ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

เรียกกายนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ทีนี้เราจะมาเรียนธรรมะพาพ้นทุกข์ จากพระไตรปิฎกกัน  เรื่องราวของธรรมะพาพ้นทุกข์นี่ลึกซึ้งนะ  มันเป็นเรื่องที่ยากที่คนจะเข้าใจได้ รู้ได้ ชีวิตที่จะพ้นทุกข์ได้สุขแท้ยั่งยืนนี่ ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะธรรมะที่พาพ้นทุกข์ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 9 พรหมชาลสูตร เล่มที่ 9 ข้อที่ 26 ธรรมะที่สามารถพาพ้นทุกข์ได้ยั่งยืน ได้สุขแท้ที่ยั่งยืนนี่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า

  • (คัมภีรา) ลึกซึ้ง   (ทุททสา) เห็นตามได้ยาก   (ทุรนุโพธา) รู้ตามได้ยาก  
  • (สันตา) สงบ   (ปณีตา) ประณีต    (อตักกาวจรา) คาดคะเนเดาไม่ได้  
  • (นิปุณา) ละเอียด   (บัณฑิตเวทนียา)รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ผู้ที่เข้าถึงธรรมะนั้นแล้ว  มันยากมากเลย ตั้งแต่ 3 ข้อแรก พระพุทธเจ้าทรงยืนยัน (คัมภีรา) ลึกซึ้ง 
  • (ทุททสา) เห็นตามได้ยาก  (ทุรนุโพธา) รู้ตามได้ยาก (สันตา) นี่สงบ ( ปณีตา) นี่ประณีต  ถ้าได้นี่ (สันตา)สงบ  สงบสุขอย่างยิ่งเลย  สุขสงบ สบายอย่างยิ่ง สงบสุขอย่างยิ่งเลยแหละ ชนิดที่ว่าไม่เคยมีมาก่อนเลยแหละ ไม่ว่าจะกระทบอะไร ๆ ๆ ๆ จิตวิญญาณก็ยังสงบ สุขสงบสบายอยู่ได้ ยิ่งใหญ่ขนาดนั้น (ปณีตา) ประณีต  พ้นทุกข์ไปเป็นลำดับลำดับ ๆ ได้สุขแท้ไปเป็นลำดับ คาดคะเนเดาไม่ได้   (อตักกาวจรา)เดาผิดร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ไม่มีทางเดาถูกเลยนะ 

พุทธะนี่ ไม่มีทางเดาถูกเลย เดี๋ยวจะได้เรียนกัน โอ้โห ! ตรงที่เดาไม่ถูกนี่ลึกซึ้งจริง ๆ ยากจริง ๆ คิดเอานี่ไม่ได้เลย เดาเอาไม่ถูกเลย เอาง่าย ๆ นี่เดาเอาไม่ถูก เช่น คนทั่วไปนี่ถ้าได้ดั่งใจเป็นอย่างไร จะสุขใจชอบใจใช่ไหม แต่ไม่ได้ดั่งใจเป็นอย่างไร ก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจใช่ไหม อันนี้เดาถูกไหม เดาถูกนะ แต่พอไม่ได้ดั่งใจแล้วสุขใจชอบใจได้นี่ เดาถูกไหม คิดไม่ออกเลย ๆ แค่คิดก็ยังหมดแรงเลยนะ จะให้ไม่ได้ดั่งใจนี่คิดปุ๊ปหมดแรงปั๊บเลยนะ  แต่นี่มีคนทำได้ด้วย 

พระพุทธเจ้าทำได้ แม้ไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้  ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ พระพุทธเจ้าและสาวกแท้ท่านทำได้ เห็นไหมมันเป็นเรื่องที่เดาไม่ถูกเลย จะไปเดาถูกอย่างไร ไม่ได้ดั่งใจทีไรก็ทุกข์ทุกทีเลย เฮ้อ! เราบอกให้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่รู้วิธีทำ  ทำถูกไหม ๆ  เออ! ไม่รู้วิธีทำน่ะแล้วเลย จ้างก็ทำไม่ถูก ให้ไปเรียนในมหาวิทยาลัยดัง ๆ ในโลก ให้ไปเรียนเลย ที่ไหนที่เขาว่าสอนนี่นะ ให้ไปเรียนมหาวิทยาวิทยาลัยดัง ๆ หรือที่ไหนดัง ๆ ทั่วไป ห้ามมาเรียนที่พุทธแท้นะ ให้ไปเรียนที่อื่นเลย ห้ามมาเรียนกับสัตบุรุษหมู่มิตรดีที่เป็นพุทธแท้ ๆ ที่ทำเป็นนะ ให้ไปเรียนเลยตรงจุดที่ทำไม่เป็นทั้งหมดในโลก โรงเรียนทั่วโลกให้ไปเรียนเลย ได้ไหม…ไม่ได้หรอก  คนสอนก็ยังทุกข์ใจไม่ชอบใจเหมือนเดิมนั่นแหละ ไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ใจเหมือนเดิม คนสอนก็ยัง ทั่วโลกนะ ไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ มีเยอะไหม เยอะใช่ไหม ทั้งโลกเลย 

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า คนที่รู้สึกทุกข์ใจเมื่อไม่ได้ดั่งใจมีเท่ากับดินทั้งแผ่นดินเลยนะ เมื่อเทียบกับฝุ่นปลายเล็บ คนที่จะรู้วิธีสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั้นมีแค่ฝุ่นปลายเล็บเท่านั้น เมื่อเทียบกับดินทั้งแผ่นดิน น้อยมากเลย โอ้โห! กว่าใครจะหาเจอนะ ว่าผู้นั้นคือใคร หาเข้าไปไม่มีบุญกุศลก็หาไม่เจอ หายาก ๆ หายากมากเลย  ไม่ว่าเรื่องไหน ๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ใด ๆ ทุกอย่างนั่นแหละ ส่วนใหญ่เป็นอย่างไร ถ้าได้ดั่งใจจึงจะสุขใจชอบใจ  ถ้าไม่ได้ดั่งใจเมื่อไร ทุกข์ใจไม่ชอบใจเมื่อนั้นเลยนะ  เขาจะคิดออกไหมว่าโลกมีสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจด้วย จะคิดออกไหม? ไม่มีทางเลย ไม่ต้องว่าเขาหรอก…เรานี่แหละ สมัยก่อนคิดออกไหม ไม่ออกเลยใช่ไหม ให้เกิดล้านชาติ ให้เรียนปริญญาเอกล้านชาติ จบปริญญาทั้งหมดที่เขาสอนอยู่ทั้งหมดนี่ คิดออกไหม ไม่ออก เอ้า! ให้เรียนล้านชาติเลย  เอาหลายล้านชาติก็ได้ ให้เรียนตลอดกาลเลย แต่ห้ามมาเจอผู้รู้นะ ห้ามมาเจอสัตบุรุษหมู่มิตรดีที่มีความรู้นี้ ซึ่งมีเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ ให้ไปเรียนกับดินทั้งแผ่นดินนั่นแหละ ที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้ หรือให้คิดเอาเอง ให้ไปเรียนเอาเองเลย กี่ล้านชาติถึงจะคิดออก

ชั่วกัปชั่วกัลป์ก็คิดไม่ออก จะจมอยู่แต่กับความรู้สึกอันเดียวนี่แหละ ดีไหม ความรู้สึกนี้ดีไหม  ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ ดีไหม?… ไม่ดีเลยนะ แล้วในโลกใบนี้ส่วนใหญ่นี่ ในแต่ละวัน ๆ ระหว่างได้กับไม่ได้ดั่งใจอะไรเยอะกว่า โห!  ไม่ได้ดั่งใจเยอะกว่าด้วยนะ เออ! ตกลงนี่ ตกลงสุขหรือทุกข์จะเยอะกว่ากันล่ะ ทุกข์ก็เยอะกว่านะ ในเรื่องเดียวกัน  ถ้าสั่งสมความไม่ได้ดั่งใจไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ  ความไม่ได้ดั่งใจนั้นมันจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง มันก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยใช่ไหม  ยังไม่ได้ โห! อยากได้ ยังไม่ได้ก็อยากได้   โอ้! ทุกข์ไปเรื่อย ๆ เลย แล้วทีนี้นะ(แม้ตอบสนองไม่ได้ทุกข์เพิ่มไปเรื่อย ๆ) ..ถ้าตอบสนองได้ล่ะทีนี้  เราตอบสนองได้เลยเราสุขใจเลย มันทำให้เมื่อเราไม่ได้ดั่งใจ ความทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ น้อยลงไปเรื่อย ๆ หรือโตขึ้นไปเรื่อย ๆ?… โตขึ้นไปเรื่อย ๆ อีกต่างหาก ขนาดว่าได้ดั่งใจนะ  แล้วก็ได้ความสุขใจที่ได้ดั่งใจ แล้วสุขนั้นอยู่นานไหม? ไม่นานนะ แป๊บเดียวหมดไป

หมดไปแล้วเป็นอย่างไร  โห! ทีนี้พอไม่ได้ดั่งใจเป็นอย่างไร ทุกข์ใจแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ  แล้ววันที่ไม่ได้ ตกลงสุขใจที่ได้ดั่งใจกลับมาช่วยไหม กลับมาช่วยไม่ได้เลย มาช่วยอะไรไม่ได้เลย ช่วยสลายทุกข์ได้ไหม ไม่สลายก็ได้ช่วยกลบหน่อย กลบก็ไม่ได้ สลายก็ไม่ได้ แล้วไปไหน ไม่รู้ไปไหนไปเลยไม่รู้ไปไหน หายแซ้บหายสอย สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจไม่กลับมาช่วยเลย เวรกรรมมีแต่ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ พอทุกข์ใจมาก ๆ เป็นอย่างไร? เกิดทุกข์กายไหม เกิดทุกข์กายอีก ชีวิตต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ เสียพลังไปเกร็งตัวบีบทุกข์ออก เสียพลังไปดันออก เลือดลมไหลเวียนไม่ได้ เซลล์ผิดโครงสร้างโครงรูป เป็นโรคได้ทุกโรค ตาย… ชีวิตมีแต่ทุกข์ใจแรงขึ้น มีแต่ทุกข์กายแรงขึ้น ทุกข์ใจแรงขึ้น ทุกข์กายแรงขึ้น 

อยากได้มาก ๆ ทำไม่ดีได้ทุกเรื่องเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก เป็นอย่างไร? เกิดเรื่องร้ายไปทั่วเลย ทุกข์ไหม?… ทุกข์ ซ้ำชีวิตยังบันทึกเป็นวิบากร้ายอีก ดึงเรื่องร้ายมาใส่ตัวเองและผู้อื่นตลอดกาลอีก  ทุกข์ไหม?…ทุกข์ สุขที่ได้ดั่งใจน่ะมันกลับมาช่วยไหม?…ไม่มาช่วยเลยสุขที่ไม่มีนั้นมันไม่มาช่วยเลย โอ! นี่แหละ ท่านถึงเรียกว่า สุขัลลิกะ โลกียสุข สุขัลลิกะ สุขลวง สุขหลอก สุขปลอม สุขน้อย สุขชั่วคราว สุขไม่เที่ยง สุขไม่มี สุขไม่มีจริง หายแล้วหายเลย สุขแว็บเดียวหายไปเลย 

คนก็ยังไปอยากได้อยู่ได้ อยากได้อะไรก็ไม่อยากได้นะ ไปอยากได้สุขที่ไม่มี ถามจริงมันน่าได้ไหม สุขที่ไม่มีมันหน้าได้ไหม? มันไม่น่าได้เลยนะ สุขที่ไม่มี อยากได้สุขที่ไม่มีในเรื่องนั้นเรื่องนี้ สุขที่ไม่มีในเรื่องนั้นเรื่องนี้ ได้อะไร ๆ ก็แล้วแต่ที่คิดว่าได้แล้ว มันจะเป็นสุข  ตกลงได้แล้วเป็นสุขยั่งยืนไหม?…ไม่เลย สุขชั่วคราวแล้วก็หายไป มันเป็นสุขที่ไม่มีในเรื่องนั้น ๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์นั้น ๆ เป็นสุขที่ไม่มี แสวงหากันไป นี่ถ้าเรายิ่งไปอยากได้สุขที่ไม่มีอยู่ เราก็ต้องเพิ่มก็ต้องเกิดทุกข์ที่ไม่ได้สุขที่ไม่มีอันนั้น  ไม่ได้ก็ทุกข์ สร้างความทุกข์ใจขึ้นมา ที่ไม่ได้สุขที่ไม่มี ตลกดีมนุษย์อยากได้สุขที่ไม่มี ๆ สร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี สร้างทุกข์เพราะไม่ได้สุขที่ไม่มี  บ้าเหรอ… เข้าใจสร้างอยู่ได้  ถ้าเรารู้ตัวเป็นอย่างไร นี่มันคนดีหรือคนบ้าละนี่   คนบ้า คนฉลาดหรือคนโง่?…คนโง่   โอ๊ย! เราบ้าตั้งแต่เมื่อไรละนี่ เราโง่ตั้งแต่เมื่อไรละนี่ ไม่มีใครมาบอกก็โง่อยู่อย่างนี้ บ้าอยู่อย่างนี้ล่ะนะ โง่อยู่อย่างนี้ บ้าอยู่อย่างนี้ประหลาดดี  เราทำได้อย่างไรนะ รู้สึกไหม พอมารู้ตัวนะ ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ  เราทำได้อย่างไรนะนี่  แล้วมันจะได้อะไรนะนี่…ได้สุขเหรอ  สุขก็ไม่มี แล้วทุกข์ ได้ไหม?   เพียบเลย ทุกข์น่ะได้ สุขน่ะได้ไหมไม่ได้ สุขน่ะหมดไม่เหลือเลย ไม่ได้อะไรสุขแต่ทุกข์นี่  ได้เป็นกอบเป็นกำ  ได้ทุกข์เป็นกอบเป็นกำ แล้ววัน ๆ หนึ่งทำอย่างอื่นไหม ไม่ทำ ทำอะไร? ทำทุกข์นี่แหละให้มากขึ้น ๆ แล้วก็ไปแลกสุขที่ไม่มี เอาเข้าไปสิวัน ๆ ไม่ทำอะไร คนเราประหลาด ๆ 

อาจารย์ดูแล้วก็น่าสงสาร มนุษย์มนา  แต่ก่อนเราก็เป็นเหมือนกันอาจารย์ก็เป็นเหมือนกัน โง่เหมือนกันนั่นแหละนะ ถ้าไม่พบพระพุทธเจ้า พ่อครู พ่อหลวง พระโพธิสัตว์องค์ต่าง ๆ ที่รู้แท้ แล้วก็เรียบร้อยเลยไม่มีทางเลยนะ  นี่เรารู้แล้วก็เอามาปฏิบัติ ไม่ต้องไปอยากได้สุขที่ไม่มี เมื่อเราไม่อยากได้สุขที่ไม่มี เราจะได้ทุกข์ที่ไม่ได้สิ่งนั้นไหม ก็ไม่ได้ใช่ไหม มันก็ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้สิ่งนั้นใช่ไหม 

พระพุทธเจ้าทรงยืนยันนะ อยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 ข้อที่ 14 คนเรามันทุกข์เพราะมันไม่ได้ในสิ่งที่อยากได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นมันก็ทุกข์ ถ้าเราไม่อยากได้สิ่งใดล่ะ ถ้าเราไม่ได้สิ่งนั้นจะทุกข์ไหม ไม่ทุกข์ ไม่เชื่อลองทำดูสิ เราไม่อยากได้เราไม่อยากได้สิ่งใดแล้วเราก็ไม่ได้สิ่งนั้น  เราไม่อยากได้ แล้วเราก็ไม่ได้ ทุกข์ไหม?… ไม่ทุกข์   ไม่ได้อยากได้มะเหงกเขกหัวเรา เราไม่อยากได้ไม่มะเหงกเขกหัวเรา แล้วเราก็ไม่ได้มะเหงกเขกหัวเรา เราจะทุกข์ไหม?…จะไปทุกข์อะไรเราไม่ได้อยากได้มัน เราไม่ได้จะไปทุกข์อะไร ใช่ไหม? 

เล่าให้ชัด ๆ อย่างนี้ เราไม่อยากได้อะไรมัน มันก็ไม่ทุกข์นะ เราไม่อยากได้ประเทศโน้นประเทศนี้มาเป็นของเรา  แล้วเราก็ไม่ได้ทุกข์ ก็ไม่เห็นทุกข์เลย ถ้าเราอยากได้ล่ะ ถ้าไม่ได้ ทุกข์ไหม ทุกข์นะอยากได้อันนั้นอันนี้มาเป็นของเรา พอไม่ได้เป็นอย่างไร…ทุกข์ แต่ถ้าเราไม่อยากได้ แล้วเราก็ไม่ได้ ทุกข์ไหม?… ไม่ทุกข์อะไรเลย สบายนะ ไม่ทุกข์สุขไหม สุข ไม่ทุกข์นี่แหละสุขสบายชีวิต สุขสบายดีไหม…ดี  ไม่ได้ยินหรืออย่างไรเขาถามกัน สบายดีไหม ๆ สบาย..ดี ใช่ไหม สบายดีใช่ไหม นี่นะ สุขสบายดี นี่ความสุขของชีวิตอยู่ตรงนี้แหละนะ เราก็เลิกอยากได้ซะมันก็ไม่มีทุกข์แล้ว ไม่มีทุกข์ก็สุขแล้วนี่ 

พระพุทธเจ้าตรัสในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 ข้อที่ 2433 และ 59 ว่า “ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวงละทุกข์ทั้งปวงได้เป็นความสุข” ละทุกข์ได้ก็สุขสบายแล้วชีวิต สุขแล้วสบายแล้วสบายนี่แหละสุข สุขสบายสบายนี่แหละสุข สุขนี่แหละสบายสบายนี่แหละสุข ทุกข์น่ะไม่สบาย ทุกข์ทรมานทนได้ยากไม่สบาย นี่พอเราไม่ต้องไปอยากได้สุขที่ไม่มี ในเรื่องนั้น เรื่องนี้ เรื่องไหนก็แล้วแต่ไม่ต้องไปอยากได้เราก็สบายแล้ว นี่แหละอุบายเครื่องออก อุบายเครื่องออกง่าย ๆ ไม่ได้ยากอะไรเลยถ้าเรารู้ พิจารณาให้ชัด ๆ ถึงไตรลักษณ์ของกิเลสว่า นี่สุขใจที่ได้ดั่งใจนี่ไปอยากนี่ อยากนี่คือกิเลสตัณหา ตัณหาคือความอยาก มีกิเลสตัณหามีความอยาก อยากได้อะไร อยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้นเรื่องนี้ ซึ่งมันเป็นสุขที่ไม่มี เรากลับไปอยากได้มัน ไปอยากได้มัน ไปอยากได้มันไม่ได้มันก็ทุกข์  ถ้าได้ก็สุขชั่วคราวแล้วก็หายไป มันไม่มี  ไปอยากได้มัน นี่แหละกิเลสตัณหา

เราก็เลิกอยากได้ซะ เรารู้ว่ามันไม่มี จะไปอยากได้ทำไมมันไม่มี สุขไม่มี แม้แต่สิ่งที่เราได้มันเที่ยงไหมวัตถุน่ะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เที่ยงไหม ก็ไม่เที่ยงอีกใช่ไหม ไม่เที่ยงไม่มีตัวตนแท้หรอก เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เออ! อันนี้ก็ไม่มี แล้วความรู้สึกสุขที่ได้มา ความรู้สึกที่สุขที่ได้สิ่งนั้นสมใจน่ะ เที่ยงไหม ไม่เที่ยงอีก แป๊บเดียวก็หมดไป นี่เเหละ ไม่เที่ยงไม่มีตัวตนแท้เลย ใช่ไหม  แล้วต้องไปอยากได้มันทุกข์ไหม ทุกข์ใช่ไหม  ยังไม่ได้ก็ทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น ต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการแสวงหามัน ทุกข์ไหม?… ทุกข์ ลำบากในการแสวงหา  

ทุกข์ใจที่ไม่ได้มันก็ทุกข์ เห็นไหมชีวิตมันก็มีแต่ทุกข์ไปอยากได้สุขที่ไม่มีก็มีแต่ทุกข์เท่านั้นนี่แหละ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่แหละ อนิจจังมันไม่เที่ยงไม่มีตัวตนแท้ มันทุกขังนี่มันเป็นทุกข์แล้วจริง ๆ มันอนัตตา มันไม่มีตัวตนแท้หรอกของสุขที่ไม่มี เราก็สร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มีอยู่นี่ ก็ทุกข์ตลอดกาลนานเท่านั้นแหละชีวิตจะไปมีอะไร แล้วทุกข์ก็แรงขึ้นแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่ได้อยากได้สุขที่ไม่มีล่ะ จะมีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจไหม  จะมีทุกข์ที่ไม่ได้มันไหม?…ไม่มี  ไม่มีสบายไหม?…สบาย สบายสุขไหม?… สุข ยั่งยืนไหม?…ยั่งยืน นี่แหละสุขสบายเลยยั่งยืนเลย เราก็ยินดีพอใจในสุขนี้ 

นี่แหละนิพพาน นิโรธ นิพพาน ได้นิโรธ ได้นิพพานอยู่ตรงนี้เราก็สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ใช่ไหม สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ แต่ก่อน  ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ พอเราเข้าใจแล้วก็สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ นี่ไงสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ทำเอาได้ ๆ แต่ถ้าเรามีกิเลสนะ  มันหลอกเก่ง นี่มีกิเลส มันหลอกเก่งมากเลยนะ คิดดูซินี่เราอยู่กับญาติที่เรารักเราห่วงใย เป็นอย่างไร  เราก็มีความสุขดีนะ อยู่กับคนที่เรารักเราห่วงใย ได้ดั่งใจก็สุขใจดี ทีนี้พอเขาตายไปล่ะ ทุกข์ไหม ทุกข์ คนที่รักที่สุดน่ะเรารักที่สุดเลย ตายไปนี่ทุกข์มาก ทุกข์เลย รู้สึกเลยนะ ทุกข์เพราะเขาตายไปนะ ความรู้สึกอย่างนั้นทุกข์เพราะเขาตายไป แต่สักพักเขาตายไปแล้วญาติที่เรารักตายไปเสียชีวิตไปแต่เราไม่รู้ ตอนเราไม่รู้ทุกข์ไหม?… ไม่ทุกข์อะไรเลย ไม่รู้ไม่ทุกข์อะไรเลย  ไม่รู้ก็ไม่ทุกข์อะไรเลย แสดงว่าญาติตายนี่ทำให้เราทุกข์ไหม ถ้าเราไม่รู้ ทำให้เราทุกข์ไหม?… ไม่ได้ทำให้เราทุกข์เลยนะญาติตายไม่ได้ทำให้เราทุกข์เลย แต่พอเรารู้ทุกข์ไหม?…ทุกข์ แล้วรู้สึกทุกข์ว่าเพราะอะไรเพราะญาติตายใช่ไหม?…เพราะญาติเสียชีวิตนี่แหละทำให้เราทุกข์แรงเลย เสร็จแล้วเป็นอย่างไร ได้ข่าวอีกทีเขา เขาไม่เสียชีวิตแล้ว เขารอดแล้วฟื้นแล้วเป็นอย่างไร สุขไหม?… โห! สุขเลยแล้วรู้สึกสุขเพราะอะไร เพราะญาติฟื้น น้ำหนักที่มากที่สุดไปอยู่ที่ไหน อยู่ที่ญาติใช่ไหมว่าตายหรือฟื้นใช่ไหม?…ตายหรือฟื้นน้ำหนักมากที่สุด

ความรู้สึกที่กิเลสครอบงำนี่ ว่าถ้าญาติมีชีวิตอยู่จะสุขใจชอบใจ ถ้าเสียชีวิตจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ น้ำหนักของความสุขทุกข์ในใจนี่เกิดขึ้นเพราะใจสร้างเอง หรือเกิดขึ้นเพราะว่าความตายความฟื้นของญาติ หมายความว่ากิเลสนี่รู้สึกว่าเกิดขึ้นเพราะใจสร้างเองหรือว่าเกิดเพราะว่าความตายความฟื้นของญาติ ความตายความฟื้นของญาติใช่ไหม เป็นน้ำหนักใหญ่เลยใช่ไหม เอ้า! ถ้าว่าความตายความฟื้นของญาติเป็นน้ำหนักใหญ่ ตอนเราไม่รู้น่ะ ญาติก็ตายแล้วทุกข์ไหม ก็ไม่เห็นทุกข์เลย แล้วญาติเขาฟื้น  

ทีนี้ญาติเขาฟื้นแล้วเราก็ไม่รู้หรอก ไม่รู้หรอกว่าเขาฟื้น เราไม่รู้หรอกว่าเขาฟื้น แล้วเราสุขไหม  เราไม่รู้ คือตอนนั้นน่ะได้ข่าวว่าญาติตายแล้วได้ข่าวว่าญาติตายแล้วเราก็ทุกข์หนักเลยทีนี้  ทุกข์หนักเลย  ทีนี้เขาฟื้นแต่เราไม่ได้ข่าวว่าเขาฟื้นเราสุขไหม? ก็ยังทุกข์เหมือนเดิมใช่ไหม เอ้า! ก็ไม่เห็นสุขอะไรนี่ ก็เขาฟื้นแล้วเราไม่เห็นสุขอะไรเลย ก็ไหนบอกว่าญาติฟื้นทำให้เราสุขใช่ไหม  ตกลงญาติฟื้นทำให้เราสุขไหมก็เราไม่รู้ว่าเขาฟื้นน่ะ  เราได้ข่าวแต่เขาตาย เราได้ข่าวแต่เขาตายตกลงเราสุขหรือเราทุกข์ เราทุกข์ เอ้า! แต่เขาฟื้นแล้วเราไม่ได้ข่าวทุกข์ไหม…ทุกข์  ก็ไหนว่าญาติฟื้นจะทำให้เราสุข ตกลงญาติฟื้นทำให้เราสุขไหม  ก็ไม่ทำให้เราสุขใช่ไหม  ก็ไม่ได้ทำให้เราสุขนี่  ก็ฟื้นแล้วไม่เห็นทำให้เราสุขเลย 

สรุปแล้วเกี่ยวกันไหมตกลงจริง ๆ สุขทุกข์ญาติสร้างหรือใจเราสร้าง?…ใจเราใช่ไหม  สร้างมันไปเกาะเกี่ยวญาติเองใช่ไหมไปเกาะเกี่ยวเอง ไปเกาะเกี่ยวถ้ารับรู้แบบไหนก็เป็นไปตามนั้นใช่ไหม?  แต่มันไม่ได้เป็นไปตามความจริงของญาติตายญาติฟื้นเลยใช่ไหมถ้าญาติตาย ญาติตายแต่เราไม่รู้ก็ยังไม่เห็นทุกข์อะไรใช่ไหม   ตกลงญาติตายทำให้เราทุกข์จริงไหม  ทำให้เราทุกข์ใจอย่างแรงจริงไหม?… ไม่จริงเพราะถ้าญาติตายทำให้เราทุกข์ใจอย่างแรงนี่ก็จะต้อง  โอ้! ก็ต้องทุกอย่างแรงตั้งแต่ญาติเสียชีวิตแล้วใช่ไหมตั้งแต่ญาติตายโดยที่เราไม่รู้   แต่นี่ไปกลัวตอนโน่นน่ะไปรู้ตอนไหนก็แล้วแต่ ค่อย ๆ ไปทุกข์ตอนนั้นใช่ไหมหรือได้ข่าวมาผิด ๆ ด้วย เอ้า! ข่าวมาผิด ๆ จริง ๆ ญาติไม่ได้ตายหรอกแต่ข่าวว่าญาติตายแล้วมั่นใจด้วยว่าใช่แน่นอนชัวร์ ๆ เป็นอย่างไรทุกข์ไหม?… ทุกข์ เอ้า! ไหนว่าญาติมีชีวิตอยู่จะทำให้เราสุขก็นั่นเขาไม่ได้ตายเขามีชีวิตอยู่ใช่ไหมสุขไหม สุขไหมได้ข่าวว่าเขาตายจริง ๆ เขาไม่ได้ตาย เขามีชีวิตอยู่สุขไหมสุขหรือทุกข์?…ก็ทุกข์ก็ไหนว่าญาติมีชีวิตอยู่จะมีความสุข   

ตกลงนี่การที่ญาติมีชีวิตอยู่ ตกลงทำให้เราสุขจริงไหม แต่เราไม่รู้ว่าเขามีชีวิตอยู่ ข่าวเขาว่าตาย เอ๊ะ! ตกลงมันเกี่ยวกับญาติไหม?…ไม่เลยมันเกี่ยวกับใจใช่ไหมสร้างสุขสร้างทุกข์เอา  แต่ใจนี่แหละที่มันไปเกี่ยวข้อง ซึ่งเดี๋ยว อาจารย์จะอธิบายอันนี้แหละใจที่มันไปรู้สึกเป็นตัวเราของเราญาติของเราใช่ไหม มันรู้สึกเป็นตัวเราของเราจริง ๆ นะ เหมือนไหม ๆ เหมือนตัวเราของเขา เหมือนตัวเราของเรา แต่จริง ๆ เป็นตัวเราของเราหรือคนละอัน?…คนละอันนะ  เออ! มันมีความรู้สึกเหมือนตัวเราของเราได้เนาะ  โอ้โห! ที่คนมาทำไม่ดีกับญาติเรา ๆ เป็นอย่างไร  เจ็บถึงเราเลยใช่ไหม  โอ้โห! ตายแทนนี่ยังดีกว่าใช่ไหมบางทีรู้สึก  เราโดนเองยังดีกว่าโน่นน่ะ มันเป็นอย่างไรมันเป็นอย่างนั้น  มันมีพลังอันนี้ประหลาด ๆ มันเป็นพลังที่เป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง   มันไม่เป็นความจริง  แต่มันเหมือนจริงไหม? ..เหมือนจริงเลยพลังที่ไม่เป็นความจริงแต่เหมือนจริงเลย  ตกลงมันจริงหรือหลอก มันหลอก ๆ เหมือนไหม?…เหมือนเลยเนียนเลย  เห็นไหมอันนี่แหละ

อันนี้เขาเรียก ว่ากายที่จิตไปสัมพันธ์กับเรื่องใดก็แล้วแต่จิตของกิเลสนี่แหละกายกลิ กายกิเลส กายกิเลส กายัสสะนี่ คือจิต คือมโน คือวิญญาณ จิตคือมโนคือวิญญาณ จะให้ดูพระไตรปิฎก เล่มที่ 16 ข้อที่ 230 นี่แหละที่ท่านกล่าวถึงกายัสสะ เป็นแบบนี้แหละมันรู้สึกเหมือนกับเป็นกายของเราเลยเป็นชีวิตของเราเลยนะมันปนกันเลยจิตของกิเลสกับเหตุการณ์ที่มากระทบแม้จะอยู่นอกตัวหรืออยู่ในตัวก็ตามจะอยู่ในตัวหรืออยู่นอกตัว แม้อยู่นอกตัวก็ตามมันยึดเป็นตัวเราของเราจริง ๆ  โอ้โห! หลังจากนั้นเสียหายมันทุกข์ ถึงใจเราจริง ๆ ถ้าเรารู้สึกว่านั่นเป็นตัวเราของเรา ถ้าสิ่งนั้นได้ดั่งใจหมายก็สุขเลยเนาะ สุขใจชอบใจ   ถ้าสิ่งนั้นไม่เป็นดั่งใจหมายก็เป็นทุกข์ใจไม่ชอบใจนี่แหละกาย กายัสสะน่ะ ที่เป็นตัวลวงตัวหลอก มันเหมือนจริงเลยน่ะ อย่างนี้เป็นต้น

นี่ขนาด แยกให้แบบนี้แล้วนะ คนละอันเลยนะ แต่เหมือนเป็นตัวเราของเรา แล้วทีนี้ถ้าคนที่จะยึดว่าตัวเราของเราอย่างนี้ถ้าไปเห็นเลยว่าญาติเสียชีวิตก็ทุกข์ใจทั้ง ๆ ที่รู้ว่าญาติก็คือญาติ เราก็คือเราแต่จะห้ามไม่ให้ทุกข์ใจนี่ได้ไหม?…ไม่ได้  แล้วถ้ารู้เขาฟื้นนี่น่ะ จะห้ามไม่ให้ดีใจได้ไหม?…ไม่ได้น่ะ   ต้องไปเสียใจกับสิ่งข้างนอกเนาะ  จริง ๆ ข้างนอกเป็นตัวเราของเราไหม จริง ๆ เป็นตัวเราของเราไหม? …ไม่ใช่โดยความรู้สึกนี่เป็นตัวเราของเราไหมเหมือนเลยเนาะ เหมือนเลย  บางทีอาจารย์ว่าเขาเหยียบต้นไม้ที่เราปลูก อยู่นอกตัวเลยเนาะแต่มันเหมือนเหยียบหัวใจเลยเนาะ   โอ๊ย ! เหยียบข้างนอกแต่มันทุกข์ข้างในได้ เหยียบข้างนอกแต่มันทุกข์ข้างในหรืออะไรที่เราหวง ๆ แล้วมีคนไปทำมันเสียหาย เป็นอย่างไรมันทุกข์ถึงข้างในไหม?.. ทุกข์ถึงข้างในเลยเนาะ  เอ๊ะ! มันเป็นอย่างไร มันอยู่ข้างนอกแต่มันทุกข์ถึงข้างใน   มันยึดเป็นตัวเราของเราเนาะ มันมีชีวิตที่รู้สึกอย่างนี้จริง ๆ ใช่ไหม?   นี้แปลว่าจิตกับกาย จิตกับกายนี่รวมกันไหม…รวมกันเลยเนาะ กายกับจิตมันรวมกันเขามีความรู้ในการแยกไหม?…ไม่มี   แต่พุทธะนี่แยกกายแยกจิตได้นะ แยกได้กายก็ส่วนกาย จิตก็ส่วนจิตแยกได้แยกกายแยกจิตได้ แยกออกไปได้  เกิดดับ ๆ ก็เกิดดับไป  

ยกตัวอย่างที่กายจิตที่มันชัด จริง ๆ อันนี้มันยากที่คนจะวางใจได้ แต่มีนะวางใจได้คนวางใจนี่เขารู้ว่า เออ! ลองดูมันแยกกันคนละอันนะ แล้วแต่ละอย่างเขาก็ไปตามวิบาก ชีวิตเขาก็ไปของเขาเราก็ไปของเรา แล้วไม่ได้ยึดเป็นตัวเราของเราด้วยเพราะเขาสลายอัตตาตัวตนในการยึดเป็นตัวเป็นตนได้นี่สลายอัตตาพลังงาน ในจิตนี่แหละที่ไปยึดเป็นตัวเราของเราได้โดยเขาฝึกอย่างดีเลย เขาเป็นแม้สุขที่ได้ดั่งใจที่ญาติมีชีวิตอยู่ไม่เที่ยงไม่มีจริงหรอก สุขแว็บเดียวก็หมดไปอย่างนี้ เป็นต้น   แล้วมันทำให้เราทุกข์ กลัวจะไม่ได้ดั่งใจถ้าไม่ได้เป็นอย่างไร   ญาติไม่มีชีวิตอยู่ทุกข์เลยเนาะ  เขาก็รู้ ถ้าไม่ได้ดั่งใจ ถ้าญาติไม่มีชีวิตอยู่ก็ทุกข์เลย  อย่างนี้เป็นต้น  

สุขนั้นไม่มีจริงอยากไปได้ที่มันไม่มีจริง  มันก็ทุกข์ตายพอดี  ถ้าไม่อยากได้จะทุกข์ไหม?.. ก็ไม่ทุกข์ เราไม่อยากได้สุขที่ไม่มี จากญาติมีชีวิตอยู่ เราไม่ได้อยากได้ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ แม้ญาติไม่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ทุกข์ถ้าเราไม่อยากได้ใช่ไหม?   ญาติมีชีวิตอยู่เราก็ไม่ได้ทุกข์อะไร ทำประโยชน์กันได้ก็ทำ ทำไม่ได้แล้ววิบากมันมาแล้ว หมดกุศลที่จะได้ทำร่วมกันแล้ว เขาเสียชีวิตไป แต่ละคนเป็นไปตามกุศล อกุศลของตัวเอง ทำได้  ถ้าเราไม่ได้มีจิตไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเราของเราโดยเราสลายได้ 

เอาง่าย ๆ คนแต่ละคนนี่ก็ทำได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติเรา คนเหมือนกันนะเขาไม่ใช่ญาติเราแล้วเราก็ไม่ได้อยาก ไม่ได้อยากให้เขา ไม่ได้สุขใจที่เขามีชีวิตอยู่ แล้วเราก็ไม่ได้ทุกข์ใจที่เขาไม่มีชีวิตอยู่  เราไม่ได้สุขใจที่เขามีชีวิตอยู่  ไม่อยากได้สุขใจที่เขามีชีวิตอยู่ก็ไม่ใช่ญาติเรานะ  เป็นใครก็ไม่รู้แล้วคนนั้นก็เสียชีวิตไปเราทุกข์อะไรไหม?…ทำไมเราไม่ทุกข์ล่ะ  เพราะเราไม่ได้ไปอยากให้เขามีชีวิตอยู่ใช่ไหม?… ไม่ใช่ว่า โอ้! เขามีชีวิตอยู่ถึงจะสุขได้สุขใจชอบใจที่เขาได้มีชีวิตอยู่ใช่ไหม?  ถ้าเขาไม่มีชีวิตอยู่จะทุกข์จะชอบใจ  เราไม่ได้สร้างความรู้สึกนี้ไว้ในใจเราใช่ไหม?  แยกกายแยกจิตได้ไหมแบบนี้ เขาเกิดเขาตาย เขาเสียชีวิตไปมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปทำให้เราต้องสุขต้องทุกข์ในใจไหม…ไม่มีใช่ไหม…เราไม่ได้มีสุขทุกข์ในใจเพราะเหตุนั้นสบายไหม…สบายนี่ก็สุขสบายเขาจะเกิดจะตายเราก็สุขสบายเห็นไหม เข้าใจไหมนี่แยกได้ แยกกายแยกจิตได้

แต่พอมาเป็นญาติเราเป็นอย่างไร มันแยกได้ไหมล่ะ พอเป็นญาติเราน่ะเป็นอย่างไร  โอ้! จะเป็นลม เพราะญาติเสียชีวิต เอ๊ะ! ก็คนเหมือนกันนะทำไมไม่เหมือนกันนะ  นะ! ทำไมไม่เหมือนกัน ก็มันไปยึดเนาะ ถ้าเขามีชีวิตอยู่จะเป็นสุขเนาะ เขาเสียชีวิตจะเป็นทุกข์ เห็นไหมมันอยู่ที่การยึดเพราะคนไม่มีอุบายเครื่องออกน่ะ แม้เราจะไม่ยึดคนอื่น ๆ แล้ว แต่เราก็ไม่รู้หรอกที่เราไม่ยึดคนอื่น ๆ นะเพราะอะไร เพราะว่าเราไม่รู้วิธีแต่มันเป็นไปแล้ว มันทำไปแล้วทำแต่ปางไหนก็ไม่รู้ไม่ได้ยึด ปางไหนก็ไม่รู้แหละ อย่างนี้เป็นต้น 

แต่เราไม่รู้วิธี เราไม่รู้วิธีทำ ทำได้ไหมไม่รู้วิธีทำได้ไหม…ทำไม่ได้ใช่ไหมแท้ที่จริงมันคนละอันใช่ไหม? น่ะคนเหมือนกันใช่ไหมญาติของเรากับคนอื่นนะ เหมือนกันนะ แล้วจะทำไมน่ะ คนอื่นเราก็ไม่เห็นทุกข์อะไรแต่ทีนี้คนนี้ทำไมทุกข์ ญาติเราทำไมทุกข์ เวลาญาติเสียชีวิต จริง ๆ แล้วอยากได้ไหมเวลาญาติเสียชีวิตแล้วรู้สึกทุกข์อยากได้ไหม?  ไม่ได้อยากได้ ใช่ไหมเราไม่ได้อยากได้ แต่พอได้เป็นอย่างไร…มันทุกข์ เพราะเราไม่มีอุบายเครื่องออก เห็นไหมไม่มีอุบายเครื่องออกน่ะออกไม่ได้ทุกข์อย่างนั้น นี่เล่าให้ฟัง แยกกายแยกจิตไม่เป็น แยกไม่เป็นก็ต้องทุกข์อยู่อย่างนั้น แล้วน้ำหนักจริง ๆ น่ะ พอคนแยกได้แล้วเป็นอย่างไร?  ตกลงน่ะ อย่างญาติคนอื่นเขา คนอื่นที่ไม่ใช่ญาติเราเขาเสียชีวิต ไม่ได้ทำให้เราสุขมาก ไม่ได้ทำให้เราทุกข์มากอะไร ไม่ได้ทำให้สุขให้ทุกข์อะไรเลยใช่ไหม ตกลงสิ่งนั้นมีฤทธิ์มากไหม?…ไม่ได้มีฤทธิ์อะไรเลยไม่ได้มีฤทธิ์มากเลยใช่ไหมที่จะทำให้เราสุขเราทุกข์ ส่วนเราจะสุขจะทุกข์เองมันเกิดจากอะไร?… ใจของเราเอง  เห็นไหมเราจะแยกได้ ว่าที่จริงสุขทุกข์มันอยู่ที่ใจใช่ไหม มันอยู่ที่ใจ 

นี่เองที่ไปสร้างมากสร้างน้อยมันอยู่ที่ใจเราเองไม่ได้อยู่ที่ข้างนอก  เราก็จะรู้ว่า น้ำหนักของใจนี้มันแรงเท่ากับดินทั้งแผ่นดินเลยน้ำหนักของเหตุการณ์ เท่ากับฝุ่นปลายเล็บเท่านั้นเอง  ก็ขนาดเราไม่รู้ นี่เอาง่าย ๆ เลย ตอนเราไม่รู้ชัด ๆ เลยใช่ไหม ตอนเราไม่รู้นี่ ไม่เห็นทุกข์อะไรเลยไม่เห็นสุขไม่เห็นทุกข์อะไรเลย ที่ญาติเสียชีวิต ก็แปลว่า เหตุการณ์ไม่ได้มีน้ำหนักมากเลยใช่ไหม พอรู้ปุ๊บเป็นอย่างไร  โอ้! ทุกข์อย่างแรงเลยแปลว่าเป็นที่เหตุการณ์หรือที่ใจ?… ที่ใจใช่ไหม เราก็จะเริ่มรู้ ยิ่งถ้าเรา โอ้โห! ล้างทุกข์เป็นด้วย เป็นอย่างไร โอ้! หายทุกข์เลย ล้างทุกข์เป็นก็หายทุกข์เลย  แล้วก็อยากได้ทำไมสุขที่ไม่มี ไปอยากก็ทุกข์อยู่อย่างนี้ บ้าเหรอ!  

เลิกอยากก็เลิกทุกข์  เลิกทุกข์ก็สุขแล้วยิ่งเข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง   ชีวิต ก็ไปตามกรรมของแต่ละชีวิต เราอยากช่วยคนที่เรารักเราห่วงใยได้มาก ก็ทำดีที่เรานี่แหละ ให้ปรากฏไปในโลก ถึงวันหนึ่ง เขาก็มาพบสิ่งดีที่เรา ทำเอาไว้ เขาก็ได้ปฏิบัติแล้วเขาก็พ้นทุกข์เร็วที่สุด เออ!ทุกข์ไหม ก็ไม่ทุกข์อะไร ใช่ไหมอย่างนี้เป็นต้น 

ถ้าเรามีปัญญานะ ก็จะแยกกายแยกจิตได้น่ะ แต่นี่แม้เล่าให้ฟังอย่างนี้ เสร็จแล้วถ้าคนไม่ได้ปฏิบัติเป็นอย่างไร เขาไปกระทบเหตุการณ์ที่ญาติเสียชีวิตทุกข์ไหม?…ทุกข์  ทุกข์แล้วเขาจะเดาถูกไหม ว่าถ้าญาติเสียชีวิตแล้วไม่ทุกข์ก็ได้ สุขสบายใจก็ได้เขาเดาถูกไหม?… เดาไม่ถูกเลย  เดาไม่ถูกเลย อย่างนี้เป็นต้น ชัดเจนมาก เขาจะเดาไม่ถูกเลย “อตักกาวจรา”  คาดคะเนเดาไม่ได้ เดาไม่ถูกเลยว่ามีนะ คนที่ไม่ทุกข์ มีแต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ปรารถนาดีต่อญาติ แต่เมื่อช่วยไม่ได้แล้วแต่เขาวางใจได้เขาปรารถนาดีต่อญาติ  ช่วยเหลือมีอะไรช่วยได้ช่วย ปรารถนาดี เพียงแต่ว่าเมื่อช่วยไม่ได้แล้ว ต้องเสียชีวิตไปก็เข้าใจแล้วก็วางใจได้อย่างนี้เป็นต้น

ยิ่งให้เขาไปเดาเอาเวลาเขาจะตายนี่นะ แล้วให้เขาสุขสบายใจที่จะตายได้เขาจะคิดออกไหม ยิ่งคิดไม่ออกใหญ่เลย แต่เชื่อไหมมีนะคนที่แม้จะต้องเสียชีวิตก็ยิ้ม ยิ้มแล้วยิ้มตายได้มีไหม?…มีนะในโลกไม่กลัวตายเพราะเขาก็ทำดีเต็มที่แล้วล้างกิเลสได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว อยู่ไม่ได้ก็วางร่างวางขันธ์ไป ทำได้ มีคนยิ้มตาย แต่ให้คนที่วางใจไม่ได้คิดออกว่ายิ้มตายทำอย่างไร เขาจะคิดออกไหม? เอ้ย! แล้วเลย คิดออกอะไร มีแต่จะดิ้นตาย มีแต่ไม่อยากตายทุกข์ทรมานที่จะต้องตายใช่ไหม? อย่างนี้เป็นต้น 

ก็เล่าสู่กันฟัง โอ้! ธรรมะลึกซึ้งก็เล่าเรื่องยากเนาะ ก็ง่าย ๆ เอาอย่างนี้ คนติดอะไรดีเนาะ คนติดบุหรี่กับไม่ติดบุหรี่เนาะ เออ! คนติดบุหรี่เวลาเขาไม่ได้สูบบุหรี่เขาสุขหรือทุกข์  เขาทุกข์นะ เขาจะคิดออกไหมว่าถ้าไม่ได้สูบบุหรี่ แล้วสุขน่ะ เขาจะคิดออกไหม คิดไม่ออกใช่ไหมแต่คนที่ไม่ติดบุหรี่ คิดออกไหมว่าไม่ได้สูบบุหรี่แล้วมันสบายดีน่ะ คิดออกไหม? คิดออกนะว่า เออ! มันสบายดีไม่สูบบุหรี่ ไปดมเอาบุหรี่เข้าสิ มันจะทรมานเอาด้วยเนาะ เออ! ไม่สูบบุหรี่ก็สบายแล้ว เห็นไหม?

เพราะฉะนั้นจะให้คนที่เขาติดอะไรอยู่รู้สึกสิ่งนั้นเป็นตัวเราของเราได้เป็นสุขไม่ได้เป็นทุกข์นี่ แล้วเวลาเขาไม่ได้ให้เขารู้สึกสุขน่ะเขาจะคิดออกไหม คิดไม่ออกหรอก ในโลกไม่ว่าสิ่งใดสิ่งใดเขาจะคิดไม่ออกเลยนะนี่แหละคือ”อตักกาวจรา”คาดคะเนเดาไม่ได้เลย คุณติดเรื่องไหนถ้าคุณไม่ได้เรื่องนั้นนะแล้วจะให้รู้สึกสุขน่ะ จ้างก็คิดไม่ออกให้ตายเถอะคิดยังไงก็คิดไม่ออก คิดยังไงก็คิดไม่ออกให้ไปคิดร้อยวัน ให้ไปคิดล้านวัน เอ้า! เพิ่มวันไปอีกหลายล้านวัน คิดออกไหมจ้างก็คิดไม่ออก ไม่ได้ดั่งใจทีไรก็ทุกข์ใจทุกที คิดไม่ออกเลยอย่างนี้เป็นต้น 

ความลึกซึ้งนี่ช่างลึกซึ้งจริง ๆ เลยนะ “นิปุณา” ละเอียด โอ้โห! ละเอียดลออ นิพพานเลย ปุณา นี้ “ปุญญปัญญา” มีปัญญาถึงขั้นปฏิบัติถึงนิพพาน คือสุขที่ไม่มีภัยก็สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ละเอียดลำดับสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ แล้วก็จะไปสู่สภาพได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้หมด  ระดับนั้นเลยจริง ๆ จะว่าละเอียดจริง ๆ ก็ต้องแปลว่า”นิปุณา”ต้องแปลว่า”สุญญตา”เลยนะ มันไม่ใช่ละเอียดธรรมดาละเอียดยังพอมีตัวมีตนเนาะ  โอ้ ! สูญ(ศูนย์)เลยนะ อันนี้สูญจากสุขใจที่ได้ดั่งใจทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเลย ไปสู่สุขใจที่ไม่มีภัยใด ๆ เลยสุขใจที่ไม่มีภัยใด ๆ เลยไม่ว่าจะได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ นี่เป็นปัญญาระดับนิพพานนะ “นิปุณา”  ปัญญาระดับ “นิพพาน” เลยน่ะ   เป็นบุญหรือเป็นปัญญา ระดับที่  โอ้โห! สุขสงบ สบายแบบไม่มีภัยใด ๆ เลยด้วยปัญญาอันยิ่ง รู้ได้เฉพาะบัณฑิต “บัณฑิตเวทนียา” บัณฑิตที่เข้าถึงเวทนานั้นแล้วเท่านั้นแหละจึงจะรู้ได้

เรื่องราวของธรรมะจึงลึกซึ้งจริง ๆ เรื่องราวของธรรมะนี้ลึกซึ้งจริง ๆ ทีนี้ วันนี้อาจารย์ตั้งใจจะพาไปดู “กายัสสะ” นี่แหละ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า”กายัสสะ” น่ะ ลึกซึ้งคือจิตคือมโน คือวิญญาณ เรามาดูความลึกซึ้งของพุทธะ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 ข้อที่ 230 อัสสุตวตาสูตรที่ 1  เรื่องกาย แยกกายแยกจิตนี่มันสุดยอดฝีมือเลยนะพุทธะสุดยอดเลย สุดยอดเลย ที่จะแยกกายแยกจิตได้ 

พระไตรปิฎกเล่มที่ 16 ข้อที่ 230 อัสสุตวตาสูตรที่ 1 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า..ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปุถุชนผู้มิได้สดับ (ปุถุชน ผู้หนาด้วยกิเลส ตัณหา ความอยากได้ สุขใจที่ได้ดั่งใจ และทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ผู้ที่ไม่ได้สดับ ไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ) จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญ ก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้างในร่างกายนั้น 

