เม็ดเสริม 4 : แช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบาย
แช่มือแช่เท้า: Playlist
วัตถุประสงค์
เพื่อระบายความร้อนและ(พิษ)ออกจากร่ายกาย ทางปลายมือและปลายเท้า ที่เกิดจากการทำงานและกิจกรรมต่างๆหรืออาการไม่สบาย(เจ็บป่วย)
กรณีภาวะร้อนเกิน ควรใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น ใบย่านาง ใบเตย ใบมะขาม ใบส้มป่อย ใบรางจืด หยวก กาบ หรือใบกล้วย หรือสมุนไพรฤทธิ์เย็นอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ½ – 1 กำมือ
จะใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ ต้มกับน้ำ 1 ขัน (ประมาณ 1 ลิตร) ต้มเดือดประมาณ 5-10 นาที ผสมกบน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สืกสบาย (จะเป็นจุดที่ถอดพิษได้ดีที่สุด) อย่าให้เย็นหรือร้อนจัดจนรู้สึกทรมาน เพราะจะทำให้ถอนพิษได้ไม่ดี บางทีอาจเพิ่มพิษด้วยซ้ำไป ถ้าไม่มีสมุนไพรก็ใช้น้ำเปล่าต้มให้เดือดผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นก็ได้
จากนั้นก็แช่มือแช่เท้าแค่พอท่วมข้อมือข้อเท้า ประมาณ 3 นาที แล้วยกขึ้นพัก 1 นาที ทำช้ำจนครบ 3 รอบ ทำวนละประมาณ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่มีเวลาก็ทำเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง
กลไกการถอนพิษก็คือ ร่างกายมีธรรมชาติของการระบายพลังงานที่เป็นพิษจำนวนมากออกทางมือและเท้า จะเห็นได้ว่า แพทย์โบราณหลายประเทศมีการกดจุดหรือขูดระบายพิษที่มือและเท้า เมื่อคนเราใช้มือและเท้า ในกิจวัตรประจำวัน กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่มือและเท้ามักจะเกิดสภาพแข็งเกร็งค้าง ทำให้ขวางเส้นทางระบายพิษจากร่างกาย การแช่ในน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่แข็งเกร็งค้างคลายตัว พลังงานที่เป็นพิษในร่างกาย จึงระบายได้ดี ทำให้สขภาพดีขึ้น
จากการเก็บสถิติ ณ ปัจจุบัน พบว่า เมื่อแช่ในน้ำอุ่น พลังงานพิษที่อัดอยู่ในร่างกายจะเคลื่อนออกภายใน 3 นาที หลังจากนั้น พิษของน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนจะเคลื่อนเข้าทาร้ายร่างกาย ถ้าแช่นานเกิน 3 นาที มักจะพบว่า มีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบาย หลายคนที่เคยมีประสบการณ์การไปแช่น้ำโป่งเดือดหรือน้ำพุร้อนนานเกิน 3 นาที พอขึ้นมาจากการแช่ก็มักจะมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายต่าง ๆ เพราะพิษจะเคลื่อนออกได้แค่ประมาณ 3 นาที จากนั้นพิษฃองน้ำอุ่นจะเคลื่อนเข้าทำร้ายร่างกาย
ดังนั้น ควรแช่น้ำอุ่นแค่ 3 นาที แล้วขึ้นจากน้ำอุ่น 1 นาที เมื่อร่างกายเย็นดีแล้วพลังงานพิษร้อนในร่างกายก็จะเคลื่อนสวนทางกับความเย็น เมื่อเราแช่ในน้ำอุ่นอีกครั้ง กล้ามเนื้อก็จะคลายตัว พลังงานพิษร้อนก็จะเคล์่อนออกจากร่างกายได้มาก ผู้เขียนพบว่าพิษสามารถเคลื่อนออกได้มาก เพียง 3 รอบ หลังจากนั้นถ้ายังแช่ต่ออีก พิษน้ำอุ่นจะเคลื่อนเข้าไปทำร้ายร่างกาย
กรณีภาวะเย็นเกิน ควรใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อน เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 1 ลิตร เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วนำมาผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นพอสบาย แช่มือแช่เท้าได้นานเท่าที่รู้สึกสบาย
กรณีภาวะร้อนและเย็นเกิดขึ้นพร้อมกัน ควรใส่สมุนไพรฤทธิ์ร้อนและเย็นผสมกัน ซึ่งใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันโดยใช้วิธีประมาณเอาเท่าที่จะรู้สึกสบาย
กรณีที่แช่น้ำอุ่นแล้วรู้สึกไม่สบาย แสดงว่าร่างกายร้อนมาก อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถรับพลังงานความร้อนได้ดี ให้ใช้สมุนIพรฤทธิ์เย็นสด ขยี้ โขลกหรือปั่นผสมน้ำเปล่า แล้วแช่มือแช่เท้านานเท่าที่รู้สึกสบาย
สำหรับคนเจ็บป่วยทำวันละประมาณ 1-3 ครั้ง สำหรับคนแข็งแรงทั่วไป ทำเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง หรือทำเมื่อรู้สึกไม่สบาย
ระยะเวลาที่พอดีโดยเฉลี่ยควรแช่ คือ ประมาณ 3 นาที พัก 1 นาที ทำ 3 รอบ อาจใช้เวลาน้อยหรือมากกว่านั้นก็ได้เท่าที่รู้สึกสุขสบายเบากายมีกำลังเป็นจุดที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อชีวิต
กรณีไม่ถูกกับน้ำอุ่น คือเมื่อสัมผัสน้ำอุ่นแล้วรู้สึกไม่สบาย แต่ถูกกับการแช่ด้วยน้ำธรรมดาหรือน้ำเย็นมาก ก็ใช้หลักแช่ในระยะเวลาที่รู้สึกสุขสบายเบากายมีกำลัง คือจุดที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อชีวิต
หรือผสมสมุนไพรรสฝาด เช่น เปลือกมังคุด เปลือกแค น้ำยางต้นกล้วย พอกบริเวณที่มีฝีหนอง ตุ่มน้ำใสหรือขุ่นที่ผิวหนัง น้ำกัดเท้า หรือมีน้ำเหลือไหลซึมที่ผิวหนัง เพื่อดูดซับน้ำหนองทำให้แผลแห้งขึ้น