ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูขั้นตอนการสมัคร กดที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารลงชื่อคัดค้านกาสิโนถูกกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร กดที่นี่  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ที่นี่

2. บันทึกกลุ่มตัวอย่างจาก ผู้ใช้การแพทย์วิถีพุทธที่เป็นจิตอาสาแพทย์วิถีพุทธ

ระหว่างปี .. 2553 – 2558

(ประเภทข้อมูลที่ 10 แบบบันทึกกรณีศึกษาของจิตอาสาและนักศึกษาแพทย์วิถีพุทธ และข้อมูลที่ 12 แบบสอบถามประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ เทคนิค 9 ข้อ)

ภาคผนวก ก ของวิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน)

ของ นายใจเพชร กล้าจน

กรณีศึกษาที่2.45
ชื่อนางพิกุล ไชยช่วย
เพศหญิง
อายุ51 ปี
อาชีพรับราชการ (พยาบาลวิชาชีพ)
จังหวัดยโสธร
โรคโรคกระดูกบาง (พรุน)
อาการ
วันสัมภาษณ์20 มีนาคม 2558

เมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ตรวจสุขภาพประจำปี พบว่า มีภาวะกระดูกบาง (ค่าสแกนกระดูก-1.15) มีอาการปวดแขน ขา ปวดเย็น ๆ โดยเฉพาะเวลาอาการเย็น และปวดขามากเวลาเดิน นั่งหย่อนขาโดยเฉพาะขณะนั่งรถที่ต้องเดินทางไกล ๆ ทั้งที่ก่อนหน้าที่จะทำการตรวจมวลกระดูกได้เตรียมสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยทอง โดยการดื่มนมทั้งนมถั่วเหลืองและนมโคที่เสริมแคลเซี่ยมสูง วันละ 1-3 กล่อง 

หลังจากตรวจพบว่ากระดูกบางเกือบพรุน ได้เข้าเรียนรู้การดูแลสุขภาพตามหลักแพทย์วิถีธรรมโดยการเข้าค่ายแพทย์ที่สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ได้งดดื่มนม หันมาใช้หลักยา 9 เม็ด คือ ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล ทุกวัน เฉลี่ย 2-3 แก้วต่อวัน กัวซาเฉลี่ย 1- 4 ครั้งเดือน ดีท็อกซ์ด้วยน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือปัสสาวะเฉลี่ย 1 ครั้งต่อสัปดาห์จะทำห่างและถี่ตามภาวะอาการไม่สุขสบาย แช่มือเท้า อาบน้ำสมุนไพร เมื่อมีอาการไม่สบาย นาน ๆ ครั้ง (ประมาณ 4 ครั้งต่อปี) การรับประทานอาหารปรับสมดุล ผสมผสานโดยลดเนื้อสัตว์ใหญ่ทั้งหมด กินเฉพาะปลา และบางครั้งมีสัตว์เล็กนาน ๆ ครั้ง (กุ้งน้ำจืด แมลงต่าง ๆ ) เน้นการกินอาหารตามลำดับ เป็นประจำทุกวันและเมื่อสแกนกระดูก วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554 ผลปกติ (ค่าสแกนกระดูก – 0.43) และอาการที่เคยมีคือปวดต่าง ๆ ดีขึ้นมาก แทบไม่ปรากฏอาการ ยกเว้นทำงานหนักมาก ๆ จะมีอาการปวดเมื่อยตามปกติและหายได้เอง

แบ่งปันประสบการณ์

การดูแลและเทคนิคที่ใช้

ไม่พบผลลัพธ์

ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์