ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

1. บันทึกการสัมภาษณ์กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างจาก ผู้ใช้การแพทย์วิถีพุทธสำหรับผู้ที่มาเข้าอบรมค่ายสุขภาพ แพทย์วิถีพุทธ 5-7 วัน

ณ ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และเครือข่ายแพทย์วิถีพุทธทั่วโลก

ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2558

(ประเภทข้อมูลที่ 7 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ ผ่านสื่อออนไลน์ยูทูบประเภทข้อมูลที่ 9 แบบบันทึกสัมภาษณ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ และ ประเภทข้อมูลที่ 12 แบบสอบถามประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ เทคนิค 9 ข้อ)

ภาคผนวก ก ของวิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน)

ของ นายใจเพชร กล้าจน

กรณีศึกษาที่1.33
ชื่อจรัญ พันธ์อุบล
เพศชาย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โรคโรคมะเร็งลำไส้
วันสัมภาษณ์5 กุมภาพันธ์ 2556

คุณจรัญ: ผมนายจรัญ พันธ์อุบล บ้านเดิมอยู่สงขลา ก็ตอนนี้ก็ไปทำงานอยู่ที่ สุราษฎร์ธานีส่วนรัฐสภาครับ

จิตอาสา: พี่จรัญไปทำงานอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ตอนนี้อยู่ที่สุราษฎร์ธานีนะคะ พี่จรัญคะ พี่จรัญมีความเจ็บไข้ได้ป่วย มีปัญหาสุขภาพอะไรอยู่เป็นทุนเดิมคะ 

คุณจรัญ: ผมก็มีในร่างกายก็มีอยู่หลายคดี แต่ว่าที่ตัดสินแล้วก็มะเร็งลำไส้

จิตอาสา: หลายคดีมันพัวพันกันมาก ตกลงคดีมะเร็งลำไส้ชนะเพื่อนนะคะ 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: ตกลงว่าเป็นมะเร็งลำไส้มานานแค่ไหนแล้วคะ

คุณจรัญ: คือที่เจอที่รู้มาครั้งแรกก็ประมาณเดือนกุมภา ปี 2555 ครับ 

จิตอาสา: ภุมภา ปี 2555 ตอนนั้นที่พี่จรัญรู้ว่ามีปัญหาเรื่องของมะเร็งลำไส้นี่ไปตรวจที่ไหนคะถึงได้เจอแล้วหมอบอกว่ายังไงบ้าง 

คุณจรัญ: ตอนนี้ที่เจอ 2555 นี่ตอนนั้นผมรู้แต่ว่าไม่ได้ไปตรวจ 

จิตอาสา: อ๋อ รู้แต่ไม่ได้ไปตรวจ

คุณจรัญ: ที่มาตรวจจริง ๆ ก็มันเริ่มเจ็บ พอกินข้าวอิ่มแล้วมันเริ่มเจ็บที่ท้อง 

จิตอาสา: นี่คืออาการที่เป็นใช่ไหมคะ 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: ทานข้าวเสร็จแล้วก็ปวดที่ท้องตอนนี้สำรวจนะคะทานข้าวเสร็จมีไหมปวดท้องบ้างหรือยังไม่มีนะคะ ค่ะ

คุณจรัญ: พอ พอทานข้าวพออิ่มแล้วเจ็บ เจ็บด้านซ้าย

จิตอาสา: เจ็บด้านซ้าย 

คุณจรัญ: เจ็บด้านซ้าย พอเป็นมาสัก 2 อาทิตย์ก็ไปหาหมอ

จิตอาสา: เป็น 2 อาทิตย์ ตอนที่รู้สึกว่าปวดใช่ไหมคะ

คุณจรัญ: เริ่มปวดมากมา 2 อาทิตย์

จิตอาสา: ค่ะ เริ่มปวดมาก

คุณจรัญ: ก็ไปโรงพยาบาลก็ไปเอกซเรย์ดู ก็เจอลำไส้นี่ครับ ลำไส้มันพองอยู่ข้างหนึ่ง แล้วก็ท้องนี่ก็เริ่มจะบิดเบี้ยวไม่ได้รูป แล้วตอนนั้นก็หมอทางโรงพยาบาลท่าโรงช้างที่สุราษฎร์ ก็ส่งตัวไปที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ก็ไป ไปถึงเขาก็ให้ไปส่องกล้องที่ลำไส้ ก็เจอแล้วก็ถ่ายรูปออกมานี่ ไปเจอ

จิตอาสา: ก้อนโตไหมคะ 

คุณจรัญ: ก็ก้อนโต ก็หลายเซนอยู่ครับ

จิตอาสา: หลายเซนค่ะ

คุณจรัญ: หลายเซนอยู่ แล้วก็ตอนนั้นน่ะ เริ่มท้องผูก ก็ถ่ายมาเหมือนขี้แพะน่ะก็หมอบอกว่ามันตันไปแล้ว 60 %

