เม็ดเลิศ 8 : ใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย
ธรรมะ: Playlist
กลไกในการทำให้สุขภาพดีคือ
สัญญาของชีวิตจะทำหน้าที่เป็นปกติคือผลักดันเอาพลังงานหรือสารที่ไม่สมดุลร้อนเย็นออกจากชีวิต และดูดดึงเอาพลังงานหรือสารที่สมดุลร้อนเย็นเข้ามาหล่อเลี้ยงชีวิต วิบากกรรมของบุญกุศลเป็นพลังงานที่ช่วยผลักดันเอาพลังงานหรือสารที่ไม่สมดุลร้อนเย็นออกจากชีวิต และดูดดึงเอาพลังงานหรือสารที่สมดุลร้อนเย็นเข้ามาหล่อเลี้ยงชีวิตอีกแรงหนึ่ง ส่วนวิบากกรรมร้ายเป็นพลังงานที่ดูดดึงเอาพลังงานหรือสารที่ไม่สมดุลร้อนเย็นเข้ามาทำร้ายชีวิต และผลักดันเอาพลังงานหรือสารที่สมดุลร้อนเย็นออกจากชีวิต
ดังนั้น ความไม่สมดุลร้อนเย็นด้านวัตถุ สังเคราะห์กับวิบากกรรมร้ายจากการทำบาปเบียดเบียนสัตว์ (การทำให้ตนเอง หรือคนอื่น หรือสัตว์อื่น ได้รับความทุกข์ทรมาน/เดือดร้อน/ไม่สบาย/บาดเจ็บ/ล้มตาย) ด้วยวิธีการต่างๆ จะทำให้เกิดอาการไม่สบายต่างๆ ทำให้มีโรคต่างๆมากมายหลากหลายชนิด(แม้จะใส่สิ่งที่ไม่สมดุลร้อนเย็นชนิดเดียวกันปริมาณเท่ากันเข้าไปในชีวิตคนแต่ละคน ก็จะเกิดอาการไม่สบาย/โรคต่างกัน เพราะวิบากกรรมต่างกัน) ทำให้อายุสั้น และเกิดสิ่งเลวร้ายต่างๆในชีวิต ส่วนการทำความสมดุลร้อนเย็นสังเคราะห์กับวิบากกรรมดีจากการไม่เบียดเบียนสัตว์ (การไม่ทำให้ตนเอง คนอื่น หรือสัตว์อื่น ได้รับความทุกข์ทรมาน/เดือดร้อน/ไม่สบาย/บาดเจ็บ/ล้มตาย) ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งก็คือการละบาป บำเพ็ญบุญกุศล เพิ่มพูนใจไร้กังวล(หยุดชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส) นั้นเองเป็นการสร้างวิบากกรรมดี ที่ส่งผลให้อาการไม่สบายและโรคต่างๆ ลดน้อยลง อายุยืนและเกิดประโยชน์สุขในชีวิต
ใช้ธรรมะผ่อนคลายความเครียด ทำใจให้สบาย
ลด ละ เลิกและหลีกเลี่ยง อารมณ์ที่ทำลายสุขภาพ/อารมณ์ที่เป็นพิษ ได้แก่ ความเครียด ความเร่งรีบ/เร่งรัด/ เร่งร้อน ความวิตกกังวล ความไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบายใจ ความไม่พอใจ ความมุ่งร้าย อาฆาต พยาบาท ความโลภ โกรธ หลง ยึดเกิน เอาแต่ใจตัวเอง เป็นต้น เพราะผู้ที่มีอารมณ์ดังกล่าวจะทำให้ร่างกายหลั่งสารแอดดรีนาลีนออกมาจากต่อมหมวกไต สารดังกล่าวจะกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายผลิตพลังงานอย่างมากมายจนเกินความสมดุลพอดีของร่างกาย พลังงานส่วนเกินที่ไม่สมดุลดังกล่าว จะเผาทำร้ายเชลล์เนื้อเยื่อทุกส่วนในร่างกาย อวัยวะใดที่อ่อนแอก็จะแสดงอาการไม่สบายก่อนอวัยวะอื่น ถ้าอารมณ์ดังกล่าวยังอยู่อวัยวะอื่นๆ ก็จะเสื่อมและแสดงอาการไม่สบายตามกันไป
ตรงกันข้าม ถ้าเราสามารถสลายอารมณ์ดังกล่าวได้ จิตใจก็จะรู้สึกสบาย เบิกบานแจ่มใส มีความสุข สารเอ็นโดรฟินก็จะหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองที่ชื่อว่าต่อมพิทูอิทารี่ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ระงับปวดแรงกว่าฝิ่น 200 เท่า (แต่ไม่มีพิษเหมือนฝิ่น) จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี และสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการช่วยส่งพลังชีวิต/พลังงานที่เป็นประโยชนไปยังเชลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย จึงช่วยให้เชลล์ต่างๆในร่างกายแข็งแรง ช่วยให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรง เม็ดเลือดขาวจึงสามารถกำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมและสิ่งที่เป็นพิษออกจากร่างกายได้ดี ร่างกายจึงแข็งแรงชื้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือการยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในสิ่งนั้นๆ จึงทำให้เกิดพลังงานอารมณ์ทุกข์ในใจ เกิดอารมณ์ที่ทำลายสุขภาพหรืออารมณ์ที่เป็นพิษ
