ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

ความผาสุก ที่แท้จริง

 

ดาว์นโหลดหนังสือ

ฟังเสียงอ่านหนังสือ
หนังสือคู่มือการใช้ชีวิต อย่างรู้เพียรรู้พัก คู่มือการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

สาระแท้อันเป็นประโยชน์สูงสุดที่แท้จริงของมนุษย์ คือ จิตใจที่ผาสุกอย่างยั่งยืนเท่านั้น นอกนั้นไม่ใช่สาระแท้ ไม่ใช่ประโยชน์แท้เลย

จิตใจที่ผาสุกแท้ คือ จิตใจที่มีปัญญารู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลกไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ดินน้ำลมไฟ กิจกรรมการงาน ความดี ความชั่ว ความเหมาะ ความไม่เหมาะ ความถูกต้อง ความไม่ถูกต้อง ความเจ็บป่วย ความไม่เจ็บป่วย ปัญหาต่าง ๆ ทั้งหมดในโลก ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ในใจเรา แต่เป็นเพียงวัตถุสสาร พลังงาน ที่เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หมุนวนอยู่ในโลก ตราบชั่วกาลนาน ไม่มีหมดไปอย่างถาวร และไม่มีตั้งอยู่อย่างถาวร ครูบาอาจารย์สอนไว้ว่า มีเพียงผู้ที่ฝึกฝนจนได้จิตวิญญาณที่ผาสุกอย่างอย่างยั่งยืนแท้จริงเท่านั้นที่เลือกจะเกิดก็ได้ เลือกจะดับก็ได้

“ปัญหาไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ แต่เป็นสิ่งที่ควรแก้ไขให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้” รังเกียจก็ทุกข์เปล่า ๆ รังเกียจให้โง่ทำไม เพราะปัญหาไม่เคยหมดไปจากโลก ปัญหาหมดได้ที่ใจเราเท่านั้น หน้าที่/กิจกรรม/การงาน ก็ไม่เคยหมดไปจากโลก ดังนั้นเราจงยินดีเต็มใจเบิกบานแจ่มใสผาสุกสงบสบายกับการยอมรับความจริงดังกล่าว แล้วทำหน้าที่ลดปัญหาที่ต้นเหตุ
หรือทำหน้าที่/กิจกรรม/การงานที่สัมมา (เป็นกุศล/ไม่เป็นบาป-เวร-ภัย) สร้างสรรเต็มที่สุดฝีมือตามองค์ประกอบเหตุปัจจัยที่จะทำได้ (ตามอุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม-บุญบารมี-ความเพียร ทั้งของเราและของผู้อื่นในโลก) ไม่มากเกินจนเบียดเบียนทรมานตนเองและผู้อื่น อย่าอยากขยายดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง(ลำบากเกิน/ทำไม่ไหว) และรู้พักอย่างพอดี(เพียรเต็มที่ พักพอดี) เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ทำใจรับรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้น 
“ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง อย่าอยากได้ดีหรืออยากให้เกิดสิ่งที่ดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่ทำได้จริง
จงทำความผาสุกที่ตน จนคนทีีมีปัญญาเห็น เกิดศรัทธาอยากได้ จึงค่อยบอกทางแก่ผู้ที่มีปัญญาและศรัทธานั้น ”

จากนั้นก็ทำใจให้ผาสุกกับการปล่อยการกระทำและผลนั้นให้มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ให้โลกได้อาศัยแล้วก็ดับไปเมื่อหมดฤทธิ์ของเหตุปัจจัย
ที่กอร์ปก่อ หมุนวนอยู่อย่างนั้น ๆ เมื่อเราพักพอดีแล้ว ก็เพียรอย่างเต็มที่ใหม่ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ ตราบที่เรายังมีชีวิตอยู่ ถ้าเราฝึกฝนกระทำสิ่งดังกล่าวให้ได้มั่นคงทุก ๆ วินาที เราก็จะได้จิตใจที่ผาสุกอย่างยั่งยืน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

“เราไม่พัก เราไม่เพียร ก็ข้ามโอฆะสงสารได้” (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ โอฆตรณสูตรข้อ ๒) แปลว่า รู้เพียร รู้พัก ก็พ้นทุกข์ได