จิตอาสา: ตันไปแล้ว 60 % นะคะ หมายความว่าเวลาที่ถ่ายออกมามันจะออกก้อนเล็ก ๆ แล้ว มันเหมือนกับไปเบียด ให้อุจจาระของเรานี่เล็กลงใช่ไหมคะ 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: เลยออกมาเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วค่ะตันไปแล้ว 60 % นะคะ 

คุณจรัญ: ก็หมอส่องกล้องแล้วตัดชิ้นเนื้อไปตรวจปรากฏว่าก็บอกว่าตอนแรกนี่บอกว่าเป็นมะเร็งระยะที่ 1 แต่พอเข้าไปดูผลอีกครั้งหนึ่งหมอบอกว่าไปเริ่มไปไกลแล้ว ระยะที่ 3

จิตอาสา: โอ้แค่ระยะที่ 1 ทิ้งห่างแค่ไหนคะที่มันไปเลข 3 เลย

คุณจรัญ: ประมาณสัก 2 อาทิตย์ 

จิตอาสา: 2 อาทิตย์ไประยะ 3

คุณจรัญ: ครับ หมอเขาบอกว่าระยะ 3 แต่ว่าผมก็ไม่ค่อยเชื่อที่เขาไปผลการตรวจสอบนี่ระยะมัน ผมว่าระยะมันใกล้เกินไป

จิตอาสา: ระยะที่ 1 นี่ก้อนมันจะโตขึ้นนะคะขนาดประมาณสัก 2 เซนติเมตร พอระยะที่ 2 นี่ก็คือก้อนนี้มันจะโตขึ้นนะคะประมาณ 5 เซนติเมตร พอระยะที่ 3 ก็หมายถึงว่ามะเร็งนี่มันไปถึงต่อมน้ำเหลืองและมีการลุกลามแล้วนะคะ ค่ะอันนี้ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่อาทิตย์ก็ไประยะ 3 เราก็เลยคิดว่าหมออาจจะวินิจฉัยตอนแรกผิดเอาเป็นว่าตอนนี้รู้ก็คือว่ามะเร็งนั้นไปลุกลามไปแล้ว ไปยังต่อมน้ำเหลืองนะคะ แล้วหลังจากนั้นล่ะคะ 

คุณจรัญ: หลังจากนั้นหมอก็นัดผ่าตัด

จิตอาสา: หมอนัดผ่าตัด 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: เวลาผ่าตัดมะเร็ง มะเร็งของลำไส้ใหญ่ค่ะ เวลาที่เขาผ่าตัดนี่ในส่วนที่มันมีปัญหาเรื่องของมะเร็งนี่เขาจะตัดลำไส้ส่วนนั้นออกทิ้งแล้วก็ทำทางเปิดอุจจาระให้ออกทางหน้าท้องชั่วคราว ก็เอาลำไส้ตรงส่วนที่ว่าจากกระเพาะอาหารนะคะแล้วลงไปที่ลำไส้เล็กนะคะ แล้วก็ต่อไปลำไส้ใหญ่ส่วนต้นลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง แล้วก็ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ถ้าเรามีปัญหาอะไรตรงไหนนี่ ลำไส้ค่อนข้างจะยาวมาก เพราะฉะนั้นถ้ามีปัญหานี่หมอก็จะตัดออกทิ้งโดยที่ไม่ได้เสียดายเลยนะคะเพราะว่ามันยาวมาก ฉะนั้นพอเขาตัดออกทิ้งปั๊บส่วนที่มันต่อกับลำไส้เล็กจากกระเพาะอาหาร มาลำไส้เล็กแล้วมาลำไส้ใหญ่ ส่วนนั้นเขาจะเปิดออกทางหน้าท้องแล้วก็อุจจาระที่ออกมานี่จะออกทางหน้าท้องแทนแล้วก็จะใช้ถุงรองรับอุจจาระเป็นตัวรองรับไว้นะคะ นั่นคือการรักษาของหมอแพทย์ปัจจุบัน ทีนี้ตอนนั้นคุณนัดใช่ไหมคะว่าเราจะต้องรับการผ่าตัดแล้วค่ะคุณจรัญตัดสินใจยังไงคะ 

คุณจรัญ: ก็เขาให้ผ่า

จิตอาสา: ก็ต้องผ่าตัดกับเขาเลย 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: ค่ะ แล้วเป็นยังไงคะ หลังจากนั้นหมอผ่าตัดไว้นานแค่ไหนคะ แล้วเป็นอย่างไร

คุณจรัญ: ก็ไปผ่าตัดครั้งแรกหมอก็ไม่ได้บอก ผมนึกว่าผ่าตัดแล้วก็ตัดลำไส้ทิ้งแล้วก็เย็บกลับ

จิตอาสา: ค่ะเราไม่ได้นึกเลยว่าลำไส้จะโผล่อยู่ทางหน้าท้อง 

คุณจรัญ: ไม่ทราบเลยครับ

จิตอาสา: ก็ตรงนี้ขออนุญาตเรียนนิดนึงนะคะว่า ถ้าหากว่าลำไส้ของเรานี่มีปัญหาแบบเจออุบัติเหตุลำไส้แตกหรือลำไส้โป่งพองเขาจะตัดแล้วก็ต่อก็คือเปิดมาทางหน้าท้องชั่วคราวแล้วก็เย็บติดกลับเข้าไปใหม่ แต่ถ้าเป็นมะเร็งนี้ ถ้าเปิดทางหน้าท้องแล้วก็จะถ่ายทางหน้าท้องแบบถาวรนะคะมันจะเป็นลักษณะนี้ถ้าหากว่าคนไข้ที่เป็นมะเร็ง  ทีนี้คุณจรัญไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าจะต้องเปิดออกทางหน้าท้อง แล้วก็จะต้องถ่ายทางนี้ใช่ไหมคะ คุณหมอไม่ได้ให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นเหรอคะ

คุณจรัญ: ไม่ได้ให้ข้อมูลครับ

จิตอาสา: โอเคตรงนี้ก็เป็นข้อมูลที่เราจะต้องรู้ด้วยนะคะ เวลาเราเข้าไปรักษาอะไร เรามีสิทธิ์จะขอข้อมูลได้นะคะ

คุณจรัญ: ตอนหลังก็หมออธิบายว่าเมื่อลำไส้เรามันมีปัญหาเขาก็ต้องตัดออก ทีนี้ถ้าจะอยากต่อตอนนั้นเลยมันก็เสี่ยง คือต้องรักษาให้หายก่อน ก็เลยเอามาถ่ายทางหน้าท้องแล้วก็รักษาด้านในให้หายก่อนถึงปิดได้ ก็ตอนนั้นเดือน ผมเข้าไปผ่าตัดเดือนสิงหา 

จิตอาสา: ค่ะเปิดอยู่นานทางหน้าท้อง

คุณจรัญ: ก็สิงหาก็ออกจากโรงพยาบาลมาวันที่ 6 กันยายน หมอบอกว่าวันที่ 13 นี้ก็ต้องให้คีโม 

จิตอาสา: ค่ะ ไปเป็นระยะต่อไปของการรักษา หลังจากผ่าตัดแล้วก็จะเป็นการให้คีโมนะคะ เป็นการใช้รังสีในการบำบัดค่ะ จะเป็นการใช้ยาเคมีบำบัดนะคะแล้วคุณจรัญรับคีโม ได้รับคีโมอยู่นานแค่ไหนคะ

คุณจรัญ: ไม่รับครับ

จิตอาสา: ไม่รับ 

คุณจรัญ : ไม่รับก็ตอนนั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาลวันที่ 6 ทีนี้ผมก็คุยกับเพื่อน

จิตอาสา: ต้องถามว่าคุณจรัญน่ะคิดยังไง พอหมอบอกว่าคีโมแล้ว ทำไมถึงได้ปฏิเสธการรับ คีโมคะ

คุณจรัญ: ก็ผมทราบ เคยมีข้อมูลมาก่อนแล้วว่า ถ้าฉีดนี่ตายไปเกินครึ่งครับ ก็เลยผมเลยว่าไม่เอาแล้วก็พอดีเพื่อนที่อยู่ที่สุราษฎร์ด้วยกัน คุณสุรวิทย์ คุณจันทร์แล้วก็น้องแอ๋วที่เป็นจิตอาสาที่นี่ก็อธิบายให้ฟัง ก็ตัดสินใจว่าไปหาหมอเขียวที่จังหวัดสงขลา

จิตอาสา: คุณจรัญรู้จักหมอเขียวมาจากในทีมที่นี่ใช่ไหมคะ 

คุณจรัญ: ครับ รู้จากทีมที่นี่ 

จิตอาสา: แล้วทำยังไงต่อคะตอนนั้น 

คุณจรัญ: ก็ไปหาหมอเขียวตอนนั้นคือผมกะว่าไม่รับคีโมแน่นอนแล้ว แต่ว่าที่เขาชวนไปหาหมอเขียวก็ยังไม่รู้วิธีการรักษาก็ยังวังเวงอยู่ 

จิตอาสา: ค่ะสำหรับการรักษาของแผนปัจจุบันนะคะเรื่องของการผ่าตัดกับการให้เคมีบำบัดนี่ หมอบางท่านก็จะเลือกว่าผ่าตัดก่อนแล้วค่อยให้คีโมทีหลัง ก็คือว่าพอผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกแล้ว อาจจะมีชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่มันกระจัดกระจายอยู่ เขาก็จะให้เคมีบำบัดไปเพื่อว่าจะได้จัดการกับเซลล์เหล่านั้นนะคะ หรือหมอบางท่านก็อาจจะให้คีโมไปก่อน เพื่อว่าจะให้เซลล์นี่มันเกาะกลุ่มกันชัดขึ้นแล้วก็ผ่าตัดทีหลัง ทีนี้นี่เรื่องของการให้คีโมเข้าไปนี่นะคะ มันเป็นการรักษาแผนปัจจุบันที่ว่ามันเป็นสารเคมีที่ใส่เข้าไปในร่างกายแล้วมันไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ เพราะฉะนั้น
ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ดีหรือเซลล์ร้าย มันก็จะยับยั้งหมดนะคะ แล้วหลังจากนั้น คุณจรัญบอกว่า
ไม่เอาคีโมแล้ว ก็ตัดสินใจที่จะไปดอนตาล 

คุณจรัญ: ไม่ครับ ไปที่สงขลา

จิตอาสา: ไปที่สงขลานะคะ ไปสงขลาค่ะ

คุณจรัญ: ครับก่อนที่จะไปนี่คือหมอทางที่เขาผ่าตัด ท่านก็บอกว่ามีการรักษาด้านสมุนไพรที่ไหนที่เขาบอกว่าอะไรอย่างนี้ เขาบอกอย่าไปเชื่อ

จิตอาสา: ค่ะ แต่เราก็อยากจะเลือก

คุณจรัญ: แล้วอีกที่หนึ่งเขาบอกว่าถ้ารักษาแบบสมุนไพรตายทุกราย ก็ตอนนั้นก็กลัว ๆ ก็ตัดสินใจว่าวันที่ 7 นี่ขับรถไปเองเลยไม่กลัวอะไรแล้ว ตายเป็นตาย

จิตอาสา: ก็คือคำว่าสมุนไพรนี่ เขาอาจจะมองแค่สมุนไพรตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งมันไม่เหมือนกับกรณีของการใช้เทคนิคการดูแลตัวเองแบบที่ของหมอเขียว ซึ่งจะใช้หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาบูรณาการร่วมกันนะคะ เพราะฉะนั้นของเรานี่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นสมุนไพร แต่ของเรามีเทคนิคในการบำบัดตัวเองเยอะแยะหลายวิธี ตั้ง 9 เทคนิคนะคะ ตอนนี้ก็เลยคุยกับเพื่อน ๆ แล้วว่าจะลองรักษาโดยวิธีนี้ดูนะคะคุณจรัญก็เลยเข้าไปที่สงขลาใช่ไหมคะ

คุณจรัญ: ไปที่สงขลาก็ไปถึง

จิตอาสา: ทำอะไรก่อนบ้าง พอไปถึงเขาให้ทำอะไรบ้างคะ

คุณจรัญ: ผมไปถึงตอนเย็นแล้วเขาก็อบรมกันแล้ว ผมก็นั่งฟังอยู่ด้านนอก นั่งฟังก็ไม่ได้เข้าใจอะไรมาก

จิตอาสา: เชื่อไหม ฟังแล้วเชื่อไหมคะ ตอนนั้นคุณหมอไปด้วยไหมคะคุณหมอได้ลงไปในค่ายด้วยไหมคะ

คุณจรัญ: คุณหมอก็ไป ไปวันหลังแต่ว่า

จิตอาสา: คุณหมอไปวันหลัง

คุณจรัญ: แต่ว่าทีนี้ผมได้โทรคุยกับเพื่อน ๆ หลาย ๆ อย่างก็หลายคนก็เริ่มจะเชื่อพอมีทางทีจะรักษาแล้ว

จิตอาสา: รู้สึกว่ามีทางแล้ว

คุณจรัญ: เริ่มมั่นใจบ้างแล้ว ทีนี้ก็มีอยู่วันหนึ่งคุณหมอท่านก็ไปเยี่ยมคนป่วยแล้วก็ไปอธิบายให้ผมฟังเรื่องการรักษา ตอนนี้ก็เลยมั่นใจที่จะไม่ไปรับคีโม

จิตอาสา: มั่นใจว่าเรามีทางเลือกใหม่แล้ว

คุณจรัญ: มีทางเลือกใหม่ก็มั่นใจวันนั้น ก็คุณหมอท่านก็ถามว่าจะไปรีบคีโมไหม ผมบอกว่าไม่ไปแล้ว ก็อยู่รักษากับหมอเขียวนี่แหละ 

จิตอาสา: ใช้เวลาในการดูแลตัวเองอย่างนี้นานแค่ไหนคะ 

คุณจรัญ: ก็เริ่ม ผมเริ่มรักษาตามวิธี 9 ข้อนะครับ แต่ว่าก็มีดีท็อกซ์นี่ไม่ได้ทำเพราะว่าหน้าท้องมัน

จิตอาสา: ดีท็อกซ์ไม่ได้ทำนะคะ นี่ขนาดดีท็อกซ์ไม่ได้ทำ เพราะว่าลำไส้ของท่านนี่ถูกตัดเปิดออกทางน้าท้องใช่ไหมคะ 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: เพราะฉะนั้นถ้าจะดีท็อกซ์ ดีท็อกซ์ทางลำไส้ต้องผ่านทางหน้าท้อง ดีท็อกซ์ข้างล่างเพราะข้างล่างนี่มันไม่ได้ มันจะถูกตัดขาดไปแล้วใช่ไหมคะ 

คุณจรัญ: ก็หลังจากนั้นก็รักษามาเรื่อย ๆ แต่ว่าหนักไปในทางด้านอาหารนะครับ ก็งดเนื้อสัตว์

จิตอาสา: เน้นเรื่องอาหาร งดเนื้อสัตว์ค่ะ

คุณจรัญ: งดเนื้อสัตว์ก็ตามที่คุณหมอท่านพูดว่า ถ้าเป็นมะเร็งแล้วไปกินเนื้อปลานี่โอกาสที่จะหาย 30 %

จิตอาสา: 30 % ถ้ากินเนื้อปลา หาย 30 %

คุณจรัญ: แต่ถ้ากินพวกเนื้อวัวเนื้อควายนี่เนื้อสัตว์ใหญ่ ก็โอกาสที่จะหายก็ 0 %

จิตอาสา: เนื้อสัตว์ใหญ่ขึ้นมา 0 % คุณหมอบอกไว้อย่างนั้นใช่ไหมคะ

คุณจรัญ: ก็ผมก็กลัวก็เลยไม่กินเลย กินมะเขือต้มพวกผักบุ้ง 

จิตอาสา: ได้มะเขือต้ม ผักบุ้งลวก 

คุณจรัญ: ก็ได้ลูกสาวกับแฟนก็ช่วยดูแลอย่างดีก็

จิตอาสา: เรื่องหลัก ๆ นี่คือเรื่องของอาหารใช่ไหมคะที่ทำอยู่เยอะ

คุณจรัญ: เรื่องอาหารครับ

จิตอาสา: น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดได้ใช้ไหมคะ 

คุณจรัญ: สมุนไพรฤทธิ์เย็นสดใช้ครับ 

จิตอาสา: น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดดื่มบ่อยแค่ไหน

คุณจรัญ: ทุกวันครับ

จิตอาสา: ทุกวันค่ะ ทุกมื้อค่ะ แล้วเทคนิคอื่นล่ะคะ กัวซาใช้ไหมคะ

คุณจรัญ: ใช้ครับ

จิตอาสา: ใช้เทคนิคกัวซาให้ใครขูดให้คะขูดเองหรือให้ลูกสาวหรือคุณภรรยา

คุณจรัญ: ครับ ก็ช่วยกัน 3 คน

จิตอาสา: อ้อนะคะผลัดเวรกันขูดเลยนะคะ 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: ค่ะ ขูดกัวซาแล้วดูแลตัวเองด้วยวิธีไหนอีกคะ 

คุณจรัญ: นอกนั้นก็

จิตอาสา: แช่มือแช่เท้าได้ทำไหมคะ

คุณจรัญ: แช่มือแช่เท้าก็แฟนเขามา มาฝึกที่ได้มาที่นาโพธิ์

จิตอาสา: มีแฟนไปเข้าคอร์สที่สวนป่านาโพธิ์ด้วยแสดงว่าแฟนก็เชื่อ และที่เขาหันมากัวซาให้เราเขาก็เชื่อในเรื่องของการดูตัวเองแบบนี้ 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: ค่ะ

คุณจรัญ:  ก็ได้ทาน ดีท็อกซ์อะไรก็แฟนเขามาฝึกแล้ว ก็ไปรักษาชาวบ้านที่บริเวณใกล้เคียงด้วย

จิตอาสา: อ้อ สาธุค่ะ

คุณจรัญ: ก็เหมือนกับทางจิตอาสาก็บอกว่า ที่ดีท็อกซ์เวลามันออกมานี่ มันก็เหม็นเหมือนส้วมแตกเลย

จิตอาสา: เหม็นเหมือนส้วมแตก ดีท็อกซ์ ไม่รู้ใครส้วมแตกแถวนี้

คุณจรัญ: ก็มันก็มีเรื่องตลก ๆ ที่นั่นนะ ก็บอกว่า ตำรวจก็บอกว่าแฟนเขาเวลาตดแล้วเหม็นเหมือนเวลาอยู่ในโลง

จิตอาสา: บอกว่าอย่างนั้นเลยใช่ไหมคะ

คุณจรัญ: ครับ ก็บอกแฟนเขาก็ยอมรับแต่หลังจากที่ได้ดีท็อกซ์แล้วมันหายหมด แล้วตัวเขาจะโล่ง

จิตอาสา: เปลี่ยนอาหารด้วยไหมคะ นอกจากดีท็อกซ์แล้ว ได้ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ลงไปไหมคะ นี่ขนาดใช้ดีท็อกซ์อย่างเดียว

คุณจรัญ: อย่างเดียวครับ ก็แนะนำไปก็หลายคนเหมือนกัน

จิตอาสา: ค่ะใช้เวลาในการดูแลด้วยเทคนิคการดูแล 9 ข้อแบบของคุณหมอที่สำคัญนะคะเรื่องของจิตในด้วยนะ คุณจรัญคิดยังไงตอนที่หมอบอกว่าเป็นมะเร็งคุณจรัญคิดยังไงคะ 

คุณจรัญ: คือผมก็ตอนที่หมอบอกนี่ ตอนแรกหมอไม่กล้าบอก เขาถามว่ารู้ไหมว่าเป็นอะไร ผมบอกมะเร็งลำไส้ ก็บอกไม่กลัว จะต้องกลัวทำไม

จิตอาสา: เวลาที่คุณหมอเขาจะบอกความจริงเรื่องใครเป็นมะเร็งเขาเหมือนคำพิพากษานะ เขาก็จะต้องดูดี ๆ ว่าคน ๆ นั้นน่ะพร้อมที่จะรับข้อมูลนี้หรือยัง พร้อมที่จะรับรู้พร้อมที่จะรู้หรือยังว่าตัวเองนี่เป็นมะเร็งนะคะ เพราะฉะนั้นหมอเขาก็จะไม่กล้าบอกง่าย ๆ เหมือนกันต้องดูสภาพความพร้อมของคนไข้ด้วย แสดงว่าคุณจรัญนี่ทำใจไปแล้วอาจจะใช่เรื่องนี้นะคะ คุณหมอก็เลยยอมที่จะบอก พอคุณหมอบอกว่าเป็นมะเร็งตอนนั้นนี่ถ้าเป็นแบบนี้นี่กลัวไหม พอรู้ว่าเป็นมะเร็งตอนนั้นกลัวไหมคะ

คุณจรัญ: ถามว่ากลัวไหม มัน คือตอนผมว่าผมรู้ก่อนแล้วว่าเป็น ก็ทำใจไว้แล้ว

จิตอาสา: อ๋อ ทำใจไว้แล้ว 

คุณจรัญ: ไม่ได้ตกใจอะไรเตรียมที่จะรักษาแล้วก็ไม่ได้กลัวอะไรมาก

จิตอาสา: นี่เป็นการตั้งรับสถานการณ์ที่ดีนะคะ ไม่ว่าเป็นโรคอะไรมาก็ตามนะคะ ถ้าเราเตรียมใจเอาไว้แล้วนี่เราก็จะไม่กลัวมัน เหมือนคุณหมอบอกเราใช่ไหมคะ อย่ากลัวโรค อย่ากลัวตาย อย่าเร่งหายอันนี้ล่ะค่ะเรื่องของจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญจริง ๆ ฉะนั้นถ้าหากว่าคุณจรัญกล้าที่จะเผชิญอย่างนี้นะคะ ก็เหมือนพร้อมที่จะดูแลตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ได้พร้อมจะตายหรอกนะ พร้อมจะดูแลตัวเองเพื่อที่จะให้ตัวเองดีขึ้นใช่ไหมคะ คุณจรัญใช้เวลาในการดูแลตัวเองนานแค่ไหนนะคะ ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ออกมา 

คุณจรัญ: เดือนกันยาแล้วก็ หลังจากนั้นก็ประมาณเกือบ 3 เดือน 

จิตอาสา: เกือบ 3 เดือนค่ะ

คุณจรัญ: 3 เดือนก็

จิตอาสา: คุณหมอนัดหรือเปล่าคะ หรือว่า

คุณจรัญ: หมอนัดให้ไปตรวจเลือด 

จิตอาสา: หมอนัดให้ไปตรวจเลือด

คุณจรัญ: ตรวจเลือดปรากฏว่าปกติ 

จิตอาสา: ค่ะ ตรวจเลือดแล้วปรากฏว่าปกติ

คุณจรัญ: ตรวจเลือดเสร็จ

จิตอาสา: ตอนนั้นไม่ได้รับคีโมแล้วคุณหมอเขาก็ยังดูแลเรานะคะ คุณหมอก็ไม่ได้ใจจืดใจดำว่าไม่รับคีโมก็ไม่ดูแลต่อ ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ เอาล่ะทีนี้ 3 เดือนค่ะ 

คุณจรัญ: ตรวจเลือดเสร็จก็ไปที่เขาเรียกว่าสแกน ไปเอ็กซเรย์ในอุโมงค์

จิตอาสา: ค่ะ ทำ MRI

คุณจรัญ: ก็ฟังผลตรงนั้นแต่ผมนี่ค่อนข้างจะมั่นใจมากเลยว่า

จิตอาสา: ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการที่จะตรวจดูว่าเรายังมีอะไรผิดปกติในร่างกายบ้างใช่ไหมคะ ผลการตรวจเป็นยังไงคะ

คุณจรัญ: ผลการตรวจก็ไม่มี

จิตอาสา: ไม่มีอะไร

คุณจรัญ: หมอก็นัดว่าผ่าตัดกลับ เตรียมปิดทวารเตรียม

จิตอาสา: ปิดทวารเตรียมที่ออกทางหน้าท้อง ภายในเวลาแค่ 3 เดือนใช่ไหมคะ สุดยอดมากเลย

คุณจรัญ: ไม่ถึง 3 เดือน

จิตอาสา: ไม่ถึง 3 เดือน 

คุณจรัญ: หมอก็งงครับ ตอนที่หมอเขาดูฟิล์มเอกซเรย์ผมว่า เขาก็งง

จิตอาสา: เขาคงงงว่านี่มันฟิล์มของคนเดิมหรือเปล่านะ ยังดีนะที่เห็นว่าลำไส้ขาดอยู่ช่วงหนึ่งเพราะไม่อย่างนั้นก็ไม่น่าจะใช่ของคุณจรัญแล้ว ไม่รู้ไปเอาของใครมา ทีนี้หลังจากที่พอว่ารักษาแล้วในช่วง 3 เดือนนั้นพอกลับไปหาคุณหมอ คุณหมอถามคุณจรัญไหมว่าไปทำอะไรยังไงมาตอนนั้นหมอรู้แล้วว่ามาหาหมอเขียว

จิตอาสา: อ๋อ หมอรู้แล้วตั้งแต่ไม่ไปรับคีโมใช่ไหม 

คุณจรัญ: คือทางหมอเขาก็รู้จากทางในข่าวของเขา แต่ว่าเขาก็เวลาไปตรวจไปอะไรเขาก็ไม่ได้บอกว่าไปรู้มาจากนู้นก็หลังจากนั้นหมอก็นัดไปผ่าตัด 

จิตอาสา: ค่ะ ผ่าตัดเย็บปิดกลับเข้าเหมือนเดิมภายในเวลาแค่ 2 เดือนกว่า ๆ ขนาดเป็นมะเร็งระยะที่ 3 ที่ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองแล้วนะคะ ซึ่งเวลาที่ลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองแล้วมันพร้อมจะแพร่ไปกระจายไปทั่วทุกที่ไปทั่วร่างกาย ถ้าเกิดว่าเขาตัดออก ก็คือเอามะเร็งเฉพาะตรงส่วนที่มีปัญหาออก แต่ส่วนที่มันลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว มันก็จะไปของมันได้นะคะถ้าเราไม่คีโมนะคะ แต่อันนี้คุณจรัญเขาเลือกที่จะหันมาดูแลสุขภาพโดยแนววิถีธรรมนะคะก็เลยทำให้ ทำให้ยาเม็ดนี้นี่มีอานุภาพมากกว่าคีโมมากกว่าเคมีอีกหลายเท่า แล้วก็ดีกว่ามากมาย เพราะเราไม่ต้องรับอาการข้างเคียงความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการได้รับคีโมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมันจะร้อน มันไปเผาไหม้เซลล์ที่ดี ๆ ด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นตรงนี้ล่ะค่ะที่ทำให้เป็นประสบการณ์ที่ดีที่เกิดขึ้นกับชีวิตคุณจรัญนี่ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีที่มีทางออกนะคะ แล้วก็สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ตอนนี้ ตอนนี้สุขภาพของคุณจรัญเป็นอย่างไรบ้างคะ 

คุณจรัญ: ตอนนี้ผมว่าสุขภาพผมก็มันแค่ตึง ๆ ที่แผล ส่วนอื่นก็ปกติหมด

จิตอาสา: ค่ะ ตึง ๆ ที่แผล

คุณจรัญ: การระบบขับถ่ายก็ปกติทานอาหารก็ปกติ 

จิตอาสา: สุดยอดมาก ๆ เลย 

คุณจรัญ: ก็ดีใจผมบอกแล้วว่าผมมั่นใจกับคุณหมอตอนที่บอกผมที่นู้นน่ะครับทีนี้ผมก็ไปบอกกับเพื่อน ๆ ทางที่บ้านที่อยู่บ้างที่อื่นบ้าง บอกว่าถ้าใครไปรับรักษากับหมอเขียวนี่ต้อง ก็คือขออย่างเดียวคือให้เชื่อที่หมอบอกตรงนี้แล้วปฏิบัติตาม ผมว่าหาย

จิตอาสา: ตอนนี้ก็ได้ทางออกที่ดี สำหรับตัวเองนะคะ 

คุณจรัญ: ครับ

จิตอาสา: ค่ะ ก็ต้องขอขอบคุณคุณจรัญมากเลยนะคะที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์วันนี้ ต้องถามว่าจริง ๆ แล้วนี่ตอนที่เขารับข้อมูลมาคราวแรกปั๊บ แล้วก็ตัดสินใจที่จะมาดูแลกัน ดูแลด้วยการแพทย์วิถีธรรม ตอนนั้นคุณจรัญก็ที่เล่าให้ฟังเมื่อกี้คุณจรัญก็เข้าไปเนื่องจากว่าสมาชิกนี่ได้บอกข่าวบอกต่อกันไปใช่ไหมคะ แต่พอเจอตัวคุณหมอจริง ๆ คุณหมอมาให้ความมั่นใจมากยิ่งขึ้นก็ทำให้มีความมั่นใจ ตรงนี้แหละค่ะจิตใจที่มีพลังและมีศรัทธาต่อการดูแลตามแนวการแพทย์วิถีธรรมนี่ค่ะ ที่ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายของคุณจรัญก็ดีขึ้นนะคะ บวกกับว่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตัวเอง มาเป็นแนวของการแพทย์วิถีธรรมก็เลยทำให้สุขภาพดีจนถึงวันนี้นะคะ ขอบคุณคุณจรัญมากนะคะตรงนี้ค่ะ ขอเจริญธรรมค่ะ

แบ่งปันประสบการณ์

การดูแลและเทคนิคที่ใช้

กรณีศึกษา 3.96 นางนิสา ทรัพย์พิบูลสุข

กรณีศึกษาที่3.96ชื่อนางนิสา ทรัพย์พิบูลสุขเพศหญิงอายุ60 ปีอาชีพแม่บ้านจังหวัดกรุงเทพมหานคร โรคหรืออาการ : โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งลำไส้ อาการปวดท้อง การขับถ่ายไม่ดี ระยะเวลาที่ป่วย 2 ปีรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันโดยการผ่าตัดลำไส้ ทำคีโมชุดใหญ่...

กรณีศึกษา 3.41 นางหนูเกณท์ พลบูรณ์

กรณีศึกษาที่3.41ชื่อนางหนูเกณท์ พลบูรณ์เพศหญิงอายุ65 ปีอาชีพแม่บ้านจังหวัดกาฬสินธ์ โรคหรืออาการ : โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ วันที่เข้าค่าย 12-18 มีนาคม 2555 (ค่ายดอนตาล) และค่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2 ครั้ง) เก็บข้อมูลวันที่ 18 มีนาคม 2555 ก่อนหน้านี้เป็นคนท้องผูก ท้องอืด...

กรณีศึกษา 3.36 นางสายชล นิมิตรแสงเทียน

กรณีศึกษาที่3.36ชื่อนางสายชล นิมิตรแสงเทียนเพศหญิงอายุ39 ปีจังหวัดอำนาจเจริญ โรคหรืออาการ : โรคมะเร็งลำไส้ วันที่เข้าค่าย 14-20 มกราคม 2555 (ครั้งที่ 5) ณ สวนป่านาบุญ 1 ดอนตาล มุกดาหาร เก็บข้อมูลวันที่ 19 มกราคม 2555 เมื่อ 5 ปีที่แล้ว มีอาการปวดท้อง...

กรณีศึกษา 1.121 นางสุมาลี สุขายะ

กรณีศึกษาที่1.121ชื่อนางสุมาลี สุขายะเพศหญิงอายุ55โรคโรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคงูสวัดวันสัมภาษณ์22 กุมภาพันธ์ 2558 ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ปี 2552 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มิถุนายน 2552 ได้รับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง...

กรณีศึกษา 1.105 คุณลุงบุญเย็น และคุณเอกชัย เจนจิรวัฒน์

กรณีศึกษาที่1.105ชื่อคุณลุงบุญเย็น และคุณเอกชัย เจนจิรวัฒน์เพศชายโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคความดัน และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคเบาหวานวันสัมภาษณ์22 กุมภาพันธ์ 2557 ลุงบุญเย็นเป็นผู้รับเหมา กินนอนไม่เป็นเวลา เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หมอบอกต้องกินยาตลอดชีวิต...

กรณีศึกษา 1.76 คุณนินทิกร ยาคอฟเซ่นส์

กรณีศึกษาที่1.76ชื่อนินทิกร ยาคอฟเซ่นส์เพศหญิงประเทศเดนมาร์คโรคโรคมะเร็งลำไส้วันสัมภาษณ์30 มกราคม 2558 โรคมะเร็งลำไส้ ลามไปที่ตับ ปอดประจำเดือนผิดปกติ หลังจากแต่งงานตอนแรกหมอสันนิษฐานว่าเป็นริดสีดวงทวาร มีเลือดออก แล้วขอหมอส่องกล้องเจอก้อนเนื้อในลำไส้ อาการ :...

กรณีศึกษาที่ 1.54 คุณกล้วย (นามสมมติ)

กรณีศึกษาที่1.54ชื่อกล้วย (นามสมมติ)เพศหญิงอายุ69โรคโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4 ได้ลุกลามไปที่กระดูกเชิงกราน ไม่ได้แต่งงานเป็นข้าราชการครูเกษียณ เคยเป็นมะเร็งที่ไต ได้ผ่าตัดแล้ว ปัจจุบันเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4...

กรณีศึกษาที่ 1.5 คุณจรูญ

กรณีศึกษาที่ 1.5ชื่อจรูญเพศหญิงอายุ56 ปีจังหวัดนครราชสีมาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ความดัน ไตวายอาการอั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะหยดตลอด มีกลิ่นเหม็นวันสัมภาษณ์20 ตุลาคม 2557 ดิฉันชื่อ นางจรูญ ปัจจุบันอายุ 56 ปีค่ะ ทำงานรับจ้างเป็นช่างภาพอิสระค่ะ...