ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

วันนี้สาระธรรมเรามาเริ่มต้นกับการเรียนสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านยืนยัน ว่าสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ก็คือ เวทนา หรือ ความรู้สึก ความรู้สึกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต ในชีวิตไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับความรู้สึก ความรู้สึกคือชีวิต ชีวิตคือความรู้สึก ความรู้สึกนี่แหละสำคัญที่สุดที่จะต้องเรียนรู้ สำคัญที่สุดเลยที่จะต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะให้เกิดสภาพความรู้สึกที่ดีที่สุด สุขที่สุด ความรู้สึกใดเป็นความรู้สึกที่ดีที่สุด สุขที่สุด เราก็เรียนรู้ แล้วก็เลือกเอาความรู้สึกนั้น เรียนรู้ความรู้สึกนั้นไปเป็นลำดับ ๆ 

ความรู้สึกที่ดีที่สุด สุขที่สุดนั้น  ต้องทั้งดีสุด ทั้งสุขสุด ไม่มีทุกข์ใด ๆ ปนเลย ไม่มีเงื่อนไขใด ๆ   ที่ทำให้ใจเป็นทุกข์เลย นั่นแหละคือความรู้สึกที่ดีที่สุดในโลก เราลองมาดูที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้  พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ ข้อที่ [๔๓๑] ถึง [๔๓๗]  เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ [๔๓๑] ตั้งแต่ข้อที่ [๔๓๐] เป็นต้นไป 

เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ [๔๓๐]  อัฏฐสตปริยายสูตร 

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันมีปริยายต่าง ๆ การบรรยายต่าง ๆ ๑๐๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น ก็ธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ เป็นไฉน”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มีโดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี หมายความว่า โดยปริยายหนึ่ง คำบรรยายอันนึง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่งเรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี คือ คำบรรยายอีกอันนึง โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี 

[๔๓๑] “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๒ เป็นไฉน เวทนา ๒ คือ เวทนาทางกาย ๑ เวทนาทางใจ ๑ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒ ในเวทนาทางกาย  เวทนา คือ ความรู้สึก ก็มีความรู้สึกทางกายกับทางใจ ความรู้สึกใด ๆ ก็แล้วแต่ พระพุทธเจ้าตรัสในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๖๐ ว่า

เทวธัมมา ทวเยนะ เวทนายะ เอกสโมสรณา ภวันติ 

  • เทวธัมมา คือ ธรรมะ ๒ 
  • ทวเยนะ เวทนายะ ก็เวทนา ๒ 
  • เอกสโมสรณา คือ เอาสิ่งที่เป็นเอก เอาสภาพที่มันเป็นเอก ดีที่สุด 
  • เอกะ คือ สภาพที่เป็นเอก 
  • สโมสรณา สโม สมะ สมาธิ คือ ความตั้งมั่น ความหยั่งลง หยั่งลงให้มันตั้งมั่น 
  • สรณะ สรณัง คือ อาศัย ให้เราอาศัยการหยั่งลงของการตั้งมั่นในความรู้สึกที่เป็นเอก  เป็นหนึ่ง

ความรู้สึกที่เป็นเอกเป็นหนึ่งนั่นแหละ ดีที่สุด เอกสโม สรณา ก็ให้เอาภาวะนี้ ให้จบที่ภาวะนี้ เอกสโมสรณา เอาสภาพที่ดีที่สุดให้จบที่ภาวะนี้ ให้จุติ สันติ หรือว่าจบที่สภาพนี้ อย่างนี้เป็นต้น 

เวทนาใด ๆ ก็ตาม ให้ชีวิตเราเรียนรู้ความรู้สึกในชีวิตนี้ ก็เลือกเอาความรู้สึกที่มันดีที่สุด  อย่างเช่น ความรู้สึกทางกาย ถ้าจะแยกออกไป ก็มี สบายกับไม่สบายนี่แหละ เอาง่าย ๆ สบายกับไม่สบาย เราก็เลือกเอาสบาย ทำยังไงที่เราจะให้มันสบายกายให้ได้มากที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ จะมีวิธีการใดเราก็ทำ ส่วนใจ ก็ให้สบายใจ ใจทำยังไงจะสบายที่สุด ใจแยกเป็นสอง คือ สบายใจ กับ ไม่สบายใจ 

สบายใจ สุขสบายใจ สบายใจ สุขใจ ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ก็มีแค่ ๒ นี่แหละ ก็เลือกเอาตัวที่สบายใจ  สุขสบายใจ แต่สุขสบายใจ ก็มีอีก แบบยั่งยืน กับ แบบชั่วคราว  เราก็ต้องเลือกเอา ความสุขสบายใจแบบยั่งยืนก็ดีกว่าแบบชั่วคราว อย่างนี้เป็นต้น ชีวิตก็จะต้องเรียนรู้แล้วก็เลือกเอา เพราะนี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เรียนรู้ที่เราจะปฏิบัติอย่างไร ที่เราจะให้ได้ร่างกายที่รู้สึกสุขสบาย  จิตใจที่รู้สึกสุขสบาย ที่มันมั่นคง ยั่งยืน 

เราก็เรียนรู้ ด้านร่างกาย มันก็มั่นคง ยั่งยืน ไม่ได้หรอก แต่ก็ให้มันได้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แต่ด้านจิตใจนี่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้พบว่า ทำได้ จิตใจที่มีความสุขสบายใจ ไร้กังวล ที่มั่นคง ยั่งยืน เป็นไปได้ อันนี้เป็นไปได้ เมื่อได้ตั้งใจ พากเพียร ปฏิบัติให้ถูกตรง ก็จะเป็นไปได้ เป็นลำดับ ๆ 

เรื่องเวทนา เรื่องความรู้สึก เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในโลก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมมติว่า เราก็ได้อะไรทุกอย่างในโลก มีทุกอย่างแล้วแต่ว่าจะมีอะไรตั้งแต่น้อย ไปจนถึงมาก ๆ ๆ ๆ จนมีทุกอย่างในโลก ได้อะไรทุกอย่างในโลก มีอะไรเยอะแยะไปหมด แต่ชีวิตนั้น ไม่สบาย ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เอาไปถึงจิตใจเลยก็แล้วกัน เพราะเป็นความยั่งยืนได้ ด้านร่างกายให้มันได้ยั่งยืน มั่นคง ด้านร่างกายให้มันสบายให้ได้มากที่สุด เอาด้านร่างกายก่อนก็ได้ คือ เราก็ได้อะไรทั้งหมดในโลก แต่ร่างกายก็ทุกข์ทรมาน แสนสาหัสเลย ได้สภาพร่างกายที่ไม่สบายเป็นส่วนใหญ่ เอาด้านร่างกายก่อนนะ จะหาความสุขสบายกายรู้สึกหายาก สำหรับคน ๆ นั้นนะ แต่เค้าก็มีอะไร ๆ เยอะแยะไปหมดเลยในชีวิต แต่สิ่งที่เค้าไม่มี ด้านร่างกายคือ เวทนา ความรู้สึกนี่แหละ 

ความรู้สึกสบายกาย ได้น้อย หรือไม่ได้เลย แต่ได้ความทุกข์ทรมานกายนี่มาก  ถามว่า เค้าได้ เค้าได้สภาพชีวิตที่ดีที่สุดหรือยัง เค้าก็ยังใช่มั้ย  เค้าก็ยังไม่ได้สภาพชีวิตที่ดีที่สุด เพราะต่อให้เค้าได้อะไร ๆ ทั้งหมดเลย แต่เค้ารู้สึกทุกข์ทรมานกาย เค้ายังไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุดใช่มั้ย สิ่งที่ดีที่สุด เคยได้ยินมั้ย เศรษฐีหรือ คนร่ำคนรวยที่เค้ามีอะไรมาก ๆ ๆ ๆ แต่เค้าเจ็บป่วย ทุกข์ทรมาน มีมั้ย ? ก็มีนะ เค้าได้สิ่งที่ดีที่สุดรึยัง  ก็ยังใช่มั้ยด้านร่างกาย เค้ายังไม่ได้สภาพที่ดีที่สุด ดีที่สุด คือสบาย สุขสบาย เบากาย มีกำลัง ดีที่สุด ต้องเป็นอย่างนั้นด้านร่างกาย สบาย เบากาย มีกำลัง ที่ได้มาก เพราะมันจะได้ตลอดเลยเป็นไปไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องทุกข์ ๑๐ เอาไว้ว่าบางทีมันต้องมีเจ็บป่วยอยู่บ้าง คนเรา มันจะมีวิบากอยู่ มีความเจ็บป่วยบ้างอยู่ เป็นไปไม่ได้ที่จะแข็งแรงไปตลอด แต่ภาพรวมนี่ให้ได้ความแข็งแรงเป็นหลัก ได้ความแข็งแรง ได้ความสุขสบาย เป็นหลัก นี่ภาพรวมให้ได้อันนี้ 

ส่วนภาพย่อยก็ว่ากันไป ส่วนภาพย่อยนั้นก็แล้วแต่ ภาพย่อยมันก็ต้องมีบ้าง ความไม่สบาย มันก็ต้องมีบ้าง อย่างนี้เป็นต้น บางครั้งบางคราวมันก็ต้องมีบ้าง เป็นครั้งเป็นคราว เป็นธรรมดา อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสเลย แม้แต่ตัวท่านเองก็ยังต้องมีความไม่สบายบ้าง เป็นธรรมดา 

ดังนั้น การที่ชีวิตจะได้อะไร ๆ สารพัดอย่าง แต่ มีโรคมาก มีความทรมานด้านร่างกายมาก ชีวิตก็ยังไม่ได้ชีวิตที่ดีที่สุดใช่ไหม ยังไม่ได้ชีวิตที่สุขที่สุด ที่ดีที่สุดอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นการได้อะไรมาก ๆ มันมีค่าอะไรไหม ถ้ามันทุกข์ทรมานร่างกายมากมีค่าอะไรไหม มันไม่ได้มีค่าอะไรเลย ไม่มีค่าอะไรเลยจะได้อะไรมาก ๆ ไม่ได้มีค่าอะไรเลย ทีนี้เราไม่ได้อะไรมากเท่าไหร่หรอก เรามีแค่พอกินพอใช้ ของกินมีแค่พอกินพอใช้บางทีก็ขาด ๆ เขิน ๆ บ้างเป็นบางครั้งบางคราว อาจจะตามสมควรภาพรวม พอกินพอใช้ตามสมควร ขาดเขินบ้างเป็นบางคราว แต่ร่างกายแข็งแรงดีโดยเป็นส่วนใหญ่ สบายเบากายมีกำลังดีเราได้สิ่งที่ดีหรือยัง ได้สิ่งที่สุขหรือยังได้แล้วใช่ไหม ด้านร่างกาย เราได้สิ่งที่ดี ที่สุขแล้ว ดีกว่าคนรวยที่เจ็บป่วยไหม 

เอาอย่างนี้ ถ้าให้เลือกเอาให้เป็นคนรวยเจ็บป่วย กับเป็นคนจนที่แข็งแรงจะเอาอะไร คนรวยที่เจ็บป่วยหนัก ๆ เลยนะ กับเป็นคนจนที่แข็งแรงเอาอะไร เลือกเป็นคนจนที่แข็งแรงเหรอ ไม่อยากได้รวยเหรอ ไม่อยากได้เงินเยอะ ๆ เงินทรัพย์สมบัติเยอะแล้วเจ็บป่วยน่ะ ทำไมไม่เอา ทำไมไม่เอารวย รวยนะได้อะไรเยอะดีนะ

รวยทรมาน ทุกข์ทรมาน มันทุกข์ทรมานในชีวิตไม่เห็นน่าได้ น่าเป็น น่ามีเลยใช่ไหม มันทุกข์ทรมาน มันไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี อันนี้เราจะเห็นว่า ไม่เข้าท่า อันนี้มันไม่เข้าท่า ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีเห็นไหมล่ะ อาจารย์ก็เหมือนกันเลือกเป็นคนจนที่แข็งแรงจะดีกว่า ดีกว่าเป็นคนรวยที่เจ็บป่วย คนรวยที่เจ็บป่วยน่ะทุกข์ทรมานแสนสาหัส ให้รวยเท่าไหร่ก็ไม่เอา ขอจนแบบแข็งแรง สบายเบากายมีกำลังดีกว่าใช่ไหม อะไรมีความสุขกว่ากัน กรณีนี้จนกับรวยอะไรมีความสุขกว่ากัน จนมีความสุขกว่าใช่ไหม จนแต่แข็งแรงกับรวยแต่เจ็บป่วย..โอ๊ะ! จนดีกว่าเห็นไหม แสดงว่าไอ้ความรวยความจนนี่มันมีความสำคัญมากไหมสำหรับชีวิต ความรวยความจนกับความแข็งแรงกับความเจ็บป่วย อะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน แข็งแรงหรือเจ็บป่วยใช่ไหม มันมีความสำคัญมากกว่าความรวยความจนใช่ไหม 

คนเรานี่เกิดมา อาจารย์ก็ไม่มีอะไรมากหรอก จน ๆ ก็ได้นะ ขาด ๆ เขิน ๆ พอมีพอกิน จนแต่พอมีพอกินตามสมควรบางทีมีขาด ๆ เขิน ๆ บ้างนิดหน่อย ขาด ๆ เขิน ๆ บ้างเป็นบางคราว โอ้แข็งแรงนะสบายเบากาย มีกำลังอาจารย์ก็เลือกเอาอันนี้ขอจนอย่างนี้ดีกว่ารวยป่วยทุกข์ทรมาน ออด ๆ แอด ๆ ทรมานไม่ไหวใช่ไหม ชีวิตนี้ด้านร่างกาย มีร่างกายที่แข็งแรงสบายเบากายมีกำลังก็ดีกว่าเจ็บป่วยทุกข์ทรมานเห็นไหม ความรู้สึกดีที่สุดเลยไม่มีอะไรมีค่าเท่าความรู้สึกที่มันสุขสบาย ที่มันเป็นประโยชน์ต่อชีวิต นี่ด้านร่างกายนะ จะเห็นว่าทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ก็ไม่มีค่ามากเท่ากับร่างกายที่แข็งแรง ร่างกายที่แข็งแรงมีค่ากว่าเยอะกว่าความร่ำรวยอย่างนี้เป็นต้น ..

ทีนี้ด้านจิตใจ ด้านจิตใจก็เหมือนกัน ให้มีเงินมีทองมากมายเลยก็กลุ้มใจ กลัว กังวล หวั่นไหว ทุกข์ทรมานใจเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ได้ดั่งใจ แง่นั้นเชิงนี้ มันมีความกลัวหวั่นไหวแง่เชิงต่าง ๆ กลัวจะไม่ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ได้กลัวมันจะหมดไป แม้ตัวเองมีร่ำรวยมากมายกลัวมันจะหมดไปจะหมดไป ไม่ได้เพิ่มกลัวมันจะหมดไป กลัว กังวล หวั่นไหว หรือเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็กลัวจะไม่ได้มา ได้มากลัวจะหมดไปมีความระแวง ความกลัวกังวล ระแวง หวั่นไหว 

ร่ำรวยนะ แต่ทุกข์ทรมานใจ กับเราไม่ได้รวยหรอกเราเป็นคนจนพออยู่พอกิน ขาดเขินเป็นบางคราวด้วยซ้ำ แต่ภาพรวมก็พออยู่พอกินแต่สุขสบายใจ ไม่มีความกลัวกังวลหวั่นไหว ไม่กลัว ไม่ระแวง ไม่หวั่นไหวสุขสบายใจไร้กังวล จะเลือกเอาเป็นคนรวยหรือคนจนสองอย่างนี้ จะเอารวยหรือเอาจน..ทำไมเอาจนล่ะ มันไม่รวยนะ คนรวยที่กลุ้มใจกับคนจนที่สบายใจเอาแค่นี้ เอารวยหรือจน..เอาจนเหรอทำไมล่ะ มันสบายใจมันสุขใจนะ มันได้สิ่งที่มีค่าที่สุดในโลกแล้วใช่ไหม มันได้สิ่งที่มีค่าที่สุดในโลกแล้ว เพราะสิ่งที่มีค่าที่สุดในโลกคือ วัตถุข้าวของหรือใจที่สบาย ใจที่สบายใช่ไหม มีค่ายิ่งกว่าวัตถุข้าวของอีกใช่ไหม ใจที่สบาย สุขสบายใจไร้กังวลมีค่ากว่าสิ่งใดในโลก จะให้เราทั้งโลกทั้งจักรวาลแต่กลุ้มใจจังเลย กลัวกังวล ระแวง หวั่นไหว ชีวิตก็ยังไม่ได้ความสุขหรอกมีแต่ความทุกข์ทรมาน มันก็ยังไม่เข้าท่าหรอกนะ ยังไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุดในโลก งั้นชีวิตเราเสียเวลาไปหาสิ่งที่มันไม่มีค่าในโลกมันโง่ที่สุดในโลกเลยนะ ไม่รู้จะอธิบายยังไง

เสียเวลาไปหาสิ่งที่มันไม่ได้มีค่าในโลก มันไม่ได้มีค่าให้เราได้ความสุขสบายใจมั่นคงยั่งยืนคือเสียเวลาไปหาวัตถุข้าวของ ลาภยศ สรรเสริญต่าง ๆ แต่มันไม่ได้ทำให้ใจเรานั้นเป็นสุขมั่นคงยั่งยืน สุขสบายใจไร้กังวลมั่นคงยั่งยืนชีวิตมันก็ยังโง่อยู่นั่นแหละ ชีวิตก็ยังสูญเปล่า ไม่ได้สูญเปล่าธรรมดายังติดลบอีก มันเป็นชีวิตที่โง่จริง ๆ ชีวิตที่ไม่รู้จะโง่ยังไงแล้ว นี่คือชีวิตที่หลงทาง แทนที่จะมุ่งหาวิธีการที่จะทำให้เราได้ความแกล้วกล้าอาจหาญ ร่าเริง เบิกบาน แจ่มใส สุขสบายใจ ไร้กังวล ตลอดกาลนาน ตลอดเวลา ตลอดกาลนาน ซึ่งมันเป็นไปได้กลับไม่ทำ เมื่อชีวิตไม่ทำอันนี้มันก็ไม่ได้อันนี้ ไม่ทำอันนี้ก็ไปได้ตัวอื่น ไม่ได้สิ่งนี้ ไม่ได้เวทนาทางใจที่มันดีที่สุด 

นี่แหละคือความน่าสงสารของชีวิตจริง ๆ ไม่รู้ว่าน่าจะสงสารขนาดไหน อย่างไรแล้ว คนในโลกนี่ลืมไป ลืมไปที่จะหาความสุขที่มั่นคงยั่งยืน แต่แท้ที่จริงก็พยายามที่จะหาข้าวของต่าง ๆ เขาก็ตั้งใจนะ วัตถุข้าวของลาภ ยศ สรรเสริญ ต่าง ๆ หรืออื่น ๆ เขาจะหาอะไรก็แล้วแต่ แท้ที่จริงเขาก็อยากจะได้สุขที่ยั่งยืนนะ อยากได้ความสุขสบายใจ ใจที่มั่นคงยั่งยืน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราไปพึ่งเพียงวัตถุภายนอก เหตุปัจจัยภายนอกสามารถจะมั่นคงยั่งยืนได้ไหม มั่นคงยั่งยืนได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม ต่อให้เราได้มาดั่งใจหมายได้เลย เราจะมีความกลัวว่ามันจะหมดไปไหม อะไรก็ตามที่เราได้มาวัตถุข้าวของต่าง ๆ ถามว่า 

1. คนในโลกพร้อมจะแย่งชิงกันไหม คนอื่นก็อยากได้เค้าพร้อมแย่งชิงไหม  คำตอบคือเค้าพร้อมแย่งชิงนะ

2. ต่อให้ไม่มีใครแย่งชิงมันเสื่อมไหม  มันเสื่อมเพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านั้นมันมั่นคงยั่งยืนไหม ก็ไม่มั่นคงยั่งยืน เมื่อไม่มั่นคงยั่งยืนเราจะหมดความกลัวว่ามันจะหมดไปไหม ก็ไม่หมดใช่ไหม มันเต็มไปด้วยความกลัวว่ามันจะหมดไป ตอนที่ยังไม่ได้มาเป็นไง ก็กลัวว่ามันจะไม่ได้มา ได้มาแล้วยังไง ก็กลัวว่ามันหมดไปอยู่แล้วใช่ไหม 

  • กลัวว่ามันเสื่อมไปตามธรรมชาติ 
  • กลัวว่าจะมีคนมาแย่งชิงใช่ไหม 
  • กลัวว่าเราจะตายจากไปใช่ไหม อย่างนี้เป็นต้น หรือเรื่องอื่น ๆ ก็เหมือนกันเราก็กลัวมันจะพลัดพรากมันจะสูญเสียไป มันก็ต้องกลัวอยู่แล้ว

พระพุทธเจ้าก็ตรัสในอภิณหปัจจเวกขณ์ สิ่งที่ต้องพิจารณาบ่อย ๆ คนเรามีการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา มีการพลัดพรากจากของรักของห่วงใยเป็นธรรมดา ต้องได้ประสบพบเจอสิ่งที่ไม่รักไม่พอใจเป็นธรรมดา ต้องไปเจออะไร โอ้โห..ต้องไปเจอสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบใจเป็นธรรมดา ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจเป็นธรรมดา ทำไมมันต้องพลัดพรากละ

  1. เสื่อมไปโดยธรรมชาติ
  2. มีคนแย่งไป
  3. เราตายจากไป

ต้องพลัดพรากไหม พลัดพรากเป็นธรรมดา เห็นไหม มั่นคงยั่งยืนไหม ไม่มั่นคง ใจเป็นทุกข์ไหม ถ้าเรา อยากให้มันอยู่ กลัวมันจะไม่อยู่ทุกข์ไหม ทุกข์ มันก็มีกลัว กังวล หวั่นไหว เห็นไหม กลัวไม่ได้มา กลัวมันหมดไป 

พระพุทธเจ้าก็ตรัสถึง กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของของตน คิดพูดทำดีเป็นวิบากดีของตน  กัมมะทายาโท เราเป็นทายาทของกรรม เป็นผู้รับมรดกรับผลจากการกระทำของตัวเองในภพชาติที่เราลงมือทำส่วนหนึ่งชาติต่อไปส่วนหนึ่งชาติต่อ ๆ ไปอีกส่วนหนึ่ง ก็คือสิ่งที่ชีวิตเราได้รับอยู่ผลจากการกระทำในอดีตส่วนหนึ่ง กับปัจจุบันส่วนหนึ่งร่วมกัน รับแล้วก็หมดไป หมดฤทธิ์ก็หมดไป ส่วนที่ไม่หมดฤทธิ์จะไปรวมกับอดีตและปัจจุบันส่วนที่เหลือ ก็สังเคราะห์กันอีกอย่างละหนึ่งส่วน ก็สังเคราะห์กันอีก ส่วนที่รับก็หมดไปในส่วนที่หมดฤทธิ์ ส่วนที่ยังไม่หมดฤทธิ์ก็ไปสังเคราะห์กับอดีตส่วนหนึ่งและปัจจุบันส่วนหนึ่ง ร่วมกันอีกอยู่อย่างนี้ตลอดกาลนานตราบปรินิพพาน

กัมมะโยนิ เรามีกรรมเป็นกำเนิด กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กัมมะปะฏิสะระโน เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยหรือผู้ให้ผล ที่ท่านให้พิจารณาบ่อยๆ นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้พิจารณาเป็นประจำเลยนะ อะภิณหัง  ปัจจะเวก จะต้องพิจารณาเป็นประจำเลยแล้วชีวิตเราเข้าใจความจริงตามความเป็นจริง จะพ้นทุกข์ได้เมื่อเราเข้าใจลึกซึ้งแจ่มแจ้ง เพราะฉะนั้นชีวิตถ้ามัวแต่หาวัตถุข้าวของลาภยศสรรเสริญหาอบายมุขหารูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสลาภยศสรรเสริญต่างๆ วัตถุข้าวของต่างๆ ชื่อเสียงลาภยศสรรเสริญอะไรก็แล้วแต่ เท่านี้นะ มัวแต่เสียเวลากับเท่านี้ เราจะได้ในสิ่งที่มันไม่เที่ยง ได้ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนเท่านั้นเอง มันไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนชีวิตก็เต็มไปด้วยทุกข์ กลัวไม่ได้มาๆ กลัวจะหมดไปตลอดกาล 

ที่จริงแม้แต่ดี แม้แต่สิ่งที่ดี ๆ ถ้าเราไม่รู้จักยึดและวางให้เป็น ยังทุกข์เลยนะ ดี ถ้าเรามีอุปาทาน ไม่ได้มีสมาทานก็ทุกข์ มีอุปาทานคือได้แล้วเป็นสุขไม่ได้แล้วเป็นทุกข์ ทุกข์นะ กลัวไม่ได้มาได้มากลัวจะหมดไปก็เป็นทุกข์ แม้แต่สิ่งดี ๆ ก็ยังเป็นทุกข์ได้นะ จะบอกให้ เพราะดีเองก็ไม่เที่ยง ไม่รู้จะได้หรือไม่ได้ใช่ไหม ได้แล้วมันจะอยู่ไปตลอดไหมสภาพดี ๆ ที่เราเคยสร้างได้ทำได้จะอยู่ไปตลอดไหม ไม่ หมดฤทธิ์มันก็หมดใช่ไหม โอ้.. มันก็ไม่เที่ยงนะ แม้แต่ดีมันก็ไม่เที่ยงนะอย่าคิดว่าจะเที่ยง แม้แต่ดียังไม่เที่ยงเลย เพราะฉะนั้นถ้าเราไปยึดแบบอุปาทานเราจะทุกข์นะ ถ้าได้ดีดั่งใจหมายจะเป็นสุขไม่ได้จะเป็นทุกข์  กลัวไม่ได้มา ได้มาก็กลัวหมดไป หมดไปก็ทุกข์ กลัวไม่ได้มา ได้มากลัวหมดไปอยู่นั่น อย่างนี้เป็นต้น มันก็ทุกข์ตลอดกาลอยู่อีก นี่ยังต้องเป็นทุกข์

แต่ถ้าดีนั่นเรายึดแบบสมาทานเราก็ไม่ทุกข์ ถ้าเรายึดแบบสมาทานดีนี่แหละ ถ้าปรารถนาเราต้องการเรายึดแบบสมาทานก็ไม่ทุกข์ สมาทานคือได้ก็เป็นสุขไม่ได้ก็เป็นสุข ได้ก็เป็นสุขไม่ได้ก็เป็นสุขเท่านี้ก็ไม่ทุกข์ ได้ก็เป็นสุขไม่ได้ก็เป็นสุข ต้องฝึกในเรื่องดี ฝึกอันนี้ให้ได้ โอ้โห..สบาย มีความสุขทุกเวลา ชั่วไม่ต้องทำ ดีเกิดได้ก็เป็นสุข ดีเกิดไม่ได้ก็เป็นสุข สิ่งที่ต้องฝึกไว้นี่แหละสูงสุดเลย ต้องยึดแบบสมาทานอย่างนี้เป็นต้น

นี่คือสิ่งที่ชีวิตควรจะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ ส่วนวัตถุข้าวของต่างๆ ก็อะไรที่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสี่ หรือสิ่งจำเป็นอื่นๆ ใช้เท่าที่จำเป็นหาเท่าที่จำเป็น จะเผื่อไว้เท่าที่เหมาะควร แต่เราก็ทำให้มากทำเท่าที่เต็มที่นั่นแหละ ควรเก็บไว้เท่าที่เหมาะควรประมาณหนึ่งที่เหลือเกื้อกูลกันช่วยเหลือกัน ทำเต็มที่แล้วก็เกื้อกูลกันช่วยเหลือกัน ชีวิตก็จะผาสุกอย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นความรู้สึกทางใจนี่เป็นเรื่องที่สำคัญ

เวทนาทางใจความรู้สึกทางใจเป็นสิ่งสำคัญที่ชีวิตต้องเรียนรู้ว่าสภาพความรู้สึกทางใจอะไรที่มันดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด เกิดมาเป็นคนต้องเรียนรู้เวทนานี่แหละ เป็นเอกเลย ไม่มีอย่างอื่นของพระพุทธเจ้า เรียนรู้เวทนาเรียนรู้ความรู้สึกเป็นเอก ทุกสูตรให้สังเกตเลย 

สุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าก็เอาเวทนานั้นแหละเป็นเอก เวทนาทางกายเวทนาทางใจ โดยเวทนาทางกายก็ให้มันสภาพดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนเวทนาทางใจ นี่ก็ต้องให้เป็นเอก เป็นหนึ่งให้มั่นคงยั่งยืนเลย ใจนี่เป็นประธานด้วย

ท่านตรัสจิตวิญญาณเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง จิตเป็นใหญ่ จิตประเสริฐที่สุด ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยจิตวิญญาณหรือด้วยใจ ก็เอาใจเป็นหลักเลยนะ กายก็เอาด้วยไม่ใช่ไม่เอา ๆ เท่าที่จะทำได้ กายก็ไม่ได้ให้มันต้องทุกข์ 

ในคิลานสูตร อุปัฏฐากสูตร อนายุสสสูตร ข้อปฏิบัติที่จะทำให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ หายทุเลาจากโรคภัยไข้เจ็บและก็ทำให้ร่างกายแข็งแรงอายุยืน พระพุทธเจ้าก็เน้นให้เกิดความสบาย สบายกายสบายใจ เห็นไหมท่านก็ไม่ได้ให้ทิ้งกาย ให้สบายกายให้สบายใจ ก็ให้มันสบายทั้งสองนั่นแหละเท่าที่จะทำได้ กายก็ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใจนั้นให้สบายที่สุด มั่นคงยั่งยืนไปเลย ทำไปเป็นลำดับ ๆ และก็มั่นคงยั่งยืน แต่ละสูตร ๆ ให้สังเกตนะ พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาสอนมนุษยชาติมาสอนเพื่อให้สบายกายสบายใจให้ได้เวทนาที่ดีที่สุด ๆ แม้แต่ถึงที่สุดแล้ว การปฏิบัติอรูปฌาน รูปฌาน อรูปฌาน ปฏิบัติสูงสุดแล้วเป็นไง สูงสุดของอรูปฌานเนี่ย สูงสุดของอรูปฌานแล้วพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว

อนุปุพพวิหาร ๙ สิ่งที่ควรอาศัย ๙ อย่าง ข้อที่ ๙ สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา คือความหมายรู้ เวทยิตคือเวทนาคือความรู้สึก นิโรธ คือพ้นทุกข์ ดับทุกข์ ให้ความรู้สึกที่ไม่มีทุกข์ สุดท้ายแล้วเห็นไหมสูงที่สุดเลย สูงที่สุดแล้ว อนุปุพพวิหาร ๙ ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๓๕๕

สุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าก็เอาสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา คือความหมายรู้ เวทยิต คือเวทนาความรู้สึก นิโรธคือสภาพที่ดับทุกข์ ดับกิเลสดับทุกข์ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เป็นจุดสูงสุดของชีวิต วิหารคือที่อาศัย ที่อาศัยที่สูงสุดของชีวิต คือความรู้สึกที่ดับทุกข์ความรู้สึกพ้นทุกข์ไม่มีทุกข์ใด ๆ เลย คนไม่มีทุกข์คือสุขสบายใจไร้กังวลเท่านั้นเอง 

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๒๔-๓๓ และ ๕๙ ท่านตรัสว่า (ละเหตุแห่งทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง ละทุกข์ทั้งปวงได้เป็นความสุข) ทุกข์ก็คือความรู้สึกใช่ไหม ความรู้สึกทุกข์กาย ทุกข์ใจใช่ไหม ละได้เป็นไงเป็นสุขเลย ท่านว่างั้นนะ 

ละทุกข์กาย และทุกข์ใจได้เป็นสุขเลย ใครกำลังทรมานกายอยู่หายป่วยทันทีเป็นสุขไหม สุขทันทีเลยใช่ไหม ใครกำลังทุกข์ทรมานใจอยู่หายทุกข์ใจเลย สุขไหม สุขทันทีเลยนะ เห็นไหม พระพุทธเจ้าเน้นอะไร ปฏิบัติธรรมไปนี้เพื่อที่จะเป็นให้หายทุกข์กาย ให้หายทุกข์ใจเนี่ยแหละ เน้นให้หายทุกข์ใจเป็นหลัก ทุกข์กายก็ให้หายให้ได้มากที่สุดนั่นแหละเท่าที่จะทำได้ 

เอาทุกข์ใจเป็นหลักเลยเพราะมันสามารถหายมั่นคงยั่งยืนได้ หายทุกข์ใจเนี่ยมันจะหายมั่นคงยั่งยืนได้ หายทุกข์ใจก็สุขสบายใจอะไรกังวล อันนี้มั่นคงยั่งยืนได้ ส่วนด้านร่างกายเอาแน่ไม่ได้หรอก เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย แต่มีให้มันดีให้ได้มากที่สุด ให้มันหายทุกข์ให้ได้มากที่สุดด้านร่างกายเท่าที่จะทำได้  นี่เป็นสัจจะอย่างนี้ จะสังเกตว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ย เน้นย้ำไปที่เวทนาความรู้สึก จับประเด็นนี้ดี ๆ นะ เพราะฉะนั้นแต่ละวัน เราจะต้องอ่านความรู้สึกของเราให้ดี อ่านความรู้สึกของเราให้ดีว่าตอนนี้ เริ่มต้นจากกาย กายมันสบายหรือไม่สบาย ถ้ามันไม่สบายหาวิธีให้มันสบาย เท่าที่เราจะทำได้ วิธีที่สบายก็เนี่ย มีการปรับสมดุลต่าง ๆ ให้มันรู้สึกสบาย บางทีอย่างประเด็น อย่างประเด็นออกกำลังกายใช้เรี่ยวใช้แรงอะไรต่าง ๆ เนี่ยนะ ใช้เรี่ยวใช้แรง บางทีถ้าเราพักมาก ๆ มันก็จะ จะไม่สบายนะ พักมาก ๆ มันไม่สบายก็ต้อง ใช้เรี่ยวใช้แรงให้มันสดชื่นให้มันสบาย  ใช่ไหม ให้มันลำบากในขีดที่เบิกบาน ในขีดที่กุศลธรรมเจริญยิ่ง ไม่กิลมถะไม่ทรมานเกินไปนั่นแหละจะสบาย ก็ต้องลำบากในขีดที่เบิกบานนั่นแหละสบาย ไม่ทรมานจนเบิกบูด แต่ไม่หย่อนยานจนย่ำแย่ 

ต้องลำบากในขีดที่มันสดชื่นมีชีวิตชีวา ในขีดที่สบาย ถ้ามันเริ่มทรมานแล้วก็หยุด ก็ผ่อน ผ่อนไป แล้วก็หยุดไปผ่อนไป พอเราหยุดไปผ่อนไปเป็นไง หยุดไปเราผ่อนไป เอ้อ สบายดี พักแล้วก็สบายดี พักนานเข้า ๆ มันไม่สบาย เพราะงั้นสบายมันก็มีจังหวะที่ลำบากแล้วสบายกับพักและสบายใช่ไหม มันยังมีอย่างนี้ด้วยนะ ต้องเรียนรู้ดี ๆ พักแล้วสบายดี พักนานเข้า ๆ ชักไม่สบายก็ต้องเพียร เพียรแล้วสบาย กับพักแล้วสบาย เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน เพียรให้สบาย พักให้สบาย ชีวิตนี้ด้านร่างกาย จะเพียรจะพักด้านไหน ด้านทำการงาน หรือจะด้านไหน ด้านอื่น ๆ ด้านใช้อะไร ๆ ก็แล้วแต่ ด้านกินอาหาร ด้านกินน้ำกินอาหาร การใช้อะไร ๆ ก็ว่าไป 

ด้านร่างกายก็พยายามบริหารให้มันรู้สึกสบาย สบายเบากายมีกำลังเป็นอยู่ผาสุก อย่างอยู่ที่ภูผาเนี่ย เฉพาะร่างกายอาจารย์นะ ท่านอื่นก็ดูของตัวเองเอา เฉพาะร่างกายของอาจารย์นี่ ประเด็นเรื่องของการออกกำลังกาย กายบริหารนี่นะ ถ้าอาจารย์ไปใช้เรี่ยวใช้แรงมันรู้สึกสบายดี สดชื่นดีไปทำการทำงาน ใช้เรี่ยวใช้แรง  ถ้าจะต้องนั่งทำงานแบบใช้สมอง นั่งนานหน่อยเนี่ย มาร์ชชิ่งก็จะสดชื่นขึ้นมา แต่มาร์ชชิ่งอย่างเดียวไม่พอ อาจารย์ไม่พอเพราะว่าที่นี่มันอากาศเย็นเป็นส่วนใหญ่ มาร์ชชิ่งอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องซุปเปอร์พาวเวอร์ จะต้องซุปเปอร์พาวเวอร์ วิดพื้นจำนวนครั้งแต่ละคนก็ไม่เท่ากันนะ อาจารย์ดูจำนวนครั้งที่อาจารย์สดชื่น อุ่นสบายมีชีวิตชีวา ถ้าของอาจารย์วิดพื้น ๒๐-๒๕ ครั้ง กำลังดี ท่าปลาวาฬ ๒๐-๒๕ ครั้ง ประมาณ ๒๐ ครั้งก็พอดี ซิทอัพก็เต็มที่เลยซิทอัพแบบขึ้นเต็มที่เลยเนี่ยนะ ประมาณ ๓๐ ครั้ง ก็พอดีอย่างนี้เป็นต้น 

แต่ละคนก็ไม่เหมือนกันนะ เราก็ไปดูตัวเราเอง ว่าเราทำอะไรแค่ไหนแล้วเราสดชื่น แล้วมันจะอุ่นเลยนะ จากเย็น ๆ เลือดลมไหลเวียนไม่ดี จะอุ่นเลยจะสดชื่นเลย มีเวทนาที่ดีเลยสบายเลย  แต่ละท่านก็ไม่เหมือนกันไม่เท่ากันนะ  ท่านไหนใช้อะไรแล้วรู้สึกในการกายบริหารแบบใช้แรงกระทำ ส่วนการทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นยืดหยุ่น กล้ามเนื้อกระดูกเส้นเอ็นเข้าที่เข้าทางเพื่อให้เลือดลมไหลเวียนอีกแบบหนึ่งนั้น อาจารย์ก็ถูกกับกดจุดลมปราณโยคะกายบริหาร อย่างนี้เป็นต้น ก็เป็นอย่างนี้ ก็เล่าสู่กันฟังด้านร่างกาย 

ส่วนด้านจิตใจนี่แหละ เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องเรียนรู้ให้ชัด จิตใจก็ถ้าเอาแบบย่อเลยก็ มีความยินดี พอใจ สุขใจ ในการละบาป บำเพ็ญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใส เอาแบบย่อ ด้านจิตใจแล้วก็ได้ความสุขที่ยั่งยืน  เดี๋ยวการประพฤติปฏิบัติ ค่อยว่ากันอีกทีนึงนะ ในรายละเอียดต่าง ๆ 

จริง ๆ อธิบายไปในแต่ละวัน ๆ อาจารย์ก็อธิบายทั้งทบทวนทั้งเติมเต็มไปในแต่ละวัน ๆ พอเราทำตัวนี้ได้เราก็จะสามารถที่จะ ทำจิตใจให้ผ่องใส ละบาป บำเพ็ญกุศล ละบาปชำระกิเลส ชำระพฤติกรรมที่มันไม่ดีไม่งาม ที่เป็นโทษเป็นภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ชำระกิเลสไป บำเพ็ญกุศล สิ่งที่ดีงามก็บำเพ็ญไป ทำจิตใจให้ผ่องใสนี่ ต้องลึกซึ้ง ทั้งชำระกิเลสได้ ทั้งเอาประโยชน์ให้ได้ทุกเรื่อง ต้องฉลาดที่จะเอาประโยชน์ให้ได้ทุกเรื่อง รู้จักพอใจสุขใจ ยินดีเต็มใจ พอใจ สุขใจให้ได้ทุกเรื่อง

เมื่อเราได้เป็นผู้ละบาป บำเพ็ญกุศล อย่างเต็มที่แล้ว และก็ทำจิตใจให้ผ่องใสได้ ชำระกิเลสให้สิ้นเกลี้ยง หรือให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วรู้จักเอาประโยชน์ให้ได้ทุกเรื่อง รู้จักพอ ยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ให้ได้ทุกเรื่อง  เนี่ยแหละมันก็จะ จิตใจก็จะผ่องใส ก็จะได้จิตใจที่เป็นสุขที่สุดต่อชีวิตเรา อย่างนี้เป็นต้น  ตอนนี้อาจารย์ก็พยายามที่จะเน้นย้ำให้พี่น้อง เห็นความสำคัญของเวทนาของความรู้สึก ที่พยายามอธิบายอยู่ตอนนี้ เน้นให้เห็นความสำคัญของเวทนาของความรู้สึกที่เราจะต้องอ่านตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่าตอนนี้มันเป็นยังไงมันได้สภาพที่ น่าได้ น่าเป็น น่ามี ที่สุดหรือยัง ถ้ามันได้แล้วก็รักษาเอาไว้ ถ้ามันยังไม่ได้ก็ต้องฝึกฝนให้ได้ ได้แล้วก็อนุรักขนาปธานให้รักษาไว้ พยายามรักษาไว้อย่าให้มันเสื่อมสูญไป ก็รักษาสภาพที่มันดีที่สุดนั้นไว้ ถ้ามันออกนอกอีกก็ปรับเข้ามา ๆ รู้จักปรับเข้ามาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะพึงทำได้อย่างนี้เป็นต้น แต่ละสูตร ๆ สุดท้ายแล้วเนี่ย พระพุทธเจ้าก็ให้เรียนรู้เวทนา 

สูงสุดแล้วให้เรียนรู้เวทนา แล้วพัฒนาไปสู่ความรู้สึกที่มันดีที่สุด อย่างน้อยท่านก็ให้เริ่มต้น เรียนรู้ คือจริง ๆ แล้วแต่ใครจะมีปฏิภาณ จะเรียนรู้เวทนา ๒ คือเวทนาทางกาย กับเวทนาทางใจ เท่านี้ เรียนรู้แล้วเอาตัวที่เป็นเอกเป็นหนึ่งให้ได้ ให้ดีที่สุดให้ได้ไปเป็นลำดับ ๆ จบเวทนา ๒ ก็จบได้ ท่านก็ขยายรายละเอียดเพิ่มไปอีก นอกจากเวทนา ๒ แล้ว เล่มที่ ๑๘ ข้อที่ [๔๓๑] “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๒ เป็นไฉน” เวทนา ๒ คือ เวทนาทางกาย เวทนาทางใจ เหล่านี้เรียกว่าเวทนา ๒ ความรู้สึกทางกายกับความรู้สึกทางใจ 

