ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่ ๒,๔๔๔ ว่า คนมีปัญญาแม้ประสบทุกข์ก็ยังหาสุขพบ แปลว่าอะไร คนมีปัญญาแม้ประสบทุกข์ ก็ประสบทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละ ก็ยังหาสุขพบ 

ก็แปลว่าสามารถสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ คนมีปัญญาแม้ประสบทุกข์หรือ ประสบทุกข์ก็ตาม แม้ตกทุกข์ก็ยังหาสุขพบ ชีวิตตกไปอยู่ในทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็ยังสามารถทำให้เป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ ก็ยังหาสุขพบ ก็สามารถจะสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ อย่างนี้เป็นต้น นี่แหละคนมีปัญญา เท่านั้นแหละที่จะทำได้ คนไม่มีปัญญาทำไม่ได้ และนี่แหละคือศีลสูงสุดของชีวิต ศีลสูงสุดของชีวิตคือสุขที่ได้ดั่งใจ 

อาจารย์ประทับใจที่ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๘๘ คิลานสูตรที่ ๑ ที่มีสงฆ์เจ็บป่วยอย่างหนัก พระพุทธเจ้าก็ไปว่า เป็นไงบ้างอาการทุเลาบ้างไหม สงฆ์ก็บอกไม่ทุเลาเลยพ่ะย่ะค่ะ มีแต่หนักอย่างเดียวเลย หนักทนได้ยากเลย พระพุทธเจ้ายังถามอีก ว่าเธอรังเกียจ เธอเดือดร้อนไร ๆ อยู่ไหม เอ้า… ถามยังไง โอ้โห! ก็ไม่เดือดร้อนยังไง ทุกข์แรงขึ้นอยู่นี่พ่ะย่ะค่ะ ความหมายของพระพุทธเจ้าจริง ๆ ก็คือ ท่านถามว่ายังมีอะไรที่ชิงชังรังเกียจ กลัวกังวลหวั่นไหว เดือดร้อนใจ ใจเป็นทุกข์ สรุปแล้วท่านก็ถามว่า ยังมีใจเป็นทุกข์อยู่ไหม แปลไทยให้เป็นไทยก็แล้วกัน ให้ได้ง่าย ต่อไปนี้จะแปลไทยให้เป็นไทยก็แล้วกัน โดยสรุปสาระย่อ ๆ ว่า ตกลงเนี่ยมีความทุกข์ใจอะไรไหม พระพุทธเจ้าก็ถามน่ะ โอ้โห! ทุกข์มากเลยพ่ะย่ะค่ะ ทางสงฆ์ก็ตอบไปทุกข์มากเลยพ่ะย่ะค่ะ โอ้โห! ข้าพเจ้าทุกข์มากเลย ทุกข์ใจมากเลยพ่ะย่ะค่ะ

พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า แล้วเธอไม่ตรวจ ไม่ติเตียนตัวเองโดยศีลบ้างหรือ สงฆ์ก็บอกไม่ได้ติเตียนตัวเองโดยศีลเลยพ่ะย่ะค่ะ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าแล้วถ้าเธอไม่ติเตียนตัวเองด้วยศีลเนี่ย แล้วเธอจะมาโวยวายอะไรเล่า พูดภาษาบ้าน ๆ นะ แล้วเธอจะมาทุกข์อะไรอยู่เล่า จะมาโวยวายอะไรอยู่เล่า  จะมาทุกข์อะไรอยู่เล่า ไม่มีอะไรที่ทำให้เธอทุกข์ใจได้นอกจากการผิดศีลของเธอเท่านั้น นี่พูดภาษาบ้าน ๆ นะ พระพุทธเจ้าบอกว่า เธอไม่ตรวจตัวเองด้วยศีลแล้วเธอจะมาบ่นทำไม จะมาทุกข์ทำไม เธอจะมาทุกข์ด้วยอะไร เธอจะไปทุกข์กับอะไรอีกเล่า เพราะไม่มีอะไรที่ทำให้เธอทุกข์ใจได้นอกจากการผิดศีลของเธอเท่านั้น ก็แปลว่าถ้าผู้ใดทุกข์ใจผู้นั้นผิดศีล แล้วการทุกข์ใจนี่ มันมีอันเดียวเท่านั้นแหละที่ทำให้ทุกข์ใจได้คืออะไร ไม่ได้ดั่งใจเท่านั้นแหละ ใช่ไหม ที่ทำให้ทุกข์ใจได้น่ะ ก็แปลว่าใครทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ นั้นถูกศีลหรือผิดศีล ก็คือการผิดศีล  จำไว้นะ เมื่อใดก็ตามที่ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เมื่อนั้นผิดศีลแล้ว ผิดศีลแล้ว ใครไม่ได้ดั่งใจแล้วทุกข์ใจเนี่ยผิดศีลแล้ว พระพุทธเจ้าก็ว่างั้น ผิดศีลแล้ว ตรวจศีลตรวจไม่ยากหรอก มีไหมทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ ไม่แช่มชื่นใจ หรือเกิดอาการไม่น่าได้ ไม่น่าเป็นไม่น่ามีในใจ เวลาไม่ได้ดั่งใจน่ะ อันนั้นล่ะผิดศีล หรือถ้าใครที่รู้สึกว่า ถ้าได้ดั่งใจจะสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้ดั่งใจจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ ถูกศีลหรือผิดศีล คำตอบก็คือผิดศีลแล้ว เกิดความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นน่ะ ผิดศีลแล้ว นี่แหละต้องติเตียนตัวเองด้วยศีล เอาอะไรมาติล่ะ นี่ก็ผิดศีล 

แล้วถูกศีลเป็นไง ต้องสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ เมื่อเราสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ ถ้าเราได้ดั่งใจเราจะทุกข์ไหม เราจะไปทุกข์อะไรเล่าเราได้ดั่งใจก็สุขอยู่แล้ว เราไม่ต้องไปฝึกอะไรก็ได้มันเป็นอัตโนมัติอยู่แล้วใช่ไหม มีใครได้ดั่งใจแล้วไม่สุขใจ มันไม่มีหรอกใช่ไหม มันสุขอัตโนมัติอยู่แล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้น แต่ว่าทุกข์อัตโนมัติคืออะไร ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละใช่ไหม มันทุกข์อัตโนมัติ อันนี้ต้องเปลี่ยนมันให้เป็นสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้  นี่แหละ ฉะนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้เนี่ย ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้เนี่ยถูกศีล แต่เมื่อใดก็ตามที่ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเมื่อนั้นผิดศีลทันที นี่แหละ 

แล้วพระพุทธเจ้าถามต่อว่า ทำไมเธอถึงไม่ติเตียนตัวเองด้วยศีลล่ะ พระพุทธเจ้าก็ถามต่อ สงฆ์ก็ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่รู้พ่ะย่ะค่ะ ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเพื่ออะไร แปลไทยให้เป็นไทยนะเนี่ย ถ้าไปฟังภาษาพระพุทธเจ้าจะปวดหัวหน่อย อาจจะมัว ๆ เมา ๆ อาจารย์แปลไทยให้เป็นไทยก่อน ข้าพเจ้าไม่รู้พ่ะย่ะค่ะ ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเพื่ออะไร เพื่อให้ได้สภาพสูงสุดอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไปอีก ถามต่อไปอีกว่า แล้วถ้าเธอไม่รู้เธอจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร แล้วจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร  ในเมื่อเธอไม่รู้จักศีลวิสุทธิ์  ศีลที่สูงที่สุด สุขที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด ถ้าเธอไม่รู้ศีลที่สุขที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด แล้วเธอจะปฏิบัติอย่างไร แล้วเธอจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร แล้วเธอจะปฏิบัติอย่างไร แล้วเธอจะปฏิบัติไปเพื่ออะไรในเมื่อเธอไม่รู้ สงฆ์ก็เลยต้องเอาไปตรวจสอบ ตรวจสอบสักพักนึง ตรวจสอบคำสอนของพระพุทธเจ้า โอ้! ข้าพเจ้ารู้แล้วพระเจ้าค่ะ รู้แล้ว ๆ ศีลวิสุทธิ์ ศีลที่วิเศษที่สุด สุขที่สุด สูงที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด ประเสริฐที่สุด สูงที่สุด ดีที่สุดนั่นแหละ ศีลที่ดีเยี่ยมที่สุดนั้น โอ…ต้องปฏิบัติไปเพื่อวิราคะ  

อ๋อ..ชัดเจนแล้ว ข้าพเจ้ารู้แล้วพ่ะย่ะค่ะ ข้าพเจ้าปฏิบัติไปเพื่อวิราคะพ่ะย่ะค่ะ 

วิ ก็คือ ละหน่ายคลายหรือสลายนั่นเอง ราคะ ก็สุขสมใจเนี่ยแหละ ละหน่ายคลายสลาย สละ สลาย สละสลายสละสุขสมใจออกไป วิราคะ คือ สุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจต้องสลายออกไป 

สละ สละคืนปล่อยไปไม่พัวพัน  สลายออกไปเลย สลายเลย ต้องละหน่าย สละสลายสุขสมใจออกไป พระพุทธเจ้าก็บอกถูกละ ๆ ใช่เลย คำสอนทุกคำของเรา สอนทุกคำทุกประโยค ทุกสูตร เป็นไปเพื่อเป้าหมายเดียวคือวิราคะเท่านั้น ต้องคลายสุขสมใจออกไป คลาย หรือว่าสลายสุขสมใจออกไป เพราะสุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจนั้น มันทำให้เกิดทุกข์ที่ไม่ได้สมใจทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ แล้วก็เกิดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล ไม่ว่าทุกข์กายเรื่องร้ายใด ๆ ต่อตนเอง และผู้อื่นตลอดกาล โอ้! มันไม่เที่ยง มันไม่มีจริง แถมมันเป็นทุกข์ตลอดกาลด้วย โอ้! มันไม่น่าเก็บเอาไว้ อย่างนี้เป็นต้น พอสลายได้ก็จะพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าก็ได้อธิบายต่อไป

การได้สัมผัสอะไร ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่อยากได้ ถามว่ามันเที่ยงหรือไม่เที่ยงล่ะ พอสุกแป๊บเดียวก็หมดไป  อ้าว.. เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วไปอยากได้ กลัวจะไม่ได้ พอได้มาก็กลัวหมดไปอยู่อย่างนี้ พอไม่ได้ก็ทุกข์ที่ไม่ได้ ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจอยู่อย่างนี้ มันหมดไปก็กลัวไม่ได้มา ได้มาก็กลัวจะหมดไปอยู่ เมื่อมันเป็นอย่างนี้แล้วเนี่ย ตกลงมันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงอย่างนี้มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ สงฆ์ก็ตอบมันเป็นทุกข์พ่ะย่ะค่ะ มันก็ชัดเจนเนี่ยทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ กลัวไม่ได้มา กลัวหมดไป เกิดทุกข์กายขึ้นอีก ใช่ไหม เสียพลังไปสร้างทุกข์ เสียพลังไปเกร็งตัวบีบทุกข์ออก เสียพลังไปดันออก เลือดลมไหลเวียนไม่ได้ โครงสร้างโครงรูปของเซลล์ผิดโครงสร้างโครงรูป

ก็ป่วยได้ทุกโรค เป็นทุกข์ใจแล้วยังเป็นทุกข์กายอีก ก็เสียเรี่ยวแรงกำลังไปทำแต่ทุกข์ใจ ทุกข์กายอยู่อย่างเนี่ย มันก็แย่เท่านั้นเอง ก็หมดเรี่ยวหมดแรงไปในการทำบาปทำทุกข์อยู่แบบนี้ ชีวิตที่ได้อาศัยกุศล กุศลก็หมดไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ แต่อกุศลเนี่ยพอกขึ้นไปเรื่อยเลย วิบากดีใดที่ชีวิตได้ใช้ก็หมดไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ เท่านั้นเอง ก็หมดไปเรื่อย ๆ ก็ไม่เหลือวิบากดี ร้ายก็ยิ่งออกฤทธิ์ได้มาก ร้ายใหม่ร้ายเก่าก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ยิ่งอยากได้มาก ๆ ก็ทำชั่วได้ทุกเรื่องเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก เดือดร้อนไปทั่ว ชีวิตบันทึกเป็นวิบากร้ายดึงเรื่องร้ายมาใส่ตัวเองและผู้อื่นตลอดกาลเลย โอ้… แย่ ๆ และแย่ ก็จะชัดเจนนะ 

พอเรามีปัญญาชัดเจนก็นี่ไง สิ่งใดไม่เที่ยง สุขที่ได้สัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แม้แต่เกิดสุขที่ได้สมใจอยาก เที่ยงหรือไม่เที่ยง.. มันไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์.. มันเป็นทุกข์ มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าก็ถามสงฆ์แหละว่ามันเที่ยงไหม.. ไม่เที่ยง 

เมื่อไม่เที่ยงเป็นสุขหรือเป็นทุกข์.. ก็เป็นทุกข์ เนี่ยผู้เข้าใจสภาวะก็รู้เป็นทุกข์ แล้วมันเป็นทุกข์อย่างนี้ ควรไหมล่ะที่จะเอามาเป็นตัวเราของเรา เอามาใส่ตัวเราของเรา เอามาไว้เป็นตัวเราของเรา ยึดเอาไว้เป็นตัวเราของเราควรไหม.. ก็ไม่ควรพระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น แล้วคุณจะเอามาไว้ทำไม ก็สลายมันสิ มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี ไม่ควรที่จะเอามาเป็นตัวเราของเรา อย่างนี้เป็นต้น มันก็ไม่ควรจะเป็นตัวเราของเรา พิจารณาไปมันก็สลายทิ้ง เพราะมันสลายได้ มันก็สลายไป ยินดีที่จะสลายไป เพราะกิเลสมันก็ไม่อยากทุกข์ พอมันสลายความคิดแบบนี้มันก็จะไม่ต้องทุกข์ เราก็ยินดีให้มันสลายไป ความยินดีก็เป็นความสุข ภัยต่าง ๆ มันก็หมดไปมันก็เป็นประโยชน์ เรายินดีในการละโทษแล้วก็เข้าถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์นี้ มันก็เป็นประโยชน์สุข ใช่ไหม พอเป็นอย่างนี้มันก็ไม่ควรจะยึดเป็นตัวเราของเรา ก็สลายตัวตน สลายตัวตนของกิเลสได้ ก็เป็นสุข 

นี่แหละที่ว่าสลายตัวสลายตน ลดตัวลดตน นี่แหละตัวตนของสุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจ โดยการเอาแต่ใจตัวเองนี่แหละ ลดตัวตนก็มันไม่ต้องเอาแต่ใจตัวเอง ถ้าเราละสุขสมใจได้ ไปเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ ละสุขที่ได้ดั่งใจ ละสุขที่ได้สมใจได้ ก็คือการเอาแต่ใจตัวเอง และการเสพเพื่อตนเอง นี่แหละที่เขาว่าละตัวตน ละอัตตา ละตัวตน ก็อันนี้แหละตัวตนน่ะ อัตตา นี่แหละอัตตา ตัวตน ตัวตนของกิเลส ตัวตนของสุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจไม่ได้ดั่งใจ 

ก็ละแบบนี้ ละได้ก็ละตัวตนได้ ก็ไปได้สุขที่ไม่ได้สมใจ สุขใจที่ไม่ได้สมใจ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ เป็นอมตะนิรันดร์กาล ไม่มีภัยต่อใครเลย เป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิต ใจก็ไม่มีทุกข์มีแต่สุขสบายใจไร้กังวล แต่สุขสบายใจไร้กังวล กายก็แข็งแรง เพราะไม่ต้องไปเกร็งตัวบีบทุกข์ออก กล้ามเนื้อก็คลายตัวเลือดลมไหลเวียนสะดวก แล้วพลังเราก็ไม่เสียพลังไปสร้างทุกข์ ไม่เสียพลังไปดันทุกข์ออก ไม่เสียพลังไปตอบสนองทุกข์ ตอบสนองกิเลสต่าง ๆ พลังก็กลับมาเป็นของเราหมดเลย แปรพลังทั้งหมดกลับมาเป็นของเรา พลังทุกข์แปรเป็นพลังสุข แปรมาเป็นพลังของเราหมดเลย ดูดสารหรือพลังงานที่สมดุลร้อนเย็นมาเลี้ยงชีวิต สลายสารหรือพลังงาน ร้อนเย็นไม่สมดุลออกไปจากชีวิต ร่างกายก็แข็งแรง ใจเป็นสุข กายแข็งแรง การทำสิ่งดี ๆ แบบนี้ก็เป็นกุศล เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามด้วย เอาเวลาไปทำสิ่งที่ดีต่อด้วย พาคนได้รับประโยชน์สุขแบบนี้หรือประโยชน์สุขแบบอื่น ๆ ที่ควรได้ เหนี่ยวนำกันให้เป็นตาม ก็เป็นพลังกุศล เป็นสิ่งดี ชีวิตบันทึกเป็นวิบากดีดึงสิ่งดีเข้ามา ดันสิ่งร้ายออกไปจากตัวเองและผู้อื่นตลอดกาล เห็นไหม มันก็ดีที่สุดเลย ไม่มีภัยใด ๆ เลย ไม่มีโทษภัย ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย เป็นแต่ประโยชน์สุขต่อทุกข์ชีวิตเท่านั้น โอ้โห! มันก็น่ายินดีไหม น่ายินดี น่ายินดีพอใจ สุขใจที่สุด เราก็ยินดี พอใจ สุขใจในการคิดพูดทำแบบนี้ 