บางครั้งเขาก็เบื่อเหมือนกัน เป็นบางครั้ง บางคราว บางทีก็รัก บางทีก็เบื่อ เบื่อ ๆ อยาก ๆ ทุกข์มาก ๆ ก็เบื่อเหลือเกิน ชีวิตนี้ พอหายทุกข์หน่อย เลิกเบื่อแล้ว เดี๋ยวก็เบื่อ เดี๋ยวก็อยาก เดี๋ยวก็เบื่อ เดี๋ยวก็อยาก อยู่อย่างนั้นแหละ โห! ตอนมันทุกข์มาก ๆ บางทีก็เบื่อหน่ายร่างกาย แต่พอมันดีขึ้นมา โห! เสียดายอีก ก็รักอีก เดี๋ยวก็รัก เดี๋ยวก็เบื่อ เดี๋ยวก็อยาก นั่นแหละคนเรานะ เฉพาะกายหยาบ เดี๋ยวก็เบื่อ เดี๋ยวก็อยาก เบื่อ ๆ อยาก ๆ อยู่อย่างนั้นแหละ แต่มีเบื่อบ้างเป็นบางครั้งบางคราว เหมือนกันนะ ร่างกาย 

พระพุทธเจ้าตรัส แต่ตถาคตเรียกร่างกาย ร่างกายจริง ๆ ไม่ใช่ร่างหรอก ภาษาบาลีเรียก กายสฺส (กายัสสะ)  จริง ๆ ร่างกาย ท่านใช้คำว่า สรีระ เขาไม่ได้ใช้ กายสฺส (กายัสสะ) ร่างนี้มาดูอีกที ว่าท่านใช้คำว่าอะไร กายสฺมึ ท่านใช้คำว่า กายสฺมึ แต่มีอีกอันหนึ่งที่จะใช้ กายสฺส นี่แหละ กายสฺมึ กายสฺส ท่านก็ว่าคนเรามันเบื่อบ้าง เป็นบางครั้ง บางคราวเท่านั้นแหละ ทีนี้แต่ตถาคต ท่านว่าอย่างนั้น เรียก กายสฺส จริง ๆ กายสฺส แต่ตถาคต เรียก กายสฺส ไม่ใช่สรีระ ความหมายของกายสฺส ลึกซึ้ง เดี๋ยว อาจารย์ จะอธิบาย ความหมายให้ ตถาคตเรียก กายสฺส อาจารย์เอาภาษาพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน กายัสสะ กายนั่นแหละคือกายัสสะ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ (เป็นที่รวมของดิน น้ำ ลม ไฟ มาเป็นร่าง)  ว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ตกลงนะภาษาบาลี กายสฺส (กายัสสะ) ท่านไม่ได้ใช้คำว่า สรีรัง สรีระ ท่านใช้ กายสฺส(กายัสสะ) 

ปุถุชนเข้าใจว่ากาย ให้น้ำหนักให้กาย กับ จิต เป็นอันเดียวกัน เป็นน้ำหนักไปทางร่าง หรือว่าสิ่งที่ตัวเองยึดเป็นตัวตน ให้น้ำหนักไปทางตัวนั้นมากและก็เบื่อหน่ายบ้าง เบื่อหน่ายวัตถุ ร่างกาย ที่ยึดเป็นตัวเราของเรา บ้างเป็นบางครั้ง บางคราว เบื่อหน่ายบ้างเหมือนกันแต่ไม่ได้เบื่อหน่ายแบบมั่นคง ยั่งยืน เบื่อหน่ายเป็นบางครั้ง บางคราวในร่างกาย ก็ตาม ในสิ่งที่ตัวเองไปยึด รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นอกตัวก็ตาม ยึดบ้าน ยึดรถ ยึด อะไร ๆ ๆ บางทีก็เบื่อเหมือนกันนะ รถ เก่า ๆ นะ แต่จะทิ้งก็เสียดายนะ เพราะรักมันเหมือนกัน แต่ก็เบื่อนะ เบื่อไหม? บางอันที่เคยเป็นเจ้าของ เบื่อบางครั้งบางคราวบ้างไหม? เบื่อเหมือนกันนะ บางทีก็ชอบ บางทีก็เบื่อ เป็นไปอย่างนั้นแหละ อะไรที่เสื่อม ๆ ก็เบื่อ ๆ อยู่

แต่ตถาคต รู้ว่าจริง ๆ แล้ว ตัวที่มีน้ำหนักให้เราเบื่อ เราชัง เราชอบ จริง ๆ น้ำหนักมาก ๆ ไม่ใช่ตัววัตถุพวกนั้น ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ใช่เหตุการณ์นะ แต่บางคนไปเน้นว่า มันคือร่างกาย เหตุการณ์ ไปให้น้ำ หนักตัวนั้นมาก ความหมายจริง ๆ คนจะไปให้น้ำหนักตัวนั้นมาก ก็เบื่อหน่ายตัวนั้น แต่ไม่เบื่อหน่ายจิตตัวเองที่เพี้ยน ๆ ไม่เบื่อจิตตัวเอง จิตที่มันไปบ้า ๆ บอ ๆ กับร่าง กับเหตุการณ์ต่าง ๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่เบื่อตัวนี้เลย นะ ก็ไปเบื่อเหตุการณ์ข้างนอก เหตุการณ์บางทีก็น่าเบื่อนะ ไปเบื่อตัวนั้น ถ้าตัวเองไม่ชอบอะไร แต่ไม่เบื่อใจตัวเองที่ เดี๋ยวก็เบื่อ เดี๋ยวก็อยาก ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เดี๋ยวอ่านให้จบก่อน แล้วจะเข้าใจความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัส  สูตรนี้นี่ถ้าใครไม่มีสภาวะอ่านก็เมา งง 

แต่ตถาคตเรียกร่าง กายัสสะ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง นี่พระพุทธเจ้าเรียก กายัสสะ อันนี้ จิตที่อาศัยอยู่ในร่าง แล้วไปผูกพันไปสุข ไปยึดกับ สิ่งต่าง ๆ ว่าเป็น ตัวเรา ของเรา ตั้งแต่นอกตัว ในตัว ยึดในตัวไม่พอไปยึดนอกตัวอีก ว่าตัวที่ไปยึดมันเป็นตัวเรา ของเรา เป็น กายัสสะของเรา ยึดว่าเป็นกายของเราอยู่นั่นแหละ แท้ที่จริงมันคือ จิต มโน วิญญาณ ที่มันอาศัยอยู่ใน มหาภูตทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อาศัยอยู่ในร่างกายนี่แหละ อาศัยอยู่ในร่างกายนี่แหละ ตัวจริง เสียงจริงก็คือ จิต มโน คือวิญญาณ ที่ไปยึด สิ่งนั้น สิ่งนี้ ว่าเป็นตัวเรา ของเราเหมือน เป็นตัวเรา ของเรา จิตเป็นเรา วัตถุเป็นเรา เป็นตัวเราของเขา เป็นจิตของเรา มันปนกันไปหมด เละเลย และให้น้ำหนักทางด้าน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มากกว่า 

นี่ท่านเรียกตัวนี้ กายัสสะ ว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชน ผู้มิได้สดับ มิอาจเบื่อหน่าย ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย จะไม่มีทางหลุดพ้นได้เลย ในจิตที่ไปยึดสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นตัว ของเรา ได้อย่างนั้น อย่างนี้ สุขใจ ชอบใจ ไม่ได้แล้วทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ นี่ถ้าไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ ไม่สามารถเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในจิตวิญญาณได้เลย ในสภาพจิตที่น่าเบื่อหน่ายตัวนี้ จิตที่เป็นกายกลิ กายัสสะ กายกลิ คือสักกายทิฏฐิ นั้นแหละ กายกลิ นิรมาณกาย กายกลิ คือกิเลส กายของกิเลส คือจิต คือมโน คือวิญญาณ เข้าใจใหม ? กายัสสะ กายกลิ นี่กายกิเลส หรือ นิรมาณกาย กายของกิเลส ที่มัน เนรมิต ขึ้นมา หรือสักกายทิฏฐิ เป็น สังโยชน์ ข้อที่ 1 สังโยชน์ 10 ที่มัดมนุษย์ไว้ให้ทุกข์

ก็กิเลสนั่นแหละที่มัดมนุษย์ไว้ให้ทุกข์ ข้อแรก คือสักกายทิฏฐิในสังโยชน์ 10 เป็นสักกายทิฏฐิ สักกะ ท้าวสักกะ  สักกายทิฏฐิ คือ กิเลสหยาบที่ผูกมัดจิตใจไว้กับทุกข์ สังโยชน์ข้อแรกโอรัมภาคิยสังโยชน์  คือสังโยชน์เบื้องต่ำ ข้อแรกเลยที่มัดมนุษย์ไว้ให้ทุกข์ สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่ากิเลสเป็นตัวเรา ของเรา กิเลสตัวไหนที่เป็นตัวเรา ของเรา สักกะ ท้าวสักกะเทวราชเคยได้ยินไหม สักกะ แปลว่าใหญ่ กายะ คือ จิตที่อาศัยอยู่ในร่าง ทิฏฐิ คือ ทฤษฎีความรู้ความเห็น ความเข้าใจที่มันอยู่ในจิต ที่อาศัยอยู่ในร่างนี่แหละ แล้วมันก็ไปผูกพันกับสักกะ คือสิ่งหยาบสิ่งใหญ่ ว่าถ้าเป็นดั่งใจหมายสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้ดั่งใจหมายจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ 

ตั้งแต่กาย ร่างกายนี้ไปถึงข้างนอก อะไรก็แล้วแต่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภ ยศ สรรเสริญ ถ้าเป็นดั่งใจหมายด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ถ้าเป็นดั่งใจหมายจะสุขใจชอบใจ ไม่เป็นดั่งใจหมายจะทุกข์ใจไม่ชอบใจแล้วไปผูกอย่างนั้น   คือมันทำให้เกิดทุกข์เร็ว ทุกข์แรงด้วย  ไปผูกกับสักกะในเบื้องต้น สักกะที่เป็นโทษเป็นภัยก็ยังไปชอบมันอยู่ได้ได้ดั่งใจก็สุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจหมายทุกข์ใจไม่ชอบใจ คือสิ่งนั้นเป็นโทษเป็นภัยหยาบ ๆ เบื้องต้น ทำให้เราต้องชั่วมากเช่นบางคนอยากได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ก็โกงบ้าน โกงเมือง เดือดร้อนหนัก ผลของมันคือเดือดร้อนหนัก ชัดเลย เดือดร้อนหนักชัดเจนรวดเร็วเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ไปผูกกับกินเหล้า สูบบุหรี่ ยาเสพติด การพนัน เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น อย่างนี้เป็นต้น  ไปแต่งเนื้อแต่งตัว มันไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ชอบแต่งตัวบางทีเปลืองกว่ากินเหล้าอีก ผู้หญิงก็ชอบแต่งตัว ผู้ชายก็ชอบกินเหล้า สูบบุหรี่ ชอบเล่น ชอบเที่ยว ชอบขี้เกียจ เกียจคร้านการงานอย่างนี้เป็นต้น 

คบคนชั่วเป็นมิตร รู้ว่าชั่วแท้ ๆ ยังไปคบมันอยู่ได้ แล้วเป็นปัญหาเยอะแยะไปหมดเลย อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้ก็คือสักกายทิฏฐิ หรือไปหลง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลาภ ยศ สรรเสริญ จนทำพฤติกรรมชั่วหยาบเลวร้ายมาก เบียดเบียนตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ลักขโมยฉ้อโกงประพฤติผิดในกาม ใช้วาจาที่มันสร้างปัญหาให้กับตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นอย่างนี้เรียกว่าสักกายทิฏฐิ มันไปติดอะไรก็แล้วแต่สร้างปัญหามากไปติดสร้างปัญหาให้กับตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นมากรุนแรง เรียกว่าสักกายทิฏฐิ แต่คนทั่วๆ ไปเขาแปล  เขาไม่เข้าใจ จะแปลแต่ว่ายึดร่างกายนี้เป็นตัวเรา ของเราก็ถูกอยู่ แต่มันถูกน้อยเดียวแล้วมันก็ยึดร่างกายเป็นตัวเรา 

ของเรานี่นะจะบอกให้ มันเป็นกิเลสละเอียดมันไม่ใช่กิเลสหยาบไม่ใช่สักกายทิฏฐิ  ไม่ใช่จะเลิกยึดมั่นร่างกายเป็นตัวเรา ของเราได้ง่าย ๆ หรอก  มันอยู่กับตัวเราของเรา มันสุขเราสุข  มันทุกข์เราทุกข์ มันยึดแน่น มันยึดละเอียด มันไม่ใช่จะเลิกได้ง่าย ๆ นะชีวิตไม่ใช่จะวางได้ง่าย ๆ ไม่ใช่กิเลสหยาบ นี่กิเลสละเอียดมันต้องมาเลิกทีหลังเลยต้องเลิกข้างนอกตัวคุณ ๆ ยังยึดอยู่เลย นอกตัวแท้ ๆ ยังยึดอยู่เลยนอก ๆ สักกะ  สักกายทิฏฐินอกตัว  ยังยึดจนทำให้มีทุกข์เดือดร้อนตัวเองคนอื่นสัตว์อื่นอยู่นั่นแหละ ข้างนอกยังยึดเป็นตัวเราของเราอยู่เลย  แล้วคุณจะมาวางตัวตนเป็นตัวแรกเลยนะได้ไหม ระหว่างคุณรักชีวิตคุณกับรักเหล้าคุณคิดว่าคุณรักอะไรมากกว่า รักชีวิตใช่ไหม ? เพราะชีวิตยังเอาไปเสพอะไรได้มากกว่าเหล้าอีกใช่ไหม ? เหล้าก็รักอยู่ เข้าใจไหม? 

คนที่ชอบเหล้าชอบก็ชอบอยู่แต่ถ้าเทียบระหว่างเหล้ากับชีวิตจะรักอะไรมากว่า รักชีวิตมากกว่า รักร่างกายมากกว่าเพราะถ้ารักแต่เหล้าคงไม่ต้องกินข้าวใช่ไหม? เขาจะไม่กินข้าวเขาจะไม่หายใจเขาจะไม่ทำอะไรหรอกชีวิตนี้เพราะจริง ๆ ลึก ๆ เพราะมีชีวิตถึงไปกินเหล้าได้ใช่ไหม?  นี้คือความจริงคุณถึงไปเสพเหล้าได้  ถ้าไม่มีชีวิตนี้จะไปเสพเหล้าได้ไหม?  ไม่ได้เพราะฉะนั้นระหว่างเหล้ากับชีวิตรักอะไรมากกว่าจริง ๆ รักชีวิตแต่มันก็อดไม่ได้ที่จะไปกินเหล้าใช่ไหม?  แต่มันก็อดไม่ได้ก็จึงไปกินเหล้า 

แท้ที่จริงไม่ได้รักเหล้ามากกว่าหรอก เขารักชีวิตนี่แหละอยากจะเอาชีวิตไปเสพเหล้า เพราะถ้าเลิกเหล้าไม่ได้จะให้วางชีวิต วางได้ไหม?  วางไม่ได้หรอก  พูดก็พูดได้แต่มันยังไม่ป่วยไม่อะไรหรอก กินเหล้าตายก็ไม่เป็นไรจะได้หมดเวรหมดกรรมจะได้ไม่เป็นภาระใคร พูดได้หมดตอนมันยังไม่ตายตอนได้เสพดั่งใจหมาย พอได้เสพดั่งใจหมายแต่พอมันจะตายเข้าจริง ๆ อยากตายไหม? พอบอกว่าตายก็ดีเหมือนกันจะได้ไม่เป็นภาระใคร  สบายดีก็ไม่ต้องไปกินเหล้าหรอกเหล้าก็ไม่ต้องกินอะไรก็ไม่ต้องกินปล่อยให้มันตายไปซะใช่ไหม? ถ้าพูดอย่างนี้ก็อย่าไปกินอะไร  ก็อย่าไปทำอะไรปล่อยให้มันตายไปซะอย่าหายใจ เขาว่าตายก็ดีเหมือนกันจะได้ไม่ต้องเป็นภาระใคร  

ตายก็ไม่เป็นไรกินเหล้าเป็นสุขดี  ตายก็ไม่มีปัญหาหรอกไม่เป็นภาระใครว่าอย่างนั้นนะไม่ต้องลำบากไม่ต้องเป็นภาระเรื่องนั้นเรื่องนี้ตายก็ดีเหมือนกันแหละมันพูดได้ตอนมันยังไม่ตายเฉย ๆ หรอก  พอป่วยมาตกลงพวกนี้จะไปโรงพยาบาลไหม?  ไหนว่าตายก็ช่างมันไม่เป็นไรจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรใครก็ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะเราภาษามันพูดได้หมดแหละตอนที่มันยังไม่ตายตอนมันยังไม่หนัก แต่พอป่วยหนัก ๆ เข้าเป็นอย่างไร อยากรักษาไหม…อยากรักษา อยากตายไหม? ไม่อยากตายหรอกแม้แต่ตอนพูดจริง ๆ อยากตายไหม? ไม่อยากตายหรอกถ้าอยากตายจริง ๆ ถ้าบอกว่าอยากตาย อยากตายแล้วกินข้าวทำไม วิธีตายมันไม่ได้ยากหรอกหยุดกินข้าว หยุดกินน้ำ หยุดหายใจก็ตายแล้ว ปากดีไปอย่างนั้น พูดไปอย่างนั้นแหละ ง่าย ๆ  ไปตามกิเลสมันอยากกินเหล้าดั่งใจหมายก็พูดไปอย่างนั้นแหละ แต่ดูเหมือนทำใจได้จริง ๆ แต่พอจะตายเข้าจริง ๆ ทำใจได้ไหม? ไม่ได้หรอก

อาจารย์จึงเล่าให้ฟังว่าพวกที่ไปปลอบใจคนอื่นเวลาญาติเขาเสียชีวิต ทำใจนะทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดาเหมือนวางใจได้จริง ๆ ญาติเราไม่เสีย  ญาติคนอื่นเสียเรามั่นใจว่าญาติเราไม่เสียง่าย ๆ หรอกมันสบายใจไหม? สบายใจมันเหมือนปล่อยวางได้จริง ๆ นะ ยิ่งรู้ภาษาธรรมะเหมือนปล่อยวางได้จริง ๆ นะใช่ไหม? ปลอบใจคนอื่นเขา ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดาของใครมันก็ต้องเสียชีวิตทั้งนั้นแหละ สุดท้ายเราเองก็ต้องเสียชีวิตทั้งนั้นแหละเป็นธรรมดา เหมือนปล่อยวางได้จริง ๆ แล้วมันยังไม่เดือดร้อนเหมือนมันทำได้ รู้ภาษาธรรมะ เสร็จแล้วเป็นอย่างไร 

ปลอบเขาอยู่ดี ๆ ข่าวมาบอกว่าญาติเราเสียชีวิตแล้วญาติเสียชีวิต ญาติที่รักที่สุดเสียชีวิต คนที่ไปปลอบเขานั่นแหละเป็นอย่างไรหละสบายดี ๆ หรือทุกข์แทบตาย ทุกข์แทบตายเลยเป็นลมก่อน เป็นลม  ทุกข์หนักเลยกำลังปลอบคนอื่นอยู่นั่นนะ มันยังไม่โดนกับตัวเองเฉย ๆ หรอก พอโดนกับตัวเองไปเลยเรียบร้อยเลยเป็นอย่างนั้น มันยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวเราของเรามีอยู่แต่มองไม่เห็นอาการหรอก ถ้ายังไม่ทุกข์ ถ้ายังไม่พลัดพรากจากสิ่งนั้น ถ้าพลัดพรากจากสิ่งนั้นจากสิ่งที่รักนั่นแหละถึงจะรู้สึกทุกข์ ถ้ายังไม่พลัดพรากนี่ปากดีได้หมดแหละ หรือพวกไปชุมนุมพวกแกนนำถ้าทำท่าว่าฝ่ายตัวเองชนะมันกล้าพูดเลย พูดหมดเลย เผามันเลยพี่น้องผมรับผิดชอบเองกล้าหมดนั่นแหละ เสร็จแล้วเป็นอย่างไร  พอทำท่าจะแพ้เป็นอย่างไร มันกระโดดได้ก่อนเพื่อนเลย  แทนที่มันจะรับผิดชอบ แทนที่มัน  จะกล้า เผชิญกับตำรวจ ทหารที่จะมาจัดการ  มันกระโดดเวทีก่อนเพื่อนเลย อาจารย์เห็น ไอ้พวกปากดีนี่นะ โอ้โห! มันกระโดดเวทีก่อนเพื่อนเลย ปัดโธ่เอ๊ย! มันปากดีตอนมันเหมือนจะชนะเฉย ๆ หรอก พอมันจะแพ้ มันจะสูญเสียนี่ มันทุกข์อย่างหนักเลย กระโดดเวทีก่อนเพื่อนเลย พวกนั้นอย่างนี้เป็นต้น นี้เล่าสู่ฟัง คนเราปากดีนี่ อย่าพึ่งเชื่อนะ

มีคนไข้บางคนนะ เขาก็มั่นใจนะ ว่าเขาไม่เป็นไรหรอกน่า หมอบอกผมมาเลย บอกมาเลย ผมเป็นโรคอะไร ผมทำใจได้ ผมทำใจได้ ผมเข้มแข็ง ไม่กลัว เขาเชื่อมั่นว่าเขาจะไม่เป็นอะไร ผมแข็งแรงดีนะ เชื่อมั่นว่าจะไม่เป็นโรคอะไร แข็งแรงดี เชื่อมั่นว่าจะไม่เป็นโรคอะไร แข็งแรงดีอย่างนี้ ก็จะไปเป็นโรคอะไรได้  มั่นใจ โอ้โห! โดนอะไร ๆ ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย กินอะไร ก็ไม่เห็นเป็นอะไร สถานการณ์อะไรก็ไม่เป็นอะไร เขามั่นใจมากว่าเขาจะไม่เป็นอะไรนะ เขามั่นใจ เป็นอะไรก็ทำใจได้หมด หมอก็เชื่อเขา เพราะเขามั่นใจเลย ว่าเขาวางใจได้ ไม่กลัวอะไรทั้งสิ้น ชีวิตนี้ไม่เคยกลัวอะไร เสร็จแล้วหมอบอกเป็นโรคระยะสุดท้าย ให้ทายเป็นอย่างไร โอ้! หามออกมา ทุกข์อย่างแรง ทรุดอย่างแรง โอ้! หามออกมาเลยนะ พอฟังปุ๊บ! นะ โอ้! หามออกมาเลย  

ตอนนั้นมันมั่นใจอย่างหนึ่งนะ เสร็จแล้วมันออกเลขตัวกลับนะ มันพลิกน่ะ มันกลับกันคนละหัวนะ กลับกันคนละด้านเลยน่ะ  ที่ตัวเองคิดว่าจะไม่เป็น มันเป็นนะ โอ้! หมดเรี่ยวหมดแรงเลย ก็เห็นว่า โอ้โห! ตายแล้วชีวิตฉัน หมอบอกโรคร้ายแรงมาก อีกไม่กี่วันจะตาย อีกไม่กี่เดือนจะตาย อีก 6 เดือนตาย ว่าอย่างนั้นนะ เท่านั้นแหละหมดเรี่ยวหมดแรงเลยนะ โอ้โห! หามออกมาเลยทีนี้ ที่ว่ามั่นใจ มั่นใจนี่ มันไปไหนก็ไม่รู้ ที่ว่าความมั่นใจนะ โอ้โห! กลัวจะพลัดพรากจากชีวิต จากสิ่งนั้น สิ่งนี้ทันทีเลย สักกายทิฏฐินี่ มันมาเลย มัดไปหมดเลย  

นี่แหละกายัสสะ ซึ่งจริง ๆ แล้วนี่แท้ที่จริงจิตคือตัวที่สร้างความรู้สึกว่า อันนี้เป็นตัวเราของเรา กายหยาบนี้ ร่างกายนี้ หรือว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นตัวเราของเราเป็นตัวเราของเรา เราสุขเราทุกข์นี่ เพราะว่าผัสสะที่มากระทบเป็นเหตุปัจจัยหลัก อย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่จิตใจเป็นเหตุปัจจัยหลัก มันจะรู้สึกอย่างนั้นเลย เชื่อไหม? เคยรู้สึกไหม? ว่าที่เราสุขเราทุกข์น่ะ เพราะว่าสิ่งที่มากระทบนั่นแหละ ที่ทำให้เราสุข ใช่ไหม? เป็นปัจจัยหลักเลย หรือทำให้เราทุกข์นะคือสิ่งที่มากระทบน่ะ ใช่ไหม? ถ้าเป็นสภาพที่เราชอบ เป็นอย่างไร? มันก็สุขใจ ชอบใจ ในสิ่งนั้นน่ะ แล้วเชื่อว่าสิ่งที่มากระทบนั่นแหละเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้เราสุขใจ ชอบใจนี้ ใช่ไหม? ส่วนถ้าเราไม่ได้ดั่งใจ เป็นอย่างไรก็สิ่งที่มากระทบนั่นแหละทำให้เราทุกข์ใจ ไม่ชอบใจเป็นหลักเลย ไม่ใช่จิตเรา แล้วมันจะให้น้ำหนักแต่ข้างนอกเยอะ นี่คือลักษณะของกายัสสะมันจะให้น้ำหนักกับสิ่งที่มากระทบมันไม่ได้ให้น้ำหนักกับจิต 

แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทั้งหมดนั่นแหละ น้ำหนักที่สูงสุดอยู่ที่จิตนะ นี่แหละท่านตรัสว่า ตถาคตเรียกกายัสสะอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับไม่อาจเบื่อหน่ายคลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต จะหลุดพ้นไม่ได้เลยในจิต เพราะไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ นี่ มันก็มัดเอาอะไร ๆ ๆ ๆ มาเป็นตัวเราของเราหมดนั่นแหละ จะไม่หลุดพ้นในจิตได้เลย มันจะไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัดหรอก ไม่คลายหรอกสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ มันจะไม่คลายเลยในจิต มันจะคลายไม่ออกเลย มันจะมัดมาเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งจิต ทั้งผัสสะที่มากระทบนี่ กายนอกกายใน กายนอกคือสิ่งที่มากระทบ กายในคือก็จิตนี่แหละ จิตมโนวิญญาณ นี่แหละ มันจะมัดเป็นหนึ่งเดียวกันเลยไม่หลุดพ้นได้หรอก เป็นต้นนั้น

พระพุทธเจ้าตรัสเลยว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับผู้หนาด้วยกิเลส ไม่ได้ฟังธรรมะแท้  ไม่อาจเบื่อหน่ายคลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือเอาไว้ ด้วยตัณหา ด้วยความอยากเป็นต้นนี้  อันปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้หนาด้วยกิเลส จิตหนาด้วยกิเลส ด้วยวิปลาส 4 รวบรัดถือเอาไว้ด้วยตัณหา รวบรัดอะไร รวบรัดเอาสิ่งต่าง ๆ ที่มันอยากได้นั่นแหละ ตัณหาคือ ความอยาก อยากให้เข้ามา กับอยากเอาออกไป อยากได้ อยากได้เข้ามาเป็นตัวเรา ของเรา โอ้โห! ได้ดั่งใจเรา กับอยากเอาสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจนั้นออกไป นี่แหละมันรวบรัด ถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิ (ทิฏฐิ) ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเราดังนี้ 

โอ้โห! ยึดเป็นตัวเราของเรานี่ พอเข้าใจไหม? ยึดรถของเรา บ้านของเรา ญาติของเรา อะไรอีกล่ะ ประเทศของเรา อาหารของเรา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั้น ของเรา ชื่อเสียงของเรา ลาภ ยศ สรรเสริญของเรา อะไรของเรา ใช่ไหม? หรือแม้แต่สิ่งนั้นสูญหายไป ก็ยังว่าเราสูญหาย  ใช่ไหม? ของเราสูญหายไป อย่างนี้เป็นต้น หรือใครมาทำให้ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ อะไรที่ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ก็เรานี่แหละ ที่ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจใช่ไหม ก็รู้สึกว่า โอ้โห! เขามาทำให้เรา อืม!  ไม่ถูกใจไม่ชอบใจ นี่มันกระทบเราน่ะ รู้สึกว่ามันกระทบชีวิตเราใช่ไหม? อย่างนี้เป็นต้น

มันกระทบชีวิตเรานะ มันยึดเป็นตัวเรา ของเราหมดเลย เราสุข เราทุกข์ กับสิ่งนั้น สิ่งนั้นได้ดั่งใจเราสุข ไม่ได้ดั่งใจเราทุกข์ใช่ไหม? ยึดสภาพนั้นเป็นตัวเราของเรา  อาจารย์พยายามอธิบายกายัสสะนะวันนี้ ว่านี่พระพุทธเจ้าตรัสว่ากายัสสะมันมีสภาพอย่างนี้จริงในโลก แล้วก็พามนุษย์เป็นทุกข์นี่ ท่านจึงตรัสนี่ เพราะว่า จิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนไม่ได้สดับรวบรัดถือไว้ ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิ(ทิฏฐิ) ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น โอ้โห! ตลอดกาลนานเลย ยึดแบบนี้ ยึดแบบนี้แหละ บางที่นี่เขาเหยียบเงานี่ เจ็บถึงใจเลยนะ นักเลง เหยียบเงา มึงเหยียบเงากู โอ้โห! เจ็บถึงใจเลย เหยียบย่ำศักดิ์ศรีกู เหยียบเงาที่หัว อืม! โอ้ มึงเหยียบเงาหัวกู โอ้โห! เจ็บใจมาก  ซัดกันเลย มันยึดเงาเป็นตัวเราของเรา อย่างนี้เป็นต้น 

ยึดจริง ๆ นะ โอ้โห! เป็นศักดิ์ศรีของเรา มันขนาดนั้นเลยนะ ยึดอะไรก็แล้วแต่ เป็นตัวเราของเรา อาจารย์ถึงว่า  บางทีนี่ข้าวของก็อยู่ไกล ๆ เราโน่นน่ะ ห่างไปเชียว แต่เราก็รักเนาะ  รู้คุณค่า รู้ประโยชน์ เขามาแตะหน่อยเดียวเข้าไปฝังนี้โอ๊ย! เจ็บถึงใจ เขาไปทำให้เสียหาย เจ็บมาถึงใจ ยึดเป็นตัวเราของเรา ไม่ใช่ธรรมดา  บางทีฝุ่นทรายเม็ดเดียว ยึดเป็นตัวเราของเรา โอ้! พวกนี้มันไม่รู้จักรักษาของ ทรายก็สมบัติของเรา นี่ถ้ามีหลาย ๆ เม็ดนี่นะ  มันจะสร้างนู่นสร้างนี่ได้หมดเลยนะนี่ ทรายเม็ดเดียวก็หวงเป็นตัวเราของเรา  สมบัติของเรา คนขี้หวงมันก็หวง นี่ยึดอย่างนี้ตลอดกาลนาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงมิอาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนด หลุดพ้น ในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ ว่าอย่างนั้น ไม่มีทางเลยนะ ไม่มีทางหลุดพ้นได้เลย

[231] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายัสสะอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ โดยความเป็นตนยังชอบกว่า ยังถูกต้องกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ คือ หมายความว่า  ถ้าไปยึด ยึดเอาร่างกายก็ยังพอรับได้ คือ คล้ายว่ายังพอ พอรับได้ในความโง่ ว่ายึดร่างกาย หรือยึดวัตถุนั้นเป็นของตัวเรา ของเราจริง ๆ ก็ยังพอยึด พอรับได้นะพระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น แต่จะไปยึดจิต ว่าเป็นตัวเรา ของเราทั้ง ๆ ที่มันมองไม่เห็นเลยมันหาชอบไม่ ว่าอย่างนั้น แต่ยึดไหม? ยึดไหม? ยึดหมด จิตนี่เป็นตัวเราของเราเลยนะ เราสุข เราทุกข์นะ ยึดไหม? ยึดเลยนะ เห็นตัวมันไหม เห็นตัวไหม เราสุข เราทุกข์เห็นไหม ไม่เห็นน่ะ แล้วเราก็ไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวเราของเรายังพอรับได้ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวอย่างนั้น ยังชอบกว่า ถูกกว่าเพราะอะไร มันก็พอรู้ ๆ เห็น ๆ นะ มันเป็นกายหยาบนะ แต่ไปยึดจิตเป็นตัวเราของเรา ถ้าเราสุขเราทุกข์นี่ เป็นอย่างไร

พระพุทธเจ้าบอก มันไม่ถูกต้องหรอก มันไม่ใช่หรอก มองก็ไม่เห็น ควบคุมก็ไม่ได้ อย่างกายนี่ยังพอควบคุมได้บ้าง บางครั้งบางคราวนะ หรือเหตุการณ์ก็พอควบคุมได้บ้างนะ เป็นบางครั้งบางคราว แต่จิตนี่จะควบคุมให้เป็นไปดั่งใจตลอดได้ไหม ไม่ได้เลย แล้วจะไปยึดเป็นตัวเราของเราหาชอบไม่ ท่านว่าอย่างนั้น ไม่ถูกต้อง

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ กายัสสะ เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง  สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่า ร้อยกว่าปีบ้าง ย่อมปรากฏ อันนี้มันก็ยังปรากฏให้เห็น จริง ๆ ตัวนั้น กายัสมิง ที่พระพุทธเจ้าใช้ มันตัวกายหยาบ จริง ๆ พระพุทธเจ้าตรัสถึงกายหยาบ กายสฺมึ (กายัสมิง) อันนี้นี่ กายัสสะเลย แต่ว่าตถาคตเรียก กายัสสะ คนละอันกับ กายัสมิง กายัสมิง หมายถึงกายหยาบ กายัสสะนี่ก็คือข้างในจิต กายัสสะ 

แต่ว่าตถาคตเรียกกายัสสะ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน โอ้โห! วันเกิดดับ ๆ ๆ ทั้งกลางคืนกลางวันนี่ เดี๋ยวก็ไปยึดตัวนั้น เดี๋ยวก็ไปยึดตัวนี้เป็นตัวเราของเรา ยึดสุข ยึดทุกข์  วัน ๆ หนึ่งเราสุขเราทุกข์ ๆ เราทุกข์ ๆ ๆ ๆ  นาน ๆ จะสุขที นาน ๆ เราสุข นาน ๆ เราทุกข์นี่เยอะเหลือเกิน เยอะไหม?… เยอะ อันที่ไม่ได้ดั่งใจ ยึดเยอะเหลือเกิน มันก็ยึดนั่นแหละ ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ เยอะเหลือเกิน ไปยึดอยู่อย่างนั้น 