[๔๓๒]  “ก็เวทนา ๓ เป็นไฉน” ทีนี้เวทนา ๓ เราจะเรียนรู้ละเอียดขึ้นไปแล้ว ทางกาย ทางใจ แล้วก็เรียนรู้ ๓ เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา  ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เหล่านี้เรียกว่า เวทนา  ๓

สุขเวทนาก็คือความรู้สึกสุข ทุกขเวทนาความรู้สึกทุกข์ อทุกขมสุขเวทนา คือความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ หรือเฉย ๆ สุข ทุกข์ เฉย ๆ  หรือสุขก็คือชอบ ทุกข์ก็คือชัง  อทุกขมสุขก็คือเฉย  ชอบ ชัง เฉย  จริง ๆแล้ว พระพุทธเจ้ายังแยกเป็นเคหสิตะ เนกขัมมะ พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไปในภายหลังอีก อาจารย์ยังไม่ไปอธิบายตัวนั้น เดี๋ยวค่อย ๆ เรียนรู้ไป  เรามาเริ่มต้นจากความรู้สึก ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ๆ  เอาแค่นี้ก่อนนะ  ความรู้สึกสุข ทุกข์ แล้วก็เฉย ๆ  อะไรน่าได้ น่าเป็น น่ามีที่สุด สุขใช่ไหม สุขเนี่ยมันรู้สึกเป็นความรู้สึกที่ดีที่สุด สุขในสภาพยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ นี่แหละ ร่าเริง เบิกบาน แจ่มใส ไร้กังวล ความรู้สึกสุขมันเป็นอย่างนี้  สดชื่น แช่มชื่น มีชีวิตชีวา อันนี้คือความรู้สึกสุข 

อันนี้คือความรู้สึกสุขที่ดีที่สุด รู้สึกทุกข์นี่ ความรู้สึกทุกข์ดีไหม ไม่ดีเลยนะ มันรู้สึกไม่เข้าท่าเลยนะ  ความรู้สึกทุกข์เนี่ยแย่ที่สุดเลย ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีที่สุด อทุกขมสุข ไม่สุขไม่ทุกข์เฉย ๆ เป็นไงมันดีที่สุดหรือยัง ยังเนาะ น่าได้ น่าเป็นน่ามีไหม ก็ไม่เนาะเฉย ๆ  เฉย ๆ แบบบื้อ ๆ นะ เฉย ๆ เจออะไรก็เฉย ๆ ต้องการความรู้สึกเฉย ๆ เฉย ๆ  เป็นไง มันดีที่สุดหรือยัง ยังเนาะเฉย ๆ นี่ยังไม่ดี ทุกข์นี่ไม่ดีใหญ่เลยนะ เฉย ๆ ยังไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี ยังไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี 

สุขคือความรู้สึกที่ดี น่าได้ น่าเป็น น่ามี เพราะฉะนั้นชีวิตก็ต้องเลือกเอาความรู้สึกสุขนี้แหละเป็นหลัก เพียงแต่ว่าสุขมันมี ๒  สุขมั่นคง กับไม่มั่นคง  สุขยั่งยืนกับไม่ยั่งยืน อะไรดีกว่า ยั่งยืนดีกว่าใช่ไหม ถ้าแบบพุทธะเป็นสุขยั่งยืน  ถ้าแบบกิเลสเป็นสุขที่ไม่ยั่งยืน เราก็เรียนรู้ ว่าอันนี้แบบกิเลส สุขแบบนี้นะ สุขแบบกิเลสนี่มันไม่ยั่งยืน

ทำแป๊บเดียวหมดไป เป็นไง แถมยังเป็นทุกข์ตลอดกาลเลย โอ้…ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี อันนี้ก็ต้องเรียนรู้แล้วก็กำจัดไป มาเอาสุขแบบพุทธะ มาเอาสุขแบบพุทธะเนี่ยเป็นสุขยั่งยืน สุขแบบพุทธะนี่เป็นสุขที่หมดอยากได้สุขสมใจ หมดอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจ มามีความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขแบบพุทธะนี่เป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขที่หมดอยาก หมดอยากได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ  ก็หมดอยากไม่ได้ดั่งใจ ก็เป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่ได้อยากได้ดั่งใจแล้วใช่ไหม มันก็หมดแล้ว ก็เป็นความไม่ได้ดั่งใจแล้ว อย่างนี้เป็นต้น 

สุขแบบกิเลส มันจะมีลีลา ถ้าได้จะสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้จะทุกข์ใจไม่ชอบใจ แต่สุขแบบพุทธะ ได้หรือไม่ได้ก็สุขใจชอบใจ ได้หมด เนี่ยสุขแบบพุทธะนี่ดีกว่า มั่นคงยั่งยืนกว่า อย่างนี้เป็นต้น แล้วค่อยเรียนรู้ไป เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนรู้จะได้ไม่ได้ก็สุขใจชอบใจให้ได้ โดยเฉพาะในสิ่งที่ดีนะ ในสิ่งที่ชั่วนี่ ให้เรายินดีในการละทิ้งไปเลย สุขใจชอบใจในการละ พฤติกรรมที่ชั่วที่เลวร้าย เดือดร้อนเลวร้ายต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น พฤติกรรมนั้น ๆ เรายินดีในการละ 

มีความสุขในการละทิ้งไป  ส่วนในพฤติกรรมที่ดี ดีเกิดได้หรือไม่ได้ก็ต้องสุขใจให้ได้ อันนี้เป็นแบบพุทธะ 

ถ้าเราทำได้มั่นคงยั่งยืน เราก็เป็นพุทธะที่มั่นคงยั่งยืน เวทนาก็เรียนรู้ ชีวิตเนี่ย ใครจะว่าอะไรเรายังไง ๆ ก็ช่างเถอะ ถ้าเราได้สุขเวทนาตลอดเวลาเลย ไม่มีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์เลย เรามีความรู้สึกสุขตลอดเวลาเลย ตั้งแต่สุขกายเนี่ย เราก็สุขกายได้มาก ใครจะว่าอะไร ๆ เรา เราจะหวั่นไหวไหม ถ้าเรามีปัญญารู้ว่า ความรู้สึกสุขกายเนี่ยมันดีที่สุด สบายใจดีที่สุด เราจะหวั่นไหวไหม ไม่หวั่นไหว ใครจะมาบอก ค่าแล็บเราไม่ดี อย่างนู้นอย่างนี้ อาจจะเสี่ยงจะแย่อย่างนู้นอย่างนี้ ผลการตรวจไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ลักษณะของเรามันไม่ดีอย่างนู้นอย่างนี้ อ้วนไป ผอมไป พอดีไป ดำไป ขาวไป สูงไป เตี้ยไป อะไรก็แล้วแต่ ผลเลือดไม่ดี ผลเอกซเรย์ไม่ดี ผลอันนั้นอันนี้ไม่รู้ ผลอะไรก็แล้วแต่ เขาบอกไม่ดี ๆ ๆ แต่เรา ด้านร่างกายเราสบายดี สบาย เบากาย มีกำลัง ถ้าเรารู้ว่าอันนี้ดีที่สุดแล้ว ในแต่ละวินาทีของชีวิตจะหวั่นไหวไหม ไม่หวั่นไหวใช่ไหม เราจะไม่หวั่นไหวเลย 

ถ้าเรารู้ว่าอันนี้มันคือสิ่งที่ดีที่สุดต่อชีวิตแล้ว ใครจะว่าเราถือศีลกินเจ ขาดสารอาหาร จะกลัวไหม ๆ ไม่กลัวเนาะ ต้องกินเนื้อสัตว์สิ วิตามินจะได้ครบ โปรตีนจะได้ครบ ธาตุต่าง ๆ จะได้ครบ กินพืชมันจะขาดธาตุโน้นธาตุนี้ แต่เราไปกินเนื้อสัตว์ทีไรเราก็ไม่สบาย กินเนื้อสัตว์ไม่สบาย แต่พอมากินพืชทีไรเราสบายทุกทีเลย กินพืชแล้วก็สบายทุกทีเลย จะหวั่นไหวไหม เรากินพืชอย่างสบายร่างกายเรา เราก็ไม่หวั่นไหว อย่างนี้เป็นต้น 

คนมีปัญญาจะไม่หวั่นไหว แต่คนไม่มีปัญญาเนี่ยจะหวั่นไหวเนาะ เฮ้ย! เขาว่าผล labไม่ดี เขาว่าอันนั้นไม่ดี เดี๋ยวจะขาด ๆ เดี๋ยวหานู้นหานี่มาบำรุง อะไรก็ไม่รู้มาบำรุง  โอ้ย! แต่ถ้าเราสบายเบากายมีกำลังนะ ไม่ต้องไปหวั่นไหวหรอก เราได้เวทนาที่ดีที่สุดแล้ว  เวทนาทางกายคือสบายเบากายมีกำลัง เราสบายเบากายมีกำลังแล้วพอเลย ใครจะว่าอะไรก็ชั่งใครเถอะ เราได้ความรู้สึกที่ดีที่สุดของชีวิตแล้ว สุขที่สุดแล้ว อย่างนี้เป็นต้น ไม่ต้องไปหวั่นไหว เขาบอกว่ากินจืดนาน ๆ เดี๋ยวขาดธาตุอาหาร แต่เรากินทีไรสบาย บอกกายมีกำลัง จะหวั่นไหวไหม ไม่ต้องไปหวั่นไหว 

เขาบอกต้องเติมนั่นเติมนี่มั่งสิ เดี๋ยวจะขาด เดี๋ยวจะขาดนะ แต่เรากินแล้วเราก็สบาย เบากาย มีกำลังจะดี เราทดลองไปเติมดู กลับไม่ค่อยดี กลับไม่สบาย ไม่เบากายไม่มีกำลัง ไปเติมแล้วมันไม่สบาย ไม่บอกกายไม่มีกำลัง ไปใส่นู่นใส่นี่เข้าไป แต่อันที่เรากินอยู่นี่ไม่ได้มีรสจัดมาก มีรสประมาณนึง แล้วเราก็ กินแล้วสบาย เบากาย มีกำลังดี แต่เขาก็บอกว่าให้ไปเติมโน้นเติมนี้ เสร็จแล้วเราไปเติม แล้วมันก็ไม่สบาย เราจะหวั่นไหวไหม ที่จะกินตัว ตัวที่เรารู้สึกสบายเบากายมีกำลัง กินพืชจะสบาย กินพืชรสจืดแล้วรู้สึกสบายเบากายมีกำลัง ถามว่าจะหวั่นไหวไหม คำตอบก็คือไม่ไหวใช่ไหม 

ใครจะว่าเราจะขาดธาตุโน้นธาตุนี้ เราจะไปหวั่นไหวอะไร ก็ความรู้สึกเราบอกอยู่ ความรู้สึกเราบอกอยู่ว่ามันสบาย เบากาย มีกำลัง ไม่ต้องไปหวั่นไหวหรอก หรือบางคนต้องเติมรสบ้าง พอเติมรสแล้วมันรู้สึกสบาย จืดไปมันไม่สบาย เติมรสไปแล้วรู้สึกสบาย เขาบอกว่า 

“เฮ้ย! เติมไปมากเดี๋ยวจะป่วยเอานะ เติมไปเดี๋ยวธาตุมันเกิน เดี๋ยวจะป่วยนะ” 

กินรสจัดไปเขาว่างั้นนะ กินเพิ่มรสเข้าไปเดี๋ยวจะป่วยเอา แต่พอเราเติมแล้วเรารู้สึกสบาย สดชื่นดีในคราวนั้น หรือมันสบายเบากายมีกำลัง เราจะหวั่นไหวไหม ไม่หวั่นไหว ใช่ไหม จะไปหวั่นไหวทำไม ถ้าเราเติมรสแล้วเรารู้สึก เติมรสนี้แล้วมันเบากายสบายมีกำลัง เราจะไปหวั่นไหวอะไรล่ะ ก็แปลว่ารสนั้นมันถูกกับเรา ก็เติมเข้าไปสิ เติมน้ำมันเบากายสบายมีกำลังดี เติมเข้าไป แต่ถ้าเติมเข้าไปแล้วมันไม่สบายก็ไม่เติม มาเอาที่ไม่ต้องเติมดีกว่า เราก็ต้องดูว่าตอนนั้น เราจะเติมหรือไม่เติม ใช่ไหม บางครั้งไม่เติมก็สบายแล้ว ปรุงเล็กน้อยก็สบายแล้ว บางทีต้องเติมเข้าไปหน่อยตรงนั้นตรงนี้แล้วมันสบาย เราก็เลือกเอาที่สบาย เบากาย มีกำลัง ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ นี้เวทนาทางกาย เราจะไม่หวั่นไหว ถ้ารู้ว่าอันนี้มันดีที่สุด สำคัญที่สุดต่อชีวิต 

ชีวิตก็เรียนรู้เวทนา อาจารย์ถึงว่า ชีวิตคือความรู้สึก ความรู้สึกคือชีวิต เวทนาคือความรู้สึก ความรู้สึกมีทางกายกับทางใจ โดยย่อ โดยขยายออกมาหน่อย ความรู้สึกทางกายกับทางใจก็มี นี่แหละ มีสุข มีทุกข์ มีเฉย ๆ นี่แหละ หรือเวทนาทางใจที่นี้นะ เราคิดพูดทำแบบไหนก็แล้วแต่ เราสบายใจ มันไม่มีความกลัว กังวล หวั่นไหวอะไรเลย พอคิดแบบนี้ คิดแบบนี้ พูดแบบนี้แล้วก็มันสุขสบายใจไร้กังวล มันไม่มีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์เลย ใครบอกว่าเราคิดผิด ๆ ๆ ๆ จะหวั่นไหวไหม ไม่หวั่นไหวใช่ไหม ถ้าเรารู้ว่าอันนี้มันดีที่สุดแล้ว เราตรวจสอบด้วยนะ เราไม่ได้โง่ ที่จะไม่ตรวจสอบไม่เปรียบเทียบเลย เอาล่ะ เราคิดพูดทำแบบนี้แล้วก็สุขสบายใจไร้กังวล แล้วถ้าไปคิดพูดทำแบบที่เค้าบอก มันกลับไม่สบายใจ มันยังไม่สุขสบายใจ ยังมีความกลัว กังวลหวั่นไหวแง่นั้นเชิงนี้ มันไม่แช่มชื่นไม่สดชื่น ถ้าเราไปคิดพูดทำแบบที่เค้าแนะนำ 