เมื่อถึงเวลาสมควรที่ต้องพากเพียรใหม่แต่ละครั้ง เราก็พากเพียรด้วยจิตใจที่ผาสุก รู้คุณค่า รู้ประโยชน์ของกุศลที่กำลังกระทำอยู่นั้น เมื่อพากเพียรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ปล่อยวางด้วยจิตใจที่ผาสุก อย่าไปโง่หลงสร้างสุขสร้างทุกข ์ยึดมั่นถือมั่นในใจกับสิ่งต่าง ๆ ในโลก
และมหาจักรวาล เพราะจะทำให้จิตใจไม่ผาสุกอย่างยั่งยืน

ในขณะที่เรายังดำรงชีวิตอยู่ เราควรทำใจผาสุกกับการไม่ทำอกุศล เพราะอกุศลเป็นโทษ ทำให้เดือดร้อน แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง
ในอกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากอกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อและดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหาจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน ควรทำใจผาสุกกับการทำกุศล เพราะกุศลเป็นประโยชน์
ที่ควรอาศัย แต่ไม่ควรรัก/เกลียด/ชอบ/ชัง ยึดมั่นถือมั่นในกุศล เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ เนื่องจากกุศลก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ตามเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ
และดับไปเมื่อหมดเหตุปัจจัยของการกอร์ปก่อ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยหมดไปจากโลกและมหจักรวาล หมุนวนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน

แต่ในขณะที่ทำกุศลต้องทำอย่างยึดมั่นถือมั่น (กำให้แน่น) ติดในกุศลอย่างรู้คุณค่าประโยชน์ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีพลังและไม่มีความผาสุก
ในการทำกุศล แต่เมื่อเสร็จแล้ว พึงปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นให้หมดทั้งการกระทำและผลของการกระทำ ปล่อยวางทุกอย่างให้โลก (แบให้เกลี้ยง) เราเอาความผาสุกสงบสบายในใจกับความปล่อยวาง กับความไม่ได้ไม่เป็นไม่มีอะไรเพราะเป็นทางเอกสายเดียวที่จะทำให้เราได้จิตใจที่ผาสุก อย่างยั่งยืน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ” มัชฌิมาปฏิปทา(การปฏิบัติสู่ความสมดุล พอดี เป็นกลาง) เป็นทางเอกสายเดียวที่พาพ้นทุกข์ ” (กลางในการหยุดชั่ว/อกุศล/บาป-เวร-ภัย/ความไม่สมดุล/ความไม่พอดี ด้วยใจที่ผาสุก กลางในการทำดี/กุศล/ความสมดุล/ความพอดีด้วยใจที่ผาสุก กลางในจิตใจที่ผาสุก สงบ สบาย เบิกบาน ผ่องแผ้ว ผ่องใส จากการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวางเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง)

ทุกวินาทีพึงหมั่นตรวจสอบและล้างความชอบความชังทุกอย่างในจิตใจ เพราะมันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในใจ และสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบ ไม่เคยหมดไปจากโลกอย่างถาวร และไม่เคยอยู่กับเราอย่างถาวร ในความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นกลาง ๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปหมุนวน อยู่อย่างนั้นตราบชั่วกาลนาน ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ในใจเราเลย แต่เราหลงโง่สร้างความรู้สึกชอบ/เป็นสุขหรือไม่ชอบ/เป็นทุกข์ในใจของเราเอง

ถ้าเราหลงชอบ/หลงว่าเป็นสุข ก็ทำให้เกิดอารมณ์ทุกข์จากความอยากได้ดังใจหมาย ถ้าไม่ได้ก็เกิดความทุกข์ใจ ถ้าได้ก็ลดความทุกข์ใจ
ลงสู่ความไม่ทุกข์ชั่วคราว สั่งสมเป็นพลังงานหลงติดว่าเป็นสุขฝังไว้ในใจ แล้วก็อยากใหม่/ทุกข์ใจใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน ต่อให้สิ่งนั้นไม่มีโทษ เป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ แต่เราหลงว่าเป็นสุขในใจเรา ก็จะทำให้เราอยากได้มาก ถ้าไม่ได้ก็ทุกข์ใจ ถ้าสามารถหามา
ตอบสนองได้ ก็จะหาเอามามากจนเกินพอดี เมื่อการกระทำและสิ่งที่ได้มานั้นเกินพอดี สิ่งนั้นจะกลายเป็นพิษเป็นโทษทันที

