ความเข้มแข็งในการมองโลก ความเครียดและการเผชิญความเครียด ของครอบครัวผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จังหวัดอุบลราชธานี
ผ่องไพรธรรม กล้าจน
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา 2560
153 หน้า
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ชื่อเรื่อง : ความเข้มแข็งในการมองโลก ความเครียดและการเผชิญความเครียด ของครอบครัวผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จังหวัดอุบลราชธานี
- ผู้วิจัย : ผ่องไพรธรรม กล้าจน
- สาขาวิชา : สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.อรรณพ นับถือตรง และรองศาสตราจารย์ธงชัย วงศ์เสนา.
- จำนวนหน้า: 153 หน้า
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งในการมองโลก ความเครียด การเผชิญความเครียดของครอบครัวที่ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) แบบการวิจัยเชิงสารวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Survey Study)
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 310 คน ได้มาจากการสุ่มเป็นระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Stratified Random Sampling) และการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความเข้มแข็งในการมองโลก จำนวน 29 ข้อ แบบทดสอบความเครียด จำนวน 20 ข้อ แบบทดสอบวิธีการเผชิญความเครียด จำนวน 36 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
- ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งในการมองโลกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=4.56, S.D.= 0.55) ได้แก่ ด้านความสามารถให้ความหมายอยู่ในระดับสูง ( x̄ =5.21, S.D.=0.91) ด้านทำความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ =4.46, S.D.=0.75) และด้านการจัดการอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ =4.09, S.D.=0.65)
- ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีความเครียดระดับปานกลาง ( x̄ =39.26, S.D.= 11.85)
- ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีวิธีการการเผชิญความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ =2.57, S.D.=0.64) ได้แก่ ด้านมุ่งแก้ปัญหาปานกลาง ( x̄ =2.96, S.D.=0.90) ด้านบรรเทาความเครียดปานกลาง ( x̄ =2.60, S.D.=0.69) ด้านการจัดการกับอารมณ์ต่ำ ( x̄ =1.95, S.D.=0.54)
สรุปผลการวิจัย ได้ว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มีความเข้มแข็งในการมองโลกในระดับปานกลาง มีระดับความเครียดระดับปานกลาง และมีการเผชิญความเครียดในระดับปานกลาง มีความเป็นไปได้ว่าผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสามารถยอมรับความจริงและมีความเข้าใจในเรื่องความเจ็บป่วย ความตาย เป็นสัจธรรมของมนุษย์โลกที่ทุกคนต้องเผชิญ จึงทำให้สามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้ ส่งผลให้ให้มีกำลังใจในการดูแลมากขึ้น มีความเข้มแข็งในการมองโลกสูงขึ้น ส่งผลให้ความเครียดลดลงและสามารถเผชิญและแก้ปัญหาได้ดีขึ้น อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตัวผู้ดูแลและผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
SENSE OF COHERENCES, STRESS AND COPING METHODS OF FAMILY CAREGIVERS FOR BREAST CANCER PATIENTS IN UBON RATCHATHANI PROVINCE
PONGPAITHAM KLAJON
MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN PUBLIC HEALTH. SURINDRA RAJABHAT UNIVERSITY.
ACADEMIC YEAR 2017.
ADVISOR : DR. UNNOP NAPTHUETRONG AND ASSOCIATE PR0FESSOR THONGCHAI WONGSENA.
153 P.
ABSTRACT
The purposes of this study were to study the sense of coherences, stress and coping methods of family caregivers for breast cancer patients in Ubon Ratchathani province. This research was descriptive research with cross-sectional survey study.
Sample were 310 breast cancer caregivers in Ubon Ratchathani province using stratified random sampling and purposive sampling. Techniques. Tools used to collect data were questionaires about sense of coherences (29 items), stress (20 items), and coping methods (36 items) Data were analyzed by computer program for frequency, percentage, mean and standard deviation.
The Results showed that :
- The overall sense of coherence in family caregivers for breast cancer patients was at moderate level (x̄=4.56 S.D.=0.55) In term of meaningfulness at was at high level ( x̄ =5.21, S.D.=0.91), comprehensibility was at moderate level ( x̄ =4.46, S.D.=0.75), and manageability was at moderate level ( x̄ =4.09, S.D.=0.65).
- The overall Stress of family caregivers for breast cancer patients was at moderate level ( x̄ =39.26, S.D.= 11.85).
- The overall coping strategies and styles for handling stressful situations of family caregivers for breast cancer patients were at moderate level ( x̄ =2.57, S.D.=0.64) ; confrontative was at moderate level ( x̄ =2.96, S.D.=0.90), supportive and the palliative were at moderate level (x̄ =2.60, S.D.=0.69), and emotive was at low level (x̄ =1.95, S.D.=0.54).
In conclusion, the overall sense of coherences, stress and coping methods of family caregivers for breast cancer patients were at moderate level. It is possible that family caregivers for breast cancer patients can accept and understand the illness and death as the truth of life that everyone must face. Therefore, it can release adherence. This will result in encourage family caregivers for higher sense of coherence, reduced stress and better coping problems, useful for both family caregivers and breast cancer patients.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นางสาวผ่องไพรธรรม กล้าจน |
วัน เดือน ปี เกิด | 9 พฤษภาคม 2513 |
สถานที่เกิด | อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ที่อยู่ปัจจุบัน | ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 อาเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120 |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน | |
พ.ศ. 2530-2537 | • เศรษฐกร ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน) |
พ.ศ. 2537-2545 | • เจ้าหน้าที่การตลาดอาวุโสบริษัท ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ จากัด |
พ.ศ. 2545-2552 | • เจ้าหน้าที่วางแผนและติดตามธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน) |
พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน | • วิทยากรแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย • จิตอาสาแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย • นักศึกษาสถาบันวิชชาราม มูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. 2529 | จบการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. 2532 | จบการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. 2536 | จบการศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พ.ศ. 2561 | จบการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ |
พ.ศ. 2561 | จบการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |