2. บันทึกกลุ่มตัวอย่างจาก ผู้ใช้การแพทย์วิถีพุทธที่เป็นจิตอาสาแพทย์วิถีพุทธ
ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2558
(ประเภทข้อมูลที่ 10 แบบบันทึกกรณีศึกษาของจิตอาสาและนักศึกษาแพทย์วิถีพุทธ และข้อมูลที่ 12 แบบสอบถามประสบการณ์การใช้แพทย์วิถีพุทธ เทคนิค 9 ข้อ)
กรณีศึกษาที่ | 2.14 |
ชื่อ | นางพิมพ์ณภัส ทับทิม |
เพศ | หญิง |
อายุ | 41 ปี |
จังหวัด | ราชบุรี |
โรค | โรคภูมิแพ้ |
วันสัมภาษณ์ | 9 พฤศจิกายน 2557 |
ป็นโรคเบาหวาน มา 10 ปี ต้นเหตุเกิดจาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และกรรมพันธุ์ การวินิจฉัยของแพทย์หรือผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ IDDM ผล DTX 700 mg/dl.โรงพยาบาลโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เดือนกุมภาพันธ์ 2546 อาการน้ำตาลในเลือดสูง ที่ผ่านมา 10 ปี รักษาโดยการฉีดอินซูลิน ผลการรักษาน้ำตาลในเลือดขึ้น ๆ ลง ๆ น้ำหนักเกิน
หลังจากเข้าค่ายครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2555 ก็ได้ปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยเทคนิค 9 ข้อหรือยา 9 เม็ดอาการปวดหลัง ปวดขาทุเลาลง ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากเดิมในช่วงที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดการใช้ของเทคนิคแต่ละข้อ ดังนี้
ข้อ 1 ใช้เป็นประจำ ดื่มสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดก่อนอาหารและในระหว่างวัน โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อน
ข้อ 2 เวลาเครียดและปวดเมื่อยเกร็งตามกล้ามเนื้อ
ข้อ 3 สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง โดยเฉพาะเวลาไม่สบาย เครียด อาการจะทุเลาลงอย่างรวดเร็ว
ข้อ 4 แช่มือแช่เท้า นาน ๆ ครั้งเมื่อรู้สึกมีอาการไม่สุขสบายหลาย ๆ อย่าง และใช้เม็ดอื่น ๆ แล้วยังไม่มีพลังพอ
ข้อ 5 หยอดตาเป็นประจำเพื่อระบายพิษร้อน
ข้อ 6 โยคะใช้เฉพาะบางท่าที่มีผลกับกล้ามเนื้อหลังและขา หลังใช้อาการดีขึ้นชัดเจน
ข้อ 7 พยายามปรับทุกวันเน้นอาหารฤทธิ์เย็นและลำดับในการรับประทานอาหาร
ข้อ 8 ยังปฏิบัติได้ไม่ค่อยดีโดยเฉพาะการกำจัดกิเลสเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ใช้ข้อนี้ในการทำจิตใจให้สงบเมื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ช่วงที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอสุขภาพแข็งแรงดีขึ้นจิตใจเข้มแข็งขึ้นพร้อมที่จะเผชิญกับทุกสิ่งที่จะเข้ามาในชีวิต
จากการได้ช่วยเผยแพร่ความรู้ในกลุ่มผู้ป่วยและผู้เข้ารับการอบรมทำให้คุณภาพชีวิต และอาการเจ็บป่วยของหลาย ๆ คนดีขึ้นได้รับการยอมรับจากกลุ่มคนเหล่านั้นและรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าในสังคมมากและสามารถทำประโยชน์แก่สังคมได้มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา ได้รู้จักกับหมู่มิตรดี สหายดีที่ได้ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคม
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารลงมากเนื่องจากแต่ก่อนฟุ่มเฟือยไม่รู้จักเลือกอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นจริง ๆ สำหรับชีวิต ซื้อมาแล้วรับประทานไม่หมด เหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการแต่งตัว เสริมสวย การซื้อเครื่องสำอางราคาแพงเพื่อแต่งหน้าประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปสังสรรค์ ในโอกาสที่ไม่จำเป็นรู้จักวางแผนในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า