ส่วนถ้าเราหลงชัง/หลงไม่ชอบใจ/หลงว่าเป็นทุกข์ในใจเรา เวลาเราประสบพบเจอสิ่งนั้น เราก็จะไม่ชอบใจ/ทุกข์ใจ อยากทำลายหรือ
อยากหลบเลี่ยงสิ่งนั้น ถ้าทำลายหรือหลบเลี่ยงไม่ได้ก็จะทุกข์ใจต่อไป ถ้าทำลายหรือหลบเลี่ยงได้ทุกข์ใจก็ระงับหรือลดลงสู่ความไม่ทุกข์/ เป็นสุขในใจชั่วคราว สั่งสมเป็นพลังงานฝังไว้ในใจ ซึ่งเป็นพลังงานหลงเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ถ้าทำลายหรือหลบเลี่ยงได้จึงจะเป็นสุข เวลาประสบพบเจออีกก็ทุกข์ใจ/ไม่ชอบใจอีก ต้องการทำลายหรือหลบเลี่ยงอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ตราบชั่วกาลนาน

มนุษย์ผู้ฉลาดแท้ จะคงไว้เพียงการรับรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดเป็นโทษเท่านั้น จึงมีความผาสุกกับการละเว้นสิ่งที่เป็นโทษ มีความผาสุกกับการอาศัยสิ่งที่เป็นประโยชน์ และพึงจำไว้เสมอว่าอาการหลงชอบหรือหลงชัง ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ในใจเรา
จะปรากฎออกมา
 เป็นเป็นคราว ๆ อยู่เรื่อย ๆ (ยกเว้น ผู้ที่ละล้างมาหลายชาติจนเหลือน้อยแล้ว) เพราะเราได้หลงโง่สั่งสมพลังงานดังกล่าวอย่างมากมายมาหลายภพหลายชาติ เราไม่มีหน้าที่งงว่าทำไมมันมากจัง เราไม่มีหน้าที่ท้อว่าทำไมมันไม่หมดสักที เรามีหน้าที่คอยตรวจสอบและพากเพียรล้างพลังงานหลงโง่ดังกล่าวด้วยความผาสุกเท่านั้น ซึ่งละล้างได้ด้วยการวิปัสสนา คือ การใช้สติปัญญาหมั่นไตร่ตรองผลเสียของการมีอารมณ์ชอบ/ชังดังกล่าว หมั่นไตร่ตรองผลดีของการรู้ความจริงตามความเป็นจริง ผลดีของการไม่มีอารมณ์ชอบ/ชังดังกล่าวและพิจารณากรรม(การกระทำ) และวิบาก(ผลของการกระทำ) ว่าใครกระทำสิ่งใด ๆ เป็นสมบัติของผู้นั้น รอวันให้ผล บางอย่างให้ผลทันที บางอย่างต้องรอเวลาจึงจะให้ผล บางอย่างให้ผลข้ามภพข้ามชาติ สร้างกรรมดีก็ให้ผลดี สร้างกรรมไม่ดีก็ให้ผลไม่ดี เมื่อให้ผลจนหมดฤทธิ์ของเหตุแล้ว กรรมนั้นก็จบดับไป ถ้าสร้างกรรมใหม่ก็สั่งสมเป็นสมบัติใหม่และรอเวลาให้ผลตามเหตุปัจจัย

จงทำกุศล/แก้ปัญหาทีละอย่างด้วยจิตใจที่ผาสุก เมื่อกำลังทำกุศล/แก้ปัญหาใดอยู่ จงตัดความกลัวความวิตกกังวล ความห่วงหาอาลัยอาวรณ์ ในกุศลในปัญหา ในบทบาทหน้าที่อื่น ๆ ให้หมด เพราะความกลัว ความวิตกกังวล ความห่วงหาอาลัยอาวรณ์ ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย แต่จะเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงที่สุดต่อจิตใจและร่างกายของเรา

ต่อให้เรามีความกลัว วิตกกังวล ห่วงหาอาลัยอาวรณ์กับสิ่งอื่น เราก็ไม่สามารถกระทำพร้อมกันทั้งหมดได้ ในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว เมื่อองค์ประกอบเหตุปัจจัยจัดสรรให้เราต้องทำกุศลนั้น แสดงว่า ณ เวลานั้น สิ่งนั้นสำคัญที่สุด ดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด ควรทำที่สุด เป็นสาระแท้ที่สุด สิ่งอื่น ๆ ล้วนไม่ใช่สาระสำคัญทั้งสิ้น เพราะสิ่งต่าง ๆ บนโลกและจักรวาล ล้วนไม่มีสิ่งใดเป็นสาระแท้

ในขณะที่กำลังทำกิจกรรมใดก็ตามการทำด้วยความผาสุก อย่างรู้คุณค่าประโยชน์ อย่างยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละคือสาระแท้ที่ควรทำ เป็นสภาพการรู้เพียรอย่างมีเมตตา (ปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดี/สิ่งที่เป็นประโยชน์/ พ้นทุกข์/ผาสุก)กรุณา(ลงมือกระทำตามความปรารถนาดีนั้น) โดยกระทำด้วยอิทธิบาท ได้แก่ฉันทะ (ความพอใจ)วิริยะ (ความเพียร)จิตตะ(จิตใจจดจ่อทุ่มโถมเอาใจใส่)วิมังสา (ตรวจสอบใคร่ครวญ ทั้งผลทางวัตถุและทางใจ) เพราะพระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรคือความสุขในโลก “
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสุขคือความพอใจ และพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่มีอิทธิบาทจะมีอายุเกินกัปล์ คือมีอายุยืนเกินกว่าที่ได้มา

และเมื่อทำเสร็จหรือทำยังไม่เสร็จ แต่มีเหตุจัดสรรให้ต้องกระทำอย่างอื่น
ควรทำใจพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน (ไม่ยึดมั่นถือมั่น) ไปทำอย่างอื่นตามเหตุปัจจัย ณ เวลานั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ไม่ทุกข์ใจ และพึงทำใจว่าการกระทำและผลที่ผ่านมานั้นก็ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง (มุทิตา-ยินดีที่เกิดดีขึ้น) จากนั้นทำใจให้ผาสุกกับการปล่อยวาง
การกระทำนั้น ๆ รวมถึงผลของการกระทำนั้น ๆ ให้เกิดดับอยู่บนโลกเป็นธรรมดา เป็นกลาง ๆ ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่สุข ไม่ทุกข์ในใจเรา แต่เรามีความผาสุกในใจกับความไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ดูด ไม่ผลัก ไม่รัก ไม่เกลียด (อุเบกขา-ทำใจให้เป็นกลาง ปล่อยวางความติดยึดและ เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง) นั้นแหละคือสาระแท้ที่ควรทำ เพราะสาระแท้ คือ ความผาสุกที่ยั่งยืนในใจเรา

ดังนั้นเมื่อมีปัญหาหรือกุศลอื่นแทรกเข้ามา ในขณะที่เรากำลังแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลอย่างหนึ่งอยู่ แล้วองค์ประกอบเหตุปัจจัยจัดสรรให้เราแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลที่แทรกเข้ามานั้น ให้ถือว่าการแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลที่แทรกเข้ามา นั้นสำคัญที่สุด ดีที่สุดเป็นประโยชน์ที่สุด ควรทำที่สุด เป็นสาระแท้ที่สุด สิ่งอื่น ๆ ล้วนไม่ใช่สาระแท้ทั้งสิ้น เพราะสิ่งต่าง ๆ บนโลกและจักรวาล ล้วนไม่มีสิ่งใดเป็นสาระแท้ เพราะสาระแท้ คือความผาสุกในใจเราทุกวินาที

เราพึงกระทำการแก้ปัญหาหรือบำเพ็ญกุศลที่แทรกเข้ามานั้นด้วยความผาสุก เพราะต่อให้เรามี ความกลัว วิตกกังวล ห่วงหาอาลัยอาวรณ์กับปัญหาหรือกุศลเดิมหรือสิ่งอื่น ๆ เราก็ไม่สามารถกระทำพร้อมกันทั้งหมดได ในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว
โง่ทุกข์ทำไม ฉลาดผาสุกดีกว่า

ความกลัวโรค ยิ่งกลัวมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้โรคกำเริบรุนแรงมากเท่านั้น ๆ ความกลัวตาย ยิ่งกลัวมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ความตายกำเริบมากเท่านั้น ๆ พึงทำจิตปล่อยวางความกลัว รู้ว่าโรคมันเป็นธรรมดาของมันอยู่อย่างนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตราบชั่วกาลนาน ไม่ดับตอนเป็น ก็ดับตอนตาย เป็นธรรมดา โรคดับไปแล้วก็มาใหม่ได้ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ มาแล้วก็ดับไปได้ ไม่ดับตอนเป็นก็ดับตอนตาย โรคเป็นของอยู่คู่โลก โรคเป็นเพื่อนของทุกคน เป็นเพื่อนที่คอยมาบอกว่าร่างกายเราไม่สมดุล/มีพิษ เราจะได้ปรับสมดุลล้างพิษจากร่างกายเสีย

โรคอยู่กับคนทุกคนเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ” โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ ” ไม่มีใครสามารถทำความสมดุลทางวัตถุสสารพลังงานภายนอกจิตให้ยั่งยืนถาวรได้ (ความสมดุลที่ยั่งยืน มีได้ที่พลังงานทางจิตวิญญาณเท่านั้น) ดังนั้นในขณะที่เราสามารถจัดสรรวัตถุสสารพลังงานนอกจิตให้สมดุลได้โรคก็จะไม่แสดงอาการ และเมื่อความสมดุลที่จัดสรรได้แล้วนั้น ถูกเหตุปัจจัยกระทบจนความสมดุลแปรเปลี่ยนไปสู่ความไม่สมดุล โรคก็จะแสดงอาการ ดังนั้นทุกคนจึงมีโรคอยู่กับตัวเป็นธรรมดา โรคจะแสดงอาการเมื่อไม่สมดุล และจะไม่แสดงอาการเมื่อสมดุล โรคเป็นสัจจะที่มีหน้าที่เกิดและตายพร้อมกับคนเป็นธรรมดา

โรคเกิดจากวิบากเก่าที่ไม่ดีและความไม่สมดุลวิบากกรรมเก่าที่ไม่ดี สามารถแก้/บรรเทาได้ด้วยการบำเพ็ญกุศล ส่วนความไม่สมดุล สามารถแก้/
บรรเทาได้ด้วยการดูแลรักษาปรับสมดุลเต็มที่ตามอค์ประกอบเหตุปัจจัยที่ทำได้ พึงปล่อยวางความกลัวความเกลียดโรค ทำใจให้เป็นกลาง ๆ
และมีความผาสุกสงบสบายกับความเป็นกลาง ๆ ทำใจรับรู้ว่าแม้โรคหายเราก็ต้องตายต้องดับ แม้โรคไม่หายเราก็ต้องตายต้องดับ จะทุกข์กลัวตาย
กลัวดับให้โง่ทำไม เมื่อเราดูแลรักษาอย่างเต็มที่แล้ว ถึงอย่างไรโรคมันก็ต้องหายอยู่ดี ไม่หายตอนเป็น มันก็หายตอนตาย และความตายก็ไม่ใช่
สิ่งที่น่ากลัว ความตายเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ธรรมชาติให้มาเพื่อช่วยในการเปลี่ยนร่างกายที่ทรุดโทรมหรือทุกข์ทรมารมากเกินไป ให้ไปเอา
ร่างใหม่ที่ดีกว่าเดิมจะได้ทำหน้าที่/ทำกุศลได้ดียิ่งขึ้น สำกรับผู้ที่มีปรินิพพานได้ ก็ทำให้สามารถสูญจากโลกได้ การหมั่นพิจารณาทบทวนยอมรับ
ความจริงเหล่านี้ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับจิตใจและร่างกาย ช่วยให้หายหรือบรรเทาอาการของโรคได้เร็วได้ดีที่สุด แม้ไม่หายก็ช่วยให้
ทุกข์ทรมานน้อย

ความเร่งรีบ/เร่งรัด/รีบร้อน ให้เกิดผลสำเร็จเร็ว ๆ เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จช้า พึงทำใจให้ผาสุกกับการพากเพียรทำเหตุที่ดี
อย่างเต็มที่ ตามองค์ประกอบเหตุปัจจัย แต่อย่างเร่งผล เพราะการเร่งผล จะเกิดผลเสียร้ายแรงที่สุดต่อร่างกายและิจิตใจ

พึ่งหมั่นพิจารณาว่า ความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นทุก ๆ วินาที ที่เราได้พากเพียรอย่างเต็มี่ ดังนั้น เราจึงควรมีความพอใจ/ผาสุกในใจ ทุกวินาทีที่เราได้พากเพียรเต็มที่ เพราะมันสำเร็จตามจริงทุก ๆ วินาทีอยู่แล้ว อย่าโง่ขาดทุนรอผลสำเร็จปริมาณมากหรือผลสำเร็จตอนจบ ภารกิจทั้งหมดแล้วค่อยผาสุก พึงทำใจให้ความผาสุกกับความสำเร็จแม้น้อย ตามรายทางไปเรื่อย ๆ อย่ารอผาสุกแค่ปลายทางอย่างเดียว

และผลก็ไม่ได้เกิดจากการเร่งผล ผลเกิดจากการกระทำเหตุ เมื่อเรามีความผาสุกกับพากเพียรทำเหตุที่ดีอย่างเต็มที่แล้ว จงมีความผาสุกในการปล่อยวางผล โดยทำใจว่าหายก็ได้ ไม่หายก็ได้ หายตอนเป็นก็ได้ หายตอนตายก็ได้ หายเร็วก็ได้ หายช้าก็ได้ เป็นก็ได้
ตายก็ได้ เพราะเราไม่สามารถกำหนดผลได้ ว่าจะให้ผลนั้นเกิดมากเกิดน้อยเกิดเร็วเกิดช้า และในความเป็นจริงเมื่อเราได้พากเพียรเต็มที่แล้ว ผลที่เกิดขึ้นทุกวินาทีก็มากที่สุดและเร็วที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง และไม่ว่าผลมันจะออกมาอย่างไร สุดท้ายมันก็ต้องดับไปอยู่ดี (การทำใจในผลของกิจกรรมการงานอย่างอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน)

ดังนั้น จงทำใจอย่ากลัวตาย อย่ากลัวโ่รค อย่าเร่งผล อย่ากังวล อย่างสอนคนที่ไม่ศรัทธา อย่าใจร้อน อยากขยายดีให้กว้างเกินมากเกิน
จนลำบากเกิน หรือทำไม่ไหว หรือทำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ให้ค่อย ๆ ทำไป มันก็จะค่อย ๆ ขยาย ค่อย ๆ โตขึ้นเองตามธรรม และอย่างอยากได้ดี
หรืออยากใหเกิดสิ่งที่ดีเกินกว่าฤทธิ์แรงที่มีจริง/ที่ทำได้จริง การทำใจอย่างนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจมากที่สุด

จริงใจ ไมตรี

ใจเพชร กล้าจน(หมอเขียว)

Share

ให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดกิเลสเหตุแห่งโรคทุกข์ทั้งปวง

การผ่าตัดกิเลสเหตุแห่งโรคทุกข์ทั้งปวง

หนังสือคู่มือการลดกิเลส อย่างเป็นลำดับ ๆ ตามแนวทางของแพทย์วิถีธรรม เป็นหลักการสำคัญในการฝึกฝน ปฎิบัติ ลด ละ เลิก กิเลส ทั้งในเรื่องของกาม และอัตตา ที่ชาวแพทย์วิถีธรรม ใช้เป็นแนวทางในการขัดเกลาตนเอง