 สิ่งใดเป็นโทษเป็นภัย เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ตัดไปด้วยใจที่เป็นสุข พฤติกรรมที่ดีก็เข้าถึงด้วยใจที่เป็นสุข ทำดีที่ทำได้ สุขใจในดีที่ทำได้ สุขใจในดีที่ได้อาศัย ทำไม่ได้ก็ยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจ ยินดี พอใจ สุขใจ ที่ไม่ได้สมใจ แม้ไม่ได้ดั่งใจมันก็สุขที่สุดในโลกแล้ว เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่องถ้าเป็นวิบากร้ายเข้ามา รับเท่าไหร่ก็หมดเท่านั้น กล้ารับกล้าให้หมดไป ยินดีรับ ยินดีให้หมดไป รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ดียิ่งออกฤทธิ์ได้มาก ก็ยิ่งดีเข้าไปอีก ดียิ่งออกฤทธิ์ได้มากให้ได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป เห็นไหม เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่องจิตใจก็ผ่องใส จึงเป็นสภาพปฏิบัติศีลโอวาทปาฏิโมกข์ 

ศีลโอวาทปาติโมกข์ ศีลคือข้อปฏิบัติ ในการละโทษ ทำประโยชน์ให้กับตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น ก็ศีลโอวาทปาฏิโมกข์นี่แหละ ละบาป บำเพ็ญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใสอย่างสมบูรณ์ เนี่ยศีล ศีลที่แท้จริงเป็นเช่นนี้ คนมีปัญญาสูงสุดเท่านั้นจึงจะปฏิบัติศีลสูงสุดได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสใน โสนะทัณฑสูตร ว่า ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใดปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใดศีลก็มีในบุคคลนั้น ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญาและนักปราชญ์ย่อมกล่าว ศีลกับปัญญาว่าเป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือ ล้างเท้าด้วยเท้าฉะนั้น เพราะฉะนั้นคนมีปัญญาเท่านั้นจึงจะปฏิบัติศีลได้ คนไม่มีปัญญาปฏิบัติศีลไม่ได้ คนมีปัญญาเท่านั้นที่จะปฏิบัติศีลได้ ศีลถึงขั้นสูงสุดนี่ต้องมีอริยะปัญญา ถ้าไม่มีอริยะปัญญาปฏิบัติศีลไม่ได้ อริยะปัญญาเนี่ยจะปฏิบัติศีลที่สูงที่สุดได้ เพราะเป็นศีลที่กำจัดความอยาก กิเลสตัณหาในสุขสมใจอยากได้ ศีลที่สามารถวิราคะได้ ปัญญาที่ปฏิบัติศีลถึงขั้นวิราคะได้ คลายสุขสมใจได้ ได้สุขใจที่ไม่ได้สมใจ มันเป็นวิมุตติญาณทัสสนะ รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น ก็สามารถหลุดพ้นได้ นี่ความสุขสูงสุดของชีวิตอยู่ที่ตรงนี้ คนมีปัญญาเท่านั้นที่จะมีศีล คนไม่มีปัญญามีศีลไม่ได้ จะมีปัญญาได้ก็ต้องได้พบสัตบุรุษ ได้ฟังสัจธรรมเท่านั้นแหละ ได้พบผู้รู้แท้ในการปฏิบัติศีล ด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่นจนพ้นทุกข์ จนได้สุขแท้นั้น ทำอย่างไร

เมื่อได้พบสัตบุรุษ หมู่มิตรดี ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ ก็สามารถที่จะได้ฟังสัจธรรม เมื่อได้พบและก็ได้ฟังสัจธรรมผู้นั้นก็เข้าใจได้ เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ก็เข้าใจได้ พอเข้าใจได้ปุ๊บนั่นแหละมีปัญญาเข้าใจ จาก สุตมยปัญญา ก็ได้ฟัง ฟังเสร็จก็เออ…เข้าใจ เป็น จินตามยปัญญา จินตนาการตามคิดตาม มีอัญญธาตุเข้าใจ เข้าใจได้ว่า ต้องปฏิบัติอย่างนี้เป็น จินตามยปัญญา ปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ ได้ผลสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ โอ้…เข้าถึง ภาวนามยปัญญา ภาวะ + วิปัสสนา ภาวะคือสภาพพ้นทุกข์นั่นแหละ สภาพสุขนั่นแหละจากวิปัสสนา วิปัสสะ วิปัสสี รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง อันวิเศษ วิปัสสะ วิปัสสี การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงที่วิเศษที่สุด ก็เห็นนี่แหละเห็นไตรลักษณ์ของกิเลสเห็นวิปลาส๔ ของกิเลสชัดเจน พอเห็นชัดเจนปุ๊บก็เห็นประโยชน์ของการไม่มีกิเลส นี่แหละปัญญาที่สูงที่สุดประเสริฐที่สุด จนกิเลสเถียงไม่ได้ก็ยอมตายไปสลายไป กิเลสก็สลายความรู้สึกสุขสมใจทิ้งไป ความทุกข์ที่ไม่ได้สมใจทิ้งไป กลายเป็นสุขที่ไม่ได้สมใจแทน อย่างนี้เป็นต้น กลายเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจไม่ได้สมใจแทน นั่นแหละเป็นปัญญาที่สูงที่สุด 

ผู้มีศีลเท่านั้นที่จะปฏิบัติอันนี้ได้ ไม่มีศีลปฏิบัติไม่ได้  ผู้ไม่มีปัญญาปฏิบัติไม่ได้ เมื่อมีปัญญาในการปฏิบัติจะได้ผลอันนี้แหละ ได้ผลอันนี้ก็จะเกิดการเปรียบเทียบ มีปัญญาในการปฏิบัติศีลที่ถูกตรง ก็ได้ผลพ้นทุกข์ก็เปรียบเทียบได้ สามารถเปรียบเทียบได้ว่า ปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์ได้รับความสุขที่มันต่างจากแต่ก่อนอย่างไร ก็เห็นความต่างก็มีปัญญาเห็นความต่างว่า แบบนี้ดีที่สุด สลายกิเลสได้ดีที่สุด ก็เปรียบเทียบได้แต่ก่อน ได้สมใจสุขใจชอบใจ เเว้บเดียวหมดไป แล้วจากนั้นก็ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ กลัวไม่ได้มา ได้มาก็กลัวจะหมดไป เกิดทุกข์กาย เกิดเรื่องร้ายตลอดกาล มีแต่ทุกข์ สุขแป๊บเดียวหมดไปไม่มีจริง มีแต่ทุกข์ สุขไม่มี มีแต่ทุกข์ ก็ชัดเจนพอสลายมันได้ โอ้…มีแต่สุขไม่มีทุกข์ มีแต่สุขที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีทุกข์ใด ๆ เลย ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขสบายใจไร้กังวล มีปัญญาอันยิ่งดีกว่า กายเป็นสุข ใจแข็งแรง เกิดแต่เรื่องดีไม่มีเรื่องร้ายต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาล ก็มีปัญญาเปรียบเทียบด้วยสภาวะเลย  อย่างนี้เป็นต้น 

ในขณะที่ทำได้เป็นระยะ ๆ เรียกว่าสมาธิ นี่ปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น ได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจไปเรื่อย ๆ ๆ เรียกว่าสมาธิ สงบจากทุกข์ตั้งมั่นในสุขที่ไม่ได้ดั่งใจไปเรื่อย ๆ ๆ สั่งสมเป็นสมาธิไปเรื่อย ๆ จะสมบูรณ์แบบ เป็นปัญญาที่สมบูรณ์แบบ เจอกิเลสเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็กำจัดไป ก็มีปัญญากำจัดไป ก็ได้สมบูรณ์แบบ ซึ่งการปฏิบัติแบบนี้ก็ปฏิบัติไปเป็นลำดับ ๆ จากสุขที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ในพฤติกรรมเลวร้ายเดือดร้อนต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นมากที่สุดก่อน แล้วก็ลดลงไป มาอาศัยตัวที่รองลงมา มาอาศัยตัวเลวร้ายที่รองลงมาเรื่อย ๆ ๆ ๆ ร้ายที่รองลงมาคือตัวดีที่มากขึ้น ๆ ๆ ๆ แม้สิ่งที่ดีงามแง่เชิงต่าง ๆ เอาละ สิ่งที่ดีงามจึงอาศัยได้ก็ทำเอาละอาศัยก็ทำ แต่ถ้าอาศัยไม่ได้ทำไม่ได้ก็สามารถสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ โดยบางทีเราก็อยากได้ดีนี่หลายเรื่อง อยากได้ดีนี้มันหลายเรื่อง แล้วมันก็ไม่ใช่จะวางใจได้ทุกเรื่องในตอนฝึกใหม่ ๆ แรก ๆ  หรือว่ายังไม่ได้ล้างได้หมดทุกเรื่อง เราก็ต้องฝึกมาวางใจ ฝึกสุขที่ไม่ได้ดั่งใจในดีที่มันไม่มีความสำคัญมากก่อน ดีที่เราติดน้อยยังไม่สำคัญมากก็ต้องวางใจในเรื่องนี้ให้ได้ ต้องทำสุขที่ไม่ได้ดั่งใจนี้ให้ได้ แล้วก็ทำเพิ่มเรื่องขึ้นไปเรื่อย ๆ ในเวลาที่มันไม่ได้ดั่งใจ เราก็เลือกที่จะสลายสุขที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจในเรื่องที่มีความสำคัญน้อยก่อนเพราะว่ามันจะวางได้แต่ถ้าเรื่องไหนที่มันดีมากสำคัญมากมันจะวางยากก็เอาไว้ทีหลัง ก็วางฝึกสลายอัตตา ตัวยึดดี ถือดี หลงดี ทุกข์เพราะดีสลายทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจหมายก็ฝึกเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจหมายไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ จนสุดท้ายได้ทุกเรื่องสมบูรณ์ทุกเรื่องอย่างนี้เป็นต้น

ซึ่งเราจะไปสลายตอนนั้นไม่ได้  ตอนมันได้ไม่ต้องไปสลายหรอก สุขที่ได้ดั่งใจในดี อาศัยเข้าไปเลย ทำเข้าไป ทำดีเข้าไปยึดเข้าไปเลย สุขเข้าไปเลย ติดเข้าไปเลยในดีที่ทำได้ในผลดีที่เกิดขึ้นทำได้ติดเข้าไปเลยไม่ต้องไปคิดมากเลย ติดเข้าไป สุขเข้าไป ทำไม่ได้เมื่อไหร่นั่นแหละต้องเรียนรู้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้  ก็มาฝึกสุขที่ไม่ได้ดั่งใจอย่างนี้เป็นต้น ข้อไหนที่ทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็สุขทุกข์ไปตามฐานก่อน เอาไปเป็นลำดับตามฐานข้อไหนทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ยังไม่ต้องไปทำ จะไปล้างสุขที่ได้ดั่งใจในดีที่เราติดมาก ๆ  เราเห็นว่ามีคุณค่ามาก  มีความสำคัญมาก ๆ มันล้างไม่ได้เราก็อย่าเพิ่งไปล้าง เราก็ให้มันสุขทุกข์ไปตามฐานก่อน ได้เป็นสุข ไม่ได้เป็นทุกข์ ก็ยอมได้เป็นสุขไปเลย แต่ไม่ได้ก็เป็นทุกข์ไปเลย ทุกข์ก็ทุกข์ไปใช้วิบากไป

ถ้ายังล้างไม่ได้ อย่างน้อยเวรกรรมก็หมดลงไป วิบากร้ายก็หมดลงไป รับเท่าไหร่ หมดเท่านั้น ใช้วิบากไป ใช้เวรกรรมไป รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น รับไปสุขทุกข์ไปตามฐาน ก็มันล้างไม่ได้จะให้ทำไง…ยิ่งพยายามจะไปล้างมันก็ยิ่งทุกข์เข้าไปใหญ่เลย หมดเรี่ยวหมดแรงเข้าไปใหญ่ ทุกข์เข้าไปใหญ่ก็อย่าไปแตะมัน มันมวยคนละรุ่นอย่าไปชกมัน ไปชกมัน มันก็ชกเราอย่างเดียวตายคาที่  มันจะทำอย่างไรก็ให้ทำกับเรา มันจะให้เราสุขก็สุข มันจะให้เราทุกข์ก็ทุกข์ ให้เราสุขที่ได้ดั่งใจก็เอา ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจก็เอา ทำไงได้ รบมันไม่ชนะหรอก มันเก่ง มันมีความสำคัญมาก มันมีน้ำหนักมาก เราก็สู้เขาไม่ไหว ก็ยอมแพ้ไปก่อน อันไหนสู้ได้ก็สู้ สู้ไม่ได้ก็ยอมแพ้ไปก่อน  

เราก็มาเอาสุข มาสลายสุขในดีที่มันไม่สำคัญ มันเป็นไปไม่ได้ด้วยนะ มันมีหลายตัวที่ติดอยู่ แล้วมันเป็นไปไม่ได้ตั้งหลายตัว ก็มาสลายสุขสมใจในดีที่มันไม่สำคัญมากก่อน ที่เรารู้สึกอันนี้สำคัญน้อย ที่เราติดน้อยที่สุด ชอบน้อยที่สุด เห็นค่าน้อยที่สุดก่อน แล้วค่อยไปสลายตัวที่มันมีค่ามากขึ้น ๆ ๆ เราให้ค่ามันมากขึ้น ๆ ๆ ให้ค่าให้ความสำคัญมากขึ้น ๆ มันก็จะสลายไปได้ ทำไปเป็นลำดับ สุดท้ายก็หมดไปทุกเรื่อง ก็พ้นทุกข์ แล้วเวลาสลายไปแต่ละเรื่อง ๆมันก็สลายจากการติดที่มันต้องละเมิดทางกาย ทางวาจา เรียกว่ากามภพ กามภพในชั่วก็ตาม ในดีก็ตาม ที่มันทำไม่ดีทางกายทางวาจาเลยอย่างนี้เป็นต้น เราก็สลายตัวนี้ก่อน มันก็จะไปเหลือรูปภาพก็คือไม่ละเมิดทางกายทางวาจาแล้ว แต่มันยังเหลือในใจ

ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ที่อยู่ในใจก็สลายออกไป พอสลายไป รูปภพ คือมันจับอาการได้ชัด แต่ไม่ละเมิดทาง กาย ทางวาจาแล้ว แต่จับอาการได้ชัด แล้วก็สลายต่อไปอีก สลายรูปภพนี้ออกไป มันเป็นรูปของอาการ รูปลักษณะของอาการ มัน ชัดเจนอย่างนี้ สลายมันไปอีกก็เหลือ อรูปภพ มันไม่เป็นรูปลักษณะที่ชัดเจนแล้ว อรูปแล้ว มันไม่เป็นรูปลักษณะที่ชัดเจนมันเหมือนจะมีเหมือนจะไม่มี แต่มันก็ยังทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจอยู่ ก็ยังไม่แช่มชื่นอยู่ มันยังทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจอยู่ ก็สลายต่อไปอีก จนมันหมด มันก็ไม่เหลือแล้วทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ มีแต่สุขที่ไม่ได้ดั่งใจเพียว ๆ เลย สบาย สุขที่ไม่ได้ดั่งใจอยาก สุขที่ไม่ได้สมใจอยาก จริง ๆ คือสุขที่หมดอยาก หมดตัณหาหมดอยากแล้ว หมดอยากได้สุขสมใจ หมดอยากที่ได้สุขไม่ได้ดั่งใจ มันก็คือได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละ ก็เป็นตัวนี้ เห็นไหมแก้ไปเป็นลำดับ ๆ อันนี้ คือ การปฏิบัติไปเป็นลำดับ ๆ ปฏิบัติไปเป็นลำดับอย่างนี้ 