เราคิดแล้วมันเกิดผล เป็นความรู้สึกทางใจที่มันไม่ดี มันเป็นทุกข์ มันไม่สบาย มันไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามี แล้วเราคิดว่าสิ่งนั้นมันถูกไหม เราจะไปเอาความคิดแบบนั้นไหม แต่เค้าก็ดูน่าเชื่อถือนะ เค้าบอกว่า ใช่ ๆ แต่พอเราไปคิดตามที่เค้าบอก มันกลับรู้สึกไม่สบายใจ ถามว่าความรู้สึกแบบนี้เราควรเอาไหม ก็ตอบว่าไม่ควรเอา นี้แหละเราต้องรู้จักเป็นนักวิทยาศาสตร์

 อาจารย์พยายามให้พี่น้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์คือผู้ที่รู้จักพิสูจน์ความจริง เพราะนี่คือเรื่องที่สำคัญมาก เราลองคิดพูดทำแบบนี้สิแล้วผลมันเป็นอย่างไร ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ว่า ผลที่เกิดขึ้นสามารถพิสูจน์ได้ในทุกทิฐธรรมเทียว สามารถพิสูจน์ได้ในวินาทีนั้นเลย ถ้ามันรู้สึกสบายเบากายมีกำลัง สุขสบายใจไร้กังวลยั่งยืน ก็แปลว่าใช่ แต่ถ้ามันยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ มันก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด ถ้าคิดแบบนั้นแล้วยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ เห็นแล้วว่าคิดแบบนั้นมันก็ไม่ได้สุขตลอด มันก็ยังไม่ใช่หรอก เช่น อยากกิน ก็กินไปเลย ดูเผิน ๆ เหมือนจะเป็นสุข แต่ในความจริงแล้วมันยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ ถามว่าแล้วมันทุกข์ตรงไหนละ คำตอบก็คือตอนที่มันไม่ได้กินไง 

อยากกิน ก็กินเข้าไปเลย ๆ มันเหมือนจะสบายใจนะ อยากกินก็ได้กิน ไม่ต้องระมัดระวังอะไร แล้วมันจะไปเป็นทุกข์ตอนไหนละ ก็ตอนที่มันไม่ได้กิน มันไม่ได้ดั่งใจมันก็ทุกข์ แต่ตอนที่ได้กินสมใจมันก็ยังสุขอยู่พอถึงตอนที่ไม่ได้มันทุกข์ หรือเราไปกินตัวที่เป็นพิษเข้าไป แล้วถามว่ามันจะเป็นทุกข์ไหม มันก็เป็นทุกข์ ถ้ามันยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี หรือถ้าเราอยากกินแล้วกินไปเลย เพราะถ้าได้เป็นสุข ถ้าไม่ได้จะเป็นทุกข์ แบบนี้ยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ไหม ก็ยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ มันจะรู้สึกกลัวไม่ได้มา ได้มาแล้วก็กลัวหมดไปใช่ไหม ถามว่าความรู้สึกแบบนี้ดีที่สุดหรือยัง มันก็ยัง มันยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด 

อยากกิน กินไปเลย อยากทำ ทำไปเลย อยากทำอะไรก็ทำไป อยากกินอะไรก็กินเข้าไป แบบนี้มันดีที่สุดหรือยัง ได้สภาพที่สบายที่สุดหรือยัง ได้ทำตามที่อยาก ทำไปเลย ๆ ไม่ต้องไปแคร์ใครทั้งสิ้น ใครจะว่ายังไงชั่งหัวใคร ทำตามใจเรานั้นแหละ ทำเข้าไปเลย ๆ แล้วมันจะหายทุกข์ไหม อ่าว! ทำไมไม่หายทุกข์ละ ก็ได้ทำตามใจตัวเอง 

ถามว่ามันจะไปทุกข์ตอนไหน มันก็ทุกข์หลายตอนเลยใช่ไหม โอกาสทุกข์มันจะมีตอนไหนบ้าง มันยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ใช่ไหม อย่างน้อยก็ถ้าได้ทำจะเป็นสุข ถ้าไม่ได้ทำจะเป็นทุกข์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทำไปเลย ๆ ไม่แคร์ใครเลย แล้วคนอื่นเค้าไม่ชอบเค้าเตะปากคุณ คุณจะทุกข์ไหม มันก็ทุกข์สิ มันมีโอกาสเป็นทุกข์ได้อยู่ ถ้าอย่ากทำแล้วทำไปเลย ๆ หรือคุณก็ไม่ดูตาม้าตาเรือเลย อยากทำก็ทำเข้าไปเลยจนเกิน จนป่วยแล้วมันจะทุกข์ไหม มันก็ทุกข์ 

อยากทำแล้วทำไปเลย มันก็ยังมีทุกข์ได้หลายอย่าง เช่นถ้าเรื่องนั้นมันไม่เหมาะไม่ควรแล้วคุณทำไปแล้วมันจะเป็นยังไง มันก็เป็นเรื่องนะ หรือบางทีมีวิบากขวาง หรือมีเหตุปัจจัย (วิบากร้ายคือเหตุปัจจัย) มาขวาง ถ้าคิดว่าอยากทำก็ทำไปเลยจะได้เป็นสุข ถ้ามันมีเรื่องมาขวางไว้ละคุณจะยังสุขอยู่ไหม แค่นี้คุณก็ไม่สุขแล้วใช่ไหม ตกลงที่คิดว่าอยากทำ ๆไปเลย อยากกินก็กินไปเลย ตกลงยังมีโอกาสทุกข์ไหม มันก็ยังมีโอกาสทุกข์อยู่ ตกลงเป็นการคิด พูด ทำที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดนะคุณอย่าไปคิดว่าอย่างนั้นคือดีที่สุดนะ

 แต่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าถ้าอยากทำอะไรแล้วได้ทำสมใจ เค้าจะหลงว่าแบบนั้นดีที่สุดแล้วใช่ไหม อันนี้คือคนไม่มีปัญญาคนปัญญาไม่เต็มรอบ เค้ายังจะหลงว่าถ้าได้แบบนี้จะดีที่สุดอยู่ ซึ่งคนส่วนใหญ่ต้องการสิ่งนี้ อยากทำอะไรก็ได้ทำดังใจ อยากกินก็ได้กินดั่งใจ อยากได้อะไรก็ได้ดั่งใจ คนส่วนใหญ่เค้าจะรู้สึกว่าการได้แบบนี้เป็นสิ่งที่สูงที่สุดของชีวิต ดีที่สุดของชีวิต

ถามว่าสิ่งที่เค้าคิดว่าดีที่สุดในชีวิตเค้า ถ้าทำตามแล้วมันยังมีโอกาสทุกข์หรือไม่ คำตอบก็คือยังมีโอกาสทุกข์อยู่โดยเฉพาะเมื่อมันถูกขวาง ไม่ให้ทำได้ดั่งใจ ตกลงเค้าได้สิ่งที่ดีที่สุดหรือยัง คำตอบก็คือยัง เค้ายังไม่ได้ความรู้สึกที่ดีที่สุด เพราะยังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่

เค้ายังไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต จำไว้นะ ใครที่รู้สึกว่าอยากทำอะไรก็ได้ทำ อยากกินอะไรก็ได้กิน อยากทำอะไรทำไปเลย อยากกินอะไรกินไปเลย อิสระสรี เหมือนมันจะเป็นอิสระ เหมือนจะเป็นสุขที่สุดที่ไม่มีอะไรเทียมเท่าได้เลย คนเค้าหลงว่าสิ่งนี้ดีที่สุดแล้ว แต่แท้ที่จริงผู้มีปัญญารู้ว่ามันยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด มันยังมีโอกาสทุกข์ได้หลายอย่าง หลายประเด็น ถ้ายังมีความคิดแบบนี้อยู่

ดังนั้นต้องค้นหาสิ่งที่มันดีกว่านี้ ต้องค้นหาสิ่งที่มันดีที่สุด อย่าไปหลงทางซึ่งคนส่วนใหญ่มันจะไปจมอยู่กับสิ่งนี้ เพราะคนในโลกคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่สูงสุดของเค้าแล้ว ถ้าใครได้ทำอะไรดั่งใจหมาย ได้กินอะไรดั่งใจหมาย ได้รับอะไรดั่งใจหมาย สามอย่างนี้คือ ได้ทำ ได้กิน ได้รับ ดั่งใจหมาย คนในโลกคิดว่ามันสูงสุดในชีวิตของเค้าแล้ว สูงสุดของเค้าก็เท่านี้แหละ สูงสุดแต่ยังเต็มไปด้วยทุกข์ อาจจะมีความสุขบ้างตอนที่ได้ดั่งใจหมาย ได้ทำได้กินได้รับดั่งใจหมายก็มีความสุข เคยไหมเวลาได้กินได้รับอะไรดั่งใจหมายแล้วมีความสุขไหม มีความสุขใช่ไหม แล้วตอนนี้ความสุขนั้นอยู่ที่ไหน เอาออกมาดูได้ไหม ไหนความรู้สึกสุข มันหายไปหมดแล้วใช่ไหม เก็บไม่ได้ ไม่มีจริง ไม่อยู่นานเลยใช่ไหม แป๊บเดียวหมดไปมันก็ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนแท้ไม่มีจริง ถามว่าสุขมากหรือสุขน้อย ก็สุขน้อยใช่ไหม หาแทบตายกว่าจะสุข แต่ได้นิดเดียวแล้วหายไปเลย ทำไมคนไปชอบสุขน้อย ๆ ก็ไม่รู้ สุขน้อยแป๊บเดียวก็หมดไป ไม่เที่ยงไม่มีจริงอีก นี้คือสุขสูงสุดของคนทางโลกแล้วนะ สุขจากได้ทำ ได้กิน ได้รับสิ่งต่าง ๆ ดั่งใจหมาย นี้คือสุขมากแล้วสำหรับเค้า แต่มันสุขนิดเดียวแล้วหมดไป ไม่เที่ยงไม่มีจริง

นี้แหละคนก็ได้เท่านี้ สูงสุดแล้วชีวิตก็วนอยู่เท่านี้แหละในแต่ละวัน ๆ แม้เท่านี้ก็เถอะ ถามจริง ๆ ว่าจะสุขได้ตลอดไหม อยากได้อะไรทั้งหมดทั้งสามอย่างนี้เลย ได้ทำ ได้กิน ได้รับ สิ่งที่เราต้องการ มันจะได้ตลอดไปไหม มันก็ไม่ได้รับตลอดแล้วพอถึงวันที่ไม่ได้ มันก็เป็นทุกข์ อยากได้แล้วไม่ได้มันก็ทุกข์ พอได้มาเสร็จแล้วมันหายไปมันก็ทุกข์อีก ทุกข์ใจ กลัว กังวล หวั่นไหว ไม่ชอบใจไม่พอใจ ไม่สบายใจ ที่ยังไม่ได้มา ได้มาก็กลัวจะหมดไป หมดไปก็ทุกข์ 

ไม่ชอบใจไม่พอใจ ที่มันกำลังจะหมดไป ต้องระมัดระวัง ต้องถนอม ต้องรักษา ชีวิตช่างทรมานเหลือเกิน ต้องถนอมรักษาสิ่งที่มันต้องหายไป สิ่งที่มันไม่เที่ยงแล้วมันต้องหายไปเมื่อมันหมดฤทธิ์ เพราะการกอปรก่อ มันต้องสลายไป มันต้องหายไป ไม่มันก็เราแหละวันใดวันหนึ่ง มันต้องหายไป  ถนอมมันเชียวรักษามันเชียว  เป็นไง สนุกหรือไง ถนอมมันน่ะ ถนอมรักษาสนุกนักหรือไง  สนุกหรือทุกข์   ทุกข์ สะทกสะท้าน   กลัวมันจะหายไปกลัวมันจะหายไป   กลัวมันจะเสียหาย   กลัวมันจะหายไป  ช่างทรมานอย่างนี้  เป็นต้น  เห็นมั้ยหล่ะ สุขที่คนแสวงหานั้นเต็มไปด้วยทุกข์  เป็นสุขที่ไม่เที่ยง  ไม่มีจริง  สุขน้อยไม่เที่ยง  ไม่มีจริงและก็เต็มไปด้วยทุกข์ทรมาน ทรมานใจและไปทรมานกายอีก  

ชีวิตต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์  เสียพลังไปตอบสนองทุกข์  ที่จะลดทุกข์  ตกลงเสียพลังที่ไปตอบสนองทุกข์  นี่แหละชีวิตไปสร้างทุกข์ให้ตอบสนองทุกข์  ชีวิตเกร็งตัวบีบทุกข์ออกดันออกเลือดลมไหลเวียนไม่ได้  เซลล์ ผิดโครงสร้างโครงรูปป่วยได้ทุกโรค  แย่แล้วทุกข์แล้วอยากได้มาก ๆ ทำไม่ดีได้ทุกเรื่อง เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามเดือดร้อนไปทั่ว ก็ทุกข์ไปทั่ว  

ชีวิตบันทึกเป็นวิบากร้ายดึงเรื่องร้ายมาใส่ตัวเองและผู้อื่นตลอดกาล  ทุกข์ไปทั่ว ชีวิตหนอ สุขเท่านี้หนอ เต็มไปด้วยทุกข์ สุขที่น้อย ไม่เที่ยง ไม่มีจริงเต็มไปด้วยทุกข์ตลอดกาล  หลอกให้เราทุกข์  หลอกให้เราแสวงหาสุขที่ไม่เที่ยง  สุขน้อย ไม่เที่ยง ไม่มีจริง  สุขหลอกมันหลอกให้เราแสวงหาสุขที่น้อยที่ไม่เที่ยงไม่มีจริง  แล้วก็หลอกให้เราหลง  หลอกให้เราหลงทุกข์ โมหะ ความโมหะความหลงแสวงหาหลงอยากได้หลงแสวงหาสุขน้อย สุขที่ไม่เที่ยงสุขที่ไม่มีจริง  แล้วมันเต็มไปด้วยทุกข์  หลอกให้เราทุกข์  หลอกให้เราทุกข์ตลอดกาลนาน ได้สุขชั่วคราวแล้วก็ทุกข์ตลอดกาลนาน  มันเป็นสุขที่ไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามีเลยสุขไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี  อย่างนี้เป็นต้น  มันจะต้องแสวงหาสุขอันใหม่ 