ผ่าตัดโรคภัยโดยใช้สมดุลร้อนเย็น

ผ่าตัดโรคภัยโดยใช้สมดุลร้อนเย็น

การใช้สมดุลร้อนเย็นตามหลักการแพทย์วิถีธรรมนั้น มีผลเชิงประจักษ์ที่ทำให้โรคทุกโรค หายหรือทุเลาลงได้ เล่มนี้อ.หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน ได้เขียนหลักการของสมดุลร้อนเย็น ในรูปแบบกึ่งวิชาการ

อริยศีลรักษาโรค

อริยศีลรักษาโรค

“อริยศีล รักษาโรค” ศีลอย่างไรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดกว่าทุกวิธี ในการป้องกันและกำจัดหรือบรรเทาโรคได้ทุกโรค ป้องกันและกำจัดหรือบรรเทาเรื่องร้ายได้ทุกเรื่อง และดึงดูดสิ่งดี
งามมาสู่ตนได้ทุกมิติ”

การกินไม่กินเนื้อสัตว์กับพุทธ

หนังสือการกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์กับพุทธ ให้คำตอบว่าศีลข้อที่ 1 การไม่เบียดเบียนสัตว์ของพุทธ รวมถึงการไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยหรือไม่

คู่มืออาหารสุขภาพหมอเขียว แพทย์วิถีธรรมพลังพุทธย่ำยีมาร วรรณะ9

คู่มืออาหารสุขภาพหมอเขียว แพทย์วิถีธรรมพลังพุทธย่ำยีมาร วรรณะ9

คู่มืออาหารสุขภาพหมอเขียว แพทย์วิถีธรรมพลังพุทธย่ำยีมาร วรรณะ9
อาหารพลังพุทธย่ำยีมาร อาหารสูตรพิเศษที่ชาวค่ายแพทย์วิถีธรรมหลายท่าน ประสบผลให้การลดโรคของตนเองได้อย่างรวดเร็ว

อาหารปรับสมดุลแพทย์วิถีธรรม

อาหารปรับสมดุลแพทย์วิถีธรรม

อาหารปรับสมดุลแพทย์วิถีธรรม
การทำอาหารปรับสมดุล มีวิธีการทำที่เรียบง่ายเน้นการลวก ต้ม เป็นหลัก เครื่องปรุงรสน้อย ดูไม่ยากนักในการปรุงอาหาร ปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ทำอาหารปรับสมดุล คือนึกไม่ออกว่าจะทำเมนูอะไร เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับอาหารในแต่ละวัน และสามารถนำเสนอให้คนในครอบครัวที่นิยมรับประทานอาหารรสจัด ร่วมรับประทานด้วยกันได้

เทคนิคการทำใจให้หายโรคเร็ว

เทคนิคการทำใจให้หายโรคเร็ว
“ถ้าใครมีความรู้สึกอย่างนี้ โกรธ กลัวเป็น กลัวตาย กลัวโรค เร่งผล กังวล เป็นความหวั่นไหวที่ร้ายแรงที่สุดในโลก ทำให้จิตใจพ้นทุกข์ที่สุดในโลก ทำให้ทรุดอย่างแรงตายอย่างเร็ว”

แก่นหลักของการดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรม

แก่นหลักของการดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
หนังสือที่บอกแก่นหลักในการให้น้ำหนักในการปฏิบัติยา 9 เม็ด (เทคนิค 9 ข้อ) ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ว่าควรเน้นที่ยาเม็ดใด เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

หนังสือบทสวดมนต์ บททบทวนธรรม และบทเพลงธรรม ค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม

หนังสือบทสวดมนต์ บททบทวนธรรม และบทเพลงธรรม ค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม
หนังสือเล่มนี้รวบรวมเครื่องมือที่ส่งเสริมกิจกรรมการฟังธรรม ใคร่ครวญธรรม ทบทวนธรรมที่เป็นกิจกรรมสำคัญในการทำยาเม็ดเลิศของการแพทย์วิถีธรรม