ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

1. บันทึกการสัมภาษณ์กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างจาก ผู้ใช้การแพทย์วิถีพุทธสำหรับผู้ที่มาเข้าอบรมค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีพุทธ 5-7 วัน

ณ ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และเครือข่ายแพทย์วิถีพุทธทั่วโลก

ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2558

(ประเภทข้อมูลที่ 7 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ ผ่านสื่อออนไลน์ยูทูบประเภทข้อมูลที่ 9 แบบบันทึกสัมภาษณ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ และ ประเภทข้อมูลที่ 12 แบบสอบถามประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ เทคนิค 9 ข้อ)

ภาคผนวก ก ของวิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน)

ของ นายใจเพชร กล้าจน

กรณีศึกษาที่1.130
ชื่อนางพรภินันท์ กีรติวิริยะวุฒิ
เพศหญิง
อายุ59 ปี
จังหวัดบุรีรัมย์
โรคโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)
วันสัมภาษณ์2 เมษายน 2558
  • อาชีพค้าขาย : มีบริษัททำท่อซีเมนต์ต่าง ๆ 
  • พฤติกรรม : ก่อนไม่สบายอาหารประจำวันจะเป็นเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่
  • โรคประจำตัว : ปวดข้อรูมาตอยด์ นาน 10 ปี 

การรักษากินยาแผนปัจจุบันมาตลอด เริ่มหยุดใช้ยา เมื่อ 7 เดือนที่ผ่านมาเคยเข้าค่ายสุขภาพมา 1 ครั้ง แต่ไม่ได้ปฏิบัติตัวสม่ำเสมอ เคยน้ำหนักตัวมาก 48 กิโลกรัม มาเข้าค่ายเลิกทานสัตว์ใหญ่น้ำหนักลด เหลือ 39 กิโลกรัม

ประวัติ ผ่าตัด เคยผ่าตัดคลอดลูก

มาเข้าค่ายครั้งนี้วันที่ 29 มีนาคม 2558 เป็นวันที่ 2 ของค่ายที่วัดธรรมธีราราม จัดโดย แผนกแพทย์แผนไทยและทางเลือกของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ เจอผู้ป่วยครั้งแรก อาการโรคข้อ รูมาตอยด์ บวมแดงร้อน ปวดกำนิ้วมือไม่เข้า จึงแนะนำให้แช่มือด้วยน้ำธรรมดาใส่กากสมุนไพรฤทธิ์เย็นแช่นานสิบนาที ยกขึ้นผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกสบาย กำมือได้ดีขึ้น อาการบวมลดลงปวดลดลง รู้สึกสบายขึ้นทั้งมือและเท้า 

pastedGraphic.pngpastedGraphic_1.png

ภาพแสดงอาการบวมแดง ที่ข้อมือข้อเท้า ก่อนแช่ด้วยกากสมุนไพรฤทธิ์เย็น

อาการแสดงบวม แดงร้อน ปวด ก่อนได้รับการแช่ด้วยกากสมุนไพรฤทธิ์เย็นของผู้ป่วยที่มาเข้าค่ายสุขภาพแบบวิถีธรรม ณ วัดธรรมธีราราม จังหวัดบุรีรัมย์ จัดโดยแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกของ โรงพยาบาลบุรีรัมย์วันที่ 28 มีนาคม-1 เมษายน 2558 เสียค่ารักษาประมาณ 10,000 บาท ต่อเดือน

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นกลุ่มอาการของโรค ที่มีการอักเสบของทุกระบบในร่างกายแต่จะมีการอักเสบของทุกระบบในร่างกายแต่จะมีการอักเสบที่เด่นชัด เยื่อบุข้อและเยื่อบุเส้นเอ็นลักษณะสำคัญของโรคนี้ได้แก่ อาการอักเสบของข้อหลาย ๆ ข้อ พร้อม ๆ กัน เป็นเรื้อรังติดต่อกันนานเป็นเดือน ๆ หรือปี ๆ โรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่าอาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าใดก็ได้แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กก็มักจะมีอาการรุนแรงในเด็กจะมีอาการและอาการแสดงต่างจากผู้ใหญ่รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ 

1. มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลาย ๆ ข้อทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์

2. ข้ออักเสบพบบ่อยที่บริเวณข้อมือข้อโคนนิ้ว มือข้อกลางนิ้วมือข้อเข่าข้อเท้าซึ่งจะมีอาการปวดบวมและกดเจ็บตามข้อต่าง ๆ ถ้าเป็นมานาน จะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุข้อการคั่งของเลือด ในบริเวณ ข้อขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัดกินอาหารไม่เพียงพอหรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ

3. มีอาการข้อฝืดข้อแข็งเคลื่อนไหวลำบาก ในช่วงตื่นนอนตอนเช้ามักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง จึงจะเริ่มขยับข้อได้ดีขึ้น ในช่วงบ่าย ๆ มักจะขยับข้อได้ปกติ

4. พบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัวน้ำหนักลด ไข้ต่ำ ๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนังและภาวะเลือดจาง

5. ตรวจเลือดพบมีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะตรวจเลือดพบเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น ดังนั้นถ้าตรวจไม่พบรูมาตอยด์ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นโรครูมาตอยด์ แต่ผู้ที่มีปริมาณรูมาตอยด์แฟคเตอร์สูงจะมีอาการรุนแรงกว่า

6. เจาะน้ำในข้อไปตรวจ

7. เอ็กซ์เรย์ไม่จำเป็นยกเว้นในกรณีที่ใช้ประเมินว่าข้อถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด เพราะอาจจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ สามารถใช้ข้อต่าง ๆ ได้เกือบเท่ากับคนปกติ จะมีผู้ป่วยส่วนน้อยประมาณร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง
ทำให้เกิดความพิการบิดเบี้ยวผิดรูปร่างจนใช้งานไม่ได้และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมากที่จะมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นตา หัวใจหลอดเลือดปอด ม้ามเป็นต้น

โรคนี้รักษาไม่หายขาด แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้แต่ ก็ต้องใช้เวลานาน

pastedGraphic_2.pngpastedGraphic_3.png

วันที่สองของค่าย ภาพหลังแช่มือด้วยกากสมุนไพร อาการบวมแดงร้อน ยุบลง

แบ่งปันประสบการณ์

การดูแลและเทคนิคที่ใช้

กรณีศึกษาที่ 1.32 คุณนภวรรณ์

กรณีศึกษาที่1.32ชื่อนภวรรณ์เพศหญิงอายุ45โรคโรคข้อเข่าเสื่อม โรครูมาตอยด์ โรคตาแห้งวันสัมภาษณ์24 สิงหาคม 2557 คุณนภวรรณ์: ชื่อจริงชื่อนภวรรณ์ชื่อเล่นชื่อฟ้าค่ะ ตอนนี้ไม่ได้ทำงานนะคะก่อนมาที่นี่ก็คือจะรู้จักหมอเขียวประมาณน่าจะ 3 ปีที่แล้ว...

โรครูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์ โดยอาจารย์บังอร ค่ายสุขภาพและพระไตร ปิฏก สวนป่านา คุณบังอร ดวงดุสดี การเจ็บป่วย ลุกจากเตียงขึ้นมายืนไม่ได้ ไปหาหมอตรวจพบว่าเป็น โรค ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รื้อรังรักษาไม่หาย ต้องกินยาตลอดชีวิต ฟังแล้วก็เลยไปหาหมอทุกเดือน ตังแต่ปี 2525 ทั้งกินทั้งฉีด มา 30 ปี...