ถ้าผู้ใดมีปัญญาเห็น มีความยินดีพอใจสุขใจในการพิจารณามัน จะเกิดปาฏิหาริย์ขึ้นเลยนะ พิจารณามันมาก ๆ  อาเสวนาภาวนา พหุลีกัมมัง  พิจารณามันมาก ๆ มาก ๆ  ยินดีพอใจ  เต็มใจสุขใจในการพิจารณาสุขที่ได้สมใจ  นี่มันสุขน้อยไม่เที่ยงไม่มีจริงเป็นสุขหลอก สุขลวง สุขปลอม มันลวงให้เราหลง  อยากได้สุขอันนี้ หลงทุกข์ตลอดกาลนาน  หลงสร้างทุกข์ให้ตัวเองผู้อื่นตลอดกาลนาน   พิจารณาไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ มันไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีเลย  พิจารณาซ้ำ ๆ ซ้ำๆ ด้วยอิทธิบาท ด้วยฉันทะ  ยินดีเต็มใจพอใจสุขใจอย่างวิริยะ  อย่างเพียร จิตตะทุ่มโถม เอาใจใส่  วิมังสา  ตรวจสอบใคร่ครวญ  มันจริงมั้ย มันจริงมั้ย  มันจริงมั้ย โอ ! ตรวจสอบผล  ทีนี้พิจารณาซ้ำไปเรียกว่า อิทธิบาท 4 พิจารณาซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆได้ความยินดีเต็มใจพอใจสุขใจ เราจะวิมังสา เห็นอะไร ตรวจสอบใคร่ครวญ เราจะเห็นว่ามันสลาย เพราะว่าเราให้ปัญญากับกิเลส รบด้วยปัญญา กิเลสมันก็หลอกเราใช้ความฉลาดของมันหลอกเรา  เราใช้ปัญญากับกิเลสจนสุดท้ายกิเลสเข้าใจ (กิเลสคือความคิดที่มันผิด)  ชีวิตที่คิดและเข้าใจจากมิจฉาทิฏฐิ   เป็นสัมมาทิฏฐิเข้าใจเลยว่าคิดแบบที่กิเลสคิด มันทุกข์   คิดแบบนี้มันทุกข์เหรอนี่  มันไม่เที่ยงเหรอนี่   สุขมันไม่เที่ยง สุขน้อย ไม่เที่ยง ไม่มีจริงเป็นทุกข์ ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี แบบนี้มันทุกข์เหรอนี่ พอเขารู้สึกว่ามันเป็นทุกข์ชัดเจนแล้ว  

อุ๊ย ! หลอกตัวเอง หลอกคนอื่นคิดให้ทุกข์ ถูกหลอกเหรอนี่ คิดให้ทุกข์เข้าใจชัด พอกิเลสเข้าใจชัดปุ๊บ เป็นไง คิดว่ากิเลสมันจะเป็นสุขมั้ย  มันไม่เป็นสุขหรอก  ถ้าอยู่ต่อก็ทุกข์เท่านั้นเอง 

เคยได้ยินมั้ย มารเป็นทุกข์   พระสุคตทรงรู้จักเราแล้วพระพุทธเจ้าพระอรหันต์รู้จักเราแล้วมารจึง รู้สึกเป็นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์รู้จักเขาก็รู้สึกเป็นทุกข์ เป็นทุกข์จริง ๆ จึงอันตรธานไปในที่นั้นเอง  จึงหายไปเขาเต็มใจที่จะหายไปเลย เพราะอะไรถ้าเขายังอยู่จะสุขหรือทุกข์ เขาทุกข์ถ้าเขายังอยู่เขาจะรู้สึกทุกข์  เพราะฉะนั้นมีวิธีเดียว ที่เขาจะไม่ทุกข์ คือหายไปเสีย  สลายไป  เขาจะเลิกคิดแบบนั้น เขายอมเลิกคิด  เลิกเข้าใจแบบนั้น เขาจะสลายไปเลย  ปรินิพพาน  เขาปรินิพพานไปก่อนเราเลย 

มารมันเก่งนะ ฉลาดนะ ท่านจะอยู่ก็อยู่ไปเถอะเราจะปรินิพพานก่อน พ้นทุกข์ก่อน มารก็ปรินิพพานก่อนเลย ไปก่อนเลย แต่เรายังอยู่ยังร่าเริงเบิกบานแจ่มใส แต่ต้องรับวิบากที่ทำไม่ดีที่พลาดทำมาอยู่  แต่ก็สุขใจดี  ไม่มีปัญหา ถึงวันหนึ่งเราจะปรินิพพานตาม   ไปก่อนก็แล้วกันมาร  เดี๋ยวเราจะตามไปปรินิพพานไปแล้วสูญไปแล้วสูญไป สรุปแล้วมันจะสลายพลังงานจะสลายทิ้งไป   ถ้าเราพิจารณาซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ เขาจะสลายพลังงานนั้นทิ้ง พอเขาสลายทิ้งปุ๊บ  เลิกคิดแบบนั้นไม่เอาแล้วสุขสมใจ ทุกข์ที่ไม่สมใจ ไม่เอาแล้วทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล สลายทิ้งไปสลายด้วยความยินดีเต็มใจพอใจสุขใจด้วยนะ ไม่ใช่สลายด้วยการฝืน  มันจะยินดีเต็มใจ พอใจ สุขใจ สลายไป เราจะรู้สึกสุขเลย สลายไปเลย สลายเป็นพลังงานพุทธะ นี่แหละพุทธะสลายไปเป็นปัญญาสอนมาร เรียกว่า ประยุทธ์กับมาร รบกับมาร รบด้วยปัญญา 

ใช้ปัญญารบ สอนเข้าไป แกเป็นอย่างนี้   แกเป็นอย่างนี้  หอก ๓๐๐ เล่ม ทิ่มเข้าไป ๆ เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน กลางดึก กลางคืนถ้าไม่เหนื่อย  ก็เสียบเข้าไปทิ่มเข้าไป  หนึ่งเล่มยังไม่ตายสองเล่มยังไม่ตาย ๑๐๐ เล่ม เช้า พระราชา (ประธาน หัวหน้า คือ จิตใจคือจิตวิญญาณ เป็นประธานของสิ่งทั้งปวง)ให้ไปดูสิมันตายแล้วยัง  มันยังไม่ตายมารยังไม่ตาย  เสียบเข้าไปอีก ๑๐๐ เล่ม  กลางวันไปดูสิยังไม่ตาย เย็นเสียบอีก  นี่แหละความหมายก็คือให้ อาเสวนา ภาวนา พหุลีกัมมัง  ทำให้มาก ๆ เสียบให้มาก ๆ แล้วดูเวทนาความรู้สึกนั้น ไปแล้วยัง  ความรู้สึกเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์ไปแล้วยัง   ไปแล้วยัง  มารโจรร้ายที่ทำให้ทุกข์ไปหรือยัง  อ้าว ไปตรวจดู  ไปแล้วสลายไปแล้วเราจะเห็น เสียบเข้าไป  สุดท้ายมันสลายเป็นธรรมชาติของมัน  ถ้าเรามีปัญญาสอนมัน  สุดท้ายมันจะสลายไป จริง ๆ เคยเห็นมั้ย เคยได้มั้ยบางเรื่องบางราวมันจะสลายไปเลย มันจะสลายไปด้วย ความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ แล้วสลายไปแล้ว มันจะไปอยู่ในสภาพอะไร สลายไปแล้วไปอยู่ในสภาพอะไร สลายไปแล้วมันก็จะไปอยู่ในสภาพยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ที่ไม่มีสุขสมใจอยาก ที่ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้สมใจอยาก ที่ไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ตลอดกาลนาน มันจะอยู่ในสภาพนี้ สภาพนี้พ้นทุกข์ไหม พ้นภัยไหม พ้นโทษไหม เป็นประโยชน์ไหม เป็นประโยชน์สุขต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ตลอดกาลนานเลย เป็นสภาพที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ ไม่มีภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นสภาพที่เป็นประโยชน์ อันเดียวกันเลยเป็นสภาพที่เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ตลอดกาลนาน นี่ใจเป็นสุขเลย 

ผลคือกายแข็งแรงเพราะไม่ต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ ไม่ต้องเสียพลังไปแก้ปัญหาทุกข์ ไม่ต้องเสียพลังไปตอบสนองทุกข์ ตอบสนองกิเลส โอ้โห ! พลังกลับมาเป็นของเรา สร้างร่างกายให้แข็งแรงสลายโรคขับโรคออกเลย กล้ามเนื้อคลายตัวด้วยไม่มีทุกข์ต้องบีบออก เลือดลมไหลเวียนสะดวก พลังกลับมาหมดเลย เพราะว่าพลังทุกข์นั่นแหละเอามาเป็นสุข พลังทำลายนั่นแหละเอามาเป็นพลังสร้างสรรค์  โอ้โห ! ทั้งใจเป็นสุข ทั้งกายแข็งแรงที่สุดเลย นี่แหละสภาพมันจะเกิดอันนี้ขึ้น 

เราจะเห็นเวทนาของใจที่เป็นสุขที่สุด เวทนาของกายที่ดีที่สุด ที่น่าได้ น่าเป็น น่ามี ที่สุด ของแถมอีกไปเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก แล้วก็เอาชีวิตไปทำสิ่งที่ดี พาคนได้รับความสุขอันนี้ ได้รับความสุขอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ ก็เป็นวิบากดี พลังชีวิตบันทึกเป็นวิบากดีอีก ได้รับสภาพดีแล้วก็ โอ้โห ! ยังบันทึกเป็นวิบากดี ดูดสิ่งดีเข้ามา ดันสิ่งร้ายออกไปอีก ดีซ้อนเข้าไปอีก ดันโรคเรื่องร้ายเก่าที่พลาดทำมาแล้ว เป็นวิบากร้ายที่พลาดทำมาแล้วให้เบาไปได้ด้วย อย่างนี้เป็นต้น โอ้โห ! สุดยอดเลย เราก็จะเห็นเวทนาความรู้สึกทางใจ ทางกาย ทางเหตุการณ์ ก็จะเห็นความรู้สึกนั้นมันเกิดขึ้น โอ้! มันดี อย่างนี้เป็นต้น นี่แหละ ก็จะเป็นสภาพพุทธะ ความรู้สึกที่ดีที่สุดเลย โดยเฉพาะใจ เพราะเรามีปัญญาแจ่มแจ้งชัดเลย 

อันนี้ไม่มีภัย ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย เป็นแต่ประโยชน์สุขต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นตลอดกาลนาน ที่ไม่มีอะไรเปรียบได้ ดีที่สุดเลย เนี่ยแหละมันจะเป็นสภาพอย่างนี้ ลองทำดูสิ แล้วก็จะเกิดสุขเวทนาแบบพุทธะ จากสุขเวทนาแบบโลกียะ แบบกิเลส แบบโลกียะ แบบเคหสิตะ สุขเวทนาแบบเคหสิตะ แบบกิเลส แบบโลกิยะ แบบสุขลิกะนั้น ที่มันทำให้เกิด ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้น สุขเวทนาที่เป็น บางทีได้สมใจก็สุขชั่วคราว แล้วมันก็อิ่มเต็มพอ 

อทุกขมสุขชั่วคราว จากนั้นมันก็หมดฤทธิ์แล้วก็อยากทุกขเวทนามาอีก มันจะกลายเป็น สุขเวทนาแบบพุทธะเลย 

สุขเวทนาแบบพุทธะ หรือตอนต่อสู้กันก็เป็นทุกขเวทนาแบบพุทธะ ต่อสู้กันนี่มันยังไม่ยอมง่าย ๆ นะ มันยังไม่ได้ดั่งใจฤทธิ์ของมันก็ต้องออกอาการทุกข์นะ ยังไม่ได้ดั่งใจหมายมันยังทุกข์อยู่นะ โอ้โห ! เราก็ไม่ตอบสนองมันนะ  ตั้งศีลมากำจัดมันด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น เราไม่ตอบสนองมัน มันยังทุกข์อยู่นะ เป็นทุกขเวทนาอยู่นะ พอกำจัดมันได้ โอ้โห ! เราจะเห็นสุขเวทนาแบบพุทธะ พอมันสลายไป นี่เป็นธรรมชาติของกิเลส มันจะสลายไป สลายไปแล้วก็สุขเวทนาแบบพุทธะ มีความสุข ยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ฟู ๆ เลย แต่พอฟูไปนานเข้าก็ชักจะเมื่อย ๆ ได้บ่อยแล้ว เก่งแล้ว คล่องแล้ว ฟูไปนาน ๆ ชักจะเมื่อยก็ลดลงมาดีกว่า ไอ้ฟู ๆ นั่นน่ะนะ แต่เรายังคงความสุขอันนี้ไว้อยู่ แต่เราลดความฟูใจลงไป 

ลดความฟูใจ รู้จักฟูใจไหม มันดีใจแรง ๆ นานเข้า ๆ ก็เมื่อยเหมือนกัน ก็ลดลงมาให้มันสบาย ๆ เรียกว่าอทุกขมสุขเวทนา ที่เป็นพุทธะ ที่เป็นโลกุตระ หรือเป็นเนกขัมมะ เป็นเนกขัมมะ เป็นโลกุตระ เป็นพุทธะนี่แหละ แล้วก็เป็นแบบพุทธะ สบายใจไร้กังวล เราจะดีใจแรง ๆ ก็ได้ กลาง ๆ ก็ได้ เบา ๆ ก็ได้ เราจะยินดีแบบไหนก็ได้สุขใจแบบไหนก็ได้ 

สุดท้ายเราก็เบา ๆ ก็พอแล้วในเรื่องนั้น ก็ไปกำจัดเรื่องอื่น ๆ ต่อไป ที่มันเป็นเคหสิตะ อันนี้เรียนรู้เวทนา ๓ ที่เป็นเคหสิตะกับเนกขัมมะ แต่ในเบื้องต้นเราเรียนรู้แค่ว่าความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกเฉย ๆ นี้ อะไรดีที่สุด เอาความรู้สึกสุขดีที่สุด ก็พยายามให้มันเกิดความรู้สึกสุข แล้วละเอียดขึ้นเราสุขที่ยั่งยืน แทนที่จะเอาสุขที่ชั่วคราว จริงๆ อธิบายไปเป็นอรหันต์แล้ว พ้นทุกข์แล้ว มันเป็นความรู้สึกที่ดีที่สุดที่ชีวิตควรได้ 

[๔๓๓]  “ก็เวทนา ๕ เป็นไฉน” เวทนา ๕ คือ สุขินทรีย์ อินทรีย์พลังแห่งความสุข สุขินทรีย์ ๑ สุขกายนี่แหละ สุขที่มันมีกายมาเกี่ยวข้อง ทุกขินทรีย์ มีอินทรีย์มีร่างกายมาเกี่ยวข้อง 