 [232] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วานร (ลิง) เมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น  ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด เดี๋ยวก็ยึดตัวนั้น เดี๋ยวก็ยึดตัวนี้ กระโดดจับอันนั้นอันนี้กลับไปกลับมา มีอันใหม่บ้าง มาอันเก่าบ้างมั่วไปหมด จริง ๆ แล้วเหมือน เดี๋ยวก็อยากเดี๋ยวก็เบื่อ เดี๋ยวก็อยาก เดี๋ยวก็เบื่ออยู่นั่นแหละเรื่องนั้น เรื่องนี้  มั่วไปหมดเลย ไปเรื่อยเลยในป่า แม้ฉันใด กายัสสะ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ที่ตถาคต เรียกว่า จิตบ้างมโนบ้าง วิญญาณบ้าง เป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวันก็ฉันนั้นแล ฯ

[233]  ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึง ปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิต ที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ปฏิจจสมุปบาท เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ค้นหาต้นเหตุว่า เพราะอะไรเกิดจึงเกิดอะไรต่อเนื่อง เพราะเกิดอะไรจึงเกิดทุกข์ เพราะสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เพราะสุขใจที่ได้ดั่งใจเกิด จึงเกิดทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ จึงเกิดทุกข์กาย จึงเกิดเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล เพราะสุขใจที่ได้ดั่งใจดับ เพราะเรารู้ว่ามันไม่เที่ยงไม่มีจริง เพราะเราดับมัน ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงดับ ทุกข์กายเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลจึงดับ นี่แหละปฎิจจสมุปบาท เป็นอย่างนี้ ถ้ารู้ก็ดับไปเลย  

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร   สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ  เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ไล่เข้าไปตรงนี้ไปท่านก็อธิบาย ปฏิจจสมุปบาท อวิชชาเป็นปัจจัย ความไม่รู้ ความไม่รู้เป็นปัจจัย อวิชา คือ ความไม่รู้ ไม่รู้จักว่า อะไรที่จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มันไม่รู้อริยสัจ 4 พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น ไม่รู้จักอริยสัจ 4 ไม่รู้จักทุกข์ เหตุแห่งทุกข์  สภาพดับทุกข์ วิธีดับทุกข์ จึงมีสังขารคือการปรุงแต่ง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร  สังขารหรือมโนสังขาร ปรุงแต่งจิต ว่าถ้าได้อย่างนั้นอย่างนี้จะสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้จะทุกข์ใจไม่ชอบใจ นั่นแหละปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ก็มีวิญญาณ มีธาตุรู้ขึ้นมาว่านี่แหละธาตุรู้ตามนั้นแหละ มีธาตุรู้ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย  จึงมีนามรูป วิญญาณนี่คือชีวิตคือธาตุรู้ จึงมีนามรูป นามรูปคือ นามคือตัวรู้ รูปคือตัวที่ถูกรู้ มีตัวรู้ รูปก็คืออาการที่มันเกิดขึ้น นามรูปคืออาการ 

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 10 ข้อที่ 60 นามรูป คือ อาการ ท่านตรัสอาการลิงคนิมิตอุเทศ มีอาการมีลิงคะ มีความต่างมีนิมิตมีเครื่องหมายให้รู้ว่าคืออะไร แล้วมีอุเทศ คำสอนของผู้รู้  นามรูปก็คืออาการอาการสุขใจที่ได้ดั่งใจนี่แหละ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละมันมีอาการ แล้วก็มีธาตุได้รู้มัน นามก็เป็นตัวรู้ รูปก็คืออาการที่มันออกอาการสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละ เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ มีพลังเชื่อมต่อ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็เชื่อมต่อกับข้างนอกนั่นแหละ เชื่อมต่อกันให้ได้รับรู้ 

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ จริง ๆ สฬายตนะ ก็คือจิตวิญญาณนั่นแหละจิตวิญญาณที่มันเชื่อมต่อกับข้างนอกกับผัสสะที่มากระทบ ผัสสะนอกมากระทบ ทางตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ มีเหตุการณ์ มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ มากระทบปุ๊บ มันเกิดเป็นผัสสะใน มันก็เป็นผัสสะใน คือ สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละ คือผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัยผัสสะนอกเป็นปัจจัย มันก็มีพลังเชื่อมต่อเข้ามาเพราะจิตวิญญาณมันรับรู้ได้ มันก็เชื่อมต่อเข้ามา เชื่อมต่อเข้ามาเป็น ผัสสะใน เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ผัสสะในข้อนี้คือเวทนานั่นแหละ ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจนั่นแหละ มี สุขเวทนา  อทุกขมสุขเวทนา แล้วก็ ทุกขเวทนา ไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ เป็นทุกขเวทนา ได้ดั่งใจก็สุขใจชอบใจ แบบดีใจ สักพักก็ลดลงมาเหลือ อทุกขมสุขเวทนา ก็คือ สุขสบาย อิ่มเต็มพอ สุขสบายไประยะหนึ่ง แล้วก็วนไปวนมาอยู่ วนไปทุกข์อีก หมดฤทธิ์ก็วนไปทุกขเวทนาอีก 

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา มีความอยาก เวทนาเป็นปัจจัย ก็มีความอยาก มันก็อยากทุกขเวทนาอยากให้หมดไป สุขเวทนากับอทุกขมสุขเวทนาก็อยากให้เกิดขึ้น ก็อยู่อย่างนี้ อยากอยู่อย่างนี้ ความรู้สึกดีใจ ความรู้สึกสุขใจ สุขสบายใจก็อยากให้เกิดขึ้น ไม่อยากให้หมดไป อยากให้คงอยู่ ส่วนทุกขเวทนาความรู้สึกทุกข์ก็อยากให้หมดไป ไม่อยากให้กลับมา เห็นไหม? คืออยากให้ไม่กลับมานั่นแหละ ก็อยากทั้งนั้นแหละ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ก็ยึดไว้ในจิตก็อุปาทาน ก็ยึดไว้ ยึดตัวเราของเรา กบดานไว้ในจิต อุปาทานยึดไว้นี่มันไม่แสดงออกนะ อุปาทานมันยังไม่แสดงออก มันจะกบดานไว้ ตัณหาจะเพ่นพ่านอุปาทานจะกบดาน

กบดานอยู่ในนั้นน่ะ ยังไม่ออกมาหรอก ถ้าญาติไม่เสียชีวิตนี่ จะไม่รู้สึกหรอกว่าทุกข์ แล้วไปสอนคนอื่นได้เลย โห! ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป สอนตัวเองก็ได้ สอนคนอื่นก็ได้ เสร็จแล้วพอญาติเสียชีวิต หรือตัวเองจะเสียชีวิต เป็นอย่างไร  มันทุกข์ขึ้นมาเลยอย่างนี้ มันจะเกิดทุกข์  เมื่อมันไม่ได้ดั่งใจเท่านั้นแหละ มันถึงได้เกิดทุกข์ขึ้นมา นี่อุปาทาน ถ้าได้ดั่งใจจะสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้ดั่งใจจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ นี่มันเป็นลักษณะนี้ จริง ๆ นี่สภาพตัณหาเวลามันกระทบออกมาเป็นความอยาก แม้มันได้ดั่งใจนะ มันเกิดเวทนานี่  วันนี้ขยายตรงนี้อีกสักนิดหนึ่ง จริง ๆ นี่ คนนี่อยากได้เวทนา เอาผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา 

(เอาอย่างนี้ก่อนก็แล้วกัน แล้วต่อมาที่ตัณหาอุปาทาน  หรือไปให้จบก่อน ไปให้จบก่อนก็แล้วกันเดี๋ยวก็ย้ายไปเรื่อย เดี๋ยวมันก็ไม่จบสักที เขาก็บ่นเรื่อย อาจารย์พูดไม่เห็นจบสักทีเลย ไปแล้วก็ไปเรื่อย ๆ จริง ๆในหัวอาจารย์นี่ไปตั้งหลายสูตรตอนนี้มัน ปื๊ด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ มันเปิดมานี่พี่น้องจะตามไม่ทัน ก็เลยเอา ๆ ๆ ค่อย ๆ ไปอย่างนี้ดีกว่า โห! ไปถึงเทวธาวิตักกะ อยากจะอธิบาย) 

มีกิเลสปัญญาดับ ดับกิเลสปัญญาเกิด โน่นไปถึงโน่นเลยนะ ที่พระพุทธเจ้าตรัส เทวธาวิตักกะ ไม่เป็นไรอธิบายตัวนี้ไปก่อน เอาไล่ตัวนี้ไปก่อน แล้วจะกลับมาอธิบาย อันหนึ่งที่ โอ้โห!  อาจารย์ว่าเข้าใจชัด ๆ นี่จะพ้นทุกข์ได้เร็วเหมือนกัน เอา ปฏิจจสมุปบาท ตัวนี้ให้จบก่อน 

เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เวทนานี่มันก็จะมีตัณหา ความรู้สึกสุขก็อยากได้มานะ ความรู้สึกทุกข์ก็อยากเอาออกไป เอาย่อ ๆ แบบนี้ก่อน จริง ๆ อยากมันยังมีซ้อนอีก สุขก็อยากได้มา อยากให้ไม่หมดไป ทุกข์ก็อยากให้ออกไป อยากให้ไม่เข้ามา อยากทั้งนั้นแหละ อยากแล้วก็กลัวซ้อนเข้าไป กลัวจะไม่ได้ดั่งใจหมาย เห็นไหมซ้อนเข้าไปอีก มีอาการกลัวกังวลหวั่นไหว มีอาการทุกข์ที่ไม่เป็นไปดั่งใจหมายอีกซ้อนก็ไปอีก เยอะแยะ ตัณหาจึงมีอุปาทาน ซ่อนไว้ในใจกบดานไว้ ถ้ายังไม่มีอะไรมากระทบก็ยังซ่อนไว้อยู่ แท้ที่จริง เยอะแยะ ซ่อนไว้ แต่ยังไม่ออกอาการหรอก ซ่อนไว้อยู่อุปาทานนี่ ซ่อนไว้ บางทีเราเห็นว่าอะไร ๆ อร่อยแต่มันเป็นพิษ ตอนที่ยังไม่ไปพบมัน นี่มันก็ยังกบดานอยู่นะ ยังไม่ออกอาการหรอกว่า ว่าจะไปอยากกินมาก โห! นะ อันนี้เป็นพิษไม่กินมันหรอก ตั้งศีลไม่กินเลยอันที่เป็นพิษนะ ไปพบเข้าจริง ๆ มัน  น่ากินดีเหมือนกันนะ นี่เห็นไหมพอไปพบเข้าจริง ๆ มีผัสสะเข้าจริง ๆ นี่มัน โอ้โห! อุปาทาน นี่มันออกอาการเลยนะ มันออกมาเลยนะ อาการตัณหาความอยาก

อยากกิน  นี่ถ้าได้กินอร่อย ได้กินจะเป็นสุข ไม่ได้กินจะเป็นทุกข์เห็นไหม มันขึ้นมาเลยนะ ไม่ใช่ธรรมดานะ ไม่ใช่ธรรมดาหรอก ว่าแล้วก็อธิบายแวะตรงนี้ซะเลย อุปาทาน มันจะกลับไปกลับมา กับตัณหา กับความอยากแต่พออยากนานเข้า ๆ เป็นอย่างไร  ถ้าไม่ได้กินเป็นอย่างไร  เราอยากกินอันนี้แต่เราไม่ได้กิน เราอยากกินแล้วไม่ได้กิน    เสร็จแล้วเป็นอย่างไร นานเข้า ๆ  มันหายไปไหม มันหายไปเหมือนกันนะ หายไปตลอดกาลไหม?… ไม่หรอก      

มันกบดาน ฟังดี ๆ นะ  อธิบายตอนนี้ กบดาน มันกบดานอยู่ในใจนั่นแหละ มันฝังไว้ มันกบดานอยู่  ที่มันอยากกินแล้วไม่ได้กินนานเข้า ๆ นี่   ตกลงมันหายไป ไม่! มันกบดาน    มันสงบชั่วคราว ไปเจออีกเป็นอย่างไร?… มันจะอยากเลย หรือแม้เราได้กินแล้วก็ โอ๊ย!สุขใจพอใจ แล้วมันก็เลิกแล้วนี่แปลว่า มันหายอยากใช่ไหม หายไปเลยใช่ไหม?…ไม่ใช่ เพราะอะไร มันกบดานอยู่ ใช่ไหม?… กบดานอยู่นั่นน่ะ แล้วโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วยนะ ไม่ใช่จะเล็กลงนะ โตขึ้นไปเรื่อย ๆ นี่คือสัจจะอย่างนี้ มันกบดานอยู่อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ

อาจารย์กำลังจะอธิบายว่า ที่จริงนี่ เวลาไปเจอนี่นะ ก็ยังไม่เท่าไร ถ้าของกินนี่ก็เหมือนกัน อย่างอื่นก็เหมือนกัน แต่พอได้กินปุ๊บเป็นอย่างไร  ระหว่างแตะเข้าลิ้นกินเข้าไปนี่ กับเห็นเฉย ๆ นี่ คิดว่าอะไรจะหยุดง่ายกว่า เห็นกับแตะเข้าลิ้นนี่อะไรหยุดง่ายกว่า  เห็นใช่ไหม แตะเข้าลิ้นแล้วหยุดง่ายไหม เอ้อ! นี่อ้อยเข้าปากช้าง หรือของกินเข้าปากคน ถ้าของกินอร่อยเข้าปากคนนี่หยุดง่ายไหม?… ไม่ง่ายเลยทีนี้

ถ้าได้กินแล้วก็ปื๊ด ๆ เลยนะ กะว่าจะกินคำหนึ่งเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่เอาไม่อยู่หรอก ก็ชอบน่ะใช่ไหม  อย่ากระนั้นเลยไหน ๆ ก็ได้กินแล้วศีลก็ศีลเถอะ อันที่ตั้งไว้ก็เอาไว้วันหน้าก็แล้วกันย้ายไปก่อน ย้ายศีลไปวันหน้าเลยนะ ระหว่างเราตั้งศีลไม่กินสิ่งนั้นเลย กับตัวอร่อย แล้วเราก็ชิมนิดหน่อย หรือว่ากินเท่านั้นเท่านี้    ระหว่างให้ตั้งศีลให้ไม่กินอันนี้เลย กับกินในปริมาณที่จำกัด 

สมมุติเราอยากกิน 5 ชิ้น แต่กิน 2 ชิ้น ระหว่างตั้งไม่กินเลย ไม่กิน 5 ชิ้นเลย กับกิน 2 ชิ้นนี่ อะไรง่ายกว่า?… กิน 2 ชิ้นกับตั้งไม่กิน 5 ชิ้นเลยนี่ อะไรจะหยุดกิน 5 ชิ้นได้ง่ายกว่าระหว่างไม่กินเลยกับกิน 2 ชิ้น… ไม่กินเลยง่ายกว่าใช่ไหม ถ้าได้กินเป็นอย่างไร โห! มันปื๊ดไปเลยนะ ส่วนใหญ่มันจะอยู่ไหม 2 ชิ้นน่ะ ถ้ามันอยาก 5 ชิ้นน่ะ ตั้งว่าจะกิน 2 น่ะ ส่วนใหญ่อยู่ไหม ไม่อยู่หรอกปื๊ดไปเลย กินเข้าไป 5 เลย เอ๊ะ! กิน 2 ชิ้นมันน่าจะเบาลงนะ มันได้กินตั้ง 2 แล้วมันน่าจะลดความอยากลงบ้างนะ น่าจะลดความอยากลงมากกว่าไม่กินเลยนะ ใช่ไหม อย่างน้อยได้กินตั้ง 2 ชิ้นแล้ว เอา.. มันยังไม่ถึงจุดสูงสุดนะ จุดสุขสุด จุดอิ่มเต็มพอใช่ไหม ยิ่งถ้าได้กินเป็นอย่างไร ระหว่างกิน 2 ชิ้นแล้วพอมันอยากกิน 5 นะ ไปกิน 5 ถึงจะพอน่ะไปกิน 2 แล้วพอ กับไม่กินเลยนี่ อะไรหยุดง่ายกว่า ไม่กินเลยหยุดง่ายกว่าใช่ไหม พอถ้าได้กินก็ไปปื๊ดเลยนี่นะ โอ้โห! มันจะหยุดยากเลย

คำที่ 1ไปสู่คำที่ 2 ระหว่างคำที่ 1 ไปสู่คำที่ 2  กับคำที่ 2 ไปสู่คำที่ 3 ของกินที่เราชอบนะ สมมุติ เราจะกิน 5 คำนะ คือ 5 คำแล้วมันจะสุขสูงสุดเลย ขนม 5 ชิ้น เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน

  • ระหว่างชิ้นที่ 1 ไปสู่ชิ้นที่ 2 กับชิ้นที่ 2 ไปสู่ชิ้นที่ 3 อะไรอดยากกว่าให้ทาย 1 ไปสู่ 2 กับ 2 ไปสู่ 3 อะไรอดยากกว่า? … 2 ไป 3 คนต้องมีญาณดี ๆ นะถึงจะรู้นะ 
  • ทีนี้ระหว่าง 2 ไป 3 กับ 3 ไป 4 อะไรอดยากกว่า? โอ! 3 ไป 4 
  • ทีนี้ระหว่าง 3 ไป 4 กับ 4 ไป 5 อะไรอดยากกว่า? เฮ้อ! 4 ไป 5 

ทำไมรู้ล่ะ เก่งเหมือนกันนะนี่อ่านออกนะ โห! ทำไมรู้ล่ะ ถูก! ตอบถูก ใช่ไหม! ใครพูดต่างกว่านี้ไหม โห! มันจะพออยู่แล้ว จะอิ่มอยู่แล้วมาเรียกเราไป ถ้ากินคำที่ 1 แล้วไปแล้วค่อยยังชั่วนะ คำที่ 1 กำลังอร่อยมาเรียกเราไป แต่ถ้าคำที่ 2 ที่ 3 เป็นอย่างไร โอ้โหมันปื๊ด! ไปแล้วนี่กำลัง กำลังดีเลย  กำลังถึงจุดสูงสุดเลย  ถึงจุดพอเลย จุดสุดยอด จุดสูงสุด จุดพอเลยเป็นอย่างไร แต่แล้วมีคนมาเรียกไปไหนก็ไม่รู้

เป็นอย่างไร ระหว่างคำที่ 1 กับคำที่ 4 ชิ้นที่ 1 กับชิ้นที่ 4 กิน 5 ชิ้นแล้วนะแล้วมันจะพอนะ ระหว่างไปชิ้นที่ 1ไปตั้งแต่นี่ ตั้งแต่ยังไม่กินเลยนี่ ไปก่อนแล้วค่อยมากินทีหลังนี่ ให้กินชิ้นที่ 1 แล้วไปนี่ อะไรยากกว่า กินชิ้นที่ 1 แล้วไปนี่ยากกว่าใช่ไหม ยากกว่าไม่กินเลยใช่ไหม ทีนี้กินไปได้ 4 ชิ้นแล้วเหลือชิ้นเดียวจะพอแล้วกับชิ้นที่ 1 กินชิ้นที่ 1 แล้วไป กับกินชิ้นที่ 4 แล้วไป ชิ้นไหนยากกว่า ชิ้นที่ 4 แล้วไปใช่ไหม โอ้โห! มันจะครบ 5 ชิ้นอยู่แล้ว มันจะพออยู่แล้ว

อาจารย์กำลังจะอธิบายว่า ตกลงนี่ถ้ามันยังไม่ถึง ถึงจุดสูงสุดของมัน เขาเรียกว่า จุดสุดยอด จุดอร่อยที่สุด จุดสุขที่สุดนี่ระหว่างเราได้ไปเรื่อย ๆ นี่ ความอยากได้น่ะ ความอยากได้ แล้วไม่ได้แล้วทุกข์น่ะ ระหว่างแรก ๆ กับใกล้จะถึงจุดสูงสุดไปเรื่อย ๆ นี่ ตัวไหนแรงกว่า ใกล้จะถึงจุดสูงสุดไปเรื่อย ๆ แรงกว่าใช่ไหม? พอไม่ได้ อะไรทุกข์กว่า  จุดเริ่มต้นกับจุดสูงขึ้นไป จุดใกล้ ๆ จะถึงจุดพอน่ะอะไรทุกข์กว่า จุดสูงใช่ไหมจุดพอใช่ไหม? ทุกข์กว่ากำลังจะอธิบายว่าเวทนาชั้นดาวดึงส์นี่ 

อันนี้คือชั้นดาวดึงส์นะได้กินแล้วเป็นสุขใช่ไหม?  ไม่ได้กินแล้วเป็นทุกข์  กำลังได้กิน ได้เสพ เรื่องไหนก็ช่าง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนี่นะ ถ้าได้เสพแล้ว  มันจะเป็นสุขไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ นะ ความรู้สึกคร่าว ๆ ความรู้สึกแบบหลวม ๆ แบบฉาบฉวย จะรู้สึกว่าสุขมากขึ้น หรือทุกข์มากขึ้น ที่ได้กินไปเรื่อย ๆ น่ะ สุขมากขึ้น หรือทุกข์มากขึ้น สุขมากขึ้นใช่ไหม? แต่ความจริงแล้วนี่สุขมากขึ้นหรือทุกข์มากขึ้น ทุกข์มากขึ้นใช่ไหม? 

ฟังดี ๆ นะ จะว่าสุขมากขึ้นด้วยก็ได้ แต่จริง ๆ แล้วทุกข์มากขึ้นคู่ไปด้วยจะว่าสุขมากก็ได้ก็ใช่ แต่เหตุที่สุขมากเพราะอะไร เพราะว่าทุกข์มากฟังดี ๆ นะ ที่สุขมากเพราะทุกข์มากนะ เพราะตัวเองตั้งว่า ถ้าได้กินอีกจะสุขมากเลย ใช่เลยอันนี้ชอบ ใช่เลย  ขนมนี้ถูกใจ หรือว่าของกินนี้ถูกใจ ใช่เลย ชอบ เป็นอย่างไร  ชอบ ใช่เลย พอชอบใช่เลย มันต้องเอาให้พอเลยใช่ไหม?  ถึงจะสุขมาก 

เพราะฉะนั้นแรงกดดันมันจะมากขึ้นไหม? มากขึ้นเลย พอได้ยิ่งโอ้โห! ได้สมใจ โอ้! ใช่เลย นี่ถูกใจ ความอยากมันจะแรงขึ้นทันที  กิเลสมันจะแรงขึ้น แล้วตอนที่ยังไม่ได้กินสมใจ ทุกข์แรงไหม? ทุกแรง พอได้สมใจเป็นอย่างไร?  ลดทุกข์ได้เยอะไหม? เยอะใช่ไหม? พอได้สมใจ ทุกข์มันลดลงไปเยอะใช่ไหม? มันสบายเยอะขึ้นไหม? สบายเยอะขึ้น ทุกข์ ทุกข์ใหญ่ ๆ ๆ มันลดลงมันหายไปน่ะ มันสบายมากเลยใช่ไหม? พอทุกข์เยอะ ๆ แล้วหายทุกข์นี่จะเรียกว่าอะไรนะถ้าปวดหัวน้อย ๆ แล้ว แล้วหายปวดหัว กับปวดหัวมาก ๆ  แล้วหายปวดหัว อะไรจะดีใจแรงกว่า ปวดหัวมาก ๆ ใช่ไหม แล้วหายปวดหัว จะดีใจแรงกว่าใช่ไหม? กับปวดหัวน้อย ๆ แล้วก็หาย ดีใจแรงไหม? ไม่เท่าไรเนาะ ถ้าปวดหัวเยอะ ๆ แล้วหาย เป็นอย่างไร  หายทันที โอ้! ดีใจแรงเลยเนาะ 

อันนี้แหละ กิเลสมันหลอกคนอยู่ตรงนี้แหละ มันหลอกคนให้สร้างทุกข์ใจเยอะ ๆ สร้างได้เยอะเท่าไร โดยหลอกว่าสุขมาก ๆ นั่นแหละ ถ้าได้จะสุขมาก ๆ ตอนนั้นได้หรือยัง? คิดเอาไว้ในใจนะ ถ้าได้จะสุขมาก ๆ ตอนนั้นได้หรือยัง? ถ้ายังไม่ได้นี่ ทุกข์ไหม? ทุกข์ ทุกข์แรงไหม? แรง! แต่พอได้สมใจเป็นอย่างไร? ทุกข์แรง ๆ ลดลงไปไหม? ลดลงไป  เป็นอย่างไร ความสุขจะแรงไหม? แรง! โอ้! เข้าใจไหม? ที่มันสุขแรง เพราะทุกข์แรง ที่มันสุขแรง เพราะทุกข์แรง เสร็จแล้วเป็นอย่างไร? พอได้ดั่งใจอย่างนั้น เป็นอย่างไร มันรู้สึก โอ้โห! ได้แบบนี้สุข แต่มันยังไม่พอ มันเพิ่มความอยากแรงขึ้นไหม?  แรงขึ้นอีก

 เพราะฉะนั้น ทุกข์แรงไหม? ทุกข์แรง เพิ่มความอยากแรง  ก็ทุกข์แรง พอได้สมใจเป็นอย่างไร? ทุกข์แรงลดลงเร็วไหม? เร็ว เลยเป็นอย่างไร? สุขแรงไหม? แรงขึ้นไปอีก  นี่แหละ กิเลสที่โตขึ้น โตขึ้น    แล้วมันยิ่งยืนหยัดเลยใช่ไหม? ยืนยันเลย ว่าถ้าแบบนี้เป็นอย่างไร?  ยืนยันเลยว่าแบบนี้แหละ  แบบนี้แหละ ใช่เลยนะ ต้องสุข รู้สึกว่าสุขแรง ๆ แล้วก็ต้องสร้างทุกข์มาแรง ๆ อย่างนี้แหละ แล้วได้สมใจนี่ โห! ลดทุกข์แรงนี่แหละ 

สุขนะมันจะหลอกว่ารู้สึกสุขมาก ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ แต่แท้ที่จริงมันทุกข์มาก ๆ ๆ  ใช่ไหม? แล้วระหว่างนั้นน่ะ เป็นอย่างไร คนอยากจะไปถึงจุดพอเร็วไหม? อยากไหม? อยาก อยาก ไปถึงจุดพอเร็ว ๆ เลยใช่ไหม? เพราะอะไร? เพราะว่ามันทรมาน ทำไมอยากจะพอเร็ว ๆ อยากจะกินเร็ว ๆ   อยากได้สุข อยากรู้สึกสุขนี่ถ้าได้อีกจะสุขมากขึ้นไปอีก ถ้าได้อีกจะสุขมากขึ้นไปอีก อยากได้เร็วไหม อยากได้เร็วใช่ไหมอยากสุขมาก ๆ นี่เร็ว ๆ ใช่ไหม?  อยากได้เร็ว ๆ หรือช้า ๆ เร็ว ๆ คนจะอยากได้เร็ว ๆ อยากได้เร็ว ๆ อยากได้เร็ว ๆ อยากได้เร็ว ๆ ใช่ไหม? ยัดคำนี้ บางทียังไม่ทันกลืนเลยยัดคำต่อไป มันอยากให้เร็ว ๆ  มันจะขาดช่วงอีกอยากได้เร็ว ๆ ไม่อยากขาดช่วง ยัดเข้าไปอีก ยัดเข้าไปอีก ยัดเข้าไปอีก ให้มันพอ คนอยากได้เร็ว ๆ อยากได้ไปถึงสุขที่มันดีที่สุด สูงที่สุดเร็ว ๆ

เพราะฉะนั้นการทรมานตัวเองนี่มาก กินแรง พออยากได้เร็ว ๆ จึงต้องเสพเร็ว ๆ  จึงเสียพลังเยอะ เสียพลังไปสร้างทุกข์เยอะ เพื่อที่จะลดทุกข์ลง พอลดทุกข์ลงก็ดีใจเข้าไปอีก สร้างทุกข์ สร้างความอยาก ถ้าได้สุขกว่านี้อีก สร้างความอยากให้มันแรงขึ้นไปอีกนะ มันจะสร้างความอยากให้มันแรง เพราะมันหลงว่าถ้าได้ จะสุขแรงขึ้นไปใช่ไหม?  รีบสร้าง สร้าง สร้างขึ้นไป เพราะฉะนั้น คนจึงไม่อยากจะค้างอยู่ในดาวดึงส์นี้ สุขใจที่ได้ดั่งใจนี่ จึงไม่อยากจะให้มันนาน คืออยาก ไม่อยาก ให้มันเนิ่นนานกว่าจะไปถึงจุดที่สุขที่สุดนะ คนอยากได้ความสุขที่สุดน่ะ เร็ว หรือช้า เร็ว เพราะฉะนั้น มันมีความใจร้อนอยู่ในนั้นไหม?  มี มีความใจร้อนอยากได้เร็ว ๆ กลัวจะไม่ได้เร็ว ๆ กลัวจะไม่ได้เร็ว ๆ  ใช่ไหม? มันสงบไหม และความไม่สงบนั้นมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น หรือน้อยลง  มากขึ้นใช่ไหม? 

เมื่อความไม่สงบมันมากขึ้น มันอยากได้เร็ว ๆ มันกลัวไม่ได้มันทุกข์แรงนะ เมื่อเป็นอย่างนี้ กินแรงมากไหม? กินแรงมาก แล้วคนจะรู้สึกว่าอยากจะให้มันค้างอยู่ในจุดที่ไม่ถึงที่สุดนี้นานไหม? ไม่เลย อยากจะผ่านไปเร็ว ๆ เร็ว ๆ เลยนะ กดดันไหม? กดดัน นี่คือความกดดัน ความกดดัน มันจะกดดัน แรงขึ้น แรงขึ้น แรงขึ้น กดจิต กดดันตัวเองแรงขึ้น แรงขึ้น แรงขึ้น เพื่อให้ได้จุดสูงสุด แล้วถึงที่สุดมันก็ต้องมีจุดสูงสุด ใช่ไหม? มันไปแบบไม่มีจุดสูงสุด มีไหม? ไม่มีหรอกนะ ก็ไปถึงจุดสูงสุดของมัน ก็เออ! ขนาดนี้พอแล้ว ตามกิเลสที่มันมา มันก็มีเป้าหมายของมันเหมือนกัน โอ้! ขนาดนี้แหละ โอ้โห! ได้สุขที่สุดแล้ว พอมันถึงสุขที่สุดแล้ว มันก็ถึงจุดที่สุดของมันแล้ว 

แต่มันก็มีความโลภว่าอยากได้มากกว่านั้น พอมันเสพเข้าไปอีกมันจะสุขไหม? ถ้ามันไปจุดสูงสุดแล้วมันจะเสพเข้าไปอีกมันจะสุขไหม?  ไม่ มันมีฤทธิ์แค่นั้น มันจะมีฤทธิ์สุขที่สุดแค่นั้น มากกว่านั้นมันไม่ได้ มากกว่านั้น มันตีกลับแล้ว กลายเป็นไม่สุขแล้ว ใช่ไหม? กลับกลายเป็นไม่สุขเลยนะ ถ้าถึงจุดสูงสุดแล้ว ไม่สุขนะ อย่างใครกินอะไรอร่อยที่สุดแล้วน่ะ ให้กินต่ออร่อยไหม? เคยไหมกินอะไรอร่อย ๆ อร่อยเข้าไป พอถึงจุดหนึ่งมันอร่อยที่สุดแล้วนี่  แล้วกินเข้าไปอีก มันไม่อร่อยแล้วนะมีไหม? มีนะ ใช่ไหม? พอมันถึงจุดสูงสุดแล้ว มันจะกินไม่อร่อยแล้วนะ ใช่ไหม? เออ! นั่นมันจุดสูงสุดของมันแล้ว ไปกินมากกว่านั้น ไม่อร่อยแล้ว มันจะไม่อร่อยแล้ว ไม่อร่อยแล้วนี่ ไม่เป็นสุขแล้ว มันจะเอาไหม จะเอาอีกไหม? มันไม่เอา

เพราะฉะนั้น คนมันเอาแค่จุดสูงสุดเท่านั้นแหละ ดาวดึงส์ ดาว ดาว จะสูงที่สุดมันจะไต่ดาวขึ้นไป ถึงจุดที่สูงที่สุด ท่านจึงเรียกว่าดาวดึงส์ ตาวติงสะ(ตาวตึส) อาการ 33 นะ อาการ 33  คนจึงไม่อยากเนิ่นช้า ในการไปสู่จุดที่สุขที่สุด สูงที่สุด ต้องไปให้เร็วเพราะว่ามันกดดัน มันทรมาน มันกดดัน จะเห็นว่าสวรรค์ชั้นนี้นี่ มีความไม่สงบ ไม่สงบสุขอยู่เยอะไหม? ไม่สงบนะ มันทุกข์ มันทรมาน กดดันนี่ เยอะเหมือนกันนะ สวรรค์ชั้นนี้นี่  มีความไม่สงบอยู่เยอะเลย เพราะฉะนั้นจะให้คนชอบอยู่สวรรค์ชั้นนี้บ่อย ๆ บ่อย ๆ คนชอบไหม? ให้อยู่นาน ๆ นาน ๆ เลย คนไม่ชอบหรอก พอไปถึงจุดสูงสุด สูงสุดแล้วให้อีกเอาไหม? ไม่เอาเลยทีนี้ ให้มันไม่รู้สึกสุขเลย มันพออยู่ตรงนั้นเลย มันพอมันจะไม่รู้สึกสุขเลยนะ จนกว่ามันจะพักลงไปแล้ว มันพอก่อน 