พระพุทธเจ้าจึงตรัสเอาไว้ ที่ปหาราทะถามพระพุทธเจ้าใน ปหาราทสูตร ในเล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๑๐๙

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้มี ธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่” พระพุทธเจ้าตรัสมี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน “ดูกรปหาราทะ มหาสมุทร ลาด ลุ่ม ลึก ลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว  ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน” มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง มันจะบรรลุคราวเดียวพรวดไปหมดทุกตัวคราวเดียวเลยไม่ได้ ต้องไปเป็นลำดับ ๆ ทิ้งตัวที่ชั่วมาก สุขในชั่วมากมาสุขในชั่วน้อยไปเรื่อย ๆ ๆ แล้วก็ทิ้งสุขในดีที่น้อย ไปเอาสุขในดีที่มากกว่าอย่างนี้เป็นต้น 

ถ้ามันเอาได้หมดทั้งสุขในดีน้อยสุขในดีมาก ถ้าทำได้ก็เอาหมดนั่นแหละ ถ้ามันเอาไม่ได้ก็ต้องทิ้งสุขน้อยไปเอาสุขที่ดีกว่า ทิ้งไปเรื่อย ๆ จนไม่มีดีจะเอาแล้ว ดีนั้นก็เกิดไม่ได้แล้ว วิบากแทรกดีเกิดไม่ได้ก็เอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ สูงสุดเลยคือไม่ได้อะไรเลย ไม่ต้องมีอะไรได้เลย ก็เอาสุขสูงสุดนั่นเลยนี้เป็นต้น ก็ไปฝึกอย่างนี้เป็นลำดับ ๆ ฝึกไปจนเราเก่ง เก่งได้แบบนี้จนเราสามารถจะยินดี พอใจ ถ้าเราได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้แล้ว เราจะสามารถที่จะยินดี พอใจ สุขใจในการชอบ การชัง การเฉย ในเรื่องอะไรก็ได้ อะไรควรชอบก็ชอบได้ อะไรควรชังก็ชังได้ อะไรควรเฉยก็เฉยได้ ทำได้หมดเลย ถ้ามีฐานมีแก่นของสุขที่ไม่ได้ดั่งใจไว้ สามารถที่จะสุขในการชอบสิ่งใดก็ได้ ในการชังสิ่งใดก็ได้ เฉยสิ่งใดก็ได้ ได้หมดทุกอย่างเลย สุดยอดจะเป็นอย่างนี้เลย จะชอบ จะชัง จะเฉยได้หมด จะชอบในดีก็ชอบได้ทันที ดีไหนทำได้ อย่างนี้เป็นต้น 

จะชังในดีก็ชังได้ทันทีเลย ในดีนะ ในดีเลยนะ จะชังในดีก็ชังได้เลย ชังในดีนะ ดีที่มันเป็นไปไม่ได้ไง ดีที่มันยังไม่ใช่กุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง แปลว่ามันดีขี้โกง อ้าว !.. ดีขี้โกงนี่มันยังไม่ใช่กุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้อง อย่าไปอยากได้ โธ่เอ๊ย! น่าเกลียด เห็นแก่ตัว ยังไม่ใช่กุศลยังจะไปเอาอยู่นั่นแหละ น่าชัง น่าเกลียดน่าชัง  ก็ชังเลยไม่เอา ๆ ดีนี้ไม่ใช่ของเรา จะชังในดีก็ได้ ดีที่ยังไม่ใช่สิทธิของเราหรือคนที่เกี่ยวข้อง มันยังไม่ใช่กุศล มันยังเป็นอกุศลแทรกอยู่ จะไปเอาดีได้ไง มันไม่ใช่สิทธิของเรา ก็ชังก็ได้ 

เฉยก็ได้ เฉยในอะไรก็ได้ จะไม่เกี่ยวข้อง ไม่ปรุงไม่แต่งอะไรเกินกำลัง ก็อย่าไปยุ่งไปเกี่ยวเรื่องนี้ จะดีกว่า เราก็เฉยได้เหมือนกัน ดีเท่าไหร่ก็ตาม แต่มันไม่มีกำลังอย่าไปยุ่งอย่าไปเกี่ยว เฉย สุขที่ได้เฉยไป ทิ้งไป อ้าว!.. ใครมีเหตุปัจจัยที่ต้องไปยุ่งไปเกี่ยวก็เชิญ แต่เราไม่ยุ่งไม่เกี่ยว อย่างนี้เป็นต้น ก็เฉยได้หรือดีที่ทำได้นานแล้ว  เราก็ยินดีที่เราจะเฉยแล้ว ให้โลกให้เราได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไปเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น เราก็เฉยไปก็ได้ ยินดีในการเฉยก็ได้ เห็นไหม ยินดีในการชอบ ชัง เฉย ในดีก็ได้ ในชั่วก็เหมือนกัน จะชอบ จะชัง จะเฉยก็ได้ ส่วนเรื่องชั่ว เราจะชอบชั่ว เรื่องร้าย ๆ มีเรื่องร้ายเกิดขึ้น  โอ้… จะชอบเรื่องร้ายที่เข้ามาได้ จะต้องทำอย่างไร

เมื่อมีเรื่องร้ายเกิดขึ้น คงมีใครที่ชอบเรื่องร้าย ๆ  แต่เมื่อเราพยายามแก้ไขแล้ว และมันแก้ไม่ได้ ในเมื่อแก้ไม่ได้แล้วจะต้องทำอย่างไร เราก็ต้องเอาประโยชน์ให้ได้  โดยพิจารณาว่าเรื่องร้ายเข้ามาก็ดีสิ ได้ชดใช้ รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น มันเป็นวิบากร้าย เมื่อแก้ไขเต็มที่แล้วแต่ยังแก้ไม่ได้ ก็ดีเพราะรับเท่าไหร่มันก็หมดไปเท่านั้น เราก็ได้ชดใช้ รับเท่าไรหมดเท่านั้น ก็มีแต่โชคดีขึ้นเท่านั้นเอง อย่างนี้เป็นต้น 

เราก็ชอบก็ได้ เห็นไหมมีเรื่องร้ายจะชอบก็ได้ จะชังก็ได้เรื่องร้ายไหนเราตัดได้ เรื่องอะไรไปชอบให้โง่ ใช่ไหม ตัดได้ก็ตัดไปเลยใช่ไหม โอ๊ย ! เลวร้าย ๆ ตัดไปเลย ใช่ไหม จะเฉยก็ได้ ยินดีแล้วก็เฉยก็ได้ จะชอบ จะชัง จะเฉยก็ได้ ทำด้วยความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ถ้าเรามีฐานของการสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้แล้ว เราจะเฉยก็ได้ เรื่องร้ายก็เกิดตรงไหน ๆ เฉยกับมันก็ได้ หรือมันเกิดกับเราแล้ว เราก็แก้เต็มที่แล้วแก้ไม่ได้ก็ อ้าว ! เฉยปล่อยวางไปให้มันเกิดดับไป เราจะเฉยก็ได้อย่างนี้เป็นต้น มันดับไปแล้วเราจะเฉยกับมันก็ได้ ไม่มีปัญหา ยินดีที่มันหมดไป เมื่อมันดับไปแล้วก็ยินดีที่มันหมดไป แล้วก็เฉยกับมันก็ได้ หรือมันจะร้ายที่ตรงไหน ๆ เราจะเฉย เฉยเรื่องไหนเราก็เฉยได้หมด ถ้าเราไม่เอามาคิดไม่เอามาปรุงมาแต่ง เราก็สุขใจที่เฉยกับมันก็ได้ ถ้าเรามีความยินดีได้แล้ว ยินดีในการไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่สุขสมใจ ไม่ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ถ้าเรามีความยินดี พอใจ สุขใจ ในการที่เราไม่สุขสมใจ ไม่ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่อยาก ไม่ยึดมั่นถือมั่นได้แล้ว จากนั้นจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้าย เราจะมุทุแววไวที่จะชอบจะชัง หรือจะเฉยก็ได้ เราสามารถเลือกได้หมด อะไรที่เป็นประโยชน์คราวนั้น ก็เลือกเอา จะชอบ จะชัง หรือจะเฉย ทำอย่างยินดี พอใจสุขใจ ลึกซึ้งมาก ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะมีความลึกซึ้งเป็นลำดับ ๆ อย่างนี้ 

“ดูกร ปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัย มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมพระวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่”  

อภิรมย์อยู่หลายเหลี่ยมมุมเลยนะ อภิรมย์เพราะอะไร มันเป็นการยุติธรรมที่สุดใช่หรือไม่ ที่ทุกอย่างเป็นไปตามลำดับ ๆ ไม่มีใครลัดได้ แล้วก็ดีที่ให้เราได้อาศัยสุขไปตามฐาน มีสุขมีทุกข์ให้ได้อาศัยตามฐาน อยู่ฐานนี้ก็สุขอย่างนี้ ทุกข์อย่างนี้ ก็มีสุขมีทุกข์ให้ได้อาศัยตามฐานก็ยุติธรรมอยู่เหมือนกัน ก็เป็นฐานอาศัยได้ใช่ไหม ไม่ได้ให้เราต้องไปอาศัยเกินฐานเรา เกินฐานมันทุกข์ อาศัยไม่ได้หรอก เกินฐานเนี่ยมันไม่ไหวนะ จะอธิบายอย่างไรดี 

เกินฐานเนี่ย เคยเป็นบ้างหรือไม่ เราชอบกินอะไรบางอย่าง คือของกินบางอย่างเราก็ชอบมาก บางอย่างเราก็ชอบปานกลาง บางอย่างเราก็ชอบน้อย บางอย่างเราก็เลิกชอบได้แล้ว บางอย่างเราก็ตัดได้อย่างสบาย ๆ ใช่ไหม ของกินบางอย่างเราตัดได้สบาย ๆ อย่างเช่น บางท่านสามารถเลิกทานเนื้อสัตว์ ตัดได้แบบสบาย ๆ บางท่าน เหล้า บุหรี่ ของกิน ของเสพ บางท่านก็ตัดได้สบาย ๆ ใช่หรือไม่ แต่บางท่านก็ตัดได้ยาก บางท่านก็ตัดเรื่องเหล้า เรื่องบุหรี่ ตัดได้ง่าย สบาย ๆ แต่พอจะมาตัดให้เลิกทานเนื้อสัตว์ก็จะรู้สึกยากหน่อย แต่บางท่านตัดเนื้อสัตว์ได้สบายแล้ว เหล้า บุหรี่ ก็ตัดได้ เนื้อสัตว์ก็ตัดได้ แต่พอจะให้ตัดขนม โอ๊ย ! จะเป็นลม เค้ากล่าวไว้ว่าหวานเป็นลมขมเป็นยา แต่ในความรู้สึกของคนที่ติดรสหวาน จะรู้สึกว่าหวานเป็นยา ถ้าไม่ได้รับรสหวานนี่แหละจะเป็นลมเอา  มีบ้างหรือไม่ ไม่กินเนื้อสัตว์สามารถทำได้  แต่จะไม่ให้กินของหวาน ไม่ให้กินขนม โอ้ ! ไม่รอด ๆ ชีวิตนี้ แต่ถ้าต้องทำก็ทำได้เหมือนกันแต่ยากมากขมขื่นเหลือเกิน อะไรอย่างนี้เป็นต้น 

เพราะฉะนั้นบางอย่างเราก็ตัดได้ง่ายแต่บางอย่างเราก็ตัดได้ยาก เพราะฉะนั้นอะไรที่มันเครียดเกินไป แล้วเราไปตัดมัน ถามว่ามันจะสุขหรือมันจะทุกข์ละ  มันทุกข์ใช่หรือไม่ เพราะกิลมถะเกินไป ทรมานตัวเองเกินไป มันก็ไม่ไหว มันไม่บรรลุด้วยนะ ไม่ใช่จะกำจัดมันไปได้ด้วย แบบนั่นมันยังทุกข์ใจอยู่ มันเกินฐานไม่ใช่จะกำจัดมันได้ เมื่อกำจัดมันไม่ได้ แล้วคุณก็ไปท้ารบ ท้าชก กับมวยข้ามรุ่น นี่นะ โอ้โห ! เขารุ่นใหญ่ คุณรุ่นเล็ก ถ้าคุณโง่ก็ชกไปสิ  ใครมันจะถูกชกละ เอ้า ! ก็ชกไปสิ ใครมันจะปากแตก ใครจะถูกน็อคก็ลองดู เกินฐานนะ ใครจะถูกน็อค เรารุ่นเล็ก ไปชกกับรุ่นใหญ่ใครจะถูกน็อค รุ่นเล็กก็ถูกน็อค รุ่นใหญ่ใส่ดอกเดียวก็หงายหลังแล้ว ในเมื่อมันเกินฐานก็อย่าไปท้าชก เขาจะเอายังไงก็แล้วแต่เขา เพราะเขาใหญ่กว่าเรา เราสู้ไม่ไหว มันต้องชกกับฐานเดียวกัน แต่ถ้าเราไปหย่อนยาน ไม่เลื่อนฐานอยู่ ก็มีวิบากร้ายนะ มันก็มีเรื่องร้ายนะ หย่อนยานเสพไปเรื่อยเลยทั้ง ๆ ที่เราก็เลิกได้ มันก็จะมีวิบากร้าย 

เพราะฉะนั้นอะไรที่เราพอที่จะท้ารบได้ พอจะฝืดจะฝืนได้ พอจะลดละเลิกได้ โดยที่ไม่ยากไม่ลำบากเกินไป อยู่ในขีดตั้งตนอยู่บนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง  ยังเบิกบานได้ ยังสดชื่นได้ เรายังสามารถลดกิเลสนั้นได้นั่นแหละ  ไม่เครียดเกินไป ไม่กิลมถะเกินไป ลำบากในขีดที่เบิกบาน ไม่ทรมานจนเบิกบูด แล้วเราก็ไม่ไปหย่อนยานจนย่ำแย่ ไม่ได้ไปหย่อนยาน ไปเสพจนแย่ไปหมด  แต่ก็ต้องไม่ตึงเครียดจนแย่เกินไปนี่แหละ ให้มันลำบากในขีดที่เราเบิกบานได้ ในขีดที่สดชื่นได้ ในขีดที่สู้กับกิเลสได้ เอาขีดนั้นแหละ เป็นฐานที่เราต้องปฏิบัติ 

นี่เป็นกรรมฐานที่เราต้องปฏิบัติอยู่ในขีดนี้ เราก็ปฏิบัติไปทีละอย่าง ทีละอย่าง สลายสุขสมใจ  ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจแทน โอ้ ! มันสุดยอดที่สุดแล้วชีวิต ก็ก้าวหน้าไปเป็นลำดับ ๆ อย่างนี้ลำดับของมันอยู่ตรงนี้ คนเราก็ต้องมีสุขที่จะได้อาศัย เราก็อาศัยสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ ตรงนี้แหละไปเป็นลำดับ แล้วก็อาศัยสุขที่ได้ดั่งใจ ในเรื่องอื่น ๆ เรื่องอื่น ๆ ก็เอา จนเป็นสุขที่ได้ดั่งใจ หรือ หรือทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ แต่ว่าเราสลายมันไม่ได้มันก็จำนน ก็ต้องรับไป ก็จำนน ก็รับไป  แต่ตัวไหนที่เราสามารถสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ ก็ใช้เป็นฐานอาศัยของชีวิตเรา ในเรื่องนี้ก็ชนะตัวนี้ได้  โอ้ดี ๆ ๆ  นี่เราก็สุขที่ไม่ได้ดั่งใจตรงนี้ได้ อย่างนี้เป็นต้น หรือสุขตัวไหนที่เราอาศัยได้อยู่ เราก็อาศัย ก็อาศัยสุขที่ไม่ได้ดั่งใจไปตามฐานของตัวเองไปเป็นลำดับ ๆ ๆ หรือได้อาศัยอะไรที่เรา  โอ้ ! วางสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ  

ไปเอาไปอาศัยสุขที่ดีกว่าก็ได้ อย่างเช่นไปอาศัยสุขที่ไม่ได้ดั่งใจแบบนี้ ได้สุขที่ดีกว่าให้อาศัยก็ไปอาศัยสุขที่ดีกว่า ก็เป็นฐานไปเป็นลำดับ ๆ อย่างนี้แหละ เราฝึกไปก็จะเข้าใจไปเรื่อย ๆ นี่ โอ้โห! นี่แหละทำไปเป็นลำดับ ๆ อย่างนี้ จึงเป็นความน่าอัศจรรย์เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุ ทั้งหลายเห็นแล้วจึงอภิรมย์อยู่ 