ทุกขินทรีย์ก็ความทุกข์ที่มีสภาพร่างกายมาเกี่ยวข้อง โสมนัสสินทรีย์  ก็คือสุขใจ โทมนัสสินทรีย์ ก็คือทุกข์กาย อุเบกขินทรีย์ก็คือ อุเบกขานั่นแหละ การเฉย ๆ นั่นแหละ ปล่อยวาง เหล่านี้เรียกว่า เวทนา ๕ เรียนรู้ ๕ ก็ได้ จริง ๆ เรียนรู้ ๕ ก็คือจะว่าไปสภาวะลึก ๆ จริง ๆ 

สุขินทรีย์ ก็คือการได้สัมผัส สิ่งต่าง ๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วตัวเองรู้สึกสุข 

ทุกขินทรีย์ก็ได้รับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วรู้สึกทุกข์ รู้สึกทุกข์ เน้นมาที่ใจก็ได้  ยังมีความลึกซึ้งหลายอย่าง ที่นี้โสมนัสขินทรีย์นี่คือ ไม่ได้มีอะไรมากระทบแต่มันเกิดความรู้สึกสุข อยู่ข้างใน มันเป็นธรรมารมณ์นั่นเอง คือสุขขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ เนี่ยก็ยังมีอะไรมากระทบ ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วเกิดความรู้สึกสุขหรือทุกข์ขึ้น 

แต่โสมนัสสินทรีย์ กับ โทมนัสสินทรีย์ โสมนัสคือสุข โทมนัสก็คือทุกข์  อันนี้ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย มากระทบ ไม่ได้มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย มากระทบ ไม่ได้อะไรมากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่มีธรรมารมณ์อย่างเดียว ใจตัวเองนั่นแหละปรุงขึ้นมาเองอย่างเดียว ในใจนั่นแหละ เป็นอยู่ในใจ มันเป็นภพที่อยู่ในใจเป็นภวภพ จริง ๆ สุขขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ เป็นกามภพ เป็นอารมณ์ของกามภพ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ เป็นรูปภพ อรูปภพ เป็นภวภพ มันอยู่ข้างใน อันนี้เป็นใจ ใจที่เป็นสุขเป็นทุกข์ที่อยู่ข้างใน ที่ไม่ได้มีอะไรมากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย  แต่ใจตัวเองนั้นปรุงขึ้นมาเอง ปรุงสุขปรุงทุกข์ขึ้นมาเอง เป็นธรรมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่อยู่ข้างใน ส่วนอุเบกขินทรีย์นั่นก็คือ อารมณ์ที่มันไม่สุขไม่ทุกข์นั่นแหละ อารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์มันจะมีแบบ แล้วค่อยไปแยก มันมีแบบเคหสิตะ มีแบบเนกขัมมะ มันก็มี ๒ แบบ จะว่าไปจริง ๆ ก็มันมีแบบ อุเบกขินทรีย์ เอา ๒ แบบก็แล้วกัน แบบเคหสิตะกับแบบเนกขัมมะ เหล่านี้เรียกว่าเวทนา ๕ แล้วก็เรียนรู้ เรียนรู้ไป ต่อไปเวทนา ๖  

[๔๓๔]  “เวทนา ๖ เป็นไฉน” เวทนา ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึก ความรู้สึกทางตาที่สัมผัส เวทนาความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางตา โสตสัมผัสสชาเวทนา  ความรู้สึกทางหู ฆานสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกทางจมูก ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกทางลิ้น กายสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกทางกาย สัมผัสทางกาย ผัสสะ คือ สัมผัส มโนสัมผัสสชาเวทนา อันนี้ความรู้สึกทางใจ อันนี้ อันนี้ก็เหมือนกัน ไม่ได้มีตา ตัวสุดท้ายนี่ไม่ได้มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ได้มีอะไรสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ตัวเองปรุงเอาเอง เหล่านี้เรียกว่าเวทนา ๖ นะ 

[๔๓๕] “ก็เวทนา ๑๘ เป็นไฉน” เวทนา ๑๘ คือ เวทนาที่ สหรคตด้วยโสมนัส ๖  อันนี้ คต แปลว่า ที่ไป สห ก็แปลว่า สหายนั่นแหละ แปลว่าเวทนาที่มีตัวนี้ไป สหรคต ก็มันมี สห แปลว่า มาก ร่วมกัน สังเคราะห์กัน ร่วมกัน คต เป็นที่ไป เวทนาที่มีโสมนัส เวทนา ๖ นี่ โสมนัส ๖ ก็คือ ตา หู จมูก สรุปแล้วได้สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วรู้สึกโสมนัส สุขใจอันนี้ได้ สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วรู้สึกโสมนัส สุขใจ

เอาต่อไป เวทนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๖ สห แปลว่า สหายนั่นแหละ หลากหลาย ก็คือ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง ๖ นั่นแหละ อะไร อันใดอันหนึ่ง เวทนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๖ แปลว่าสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ด้านใด ด้านหนึ่ง นั้น แต่ละอย่างนั้น แล้วรู้สึกโทมนัส ก็คือ ทุกข์ สัมผัส ทางตา หู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย หรือใจ แล้วรู้สึกทุกข์

เวทนาที่สหรคตด้วย อุเบกขา ๖ ก็ สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็รู้สึกอุเบกขา เป็นกลาง ไม่สุข ไม่ทุกข์ หรือเฉยๆ เหล่านี้เรียกว่าเวทนา ๑๘   อันนี้ก็อ่านเวทนา ๑๘ ก่อน ตกลง กระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ มีว่า ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ก็จะมีรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ สุขก็ ๖  ทุกข์ก็ ๖ เฉย ๆ ก็ ๖ สุข ๖ ทาง ทุกข์ ๖ ทาง เฉย ๖ ทาง รวมแล้วเป็นกี่ทาง ๑๘ ทาง  นี่พระพุทธเจ้าบอกเอาให้มันหมดเลย ๑๘ ทางเลย แยกให้มันออกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จำง่าย ๆ ๖ แล้วก็มีทั้งสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว  สุข ๖  ทุกข์ ๖ เฉย ๖ รวมแล้ว ๑๘ นะ อ้าว! เรียนรู้ให้ได้ เข้าใจทีละอย่าง  ก็เป็นอย่างนี้ ๑๘ เห็นไหมความรู้สึกของคนน่ะ เวทนาล้วน ๆ เลยนะ พระพุทธเจ้าพาเรียนรู้เวทนา เรียนรู้ความรู้สึกล้วนๆ 

[๔๓๖] “ก็เวทนา ๓๖ เป็นไฉน” ความรู้สึก ๓๖ โอ้โห้ พระพุทธเจ้านี่สอนความรู้สึกอย่างเดียวเลยนะ ไม่สอนอย่างอื่น สอนความรู้สึกอย่างเดียวเลย เน้นไปที่จิตด้วยนะ ความรู้สึกทางใจด้วยเป็นหลัก เวทนา ๓๖ นี่มาทางใจ เวทนา ๓๖ คือ เคหสิตโสมนัส เนกขัมม โสมนัส อ่านไปก่อนนะ  เคหสิตโทมนัส เนกขัมมสิตโทมนัส เคหสิตอุเบกขา ๖ เนกขัมมสิตอุเบกขา ๖ เหล่านี้เรียกว่าเวทนา ๓๖ เอาแล้วนะทีนี้ ชักจะเมาแล้วทีนี้  ตามให้ทันนะ ๓๖ แล้วนะ ทีนี้นะ ๑๘ แล้วไป ๓๖ แล้วนะ    ก็เวทนา ๓๖ เป็นไฉน เวทนา ๓๖ คือ เคหสิตโสมนัส เคหสิตะ คือแบบบ้าน ๆ แบบกิเลส 

สิตตะ ก็จิตนี่แหละนะ จิตนี่ละนะ โสมนัสเคหสิตะ  สิตโสมนัสนี่ความรู้สึกสุขใจ ๖ คือ สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วรู้สึกสุขแบบกิเลส เห็นไหมสุขแบบกิเลส แบบ เคหสิตะ ๖ แล้วนะ สัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วสุขแบบกิเลส ๖ อย่าง 

ทีนี้ตรงกันข้ามกันอีก เนกขัมมโสมนัส เนกขัมมสิตโสมนัส เป็นไง สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเป็นไง มีความสุขแบบพุทธะ แบบเนกขัมม สุขแบบพุทธะ  ตั้งใจฟังนะ 

  • เคหสิตโทมนัส  อันนี้ก็คือ สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วทุกข์แบบกิเลส ทุกข์แบบกิเลส ๖ 
  • เนกขัมมสิตโทมนัส สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็ทุกข์แบบพุทธะ ๖ 
  • เคหสิตอุเบกขา ๖ สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเป็นไง มีอุเบกขา มีเฉย ๆ  เฉยก็ได้ ไม่สุข ไม่ทุกข์ แบบกิเลส 
  • เนกขัมมสิตอุเบกขา ๖ สัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็รู้สึก ไม่สุข ไม่ทุกข์ แบบพุทธะ ตกลงเนี่ย มีแบบกิเลสกับแบบพุทธะ

เอาแบบกิเลสก่อนนะ แบบเคหสิตะ นี่ มีสุข มีทุกข์ มีไม่สุข ไม่ทุกข์  ๖ ด้าน มีสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ แล้วก็มีความรู้สึก สุข มีความรู้สึกทุกข์ แล้วก็ ไม่สุข ไม่ทุกข์  ใช่ไหม ๖ นี่ สุข  ๖ นี่ ทุกข์  ไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นเท่าไหร่ เป็น ๑๘ เนาะ 

ด้านพุทธะละ ด้านพุทธะ สัมผัส ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็มี สุขนี้ ๖ ทุกข์นี่ ๖ แล้วก็ ไม่สุข ไม่ทุกข์ นี่ ๖ เป็นเท่าไหร่ ๑๘ สรุปแล้วมี ๑๘ แบบกิเลส มี ๑๘ แบบพุทธะ พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติอะไรก็ให้ปฏิบัติว่าถ้าอ่านออก ว่าถ้ามีความรู้สึก สุข  ทุกข์ หรือเฉย ๆ แบบกิเลส ๑๘ อย่างนี้ ท่านให้ทำอะไร ให้เปลี่ยนเป็นพุทธะ ให้เปลี่ยนเป็นพุทธะ ให้เปลี่ยนเป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ แบบพุทธะ สามารถรู้ว่าแบบกิเลสเป็นอย่างไร แบบพุทธะเป็นอย่างไร รวมแล้วเป็น ๓๖  

๑๘ แบบกิเลส ๑๘ แบบพุทธะ  รวมแล้วเป็น ๓๖ รู้แจ่มแจ้งเลย ๓๖ เริ่มต้นจากอะไร 

เริ่มต้นจากทุกข์ก็ได้ กิเลสเป็นไง เวลาไม่ได้ดั่งใจมันทุกข์ใจใช่ไหม แต่พุทธเป็นไง ตั้งใจที่จะไม่ได้ดั่งใจ พุทธะนี่ตั้งใจเลยนะ ตั้งใจเลยที่จะไม่ได้ดั่งใจ ตั้งใจที่จะไม่ทำตามกิเลส แล้วมันจึงรู้สึกทุกข์ เพราะกิเลสมันยังไม่ตาย ไม่ได้ดั่งใจมันก็ต้องทุกข์ใช่ไหม  มันอยากได้แต่พุทธะไม่ให้ใช่ไหม อยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ แต่เป็นทุกข์แบบตั้งใจ ตั้งใจให้เป็นทุกข์ตั้งใจที่จะไม่ทำตามมัน เพื่อที่จะชี้แจงมันให้รู้ว่ามันเป็นทุกข์ นี่เนกขัมมะเป็นแบบนี้ แบบพุทธะเป็นแบบนี้ 

แต่แบบกิเลส โห้ ! มันไม่ได้ดั่งใจแล้วเป็นทุกข์ แบบกิเลสเนี้ยไม่ได้ดั่งใจแล้วมันทุกข์ 

แต่พอได้ดั่งใจเสร็จเป็นไง ได้ดั่งใจเสร็จเป็นสุข ใช่ไหม เสร็จแล้วเป็นไง พอเป็นสุขแล้วสักพัก

ก็จะพักยก คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ มันเฉย ๆ พักยกชั่วคราว เดี๋ยวก็ทุกข์ใหม่ วนไปวนมา แต่มาดูของพุทธนะ พุทธะนี่ ตั้งใจที่จะไม่ได้ดั่งใจ ตั้งใจที่จะมีสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ เสร็จแล้วแต่กิเลสมันยังไม่ตาย ยังสู้กันอยู่ ปัญญายังสู้กับกิเลสอยู่ เพราะมันใช้ความฉลาดหลอกเราอยู่ ยังมีชีวิตของกิเลสอยู่  พุทธะก็ใช้ปัญญาสู้อยู่  โอ้โห้ ! สู้กันอยู่ ต่อสู้กันอยู่  ใช้ศีล ไม่ทำตามกิเลสใช้ปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลส ความไม่เที่ยงความไม่มีตัวตนแท้ ความเป็นทุกข์ ความไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี ของกิเลส  พิจารณาไปจนกิเลสสลายไป  

สลายไปเป็นไง กลายเป็นโสมนัส กลายเป็นดีใจ สุขใจแรง ๆ โอ้ว ! สุขใจที่ไม่ต้องมีทุกข์โทษภัยต่อตนเองและผู้อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น โอ้ ! 