พอไปถึงจุดสูงสุดแล้วมันก็จะไปสู่ดุสิต แล้วทีนี้จะไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิต สุข สงบ สบาย ถ้าพอแค่นี้ ถ้าใส่ไปอีก ไม่สบายแล้ว ไม่สงบ ไม่สบายนะ ถ้าหยุดนี่ สุข สงบ สบาย  คนจะชอบสภาพนี้ สุข สงบ สบายนี่มันพอเคยไหม? กินอะไรอิ่มเต็มพอแล้วก็ไม่อยากได้อีกนะ มีไหม? เออ! ถ้าไม่ได้นะทุกข์ไหม? ไม่ทุกข์  ไม่ทุกข์ สุข สบายไหม? สุขสบาย สุขสบายไป ชั้นนี้นี่ คนอยู่ในชั้นนี้นาน ๆ นี่เดือดร้อนอะไรไหม? ไม่เดือดร้อน ดุสิตจึงแปลว่าว่าสงบ สุข มันไม่เดือดร้อน สวรรค์ชั้นนี้จะสงบ สุข มันไม่เดือดร้อน โอ๊ย! อยู่นานเท่าไรยิ่งดีเลยใช่ไหม? นานเท่าไหร่ยิ่งดีเลย ไม่เดือดร้อน อิ่มเต็มพอแล้ว สบายเชียว นานเท่าไหร่ยิ่งดี  

นี่ตกลงดุสิตกับดาวดึงส์นี่ อะไรสูงกว่า ดุสิตสูงกว่า เพราะทุกข์น้อยกว่า มันไม่ทุกข์ ดุสิตนี่จะไม่ทุกข์  นี่อทุกขมสุข ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข แบบฟู ๆ อย่างนี้ เข้าใจไหม? ไม่มีสุขแบบ โอ้! ได้เป็นสุข เป็นสุข เป็นสุข เป็นสุข เป็นสุข อย่างนี้ ไม่มีสุขแบบนี้  แล้วไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ เข้าใจไหม? ไม่มีสุขแบบฟู ๆ ๆ ๆ อย่างนี้ โอ๊ย! ได้เป็นสุข โอ๊ย! ได้เป็นสุข  โอ๊ย! ได้เป็นสุข แล้วไม่มีทุกข์ที่กดดันนะ อุ้ย! ไม่ได้แล้วทุกข์ ไม่ได้แล้วทุกข์ ได้แล้วสุข ไม่ได้แล้วทุกข์ ที่สุขเพราะลดทุกข์ลงได้  ลดทุกข์ไม่ได้สุขไม่ได้ ยิ่งถ้าเศร้าใจมาก ๆ มาก ๆ มากๆ กินอะไร สุขมั้ย? ไม่สุขเพราะลดทุกข์ไม่ลง เข้าใจไหม?ลดทุกข์ไม่ลงสุขไม่ขึ้น เป็นสัจจะ 

เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างทุกข์ในขีดที่ลดทุกข์ลงได้จึงจะสุขได้ เป็นจุดสูงสุดของมัน พอใจ เผื่อใครมีปัญญาจะได้ไม่ไปหลงโง่ ติด สร้างทุกข์ให้มาก แล้วก็ลดลง สร้างทุกข์ให้มากแล้วก็ลดลง  นึกว่าตัวเองสุขมาก ที่ไหนได้ทุกข์ มาก ฉลาด หรือโง่ขึ้นไปเรื่อย ๆ โง่ขึ้นไปเรื่อย ๆ   แล้วหลงว่าตัวเองฉลาดหรือโง่ ขึ้นไปเรื่อย ๆ ฉลาด หลงว่าตัวเองฉลาดได้สุขมากใครอย่ามาแย่งสุขฉันไป แล้วก็พักยกไป     ตกลงสูงสุดอย่างนั้น  อยากได้จริง ๆ อยากได้สงบ ใช่ไหม?  อยากได้สงบชั่วคราว แล้วก็ทุกข์แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ 

เพราะฉะนั้น แท้ที่จริงมนุษย์อยากได้สงบยั่งยืน ใช่ไหม ก็เอาสงบยั่งยืนสิ ไปเอาทำไมสงบชั่วคราว  ใช่ไหม? ก็สลายทิ้งเสีย สุขที่ไม่มี  สุขที่ไม่มีทั้งหลาย  อาจารย์เล่าลีลาสุขให้ฟัง สุขที่ไม่มี ก็เลิกอยากได้เสียจะทุกข์ไหม ก็ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ก็สุขสบาย ยั่งยืนเลย  นี่ก็ ยินดี พอใจ สุขใจ สุขสบาย ยั่งยืน อย่างนี้คือสัจจะ  เรื่องกินก็อย่างนี้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อื่น ๆ ก็อย่างนี้ เรื่องเพศก็เหมือนกัน ที่ชอบกัน  แท้ที่จริงไม่มีอะไรสร้างทุกข์ให้มากแล้วก็ลดลง พอลดทุกข์ได้ก็สุข  แล้วก็สร้างทุกข์ให้มากขึ้นแล้วก็ลดลง ๆ ในที่สุดสร้างทุกข์ต่อไม่ไหวแล้วก็เลิก เลิกสร้างแล้วก็หลงว่านั่นสุขที่สุด  ลดทุกข์ต่อ ลดทุกข์ลงไป แล้วก็ลดได้ นั่นก็หลงว่าสุข เรื่องกิน เรื่องเพศ  เรื่องอื่น ๆ เหมือนกันหมด สร้างทุกข์แล้วก็ลดทุกข์ แล้วมันหลง มันโง่   มันทรมานตัวเองโง่ ๆ แล้วก็เวียนไปพักยก แรงขึ้น ๆ ทุกข์ใหม่ก็แรงขึ้น สุขก็ไม่มี  

นี่คือสัจจะในโลก มันน่าเบื่อจริง ๆ  มันทรมาน  สุดท้ายสุขไม่มีเลย หายไปเลย  เหลือแต่ทุกข์ แล้วก็ทุกข์แรงขึ้น ๆ แรงขึ้น ๆ  สุขไม่มี มีแต่ทุกข์แรงขึ้น เลิกอยากได้ สุขที่ไม่มีนั้น  ก็ไม่ต้องทุกข์ ไม่ต้องทุกข์ก็สุขแล้วชีวิต ไม่ต้องทุกข์ ก็สุขสบายได้อมตะนิรันดร์กาล   จะดีใจก็ได้ทุกข์หาย พอเราเลิกอยาก ทุกข์หาย ไปสวรรค์ ดาวดึงส์ของพุทธะ ดีใจ   นานเข้าก็เมื่อยเหมือนกัน มันไม่มีภัยแต่มันก็เมื่อย ดีใจแบบไม่มีภัยแต่มันก็เมื่อย ก็ลดมาแบบสบาย ๆ สงบ ๆ สบาย ๆ  ก็เป็นดุสิต ยินดีแบบสบาย ๆ ยินดีแบบไม่มีภัย เป็นอมตะนิรันดร์กาล ไม่มีภัยต่อใคร  

นี่คือดุสิตของพุทธะ ดุสิตของอรหันต์ในเรื่องนั้น  สุข สบาย ไร้กังวลในเรื่องนั้นไป จบกิจไปอะไรควรทำก็ทำ ไม่ควรทำก็ไม่ทำ ไปทำแต่เรื่องดี ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ ด้วยกลไกปฏิบัติแบบนี้ได้อย่างนี้เป็นต้น ไปทำในสิ่งที่ดี ได้ดีก็สุขใจได้ เพราะสุขใจในดีก็ไม่มีจริง ดีเรื่องไหนสุดท้ายก็หมดไป ไม่ต้องไปสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี ทำไม เราก็ไม่สร้างเราก็ไม่ทุกข์ ไม่สร้างทุกข์ก็ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ก็สุขสบายแล้ว ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้หมด 

ดังนั้นเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง ได้ดี อาศัยก็ดีเป็นกุศลได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป  ร้ายเกิดก็ดีรับเท่าไรหมดเท่านั้น ดียิ่งออกฤทธิ์ได้มากอย่างนี้เป็นต้น ให้ได้ อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป ชีวิตเป็นอย่างนี้สบายจะตาย พุทธะสุขที่สุดในโลก สุขที่ไม่มีภัยใด ๆ เลย นี่แหละดีที่สุด  เอ้า! ให้จบ ปฏิจจสมุปบาทหน่อยนะ ฟังทันไหม  น่าได้ไหม? สุขแบบกิเลส  ไม่น่าได้นะ สุข ทุกข์แบบกิเลส     สุขแบบพุทธะน่าได้ไหม? น่าได้กว่าเยอะเลยนะ ดีกว่าเยอะ พุทธะดีกว่าเยอะเลย โห! ดีไม่มีที่เปรียบเลย นี่แหละ

เพราะเวทนาจึงมี ตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทานไล่ไปอุปาทานซ่อนไว้กบดานไว้ เรื่อย ๆ สะสม เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ (ภพ คือชนิดและปริมาณของกิเลส) ชนิดและปริมาณที่เราได้แล้วชอบใจสุขใจไม่ได้แล้วก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ ในแง่ไหนเชิงไหนในเรื่องไหน นี้เรียกว่าภพ มี กามภพ รูปภพ อรูปภพ  กามภพ คือ ความอยากมันแรงในเรื่องนั้น จนละเมิดทางกาย ทางวาจา จนไปทำให้ทางกาย ทางวาจาสมใจอยาก ส่วนรูปภพ  กับ อรูปภพ ไม่ละเมิดทางกาย ทางวาจาแล้ว แต่มันอยู่ในใจลดลงไปได้เหลืออยู่ในใจ รูปภพก็ จับอาการอยากได้ดั่งใจได้ชัด ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจได้ชัดพอสมควร ส่วน อรูปภพ ก็จับอาการได้ไม่ค่อยชัด เหมือนจะอยากเหมือนจะไม่อยาก แต่พอไม่ได้ดั่งใจก็ขุ่นอยู่ในจิตพอสมควร ทรมานพอสมควร ถ้ากำจัดมันได้ถึงจะได้รู้ว่าทรมานมากขนาดนั้น จะผ่องใสขึ้นเยอะ ภพ  กามภพ  รูปภพ  อรูปภพ ทั้งชนิดและปริมาณของกิเลส 

เพราะมีภพ เป็นปัจจัยจึงมีชาติ (ชาติเกิดของกิเลส  ของสุขใจที่ได้ดั่งใจ )เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา แป๊บเดียวแก่นี่แหละที่มันเสื่อมไปเร็ว ชรา สุขใจที่ได้ดั่งใจแป๊บเดียวก็ลงแล้ว  แล้วก็ตายสูญไป ตายไปก็ไม่มี  สูญไปแล้ว เรียกกลับก็ไม่ได้จึงมีชราและมรณะ สุขใจที่ได้ดั่งใจมันแก่เร็วตายเร็ว แป๊บเดียวก็แก่ แป๊บเดียวก็ตาย ตายแล้วไม่คืนมาด้วย เรียกคืนอย่างไรก็ไม่มาแล้วตายฌาปนกิจไปเรียบร้อยตายไปแล้วเรียกมาช่วยเราก็ไม่ได้  เรียบร้อยแล้วเกิดสภาพของจิต พอเรียกกลับมาไม่ได้มันหมดสภาพแล้วเรียกกลับมาไม่ได้ มันตายไปแล้วมันก็โสกะ อยากได้ใหม่   ตายไปแล้วทั้งเทวดา ชาติเกิด ชั้นดาวดึงส์ ชั้นดุสิต ดาวดึงส์นี้แป๊บเดียวผ่านไป ดุสิต 

ดุสิตอยู่ไปสักพักหนึ่งก็เกลี้ยงอีกแก่ตายสูญ พอตายปุ๊บมันหมดตัวสุขสบายใจที่ได้สมใจมันหมดหายเลยพอหายปุ๊บ ก็โสก(โสกะ) เลยมัน เศร้าโศกทำไมชีวิตมันเศร้า ๆ อย่างนี้เซ็ง ๆ เศร้า ๆ เคยไหม พอได้อะไรสมใจไปซักระยะหนึ่ง  มันพักมันพอระยะหนึ่งอีกสักพักมันเซ็ง ๆ เศร้า ๆ เอ๊ะ! มันเป็นอะไรเซ็ง ๆ เศร้า ๆ นั่นแหละโสกะมันไม่ได้สุขใจที่ได้ดั่งใจตัวดาวดึงส์กับดุสิตมันหมดฤทธิ์แล้วตกมาแล้ว ไปสู่ทุกข์แล้วเซ็ง ๆ เศร้า ๆ เป็นอย่างไร   ปริเทว(ปริเทวะ)เริ่มหาแล้ว  เอ๊ะ! มันอยากเสพอะไรนะมันอยากได้อะไรนะ ห่วงหาอาลัยอาวรณ์พิรี้พิไรรำพัน เล็งญาณกิเลส  ได้อะไรนะถึงจะสุขถ้าไม่ได้จะโศกเศร้า  ทุกข์อยู่นี้มันโหยหา ๆ อยู่อย่างนี้ ไม่ได้ดั่งใจ พอรู้จักไหม  โหยหา ๆ ปริเทวะ  โหยหาอะไรก็ไม่รู้มันไม่แช่มชื่นโหยหา พิรี้พิไร รำพัน อยากได้อันโน้น อันนี้ เป็นอย่างไรถ้ายังไม่ได้ก็ทุกขะ ทุกข์ ๆ  

ทุกข์ อันนี้เป็นทุกข์ที่มีผัสสะแล้วไม่ได้    มีผัสสะ อันนี้มันประกอบด้วยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วยังไม่ได้ดั่งใจหมาย มันทุกข์ ๆ ๆ ๆ แม้บางทีไม่มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็ยังมี โทมนัสอยู่นั่นแหละ  โทมนัส ทุกข์ใจเอาเฉย ๆ  คำว่าทุกขะ  ตัวนี้มันต่างจากโทมนัส ตรงที่ มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มากระตุ้นแต่ยังไม่ได้ มันก็ทุกข์อันนี้เขาเรียกว่าครบเลย ทุกข์ใจไม่ได้ดั่งใจครบสูตร 

ส่วนโทมนัสคือทุกข์ใจแม้ไม่มีอะไรมากระทบ ทุกข์ใจอยู่นั่นแหละ  อันนี้มันทุกข์อยู่ในใจเลย หาอยู่นั่นแหละ  ก็มีความต่าง และอุปายาส (อุปายาสะ) มันอึดอัด คับแค้น ขนาดมันลดลงแล้วนะ ที่จริงทุกขะนี่มันใหญ่   โสกปริเทวทุกข (โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ) ทุกข์ใหญ่ที่สุดต้องการตอบสนองทางกาย  ทางวาจา  พอลดลงได้เป็นอย่างไร เหลือโทมนัส  ยังทุกข์อยู่  ที่จริงโทมนัสเป็นรูปภพ ทุกขะ อยู่ในกามภพ  ไม่ได้ระดับกามมันทุกข์เลย ไม่ได้เสพ ทางกาย ทางวาจา มันทุกข์เลย ใจที่ไม่ได้เสพ ทางกาย ทาง วาจา ทุกข์เลย 

ส่วนโทมนัส ไม่ได้เสพทางกาย ทางวาจาแล้ว เสพอยู่ในใจ เป็นรูปภพ และ อุปายาสะ เป็น อรูปภพ แม้เป็นอรูปภพ เหมือนจะมีเหมือนจะไม่มี  มันก็ทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นแหละมีหลายระดับ แล้วแต่ว่ากับเรื่องนั้นมันอยู่ตรงไหน แรง ๆ  เลย โสกปริเทว(โสกะ ปริเทวะ) เริ่มโหยหา  ทุกข(ทุกขะ) แรงที่สุดเลย  ถ้าลดมันได้หรือถ้าไม่ได้ลดมัน ไม่ได้ตอบสนอง  มันจะโทมนัส จะทุกข์อยู่ในใจ แม้มันจะลดลงก็ยังทุกข์อยู่ในใจ อุปายาส(อุปายาสะ) เล็กลงแม้น้อยก็ยังทุกข์อยู่ อย่างนี้เป็นต้น  เพราะไม่ว่าทุกข์เล็กทุกข์ใหญ่ ไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ใจนั่นแหละ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

มันมีทุกข์ใจสารพัดเหลี่ยมมุม ขนาดใหญ่ขนาดเล็กก็ว่าไปทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ มันก็ทำให้เกิดทุกข์กายเรื่องร้ายสืบเนื่องไป แรงขึ้น ๆ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ กองทุกข์ทั้งมวลต่อเนื่องสืบไป  ส่วนอวิชชาดับก็ดับ  แต่ถ้าอวิชชาดับหลายคนจะรู้สึกตาดับไปก่อน ถ้าไปต่ออวิชชาดับมันจะพ้นทุกข์เร็วเกินไป  มันจะรู้สึกว่า นัตถิ สันติ ปรมังสุขัง ความสงบเป็นสุขอย่างยิ่ง สงบเพราะการนอนนี้แหละ ก็จะง่วงนอนเกินไป   เอาประมาณนี้ก่อน  จริง ๆ อาจารย์ก็อธิบายนิโรธ ไปแล้ว นะ เพราะอวิชชาดับ  เดี๋ยววันหน้ามาต่อ อวิชชาดับก็ได้ เข้าใจอะไรมากขึ้นไหม? ก็มากขึ้นอยู่นะ  ก็ขอให้ได้สุขแท้กันทุกท่าน…สาธุ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...