เทคนิคที่สำคัญในการสลายล้างพลังงานยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในสิ่งนั้นๆ เพื่อดับต้นเหตุของทุกข์ ดับอารมณ์ที่ทำลายสุขภาพ/อารมณ์ที่เป็นพิษ ได้แก่ วิปัสสนา คือ การหมั่นไตร่ตรองผลเสียของการเสพ/การติด/การยึดมั่นถือมั่นปักมั่น/การเอา สิ่งนั้น ๆ และหมั่นไตร่ตรองผลดีของการไม่เสพ/ไม่ติด/ไม่ยึดมั่นถือมั่น/ไม่ปักมั่น/ไม่เอา/ให้/ปล่อย/วาง สิ่งนั้นๆ ให้เป็นของโลก ให้หมุนวนเกิดดับ ๆ อยู่ในโลก พร้อม ๆ กับการไตร่ตรองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับอยู่เป็นอยู่ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ล้วนเกิดจากสิ่งที่เราทำมาทั้งชาตินี้และชาติก่อนเมื่อให้ผลของการกระทำแล้วก็จบดับไปโดยไตร่ตรองซ้ำแล้วช้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง ในขณะที่มีอารมณ์ทุกข์ หรืออารมณ์เป็นพิษนั้นจนพลังงานหรืออารมณ์ที่ทุกข์นั้นลดน้อยลงหรือหายไป ถ้ามีอารมณ์ทุกข์ดังกล่าวอีก เราก็วิปัสสนาอีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอารมณ์ที่เป็นทุกข์นั้นจะหมดไปจากชีวิตเรา
ยิ่งถ้าเราทำควบคู่พร้อมกับสมถะก็ยิ่งดี (สมถะไม่ใช่ตัวล้างพลังงานทุกข์ แต่เป็นตัวที่เสริมพลังของวิปัสสนาให้มีประสิทธิภาพในการล้างสลายพลังงานที่เป็นทุกข์ให้ดียิ่งขึ้น) สมถะ คือ การอดทนฝืนข่มที่จะไม่ทำตามกิเลส/ซาตาน, การหลบเลี่ยงพรากห่างเมื่อรู้สึกว่า มีความเครียดมากเกินไป ทนฝืนได้ยาก ทนฝืนได้ลำบาก ถ้าอยู่ในจุดที่มีกิเลสนั้น ๆ การฝึกจิตให้สงบด้วยการเอาจิตไปกำหนดไว้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จุดใดจุดหนึ่ง และการใช้ปัญญาสมถะ เช่น มัน/เขาก็เป็นธรรมดาของมัน/เขาอย่างนั้นแหละ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมด า ไม่ใช่ตัวเราของเรา ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ เป็นต้น
การฝึกพรหมวิหาร 4 ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดสุขภาพดี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก “อนายุสสสูตร” ว่า การปฏิบัติพรหมวิหาร 4 (พรหม 4 หน้า) ได้แก่
1. เมตตา (ปรารถนาให้ผู้อื่นผาสุก/พ้นทุกข์/ได้ประโยชน์/ได้สิ่งที่ดี)
2. กรุณา (ลงมือกระทำตามที่เราปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีนั้น)
3. มุทิตา (ยินดีที่เขาได้ดีหรือเมื่อเกิดสิ่งดีนั้น)
4. อุเบกขา จิตอยู่ในสภาพปล่อยวาง/สงบสบาย (เมื่อได้พากเพียรพยายามทำดีเต็มที่แล้ว ไม่ว่าดีจะเกิดขึ้นมาก เกิดขึ้นน้อยหรือดีไม่เกิดขึ้น ก็ปล่อยวางสิ่งนั้นให้โลก เป็นผู้ไม่ติด ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในการกระทำและผลของการกระทำว่าเป็นตัวเราของเรา เป็นผู้ไม่อยากได้ไม่อยากเป็นไม่อยากมีอะไรตอบแทน จึงสงบสบายไม่มีทุกข์ในใจใด ๆ) เป็นเหตุให้แข็งแรงอายุยืน
บททบทวนธรรม
เพื่อการสร้างจิตวิญญาณที่ดีงามและผาสุกที่สุดในโลก
-เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น เราต้องระลึกรู้ว่า มันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดีไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้าในชาตินี้หรือชาติหน้าหรือชาติอื่นๆ สืบไป ความเข้าใจผิดนั้น ก็จะหมดไปเอง
-เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น“คิดดี พูดดี ทำดี ไว้ก่อน”ดีที่สุด
-การกระทำเดียวกัน มีเหตุผลในการกระทำกว่าล้านเหตุผลต้อง ระวัง “อคติหรือความเข้าใจผิด จากการคาดเดาที่ผิดของเรา”
-สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เรา ไม่เคยทำมา
-ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง
-เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น
-เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น
-เราทำดีด้วยการช่วยไม่ให้คนอื่นทำ“ผิด”ได้ “ก็ช่วย”แล้ววางให้เป็นไปตามวิบากดีของเขา “ช่วยไม่ได้”ก็“วาง” ให้เป็นไปตามวิบากร้ายของเขา เมื่อเขาเห็นทุกข์จนเกินทนจึงจะเห็นธรรม แล้วจะปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์
-สิ่งที่มองไม่เห็น ที่ทำหน้าที่สร้างสิ่งที่มองเห็น และสิ่งที่เป็นอยู่ทุกอย่างในชีวิตของคน คือพลังวิบากดีร้าย ที่เกิดจากการกระทำทางกาย หรือวาจา หรือใจของผู้นั้น ในอดีตชาติและชาตินี้ สังเคราะห์กันอย่างละหนึ่งส่วน
-เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา เราเท่านั้นที่ผิดต่อเรา คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น และเขาก็ต้องได้รับวิบากร้ายนั้นเอง เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา แต่เขานั้นผิดต่อตัวเขาเอง ถ้าเรายังเห็นว่าคนที่ทำไม่ดีกับเรา เป็นคนผิดต่อเรา แสดงว่า เรานั่นแหล่ะผิด อย่าโทษใครในโลกใบนี้ ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเรา จะไม่มีทางบรรลุธรรม นี่คือคนที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะไม่เข้าใจเรื่อง “กรรม” อย่างแจ่มแจ้งว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้นเมื่อรับผลดีร้ายจากการกระทำแล้วผลนั้นก็จบดับไป และสุดท้ายเมื่อปรินิพพานทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร เพราะสุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จึงไม่ต้องยึด ไม่ต้องทุกข์กับอะไร”
-การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลสคือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา
-ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิตให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความยินดี จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วยลดลงได้เร็ว
1. สำนึกผิด หรือยอมรับผิด
2. ขอโทษ หรือขออโหสิกรรม
3. ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
4. ตั้งจิตทำความดีให้มากๆ คือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลฝูงชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ
-ยึดอาศัย “ดีที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง”นั้น “ดี” แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า “ต้องเกิดดีดั่งใจหมายทั้งๆที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้นไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริงนั้น“ไม่ดี”
-หลักการทำดีอย่างมีสุข 6 ข้อ
รู้ว่าอะไรดีที่สุด
ปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด
ลงมือทำให้ดีที่สุด
ยินดีเมื่อได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว
ไม่ติดไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ดีที่สุด
นั่นแหล่ะคือสิ่งที่ดีที่สุด
-ทำดีให้มากๆ เพื่อจะให้ดีชิงออกฤทธิ์แทนร้ายที่เราเคยพลาดทำมาในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ จะได้มีดีไว้ใช้ในปัจจุบันและอนาคต ในชาตินี้และชาติอื่นๆ สืบไป
-จงทำดีเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ สุขเต็มที่ ไม่มีอะไรคาใจ
-ไม่เอาอะไร คือสุดยอดแห่ง“ความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส”
หากชีวิตทุกชีวิต ได้พยายาม ทบทวนธรรมให้ได้ทุกวัน พิจารณาทบทวนซ้ำๆ จากคำเดิมๆ ทบทวนทุกๆวัน แล้วจะพบกับปาฎิหาริย์ได้ ผู้ทบทวนธรรมจะมีปัญญามากขึ้นทุกวันๆ มากขึ้นกว่าภาษาที่เราทบทวน จะมีญาณปัญญามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันใดที่เราทุกข์ ด้วยอะไรก็แล้วแต่ ธรรมนี้คือปัญญา/คาถาดับทุกข์ วันใดที่ทุกข์การได้ทบทวนธรรมเข้าไป พยายามทำความเข้าใจความหมายที่ถูกต้องในบททบทวนธรรมนี้เข้าไปในจิต ทบทวนทุกคำทุกประโยคแล้วพยายามทำความเข้าใจว่าหมายถึงอะไร มีเนื้อหาอย่างไร การทบทวนทั้งหมดนี้ซ้ำ ๆ อย่างเข้าใจจะสามารถทำลายกิเลสความติดยึดที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ได้
หากถ้าใครทำได้ถึงจิตอย่างเข้าใจแตกฉานในทุกคำทุกประโยค ในเรื่องกรรม ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต อย่างแจ่มแจ้งถึงระดับ“ปฏิจจสมุปบาท”(การอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเป็นเหตุปัจจัยสืบเนื่องกันเป็นไปตามลำดับ) ของกรรมดี
กรรมชั่วที่สั่งสมเป็นพลังสร้างผลคือวิบากดีวิบากชั่วจนเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ว่าตัวปีศาจร้าย (กิเลส) ทั้งของเราทั้งของผู้อื่น มันทำอะไรมาบ้าง จึงทำให้เกิดปัญหานั้นๆ และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า ในขณะที่มีสติจับอาการและปัญญาของปีศาจ(กิเลส)โลภโกรธหลงตัวนั้นๆได้ การพิจารณาโทษของปีศาจ(กิเลส)ร้ายตัวนั้น ประโยชน์ของการไม่มีปีศาจ(กิเลส)ร้ายตัวนั้น พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้มากๆ จะเกิดเป็นพลังฌาณที่ทำลายปีศาจ(กิเลส)ร้ายตัวนั้นได้ เป็นการสร้างพลังแห่งพุทธะขึ้นมาในชีวิต เป็นธรรมะแห่งพุทธะที่มีคุณค่ามหาศาลยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเรา ธรรมะดังกล่าวจะเข้าไปเติมพลังในจิตวิญญาณของเราแทนปีศาจร้าย เข้าไปคุ้มครอง เข้าไปดำเนินการ เข้าไปดูแลชีวิตของเรา ไม่ให้ปีศาจร้ายใดๆ เข้าไปทำร้าย/ทำความเสียหายต่อชีวิตของเราได้อีก ผู้นั้นก็จะไม่มีทุกข์ มีแต่ความสุขกับปัญญาที่มากขึ้นๆเท่านั้น จึงเป็นความผาสุกที่สุดในโลก ตราบปรินิพพาน