โอ้โห ! อภิรมย์อยู่อย่างนี้ ดีเยี่ยมที่สุดเลย ไปเป็นลำดับ ให้คนไต่ มีบันไดให้ไต่ไปเป็นลำดับ ๆ มันก็น่าชื่นใจ น่าสุขใจอยู่ ยังมี โอ้โห ! เหลี่ยมมุมตามลำดับ อะไร ๆ อีกเยอะ อาจารย์ว่าเอาโครงสร้างหลัก ๆ ประมาณนี้ เสร็จแล้วพอปฏิบัติไป เอารายละเอียดประมาณนี้ปฏิบัติไปเถอะ แล้วก็จะเห็นรายละเอียดไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ จะเข้าใจไปเรื่อย ๆ โอ้ ! เป็นลำดับเป็นอย่างนี้นี่เอง ไปลัดขั้นก็ไม่ได้นะ โห ! ทุกข์มาก ไปติดแป้นก็ไม่ได้ ทุกข์มากอีก ไปติดแป้นอยู่อย่างนั้น เดี๋ยววิบากไล่ล่าทุกข์ใจทุกข์กาย เรื่องร้ายไล่ล่า ไม่เลื่อนฐาน หย่อนยานอยู่นั้นแหละ เสพอยู่นั้นแหละ โอ้ ! ทุกข์ใจทุกข์กาย เรื่องร้ายเล่นงาน ออกก็ไม่ได้ แก้อย่างไรก็ไม่ได้อยู่นั่นแหละ มันต้องเลื่อนฐานขึ้นไป มันถึงจะได้ อย่างนี้เป็นต้น เหมือนที่อาจารย์ยกตัวอย่างวันก่อน  หรือว่ายังซ้ำอีกทีก็ได้ ๒ – ๓ เรื่องก็จะเข้าใจชัด  ซ้ำอีกทีก็จะได้เข้าใจชัด บางทีฟังบรรยายไปนี่บางทีก็งง ๆ เมา ๆ อะไรอย่างนี้นะ ยกตัวอย่างเช่น บางท่านนี่ ฐานอยู่แค่ลดกินเนื้อสัตว์ แค่ลดเนื้อสัตว์เท่านั้นนะ หายโรคเลย ยังไม่ทันต้องเลิก แต่นานเข้า ๆ มันก็จะมาเป็นโรค มีโรค มีเรื่องร้าย แล้วก็แก้อย่างไรก็ไม่หาย ทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายแก้อย่างไรก็ไม่หาย นั่นแหละจะต้องเลิกเนื้อสัตว์แล้ว ลดเฉย ๆ ไม่ได้แล้ว ต้องเลิกแล้วเลิกไปทีละชนิดก็ได้ เลิกสัตว์ใหญ่ มากินสัตว์กลางแทน เลิกสัตว์กลาง มาเป็นสัตว์เล็กแทน เลิกสัตว์เล็กมากินนม กินไข่ อย่างนี้เป็นต้นนะ เลิกนม เลิกไข่ ก็มากินอาหารมังสวิรัติแบบอร่อย มังสวิรัติรสจัดอย่างนี้เป็นต้น

เราลดไปทีละอย่าง ทีละอย่าง โรค ทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้าย มันจะหายไป หายไป หายไป เรื่อย ๆ ๆ  มันก็จะหายไป หายไป ๆ โดยเฉพาะทุกข์ใจในเรื่องนั้น ๆ ทีนี้กินมังสวิรัติ เจ อร่อย ปรุงรสจัดอย่างโน้น อย่างนี้ ตามที่เราชอบนั่นแหละแล้วโรคก็หาย แต่พอนานเข้าโรคก็ไม่หาย นานเข้าก็ไม่หาย ก็จะต้องมากินจืด อย่างนี้เป็นต้น มันถึงจะหาย  ยกตัวอย่างนะอย่างนี้  มันจะเป็นไปตามลำดับ ลำดับอยู่ ทั้ง ๆ ที่บางทีโรคเดียวกัน อาการเดียวกัน แต่ก็ใช้วิธีการที่แตกต่างกันตามฐาน อาจารย์ยังเคยเล่า มันชัดเจนจริง ๆ เลยนะ เคยเล่าเรื่องราวของผู้ป่วยมะเร็งตับมาเข้าค่าย  กินต้มผักใส่เกลือ ต้มผักเพียว ๆ นี่แหละ ใส่เกลือนิดหนึ่งนี่แหละ กลืนไม่ลงกินยังไงก็กินไม่ลง ผู้ป่วยท่านนี้ก็มาหาอาจารย์ อาจารย์ครับผมรู้ว่ามันดีครับอาจารย์ ผมรู้ว่ามันดีครับ แต่ผมกินไม่ได้เลยครับ เข้าปากมันไม่ยอมกลืนเลยครับอาจารย์  มันเป็นอย่างไร ผมพยายามกลืนครับ  มันไม่กลืนครับ  มันไม่ลงคอเลยครับอาจารย์  มันมีจริงนะ มันไม่รับ มันไม่ มันไม่ลงคอครับอาจารย์  มันไม่ลง  มันกลืนไม่ได้จริง ๆ ผมไม่ได้แกล้งครับ ผมพยายามกลืนแล้วครับ กลืนไม่ได้ อาจารย์ครับผมขอใส่น้ำต้มกระดูกไก่ได้ไหมครับ ผมรับรองครับผมจะไม่กินเนื้อมัน ผมจะกินแต่น้ำต้มกระดูกไก่กับต้มผักนี่แหละครับ ผสมกันนี่ล่ะ  อาจารย์ก็ดูฐานจิตแล้วก็ต้องเป็นอย่างนี้แหละ ไม่เอาอย่างนี้ไม่ได้แล้วไม่ไหวแล้ว ฐานจะไปกินต้มผักเพียว ๆ ใส่เกลือเล็กน้อยนี่ไม่รอดแล้ว ฐานจิตไม่ถึง ความสุขฐานของท่านอยู่ตรงนี้ ละการกินเนื้อไก่ แต่มากินน้ำต้มกระดูกไก่แทน ฐานอยู่ตรงนี้ น้ำต้มกระดูกไก่ใส่ผักด้วยนะใส่ผักใส่เกลือเล็กน้อย 

อาจารย์ก็นึกถึงสมัยพระพุทธเจ้า สงฆ์นี่อยากกิน มีกิเลสนะอยากกิน มีอุปาทานอยากกินเลือดสัตว์นี่มากเลย ถ้าไม่ได้กินจะตายจะป่วยตาย ป่วยแล้วทำยังไงก็ไม่หาย 

โอ๊ย! จะตายเอา พระพุทธเจ้าท่านจึงอนุญาตนะ ผีเข้าแล้ว ผีกิเลสเข้า แล้วฐานอยู่ตรงนี้ถ้าไม่กินจะตายเอาจะลงแดงเหมือนคนติดยาเสพติดถ้าไม่ได้ จะลงแดงตายเอาจะเครียดมากจะลงแดงตายก็ต้องให้บ้าง อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ก็เหมือนกัน ก็ต้องให้บ้างจะต้องให้เลือดบ้างก็ยอมให้กินเลือดสัตว์ อันนี้ก็เหมือนกัน ไม่กินเนื้อไก่ได้ วางใจได้สามารถที่จะสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ สามารถสุขที่ไม่ได้ดั่งใจในการไม่กินเนื้อไก่ได้  แต่ไม่สามารถที่จะสุขที่ไม่ได้ดั่งใจในการไม่กินน้ำต้มกระดูกไก่ได้ มันไม่ไหว ฐานจะต้องได้กินน้ำต้มกระดูกไก่ จึงจะกลืนผักได้ อาจารย์ก็เห็นแล้วฐานอยู่ตรงนี้ ก็เอ้า ! ตกลง อาจารย์ก็ว่างั้น ผู้ป่วยท่านนี้ก็ไปทำอย่างไรก็ไม่รู้แหละนะ 

แต่วันรุ่งขึ้นมา อาจารย์ครับท้องยุบแล้วครับ อาจารย์ครับท้องยุบแล้วครับ ผมกินได้แล้วครับ ผมกินได้แล้วครับ ท้องยุบแล้วครับ ท้องยุบแล้วครับ ผมกลืนลงแล้วครับ  โอ๋…ขอบคุณอาจารย์มากครับ  นี่แหละเขาใส่น้ำต้มกระดูกไก่ลงไปเลยทำให้กินผักได้ ท้องยุบแล้วครับ ท้องยุบแล้วครับผมกินได้แล้วครับ โอ้…ผมรอดตายแล้วครับอย่างนี้เป็นต้น 

ฐานเขามันอยู่ตรงนี้นะ แต่ถ้าฐานอีกคนหนึ่งจะมากิน ฐานต้องเลิกกินน้ำต้มกระดูกไก่แล้วนี่นะ ติดแป้นตรงนี้มานานแล้ว ต้องเลิกตัวนี้แล้วนี่นะ ถ้ามากินก็จะป่วย ฐานอีกคนกินแบบนี้ไม่ได้จะป่วย ก็ต้องไปกินต้มผักเพียว ๆ  แล้วเขาก็ทำได้ด้วยนะ  เขาเลิกกินเขาเลิกสุขในน้ำต้มกระดูกไก่ได้เขาสามารถเป็นสุขในการกินต้มผักใส่เกลือได้ ต้มผักเพียว ๆ ใส่เกลือแล้วเขาก็มีความสุขได้ ฐานนี้เขาก็ต้องกินแบบนี้เขาถึงจะหายมะเร็งตับ หรือหายโรคอื่นๆ ของเขา ต้องกินต้มผักเพียว ๆ ทีนี้ถ้าคนที่ไม่เข้าใจ 2 คนก็จะมาทะเลาะกัน สูตรแก้มะเร็งตับ หรือโรคนั้นโรคนี้ที่เป็น สูตรแก้มะเร็งตับ มันต้องต้มผักใส่น้ำต้มกระดูกไก่ อีกคนนึงบอกไม่ได้ ฉันกินฉันจะตายแล้ว คนที่กินแล้วหาย เขาก็ว่าหาย  ไอ้คนที่มากินสูตรนี้จะตายเอาเพราะตัวเองไม่ใช่ฐานนี้ ตัวเองอยู่ในฐานที่ต้องเลิกน้ำต้มกระดูกไก่ มากินฐานนี้ตายพอดีเลย ไม่ได้  ฉันกินฉันจะแย่ ฉันไปกินน้ำต้มผักเพียว ๆ ใส่เกลือแล้วรอดมันต้องสูตรนี้ มันต้องสูตรนี้ คือสูตรรักษามะเร็งตับหรือโรคอื่น ๆ ก็แล้วแต่ที่เป็น อันนี้ยกตัวอย่างมะเร็งตับ ก็ทะเลาะกันเท่านั้นเองถ้าไม่เข้าใจว่ามันต้องยาของใครก็ของใครตามฐานของแต่ละคน ตามธาตุด้วยตามฐานด้วย  ธาตุแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน  ฐานก็ไม่เหมือนกันอย่างนี้เป็นต้น ณ เวลานั้นนะ แต่คนกินน้ำต้มกระดูกไก่นี้ก็เถอะ ถ้านานเข้านานเข้านานเข้า ถึงเวลาต้องเลื่อนฐานแล้วตัวเองยังไม่เลื่อนก็จะมีทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายที่แก้ไม่ได้  จะต้องเลื่อนฐานขึ้นไปต้องเลิกน้ำต้มกระดูกไก่จึงจะหาย อย่างนี้เป็นต้นนะเพราะฉะนั้น โอ๊ย!เราจะเห็นว่าโรคต่าง ๆ ที่เป็นโรคเหมือนกันเลยนะ แต่รักษาต่างกันมากเลย ตั้งแต่บางคนแค่ลดเนื้อสัตว์ก็หายแล้ว แต่บางคนลดเนื้อสัตว์อย่างเดียวไม่หาย คุณต้องเลิกด้วยถึงจะหาย เลิกแล้วมากินรสจัดจึงจะหาย นานเข้าก็จะไม่หายอีก จะต้องไปเลิกรสจัด มากินรสจืดถึงจะหาย  กินรสจืดต้องมีขนมด้วยถึงจะหาย ถ้าไม่มีขนมไม่หายตายอย่างเดียวไม่มีขนมตายอย่างเดียวหมดเรี่ยวหมดแรง  โอ้โห ! สูตรจะต้องกินรสจืดพร้อมขนมจึงจะหายโรค โอ้โห ! คิดดูซิแล้วมันจะมีกี่สูตรละเนี่ย  นานเข้าก็ไม่หายอีก เอ้า ! จะต้องกินไม่มีขนมกินจืดอย่างเดียว ไม่มีขนมถึงจะหาย โอ๋…คิดดูซิ โอ้ย ! มันจะมีสูตรรักษาโรคกี่สูตรล่ะเนี่ยนี่ขนาดพูดย่อ ๆ นะ จริง ๆ มันยังมีรายละเอียดกว่านี้อีกเยอะ 

ลดละเลิกแต่ละอย่างแต่ละอย่างนี่แล้วมาอาศัยฐานนึง ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ ถ้าคนไม่เข้าใจกันจะทะเลาะกันตราบโลกแตก ฉันว่ามันต้องอย่างนี้นะ ฉันหายมาแล้ว  อีกคนนึง บอกไม่ใช่ฉันกินอย่างนี้ฉันจะตาย โอย… ตกลงใครถูกใครผิดวะเนี่ย ใครถูกใครผิดล่ะ ก็ถูกทั้งคู่และผิดทั้งคู่นั่นแหละ   ถูกใครถูกเรานั่นแหละใช่หรือไม่ สิ่งที่ถูกต้อง ก็ถูกใครถูกเรา ส่วนสิ่งที่ผิดก็ผิดใครผิดเรานั่นแหละใช่หรือไม่ ถูกใครถูกเรานั่นแหละ ตามฐานของแต่ละคนเสร็จแล้วก็จะไปให้คนอื่นเหมือนตัวเองผิดไหม ก็ผิดนะสิ เพราะคนอื่นที่ไม่ใช่ฐานเท่ากับตัวเองไม่ใช่ธาตุเหมือนตัวเอง ธาตุก็ไม่เหมือนฐานก็ไม่เหมือน แล้วไปดึงกันมาให้เหมือน ถูกหรือผิด ก็ผิดใช่ไหม เออถ้าธาตุเดียวกัน ฐานเดียวกัน ใช้แล้วก็ดีขึ้นด้วยกันถูกหรือผิด ก็ถูกใช่ไหม อย่างนี้เป็นต้น 

มันก็อยู่ที่ธาตุที่ฐานด้วยเหมือนกัน มันไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ จะเหมือนกันไปหมด อันนี้แหละเป็นความยากจริง ๆ จะรักษาโรคถ้าไม่เข้าใจนี่น่ะมันจะยากอยู่ ตรงนี้จะทะเลาะกันไม่รู้จบแต่ถ้าเข้าใจก็ง่ายนะแต่ละคนถ้าเข้าใจก็เรียนรู้ธาตุของตัวเองถูกกับอะไร ณ ปัจจุบันนั้น ธาตุของเรา ฐานของเราถูกกับอะไร ณ ปัจจุบันนั้น เราก็ใช้ตัวนั้นไปเป็นลำดับ ๆ อย่างนี้เป็นต้น

หรือยกตัวอย่างอีกอันนึงเมื่อสักครู่ พูดถึงการยังติดอยู่ในชั่วอยู่ใช่มั้ย ตัวที่เป็นโทษเป็นภัยที่มันยังเบียดเบียน มาดูตัวติดดีก็เหมือนกันนะ มันต้องมีฐานแต่ละฐานที่ชีวิตแต่ละชีวิตจะต้องอาศัย 

ยกตัวอย่าง ตัวติดดีนี้ก็ชัดเจน เรื่องมีอยู่ว่า มีจิตอาสาท่านหนึ่งลูกสอบตก โอ้โห ! มันชัดเจนจริง ๆ ละนะ ทุกข์ที่ลูกสอบตกวางใจไม่ได้เลยทุกข์ ทุกข์ โอ๊ย ! ทำใจไม่ได้เพื่อนก็บอกให้ปล่อยวางเต็มที่ แต่ปล่อยวางยังไงก็ปล่อยวางไม่ได้ จะยกตัวอย่างโน้นนี้สารพัดอย่าง 

สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นจะไม่ทุกข์เป็นไม่มี โอ้โห ! แต่มันทุกข์น่ะ รู้ว่าวางน่ะมันดีแต่มันวางไม่ลง โอ้…วางไม่ได้เสร็จแล้วเป็นไง จะให้เหตุผลอะไรก็วางไม่ได้สักอย่าง สารพัดเหตุผลที่เพื่อนช่วยก็ไม่ได้  ก็ไปได้ธรรมะจากท่านสมณะท่านอาจารย์สอง ท่านอนุตตโร ท่านอนุตตโรก็ให้ธรรมะไปว่า ให้ปัญญาไป โอ๊ย! ลูกสอบตกน่ะมันดีแล้วมันจะได้อยู่วัดนาน เรียนโรงเรียนวัดไง เรียนโรงเรียนวัด  วัดอโศกนี่แหละลูกสอบตกก็ดีแล้วมันจะได้อยู่วัดนาน โอ๊ย ! ฟังเท่านี้โล่งเลยนะมันจะได้เก่งขึ้นด้วยนะ  เพราะอะไรเพราะมันเรียนซ้ำ ๆ มันจะได้เก่ง เออ…มันตกไม่เข้าใจอะไรก็จะได้เรียนซ้ำเข้าไปอีก เดี๋ยวจะได้เข้าใจมากขึ้นจะได้เก่ง กลายเป็นว่า โอ้โห ! โล่งเลยวางใจได้สามารถจะมีความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจในลูกสอบตก ในประเด็นลูกสอบตกใช่ไหมได้ดั่งใจก็คือลูกสอบผ่านใช่ไหม อันนี้สามารถวางสุขตัวนี้ได้ วางสุขที่ได้ดั่งใจในลูกสอบผ่าน และก็ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจที่ลูกสอบตก ก็สามารถวางสลายตัวนี้ได้  ไปเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ใช่ไหม นี่แหละไม่ได้ดั่งใจนี่แหละลูกสอบตกนี่แหละ ก็สามารถเป็นสุขได้เพราะมีฐานให้ตัวเองได้อาศัย คือลูกอยู่วัดเป็นฐานที่ดีกว่าใช่หรือไม่ ลูกสอบผ่านยังไม่ดีเท่ากับลูกได้อยู่วัดนานนะ ลูกอยู่วัดนานดีกว่าใช่ไหม 

ดีกว่าลูกสอบผ่าน ถึงลูกจะสอบตกหลาย ๆ วิชาก็ดีเหมือนกัน มันจะได้อยู่วัดนาน ๆ ตกมันทุกวิชาเลย อยู่ไปตลอดชาติเลย ยิ่งดีเลยใช่ไหม ลูกได้อยู่วัดนาน โอ๊ย! ลุ้นเลย สาธุ จงตกไปทุกวิชาเลยลูก อยู่วัดไปทั้งชีวิตเลยไม่ต้องสอบผ่านก็ได้ใช่ไหม ก็วางใจได้เพราะได้สิ่งที่ดีกว่าแล้วใช่ไหมอย่างนี้เป็นต้น 

เสร็จแล้วก็มีเพื่อนหวังดีอีกนะผู้หวังดีผู้มีปัญญาแต่ไม่ฉลาด ไม่รู้จะว่าไงนะ ผู้มีปัญญาแต่ปัญญาไม่เต็มรอบ ต้องการให้ท่านเลื่อนฐานสูงขึ้นไปอีก เพื่อไม่ให้ท่านทุกข์ ปรารถนาดีไม่ให้ท่านทุกข์ บอกอีกนะว่าอย่างไรก็ตาม นี่มันก็ดีแล้ว  วางได้ก็ดีแล้ว  จริง ๆ แม้แต่ลูกจะอยู่วัดไม่ได้ ก็ต้องวางใจให้ได้ สุขใจให้ได้นะ  โอ๊ย ! เป็นลมเลยหน้ามืดเลย ไม่ได้เลย  คิดอย่างไรก็คิดไม่ออก พูดได้แต่ทำใจมันทำไม่ได้นะใจมันทุกข์ ถ้าลูกไม่ได้อยู่วัดทุกข์อย่างเดียวเลยหาเหตุผลอะไรก็ฟังไม่ขึ้น  เหตุผลอะไรก็ไม่เข้าแล้ว   ไม่เข้าแล้ว โอ๊ย ! ว่าจะเป็นวิบากกรรม 

มันต้องเป็น อย่างไรต้องทำใจให้ได้ ได้ใช้วิบาก จะได้โชคดีขึ้น  สละสุขสมใจไปเอาสุขที่ไม่สมใจดีที่สุด ไม่มีภัยต่อใคร ให้ไปเถอะเหตุผล  เป็นประโยชน์ที่สุด ไม่เข้ามืดตึ๊บเลยนะ  มืดตึ๊บไม่เข้า  ยิ่งพูดยิ่งจะทะเลาะกัน มึนหัวยิ่งไม่สบายใจ ยิ่งทรมานใจ เพราะฉะนั้นฐานเค้าอยู่ตรงนี้ เขาจะมาเอาฐานที่สูงกว่า มาอาศัยฐานสูงกว่าฐานที่เค้าต้องอยู่ได้มั้ย  มันก็ไม่ได้ มาอาศัยฐานสูงกว่านั้นไม่ได้ ต้องอาศัยฐานนั้นไปก่อน มีความสุขที่ลูกอยู่วัดนานไปก่อน  มีความสุขแม้ลูกสอบตก ถึงลูกจะสอบตกแต่ลูกได้อยู่วัดนาน อยู่ฐานนี้ไปก่อน นี่ก็ฐานอาศัย ดีขนาดนี้ก็เป็นฐานอาศัยได้ ถ้าให้ได้ปรมัตถ์ กว่านั้น  โอ้โห! ให้ได้พุทธะกว่านั้นได้สมใจมากกว่านั้นไม่ได้ เกินฐาน เกินกำลัง อย่างนี้เป็นต้น  สัจจะเป็นอย่างนี้ ถ้าเกินกำลังก็เอาเท่านั้นก่อน  

ขนาดพระพุทธเจ้าเทศน์สอนไป อ้าว !ไม่ต้องอะไรมากเลย ยสกุลบุตรท่านมีบารมีนะ 

โอ้โห ! สอนไปคราวแรกยังเป็นอรหันต์ไม่ได้เลย  พระพุทธเจ้าสอนไป ยังเป็นโสดาบัน คราวแรก เห็นมั้ย… ขนาดมีบารมีมาก พระพุทธเจ้าสอนไปยังเป็นอรหันต์ไม่ได้ ท่านก็เอาแค่นั้น โสดาบันก็โสดาบันก่อน  พ้นทุกข์ระดับโสดาบัน สุขระดับโสดาบัน  อนุปุพพิกถา ๕ สอนไปได้โสดาบัน ครั้งที่สองสอนพ่ออีก  นั่งฟังพ่อมาตามลูก  ตามหาลูก  พระพุทธเจ้าสอนพ่อเลยสูตรเดียวกันเลย ครั้งที่สองเป็น อรหันต์เลย อย่างนี้เป็นต้น   อย่างนี้ ขนาดเห็นว่ามีบารมีมา  ยังสอนคราวเดียวไม่ได้  บารมีของท่านต้องสอนสองครั้งจึงจะพ้นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น บางคนอย่าว่าแต่สองครั้งเลย แม้ครั้งที่สาม แม้ครั้งที่สี่ แม้ครั้งที่ห้าก็ยังงงเหมือนเดิม บางคนต้องครั้งที่สิบ ครั้งที่ยี่สิบ ครั้งที่ร้อย จึงจะเข้าใจได้ จึงจะพ้นทุกข์ได้ เผลอ ๆ มากครั้งกว่านั้นอีกก็มีก็  แล้วแต่ใครจะอยู่ครั้งไหน  ครั้งไหน บารมีอยู่ที่เท่าไหร่ ฟังครั้งที่เท่าไหร่ แล้วก็พากเพียรปฏิบัติครั้งที่เท่าไหร่จึงจะพ้นทุกข์ได้ก็พากเพียรเอาตามฐาน อย่างนี้เป็นต้น บางท่านก็ครั้งเดียวพรวดเลยก็มี  ครั้งเดียวพรวดจริง ๆ ไม่ใช่ว่าท่านไม่ได้ทำมาก่อน  เพราะทำมาก่อนแล้วจึงทำได้เร็วทีนี้     ปู้ด ๆ ๆ บำเพ็ญมาเร็ว มันเร็วสายฟ้าแลบ  ดูยาก ทั้งนี้ก็ทำไปตามลำดับ อ้าว ! แต่ละคนก็เรียนรู้ความพ้นทุกข์ ไปเป็นลำดับ  มีฐานอาศัยไปเป็นลำดับ

ออกจากเนื้อไก่ก็อาศัยน้ำต้มกระดูกไก่ ใส่ผัก ออกจากเนื้อไก่ใส่ผัก มาเป็นน้ำต้มผักใส่เกลืออย่างนี้เป็นต้น ก็มีอาศัยไปเป็นลำดับ ๆ ของแต่ละท่าน ๆ แต่ละเรื่อง แต่ละราว บางคนเขาติดเพลงมาก ไม่ได้ฟังเพลงไม่ได้นะชีวิต ไม่มีชีวิตชีวา หดหู่ห่อเหี่ยวจะเป็นจะตาย เลยนะ โอ๊ย! ตาย ๆ ๆ มีคำกล่าวว่า ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดาน เป็นคนชอบกลนัก เอ๊ะ! แสดงว่าพระอรหันต์ ชอบกล  ไม่มีดนตรีก็มีสุขได้ แค่ได้ดั่งใจก็สุขมากแล้ว แค่ไม่ได้ดั่งใจ

ก็สุขที่สุดแล้ว จริง ๆ ท่านไม่ได้ชอบกลหรอก แต่ชอบกลสำหรับคนทั่วไป  แต่ว่าสำหรับพระอรหันต์ไม่ได้แปลกอะไร อย่างนี้เป็นต้น  อ้าว ! ทีนี้คนที่ติดดนตรีจะไม่ให้ฟังเพลงก็ไม่ได้ มันรู้สึกไม่ไหว ฐานเขาต้องอาศัยเพลง ทีนี้พอฐานต้องอาศัยเพลงจะให้เลื่อนฐานทำอย่างไร เอ้อ! ต้องไปเลือกชนิดเพลง จากเพลงชั่ว ๆ เป็นเพลงดี ๆ  ใช่มั้ย  ได้ฐานอาศัย ค่อยยังชั่ว หายใจหายคอได้  จะให้เลิกฟังเลย เอ้ย! เป็นลม ไม่ได้  หมดแรง จะตายเอา ฐานอาศัย ก็ต้องฟังเพลงก็ฟังเพลง ฟังเพลงดี ๆ ก็ได้  อย่างนี้เป็นต้น นี่คือความลึกซึ้งของการเป็นไปตามลำดับ ๆ นี่ก็อธิบายประมาณหนึ่ง เรื่องไหน ๆ ก็แล้วแต่ก็เป็นฐานอาศัยของแต่ละคน ๆ

แต่งเนื้อแต่งตัว แต่งกายเรียบร้อย แต่ละคนชอบแต่งเยอะแยะไปหมดเลย จะไม่ให้แต่งเลยไม่ได้ จะใส่ชุดมอซออะไรบ้าง ก็ต้องให้มีตราอะไรมาติดหน่อย  ติดหน่อย ประดับตรงนั้น ตรงนี้หน่อย ก็ต้องมีของเขา ฐานเขาจะไม่มีเลยเขาจะรู้สึกว่าเขาจะไม่รอด  ต้องมีประดับอะไรสักอย่าง  เอาออกไปเยอะแล้วหละ เหลือหน่อยหนึ่ง ต้องมีผ้าเฉลียงหน่อย แล้วแต่  ถ้ามียอย ๆ อะไรหน่อย อุ้ย! เท่านี้พอแล้ว น้อยหนึ่ง ไม่มีเลยไม่รอด มีสักหน่อยหนึ่งค่อยยังชั่ว อะไรอย่างนี้เป็นต้น  หรือถ้าเป็นผ้าจะมาใช้สีล้วน ๆ ก็ไม่ได้ต้องมีลาย ๆ เอ้อ..ค่อยหายใจได้ เก่งไปกว่านั้นก็ผ้าล้วน ๆ อะไรอย่างนี้เป็นต้น   แต่ละฐานแต่ละชีวิต ๆ ให้มีฐานได้อาศัยไปเป็นลำดับ ๆ ใครจะอยู่ลำดับไหน ๆ ก็มีรายละเอียดเยอะ ถ้าพูดให้หมดคนพูดจะตายก่อน  คนพูดก็ต้องมีฐานอาศัยเหมือนกันคือ พูดพอประมาณ  ถ้ามากกว่านั้นจะตายเอา เพราะกิเลสคนมันเยอะเหลือเกิน ก็ยกตัวอย่างเอาที่มันพอเป็นพอไป พอเข้าใจได้อย่างนี้เป็นต้น  ก็ไปพิจารณาไปตามนั้น  ลด ละ เลิกไปตามลำดับสิ่งที่เป็นโทษ เป็นภัย สิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิต  ลด ละเลิก เป็นลำดับ แต่ต้องมีฐานอาศัยเป็นลำดับ ๆ ฐานแห่งความสุข 

คนเราอาศัยความสุขอยู่  ความรู้สึกสุขใจ  อาศัยไปเป็นลำดับ ๆ แม้แต่ดีก็ต้องลด ละ เลิก คือดีนั้น ถ้าทำได้ทำไปเลย ทำได้ทุกเรื่องเอาไปเลย แต่ช่วงไหนดีที่เราอยากได้ แต่ทำไม่ได้เราต้องฝึก ที่ไม่สมใจในดี ในดีที่มันดีน้อยก่อน  ดีที่มันมีความสำคัญ น้อยก่อน  รู้สึกว่ามีประโยชน์น้อยมีความสำคัญน้อย ละตัวนี้ให้ได้ก่อน  แล้วค่อยสุขสมใจในดีที่มีความสำคัญมากขึ้น ๆ มันก็มีลำดับของมัน ก็เรียนรู้อย่างนี้ไป  อธิบายหลักการประมาณนี้ก่อนทำไปตามลำดับ   แต่ละเรื่องก็ยังมีซ้อนเข้าไปอีก กามภพ  รูปภพ อรูปภพ แต่ละเรื่องก็เริ่มต้นที่ละเมิดทางกาย ทางวาจา ผิดศีลทางกาย ทางวาจา ลดลงไป ไม่ผิดศีลทางกาย ทางวาจา 

ให้มันเหลืออาการอยู่แต่ในใจที่เด่น กับไม่เด่นอีก มันยังเยอะ ที่เด่น ๆ อยู่ที่จับได้ง่ายอยู่เรียกว่า รูปภพ  จากกามภพที่ละเมิดทาง กาย ทางวาจาอยู่ก็มาเหลือ รูปภพ  ไม่ละเมิด ทางกาย ทางวาจา แต่ยังมีอาการทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจที่เด่นอยู่ ก็สลายไปอีก ก็เป็นอรูปภพอีก  เหมือนจะมีเหมือนจะไม่มีแต่ยังไม่แช่มชื่นอยู่   เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็เป็นอรูปภพ ไม่เป็นรูป ชัดก็สลายไปอีกจนพ้นทุกข์ในที่สุด แม้ ไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ สมบูรณ์แบบในเรื่องนั้น ๆ  อย่างนี้เป็นต้น ก็มีหลายมิติ เรื่องของการปฏิบัติไปเป็นลำดับ ๆ รับรองมีแต่ดีขึ้นไปเป็นลำดับ ๆ ให้คนได้อาศัยสุข ทุกข์  ตามฐานของตัวเอง  อ้าวต่อไป อันที่สอง

“ดูกรปหาราทะมหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด สาวก ทั้งหลายของเรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต” โอ้! ใครจะแปลออกหนอ คืออะไร

“ดูกรปหาราทะ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต”  นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ นี่แหละ ชื่นชมยินดี โอ้โห! อันนี่แหละ ใช่เลย ถูกต้องเลย  ยินดี พอใจ สุขใจ อยู่กับอันนี้ อภิรมย์ นี่คือ สุขใจ มีความสุข  อภิรมย์ อภิ ก็ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น รมย์ ก็คือ อารมณ์นั่นแหละ อารมณ์ที่สุข ที่ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ มีอารมณ์สุข ชื่นใจ พอใจในการเสพ อาศัยสิ่งนี้อยู่ คืออะไรเนี่ย ประการที่ ๒ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต คืออะไร นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ที่ไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่  จึงสุขใจพอใจ ในการเสพอาศัยสิ่งนี้อยู่ 