เสร็จแล้วเป็นไง ดีใจนาน ๆ ก็เมื่อย ลดความดีใจลงมาเหลือดีใจแบบเบา ๆ ยินดีพอใจสุขใจ แบบสบาย ๆ แบบเบา ๆ ก็คือ ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์  หรืออุเบกขา แบบพุทธะ ก็เป็นความไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่มีสุขสมใจก็ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ นี่แหละ เราไม่ต้องดีใจแรง ๆ เราดีใจแบบ สบาย ๆ อย่างนี้เป็นต้น อะไรเกิดดับ เราก็ไม่ทุกข์แล้ว เราก็ตัดสิ่งที่เป็นทุกข์โทษภัย 

ตัดพฤติกรรมที่ไม่ดีออกไป แล้วเราก็ทำแต่พฤติกรรมที่ดี อาศัยแต่สิ่งที่ดีที่อาศัยได้ ด้วยใจที่เป็นสุข อาศัยไม่ได้ก็มีความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ มีใจที่เป็นสุขใจได้ เอาประโยชน์ได้ ก็ผ่องใส  นี่ก็เป็นเนกขัมมะ  หรือเป็นพุทธะ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจเป็น ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ๖  เอาไปทีละด้าน ๆ ก็ปฏิบัติธรรมแบบนี้ก็เป็น ๑๘ ที่เป็นพุทธะ 

ตกลงเราก็เรียนรู้เป็น ๑๘ ที่เป็นกิเลส กับ ๑๘ ที่เป็นพุทธะ เคหสิตะ คือกิเลส 

เนกขัมมะ คือพุทธะ ก็เรียนรู้ทั้ง ๒ อัน เรียนรู้แล้ว ทำพุทธะได้พอทำพุทธะได้เป็นไง เริ่มทำพุทธะน่าได้เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ๓๖ ต้องเรียนรู้ให้ได้ 

[๔๓๗] “เวทนา ๑๐๘ เป็นไฉน” ทีนี้ ๑๐๘ เวทนา ๑๐๘ คือ เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖ ในอดีตเราก็ทำ ๓๖ได้ คือ อ่านกิเลสออกทั้ง ๑๘ ลีลา 

เปลี่ยนให้เป็นพุทธะทั้ง ๑๘ ลีลาได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เราเปลี่ยนไปได้หมดเลย ทั้ง ๑๘ ลีลา เปลี่ยนจากกิเลสกิเลส ๑๘ ลีลาเปลี่ยนเป็นพุทธะ ๑๘ ลีลาได้อ่าน ๑๘ ลักษณะ ๑๘ ลีลาได้ก็ได้ ๓๖ ที่เป็นอดีต ทำไปก็สั่งสมเป็นอดีตไป ทำไปเรื่อย ๆ ก็เป็นอดีตไป ๆ ใช่ไหม ทำได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ๆ ก็เป็นอดีตไป  เนี่ย นี้เป็นอนาคต ๓๖

ทีนี้ก็เป็นไง อดีตเสร็จก็ทำสั่งสมเป็นอดีตไปอดีต ๆ ก็เป็นไง เราก็มั่นใจว่าถ้าอนาคตน่ะยังไงก็ได้  ยังไงก็ได้เพราะอะไรเพราะเราทำจนมั่นคงยั่งยืนแล้วอดีตก็มั่นคงยั่งยืนยังไง ๆ

โฮ้! ปัญญามันชัดเจนเลยอันนี้ ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง ล้านครั้ง ปัญญาก็ชัดเจนว่าแบบพุทธะดีกว่าแบบกิเลส พุทธะดีกว่า สุขกว่าพุทธะสุขกว่า ๆ ดีกว่าด้วยปัญญาอันยิ่งจนมั่นใจเลยว่ายังไง ๆ  อนาคตเนี่ยนะถ้าเราไปเจอ ลีลาของกิเลส ๑๘ อีก เราก็ต้องเปลี่ยนเป็นพุทธะจนได้แหละ ยังไงเราก็ไม่ยอมแพ้กิเลสหรอก เราจะเปลี่ยนเป็นพุทธะเพราะดีที่สุด สุขที่สุด เพราะฉะนั้นที่เป็นปัจจุบันก็ ๓๖ ที่ เป็นปัจจุบันก็เป็น ๓๖ ทุกปัจจุบันเราก็ทำ ๓๖ ได้เราพยากรณ์ได้ไหมว่าอนาคตเราได้ ๓๖ เราก็มั่นใจได้เลยใช่ไหม อนาคตเราก็ได้ ๓๖ 

เราทำอดีตได้ทุกปัจจุบันก็ได้ ก็สั่งสมเป็นอดีต ๆ แล้วก็ปัจจุบันก็ได้ ๆ ทำทุกปัจจุบันสั่งสมเป็นอดีต ทำทุกปัจจุบันสั่งสมเป็นอดีต จนมั่นใจได้ว่า อนาคตเราก็ไม่เอาอย่างอื่นหรอก เพราะอันนี้ดีที่สุดแล้ว เวทนานี้ คงความรู้สึกนี้ ดีที่สุดแล้ว อนาคตเราก็ต้องได้ ๓๖ นี้แน่นอน 

เราไม่เปลี่ยนไปเป็นอื่น ลีลาของกิเลสจะมาลีลาไหน เราก็จะเอาเปลี่ยนเป็นพุทธะให้หมด  

รู้จัก ๑๘ อรหันต์ไหม นี่แหละ ๑๘ อรหันต์ เจอ ๑๘ มาร ปราบ ๑๘ มารเป็นไง เป็น ๑๘ อรหันต์ เป็น ๑๘ อรหันต์แบบนี้แหละเป็น ๑๘ อรหันต์

ตกลงนี่แหละ  เวทนา ๑๐๘ เป็นไฉน  เวทนา คือ เวทนา ที่เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ เหล่านี้ เรียกว่าเวทนา ๑๐๘

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยาย อันมีปริยาย ๑๐๘  นี้แม้นี้แลฯ จบสูตรที่ ๒

เป็นอย่างนี้เวทนา ๑๐๘  เรียนให้เข้าใจแล้ว ค่อย ๆ ทำไปเป็นลำดับ ๆ เราก็จะสำเร็จ เวทนา ๑๐๘ นี่แหละ เป็นอรหันต์หรือความพ้นทุกข์ที่สมบูรณ์ ไปเป็นลำดับ ๆ ในแต่ละเรื่อง ๆ ไม่ใช่เป็นลูกประคำ ๑๐๘  อย่าหลงนะลืมนะ ๆ นับไป ๑-๒-๓-๔-๕ หลง โอ๊ย! ไม่ใช่ไปนับลูกประคำเวทนา ๑๐๘ น่ะ 

ลูกประคำเขาก็ทำ ๑๐๘ ลูก เขาก็ทำ ๑๐๘ ลูกแล้วเขาก็นับให้ได้ ๑๐๘ นับ ๑- ๒- ๓ – ๔ – ๕หลงนับใหม่ ๑- ๒- ๓ – ๔ – ๕ นับใหม่หลง เฮ้อ! นับ ๑๐๘ ไม่ให้มันหลงนับ ๑๐๘ ไม่ให้มันหลง ไม่ให้มันหลง ๆ ก็ทุกข์เหมือนเดิมแหละ หลงไม่หลงก็ทุกข์เหมือนเก่านั่นแหละทุกข์เหมือนเดิม เราเรียนรู้เวทนา ๑๐๘

จะสังเกตได้ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านี่สูงสุดคือ เรียนรู้เวทนาความรู้สึก จำไว้ดี ๆ นะ  อาจารย์ พยายามเน้นย้ำอันนี้แหละ กรรมฐาน หรือ ข้อปฏิบัติของพุทธะคือเรียนรู้เวทนา เมื่อสัมผัสได้รับสัมผัสสิ่งกระทบสัมผัสได้รับสิ่งกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็เรียนรู้เวทนาความรู้สึก แล้วก็เปลี่ยนจากความรู้สึกนั้นเป็น เคหสิตะ เป็นกิเลส ให้เปลี่ยนเป็นเนกขัมมะ คือ พุทธะ เปลี่ยนจากความรู้สึกที่เป็นกิเลส ที่เรารู้ว่ายังมีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์อยู่ ยังเป็นเหตุแห่งทุกข์อยู่ แล้วทุกข์แสนสาหัสด้วย เปลี่ยนให้เป็นพุทธะ หรือสุขที่ไม่มีทุกข์เลย สุขที่ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ ไม่มีภัยใด ๆ เลยมีเป็นประโยชน์ ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น ที่ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุด 

เปลี่ยนจากทุกข์ ที่ทุกข์ที่สุด ให้เป็นสุขที่สุขที่สุด เปลี่ยนจากพลังทำลาย ที่เลวร้ายที่สุดให้เป็นพลังที่สร้างสรรค์ที่สุด เปลี่ยนจากชั่วที่สุดให้เป็นดีที่สุด นี่แหละพุทธะเป็นเช่นนี้ 

เปลี่ยนจากโทษ โทษทัณฑ์ที่รุนแรงที่สุดเปลี่ยนเป็นประโยชน์ที่สูงที่สุด พุทธะมีความสามารถ เช่นนี้ วัน ๆ ไม่ต้องทำอะไรหรอกชีวิตเราเปลี่ยนเวทนานี่ให้มันได้   วัน ๆ ไม่ต้องทำอะไรหรอก ตัวหลักของชีวิตน่ะ ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเหมือนกันนะ ทำการทำงาน มีสัมมาอาชีวะไปทำอาชีพ กิจกรรมการงานกับหมู่มิตรดี มีอาชีพกับการงานกับหมู่มิตรดีไป แล้วอ่านเวทนาไป ๆ จริง ๆ สุขแบบเวทนาแบบกิเลสเนี่ย ไม่ต้องอ่านเท่าไหร่ก็ได้หรอก ไม่ต้องไปอ่านเท่าไหร่ก็ได้หรอก ไปอ่านทุกขเวทนาแบบกิเลส สุขเวทนาแบบกิเลสไม่ต้องไปอ่านมันมากก็ได้หรอก  อยากอ่านก็ได้คนเก่ง ๆ ก็อ่านเหมือนกันนะคนมีปัญญานะ โอ๊ะ! นี่ ๆ มันจะทุกข์เอานะเนี่ย

แต่ว่า จริง ๆ อ่านง่ายที่สุดแล้วเราก็จะเต็มใจกำจัดเนี่ย  ถามจริง ๆ  เราจะเต็มใจกำจัดสุขเวทนาแบบกิเลสหรือ ทุกขเวทนา แบบกิเลส มากกว่า หรือสุขจากกิเลสหรือทุกขเวทนาจากกิเลส อะไรอ่านง่ายกว่า ทุกขเวทนาแบบกิเลสใช่ไหม ?  มันจะง่ายกว่า อ่านไปเถอะเดี๋ยวก็เจอทุกข์เอง 

เดี๋ยวก็เจอทุกข์ ทำอะไรไม่เป็น ก็อ่านทุกขเวทนาแบบกิเลสให้เป็นก็แล้วกัน  เดี๋ยวเห็นแล้วก็กำจัดมันออก ๆ แต่ก็อยู่กันกับสุขเวทนา แบบกิเลส แล้วก็ถ้าอ่านทุกขเวทนาแบบกิเลสได้เร็ว ได้เร็วกว่าวิถีชีวิตปกติธรรมดา ทำไง ๆ 

ตั้งศีล ๆ เราต้องเรียนรู้ว่า เฮ้ย !  เรายังหลงสุขหลงทุกข์ หลงสุขสมใจหลงทุกข์ที่ไม่ได้สมใจเรื่องไหนอยู่ จริงๆเราก็เกิดจากการอ่านทุกขเวทนานั่นแหละ ที่เรายังรู้สึกว่า เฮ้ย ! ถ้าเรายังไม่ได้อันนี้เรายังรู้สึกเป็นทุกข์นะ  เรายังไม่ได้ อันนี้ดั่งใจหมายอันเนี่ย เรายังรู้สึกเป็นทุกข์อยู่ เราก็ตั้งศีลมากำจัดมันว่า เฮ้ย ! เราจะกำจัดไอ้ตัวทุกข์นี้ให้ได้ โดยที่กำจัดไปที่ตัวสุขนั่นแหละ 

พอเราตั้งศีลมากำจัดเป็นไง  พอเราตั้งศีลมาพอเรารู้สึกทุกข์ปุ๊บ มันจะรู้เลยใช่ไหม ว่าเฮ้ย! เราจะต้องกำจัดทุกข์ตัวนี้แล้วไปสู่สุขแท้ให้ได้ กำจัดทุกข์แบบกิเลส กำจัดสุขแบบกิเลส ใช่ไหม กำจัดทุกข์แบบกิเลส กำจัดสุขแบบกิเลส ไปเอาสุขแบบพุทธะให้ได้  อย่างนี้เป็นต้น

เราก็ตั้งศีลของเราไว้อย่างนี้ เวทนานี่แหละ ปฏิบัติศีลก็เพื่อ กำจัดเวทนาของกิเลส เพื่อให้เกิดเวทนาของพุทธะ กำจัดความรู้สึกของกิเลส เพื่อให้เกิดความรู้สึกของพุทธะที่ดีที่สุด พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า อานิสงส์ของศีลนั้นต้อง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงแล้วเป็นไง ต้องวิราคะ คลาย ความรู้สึกสุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจออกไป ด้วยความพิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลส ว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่มีจริง มันสุขน้อย มันเป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล 

ชัดเจนแล้ว ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี วิราคะแล้วก็ วิมุตติญาณทัสสนะ หลุดพ้นจากทุกข์เลย ถ้าคลายวิราคะได้ก็หลุดพ้นจากทุกข์เลย ไม่มีสุขสมใจไม่มีทุกข์ที่ไม่สมใจ ไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล โอ้..พ้นทุกข์เลย ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ จนเป็นวิมุตติญาณทัสสนะ นี่คือปฏิบัติศีลอันเป็นไปเพื่อวิราคะ และเข้าสู่วิมุตติญาณทัสสนะ รู้แจ้งเห็นจริงในความความหลุดพ้น 

สรุป  สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต คืออะไร ? เวทนา คือความรู้สึก และความรู้สึกที่ดีสุดคืออะไร ? ความรู้สึกสุขใช่ไหม เอาแค่สุขกับทุกข์ เอาเฉย ๆ ดีไหม ? ไม่ดี ทุกข์ดีไหม ?  ไม่ดี 

สุขดีไหม ? สุขดี แล้วสุขแบบยั่งยืนกับสุขแบบชั่วคราวอะไรดีกว่า ? สุขยั่งยืนดีกว่า 

เพราะฉะนั้นจงเรียนรู้ การเอาสุขที่ยั่งยืนแบบพุทธะ สุขแบบกิเลสะ นี่มันไม่เข้าท่า มันเป็นทุกข์ตลอดกาล ไม่มีจริงมันเป็นทุกข์ตลอดกาล ไม่เอาสลายทิ้งมาเอาสุขแบบพุทธะ สุขที่สุขที่สุด  สุขที่ยั่งยืนเป็นอมตะธรรม นิรันดร์กาล  ก็เป็นกำลังใจให้พี่น้องทุกท่านได้พบกับความสุขที่ยั่งยืนแบบพุทธะกันไปเป็นลำดับ ๆ กันทุกท่าน สาธุ…

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...