คำว่า “ทำดีให้ดีที่สุด” ลึกซึ้งในระดับต่างๆ มี “ดีธรรมดา” คือ “ดีกุศล” กับ ดีที่มีคุณค่าประเสริฐสูงสุด คือ “ดีบุญ” เราต้องทำ “ดีกุศล” ทำเต็มที่ เท่าที่เราทำได้ และ “ดีบุญ” ก็ทำสุดหัวใจ
ดีบุญ คือ ดีทำลายปีศาจกิเลสเหตุแห่งทุกข์ในตน ส่วนดีกุศลคือการช่วยเหลือผู้อื่น ทำดีให้ดีที่สุด ทำดีให้มาก ๆ ทำดีเต็มที่ คนที่ทำดีเต็มที่ที่สมบูรณ์ มีสองมิติ ซึ่งสามารถทำให้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้ คือพยายามทำให้ดีที่สุดทั้งบุญทั้งกุศล ได้แก่ ชีวิตเรากินน้อยใช้น้อยที่สุด เท่าที่พอดีที่สุด ทำไปพร้อมกับทำลายกิเลสกาม(ความติดยึดในการเสพรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสลาภยศสรรเสริญที่เป็นภัย) เราเสพแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แท้ แล้วที่เหลือก็ทำประโยชน์ให้กับโลกให้ได้มากที่สุดด้วยความมุ่งมั่นจริงใจสุขใจ ทำไปพร้อมๆกับทำลายกิเลสอัตตา(การเสพความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าดีเกิดดังใจหมายจะเป็นสุข แต่ถ้าดีไม่เกิดดังใจหมายจะเป็นทุกข์) ถ้าทำลายกิเลสอัตตาได้จะเกิดสภาพ คือ ถ้าได้พยายามทำดีอย่างเต็มที่ในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นแล้ว ดีจะเกิดหรือไม่เกิดดังใจหมาย ใจก็เป็นสุขได้ ทำดีเต็มที่เป็นอย่างนี้ ดีทั้งต่อตนเองต่อผู้อื่นวินาทีเดียวกันเลย
การทำดีแท้ คือ การกินน้อยใช้น้อยที่สุด แต่ทำประโยชน์ให้กับโลกสูงที่สุด ด้วยใจที่เป็นสุข กินน้อยใช้น้อยที่สุดที่เข้าหลักพระพุทธเจ้า คือ กินวันละมื้อ ไม่มากไปไม่น้อยไป มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี “ทรมาน” ต้องให้พอดีที่สุดที่จะแข็งแรงที่สุด ทำดีเต็มที่เลย (ส่วนท่านที่กินวันละมื้อยังไม่ได้ ก็ลดมากินน้อยมื้อที่สุดเท่าที่พอดีสบายและกำลังเต็มที่สุด) ใช้สิ่งต่างเพื่อตนให้น้อยที่สุดในขีดที่มีศักยภาพสูงสุด ที่เหลือก็ประโยชน์โลก มีประโยชน์อะไรช่วยเต็มที่สุดหัวใจเลย เหนื่อยเต็มที่เลย เหนื่อยนี่ก็อยู่ในขีดที่ไม่ทรมานตัวเองเกินไป “ตั้งตนอยู่ในความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง”ทำเต็มที่ให้หนัก ให้เหนื่อย แต่อย่าให้ป่วย อย่าให้ทรมานตัวเองเกินไป นั้นจะเป็นจุดที่แกร่งและมีคุณค่าสูงสุดของคน
“สุขเต็มที่”อิทธิบาท ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หนึ่งในองค์ของโพธิปักขิยธรรมที่เป็น 37 องค์แห่งการตรัสรู้ สุขเต็มที่เลย อิทธิบาท ความพอใจ เป็นความสุข พอใจทำเมื่อควรทำ(เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น) พอใจวางเมื่อควรวาง(เห็นว่าเมื่อเกิดสภาพที่เป็นโทษต่อตนเองหรือผู้อื่น) วางได้ก็ไม่มีอะไรคาใจ อย่าให้เหลืออะไรคาใจ ยังมีความไม่สบายใจอยู่ แปลว่า ยังมีกิเลสอยู่ ก็ล้างกิเลสออก ไม่มีอะไรคาใจ เต็มที่แล้วผลมันออกมาเท่าไหร่ อย่าให้มันมีอะไรคาใจ อย่าให้มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเสพย์โลกียสุข ความหลงยึดมั่นถือมั่นที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ เรายึดอาศัยได้พอหมดฤทธิ์ของการกอร์ปก่อสิ่งนั้นๆก็ดับไป อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราตลอดกาลนาน ไม่มีอะไรคาใจ ไม่เอาอะไร ไม่มีอะไรต้องเอา ชีวิตนี้ไม่มีอะไรต้องเอา
“คนเอา” คือ คนยังมีทุกข์ คนยังไม่เต็มสุข คนเต็มสุขแท้แล้วไม่เอา จะไม่เอาอะไรมาเสพ พอมันเต็มสุขแล้ว มันรู้ว่าเสพเป็นเหตุแห่งนรก(ทุกข์) ไม่เสพ
เป็นสุขแท้ จึงไม่เอา ก็เสพความ “ไม่เอา” นั่นแหล่ะ จะเสพก็ได้ เสพความไม่เอาอะไร ไม่ต้องง้อใคร คือ ความสุขแท้ๆ ต้องไม่ง้อใคร ต้องไม่คาดหวังจากใคร ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นว่า เขาต้องดีหรือเขาต้องชั่วฉันจึงจะสุขหรือจะทุกข์ มีแต่ปรารถนาดีเท่านั้น เมื่อเราได้ทำดีเต็มที่ในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นแล้ว ใครจะดีจะชั่วเราก็สุขเต็มที่ของเรา นี่คือ สุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส
ทำแล้วก็ตรวจจิตดีๆ ทำไปเรื่อยๆ ถ้าเรามีข้อสงสัยว่าทำแบบนี้แล้วเป็นปรมัตถ์หรือไม่ ?เป็นธรรมะสุดยอดหรือไม่ มันจริงหรือไม่ ? ถูกต้องหรือไม่? อันนี้คือดีสุดหรือยัง ที่จะไม่มีวิบากร้ายอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เจือปน ถ้าเราตั้งข้อสงสัยอย่างนั้น ให้เราใช้ปัญญาว่า แล้วถ้าคิดแบบนี้จะมีทุกข์อะไรมั้ย ? ถ้าคิดแบบนั้นแล้วยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ไหม ยังมีโอกาสทุกข์อยู่ไหม ถ้า คิดหรือพูดหรือทำแบบใดก็ตามที่ยังมีโอกาสทุกข์อยู่ ความคิดนั้น “ผิด”ยังมีส่วนยึดมั่นถือมั่นอยู่ ยึดว่าต้องได้แบบนั้นแบบนี้ดังใจหมายจึงจะสุข แต่ถ้าไม่ได้ดังใจหมายแล้วทุกข์แสดงว่าผิด เพราะยังมีโอกาสทุกข์ได้ ต้องไม่ให้มีโอกาสทุกข์เลย ตรวจดูดีๆ ว่าเราคิดนั้นถูกหรือยัง ? ถ้ามีโอกาสทุกข์อยู่ “ผิด” ถ้าไม่มีโอกาสทุกข์ “ถูก” การคิดหรือพูดหรือทำต้องเป็นเช่นนั้น อย่าให้เหลือโอกาสทุกข์ ถ้ายังมีเหตุผลที่เหลือโอกาสทุกข์อยู่ นั่นคือ วิญญาณผีกิเลสร้ายยังอยู่ นั่นคือ การเผื่อความคิดไว้ให้ผีกิเลสร้าย ต้องจัดการฆ่าผีกิเลสร้ายให้ตาย อย่าให้เหลือโอกาสทุกข์ และอย่าให้เหลือโอกาสชั่ว ต้องไม่ทุกข์ ต้องไม่ชั่ว มีแต่ดีและสุขแท้ๆ เท่านั้นจึงจะถูก ซึ่งต้องใช้ปัญญาตรวจดีๆ “ชั่ว” คืออะไร ชั่วคือเอามากเกินจำเป็น เอามากเกินกว่าที่เป็นไปได้จริงถึงขั้นเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น เอามากอยู่หรือไม่?เอาน้อยที่สุดเท่าที่พอดีที่สุดในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนหรือยัง ทำดีที่สุดในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นหรือยังเบียดเบียนตนหรือยัง ทำดีที่สุดในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นหรือยัง
พลังชีวิตคนเราคือ “พลังศักดิ์สิทธิ์” พลังศักดิ์สิทธิ์ที่บันทึกการกระทำดี/ชั่วของเราทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือวาจา หรือใจ บันทึกแล้วตีค่า ดีนี้มีค่าเท่านี้ ชั่วนี้มีค่าเท่านี้ “พลังศักดิ์สิทธิ์” นอกจากตีค่าแล้วก็ให้ผลตามค่านั้นด้วย เป็นพลังที่สร้างผล(วิบาก)ให้ผลตามค่าที่ทำโดยอัตโนมัติ โดยให้ผลในชาตินี้ หรือชาติอื่นๆสืบไป (พระไตรปิฎก เล่ม 37 ข้อ 1698) พลังชีวิตจึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติพิเศษวิเศษแบบนี้ เป็นพลังศักดิ์สิทธิ์ของใครก็ของใคร ทุกคนมีพลังศักดิ์สิทธิ์นี้เหมือนกันทุกคน นี่คือความมหัศจรรย์ของชีวิต แต่ว่าการสร้างผลไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน เพราะว่าการใส่เนื้อหาแห่งความดี ความไม่ดี คือการทำดี หรือทำไม่ดีนั้นทำไม่เท่ากัน มีเครื่องมือมีประสิทธิภาพชนิดเดียวกัน แต่ใช้ทำสิ่งดี ไม่ดี ไม่เท่ากัน ก็ให้ผลไม่เท่ากัน คือ ทำดี สร้างดีให้ ทำชั่ว สร้างชั่วให้ ทำดีเป็นคลื่นแม่เหล็กดี ทำชั่วเป็นคลื่นแม่เหล็กชั่ว พลังชีวิตจะตีค่าสร้างผลให้กับทุกคนเหมือนกันหมด นี้คือความเท่าเทียมยุติธรรมที่ทุกคนได้รับอันเกิดจากการทำที่ดี/ชั่วของตนเองเท่านั้น
บททบทวนธรรม เพื่อการสร้างจิตวิญญาณที่ดีงามและผาสุกที่สุดในโลก
-เรื่องการเข้าใจผิดของเรากับผู้อื่น เราต้องระลึกรู้ว่า มันคือวิบากกรรมเขา วิบากกรรมเรา แก้ไขได้ด้วยการทำดีไม่มีถือสาไปเรื่อยๆ แล้ววันใดวันหนึ่งข้างหน้าในชาตินี้หรือชาติหน้าหรือชาติอื่นๆ สืบไป ความเข้าใจผิดนั้น ก็จะหมดไปเอง
-เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีฐานจิตแตกต่างกัน เราจึงควรประมาณการกระทำให้เหมาะสมกับฐานจิตของเรา และฐานจิตของผู้อื่น“คิดดี พูดดี ทำดี ไว้ก่อน”ดีที่สุด
-การกระทำเดียวกัน มีเหตุผลในการกระทำกว่าล้านเหตุผลต้อง ระวัง “อคติหรือความเข้าใจผิด จากการคาดเดาที่ผิดของเรา”
-สิ่งที่เราได้รับคือสิ่งที่เราทำมา ไม่มีสิ่งใดที่เราได้รับ โดยที่เรา ไม่เคยทำมา
-ถ้าเรายังไม่เข้าใจคนอื่น แสดงว่า เรายังไม่เข้าใจตนเอง
-เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา ไม่มีอะไรบังเอิญ ทุกอย่างยุติธรรมเสมอ เพราะเราเคยทำเช่นนั้นมามากกว่านั้น เมื่อได้รับแล้วก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น