คำว่า สาวกทั้งหลายของเรา คือ สาวกแท้นะ  ผู้ที่ปฏิบัติได้มรรคได้ผลแล้วนะ ผู้ที่ปฏิบัติได้มรรคได้ผล ที่ได้อันยอดเยี่ยมแล้วจะไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท ที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ก็เรียกว่า แม้ตายก็จะไม่ล่วงละเมิด ไม่ล่วงสิกขาบท ก็คือ ไม่ทิ้ง คำว่าล่วงสิกขาบทก็คือ  ทิ้งบทที่จะศึกษา ทิ้งบทในการศึกษานี้ เนื้อหา สถานการณ์นั้นน่ะ มีเนื้อหาสาระอะไรที่จะต้องปฏิบัติ ไม่ทิ้งเนื้อหาสาระที่จะต้องปฏิบัติ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ แม้จะต้องตายก็ตาม เหมือนอย่างที่องค์สมณโคดมตอนบำเพ็ญพระโพธิสัตว์นี่แหละ ท่านก็กล่าวว่า เราไม่ได้ตามรักษาชีวิตของเรา แต่เราตามรักษาศีลของเรา เรียกว่า รักศีลยิ่งชีพ เสียชีพอย่าเสียศีล แต่ศีลนี่เป็นศีลที่ลึกซึ้งที่สุด สูงที่สุดนะ ไม่ใช่ศีลแค่ สีลัพพตุปาทาน สีลัพพตปรามาส นะ 

แต่เป็นอธิศีลหรืออริยศีล เป็นศีลที่อาจารย์กล่าวเกริ่นตั้งแต่เบื้องต้นนั้นแหละ คือเป็นศีลที่สามารถวิราคะ ถ้าศีลไปจนถึงศึกษาราคะ สุขสมใจแล้วก็วิราคะ ละหน่ายคลายสลายราคะสุขสมใจได้ แล้วไปเอาสุขที่ไม่ได้สมใจได้ สลายสุขสมใจ สลายทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ สลายทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล ไปเอาสุขที่ไม่ได้สมใจได้ อันไม่มีภัยต่อใครและเป็นประโยชน์ ต่อทุกชีวิตตลอดกาลนาน เข้าถึงอันนี้ได้แล้วไม่มีใครทิ้งอันนี้ เข้าถึงอันนี้ได้ จะไม่มีใครทิ้งสิกขาบทอันนี้ 

ถ้าปฏิบัติแบบนี้แล้วได้ผลเช่นนี้ จะไม่มีใครทิ้ง ผู้ที่เข้าถึงแล้วจะไม่มีใครทิ้ง เพราะอะไร เพราะดีที่สุด สุขที่สุด มีชีวิตอยู่ก็สุขใจ ตายก็สุขใจ อยู่ก็เป็นสุข ตายก็เป็นสุขนั่นเอง เรายังสุขต่อไปในภพชาติอื่น ๆ สืบไป เพราะได้ข้ามภพข้ามชาติไปด้วย ถ้าไม่ปรินิพพาน 

แต่ถ้าอยู่ก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์ มีประโยชน์อะไรไหม มีไหม ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่โทษแต่ทุกข์ใช่หรือไม่ อยู่ก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์ ปัดโธ่เอ้ย! มันจะมีประโยชน์อะไร เสียชาติเกิด เสียชาติตายจริง ๆ โอ้! ไม่รู้จะอยู่ตรงไหน จะไปอยู่ตรงไหน จะไปอยู่ตรงเกิด หรืออยู่ตรงตายดีละ เกิดก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์ มันเสียชาติเกิด เสียชาติตายจริง ๆ แล้วจะให้ไปอยู่ตรงไหนเนี้ย จะให้ไปอยู่ตรงเกิดหรือตรงตายเนี้ย มันไม่มีที่อยู่เลยนะ ใช่ไหมถ้าเกิดก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์เนี่ยนะ อยู่ก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์  มันก็มีแต่โทษ มันก็มีแต่ทุกข์ มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย เห็นไหมคนไม่มีศีลแท้เนี่ยนะ อยู่ก็เป็นทุกข์ ตายก็เป็นทุกข์ มันไม่มีค่าอะไรเลย อยู่ก็ไม่มีค่า ตายก็ไม่มีค่า ใช่ไหม 

แต่หากอยู่ก็เป็นสุข ตายก็ไปสุข เป็นไง เป็นสุขชาติต่อ ๆ ไปอีก แบบนี้ดีไหม มันก็ดีใช่ไหม แล้วอะไรล่ะที่จะทำให้ได้อันนั้น ศีลที่เป็นอธิศีล ที่เป็นอริยศีลที่แท้จริง ศีลที่สมบูรณ์  ศีลที่สมบูรณ์ อริยศีลที่สมบูรณ์นั่นแหละ  คือสิ่งที่ควรได้ควรเป็นควรมีที่สุด  ถ้าได้แล้วจะรู้เลยว่าสิ่งนี้มีค่ายิ่งกว่าชีวิต สิ่งนี้มีค่ายิ่งกว่าชีวิต อริยศีลที่สมบูรณ์มีค่ายิ่งกว่าชีวิต พระพุทธเจ้าถึงตรัสอานิสงส์ของศีลว่า ไม่มีภัยใด ๆ เลย อานิสงส์ของอริยศีลที่สมบูรณ์ไม่มีภัยใด ๆ เลย เหมือนกษัตริย์ได้มุรธาภิเษกกำจัดราชศัตรูได้แล้ว ไม่มีภัยใด ๆ เลย คล้าย ๆ อย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น นี่แหละ อริยศีลที่สมบูรณ์นั้นไม่มีภัยใด ๆ เลย มีแต่ประโยชน์สุขเท่านั้น 

ท่านจึงตรัสอานิสงส์ของศีลเอาไว้ อย่างนี้เป็นต้น สีเลนะ สุคะติง ยันติ  ศีลนำสุขมาให้ ถ้าปฏิบัติศีลแล้วยังทุกข์อยู่ ก็ยังไม่ใช่ศีลที่สมบูรณ์ ปฏิบัติศีลแล้วยังทุกข์ใจอยู่ ยังไม่ใช่ศีลที่สมบูรณ์ ปฏิบัติศีลที่สมบูรณ์ต้องไม่มีทุกข์ใจ มีแต่สุขใจเท่านั้น สุขใจอมตะนิรันดร์กาลด้วย สุขใจตลอดกาลด้วย ถ้าใครยังไม่ได้สุขใจตลอดกาลผู้นั้นยังไม่ได้ศีลที่สมบูรณ์ในเรื่องนั้น 

เพราะฉะนั้น สาวกทั้งหลายของเรา  พระพุทธเจ้าบอกสาวกแท้ ๆ เนี่ย จะไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้วเพราะเหตุแห่งชีวิต แม้จะต้องตายไป ก็จะไม่ล่วงสิกขาบท แม้จะต้องมีเหตุแห่งชีวิต คือตัวเองจะต้องตาย แม้ตัวเองจะต้องตาย ก็จะไม่ลบข้อปฏิบัติ แล้วก็ผลที่ได้จากการปฏิบัตินี้ทิ้ง  

สิกขาบท คือบทที่เราจะศึกษา บทนี้ก็คือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่กระทบชีวิต สถานการณ์ใด ๆ ก็แล้วแต่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส สถานการณ์ต่าง ๆ บทเรียนชีวิตนี่แหละ ความจริงของชีวิตนี่แหละ บทของชีวิตที่จะต้องศึกษา ที่จะต้องศึกษาการปฏิบัติแล้วก็ผล ให้ชีวิตได้สุขที่เป็นอมตะนิรันดร์กาล เมื่อได้แล้วจะไม่ลบทิ้ง จะไม่ลบอันนี้ทิ้ง เพราะอันนี้มีค่าที่สุด จะไม่ลบทิ้งเด็ดขาด นี่คือผู้ที่เข้าถึงแท้ ๆ แล้ว แต่ส่วนผู้ที่ไม่ได้ถึงอริยศีลอย่างนี้ จะยังไม่ถึงสภาวะนี้ 

หากยังไม่ถึงอริยศีล เช่นเป็น สีลัพพตุปาทาน ก็คือเป็นศีลพรตเขาทำตาม ๆ กันมา แล้วเขาว่ามันดี ก็ทำไปตัวเองอ่านกิเลสก็ไม่เป็น  ชำระกิเลสก็ไม่เป็น ใจลึก ๆ ก็อยากทำผิดศีลอยู่ แต่เขาว่ามันดี ก็เลยทำ เขาว่ามันดี สังคมว่ามันดี ก็ศรัทธาไปโดยไม่มีปัญญา ก็ทำแต่กายวาจาเป็นหลัก ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์ก็จริงแต่ลึก ๆ ก็อยากฆ่ามันอยู่ แต่เขาว่าฆ่าแล้วไม่ดีก็ไม่ฆ่า ยุงกัดเขาว่า อืม! นะ เอ็งเนี้ย! ถ้าว่าไม่มีบาปเนี่ยใส่ไปแล้ว อยากฆ่าอยู่เนี้ยยุงกัดเรา อืม! บี้ให้มันตาย แต่เขาว่ามันจะผิดศีล ไม่ได้ ไม่ได้ ไม่ทำ มันจะผิดศีล แต่ใจก็ อือหือ! วันนี้วันศีลด้วย วันศีล วันพระด้วย อืม! ถ้าไม่ใช่วันพระก็ใส่แกแล้ว ใจมันก็ยังทุกข์ที่ไม่ได้ฆ่าสัตว์ แต่ก็ไม่ฆ่าน เพราะว่ากลัวว่าจะผิดศีล แต่ทุกข์ที่ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ในศีลที่ยังไม่บริสุทธิ์ อ่านกิเลสไม่เป็น ฆ่ากิเลสไม่ได้  ไม่ได้กินสัตว์ ไม่กินสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่ก็ทุกข์ที่ไม่ได้กิน และก็ไม่รู้ว่านั่นคือกิเลส ก็กำจัดไม่ได้ แต่เขาว่าต้องถือศีล กินเจ อยากกินเนื้อสัตว์เท่าไหร่ ก็อดทนไว้ ต้องไม่กิน เพราะนี่คือการถือศีลกินเจ เขาว่าเป็นบุญเป็นกุศล เป็นยังไงก็ไม่รู้บุญกุศลนี่ เขาว่าเป็นบุญเป็นกุศล แต่ก็อยากกินอยู่ อยากกินอยู่ แต่ว่าเดี๋ยวมันจะผิดศีล เดี๋ยวมันจะไม่ได้บุญกุศล เดี๋ยวมันจะได้บาป บาปเป็นยังไงก็ไม่รู้ บุญเป็นยังไงก็ไม่รู้ กุศลเป็นยังไงก็ไม่รู้ ไม่รู้ 

นี่คือ สีลัพพตุปาทาน  อุปาทาน สีลัพพตุปาทาน ก็ยึดตาม ๆ กันไป โดยที่ไม่ได้มีปัญญา ไม่ได้มีปัญญาอ่านกิเลส ไม่มีปัญญาล้างกิเลส เพราะฉะนั้นก็นี่แหละ จะเป็น การฆ่าสัตว์ การกินสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ก็ไม่สร้างหรอก 

โอ้โห! แต่มันรำคาญเหลือเกิน (เดี๋ยวตบบ้องหูสักที แต่มันผิดศีล…ไม่ทำ) ไม่ถูกศีล ไม่ได้ ไม่ทำ  ใจอยากตบบ้องหูเหลือเกิน ทำไม่ถูกใจเราเลย แต่ก็ยังดีนะ ก็ยังเป็นศีลที่กดข่มเอา ที่ล้างกิเลสไม่เป็น 

ไม่ลักขโมย ฉ้อโกง แต่จริง ๆ ลึก ๆ ก็ยังอยากทำอยู่ แต่มันจะผิดศีล ก็เลยไม่ทำ ไม่ประพฤติผิดในกาม แต่ลึก ๆ ก็ยังอยาก แต่มันผิดศีล ก็เลยไม่ทำ ไม่โกหก ลึก ๆ ก็ยังอยากทำอยู่ แต่มันผิดศีล ก็เลยกดข่มไว้เฉย ๆ ไม่ทำ 

สีลัพพตุปาทาน – ไม่รู้อาการของกิเลส ไม่รู้วิธีกำจัดกิเลส ก็ทำด้วยใจทุกข์ ๆ อย่างนั้น นี่คือศีลที่ยังไม่สมบูรณ์

ส่วน สีลัพพตปรามาส นี่ก็เป็นศีลที่ประมาท เหยาะ ๆ แหยะ ๆ ลูบ ๆ คลำ ๆ ไม่เอาจริง ดีขึ้นกว่า สีลัพพตุปาทาน มีเหตุมีผลมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เอาจริงจนถึงขั้น ล้างกิเลสให้สิ้นเกลี้ยง เพราะอะไร เพราะปัญญามันไม่แจ่มแจ้ง มันก็เหยาะแหยะ ๆ ก็พอรู้นะว่านี่คือกิเลสแต่ก็ไม่กล้าฆ่ากิเลส เพราะอะไร เพราะมีความรู้แค่ว่า แต่รู้ลึกซึ้งขึ้นนะ รู้ลึกซึ้งขึ้น ดีขึ้น แต่รู้แค่ว่า ถ้ามันผิดศีลไปนะ มันจะมีวิบากร้าย มันจะมีวิบากร้าย ถูกศีลมันจะมีวิบากดี ผิดศีลจะเป็นวิบากร้าย ผิดศีลจะเป็นวิบากร้าย จะดึงเรื่องร้ายเข้ามา เหตุการณ์ร้ายเข้ามา โรคเข้ามา แล้วมันจะมีโรค มีเรื่องร้าย แล้วใจเราก็จะเป็นทุกข์ มีโรค เรื่องร้ายเข้ามา ใจเราก็จะเป็นทุกข์ 

แต่ถ้าถูกศีลนี่นะ โอ้! มันจะมีร่างกายดี  มันจะทำให้ร่างกายดี มันจะมีวิบากดี ร่างกายดี ทำให้เกิดเหตุการณ์ดี ถ้าร่างกายเราดี เกิดเหตุการณ์ดี เราก็จะสุขใจ ว่าแล้วเราก็ไม่ผิดศีลดีกว่า รู้ลึกซึ้งขึ้น กาย วาจา ก็พยายามที่จะไม่ผิดศีล  ใจก็มีความสุข ประมาณนึงเหมือนกัน  แต่ว่าลึก ๆ มันก็ยังอยากได้ อยากผิดศีลอยู่  ไม่ได้ผิดศีลมันยังมีทุกข์อยู่ ใจมันมีสุขส่วนนึงที่ปฏิบัติศีล แล้วมันจะมีวิบากดี แต่ลึก ๆ มันก็ยังมีทุกข์ใจอยู่ มันอยากจะได้สุขสมใจในการผิดศีลอยู่ แล้วก็ไม่ล้างซักที เหยาะแหยะ ๆ อยู่อย่างนั้น ไม่ยอมล้าง  เพราะอะไร 

เพราะยังไม่มีปัญญาชัดว่า สุขที่ได้ดั่งใจ มันไม่เที่ยง ไม่มีจริง  มันเป็นทุกข์ตลอดกาล ไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็น ปัญญาไม่คม ไม่ชัด จึงไม่ยอมทิ้งสุขสมใจนั้นไป ก็เหยาะแหยะ ๆ อยู่อย่างนั้นเหยาะแหยะ ไม่ยอมทิ้ง ไม่ยอมสลาย ไม่ยอมพิจารณาโทษภัยให้มันเด็ดขาด ถ้าเขารู้ เขาทำแน่ แต่เขาไม่รู้ เขาก็เลย สีลัพพตปรามาส  เหยาะๆ แหยะ ๆ อยู่อย่างนั้น เลี้ยงกิเลสไว้อยู่นั่น จะฆ่ามันให้ตาย ก็ไม่ฆ่า ให้มันฆ่าเราอยู่อย่างนั้น ทรมานเราอยู่อย่างนั้น อย่างนี้เป็นต้น 

