปุ่มเพื่อเลือกดูระหว่างอาหารฤทธิ์เย็น/ร้อน

รายการอาหารฤทธิ์เย็น แพทย์วิถีธรรม

รายละเอียดอาหารฤทธิ์ร้อน แพทย์วิถีธรรม

เลื่อนปุ่มเพื่อเลือกดูระหว่างผักฤทธิ์เย็น/ร้อน

ชื่อผักฤทธิ์เย็น แพทย์วิถีธรรม

รายการผักฤทธิ์ร้อน แพทย์วิถีธรรม

เลื่อนปุ่มเพื่อเลือกดูระหว่างผลไม้ฤทธิ์เย็น/ร้อน

ชื่อผลไม้ฤทธิ์เย็น แพทย์วิถีธรรม

ชื่อผลไม้ฤทธิ์ร้อน แพทย์วิถีธรรม

หนังสือน่าสนใจ