-เรามีหน้าที่ทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ ให้โลกและเราได้อาศัย ก่อนที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น
-เราทำดีด้วยการช่วยไม่ให้คนอื่นทำ“ผิด”ได้ “ก็ช่วย”แล้ววางให้เป็นไปตามวิบากดีของเขา “ช่วยไม่ได้”ก็“วาง” ให้เป็นไปตามวิบากร้ายของเขา เมื่อเขาเห็นทุกข์จนเกินทนจึงจะเห็นธรรม แล้วจะปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์
-สิ่งที่มองไม่เห็น ที่ทำหน้าที่สร้างสิ่งที่มองเห็น และสิ่งที่เป็นอยู่ทุกอย่างในชีวิตของคน คือพลังวิบากดีร้าย ที่เกิดจากการกระทำทางกาย หรือวาจา หรือใจของผู้นั้น ในอดีตชาติและชาตินี้ สังเคราะห์กันอย่างละหนึ่งส่วน
-เมื่อเกิดสิ่งเลวร้ายกับเรา โลกนี้ไม่มีใครผิดต่อเรา เราเท่านั้นที่ผิดต่อเรา คนอื่นที่ทำไม่ดีนั้น เขาผิดต่อตัวเขาเองเท่านั้น และเขาก็ต้องได้รับวิบากร้ายนั้นเอง เขาจึงไม่ได้ผิดต่อเรา แต่เขานั้นผิดต่อตัวเขาเอง ถ้าเรายังเห็นว่าคนที่ทำไม่ดีกับเรา เป็นคนผิดต่อเรา แสดงว่า เรานั่นแหล่ะผิด อย่าโทษใครในโลกใบนี้ ผู้ใดที่โทษผู้อื่นว่าผิดต่อตัวเรา จะไม่มีทางบรรลุธรรม นี่คือคนที่ไม่ยอมรับความจริง เพราะไม่เข้าใจเรื่อง “กรรม” อย่างแจ่มแจ้งว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนได้รับล้วนเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้นเมื่อรับผลดีร้ายจากการกระทำแล้วผลนั้นก็จบดับไป และสุดท้ายเมื่อปรินิพพานทุกคนก็ต้องสูญจากทั้งดีและร้ายไป ไม่มีอะไรเป็นสมบัติของใคร เพราะสุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องดับไป จึงไม่ต้องยึด ไม่ต้องทุกข์กับอะไร”
-การได้พบกับเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเรา ไม่ได้ดั่งใจเราเป็นสุดยอดแห่งเครื่องมืออันล้ำค่าที่ทำให้ได้ฝึกล้างกิเลสคือความหลงชิงชังรังเกียจ หลงยึดมั่นถือมั่นในใจเรา และทำให้ได้ล้างวิบากร้ายของเรา
-ถ้าใครมีปัญหาหรือความเจ็บป่วยในชีวิตให้ทำความดี 4 อย่างนี้ ด้วยความยินดี จะช่วยให้ปัญหาหรือความเจ็บป่วยลดลงได้เร็ว
1. สำนึกผิด หรือยอมรับผิด
2. ขอโทษ หรือขออโหสิกรรม
3. ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น
4. ตั้งจิตทำความดีให้มากๆ คือลดกิเลสให้มากๆ เกื้อกูลฝูงชนและหมู่สัตว์ให้มากๆ
-ยึดอาศัย “ดีที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง”นั้น “ดี” แต่ยึดมั่นถือมั่นว่า “ต้องเกิดดีดั่งใจหมายทั้งๆที่องค์ประกอบเหตุปัจจัย ณ เวลานั้นไม่สามารถทำให้ดีนั้นเกิดขึ้นได้จริงนั้น“ไม่ดี”
-หลักการทำดีอย่างมีสุข 6 ข้อ
รู้ว่าอะไรดีที่สุด
ปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด
ลงมือทำให้ดีที่สุด
ยินดีเมื่อได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว
ไม่ติดไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ดีที่สุด
นั่นแหล่ะคือสิ่งที่ดีที่สุด
-ทำดีให้มากๆ เพื่อจะให้ดีชิงออกฤทธิ์แทนร้ายที่เราเคยพลาดทำมาในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ จะได้มีดีไว้ใช้ในปัจจุบันและอนาคต ในชาตินี้และชาติอื่นๆ สืบไป
-จงทำดีเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ สุขเต็มที่ ไม่มีอะไรคาใจ
-ไม่เอาอะไร คือสุดยอดแห่ง“ความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส”
หากชีวิตทุกชีวิต ได้พยายาม ทบทวนธรรมให้ได้ทุกวัน พิจารณาทบทวนซ้ำๆ จากคำเดิมๆ ทบทวนทุกๆวัน แล้วจะพบกับปาฎิหาริย์ได้ ผู้ทบทวนธรรมจะมีปัญญามากขึ้นทุกวันๆ มากขึ้นกว่าภาษาที่เราทบทวน จะมีญาณปัญญามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันใดที่เราทุกข์ ด้วยอะไรก็แล้วแต่ ธรรมนี้คือปัญญา/คาถาดับทุกข์ วันใดที่ทุกข์การได้ทบทวนธรรมเข้าไป พยายามทำความเข้าใจความหมายที่ถูกต้องในบททบทวนธรรมนี้เข้าไปในจิต ทบทวนทุกคำทุกประโยคแล้วพยายามทำความเข้าใจว่าหมายถึงอะไร มีเนื้อหาอย่างไร การทบทวนทั้งหมดนี้ซ้ำ ๆ อย่างเข้าใจจะสามารถทำลายกิเลสความติดยึดที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ได้
หากถ้าใครทำได้ถึงจิตอย่างเข้าใจแตกฉานในทุกคำทุกประโยค ในเรื่องกรรม ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต อย่างแจ่มแจ้งถึงระดับ“ปฏิจจสมุปบาท”(การอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ความเป็นเหตุปัจจัยสืบเนื่องกันเป็นไปตามลำดับ) ของกรรมดี
กรรมชั่วที่สั่งสมเป็นพลังสร้างผลคือวิบากดีวิบากชั่วจนเข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ว่าตัวปีศาจร้าย (กิเลส) ทั้งของเราทั้งของผู้อื่น มันทำอะไรมาบ้าง จึงทำให้เกิดปัญหานั้นๆ และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า ในขณะที่มีสติจับอาการและปัญญาของปีศาจ(กิเลส)โลภโกรธหลงตัวนั้นๆได้ การพิจารณาโทษของปีศาจ(กิเลส)ร้ายตัวนั้น ประโยชน์ของการไม่มีปีศาจ(กิเลส)ร้ายตัวนั้น พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้มากๆ จะเกิดเป็นพลังฌาณที่ทำลายปีศาจ(กิเลส)ร้ายตัวนั้นได้ เป็นการสร้างพลังแห่งพุทธะขึ้นมาในชีวิต เป็นธรรมะแห่งพุทธะที่มีคุณค่ามหาศาลยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเรา ธรรมะดังกล่าวจะเข้าไปเติมพลังในจิตวิญญาณของเราแทนปีศาจร้าย เข้าไปคุ้มครอง เข้าไปดำเนินการ เข้าไปดูแลชีวิตของเรา ไม่ให้ปีศาจร้ายใดๆ เข้าไปทำร้าย/ทำความเสียหายต่อชีวิตของเราได้อีก ผู้นั้นก็จะไม่มีทุกข์ มีแต่ความสุขกับปัญญาที่มากขึ้นๆเท่านั้น จึงเป็นความผาสุกที่สุดในโลก ตราบปรินิพพาน
คำว่า “ทำดีให้ดีที่สุด” ลึกซึ้งในระดับต่างๆ มี “ดีธรรมดา” คือ “ดีกุศล” กับ ดีที่มีคุณค่าประเสริฐสูงสุด คือ “ดีบุญ” เราต้องทำ “ดีกุศล” ทำเต็มที่ เท่าที่เราทำได้ และ “ดีบุญ” ก็ทำสุดหัวใจ
ดีบุญ คือ ดีทำลายปีศาจกิเลสเหตุแห่งทุกข์ในตน ส่วนดีกุศลคือการช่วยเหลือผู้อื่น ทำดีให้ดีที่สุด ทำดีให้มาก ๆ ทำดีเต็มที่ คนที่ทำดีเต็มที่ที่สมบูรณ์ มีสองมิติ ซึ่งสามารถทำให้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้ คือพยายามทำให้ดีที่สุดทั้งบุญทั้งกุศล ได้แก่ ชีวิตเรากินน้อยใช้น้อยที่สุด เท่าที่พอดีที่สุด ทำไปพร้อมกับทำลายกิเลสกาม(ความติดยึดในการเสพรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสลาภยศสรรเสริญที่เป็นภัย) เราเสพแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แท้ แล้วที่เหลือก็ทำประโยชน์ให้กับโลกให้ได้มากที่สุดด้วยความมุ่งมั่นจริงใจสุขใจ ทำไปพร้อมๆกับทำลายกิเลสอัตตา(การเสพความยึดมั่นถือมั่นว่า ถ้าดีเกิดดังใจหมายจะเป็นสุข แต่ถ้าดีไม่เกิดดังใจหมายจะเป็นทุกข์) ถ้าทำลายกิเลสอัตตาได้จะเกิดสภาพ คือ ถ้าได้พยายามทำดีอย่างเต็มที่ในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นแล้ว ดีจะเกิดหรือไม่เกิดดังใจหมาย ใจก็เป็นสุขได้ ทำดีเต็มที่เป็นอย่างนี้ ดีทั้งต่อตนเองต่อผู้อื่นวินาทีเดียวกันเลย
การทำดีแท้ คือ การกินน้อยใช้น้อยที่สุด แต่ทำประโยชน์ให้กับโลกสูงที่สุด ด้วยใจที่เป็นสุข กินน้อยใช้น้อยที่สุดที่เข้าหลักพระพุทธเจ้า คือ กินวันละมื้อ ไม่มากไปไม่น้อยไป มากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี “ทรมาน” ต้องให้พอดีที่สุดที่จะแข็งแรงที่สุด ทำดีเต็มที่เลย (ส่วนท่านที่กินวันละมื้อยังไม่ได้ ก็ลดมากินน้อยมื้อที่สุดเท่าที่พอดีสบายและกำลังเต็มที่สุด) ใช้สิ่งต่างเพื่อตนให้น้อยที่สุดในขีดที่มีศักยภาพสูงสุด ที่เหลือก็ประโยชน์โลก มีประโยชน์อะไรช่วยเต็มที่สุดหัวใจเลย เหนื่อยเต็มที่เลย เหนื่อยนี่ก็อยู่ในขีดที่ไม่ทรมานตัวเองเกินไป “ตั้งตนอยู่ในความลำบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง”ทำเต็มที่ให้หนัก ให้เหนื่อย แต่อย่าให้ป่วย อย่าให้ทรมานตัวเองเกินไป นั้นจะเป็นจุดที่แกร่งและมีคุณค่าสูงสุดของคน
“สุขเต็มที่”อิทธิบาท ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หนึ่งในองค์ของโพธิปักขิยธรรมที่เป็น 37 องค์แห่งการตรัสรู้ สุขเต็มที่เลย อิทธิบาท ความพอใจ เป็นความสุข พอใจทำเมื่อควรทำ(เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น) พอใจวางเมื่อควรวาง(เห็นว่าเมื่อเกิดสภาพที่เป็นโทษต่อตนเองหรือผู้อื่น) วางได้ก็ไม่มีอะไรคาใจ อย่าให้เหลืออะไรคาใจ ยังมีความไม่สบายใจอยู่ แปลว่า ยังมีกิเลสอยู่ ก็ล้างกิเลสออก ไม่มีอะไรคาใจ เต็มที่แล้วผลมันออกมาเท่าไหร่ อย่าให้มันมีอะไรคาใจ อย่าให้มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเสพย์โลกียสุข ความหลงยึดมั่นถือมั่นที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ เรายึดอาศัยได้พอหมดฤทธิ์ของการกอร์ปก่อสิ่งนั้นๆก็ดับไป อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราตลอดกาลนาน ไม่มีอะไรคาใจ ไม่เอาอะไร ไม่มีอะไรต้องเอา ชีวิตนี้ไม่มีอะไรต้องเอา
“คนเอา” คือ คนยังมีทุกข์ คนยังไม่เต็มสุข คนเต็มสุขแท้แล้วไม่เอา จะไม่เอาอะไรมาเสพ พอมันเต็มสุขแล้ว มันรู้ว่าเสพเป็นเหตุแห่งนรก(ทุกข์) ไม่เสพ
เป็นสุขแท้ จึงไม่เอา ก็เสพความ “ไม่เอา” นั่นแหล่ะ จะเสพก็ได้ เสพความไม่เอาอะไร ไม่ต้องง้อใคร คือ ความสุขแท้ๆ ต้องไม่ง้อใคร ต้องไม่คาดหวังจากใคร ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นว่า เขาต้องดีหรือเขาต้องชั่วฉันจึงจะสุขหรือจะทุกข์ มีแต่ปรารถนาดีเท่านั้น เมื่อเราได้ทำดีเต็มที่ในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นแล้ว ใครจะดีจะชั่วเราก็สุขเต็มที่ของเรา นี่คือ สุดยอดแห่งความอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส
ทำแล้วก็ตรวจจิตดีๆ ทำไปเรื่อยๆ ถ้าเรามีข้อสงสัยว่าทำแบบนี้แล้วเป็นปรมัตถ์หรือไม่ ?เป็นธรรมะสุดยอดหรือไม่ มันจริงหรือไม่ ? ถูกต้องหรือไม่? อันนี้คือดีสุดหรือยัง ที่จะไม่มีวิบากร้ายอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เจือปน ถ้าเราตั้งข้อสงสัยอย่างนั้น ให้เราใช้ปัญญาว่า แล้วถ้าคิดแบบนี้จะมีทุกข์อะไรมั้ย ? ถ้าคิดแบบนั้นแล้วยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ไหม ยังมีโอกาสทุกข์อยู่ไหม ถ้า คิดหรือพูดหรือทำแบบใดก็ตามที่ยังมีโอกาสทุกข์อยู่ ความคิดนั้น “ผิด”ยังมีส่วนยึดมั่นถือมั่นอยู่ ยึดว่าต้องได้แบบนั้นแบบนี้ดังใจหมายจึงจะสุข แต่ถ้าไม่ได้ดังใจหมายแล้วทุกข์แสดงว่าผิด เพราะยังมีโอกาสทุกข์ได้ ต้องไม่ให้มีโอกาสทุกข์เลย ตรวจดูดีๆ ว่าเราคิดนั้นถูกหรือยัง ? ถ้ามีโอกาสทุกข์อยู่ “ผิด” ถ้าไม่มีโอกาสทุกข์ “ถูก” การคิดหรือพูดหรือทำต้องเป็นเช่นนั้น อย่าให้เหลือโอกาสทุกข์ ถ้ายังมีเหตุผลที่เหลือโอกาสทุกข์อยู่ นั่นคือ วิญญาณผีกิเลสร้ายยังอยู่ นั่นคือ การเผื่อความคิดไว้ให้ผีกิเลสร้าย ต้องจัดการฆ่าผีกิเลสร้ายให้ตาย อย่าให้เหลือโอกาสทุกข์ และอย่าให้เหลือโอกาสชั่ว ต้องไม่ทุกข์ ต้องไม่ชั่ว มีแต่ดีและสุขแท้ๆ เท่านั้นจึงจะถูก ซึ่งต้องใช้ปัญญาตรวจดีๆ “ชั่ว” คืออะไร ชั่วคือเอามากเกินจำเป็น เอามากเกินกว่าที่เป็นไปได้จริงถึงขั้นเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น เอามากอยู่หรือไม่?เอาน้อยที่สุดเท่าที่พอดีที่สุดในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนหรือยัง ทำดีที่สุดในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นหรือยังเบียดเบียนตนหรือยัง ทำดีที่สุดในขีดที่ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นหรือยัง
พลังชีวิตคนเราคือ “พลังศักดิ์สิทธิ์” พลังศักดิ์สิทธิ์ที่บันทึกการกระทำดี/ชั่วของเราทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือวาจา หรือใจ บันทึกแล้วตีค่า ดีนี้มีค่าเท่านี้ ชั่วนี้มีค่าเท่านี้ “พลังศักดิ์สิทธิ์” นอกจากตีค่าแล้วก็ให้ผลตามค่านั้นด้วย เป็นพลังที่สร้างผล(วิบาก)ให้ผลตามค่าที่ทำโดยอัตโนมัติ โดยให้ผลในชาตินี้ หรือชาติอื่นๆสืบไป (พระไตรปิฎก เล่ม 37 ข้อ 1698) พลังชีวิตจึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติพิเศษวิเศษแบบนี้ เป็นพลังศักดิ์สิทธิ์ของใครก็ของใคร ทุกคนมีพลังศักดิ์สิทธิ์นี้เหมือนกันทุกคน นี่คือความมหัศจรรย์ของชีวิต แต่ว่าการสร้างผลไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน เพราะว่าการใส่เนื้อหาแห่งความดี ความไม่ดี คือการทำดี หรือทำไม่ดีนั้นทำไม่เท่ากัน มีเครื่องมือมีประสิทธิภาพชนิดเดียวกัน แต่ใช้ทำสิ่งดี ไม่ดี ไม่เท่ากัน ก็ให้ผลไม่เท่ากัน คือ ทำดี สร้างดีให้ ทำชั่ว สร้างชั่วให้ ทำดีเป็นคลื่นแม่เหล็กดี ทำชั่วเป็นคลื่นแม่เหล็กชั่ว พลังชีวิตจะตีค่าสร้างผลให้กับทุกคนเหมือนกันหมด นี้คือความเท่าเทียมยุติธรรมที่ทุกคนได้รับอันเกิดจากการทำที่ดี/ชั่วของตนเองเท่านั้น