เขาก็ยังไม่ได้สุขที่มันเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เขาก็ยังมีสุขอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีทุกข์อยู่ มันไม่เด็ดขาด เป็นสีลัพพตปรามาส เหยาะแหยะ ลูบคลำอยู่อย่างนั้น ไม่เด็ดขาด ไม่เอาจริง ไม่กล้าสลายสุขสมใจในเรื่องนั้นทิ้ง  เพราะเขาไม่มีปัญญาที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น แต่ถือว่าดีมากแล้ว รู้เรื่องวิบากดีร้ายระดับนี้ ถือว่าสุดยอดเหมือนกัน ถือว่ารู้ระดับนี้ จะปฏิบัติก็ปฏิบัติได้ดีกว่า สีลัพพตุปาทาน ปฏิบัติได้ดีกว่า โอ๊ะ! ไม่ผิดศีลดีกว่าเป็นวิบากดี ผิดศีลเป็นวิบากร้าย แต่ใจลึก ๆ ก็อยากจะผิดศีลอยู่ เพราะลึก ๆ ถ้าได้ผิดศีลจะเป็นสุข ไม่ได้ผิดศีลจะเป็นทุกข์  และใจลึก ๆ อีกอันนึงก็ซ้อนเข้าไปอีก รู้เท่านี้ก็ยังไม่ได้พ้นทุกข์เกลี้ยงนะ เพราะอะไร  ใจลึก ๆ ยังมี  ได้ดีแล้วสุขใจ ชอบใจ ไม่ได้ดีแล้วทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ ชีวิตเผชิญกับสิ่งที่ดี ๆ ได้รับสิ่งที่ดี ๆ แล้วก็จะสุขใจ ชอบใจ แต่ถ้าไปเจอสิ่งร้าย ๆ แล้วเป็นไง  ถ้าไปเจอเรื่องร้าย ๆ ก็จะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ เพราะฉะนั้น ชีวิตที่ปฏิบัติศีล นี้เพื่ออะไร  ก็เพื่อจะได้ไม่เจอสิ่งร้าย  ได้เจอแต่สิ่งที่ดี ๆ ถ้าเจอสิ่งดี ๆ สุขใจ ชอบใจ ไม่เจอสิ่งดี ๆ ทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ กลัวสิ่งดีจะไม่เกิด เกิดแล้วกลัวหมดไป กลัวสิ่งร้ายจะเกิด เกิดแล้วกลัวไม่หมดไป มันจะมีความกลัว กังวล หวั่นไหวอยู่ ลึก ๆ ก็ยังกลัว กังวล หวั่นไหวอยู่ ในประเด็นนี้อยู่ ยังไม่ได้พ้นทุกข์แท้จริง 

ชีวิต ต่อให้ทำดีแค่ไหน ๆ แต่ไม่ได้ล้าง ไอ้ตัวนี้ สุขที่ดีเกิด ไม่ชอบใจที่ร้ายเกิด ถ้าไม่ได้ล้างตัวนี้ ยังไงก็ต้องทุกข์ เพราะอะไร ต่อให้เราทำดีแค่ไหน ๆ ถูกศีลทั้งทางกาย วาจา แม้แต่ใจที่รู้เรื่องวิบากดีร้ายระดับนี้ เราจะทำดีไปอย่างนี้ แต่ชั่วที่เคยทำมา หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ มันก็ต้องแทรกเข้ามาในชีวิตพอแทรกเข้ามาปุ๊บ เขาจะสุขใจ หรือ ทุกข์ใจ  เขาก็ทุกข์ใจไง เพราะอะไร เพราะเขาจะรู้สึกว่า ดีเกิดแล้วเป็นสุข ดีไม่เกิดแล้วเป็นทุกข์ นี่เขายังจะมาคาอยู่ตรงนี้ ดีเกิดแล้วเป็นสุข ดีไม่เกิดเป็นทุกข์ ก็ยังเป็นทุกข์ ดีเกิดแล้วเป็นสุข ดีไม่เกิดแล้วเป็นทุกข์ จนกว่าเขาจะมีปัญญารู้ชัดเจนว่า อันนี้ยังเป็นกิเลสอยู่นะ ยังเป็นกิเลสลึก  แต่เขาก็ลดความอยากได้สุขสมใจไปได้พอสมควร  แต่มันไม่เกลี้ยง มันจะไม่เกลี้ยงจนกว่าจะรู้กรรมดี กรรมชั่ว ระดับไตรลักษณ์ของกิเลส วิปลาส ๔ ของกิเลส แล้วก็อานิสงส์ของการไม่มีกิเลส อานิสงส์ หรือ ประโยชน์ของการไม่มีกิเลส  คือ รู้โทษของสุขสมใจนี่แหละว่ามันไม่เที่ยง ไม่มีจริง มันเป็นทุกข์ตลอดกาล ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี แล้วรู้ประโยชน์มันว่า ถ้าไม่มีมัน ไม่มีภัยต่อใครเลย ถ้าสลายมันไปได้ มันไม่มีภัยต่อใครเลย แล้วเป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิต  มีปัญญาแจ่มแจ้งอันนี้เท่านั้นแหละ จึงจะสลาย สุขสมใจ ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ไปเอาสุขที่ไม่ได้สมใจได้  ก็พ้นทุกข์ เกลี้ยงเลย เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลย ถึงจะไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้เพราะแม้เหตุแห่งชีวิต  ที่จะไปถึงลักษณะนี้ได้ จะไปถึงตรงนี้ได้ 

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ดูกร ปหาราทะ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิต แม้ตายก็จะไม่ล่วงสิกขาบท”  คือ  ไม่ลบสิกขาบททิ้ง ก็จะเอามาปฏิบัติจนถึงผล แล้วก็ถ่ายทอดให้คนอื่นต่อไป จะไม่ได้ทิ้ง ไม่ล่วงสิกขาบทเด็ดขาด ไม่ไปเปลี่ยนไปแปลง เพราะอันนี้ดีที่สุด สุขที่สุด เพราะฉะนั้นการเข้าใจเรื่องกรรม อย่างแจ่มแจ้ง มันก็มีหลายระดับระดับหยาบ ๆ ก็รู้โทษภัยหยาบ ๆ ทางด้านวัตถุ เป็นพิษ พฤติกรรมนี้เป็นโทษเป็นภัย วัตถุเป็นโทษเป็นภัย พฤติกรรมนี้เป็นโทษเป็นภัย อย่างนี้เป็นต้น 

สิ่งหยาบ ๆ ที่เป็นรูปธรรม เช่นเหล้าเป็นพิษ อาหารรสจัดเป็นพิษ อาหารเนื้อสัตว์เป็นพิษ เหล้าบุหรี่เป็นพิษ หรือพฤติกรรมที่สร้างความเดือนร้อนให้ตัวเองคนอื่นสัตว์อื่น มันชัดเจน หยาบ ชัด ๆ ก็เห็น ๆ รู้ ๆ ว่าอันนี้มันเป็นภัยต่อตนเองต่อคนอื่นสัตว์อื่นหยาบ ๆ เห็น ๆ อย่างนี้เป็นต้น ก็รู้หยาบ ๆ อันนี้ เช่น การฆ่าสัตว์ การกินสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การสร้างความเดือดร้อนต่าง ๆ ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น การลักขโมย ฉ้อโกง การผิดผัวเขาเมียใครลูกใคร การหมกมุ่นเรื่องเพศมากเกินไป การเสพรู้รสกลิ่นเสียงสัมผัสที่เป็นภัย การโกหก ตัวไหนที่เป็นโทษหยาบ ๆ ก็รู้ อันนี้ก็รู้ระดับหนึ่งก็จะควบคุมได้ประมาณหนึ่ง พอรู้ระดับกลาง รู้ว่าถ้าผิดศีล มีวิบากร้ายนะ ถ้าถูกศีลจะมีวิบากดี วิบากร้ายวิบากดีในระดับกายวาจา ในระดับเหตุการณ์ร่างกาย แม้จะเป็นใจ ก็เป็นเพียงแค่ว่าถ้าดีเกิดเป็นสุขถ้าร้ายเกิดเป็นทุกข์ ก็รู้วิบากกรรมระดับนี้อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ก็ละเอียดขึ้น ยากขึ้น อันนี้ละเอียดขึ้นยากขึ้น กว่าจะรู้อันนี้ได้ก็ยาก ๆ ๆ

กว่าจะรู้ ยิ่งรู้ว่าเป็นวิบากในภพชาติที่ทำส่วนหนึ่ง ชาติต่อไปส่วนหนึ่งและชาติต่อ ๆ ไปอีกส่วนหนึ่ง ก็ยาก อัตถิสุขตทุกขตานัง กัมมานัง พลัง วิปาโก รู้กรรมดีกรรมชั่วระดับนี้ก็ยาก รู้ขนาดนี้ก็จะละลดเลิกกิเลสไปได้มากพอสมควร ได้พอสมควรแต่ไม่เกลี้ยง จะยังไม่กล้าทิ้งสุขสมใจ และยังไม่รู้วิบากดีร้ายระดับโทษของกิเลสและประโยชน์ของการไม่มีกิเลส ไตรลักษณ์ของกิเลส วิปลาส ๔ ของกิเลส ประโยชน์ของการไม่มีกิเลส ยังไปไม่ถึงตรงนั้น ก็จะยังทิ้งสุขสมใจไม่ได้ เพราะลึก ๆ เวลาได้สุขสมใจก็ยังเป็นสุขอยู่ ถ้าไม่ได้สมใจก็ทุกข์อยู่ จนกว่าจะรู้ตัวนี้รู้ไตรลักษณ์ รู้วิปลาส ๔ ของกิเลส รู้ไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตนแท้ ความเป็นทุกข์ของกิเลส ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นตลอดกาล

รู้วิปลาส ๔ ของกิเลส กิเลสสุขสมใจมันไม่เที่ยง แต่มันก็หลงว่ามันเที่ยง มันหลงว่ามันเที่ยงตัวจริงนั้นไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์แต่มันหลงว่าเป็นสุข ที่เขาหลงว่าเป็นสุขตัวจริงมันคือเป็นทุกข์ ว่าสุข ๆ สุขที่สุด แต่จริง ๆ มันทุกข์ที่สุด ที่เขาว่าเที่ยงที่สุดแต่จริง ๆ มันทุกข์ที่สุด เขาว่าสุขที่สุดแต่จริง ๆ มันทุกข์ที่สุด ที่เขาว่า มันเป็นตัวเราของเราที่สุด แท้ที่จริง ๆ มันไม่เป็นตัวเราของเราเลย เขาว่ามันน่าเป็นน่ามีที่สุดแต่จริง ๆ มันไม่น่าเป็นน่ามีเลยอย่างนี้ เป็นต้น เขาว่ามันดีที่สุดแต่จริง ๆ มันเลวร้ายที่สุด อย่างนี้เป็นต้น เขาว่ามันเยี่ยมที่สุดแต่จริง ๆ มันแย่ที่สุด เขาว่ามันฉลาดที่สุดแต่ จริง ๆ มันโง่ที่สุดอย่างนี้เป็นต้น 

นี่มันเห็นความวิปลาสชัดเจนก็เลยสลายมันได้และเห็นประโยชน์ว่าถ้าสลายมันได้มีประโยชน์ อย่างไร โอ้โห ! เห็นว่าใจเป็นสุขอย่างไร ร่างกายแข็งแรงอย่างไร เกิดเรื่องดีต่อตนเองต่อผู้อื่นอย่างไร มีปัญญาชัดเจนแจ่มแจ้งจึงกล้าสลายมัน ถ้าไม่แจ่มแจ้งจะไม่กล้าสลายมันเด็ดขาด นี้คือสัจจะอย่างนี้ หอกสามร้อยเล่ม จะต้องคม หอก คือปัญญา ต้องแหลมคมต้องเสียบแม่น ๆ  เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน เสียบเข้าไปแม่น ๆ เสียบเข้าไป สุขสมใจนั่นแหละ ให้รู้ว่ามันเป็นโทษ เป็นทุกข์เป็นภัย สลายมันให้ได้ แกเป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยตายซะ ๆ ๆ สลายไปซะ ข้าไม่เอาแกแล้ว ใช้ปัญญาเสียบ ๆ มันเข้าไป พิจารณาทุกข์ โทษภัยมันเข้าไป พิจารณาความลวงความไม่เที่ยงความไม่มีตัวตนความเป็นทุกข์ ใส่เข้าไป ไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามี จนมันเถียง ไม่ได้แล้ว โอ้โห !…ถูกเสียบแบบนี้ใช้ปัญญาอันยิ่งเสียบมันเข้าไป ตายไปดีกว่าข้าอยู่ไปก็มีแต่ทุกข์ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรเลย อยู่ไปก็มีแต่ทุกข์ ข้าสลายดีกว่าคิดแบบนี้เข้าใจแบบนี้เลิกดีกว่า สลายไม่เอาแล้วสุขสมใจทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ไม่เอาแล้วก็หมด ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล มันก็ยินดีสลายไป เราก็ยินดีให้มันสลายไป เราก็เลยมีความสุขที่มันสลายไป ก็เลยมีความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ เพราะสุขที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลสลายไปจะกลายเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจแทน อย่างนี้เป็นต้น 

นี่แหละจึงเป็น “อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก” ผลวิบากของการทำดีทำชั่วมีอยู่ระดับสูงสุดเลย ปัญญาระดับสูงสุดเลยอันนี้ ระดับพุทธะสูงสุด ปัญญาสูงสุด ถึงจะได้ศีลสูงสุด ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระ ให้บริสุทธิ์คืออย่างนี้ เพราะฉะนั้น ปัญญาสูงสุดเท่านั้นจึงจะมีศีลสูงสุดได้ อริยปัญญาที่ประเสริฐที่สุดเท่านั้นจึงจะได้ศีลที่สูงสุด เป็นอริยศีลที่สูงที่สุด ที่ดีที่สุด สุขที่สุดไม่มีสิ่งใดเทียมเท่าและเมื่อได้อันนี้เท่านั้นแหละจึงจะไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้เพราะเหตุแห่งชีวิต แม้จะตายก็ไม่ทิ้งศีล เสียชีพอย่าเสียศีล รักศีลยิ่งชีพเพราะอะไร เพราะศีลสุขที่สุด ดีที่สุด แม้มีชีวิตอยู่ก็สุขที่สุดดีที่สุดเป็นอมตะนิรันดร์กาล แม้ตายไปเลยที่ ดีที่สุดเป็นอมตะนิรันดร์กาล ในอนาคตจะไปเกิดตรงไหน ๆ ก็ดีที่สุดสุขที่สุดเป็นอมตะนิรันดร์กาล

เพราะฉะนั้นความตายเป็นเรื่องเล็ก การอยู่หรือการตายเป็นเรื่องเล็ก แต่ศีลที่บริสุทธิ์แท้ ที่ประเสริฐแท้ สูงสุดแท้ สุขแท้ดีแท้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด สุขแท้ดีแท้ อมตะนิรันดร์กาลตราบปรินิพพานเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด สำหรับผู้ที่มีปัญญาที่สูงที่สุด จึงเกิดคำกล่าว ของพระโพธิสัตว์ที่ว่า  “เราไม่ได้ตามรักษาชีวิตของเรา แต่เราตามรักษาศีลของเรา” 

อยู่ก็เป็นสุขตายก็เป็นสุขดีหรือไม่ มันก็ดีที่สุด แต่ถ้าอยู่เป็นทุกข์ตายเป็นทุกข์ ดีหรือไม่ แบบนี้มันก็ไม่เห็นดีตรงไหนเลย เห็นไหมคนไม่มีศีล ไม่เห็นดีตรงไหนเลย อยู่ก็เป็นทุกข์ตายก็เป็นทุกข์มันไม่มีค่าอะไรหรอก มันมีแต่ติดลบคนเราต้องอยู่เป็นสุขตายเป็นสุขให้ได้ อยู่ก็เป็นสุขตายก็เป็นสุขดีที่สุดแล้ว แล้วอะไรจะทำให้อยู่เป็นสุขตายเป็นสุขได้ “ศีล”

แต่จะห้ามเกิด ห้ามอยู่ ห้ามตายได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหมคนเราจะไปห้ามไม่ให้มันไม่มีชีวิตอยู่ ห้ามไม่ให้มันตาย ได้หรือไม่ มันก็ห้ามไม่ได้ มันต้องอยู่มันต้องตาย ถึงคราวอยู่มันก็ต้องอยู่ ถึงคราวตายมันก็ต้องตาย ห้ามไม่ได้ แต่ห้ามทุกข์นั้นเราสามารถห้ามได้ ถ้ามีศีล ห้ามทุกข์ห้ามได้ ระหว่างอยู่กับตายกับสุข เอาอะไร จะเอาอยู่ เอาตาย หรือเอาสุข อะไรดีกว่า อยู่-ตาย-สุข อะไรดีกว่า เอาสุขก็ดีกว่าใช่ไหม ฟังชัดไหม สุขก็ดีกว่า อยู่-ตาย-สุข สุขก็ดีกว่า

คือ อยู่ก็สุข ตายก็สุข นั้นแหละเข้าใจไหม อยู่ก็เป็นสุขไง ตายก็เป็นสุขไง มันห้ามอยู่ ห้ามตายไม่ได้ไง แต่มันห้ามทุกข์ได้ ก็คือมันสุขได้ใช่หรือไม่ 

อยู่-ตาย-ทุกข์เอาอะไร อยู่-ตาย-ทุกข์ เอาอะไร ไม่เอาสักอัน อยู่ก็ทุกข์ตายก็ทุกข์อยากได้หรือเปล่า ถ้าคุณห้ามอยู่ก็ไม่ได้ ห้ามตายไม่ได้ แต่คุณเอาสุขก็ไม่ได้  คุณเลยต้องเอาทุกข์ทั้งอยู่ทั้งตายเอาไหม มันก็ไม่เห็นน่าเอาตรงไหนใช่หรือไม่ ในเมื่อชีวิตห้ามอยู่ก็ไม่ได้ห้ามตายก็ไม่ได้ เอาไง แต่ว่าห้ามทุกข์ได้ คือสามารถเป็นสุขได้ ใช่ไหม สุขก็มีค่ากว่า สุขแท้นะ ไม่ใช่สุขเทียม สุขแท้สุขอมตะนิรันดร์กาลมีค่า มากกว่าสิ่งใดในโลกจำไว้ 

สุขอมตะนิรันดร์กาล มีค่ามากกว่าสิ่งใดในโลก สุขที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละ มันดีมาก ๆ 

ดีที่สุด อาจารย์ก็ไม่เห็นอะไรจะดีกว่าอันนี้ ย้ำทุกวันแหละ ไม่เห็นอะไรดีกว่านี้อีกแล้ว อาจารย์ก็ย้ำทุกวัน ย้ำไปอีกหลายล้านชาติ ตราบปรินิพพาน โน่นแหละ ย้ำไปอย่างนี้นี่แหละ มีเวลาเมื่อไหร่ก็ย้ำทุกที มันดีที่สุดในโลก คือสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขที่สุขที่สุด สุขที่ดีที่สุด คือสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ มันไม่มีอะไรสุขกว่านี้หรอกในโลก ย้ำอยู่อย่างนี้แหละ ก็กิเลสมันยังย้ำเลยว่า สุขที่ได้ดั่งใจ คือสุขที่ดีที่สุดในโลก สุขที่สุดในโลก มันก็ย้ำเหมือนกันนะไอ้กิเลสน่ะ พุทธะแม้ว่าจะสู้มันไม่ได้  สู้ไม่ได้ ไม่ใช่ว่าสลายมันไม่ได้นะ แต่ปริมาณของคนที่บอกว่าสุขที่ได้ดั่งใจนี่ เยอะเหลือเกิน ใช่มั้ย มันสู้ไม่ได้ สู้มันไม่ได้ คนพูดอย่างนี้เยอะมาก มอมเมากันเยอะมาก  

แต่สุขที่ไม่ได้ดั่งใจ จะมีกี่คนหนอที่พูดกันในโลกใบนี้ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไอ้ที่ไม่ได้ดั่งใจนี่ มันน้อย มันก็ต้องย้ำกันแหละ เพราะเป็นสุขที่ดีที่สุด สุขที่สุด ดีที่สุด และก็สุขได้มากที่สุด 

ก็คิดดูสิ  อาจารย์เคยพูด วัน ๆ หนึ่งคนเราจะได้ดั่งใจกี่เรื่อง ไม่กี่เรื่องหรอกใช่มั้ย แต่เรื่องไม่ได้ดั่งใจเยอะมั้ย โอ๊ย ! มากจังเลย ใช่ไหม ถ้าเราไปเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจมันจะสุขมากขนาดไหน ลองคิดดูนะ มีแต่เรื่องที่ไม่ได้ดั่งใจเต็มไปหมดเลย ไม่ทำอะไรก็ได้ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ต่อให้ไม่ทำมันก็จะมีเรื่องไม่ได้ดั่งใจเยอะแยะเต็มไปหมด จังหวะพัก จังหวะไม่ทำ จังหวะอยู่เฉย ๆ ก็จะมีเรื่องที่ไม่ได้ดั่งใจเยอะแยะไปหมด โอ้โห ! เราจะได้สุขเยอะขนาดไหน 

อาจารย์ว่าสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ อยู่เฉย ๆ ก็ได้ ความไม่ได้ดั่งใจ อยู่เฉย ๆ ก็ได้ ความไม่ได้ดั่งใจ ถ้าเราทำสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้แล้ว ก็สุขตลอดแล้ว 

อาจารย์ถึงบอกว่า คนมีปัญญา คนมีปัญญาสูงสุด มีอริยปัญญาสูงสุดนี่ แค่ไม่ได้ดั่งใจก็สุขมากแล้ว แค่ไม่ได้ดั่งใจก็สุขที่สุดแล้ว ชีวิต จริง ๆ แค่ไม่ได้ดั่งใจก็สุขมาก มากขนาดไหน มากที่สุดในโลก มากไม่มีสิ่งใดเทียมเท่า แค่ไม่ได้ดั่งใจก็สุขมาก แค่ไม่ได้ดั่งใจก็สุขมากแล้ว 

แค่ไม่ได้ดั่งใจก็สุขที่สุดแล้ว นี่แหละ คนมีปัญญาสูงสุดจะเป็นเช่นนี้ แต่สบาย ๆ ไม่ต้องไปทำอะไรก็ได้ เพราะเรื่องไม่ได้ดั่งใจมันเยอะไปหมดเลย ไปทำก็ได้ มันก็จะไม่ได้ดั่งใจเยอะไปหมดเลย ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ได้สุขอย่างเดียวทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่กว่าจะได้สุขที่ได้ดั่งใจนี่ โห ! คุณเอ๋ย กว่าจะได้หนึ่งเรื่องนี่  กว่าจะได้แต่ละเรื่อง ๆ  กว่าจะได้สุขที่ได้ดั่งใจแต่ละเรื่อง ๆ ต้องพยายามเท่าไหร่ ได้น้อยเดียววันหนึ่ง เอ้อ ! อาจารย์เห็นวิ่งหากันจัง  

จะมีกี่คนหนอที่ตามอาจารย์นี่ อาจารย์ยังรู้สึกเลยนะว่า ถ้าอาจารย์ภูมิตอนนี้มันมาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะมาก่อนแรก ๆ มาตั้งแต่แรก ๆ ที่ทำนี่นะ สงสัยจะมีอาจารย์คนเดียวนี่แหละนะ อาจารย์จะไม่มีลูกศิษย์ ลูกหาเลยนะ ตั้งแต่พูดคำแรก เขาก็ไปแล้วนะ ให้ทิ้งซะ !  สุขที่ได้ดั่งใจน่ะ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ เขาคิดตามเท่านั้น เขาหมดแรง ไม่ได้ดั่งใจมันก็มีแต่ทุกข์ มันจะเป็นสุขได้ไง อาจารย์ว่าคงจะมีอาจารย์คนเดียวนี่แหละนะ ดีที่ภูมินี้ยังไม่มาก่อน เออ มันถึงเวลาค่อยมานะ ไหน ๆ ก็ได้หลงมาปฏิบัติตั้งนานแล้ว ไปไหนก็ไม่ได้แล้ว จริง ๆ ก็ไปได้อยู่แต่ก็ได้สุข พอสมควร จริง ๆ ก็ได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจมาพอสมควร แต่มันอาจจะยังไม่คมเท่าไหร่ จะได้พอประมาณนึงแต่มันยังไม่คม ยังไม่คมเท่าไหร่ อาจารย์ว่าความรู้นี้แบบคม ๆ เลยนะ ที่พยายามอธิบายหลายวันมานี้ คม ๆ ชัด ๆ เลย ใครมีปัญญานี่พ้นทุกข์เอา ๆ ได้สุขแท้อย่างเดียวเลยนะ สะสมไป ๆ สะสมสุขแท้ ๆ 

ยังคุยกับพี่น้องนั่งรถไป นั่งรถไปลานนา ดีนะนี่อาจารย์ไม่รู้ตั้งแต่แรก ถ้าอาจารย์รู้ตั้งแต่แรก คงอดปากไม่ได้ แต่ภูมินี้ยังไม่มาตั้งแต่แรก ภูมิพ่อครูเรื่องสุข ทุกข์ก็เพิ่งมาไม่กี่ปีมานี้  ปีที่แล้วหรือไงนะที่พ่อครูเน้นสุข ทุกข์นี่ จำไม่ได้แล้ว พ่อครูก็บอก เอ้อ ! มันเพิ่งจะมา 

สิกขมาตุกล้าข้ามฝัน ก็บอกว่า ทำไมพ่อครูไม่บอกตั้งแต่แรก บอกตั้งแต่แรก ป่านนี้ก็พากันบรรลุไปหมดแล้ว ป่านนี้ ดิฉันก็บรรลุไปหมดแล้ว ก็สบายไปแล้วนะ พ่อครูก็ว่า มันยังไม่มา ตอนนั้นมันก็ยังไม่มา ถึงเวลามันก็มา จริง ๆ นี่นะ ของอาจารย์ก็ยังคิดอยู่เลยนะว่า ดีแล้วที่ไม่รู้ตั้งแต่แรก ถ้ารู้ตั้งแต่แรกนี่นะ สงสัยมีเราเอาคนเดียว พ่อครูก็สงสัยมีพ่อครูคนเดียว 

อาจารย์ก็ว่ามีอาจารย์คนเดียว รู้ตั้งแต่แรก เอ้า ! พูดไปใครจะเอา มันน่าเอามั้ย ให้ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจซะ !… คุณว่าจะมีใครเอาด้วยมั้ยนี่ 

โอ๊ย ! มันก็แล้วเลยแหละนะ อย่าพูดคำต่อไป พอแล้ว พอ ๆๆๆๆ โบกมือลาเลย  มันสุขที่สุดในชีวิตเขา สุขที่ได้ดั่งใจนี่ เอ้า ! เกิดมาใครไม่แสวงหาบ้าง สุขที่ได้ดั่งใจนี่ ใครบ้างไม่ต้องการ

เป้าหมายสูงสุดแต่ละวัน ๆ นี่ ถามจริง คืออะไร ? คนทั่วไปนะ ไม่รู้ธรรมะแท้ สูงสุดแบบนี้ เป้าหมายสูงสุดของชีวิตเขา คืออะไร สุขสมใจใช่มั้ย สุขที่ได้ดั่งใจใช่มั้ย มันสุขที่สุดในชีวิตเขาแล้วใช่มั้ย และถ้าได้อันนี้ เขาก็ไม่เอาอันอื่นแล้ว ไม่ได้อันนี้เขาไม่ยอม ต้องเอาให้ได้ ใช่หรือไม่

แล้วเราบอกทิ้งซะ ! สุขที่ได้ดั่งใจ สุขที่ได้สมใจนี่ แล้วใครจะมาเอากับคุณ มันไม่มีใครมาเอากับเรา แล้วไปเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ บอกอีกนะ แล้วมันสุขตรงไหน เขาก็คิดตามเลยนะเวลาที่ไม่ได้ดั่งใจ เขาเป็นไง เขาจะสุขหรือเขาจะทุกข์ เขาก็ทุกข์เท่านั้นเอง บ้าเรอะ ใครจะไปเอาด้วยหล่ะ 

ใครจะมาเอาด้วย ใช่มั้ย เขาคิดว่ามันทุกข์ เพราะเขารู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ และเขาก็ยังคิดไม่ออกว่ามันจะเป็นยังไงที่เขาจะได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีทางคิดออกเลย

“อตักกา วจรา” คาดคะเน เดาไม่ได้ด้วยนะ  เดาไม่ได้เลย เดาไม่ได้เลย “บัณฑิตเวทนียา” รู้ได้เฉพาะบัณฑิต เท่านั้น ผู้ที่เข้าถึงเท่านั้นจึงจะรู้ได้ และก็บอกวิธีปฏิบัติได้ และจะบอกให้นะ แม้ผู้เข้าถึงแล้วนี่นะ ถ้าไม่ใช่ผู้มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ก็อธิบายไม่ได้ ต่อให้เป็นพระอรหันต์สมบูรณ์เลยก็อธิบายไม่ถูกเลย ตัวเองได้แล้วพ้นทุกข์แล้วนะแต่บอกไม่ถูก 

ถ้าไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ คือ รู้อรรถ รู้ธรรม 

  • รู้อรรถ คือ รู้สาระประโยชน์ 
  • รู้ธรรม คือ รู้ความเชื่อมโยงว่าทำอะไร เกิดผลอะไร ทำอะไรเกิดผลพ้นทุกข์ ทำอะไรเกิดผลเพิ่มทุกข์ 
  • มีนิรุตติ มีปฏิภาณ  มีนิรุตติ คือ รู้จักภาษาที่จะสื่อสารออกไป
  • มีปฏิภาณ  ที่จะสื่อสารอันไหน 
  • รู้ภาษา มีปฏิภาณแล้วก็ต้องรู้ด้วยว่า สื่อสารออกไปแล้ว ภาษาไหนคนจะเข้าใจ ภาษาไหนคนฟังจะเข้าใจ ต้องมีปัญญา ไม่ง่ายเลยนะ ใครได้สภาวะ บางทีก็คิดไม่ออกเลย 

พระอรหันต์บางองค์ก็อธิบายไม่ออก ได้ตัวเอง องค์เดียวเลย อธิบายไม่ออกเลย ขนาดพระอัสสชิ ท่านก็เป็นอรหันต์แล้ว ผ่องใสแล้ว  ท่านยังกล่าวได้แค่ว่า ธรรมใดมีมาแต่เหตุ พระตถาคตตรัสทางดับเหตุนั้นไว้ เท่านี้ กล่าวได้เท่านี้  ขยายไม่ออก ท่านเป็นสายเจโต สายที่ขยายไม่ออก แต่มีพระสารีบุตรท่านเก่งน่ะ ท่านเป็นสายปัญญา มาฟังปุ๊บ โอ้โห ! บรรลุโสดาบันเลย รู้ทางพ้นทุกข์เลย ได้ญาน ๗ พระโสดาบันเลย ท่านมีของเก่ามาด้วย ฟังปุ๊บท่านมีปัญญา ท่านก็เข้าใจได้  เอ้า ! ลองให้เรา ธรรมใดมีมาแต่เหตุ พระตถาคตตรัสทางดับเหตุนั้นไว้ จะได้อะไรหล่ะนี่ โสดาบัน หรือ โสดาดัน หรือ โสดาแบน หรือ โสดาบ๊อง หรือ คิดไม่ออกเลย 

ได้โสดามืดบอด ใช่มั้ย ก็จะคิดไม่ออกเราไม่ได้มีปัญญามากอย่างนั้นเราก็จะคิดไม่ออกอย่างนี้เป็นต้น ต้องมีผู้ที่อธิบายว่าอะไร ๆ มีผู้อธิบายแล้วถึงจะเข้าใจได้ อย่างนี้เป็นต้น 

“ดูกรปหาราทะ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วจึงอภิรมย์อยู่”  ไม่ล่วงสิกขาบท ปฏิบัติไปตามลำดับแล้วก็ ไม่ลบสิกขาบททิ้ง ไม่ลบสิกขาบท ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ คือ ทฤษฎี ปฏิบัติ คือลงมือปฏิบัติ ปฏิเวธ คือผล 

จะไม่ไปล่วงสิกขาบท เพราะนั่นคือความสมบูรณ์แบบที่สุขที่สุด ดีที่สุดแล้ว จะไม่ล่วงสิกขาบทเด็ดขาดในผู้ที่เป็นสาวกแท้ แต่ผู้ที่เป็นสาวกเทียมนี่ลบทิ้งแหลกลาญ สาวกแท้ต้องมากอบกู้กันอยู่ตอนนี้ ทั้งพ่อหลวง ทั้งพระโพธิสัตว์ ที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพราะสาวกเทียมนี่ โอ้โห ! ลบทิ้งไปตั้งเยอะตั้งแยะ แปลผิดไปตั้งเยอะตั้งแยะ ก็เลยต้องมาช่วยกอบกู้เพื่อที่จะให้มนุษย์นั้นได้รับสุขแท้ 

เอาละหมดเวลา จงได้สุขแท้อันเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ  เป็นสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไปเป็นลำดับ ๆ กันทุกท่าน สาธุ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง