ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

จริง ๆ ถ้าพูดถึงเรื่องสุขทุกข์นี่มันสนุกจริง ๆ เลยนะ เรื่องสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ คุยอีกล้านปี ก็ยังสนุก ตลอดล้านปี สิ่งที่มีค่าที่สุดที่คนควรจะเรียนรู้ คนควรจะเรียนรู้สิ่งนี้ เพื่อสิ่งที่มีค่าที่สุดในโลก เริ่มต้นจากอะไร สิ่งที่มีค่าที่สุดในโลก สิ่งที่มีค่าที่สุดในโลกก็คือ  ความสุข คนแสวงหาความสุข ความสุขคืออะไร ความสุขก็คือความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ พระพุทธเจ้ายืนยันเช่นนี้ พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร และก็สาวกแท้ของท่าน ยืนยันว่าความสุขก็คือ ความยินดี พอใจ สุขใจ นี่แหละ ยินดีเต็มใจ พอใจ ชอบใจ สุขใจ นี่แหละ คือความสุขที่แท้จริง ย่อ ๆ ก็ยินดี สุขใจในเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ถ้าสามารถยินดีสุขใจได้ มันสุขหมดแหละ ความสุข คือความยินดี พระพุทธเจ้าก็ตรัสอย่างนั้น ถ้ายินดี พอใจ สุขใจได้ก็เป็นสุข 

ซึ่งคนเรานี่จะเป็นธรรมชาติเลยที่คนเราจะมีความสุขได้เมื่อเราสามารถที่จะรู้ว่าอะไรเป็นโทษ อะไรเป็นประโยชน์ แล้วก็ละสิ่งที่เป็นโทษได้ เข้าถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ ชีวิตจะสุขทันทีเลย นี่เป็นธรรมชาติเลย เป็นสัจจะเลย ถ้าเราละสิ่งที่เป็นโทษ เข้าถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ ชีวิตเราจะมีความสุข ผู้มีปัญญาก็เริ่มต้นง่าย ๆ ผู้มีปัญญาก็เริ่มต้นความสุขที่แท้ แต่จริง ๆ มันก็มีคนโง่ด้วย คนโง่ก็ไปมีความสุขเหมือนกันนะ ความสุขกับการทำชั่ว ตอนทำมันก็สุขดีเหมือนกันน่ะ แต่มันก็สุขแป๊บเดียวแล้วก็หมด เมื่อพอผลชั่วออกฤทธิ์ก็ทุกข์อย่างนี้เป็นต้น 

จริง ๆ เขาก็ทุกข์ตั้งแต่ยังไม่ได้ทำแล้ว อยากทำ กลัวจะไม่ได้ทำ โอ๊ย ! ถ้าไม่ได้ทำก็ทุกข์ ได้ทำก็ลดทุกข์ดีใจเเว็บหนึ่ง ลดทุกข์ชั่วคราวดีใจแว็บหนึ่ง ละลายไป สุขใจ นะ ดีใจ สุขใจ แว็บหนึ่งละลายไป ที่เหลือก็วิบากร้ายซัดเอาก็ทุกข์ มันก็ไม่เข้าท่าหรอก 

สุขแบบนั้นไม่เข้าท่าหรอก ที่เข้าท่าคือสุขที่สามารถละพฤติกรรมที่มันเป็นโทษ พฤติกรรมหรือการสัมผัส รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่มันเป็นโทษได้ เราละสิ่งที่มันเป็นโทษได้อย่างนี้ก็แล้วกัน ละพฤติกรรมหรือสิ่งที่เป็นโทษได้ เข้าถึงพฤติกรรมหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ อย่างนี้ จึงเรียกว่าเป็นสุขที่แท้จริง ละพฤติกรรมหรือสิ่งที่เป็นโทษต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ด้วยความยินดี ทำด้วยความยินดี พอใจ สุขใจ นี่ก็สุขแล้วชีวิต ก็เริ่มทำจากหยาบ ๆ ง่าย ๆ ถ้าจะเริ่มต้นปฏิบัติ ก็เริ่มต้นจากหยาบ ๆ ง่าย ๆ ไปก่อน หยาบ ๆ ง่าย ๆ ก็คือ เริ่มต้นจากอะไร ง่ายที่สุดเลย หยาบ ๆ ง่าย ๆ เราก็เริ่มต้นจาก ด้านรูปธรรม เรารู้ว่าพฤติกรรมอะไร หรือสิ่งใด ๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสใด หรือสิ่งใด ๆ ที่มันสร้างทุกข์ โทษภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ชัดเจน ก็ไม่เอาเราก็ตัดไป นี่ก็ชัดเจนว่าเราละสิ่งเหล่านี้ด้วยความยินดี พอใจ สุขใจ แล้วไปทำพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ หรือเข้าถึง อาศัย เสพรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น 

อย่างนี้ด้านรูปธรรมง่าย ๆ แล้วแต่เราจะมีปัญญาแค่ไหน ถ้าคิดอะไรไม่ออกเราก็เอาศีล ๕ มา มาดู เอาแค่ กาย วาจา ก่อนก็ได้ ถ้ายังไม่ทำอย่างถึงใจยังไม่ค่อยเป็น การทำใจเข้าใจยินดีนี่แหละไว้ก่อน กาย วาจา ใจ นี่แหละยินดีไว้ก่อน ทำกาย วาจา ใจ เลย สุขใจในการทำเลย ปฏิบัติศีล ๕ ความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ทำอย่างนี้ไปเลย แล้วก็ละการผิดศีล ๕ แล้วมาทำศีล ๕ เบื้องต้นนี่แหละด้วยความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจเลย แม้กิเลสมันจะไม่ค่อยยอมเท่าไหร่ มันจะทุกข์ ๆ กิเลสมันก็ไม่ค่อยจะยอมให้เราทำเท่าไหร่หรอก มีใจที่มันไม่อยากทำ แต่เราก็ยินดีไว้ก่อนพ่อสอนไว้ ยินดีไว้ก่อนยังไม่ต้องคิดมาก เช่น ศีลข้อที่ ๑ อะไร เราจะต้องละอะไร ก็ละการฆ่าสัตว์ ลด ละ เลิก การกินเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อย่างนี้เป็นต้นนะ ละพฤติกรรมมันจะทำให้เกิดความเดือดร้อน ตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น อย่างนี้ ก็ละอันนี้ พฤติกรรมใดที่เราเห็นว่าอันนี้นี่มันเดือดร้อนนะ เดือดร้อนต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เราก็ลดละเลิกไป ด้วยความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ แล้วมาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แทน มาทำในสิ่งที่มันเกื้อกูลชีวิต ที่มันจะเป็นประโยชน์กับแต่ละชีวิต อะไรที่มันเป็นประโยชน์กับแต่ละชีวิต เราก็ทำ ที่ศีล ข้อที่ ๑ เท่าที่เรามีปัญญา อะไรล่ะที่มันไม่เดือดร้อนแล้วมันสร้างให้เกิดประโยชน์ขึ้น ทำด้วยความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ นี่นะทำศีล 

คิดอะไรไม่ออกก็เอาวันนี้ก่อน พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้อย่างนั้นแหละ ในจุลศีล พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้สมบูรณ์นะ จุลศีล นี่ให้ละสิ่งที่เป็นโทษ ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น สมบูรณ์แบบแล้ว    

ศีลข้อที่ ๑

นี่ย่อจุลศีล ศีลข้อที่ ๑ เมื่อถ้าพูดคำเต็ม ๆ เธอละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ ก็คือสิ่งที่เป็นโทษเป็นทัณฑ์ ทัณฑะคือโทษทัณฑ์ อะไรก็ตามเป็นโทษต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น วางเลย วางศาสตราอาวุธหรือวิชชา หรือวิธีที่มันเบียดเบียน มันเป็นโทษต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เหลี่ยมไหนมุมไหนก็แล้วแต่ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็ยินดีในการละไปเลย มีความละอาย มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นโทษต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น โอ้ ! ละอาย ไปทำแล้วมัน มันละอายนะ ไปทำทำไม สิ่งที่เป็นโทษ โง่เหลือเกิน มันน่าละอาย มันไม่ควรทำ มีความละอาย มีความเอ็นดู คราวนี้นะ สลับกันแล้ว ที่นี้มีความเอ็นดูเมตตาปรารถนาดีต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น มีความกรุณา ลงมือกระทำตามที่เราปรารถนาดีนั่นแหละ ปรารถนาดีต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นนั่นแหละ แต่มีความกรุณาหวังประโยชน์ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์สุขนี่แหละ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ก็มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง สัตว์ทั้งปวงมีใครบ้าง ตัวเราเป็นสัตว์ไหม เป็น คนอื่นเป็นสัตว์ไหม เป็น สัตว์อื่นเป็นสัตว์ไหม… เป็น มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น 

เริ่มต้นอย่างนี้ปฏิบัติศีล ไม่ยากหรอกเริ่มต้นอย่างนี้ ทำไปเดี๋ยวกิเลสมันก็ไม่ยอมเอง กิเลสมันจะ ทำตรงกันข้าม เอาน่า ได้เท่าไหร่ก็พากเพียรไปก่อน เริ่มต้นอย่างนี้ไปก่อน เริ่มต้นไปเท่าที่เราทำได้นี่แหละ ทำได้สมบูรณ์เท่าไหร่ มีความสุขเท่านั้น ๆ แหละ พระพุทธเจ้าตรัสว่าการทำอะไรก็แล้วแต่ ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ มีความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ฉันทะแปลว่าความพอใจ ก็ต้องพอใจ ยินดี พอใจ สุขใจ เวลาจะยินดี พอใจ สุขใจได้ หรือที่ท่านตรัสว่า ความยินดีเป็นความสุข พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น ความยินดีคือความสุข นั่นแหละอันเดียวกันนั่นแหละ เรายินดี เต็มใจ พอใจ ชอบใจ สุขใจ ที่จะละสิ่งที่เป็นโทษ ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจะทำอันนี้ได้ ก็จะต้องรู้ชัดเจนมีปัญญารู้ว่า ความยินดี พอใจ สุขใจนี่มันเป็นความสุขนะ แล้วก็ต้องรู้ว่าอะไรเป็นโทษ อะไรเป็นประโยชน์ ชัดเจน พอชัดเจนก็ยินดีในการละ ลด ละ เลิก สิ่งที่เป็นโทษ พากเพียรทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เท่าที่เราจะทำได้ ด้วยความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ เท่านี้แหละเป็นประโยชน์ที่สุดต่อชีวิตแล้ว นี่คือความสุขของชีวิต

ศีลข้อ ๒

ก็พึงละเว้นการลักขโมยฉ้อโกง นะศีลข้อที่ ๒ เพราะมันเป็นโทษใช่ไหมลักขโมยฉ้อโกง เป็นโทษไม่ดีเลยไม่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มันเป็นโทษ ก็ลดละเลิกการลักขโมยฉ้อโกง และก็มามีความซื่อสัตย์แทน แทนที่จะลักขโมยฉ้อโกงก็มาเกื้อกูลช่วยเหลือกันเลย มีความดีอะไรที่จะเกื้อกูลกันได้ ก็ทำด้วยความยินดี ยินดี พอใจสุขใจในการละเว้นการลักขโมยฉ้อโกง 

ศีลข้อที่ ๓

ก็ยินดีพอใจสุขใจในการไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ผิดผัวเขาเมียใครลูกใคร ไม่หมกมุ่นเรื่องเพศมากเกินไป ยินดี พอใจ สุขใจ ที่จะลดละเลิกการหมกมุ่นเรื่องเพศไปเป็นลำดับ ๆ และก็กามคุณ ๕ ก็ไม่ผิดกามคุณ ๕ อื่น ๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เป็นโทษภัย ก็ยินดีพอใจสุขใจในการลดละเลิกการเสพการกินการใช้การอาศัย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เป็นภัย แต่เรามายินดีเต็มใจพอใจสุขใจในการอาศัยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เป็นประโยชน์แทน อย่างนี้เป็นต้น ก็มาทำอย่างนี้

ศีลข้อที่ ๔

เราก็ยินดีเต็มใจพอใจสุขใจในการไม่โกหก ไม่โกหกไม่พูดคำที่เป็นโทษ ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น แต่เราเป็นผู้ที่มีความยินดีพอใจสุขใจในการพูดความจริง ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น นี่ศีลข้อที่ ๔ 

ศีลข้อที่ ๕

เป็นเรื่องของใจแล้ว ศีลข้อที่ ๕ เป็นเรื่องของใจ เราไม่มัวเมาในความโลภโกรธหลง โลภโกรธหลงอะไร ? ก็โลภโกรธหลงในการผิดศีลทั้ง ๔ ข้อข้างต้นนี่แหละ ไม่ต้องไปคิดมากเลย ไม่เมา ไม่มัวเมาในความโลภโกรธหลง ในการผิดศีลทั้ง ๔ ข้อน่ะ ไม่ไปยินดีในความโลภที่จะอยากมีศีลทั้ง ๔ ข้อนั้นมาก ๆ คืออยากทำผิดศีลนั้นมาก ๆ นะมันโลภ ๆ ๆ ใจมันโลภ เราต้องปฏิบัติจนถึงใจเลยถ้าใจมันโลภก็กำจัดมันออก มันโลภที่อยากจะทำผิดศีลทั้ง ๔ ข้อนั่นแหละ มันอยากทำผิดศีลมาก ๆ ๆ ๆ อยากทำผิดมากเท่าไหร่ ก็โลภมากเท่านั้นแหละ เวลาโลภเมาในความโลภถ้าไม่ได้ทำ โอ้โห ! ไม่เข้าใจไม่พอใจ ถ้าได้ทำตามที่มันโลภมันอยากได้มันก็สุขใจชอบใจ มันสุขใจชอบใจในการทำตามที่มันโลภที่มันอยากได้น่ะ โอ๋ ! ได้ก็สุขใจชอบใจ แต่ถ้าไม่ได้มันจะเป็นอย่างไร มันก็โกรธ อาฆาต พยาบาท ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ เป็นอย่างนั้นแหละ เพราะมันหลงมันหลงว่ามันดีหลงว่าถ้าได้ทำอย่างนั้นแล้วมันจะสุข ถ้าไม่ได้ทำแล้วมันจะทุกข์ ก็มันหลง จริง ๆ มันไม่ใช่หรอก ไม่ได้ทำนั่นแหละจะเป็นสุขไม่ผิดศีลนั่นแหละจะเป็นสุข ผิดศีลนั่นแหละจะเป็นทุกข์ อย่างมากมันก็สุขชั่วคราว แล้วจะทุกข์ยั่งยืน ก็ต้องล้างกิเลสตัวชอบชัง 

สรุปแล้ว ตัวชอบชัง ก็ยังจะไปหลงว่ามันเป็นสุข ให้รู้ว่ามันจะเป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็อย่าไปหลงหลายตัว คำว่าหลงนี่มันมีหลายความหมายเอาอย่างน้อย 2 ความหมาย 2-3 ความหมาย คำว่าหลงนี่ หลงก็หลงว่าทำอย่างนั้นน่ะมันจะเป็นสุข ถ้าคิดอย่างนั้นน่ะมันจะเป็นสุข ถ้าไม่ได้คิดอย่างนั้นมันจะเป็นทุกข์ มันก็ไปหลงสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละ ไปหลงตัวนี้แหละ นี่ความหมายลึก อีกอันหนึ่งมันก็ ความหมายคำว่าหลง มันก็คือมั่ว ๆ หลาย ๆ อัน ปนกันเลยไม่รู้ว่าหลงเรื่องอะไรกันแน่ มันมั่ว ๆ หลาย ๆ อันปนกัน นี่อันหนึ่ง อีกความหมายหนึ่ง มันละเอียดตัวชอบตัวชังตัวสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ตัวชอบตัวชังน่ะ สุขใจชอบใจที่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจที่ไม่ได้ดั่งใจมันเล็กมันละเอียด ๆ มันเล็ก ๆ ก็เลยจับมันไม่ได้ 

ไม่รู้โทษมันก็เลยหลง โอ้ ! ความหมายของความหลงนี่ หลายเหลี่ยมหลายมุม เอาแค่ 3 ประเด็นนี้ก็เหลือเฟือแล้วล่ะหลง อย่าไปหลงนะ เพราะฉะนั้นก็อย่าไปหลงสร้างใจที่มันผิด ที่มันสุดท้ายแล้วมันจะเป็นทุกข์โทษภัย ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น อย่าไปเมาในใจที่คิดผิด ไปคิดผิดไปยินดีในการทำในสิ่งที่ผิด มันก็จะเกิดทุกข์โทษภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น ให้คิดให้มันถูก เข้าใจให้มันถูก ทำให้มันถูก คิดพูดทำให้มันถูก เอาล่ะ นี่ก็ศีลข้อที่ ๕ ที่เขาปฏิบัติอย่างนี้ในเบื้องต้น ก็แล้วแต่เราจะมีปัญญาขนาดไหนที่จะปฏิบัติ อย่างน้อยค่อยรู้ว่าเออ ! ถ้าไปคิดพูดทำในสิ่งที่ไม่ดีนี่ ต่อให้ทำได้สำเร็จมันก็สุขแป๊บเดียว มันก็หมดไปนั่นแหละ ที่เหลือมันก็มีแต่ทุกข์…ไม่ดีเลย ก็เลิกซะ มาคิดพูดทำให้มันถูกดีกว่า มันเป็นประโยชน์กว่า คิดพูดทำในสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ต่อแต่ละชีวิตดีกว่า 

เอาอย่างนี้ก่อนนะในเบื้องต้น ละเอียดเข้าไปอีกก็เรียนรู้เรื่องกรรมให้ลึกซึ้งขึ้น เราจะเข้าใจเรื่องกรรมลึกซึ้งขึ้นว่าโอ้! ทำสิ่งที่ดีหรือไม่ดี สิ่งที่เป็นโทษหรือเป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นนี่..มันจะบันทึกเป็นวิบากดีร้าย พลังชีวิตจะบันทึกเป็นวิบากดีร้าย ที่จะสร้างผลดีผลร้าย ถ้าทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ก็บันทึกเป็นวิบากดี ถ้าทำในสิ่งที่เป็นโทษก็บันทึกเป็นวิบากร้าย นี่ใครก็ตามถ้าทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองคนอื่น สัตว์อื่น ชีวิตก็บันทึกเป็นวิบากดี ที่จะสร้างผลดีให้กับชีวิต ผลักดันผลร้ายออกไปจากชีวิต ถ้าคิดผู้ทำในสิ่งที่มันเป็นโทษ ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น มันก็จะเป็นวิบากร้าย ที่จะสร้างผลร้ายให้กับชีวิต และก็ผลักดันสิ่งดี ๆ ออกไปจากชีวิต ในภพชาติที่ทำนั้นส่วนหนึ่งชาติต่อไปอีกส่วนหนึ่งชาติต่อ ๆ ไปอีกส่วนหนึ่ง 

พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนั้น ก็ค่อย ๆ เรียนรู้ให้เข้าใจ แล้วก็ตั้งศีลมาปฏิบัติก็จะเห็นผลพวกนี้ ตั้งศีลมาปฏิบัติเท่าที่ชีวิตจะทำได้ ไม่ตึงเครียดไป ไม่หย่อนเกินไป ทีนี้จะให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก ที่นี้ให้เข้าใจ กรรมดีกรรมชั่วแจ่มแจ้ง การปฏิบัติขั้นที่ ๓ นี่ อาจารย์พูดการปฏิบัติ ๓ ขั้นนะ ขั้นแรกรู้หยาบ ๆ รู้โทษรู้ประโยชน์หยาบ ๆ แล้วละโทษละประโยชน์ที่เรามีความรู้ความเข้าใจแบบหยาบ ๆ แบบรู้ง่าย ๆ ไม่ยากนัก ไปจนถึงชั้นกลางนี่ เฮ้อ ! เริ่มเข้าใจวิบากกรรมชัดขึ้น เข้าใจเรื่องวิบากกรรมชัดขึ้น โอ้ ! ทำดีไม่ดีจะเป็นวิบากดีหรือไม่ดี ส่งผลดีหรือไม่ดี ต่อตนเองนี่แหละเป็นหลักเลย ในชาติที่ทำนี่ส่วนหนึ่งชาติต่อไปส่วนหนึ่งชาติต่อ ๆ ไปอีกส่วนหนึ่ง เริ่มมีปัญญามากขึ้น นี่ปัญญาชั้นที่ ๒ ปัญญาชั้นที่ ๓ นี่โอ๋! นี่ปัญญาสูงสุดเลย จริง ๆ จะมีปัญญาชั้นที่ ๔ ชั้นสูงสุด แต่ยกไว้ก่อน ชั้นที่ ๔ นั้นเอาไว้ก่อน เอาชั้นที่ ๓ นี้เป็นสูงสุดก็ได้ จริง ๆ มันมีชั้นที่ ๔ ที่สูงสุด เอา ๆ ชั้นที่ ๓ ชั้นที่ ๓ นี่ก็เกือบจะสูงสุดแล้วล่ะ จะเรียกว่าสูงสุด ฐานของความสูงสุดก็ได้ ปัญญาชั้นที่ ๓ นี่เป็นฐานปัญญาชั้นที่สูงที่สุดแล้ว นี่ปัญญาชั้นที่ ๓ ก็ถือว่าเป็นปัญญาชั้นสูงสุดเลยก็ว่าได้ แต่ก็จะมีต่อยอดปัญญานั้นขึ้นไปอีก เอาเถอะน่า…อาจารย์ว่า ได้ ๓ ชั้นก็สุดยอดแล้วล่ะชีวิต ปัญญาชั้นที่ ๓ นี่เป็นชั้นละเอียดเลย โอ้โห ! ถือว่าสุดยอดคนเลยล่ะที่จะทำได้นี่ ไม่ง่ายนะ ถ้าใครทำได้นี่ก็สุดยอดคน ยกนิ้วให้เลย สุดยอดคนเลย เอาไปแค่ชั้นที่ ๓ นี่ก็สุดยอดคนแล้ว ปัญญาสูงสุดเลย ยากสุดสูงสุดละชั้นที่ ๓ นี่ คือเข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง  อัตถิ สุขตทุกขตานัง กัมมานัง พลังวิปาโก ระดับเข้าใจผลกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ ระดับไหน?

ก็ระดับเข้าใจไตรลักษณ์ของกิเลส เข้าใจไตรลักษณ์ หรือวิปลาส ๔ ของกิเลส ชั้นนี้ต้องมีปัญญามากเลย ถ้าปัญญาไม่มากไม่ได้นะ อันนี้โง่ ๆ นี่ไม่ได้เลย โง่ทางธรรมนะไม่ใช่โง่ทางโลก 

คำว่าโง่นี่โง่ทางธรรม ไม่มีอัญญธาตุไม่มีปัญญา ที่จะเข้าใจอันนี้ได้ นี่ก็ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เอ้า ! ไม่มีก็ไม่มีไปบังคับให้มีได้ยังไง ก็ต้องทำความดีไปมาก ๆ มันถึงจะมีนะ เอ้า ! ทำความดีไปมาก ๆ ก็แล้วกัน หลายภพหลายชาติก็จะมีปัญญาอันนี้ แต่ถ้า โอ้โห ! ทำดีได้หลายภพหลายชาติแล้วได้เกิดอัญญธาตุเกิดปัญญาที่เข้าใจอันนี้ได้ ด้วยการได้ฟัง ผู้รู้แท้ได้ฟังจากสัตบุรุษหมู่มิตรดีผู้รู้แท้นี่นะ โอ้ ! ฟังแล้วเข้าใจได้ไปปฏิบัติได้อันนี้พ้นทุกข์ยั่งยืน ได้ความสุขแท้เลย ชั้นนี้จะได้ความสุขแท้ที่ยั่งยืนเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลย ชั้นนี้ได้สุขแท้และยั่งยืน โอ้โห ! ใครจะมาลบมาเลือนความสุขแท้นี้ไม่ได้ ความสุขอันยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มั่นคงยั่งยืนตลอดกาลนานไม่มีสิ่งใดเทียมเท่าเลย การรู้ชั้นที่ ๓ นี้ คือสิ่งที่ยากที่สุดในโลก แต่ดีที่สุดในโลก แล้วทำได้ทีละเรื่อง ๆ ด้วยทำทีละหลายเรื่องพร้อมกันไม่ได้ ต้องทำไปทีละเรื่อง ๆ ๆ ไปเป็นลำดับเอาให้ชัดไปทีละ ชัดไปทีละเรื่อง พ้นทุกข์ได้สุขนะ ไปทีละเรื่อง ๆ เลยนะให้หมดทุกข์ในเรื่องนั้นให้เป็นสุขในเรื่องนั้นไปทีละเรื่อง ๆ เลย พิจารณาอย่างไร

 ไตรลักษณ์นี่คืออะไร เราก็ต้องตั้งศีลมาปฏิบัติเพื่อที่จะเข้าถึงสุขแท้นี้ แล้วสุขที่ไม่มีทุกข์ ตั้งศีลที่จะมากำจัดทุกข์ในเรื่องนี้ให้ได้ เราจะกำจัดทุกข์ในเรื่องนี้ให้ได้นะ เราก็ต้องตั้งศีลมากำจัดทุกข์ในเรื่องนั้น กำจัดทุกข์คืออะไร กำจัดทุกข์ที่เราไม่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้นนะ เรื่องอะไรก็ชั่งที่เรารู้สึกว่าเราถ้าเราได้ดั่งใจจะสุขใจ ชอบใจ ถ้าไม่ได้ดั่งใจจะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ นั่นแหละแล้วเราต้องกำจัดความทุกข์ใจไม่ชอบใจนั้นให้ได้นี่แหละสูงสุดเลยพอกำจัดได้ปุ๊บ ชีวิตไม่มีทุกข์ก็จะมีสุขทันทีเลย พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้นนะ ถ้าชีวิตไม่มีทุกข์นี่ จะสุขทันทีเลย

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๒๔ ..๓๓..และ ๕๙ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง ละทุกข์ทั้งปวงได้เป็นความสุข เพราะฉะนั้นถ้าคนนี่ละทุกข์ตรงนั้นได้ คนจะมีความสุขทันทีเลยนี่เป็นความสุขของชีวิตเลยล่ะ ต้องแม่นประเด็นว่าสุขอยู่ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์ก็สุขแล้ว ไม่มีทุกข์ก็สุขแล้ว ชีวิตมันไม่ต้องมีอะไรมากหรอกนะ ไม่มีทุกข์ก็สุขแล้วเช่น ยกตัวอย่างนะ สภาพที่ไม่มีทุกข์แล้วเป็นสุขเช่นสภาพง่าย ๆ เลยอยากได้ความสุข ไม่ต้องไปหาที่ไหนให้มันยากหรอกแค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้วคนเราเช่น เราเป็นโรคเราไม่สบายเราทรมานมากเลย ทรมานมากเลยมันไม่สบาย ไม่สบายอะไรก็ได้ในร่างกายเป็นโรคหิวก็ได้ เอ้า ! ง่ายที่สุดน่าจำได้ น่าพอรู้นะ เป็นโรคหิวก็ได้ หิว ๆ ๆ ๆ ๆ รู้จักไหม หิวเคยไหม เคยหิวบ้างไหม เออ ! เคยเหมือนกันเนาะ ใครไม่เคยหิวยกมือ  หิวมาก ๆ มาก ๆ ทุกข์ไหม หิวทุกข์ไหม ทุกข์นะ ไม่ได้กินอาหาร โอ้ย !..หิว ๆ ๆ ๆ ทุกข์ ๆ ๆ ๆ..เออ ! เอาอย่างนี้ดีกว่าหิวแล้วนี่มันทุกข์เนาะ 

ทีนี้พอเรากินไปอาหารอิ่มหายหิวไหมเออ ! หายหิว หิวมันเป็นทุกข์ เนาะ หายหิว มันหายทุกข์เนาะ สุขไหม หายหิวมันสุขเลยเนาะ เชื่อไหม จะเถียงไหม ไม่เถียงนะ ถ้าเถียงจะให้หิวไปอยู่อย่างนั้นล่ะ ชีวิตถ้าไม่เชื่อก็ลองหิวต่อไปเรื่อย ๆ สิ ไม่ต้องกินไม่ต้องกินให้มันอิ่ม ถ้ามันหิวไปเรื่อย ๆ มันก็ทุกข์ไปเรื่อย ๆ แหละใช่ไหม แต่ถ้าคนกินให้อิ่มหายหิวไหม หายหิว หายหิวก็หายทุกข์ง่าย ๆ อย่างนี้ล่ะ แล้วเรารู้สึกหนาวมาก ๆ ทรมานไหม ทุกข์ไหม ทุกข์เนาะ ห่มผ้าให้อุ่น ห่มผ้าให้อุ่นความหนาวหายไปสบายขึ้นไหม..สบายขึ้น..สุขไหมสุขใช่ไหม นี่ง่าย ๆ นะอธิบายให้ฟังง่าย ๆ ว่า ถ้าทุกข์ดับใช่ไหม ทุกข์ดับมันจะสุขทันทีเลยความทรมานจากหนาวจะหายไปเพราะมันอุ่นขึ้น ก็สุขทันที เราร้อนมาก ๆ มาก ๆ ทรมานเนาะ พอเราทำให้มันเย็นสบาย มันหายทุกข์จากร้อน ทุกข์จากร้อนหายไปเนาะ สุขไหม สุขใช่ไหม ง่ายเนาะ นี่ความสุข ความสุขถ้าชีวิตไม่ทุกข์มันจะสุข 

อาจารย์จะเล่าว่าให้ฟังก่อนค่อย ๆ ฟังไปดี ๆ แล้ว ปวดหัวนี้เป็นต้น โอ้ ! ชีวิตปวดหัวมากเลยหายปวดหัว สุขไหม สุข ตอนปวดหัวสุขหรือทุกข์ ทุกข์ปวดหัว โอ้ย ! ทุกข์เพราะปวดหัว ทุกข์ ๆ หายปวดหัว โอ้ ! สุขทันทีเลยเห็นไหม คนเราหายทุกข์จึงจะสุขทันทีเลยนะนี่ชัด ๆ ง่ายๆ อธิบายอย่างนี้ก่อนเป็นรูปธรรมง่าย ๆ ก่อน นะแล้วค่อยเรียนรู้ลึกซึ้งขึ้นไป หรือมีเรื่องร้ายต่าง ๆ เกิดเรื่องร้ายขึ้น ทุกข์ไหม ทุกข์ โอ้โห ! ลำบากเรื่องร้าย ถ้าหายเรื่องร้าย สุขไหม สุขใช่ไหม อธิบายง่าย ๆ ก่อนนะ จะอธิบายง่าย ๆ ว่ามีเรื่องร้าย ทุกข์นะ หายเรื่องร้ายสุขเลยนะ ถ้าหายทุกข์มันก็สุขเลยง่าย ๆ ชีวิตไม่ต้องไปหาสุขอะไร ให้ยากหรอกหายทุกข์ก็สุขแล้วนะ ชีวิตน่ะหายทุกข์ก็สุขแล้วมันจะไปยากอะไร ใช่ไหมหาความสุขในชีวิตจะไปยากอะไร หายทุกข์ก็สุขแล้ว คนเราจะไปยากอะไร ทำไมไปหาอะไรยากนักหนารอบโลก จะไปดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ดวงดาว โน่นนะ โอ้ย ! จะไปบ้าไปหาสุขอะไรอยู่ในโน้นน่ะ เออ ! นั่งยาน อพอลโลไปน่ะ ยานอวกาศไปโน่นน่ะนอกโลกโน่น บางทีก็ไม่รู้ไปหาที่ไหนแล้วแต่ จะไปหาที่โรงหนังบางคน ไปหาสุขที่โรงหนัง บางทีไปหาสุขในถ้ำในหลืบในเขา หรือไปหาสุขในห้างสรรพสินค้า จะไปหาความสุขที่ไหน ๆ ก็ตาม ไปหาสุขของเขาแล้วแต่จะไปหาไปเที่ยวตรงโน้นตรงนี้ไปอีก ไม่รู้จะไปหาตรงไหนไม่รู้แหละ คนจะหาความสุขนะก็เที่ยวไปหารอบโลกแล้วแต่ใครไปคิดว่าตรงไหนมีความสุขเขาก็ไปหาบ้า ๆ บอ ๆ มนุษย์เอ๋ย ! ความสุขไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้นหรอกความสุขมันอยู่ที่ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์เมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้นเลยจะบอกให้เธอก็อย่าให้มันทุกข์มันไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว โอ้ ! ชีวิตจะเอาอะไรกันนักกันหนา เฮ้อ ! คนเราหนอคนเรา คนหนอ คนหนอคน

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ให้ละเหตุได้เป็นสุขได้ในที่ทั้งปวง ละทุกข์ทั้งปวงได้เป็นสุข ยังไงก็ได้มีสุขทั้งหมดแหละแต่ถ้าดับทุกข์ได้สุขหมดนั่นแหละ พระพุทธเจ้าได้บอกพระอรหันต์ผู้ดับทุกข์ได้แล้วไปอยู่ไหนก็สุขหมดท่านว่าอย่างนั้น อยู่ไหนก็สุขทิพย์หมดเลยเป็นทิพย์หมดเลย สุขหมดเลยดับทุกข์ได้จะไปทุกข์ที่ไหนเล่า มันก็สุข เออ ! ดับทุกข์ได้มันก็สุขแล้วคนเราจับประเด็นแม่น ๆ เรื่องความสุขในชีวิตนะ อย่าโง่ จับประเด็นแม่น ๆ ไม่ทุกข์ก็สุขแล้วนะ 

อ้าว ! ทีนี้ เราจะไม่ทุกข์ก็สุขแล้วแบบพุทธะที่นั่น ที่ใจก็เหมือนกันนะใจที่มันทุกข์เรื่องไหน โอ้ย ! กลัวกังวลหวั่นไหว โอ้ ! ทุกข์ทรมานไม่ชอบใจไม่พอใจ ไม่สบายใจเรื่องไหนก็ชั่งถ้าความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ หายสุขไหม สุขทันทีไม่เชื่อเหรอ ไม่เชื่อก็ลองทำดู

ทีนี้ความทุกข์ใจมันจะหายน่ะ มันจะหาย ๒ แบบ แบบชั่วคราว กับแบบยั่งยืน สุขเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน หายชั่วคราว เป็นอย่างไร ก็สุขชั่วคราวไง หายยั่งยืนเป็นอย่างไร 

อ้าว ! ก็สุขยั่งยืนไง ก็ต่างกันไง คุณจะว่าเหมือนกันเหรอ แล้วอย่างไหนดีกว่าล่ะ หายทุกข์ชั่วคราวกับหายทุกข์ยั่งยืน อะไรดีกว่า? หายทุกข์ยั่งยืนก็ดีกว่า ใช่ไหม? ดีกว่าชั่วคราว อยากได้ไหมหายทุกข์ชั่วคราว แล้วก็ทุกข์อีก ๆ ๆ เอาไหมละ เทียวทุกข์อยู่เรื่อย ๆ เอาไหม เออ ! ไม่เอา

เอาไปทำไม หายทุกข์ยั่งยืนก็สุขยั่งยืน เท่านั้นเอง…ชีวิตง่าย ๆ โอ๊ย ! ชีวิตมันช่างง่ายอะไรอย่างนี้.. นะ เฮ้อ ! ไปเรียนมาตั้งสูง ทุกข์เหมือนเก่า ไปทำอะไรมาก็ตั้งเยอะตั้งแยะ ทุกข์เหมือนเดิม เพราะอะไร เพราะไม่เรียนวิชา หายทุกข์ยั่งยืน คนเรามันต้องฉลาดสิ เรียนวิชาหายทุกข์ยั่งยืน ไปเอาทำไมหายทุกข์ชั่วคราว อ้าว! อาจารย์จะบอกวิชาหายทุกข์ชั่วคราวก่อน แต่คิดว่าพวกเราน่าจะทำเป็น สอนไม่ยากเท่าไรหรอก หายทุกข์จากใจน่ะ เอาทุกข์ใจก่อนนะ..เออ ! เอาทุกข์ใจอย่างเดียวก่อน ไม่ต้องเอาอย่างอื่น..อ้าว ! เวลาทุกข์ใจ มันจะทุกข์ใจ ตอนไหนรู้ไหม ก็ตอนมันไม่ได้ดั่งใจ ใช่ไหม

พระพุทธเจ้าตรัส เลยนะ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ ข้อที่ ๑๔ อยากได้สิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ (ทุกข์ใจ) ลองดูสิอยากได้แล้วไม่ได้ รับรองว่าเกิดทุกข์แน่ ถ้าไม่ทุกข์ก็เก่งเหมือนกันถ้าไม่ทุกข์นะ คนทั่วไปก็จะทุกข์ ใช่ไหม อยากได้แล้วไม่ได้ก็จะทุกข์ใจ แล้วเขาทำอย่างไรนะ เขาถึงจะหายทุกข์ใจ..ทำอย่างไร ๆ แบบทั่วไป ๆ ก็ต้องไปเอามาให้ได้สิ ใช่ไหม อยากได้อะไรก็ต้องไปเอามาให้ได้ ใช่ไหม? เอามาได้เป็นอย่างไรทุกข์หายไหม ก็หายเลยทุกข์ใจหายเลย สุขเกิดไหม เกิดเลยนี่ เอ้อ!..เห็นไหม หายทุกข์ก็สุขแล้ว ไม่เห็นยากอะไรเลย อยากได้อะไรก็ไปเอามาให้มันได้ อยากได้มันยังไม่ได้ก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น ไปเอามาให้ได้เป็นอย่างไร โอ๊ย! ทุกข์ก็หายเลยสุขก็เกิดเลยนะ เออ! แล้วเป็นอย่างไร ยั่งยืนไหม ไม่เลย สุขนั้นเกิดนานไหมไม่นานเป็นอย่างไร เเว็บเดียวหมดไป แว็บเดียวหมดไป 

อันนี้ท่านเรียกว่า สุขัลลิกะ สุขลวง สุขหลอก สุขปลอม สุขน้อย สุขไม่เที่ยง สุขไม่มีจริง สุขชั่วคราว สุขไม่มี นี่สุขไม่มี เเว็บ เดียวหมดไป หมดไปแล้วเป็นอย่างไร ก็พักชั่วคราวนะ มันจะพักชั่วคราว พอมันพักชั่วคราวเสร็จเป็นอย่างไร เออ! มันพักสักระยะหนึ่ง นานเข้า ๆ เป็นอย่างไร สักระยะหนึ่งอยากอีกไหม.. อยากอีก ๆ ทุกข์อีกไหม ทุกข์อีก ทุกข์ใจอีก ไม่ได้ก็ทุกข์ใจอยู่นั้นแหละ ไม่สบายใจอยู่นั่นแหละ มันไม่ได้ มันไม่แล้วใจ มันไม่ได้ดั่งใจแล้วไม่สบายใจอยู่อย่างนั้นแหละ แล้ววิธีแก้ของคนทั่วไปทำอย่างไร เหมือนเดิม ก็เคยทำแล้วใช่ไหมว่า โอ้โห ! 

มีความรู้แล้วใช่ไหม มีความรู้แบบโลก ๆ แบบโลกีย์ แบบโลก ๆ แล้วว่า เอามาให้ได้ก็หายทุกข์แล้วนะ หายเร็วด้วยนะ ได้ปุ๊บ หายทุกข์ปุ๊บเลยนะ โอ๋! ก็พยายามไปเอามาให้ได้ ได้ปุ๊บก็หายปั๊บเลยสุข สุขปั๊บเลยเหมือนกันนะ ได้ปุ๊บทุกข์หายปั๊บก็ได้สุขปั๊บเลยเหมือนกัน. แว็บหนึ่ง แล้วก็หมดไป 

อันนี้เป็นสุขชั่วคราว หายไป คราวหน้าอยากอีกไหม อยากอีก ความอยากนี่เบาลงไปเรื่อย ๆ หรือว่าแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ นะ แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ อยากแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกข์จะแรงขึ้นหรือเบาลง แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ยิ่งเสพยิ่งรู้สึกว่านี่เป็นสุข ยิ่งอยากได้มาก ๆ ก็แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ ตกลงนี่ทุกข์แรงขึ้นไปเรื่อยๆ หรือเบาลง แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ นี่การได้สุขชั่วคราวนะ สุขชั่วคราวนี่มันจะ แป๊บเดียวหมดไป สุขใจที่ได้ดั่งใจหมายแป๊บเดียวแล้วหมดไป มันไม่มีจริง แต่ทุกข์นี่ มันจะแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ มันจะเป็นอยู่อย่างนี้น่ะ อยากได้ไหม อยากให้ทุกข์แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกข์แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วก็ได้สุข..แว็บหนึ่งแล้วก็หมด ทุกข์แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ 

สุข ..แว็บหนึ่งแล้วก็หมด ดีไหม ๆ โอ้โห ! ไม่ดีเลยนะ นอกจากเป็นสุขชั่วคราวแล้วก็ยังทุกข์แรงขึ้นไปอีกนะ เออ ! แปลกสุขอันนี้ แต่คนก็ชอบกันจัง เพราะเขาก็ไม่คิดว่ามันมีสุขอันอื่นนะ ที่มันจะดีหรือดีกว่านี้นะ เป็นสุขชั่วคราว แต่ทุกข์นี่ โห ! แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ นะ ทุกข์ใจก็แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วส่วนใหญ่คนเราจะมีควาอยากเรื่องเดียวหรือไม่ ก็ไม่หรอก ใช่ไหมเขาจะอยากหลายเรื่อง ใช่ไหม อยากเรื่องนี้ก็เป็นสุขล่ะ ถ้าได้เป็นสุขถ้าไม่ได้เป็นทุกข์ ก็ต้องพยายามที่จะให้มันได้ แล้วเขาว่าสุขนี้เป็นสุขที่ดีที่สุดในโลกของคนที่ไม่รู้ธรรมะแท้ไม่รู้จักสุขแท้ เขาก็จะเรียกว่าสังขารปรุงแต่ง เขาจะคิดไปเรื่อยแหละ โอ้! ถ้าแบบนี้ยังเป็นสุขต้อง ได้อีก ๆ เขาจะอยากหลายเรื่องขึ้นไปเรื่อย ๆ เขาจะไปตั้งไว้ในใจเขา เรียกว่าปรุงแต่งไว้ สังขารไว้ในใจเขา ให้มันได้หลายเรื่อง ขึ้นไปเรื่อย ๆ ให้มันได้หลายเรื่อง ขึ้นไปเรื่อย ๆ เพิ่มเรื่องที่อยาก ถ้าได้อันนี้ก็จะเป็นสุข ๆ ถ้าได้อันนี้ก็จะเป็นสุขถ้าไม่ได้ก็จะเป็นทุกข์ แล้วก็อยากไปเรื่อย ๆ พอความอยากมากขึ้นไปเรื่อย แล้วก็คิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งคิด ๆ ความอยากก็ยิ่ง แรงขึ้น ๆ ทุกข์แรงขึ้นไหม ทุกข์ก็แรงขึ้นไปเรื่อย หลายเรื่องนะ แต่ละเรื่องก็ทุกข์แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ละเรื่องก็สร้างทุกข์ ให้มันแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย ใช่ไหม ก็สร้างให้มันแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ นะ ก็ทำอย่างนี้แหละ ให้มันแรงขึ้นเรื่อย ๆ ๆ แต่ละเรื่องก็ทุกข์แรง ทุกข์แรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ ส่วนสุขน่ะ แว็บเดียวหมดเก็บไม่ได้ไม่มีจริง แต่ทุกข์ล่ะ แรงไปขึ้นเรื่อย ๆ ๆ ๆ ดีไหม ๆ ไม่ดีเลยนะทุกข์มันจะแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกข์ใจจะแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ เอาละ พอทุกข์ใจแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ส่วนสุขที่เคยได้ 

เอาประเด็นนี้ก่อนสุขที่เคยได้น่ะ หายไปแล้ว หายไปแล้วนี่สุขนั้นน่ะ เคยมาช่วยเราได้ ไหมที่หายไปแล้วน่ะ หรือตอนที่เราทุกข์น่ะมันมาช่วยเราได้ไหม ไม่ได้เลยน่ะ ตอนที่เราทุกข์ใจบอกมาช่วยหน่อย ที่เคยได้แล้วนะมาช่วยหน่อย มาช่วยดับทุกข์ใจให้หน่อย ไปช่วยลดทุกข์ใจให้หน่อย มาช่วยกลบทุกข์ใจนี้หน่อยได้ไหม ไม่ได้เลยนะ สุขนั้นน่ะมันสุข..โอ้โห ! แหม ! มันสู่ปรินิพพานเร็วเหลือเกิน สุขแป๊บเดียวมันไปเลยมันปรินิพพาน ไม่กลับมาอีกเลย ไปก่อนเราเลยนะ มันไม่มาอีกเลย สุขนั้นมันไม่มาอีกเลย สุขแล้วมันไปเลย มันปรินิพพานก่อนเพื่อนเลยนะ มันไม่มาอีกเลย เรียกอย่างไรก็ไม่มา เรียกอย่างไรก็ไม่มา ๆ ให้มาช่วยหน่อย นี่รู้สึกทุกข์จากความอยากได้ยังไม่ได้นี่ โอ้โห ! อยากได้ยังไม่ได้ โอ้ ! เรื่องนี้ก็อยากได้ ๆ ๆ เรื่องนั้น เรื่องโน้น เรื่องนี้ ก็อยากได้ โอ้โห ! ทุกข์ใจที่มันยังไม่ได้ ไปเรียกสุขที่เคยได้มาแล้วอ่ะ  โฮะ! สุขใจที่ได้ดั่งใจแล้วสุข แว็บเลยนะ แล้วก็หายไปเลย จะไปเรียกสุขที่เคยได้มาช่วยได้ไหม ก็ไม่ได้เลยจะเรียกกลับมาช่วยให้มันหายทุกข์หน่อย ถึงไม่หายก็ช่วยกลบ ๆ หน่อยได้ไหม ได้ไหม ไม่ได้เลยเรียกอย่างไรก็ไม่มา ดีไหม มันน่าได้น่าเป็นน่ามีไหม สุขตัวนี่ โอ๊ะ! ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี เลยนะ.. ปัดโธ่เอ๊ย! สุขขี้หมาอะไรว่ะ! สุขก็แว็บเดียว เสร็จแล้วเป็นอย่างไร เรียกมาช่วยก็ไม่มาเลย เเว็บเดียวหายไปเลย หายแซ้บหายสอยเลย ปรินิพพานเลย ไปเรียกกลับมาก็ไม่มา เรียกกลับมาช่วยก็ไม่ได้ ไปแล้วไปเลย เฮ้อ ! สุขไม่มี ๆ แต่คนก็อยากได้จังสุขที่ไม่มี จะมาขอเอามาดับทุกข์ใจหน่อยก็ไม่ได้ เอามากลบก็ไม่ได้ ยิ่งทีนี้มันไม่ใช่มีแต่ทุกข์ใจอย่างเดียวนะ 

ฟังนะทีนี้ ไม่ใช่มีแต่ทุกข์ใจอย่างเดียวนะ มันยังมีทุกข์กายด้วยเวลาใจเป็นทุกข์มาก ๆ เป็นอย่างไร ชีวิตต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ เสียพลังไปเกร็งตัวบีบทุกข์ออก เสียพลังไปดันออก โอ้โห ! เป็นอย่างไร เลือดลมไหลเวียนไม่ได้ เซลล์ผิดโครงสร้างโครงรูป เป็นอย่างไร โอ้โห ! ป่วยได้ทุกโรคเลย โอ้ ! กลายเป็นโรคได้ทุกโรคเลย โอ้ ! ทรมานกับโรค เป็นโรคแล้วใจก็เป็นทุกข์ด้วย ไม่อยากเป็นโรค ถ้าหายโรคจะสุขใจชอบใจ ถ้ายังไม่หายก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ ทั้งกายเจ็บป่วยทั้งใจก็เป็นทุกข์ซ้อนเข้าไปอยู่อย่างนี้ เป็นอย่างไรความสุขนั้นมันกลับมาช่วยเราได้ไหม ไม่ได้เลยสุขใจที่ได้ดั่งใจอ่ะ ที่มันหายไปแล้วน่ะ เรียกกลับมามันไม่มาเลย ไม่มาเลย ที่เรามีทุกข์ใจเรามีทุกข์กาย มันมาช่วยเราไม่ได้เลย

แล้วพออยากได้มาก ๆ  มันทำชั่วได้ทุกเรื่อง ทำสิ่งเลวร้ายได้ทุกเรื่อง เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามด้วย เกิดเรื่องร้ายไปทั่วเลย โอ้โห ! เกิดเรื่องร้ายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นไปทั่วเลย  เอาสุขที่เคยได้นะ ที่มันหายไปแล้ว ดึงกลับมาช่วยได้ไหม ไม่ได้เลย มันไม่มาเลย แบบไหนมันก็ไม่ยอมมาเลย ทำยังไงมันก็ไม่ยอมมา โอ้! พลังชีวิตบันทึกเป็นวิบากร้าย ดึงเรื่องร้ายมาใส่ตนเองและผู้อื่นตลอดกาล ดันสิ่งดีออกไปจากตนเองและผู้อื่นตลอดกาล ผู้ที่หลงตามอย่างนี้ก็ทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายตลอดกาลนานเลย โอ้โห! ตกลงความสุขที่ได้ดั่งใจ สุขใจที่ได้ดั่งใจ แว็บหนึ่งหมดไปนั้น กลับมาช่วยได้ไหม ไม่ได้เลย มันไม่มาเลย สรุปแล้วเราจะทุกข์ขนาดไหน มันก็ไม่เห็นใจเราเลยเนาะ โอ้! เห็นใจกันหน่อย ฉันคอยเธออยู่ คิดดูยิ่งเศร้า ก็ใจมันรับรู้

มันไม่เห็นใจเราเลย ร้องเท่าไหร่มันก็ไม่มา มันไม่เห็นใจเราเลย เราทุกข์จะเป็นจะตายอยู่แล้ว  มันไม่มาช่วยเลย หายแล้วหายเลย สุขนั้นไม่มาเลย นี่เราก็พิจารณาดี ๆ พิจารณาดี ๆ สุขนี้นะ แต่พอพิจารณาแบบนี้เป็นไง สุขไม่มี สุขไม่มี ทุกข์มีไหม ทุกข์มีนี่ สุขไม่มี มีแต่ทุกข์ ตกลงเราต้องสร้างทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายนี่แหละ ถ้าคิดทุกข์กาย เรื่องร้ายไม่ออกก็ไม่เป็นไร คิดทุกข์ใจให้มันออกแล้วกันนะ เพราะทุกข์ใจนี่มันแรงเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน เมื่อเทียบกับฝุ่นปลายเล็บและทุกกายกับเรื่องร้ายนะ เอ้า ! เอาแค่ทุกข์ใจนี่ก็ได้ เราต้องสร้างทุกข์ใจนี่นะ สร้างทุกข์นี่แหละ ถ้าใครรู้ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เรื่องร้ายตลอดกาลนานมาแลกสุขที่ไม่มี สร้างทุกข์มากดดันตัวเองมาทรมานตัวเองเพื่อให้เราได้สุขที่ไม่มีนี่ คุ้มไหม มันไม่คุ้มเลย สุด ๆ เลย อาจารย์ว่ามัน โอ้โห! มันโง่สุด ๆ แล้ว โง่ไหม… โง่ บ้าไหม… บ้า ทุกข์ไหม ทุกข์สุด ๆ ควรทำไหม…ไม่ควรทำ 

จะทำทำไม สร้างทุกข์มาแลกสุขที่ไม่มี สร้างทุกข์เพื่อมาให้ได้สุขที่ไม่มี โอ้โห! มันไม่คุ้มเลยมันเป็นการลงทุนที่ขาดทุนที่สุดในโลก  ย่อยยับ   ยับเยิน  ลงทุนที่ขาดทุนย่อยยับ ยับเยิน  โอ้โห! ยับยิ่งกว่ายับ เยินยิ่งกว่าเยิน แย่ยิ่งกว่าแย่  ทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์ มันทุกข์สุด ๆ มันไม่คุ้มเลย แต่คนโง่ก็ทำ คนบ้าก็ทำ 

พระพุทธเจ้าว่านะ พวกนี้ก็โง่ ท่านว่าอวิชชา พวกบ้า พวกวิปลาส ท่านว่า อย่างนั้น พวกวิปลาส เขาก็ทำกันมาแลกอันนี้แหละ มาแลกสุขที่ไม่มี เพราะอะไร เพราะเขาหลงว่ามันมี ตั้งใจฟังนะ  เขาคิดว่าสุขนั้นมันมี และคิดว่ามันน่าได้ น่าเป็น น่ามี เขาหลงว่าสุขนั้นมันมี  เขาหลงว่ามันน่าได้ น่าเป็น น่ามี มันเป็นวิปลาส เพราะฉะนั้น เพราะสุขมี เพราะเขาหลงว่าสุขมี เขาจึงหลงสร้างทุกข์ให้มีขึ้นมา เพราะฉะนั้น เพราะมีสุข จึงมีทุกข์ เพราะมีสุข จึงมีทุกข์ เพราะเหตุนี้มี สิ่งนี้จึงมี  เพราะเหตุนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งที่มันเกิดขึ้นสืบเนื่องต่อกันไปเป็นลำดับ ๆ เพราะเหตุนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะเหตุนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุนี้มี ก็คือว่า เพราะเราเชื่อว่าสุขใจที่ได้ดั่งใจนะ มันมีจริง  มันน่าได้น่าเป็น น่ามี เพราะฉะนั้นทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงมี ทุกข์กายสืบเนื่องจึงมี เรื่องร้ายสืบเนื่องจึงมี ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลจึงมี นี่แหละ  เพราะอวิชชา  เพราะความไม่รู้ จึงสังขารปรุงแต่งความคิดขึ้นมา ปรุงแต่งความคิดขึ้นมา เพราะเราไม่รู้ว่ามัน มันไม่มีจริง มันเป็นทุกข์จริง ๆ แล้วมันไม่มีจริง มันไม่มีจริง มันไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี  ต่อให้ได้สุข มันก็ไม่เที่ยงแว็บเดียวหมด แล้วมันก็ไปทุกข์ตามที่ว่านั้น มันก็เป็นทุกข์ 

แต่เราไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริง ตอนเสพนี่นะ มันจะรู้สึกเลยนะ ว่าถ้าเราได้เสพสักครั้งหนึ่ง มันจะติดตาตรึงใจไปนาน…. เลยนะ เชื่อไหม ก่อนเสพมันจะรู้สึกอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ

ขอให้ได้เสพสักครั้งหนึ่งก็พอแล้ว ชีวิตนี้ขอแค่ได้เสพอย่างนั้นสักครั้งหนึ่งก็ติดตาตรึงใจไปนานเวลาเสพมันจะคิดอย่างนั้นนะ จริง ๆ ที่มันได้ขอเสพอะไรสักครั้ง สักครั้งหนึ่งนี่ มันเชื่อว่าถ้าได้ครั้งหนึ่งแล้วก็สุขไปตลอดกาลนานเลยกู ฉันก็สุขไปตลอดกาลนานแหละ  เราจะคิดอย่างนั้นนะ ความคิดของกิเลส มันถึงทุ่มทุนสร้างเลย ทุ่มทุนสร้างเลย ขนาดพวกฆ่าข่มขืนนี่มัน โอ้โห! ขอกูได้เสพครั้งเดียวเท่านั้นแหละ กูจะสุขตลอดกาลนาน ตายก็เอา แต่ความเป็นจริงแล้วมันสุขไปนานไหม ไม่หรอก แว็บเดียวมันก็หมด แต่มันโง่ มันนึกว่าจะสุขไปนาน แบบพวกขอกินอร่อยก่อนตายนี่ มันก็เชื่อว่า ถ้าได้กินแล้วยังไงก็จะสุขไปอีกนาน ตายก็ช่างมันเถอะวะ กูได้สุขไปอีกนานก็เอาวะ ก็ขอกินอร่อยก่อนตาย แล้วก็ทรมาน แล้วก็ตายจริง ๆ   ตกลงสุขนั้นตามไปไหม ไม่หรอกแว็บเดียวก็หมดแล้ว นานไหม ไม่นาน ไม่นานนะ หรือใครจะได้ความสุขจากอะไร ๆ ๆ ก็แล้วแต่ เขายังหลงว่ามันเที่ยงทั้ง ๆ ที่มันไม่เที่ยง สุขใจที่ได้ดั่งใจนั้นมันไม่เที่ยง แต่เขาจะหลงว่ามันเที่ยง นี่คือวิปลาส ความรู้สึกตอนนั้นเขาจะรู้สึกอย่างนั้นเลย คนที่เคยได้ความสุข  ได้รางวัลอะไรสักอย่าง เขาได้รางวัลอะไรสักอย่าง เขาคิดว่าเขาจะสุขใจ ภูมิใจไปอีกนานเลยเชื่อไหม 

โอ้! เห็นรางวัลนี้ทีไรก็ภูมิใจ  เห็นรางวัลนี้ทีไรก็ภูมิใจนะ พอชนะอะไรสักอย่าง เขาคิดว่าเขาจะสุขใจไปตลอดกาลนาน ตอนที่เขาจะได้รางวัลนั้น เขาทุ่มสุดชีวิตเลยนะ เพื่อจะได้รางวัลอะไรสักอย่าง เพื่อจะได้ภาคภูมิใจไปตลอดกาลนาน สุขใจไปตลอดกาลนาน ภาคภูมิใจไปตลอดกาลนาน คนจะกล่าวขวัญถึงไปตลอดกาลนาน จะสุขใจไปนาน ชื่นชมไปนาน เอาเข้าจริง ๆ นี่ สุขนานไหม ไม่นานหรอก แป๊บเดียวก็หมด แป๊บเดียวก็หมด มันไม่มีจริง ให้เขาระลึกถึงความสุขที่เขาเคยได้ เขาแค่ระลึกถึงความสุขที่เคยได้ก็สุขมากแล้ว ตอนเขายังไม่ได้ แล้วเขาอยากได้ แล้วเขาจะรู้สึกอยากได้สักครั้งหนึ่ง ขอแค่ได้ระลึกถึง ฉันก็สุขใจมากแล้ว ฉันก็สามารถดึงความสุขนั้นขึ้นมาได้แล้ว  ให้สุขไปตลอดกาลนาน  เอาเข้าจริงพอได้ความสุขนั้นแล้ว มันดึงมาได้อีกไหม สุขแว็บหนึ่งแล้วก็หมดไป พอระลึกถึงแล้ว สามารถดึงความรู้สึกสุขนั้นกลับมาอีกได้ไหม ไม่ได้ มันได้แต่ความจำ ใช่ไหม มันได้แต่ความจำว่าเคยสุขแต่นึกไม่ออกแล้ว ไม่รู้ว่าความสุขนั้นเป็นอย่างไร หายไปเลยจะดึงกลับมาได้ไหม ความรู้สึกสุขนั้นเก็บไม่ได้ หายไปเลย แต่มันวิปลาส วิปลาส มันก็เลยเข้าใจว่านั่นเป็นสุขที่เที่ยง มันไม่เที่ยงแท้ ๆ มันก็หลงว่าเที่ยง ในวิปลาส มันเป็นทุกข์แท้ ๆ มันก็หลงว่าเป็นสุข ทุกข์แท้ ๆ เลยหลงว่าเป็นสุข ก็ทุกข์ซิ  ก็หลงสร้างทุกข์ใจขึ้นมาใช่ไหม พอได้สมใจอยากก็แค่ลดทุกข์ใจลงไปชั่วคราว ดีใจ แว็บหนึ่ง ดีใจ สุขใจ แว็บหนึ่งแล้วก็ละลายไป ที่มันดีใจ สุขใจ เพราะว่าทุกข์มันลดลงเฉย ๆ หรอก แล้วมันก็ดีใจ สุขใจ แล้วมันก็ละลายไปเหมือนกับเรา 

หิวมาก ๆ มาก ๆ ทุกข์ไหม…ทุกข์พอเรากินอิ่ม.. ทุกข์ลดลง สุขไหม…สุข สุขใจแว็บหนึ่ง แล้วสุขนั้นอยู่กับเราตลอดไหม ไม่หรอก เดี๋ยวก็ละลายไปอีกแล้วใช่ไหม ปวดหัวมาก ๆ  แล้วหายปวดหัวเลย สุขไหม สุข ทุกข์หายปุ๊บ สุขเกิดขึ้นปั๊บ มันดีใจน่ะ มันดีใจ สุขใจ แล้วมันก็สร้างความรู้สึกสุขได้แค่นั้นแหละ แล้วก็หายไปเลย แล้วเราก็ไม่ได้ปวดหัวอีก ถ้าเราสามารถดึงความรู้สึกสุขนั้น ได้สุขแว็บหนึ่งนั้นน่ะ กลับมาได้ไหม ไม่ได้ อยากได้อีกทีทำอย่างไร ให้ปวดหัวอีกทีเอาไหม ปวดหัวอีกทีแล้วก็ลดการปวดหัว เอาไหม คนฉลาดไม่เอา บ้าเหรอจะไปปวดหัวอีกทีแล้วมาลดการปวดหัว แล้วไปได้สุขแว็บเดียวน่ะ  แว็บ…เดียวแล้วก็ละลายไปเลย บ้าเหรอ แล้วจะไปเอาทำไม แท้ที่จริงมันเป็นทุกข์ โดยเฉพาะทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขนั้นก็ไม่มีแล้วนะ แล้วก็ต้องทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจอีก โอ้โห ! แล้วก็ทุกข์กายบวกเรื่องร้ายต่อเนื่องเข้าไปอีก สุขก็ไม่มี มีแต่ทุกข์ เห็นไหม สุขก็ไม่มีมีแต่ทุกข์ถ้าหลงว่าสุขนั้นมี เราก็ต้องอยากได้ใช่ไหม แล้วก็ทุกข์ใจที่ไม่ได้ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ยังไม่ได้ก็ทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้าย โอ้! มันเป็นทุกข์ เห็นชัดแล้ว มันเป็นทุกข์ โอ้ ! ต้องเอาทุกข์มาแลกสุขที่ไม่มี มันอนัตตามันไม่มีตัวตน เอ้อ ! ไม่มีตัวตนก็หลงว่ามีตัวตน มันไม่มี มันสุขแว็บเดียวก็หมดไปมันไม่มี ก็หลงว่ามันมี โอ้โห! ทั้งไม่เที่ยงทั้งเป็นทุกข์ มันไม่มีก็หลงว่ามันมี โอ้ ! แล้วมันไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามี อสุภะ มันไม่ใช่สิ่งที่น่าได้น่าเป็น น่ามีเลย ก็หลงว่าน่าได้ น่าเป็น น่ามี  มันไม่น่าทำก็หลงว่าน่าทำ โอ้ย ! เวรกรรม 

นี่แหละก็พิจารณาไป นี่คือ สุขชั่วคราวนะ อาจารย์กำลังอธิบายสุขชั่วคราว ถ้าผู้ใดเข้าใจชัดว่าเพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะเราหลงว่าสุขชั่วคราวมันมี มันน่าได้ น่าเป็น น่ามี  ได้จะสุขใจชอบใจจึงเกิด ถ้าไม่ได้จะทุกข์ใจไม่ชอบใจ ได้ดั่งใจจะสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้ดั่งใจจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ มันจะเกิดอันนี้ขึ้น ที่เกิดสุขใจชอบใจทุกข์ใจไม่ชอบใจขึ้น แล้วก็เกิดทุกข์กายทั้งหมดทั้งมวลขึ้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ ท่านว่าอย่างนั้น 

เพราะฉะนั้นถ้าจะดับทุกข์ต้องดับที่เหตุใช่ไหม ดับเหตุแห่งทุกข์ก็คือ สุขที่ไม่มีนี่ ถ้าเราดับสุขที่ไม่มีซะ เราไม่ต้องอยากได้แล้วสุขที่ไม่มีจะไปอยากได้ทำไม อยากได้ไหม ? ไม่มีสุข สุขที่ไม่มีอยากได้ไหม บ้าเหรอ..จะไปเอาอะไรสุขที่ไม่มี เฮ้อ ! จะไปอยากได้สุขที่ไม่มี สุขนั้นไม่มีจะไปอยากได้ทำไมมันไม่มี แต่ถ้าไปหลงว่ามันมีต้องมีทุกข์ตลอดกาลนานเลย แต่ถ้าเราชัดว่า 

มันไม่มีแล้วเราก็เลิกอยากได้มัน มันไม่มีแล้วเราก็เลิกอยากได้มัน เพราะมันไม่มีเราจึงเลิกอยากได้มัน แล้วเราจะมีทุกข์ที่ไม่ได้มันไหม มันก็ไม่มีใช่ไหมทุกข์ใจที่ไม่ได้มันน่ะ อะไรก็ตามที่เราไม่ได้อยากได้ เราจะมีความทุกข์ที่ไม่ได้สิ่งนั้นไหม ก็ไม่มี ไม่เชื่อลองดูสิ ลองไม่อยากได้อะไรสักอย่าง โอ้ ! จะอธิบายอะไรดีนะ เราไม่อยากได้ไม้หน้าสามฟาดหัว เราจะมีความทุกข์ที่ไม่ได้มันไหม 

เมื่อกี้จริง ๆ อาจารย์ปรุงไปอีกอันหนึ่ง อาจารย์ปรุงไปคนละอย่างหรอก แล้วมันจะน่าเกลียด บอกก็ได้ อาจารย์ปรุงว่าถ้าเราไม่อยากได้อุจจาระเลยนะ ถ้าเราไม่อยากได้อุจจาระแล้วเราจะมีทุกข์กับการไม่ได้อุจจาระนั้นไหม เออ ! เข้าใจไหม เราไม่อยากได้อะไรเราจะไปทุกข์เพราะอันนั้นทำไมใช่ไหม เราไม่อยากได้อันนั้นเราจะไปทุกข์เพราะอันนั้นไหม… เราก็ไม่ทุกข์ เราไม่อยากได้อุจจาระเราจะไปทุกข์เพราะไม่ได้อุจจาระทำไม ยกตัวอย่าง ให้มันชัด เราไม่อยากได้อะไรอีกล่ะ เราไม่อยากได้มะเหงก เราจะทุกข์เพราะไม่ได้มะเหงกไหม โอ้ ! มันจะไปทุกข์อะไรล่ะใช่ไหม ก็มันไม่อยากได้น่ะ เข้าใจไหม เราไม่อยากไปประเทศอื่น ๆ ไม่ได้อยากไปประเทศโน้นประเทศนี้ ประเทศไหนดีล่ะประเทศที่โหด ๆ ที่สุด โหดก็ได้ไม่โหดก็ได้แต่เราไม่อยากไปน่ะ เราจะไปทุกข์เพราะไม่ได้ไปไหม ก็ไม่ทุกข์ใช่ไหม เออ…อธิบายให้ชัด ๆ ว่า ถ้าเราไม่อยากได้อะไรเราจะไปทุกข์ใจที่ไม่ได้อันนั้นไหม ไม่มันจะไม่มี ฟังดี ๆ นะ ชัดไหม โอ้ ! อาจารย์ว่าชัดนะ ไม่รู้จะง่ายยังไงแล้วนะธรรมะนี่ อธิบายธรรมะที่ยากที่สุดให้ง่ายที่สุดแล้วนะ 

ถ้าเราไม่อยากได้อะไรเราจะไม่ทุกข์เพราะไม่ได้อันนั้นหรอก ไม่ว่าด้านนั้นจะเป็นด้านดีหรือไม่ดี ใช่ไหม เราไม่อยากได้ซะอย่าง ด้านดีหรือไม่ดีก็ตามน่ะ ถ้าเราไม่อยากได้นะเราไม่ทุกข์หรอกใช่ไหม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่อยากเป็นแชมป์โลกดำน้ำ ดำน้ำเก่ง เราไม่อยากได้แชมป์โลกดำน้ำเก่ง เราจะทุกข์เพราะเราไม่ได้ไหม ไม่ได้มันก็ไม่ทุกข์หรอกก็ไม่อยากได้ดำน้ำเก่ง ๆ 

โอ้ ! มุดได้ 5 วัน ดังไปทั่วเลยแต่เราไม่อยากได้ จะทุกข์ไหม ก็ไม่ทุกข์  เราไม่อยากได้อะไร เราก็ไม่ทุกข์เพราะอันนั้น ถ้าเราอยากได้อะไรแล้วเราไม่ได้นั่นแหละ ทุกข์ไหม มันจะทุกข์เลย ถ้าเราไม่อยากได้อะไรเราก็ไม่ทุกข์เพราะอันนั้น เพราะถ้าเราไม่อยากได้อันนี้ เราดับความอยากได้สุขที่ไม่มีอันนี้ซะ เราจะมีทุกข์ที่ไม่ได้มันไหม  เราก็ไม่มีทุกข์ใช่ไหม  เราก็ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้สุขที่ไม่มีนี้ ใช่ไหม เพราะสิ่งนี้ดับ ดับความอยากนั่นแหละ เพราะสิ่งนี้ดับความอยากที่ได้สุขที่ไม่มีนี้ดับ 

ดังนั้นทุกข์ที่ไม่ได้สุขที่ไม่มีจึงดับ เข้าใจไหม เราไม่ได้อยากได้สุขที่ได้ดั่งใจ คือ สุขที่ไม่มี มันจึงไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่เชื่อลองทำดูมันจะไปด้วยกัน มามันก็มาด้วยกันนะ ถ้าอยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ  มันจะมาคู่กับ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ แต่ถ้าเราไม่ได้ไปอยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ มันก็จะไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เข้าใจไหม นี่มันจะไปด้วยกันลองทำดูเถอะ   ลองทำดู มันไปด้วยกัน มันเกิดมันจะเกิดด้วยกัน มันดับมันจะดับด้วยกัน  เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ต้องไปอยากได้มัน มันจะดับเลย เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ เพราะความอยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจนั้นดับ ดังนั้นทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงดับ มันจะดับไปด้วยกันเลย 

ดังนั้นพอทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจดับ ทุกข์กายเรื่องร้ายทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลดับด้วยไหม มันก็ดับไปด้วยกันหมดเลย ตลอดสายเลย จากพฤติกรรมใหม่หมดไปเกลี้ยงเลยทุกข์ดับ เอาละเอาแค่ทุกข์ใจดับนี้ก็ได้ ถ้าไม่เข้าใจทุกข์กายเรื่องร้ายสืบเนื่องเอาแค่ทุกข์ใจดับนี้ก็ได้ ทุกข์ใจดับนี้ก็สุดยอดแล้วชีวิต เอาล่ะ สุขใจที่ได้ดั่งใจมันคือสุขที่ไม่มี เราไม่เอาเราดับมันซะ ดับความอยากได้มันดับ เพราะฉะนั้นทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจก็ดับ พอทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจดับ ทุกข์ดับสุขเกิดไหม  เกิดทันทีเลย ดับทุกข์ได้สุขก็เกิด ทุกข์ดับ สุขเกิด นี่คือสัจจะอย่างนี้ ทุกข์ดับ สุขเกิดอันเดียวกัน ไม่มีทุกข์ก็สุขแล้ว นี่คือสัจจะนะถ้าเหมือนที่เราปวดหัวแล้วหายปวดหัว เหมือนปวดหัวนี่ทุกข์ พอืหายปวดหัวปุ๊บ สุขเกิดทันทีเลย นี่คือสัจจะอย่างนี้ เพราะฉะนั้นทุกข์ดับ สุขก็จะเกิดทันทีเลย ทุกข์ดับกับสุขเกิดเป็นอันเดียวกัน จะเรียกทุกดับก็ได้ เรียกสุขเกิดก็ได้ เรียกว่าไม่มีทุกข์ก็ได้ เรียกว่ามีสุขก็ได้ ใช่ไหม  เรียกว่าหายทุกข์ก็ได้ หายทุกข์ก็สุขแล้ว 

คนเรามันเท่านี้แหละ หายทุกข์ก็สุขแล้ว หายทุกข์กับสุขอันเดียวกัน ก็ยินดี…คนเราหายทุกข์ เราไม่ต้องไปอยากได้ สุขที่ไม่มี สุขใจที่ได้ดั่งใจคือสุขที่ไม่เที่ยง สุขที่ไม่มี เราก็ไม่ต้องไปอยากได้มัน ไม่ต้องไปสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี โอ้ ! เราไม่ต้องไปอยากได้ ทุกข์นั้นก็หายไป ทุกข์ใจนั้นก็หายไป สุขสบายใจก็คือแทน ใช่ไหม ไม่ทุกข์น่ะสบายไหม ….สบาย สบายนะสุขไหม..สุข  สุขสบายเกิดแทน นี่ไง หายทุกข์แล้วความสุขสบายก็เกิดแทน โอ้ย ! สุขสบาย แล้วความสุขสบายที่เกิดอันนี้นี่ 

ถ้าเราไม่ต้องไปอยากได้ถาวรเลย เราก็รู้แล้วมันเป็นทุกข์ สุขก็ไม่มี มีแต่ทุกข์ เราก็เลิกอยากได้ถาวรเลย ใจเรามีปัญญาชัด เพราะฉะนั้นความสุขสบายเราถาวรไหม ถาวรเลย ไม่อยากได้ทุกข์เราก็สุขสบายถาวรเลย แค่ไม่ทุกข์ก็สุขสบายแล้ว แค่ไม่ทุกข์ก็สุขสบายแล้ว แค่สุขสบายก็ดีที่สุดแล้ว ใช่ไหม ชีวิตมีอะไรดีกว่าสุขสบายไหม…ไม่มี ไม่มีอะไรดีกว่าสุขสบายหรอก เราสุขสบายใจไร้กังวล แค่ไม่ทุกข์เราก็สุขสบายใจไร้กังวลแล้วนี่ สุขอยู่ตรงนี้คนเรา 

อาจารย์ ยังเคยยกตัวอย่างว่า ต่อให้สุขที่ได้ดั่งใจนั้นมันไม่หายไปเลยนะ แต่ในความเป็นจริงแล้วสุขนั้นมันจะต้องหายไป แว็บเดียวมันก็หายไป มันไม่มี ต่อให้มันมีเลย  ต่อให้มันมีจริงเลย และให้มีทุกข์คู่ไปด้วยแบบนี้ มีปุ๊บมันก็มีทุกข์ สัจจะมันก็มีทุกข์คู่อย่างนี้ เอาไหม ต่อให้สุขนั้นมันยังอยู่เลยนะ แต่ให้มีทุกข์แสนสาหัสเพิ่มไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ อย่างนี้ ทุกข์แสนสาหัสยังอยู่ไปอย่างนี้ เอาไหม? เราก็ไม่เอาใช่ไหม เพราะอะไร โอ้ ! เพราะมันทุกข์ มันทุกข์มันจะสุขสบายไหม มันก็ไม่สบายนะ คุณก็สุข ๆ ทุกข์ ๆ อย่างนี้แหละ ใช่ไหมคุณก็มีทั้งสุขทั้งทุกข์เอาไหม มีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนกันไปด้วย สุขก็สุข ทุกข์ก็ทุกข์เอาไหม … อ้าว !  ทำไมไม่เอา ก็สุขนะ ถาวรด้วยนะ แต่ทุกข์ก็ถาวรหนักขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วย เอาไหม…ไม่เอา ทำไมไม่เอา มันทุกข์น่ะ ทรมาน ทุกข์นี่มันทนได้ยาก มันทรมานน่ะ ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีใช่ไหม นี่ขนาดว่าให้มีสุขคู่กับทุกข์เลยมันยังไม่คุ้มเลยใช่ไหม ประสาอะไรล่ะสุขนั้นหายไปแว็บเดียวหมดไม่มีจริง เรียกกลับมาก็ไม่ได้ แต่ทุกข์น่ะเพิ่มไปเรื่อย ๆ เอาไหม โห ! ยิ่งไม่น่าเอาใหญ่เลยใช่ไหม 

แต่ถ้าเราทิ้งมันไปเสียได้จะเป็นอย่างไร  เราสามารถสลายมันได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อเราสลายมันได้ด้วยปัญญาอันยิ่งก็จะเปลี่ยนเป็นพลังไม่ทุกข์ นี่แหละเปลี่ยนเป็นพลังไม่สุขไม่ทุกข์ ใช่ไหมสุขเพราะไม่เอาแล้วใช่ไหม ไม่เอาแล้วมันก็ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจแล้วใช่ไหม ไม่มีแล้ว เป็นพลังไม่สุข แล้วพลังทุกข์จะมีไหม พลังทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจมันก็หมดไปด้วย เปลี่ยนเป็นพลังไม่ทุกข์ ใช่ไหม มันเปลี่ยนไปเลย สุขไม่มีแล้ว แล้วก็สลายไปเลย ไม่มี ไม่มีมีความสุขแล้ว ไม่มีพลังสุขใจที่ได้ดั่งใจได้แล้ว หายไป แล้วก็ยังมีพลังทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ รวมทั้งทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เอาแค่ใจนี้ก็ได้ ไม่มีสุขมันก็ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์ นี่สุขไหม สุขเลย ฟังชัดไหม ไม่มีทุกข์มันก็สุขสบายแล้วนะ ไม่ทุกข์นี่ก็สบายแล้วนะคนน่ะ ร่างกายเราไม่เจ็บไม่ป่วยนี่ สุขสบายไหม สบาย สบายนี่สุขไหม…สุข สุขสบาย เข้าใจไหม สุขสบาย ที่เขาถามสบายดีไหม ดี สบายดีไหม ดี อ้าว! ก็ถามสบายดีไหม… ดี สบายดีใช่ไหม เราก็ย้ำ สบายดีไหม  สบายดี ไม่สบายล่ะ ไม่ดี ใช่ไหม 

คนเรานี่มันก็จะหาความสบายใส่ตัวเองนะ ไม่น่าจะไปหาความไม่สบายใส่ตัวเอง ใช่ไหม หาเรื่อง หาความไม่สบายใส่ตัวเอง พวกหาเรื่อง หาเรื่องทำไมคนเรา เอาสบายดี ดีกว่า นี่พุทธะก็ได้สบายดี ความสบายที่เราได้จากการดับทุกข์แบบนี้ เรารู้ชัดแล้วว่าสุขไม่มี มีแต่ทุกข์ เราก็เลยเลิกอยากได้ เราสลายทิ้งเลย เป็นพลังที่ไม่ทุกข์  เป็นพลังที่ไม่ทุกข์มันจะมีอะไรทุกข์อีกไหมในเรื่องนี้ ไม่มีแล้ว ไม่ทุกข์แล้วเราก็สบายแล้ว สบายแล้วก็สุขแล้ว สุขสบาย แล้วก็ยินดีในความสุขสบาย ยินดี พอใจ สุขใจ ในความสุขสบายอันนี้นี่ แล้วเราก็อาศัยอันนี้ โอ๊ย ! สบายดี แรก ๆ ดีใจแรง ๆ ด้วย เฮ้อ! ไม่ทุกข์แล้ว โอ้โห ! กว่าจะทำได้ ดีใจนาน ๆ มันก็เมื่อย ๆ เหมือนกันก็ลดลง ๆ แล้วก็เอ้อ !  เราก็เอาความดีใจแบบสบาย ๆ ดีกว่า ดีใจเล็ก ๆ ยินดีเล็ก ๆ เรียกว่า อภิปปโมทยังจิตตัง ยินดีสบาย ๆ ยินดีที่เราไม่มีทุกข์อะไร นี่ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย มีแต่ประโยชน์ต่อทุกชีวิต ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิตเลย เราก็สุขสบายใจ ภูมิใจ ได้ตลอดไหม ตลอดเลยอมตะนิรันดร์กาลเลย นี่สุขยั่งยืน  อันนี้เขาเรียกว่าสุขยั่งยืน สุขที่ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย นี่แหละ เป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิต นี่แหละสุขที่ยั่งยืน ได้อันนี้ โอ๋!  นัตถิ อุปมา ไม่มีอะไรเปรียบได้ อะสังหิรัง ไม่มีอะไรหักล้างได้ อสังกุปปัง ไม่กลับกำเริบ นิจจัง เที่ยง ธุวัง ยั่งยืน สัสสตัง ตลอดกาลนาน อวิปปริณามธัมมัง ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี่ได้อย่างนี้แหละ เป็นอย่างนี้แหละ 

หมดอยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้น ๆ ซะ เราก็จะไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีทุกข์กายเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล เราก็จะได้ความสบาย ที่ไม่ทุกข์  ไม่ทุกข์ก็สุขสบายแล้ว ก็ได้สุขสบายตลอดกาลนาน สุขสบายใจไร้กังวลตลอดกาลนานเลย ผลสืบเนื่องเป็นอย่างไรร่างกายแข็งแรงอีก ร่างกายก็แข็งแรงขึ้นไปอีก โอ๊ย! เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม ช่วยให้คนอื่นเป็นตาม เขาพากันทำแต่สิ่งที่ดี เป็นวิบากดี ดูดสิ่งดีเข้ามาดันสิ่งร้ายออกไปตลอดกาลนาน อย่างนี้เป็นต้น ดีเข้าไปอีกเลย นี่สุดยอด สุดยอดแห่งความสุข นี่คือความสุขที่ยั่งยืน ไม่มีทุกข์อันใดปนเลย 

ส่วนความสุขชั่วคราวเป็นอย่างไร เต็มไปด้วยทุกข์โทษภัยต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาลนานเลย มันไม่น่าเอาเลย เพราะเรามีปัญญาอันยิ่งแล้วเราก็ไม่เอาแล้วอันนั้น มาเอาสุขนี้ดีกว่า นี่คนเราควรจะฝึกได้สุขอันนี้ ได้แล้วได้เลยตลอดกาลนาน เป็นอมตะนิรันดร์กาล นี่แหละนิพพาน นี่แหละสภาพที่นิพพาน ก็คือสุขสงบเย็น นิพพานเรียกว่าสุขสงบเย็นที่มันไม่มีทุกข์ใด ๆ กวนเลยสุขสบายใจไร้กังวลเป็นอมตะนิรันดร์กาล สุขสงบเย็นสบายไม่มีทุกข์ใด ๆ มารบกวนได้ หรือวิมุตหลุดพ้นจากทุกข์ หรือนิโรธดับทุกข์ เช่นนี้ ยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ ที่จะได้สภาพ ที่มันไม่มีทุกข์โทษภัยใด ๆ ต่อใครเลย เป็นความสุขสบายไร้กังวล อันนี้คือ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ นี่แหละสภาพสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ยินดี พอใจ สุขใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็มันไม่ได้ดั่งใจหมาย ใช่ไหม มันไม่ได้ดั่งใจหมาย มันไม่ได้อะไรดังใจหมาย ไม่ได้ สุขใจที่ได้ดั่งใจ ในเรื่องนั้น ๆ เรื่องไหนก็แล้วแต่ 

เราไม่เอาแล้วสุขใจที่ได้ดั่งใจแล้วเป็นสุขชั่วคราว เราไม่เอา แต่เรามาเอาสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งเป็นสุขยั่งยืนแทน มาเอาตรงนี้แทน ซึ่งจริง ๆ ถ้าเรารู้ว่าอันนี้ดีที่สุด แล้วเราก็ได้แล้ว 

เราได้ตัวนี้แล้วเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็แสดงว่าเราได้ดั่งใจแล้ว ฟังทันไหม เราได้ดั่งใจแล้ว ได้อะไรดั่งใจ ได้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละ ดั่งใจแล้ว เข้าใจไหม โอ้โห ! ทำไมเก่งอย่างนี้ ก็แปลว่าเราได้สุขใจที่ได้ดั่งใจแล้วใช่ไหม ยังยืนไหม…ยั่งยืน นี่คือสุขใจที่ได้ดั่งใจแบบยั่งยืน แต่สุขใจที่ได้ดั่งใจแบบกิเลส ความที่ได้ดั่งใจแล้วเป็นสุข ไม่ได้ดั่งใจแล้วเป็นทุกข์เป็นอย่างไร นั้นน่ะสุขใจที่ได้ดั่งใจชั่วคราว สุขใจชั่วคราว อย่าสับสนภาษานะ ภาษาเดียวกันเลยนะ คนละเรื่องเลยนะ อย่าสับสนภาษานะ ได้สุขใจที่ได้ดั่งใจแบบชั่วคราว คือถ้าได้เป็นสุขไม่ได้เป็นทุกข์ อันนั้นน่ะได้แล้วสุขใจชอบใจ ไม่ได้แล้วทุกข์ใจไม่ชอบใจ อันนั้นสุขใจ อันนั้นชั่วคราว ใช่ไหม แบบกิเลส แบบชั่วคราว แต่สุขใจอันนี้ สุขใจที่ได้ดั่งใจอันนี้ยั่งยืนนะ ดีไหม สุขใจที่ได้ดั่งใจยั่งยืน ดีไหม ดีสิ สุขใจที่ได้ดั่งใจยั่งยืน ดีที่สุดเลย 

ฟังแล้วก็งง ก็เมานะนี่ งงไหม เราได้สุขที่ยั่งยืนเลย เพราะเราได้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เราสามารถทำได้แล้วใช่ไหม สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ โอ้โห ! มันเป็นความสุขที่ยั่งยืนเราทำได้แล้ว อะไรจะเกิดจะดับเราก็ไม่ทุกข์แล้ว เพราะเราไม่ได้มีสุขใจที่ได้ดั่งใจแล้ว และไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจแล้ว ใช่ไหม สลายไปหมดแล้ว มันจะเกิดจะดับเราก็ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีกลัวจะไม่ได้มา ได้มากลัวจะหมดไปในสุขนั้น เเล้วไม่ได้กลัวว่าทุกข์นั้นจะเข้ามา เข้ามากลัวจะไม่หมดไป มันไม่มี อะไรจะเกิดจะดับมันไม่ทุกข์แล้ว เมื่อมันไม่ได้อยากได้ อยากเป็น อยากมีอะไรในเรื่องนั้นแล้ว มันตัดไปเลย มันอุเบกขาในเรื่องนั้นไปแล้ว วางเฉยแล้ว เรื่องนั้นไม่ได้สร้างสุขอะไรให้เราได้แล้วใช่ไหม เรื่องนั้นมันไม่สามารถสร้างสุขอะไรให้เราได้ มันจะเกิดหรือจะดับเราจะไปเสียดายอะไรไหม… เราก็ไม่เสียใจอะไรใช่ไหม มันไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์ให้เราได้ มันไม่มีอิทธิพลต่อสุขใจทุกข์ใจเราเลย 

เพราะฉะนั้น มันจะเกิดจะดับ เราจะไปทุกข์อะไรไหม…ไม่มี มันไม่มีทุกข์อะไรเลย มันจะเกิดจะดับอย่างไร ไม่สามารถทำให้เราทุกข์ได้ มันไม่มีอิทธิพลอะไรต่อใจเราแล้ว เพราะเราสามารถที่จะทำสภาพที่ไม่สุขไม่ทุกข์ได้แล้ว ยินดีพอใจสุขใจที่เราไม่มีสุขมีทุกข์กับเรื่องนั้น ไม่มีภัยในเรื่องนั้น มันจะเกิดจะดับเราก็ไม่ทุกข์ เราไม่ได้มีความอยาก ไม่ได้มีความยึดมั่นถือมั่นอะไรในเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น มันจะเกิดจะดับก็ช่างหัวมัน แต่เราสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้แล้ว เพราะอย่างนั้นเราก็สมใจแล้ว เราได้สุขสมใจแล้ว เราได้สุข เราได้ดั่งใจแล้ว เพราะเราได้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้แล้ว ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร ภาษามันก็มีเท่านี้ นี่อธิบายให้ฟังสภาวะ พอเราได้ตัวนี้แล้วก็สบาย ในชีวิต โอ้โห ! ในชีวิตได้สุขที่ไม่มีภัยต่อใครเลย แล้วพอได้อันนี้เสร็จแล้วยังมีของแถมอีก ของแถมอะไรล่ะ ยังมีสิทธิพิเศษอีก ถ้าใครเข้าถึงสิ่งนี้ได้ สิทธิพิเศษจริง ๆ 

อันดับแรกคือ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ชีวิตไม่มีทุกข์เลย มีแต่ความสุขสบายใจไร้กังวลตลอดเวลา นี่สิทธิพิเศษขั้นที่หนึ่ง ถ้าได้แล้ว สิทธิพิเศษอันที่สองคือ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ยิ่งถ้าเราทำได้หลายอย่าง หลายอย่าง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นชีวิตเราสามารถเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง มันจะเกิดเรื่องดีเรื่องร้ายอะไรขึ้นในโลก เราเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง จะมีสิทธิพิเศษ ที่สามารถเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง สิทธิพิเศษอีกอันหนึ่งก็ เราจะทำอะไร เราจะทำอะไร เราก็สามารถทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ จะทำอะไรก็ทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ แต่ทำแต่สิ่งที่ดีนะ เราจะตัด ตัดอะไรก็ตัดด้วยใจที่เป็นสุขได้ จะตัดสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม ตัดสิ่งที่ไม่ดีก็ตัดด้วยใจที่เป็นสุขได้ ตัดสิ่งที่ดีที่เป็นไปไม่ได้ ก็ตัดด้วยใจที่เป็นสุขได้ มันดีนะแต่มันเป็นไปไม่ได้ ก็ตัดด้วยใจที่เป็นสุขได้ เราจะเข้าถึงอะไร ก็เข้าถึงด้วยใจที่เป็นสุขได้ หรือแม้แต่ชีวิตจะต้องรับอะไร รับดีรับร้ายอะไรก็รับด้วยใจที่เป็นสุขได้ 

สรุปแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตเราสามารถที่จะมีปัญญาเป็นสุขในทุกสถานการณ์ได้ เอาประโยชน์เป็นสุขในทุกสถานการณ์ได้ ไม่ว่าเราจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร จะรับอะไรหรือไม่รับอะไร เอาง่าย ๆ อย่างนี้ ย่อ ๆ สิทธิพิเศษคือ เราสามารถที่จะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรด้วยใจที่เป็นสุขได้ จะทำหรือไม่ทำอะไร จะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็ทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ จะรับอะไรหรือไม่รับอะไร จะได้รับอะไรหรือไม่รับอะไร ก็สามารถที่จะทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ นี่เป็นสิทธิพิเศษ ข้อหนึ่งอะไรฟังไม่ทัน ข้อหนึ่งเรื่องการทำ ข้อสองเรื่องการรับ จะทำหรือไม่ทำอะไร ทำหรือไม่ทำอะไร ทำหรือไม่ทำอะไร รับหรือไม่รับอะไร ข้อสองรับหรือไม่รับอะไร ข้อหนึ่งทำหรือไม่ทำอะไร สองรับหรือไม่รับอะไร แค่นี้ 

เราสามารถทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ถ้าเราได้ฐานสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจไว้แล้ว เราได้หมดเลย นี่ก็คือ โอ้โห ! สิทธิพิเศษ จริง ๆ สิทธิพิเศษสามอันเนาะ สิทธิพิเศษอันแรกคืออะไรนะ เอ่อ ! ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ชีวิตก็ไม่มีทุกข์ เราสุขสบายใจไร้กังวลได้ในทุกสถานการณ์ มันสุขสบายใจไร้กังวลได้ในทุกสถานการณ์ นี่สิทธิพิเศษอันที่หนึ่ง สิทธิพิเศษอันที่สองคือ จะทำหรือไม่ทำอะไรก็ทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ ทำหรือไม่ทำอะไรด้วยใจที่เป็นสุขได้ สิทธิพิเศษอันที่สามคือ รับหรือไม่รับอะไรด้วยใจที่เป็นสุขได้ สิทธิพิเศษสามชั้น ข้อสามกับข้อหนึ่งคล้าย ๆ กัน ใช่ มันไปคล้าย ๆ กับข้อที่หนึ่ง ขยาย ขยายข้อที่หนึ่ง จริง ๆ ก็ ขยายทั้งสองอันก็คือขยายข้อที่หนึ่งไปด้วยน่ะ ให้เป็นสองมิติ จริง ๆ ถ้าข้อที่หนึ่งข้อเดียวก็จบแล้ว ภายใต้สถานการณ์ใด ๆ ก็ไม่มีทุกข์อะไร เราก็มีสุขสบายใจไร้กังวล แต่ข้อสองข้อสามน่ะ เราสามารถใช้ปัญญาซ้อนเข้าไปได้อีก มันลึกนะ มันจะใช้ปัญญาซ้อนเข้าไปอีกนะข้อสองข้อสามน่ะ มันจะมีปัญญาพิเศษไปจากข้อที่หนึ่ง มันจะ ข้อที่หนึ่งมันจบแล้ว ไม่ต้องใช้ปัญญาอะไรอีกแล้ว มันจบแล้ว ใช้ไม่ใช้ก็สบายแล้ว 

ข้อที่หนึ่งก็ใช้ปัญญาเท่าที่มีมาก็จบได้แล้ว อะไรจะเกิดขึ้นก็สุขสบายใจไร้กังวลได้ แต่ข้อที่สองที่สามนี่ …มันจะต้อง มันจะใช้ปัญญาซ้อนขึ้นไป ปัญญาเติมเต็มขึ้นไปอีก มีการประมาณเข้าไปอีก มีการเติมเต็มความรู้เข้าไปอีก อ้าว ! ว่าจะทำหรือไม่ทำจะใช้ปัญญาซ้อนเข้าไปอีก ว่าจะทำหรือไม่ทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ จะทำก็ทำด้วยใจที่เป็นสุข จะไม่ทำก็ไม่ทำด้วยใจที่เป็นสุข มันจะมีปัญญาซ้อนเข้าไปจากอันที่หนึ่งอีก ปัญญาสูงขึ้นเข้าไปอีก อาจารย์ถึงบอก ปัญญาชั้นที่สี่ ที่อาจารย์ว่าพอได้ชั้นที่สามแล้วจะมีชั้นที่สี่นี้อีก ที่ต่อยอดกันขึ้นไป หรือที่ว่าจะรับหรือไม่รับอะไร ก็ รับหรือไม่รับอะไร ก็ทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ จะรับอะไรก็รับด้วยใจที่เป็นสุขได้ รับหรือไม่ได้รับอะไรก็ทำด้วยใจที่เป็นสุขได้ 

อันนี้ก็มันจะเป็นปัญญาที่ต่อยอดขึ้นไปจากตัวนี้แหละ ทำด้วยใจที่เป็นสุขได้อีก เช่นถ้ารับเรื่องร้าย รับเรื่องดี ก็เอ้า ! ดี ให้เราได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป ถ้ารับเรื่องร้ายแล้วเป็นอย่างไร… ก็ดี เป็นวิบากร้ายรับเท่าไหร่หมดเท่านั้น เข้าใจไหม มันจะมีปัญญาต่อยอดขึ้นไปอีก มีปัญญาต่อยอดให้เรามีความยินดีซ้อนเข้าไปอีก สุขใจซ้อนเข้าไปอีก ได้ประโยชน์ซ้อนเข้าไปอีก แล้วเราก็ทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ ถ้าเราไม่ปรินิพพาน อย่างนี้เป็นต้นนะ 

มันมีซ้อน หรือถ้าเราจะไม่รับอะไรเราก็รู้ ว่าเราไม่รับอะไร เพราะเหตุผลอะไร อันที่เลี่ยงไม่ออกที่เราต้องรับ เลี่ยงไม่ออกที่เราต้องรับไม่ว่าสิ่งดีหรือไม่ดี เราก็มีความสุขได้ สิ่งที่เลี่ยงออกไม่ว่าดีหรือไม่ดี ที่เราจะต้องอะไรล่ะที่เราตัดไปได้เราก็ต้องตัด อะไรอย่างนี้เป็นต้นนะ อะไรที่มันตัดได้ อะไรที่มัน มันมีทั้งตัวเลี่ยงไม่ได้และตัวที่เลี่ยงได้ อะไรที่มันเลี่ยงได้เราก็เลี่ยง หรือมันยังไงมันเลี่ยงได้ เช่นร้ายบางอย่างมันเลี่ยงได้เราก็ตัดได้ เราไม่รับก็ได้ เราจะไม่เปลืองพลังกับอะไรก็ได้ จะไม่รับอะไรจะไม่เปลืองพลังกับอะไรก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น

เราจะยินดีในการไม่ชอบไม่ชังกับอะไรก็ได้ จะไม่รับอะไรก็ไม่รับแบบวาง ๆ ก็ได้ ไม่รับแบบเห็นว่าเป็นโทษ เลยไม่รับก็ได้ มันได้หมดแหละ ของแถม ของแถม โอ๊ะ! มีของแถมเยอะ ได้ไปแล้วจะเห็นของแถม จะเห็นของแถม เดี๋ยววันหน้าจะอธิบายของแถมซ้ำอีกที จะเข้าใจชัด ของแถมที่สุดยอดที่สุดแล้ว จะรับอะไรก็ได้ จะไม่รับอะไรก็ได้ ก็โอเค ที่พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่าอะไรล่ะ จะเห็นว่า อะไรเป็นประโยชน์ก็ได้ จะเห็นว่าอะไรเป็นโทษก็ได้ จะวางเฉยกับอะไรก็ได้ ทำด้วยความยินดีได้หมด ถ้าเห็นว่าอะไรเป็นประโยชน์ก็สามารถรับสิ่งนั้นด้วยใจที่เป็นสุขได้ ถ้าเห็นว่าอะไรเป็นโทษก็สามารถตัดสิ่งนั้นด้วยใจที่เป็นสุขได้ ถ้าเราจะวางเฉยกับอะไรก็วางเฉยได้ ของแถมสามอันก็ได้ ถ้าจะเอาตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ง่าย ๆ ของแถม ของแถมหนึ่งสุขสบายใจไร้กังวลตลอดเวลา ใช่ไหม อีกสามอันที่เป็นของแถม ก็เป็นสี่ ที่อาจารย์ว่าไป จะเห็นว่าอะไรเป็นประโยชน์ก็ได้ และก็รับสิ่งนั้นด้วยใจที่เป็นสุข รับสิ่งนั้นด้วยใจที่เป็นสุขหรือว่าทำสิ่งนั้นด้วยใจที่เป็นสุขได้ จะเห็นว่าอะไรที่เป็นโทษตัดไปด้วยใจที่เป็นสุขก็ได้ จะเอาอย่างนี้ก็ได้แล้วแต่อธิบาย  สภาวะเป็นอย่างนี้ จะวางเฉยกับอะไรก็ได้  ไม่ว่าสิ่งดีสิ่งร้ายใด ๆ จะวางเฉย แล้วก็ยินดีวางเฉยไปด้วยใจที่เป็นสุขก็ได้ จะเห็นว่าเป็นโทษแล้วตัดไปด้วยใจที่เป็นสุขก็ได้  จะวางเฉยแล้วตัดไปด้วยใจที่เป็นสุข หรือปล่อยให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามประสามัน ก็ได้ ได้หมดทำ ๓ ประเด็นได้พอทำได้ปุ๊บ ใช่ไหม  สรุปแล้วของแถมชัด ๆ อ้าว ! แล้วไปประยุกต์เอาต่อก็แล้วกันของแถม ๔ อันก็ได้  โอ้! สุขสบายใจร้ายกังวลตลอดเวลา จะเห็นว่าอะไรเป็นประโยชน์ก็ได้ จะเห็นว่าสิ่งดีสิ่งร้ายอะไรเป็นประโยชน์ก็ได้ สิ่งที่เป็นปฏิกูลไม่เป็นปฏิกูล ท่านว่าอย่างนั้น จะเห็นว่าเป็น ไม่เป็น ปฏิกูลก็ได้  ฟังแล้วจะเมา ภาษาพระพุทธเจ้าเอาเป็นว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือสิ่งที่เป็นโทษอะไรก็แล้วแต่ เราจะมองให้เป็นประโยชน์ทั้งหมดก็ได้  ขยายก็ได้ สิ่งที่เป็นประโยชน์หรือสิ่งที่เป็นโทษที่เข้ามาในชีวิตเราจะมองให้เป็นประโยชน์หรือโทษก็ได้ เอาประโยชน์ได้หมด บางทีมันก็ต้องรับด้วย ข้อนี้สิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่มีปัญหาเรารับสิ่งที่มีประโยชน์เป็นประโยชน์อยู่แล้วไม่มีปัญหา  แต่แม้ที่เป็นโทษเราก็ยังแปรให้เป็นประโยชน์ได้  เช่น โอ้ ! เป็นวิบาก  ก็ออกฤทธิ์ได้มากเป็นประโยชน์อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเราจะทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์เราก็ทำใช่ไหม  สิ่งที่เป็นโทษก็ไม่ทำ  เรื่องอะไรเราจะไปทำให้โง่  

เราจะทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เรายินดีทำได้เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ยินดีทำได้  ยินดีอาศัยได้สามารถมองเอาประโยชน์ได้อย่างนี้ ส่วนจะมองเห็นว่าอะไรเป็นโทษก็ได้ไม่ว่าสิ่งดีหรือไม่ดี อ้าว! สิ่งที่ไม่ดีเราจะมองเห็นว่าเป็นโทษ โอ้ ! พฤติกรรมนี้ไม่ดี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นี้ไม่ดีเป็นโทษเราก็รู้ชัดแล้วเราก็ตัดไปด้วยใจที่เป็นสุขได้ ยินดีที่จะตัดมันไป ได้ไหม…ได้ เพราะเราไม่ได้ติดมัน เราไม่ได้มีสุขใจที่ได้ดั่งใจมาก็ตัดไปได้  ตัดไปได้ด้วยใจที่เป็นสุขเราไม่ได้ทุกข์ใจที่ไม่ได้มันแล้วก็ตัดด้วยใจที่เป็นสุขได้ สิ่งที่เป็นโทษ ส่วนสิ่งที่เป็นประโยชน์เราจะมองเป็นโทษ  ก็คือสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นเราเข้าถึงไม่ได้  ก็พยายาม ที่จะให้ได้ประโยชน์นั้นแล้วไม่ได้เข้าถึงไม่ได้เราก็มองให้เป็นโทษได้ มองว่าอย่างไร? เราก็ตัดด้วยใจที่เป็นสุขเลย มันไม่เป็นประโยชน์ ขี้โกง มันไม่ใช่กุศลของเรา หรือคนที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับ ณ เวลานั้น เราไปอยากได้ตอนนั้นกุศลขี้โกง  กุศลไม่ยุติธรรม กุศลขโมยขี้ขโมย  มันดีก็จริงแต่ต้องไปขโมยเอาไป ขี้โกงเอาเหรอไม่ยุติธรรม ไม่ถูกต้องเราก็เห็น เออ! ไม่เอาแบบนี้ดีแค่ไหนก็ขี้โกงไม่เอาใช่ไหมก็ตัดไปได้ด้วยใจที่เป็นสุขอย่างนี้เป็นต้น หรือเราจะเห็นว่าจะวางเฉยในอะไรก็ได้  ไม่ว่าใน สิ่งดีหรือไม่ดี 

พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้นเราจะวางเฉย ในอะไรก็ได้ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีเราก็วางเฉยได้   คือสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะเข้าไปจัดการอะไรได้  เข้าไปจัดการให้เป็นประโยชน์อะไรได้  เข้าไปทำอะไรได้  เรื่องไหนก็ช่างมันจะดีหรือไม่ดีก็ตาม เข้าไปจัดการอะไรไม่ได้เราก็สามารถที่จะยินดีวางเฉยกับมันไม่ได้ไปสุข ไปทุกข์ ไปชอบ ไปชัง ไม่ต้องไปคิดอะไรกับมัน ไม่ต้องไปปรุงอะไร  ช่างมัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ช่างหัวมัน  ปล่อยไปตาม ยถากรรม  วางเฉย อะไรจะเกิด จะดับก็แล้วแต่ไม่ไปเกี่ยวข้องก็ได้ ก็ทำด้วยความยินดี เต็มใจพอใจ สุขใจ สบายใจ เพราะเราได้สุขที่ไม่อยากได้อะไรแล้ว สุขที่ไม่ได้ดั่งใจแล้วมันก็ได้หมด สุขใจไม่ได้ดั่งใจทำได้หมด

พระพุทธเจ้าอธิบายลึกซึ้งลงไปอีกในอินทริยภาวนาสูตรท่านอธิบายลึกลงไปอีก อธิบายว่าอย่างไร ท่านอธิบายว่าบางอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ด้วยกัน เราจะเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ได้จะเห็นว่าเป็นโทษก็ได้หรือเฉย ๆ กับมันก็ได้ ได้อีก ไม่ใช่แยกว่าอันนี้เป็นประโยชน์ เป็นโทษ อย่างเดียว  บางอันมันปนกัน  ยังทำทั้งสามอันนี้ได้อีกเหมือนเดิม ลึกซึ้งอยู่อย่างนั้น   บางอย่างประโยชน์กับโทษอยู่ด้วยกันเป็นอย่างไร   

เราจะมองเห็นว่าเป็นประโยชน์มันจะมีโทษก็จริงนะ แต่ว่าก็มีประโยชน์อยู่นะก็ยังดี  ดีกว่าไม่ได้อะไรถ้ามันต้องรับ  ถ้ามันต้องเอา ถ้ามันคุ้มที่จะต้องเอาก็เอาหรือบางทีคุ้มไม่คุ้มด้วยซ้ำ  มันเป็นทุกข์ตั้งเยอะมันมีทุกข์มีโทษมีความเสียหายอยู่ตั้งเยอะแต่มีข้อดีอยู่นิดหน่อย ก็ยังมองเอาประโยชน์ได้ดีกว่าไม่ได้อะไร เสียหายตั้งเยอะจะได้ดีมานิดหนึ่งก็ดีกว่าไม่ได้อะไร  คือ ชีวิตพอไม่เอาอะไรก็มีความสุขได้หมด 

เอาประโยชน์ได้หมดหรือแม้แต่เป็นโทษได้หมดเลย  ก็เอาประโยชน์ได้เป็นวิบากร้ายรับเท่าไร หมดเท่านั้น  ก็ขนาดร้ายยิ่งกว่านั้นก็ยังเป็นสุขได้ รับเท่าไรหมดเท่านั้น นับประสาอะไรเอาประโยชน์บ้างบางอันก็ดีกว่าไม่ได้อะไร ในส่วนร้ายก็รับเท่าไร หมดเท่านั้นในส่วนดี ก็ดีกว่าไม่ได้อะไร เห็นไหม? ก็อารมณ์ดีได้หมด เพราะสุดท้ายก็ไม่มีอะไรเป็นของใครได้ อันนี้ก็เอามาใช้ได้ อันนี้ก็ดีกว่าไม่ได้  ถ้าไม่ได้เลยก็ดี ดีเหมือนกันดีที่ได้หมดวิบาก เห็นไหม? ว่ามันได้หมดเลยทั้งสิ่งดีและไม่ดีทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นโทษมาคู่กัน แต่เราจะเห็นว่ามันเป็นโทษมันมีดีก็จริงแต่มันก็เป็นโทษไม่คุ้ม  ก็ตัดไปได้ใช่ไหม  ไม่ได้ไปเสียดาย 

โทษถ้าไม่ได้ไปเสียดายดีนั้นมันก็มีทั้งดีและไม่ดีแต่เราก็วางเฉย ปล่อยวางไป ดีไม่ดีเราไปควบคุมอะไรไม่ได้ช่างหัวมัน มันจะดีไม่ดีแค่ไหนช่างหัวมัน เราไปควบคุมอะไรไม่ได้ ก็วางเฉยด้วยความยินดี เห็นไหม ได้หมดเลย  ของพระพุทธเจ้าละเอียด นี่แหละของแถมทั้งหลาย  ของแถมเมื่อเราสามารถสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้  ให้ไปเขียนก็แล้วกันว่าของแถมกี่ข้อเก็บรายละเอียดได้ทั้งนั้นนะของแถมถ้าเราทำอันนี้ได้ โอ้โห ! สุดยอด แห่งความสุขสบายใจไร้กังวลสุดยอดแห่งประโยชน์ ก็จะไปสภาพ   

ทีนี้อาจารย์จะอธิบายเรื่องกาย กายัสสะ อธิบายให้เข้าใจตรงนี้  ตอนคนเรามีเรื่องร้ายต่าง ๆ เอากายแค่สองอย่างก็ได้ที่จริงกายมันมีทั้งเหตุการณ์ดีร้ายก็เป็นกาย มีเหตุการณ์มีสภาพในร่างกายเหตุการณ์ รูป รส  กลิ่น เสียง สัมผัส สภาพในร่างกาย  อาการสบายไม่สบายกาย   สบายไม่สบายร่างกายแม้แต่ความคิดในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ในเรื่องนั้น เรื่องนี้ จริง ๆ อันนี้ก็คือกายนอก  ที่มากระทบจิตของเราเรียกว่ากายใน มากระทบจิตของเราแล้วเกิดอาการสุขใจ ชอบใจ ทุกข์ใจ ไม่ชอบใจในสิ่งใด ก็ตาม อันนี้เรียกว่ากายในเป็นกายกาลิก  กาย  กิเลสกระแทกขึ้นมาแล้วจะมีกาย กายกาลิก  กายกิเลสขึ้นมามีกายตัวนี้ขึ้นมา กายกาลิก  กาย กิเลส นิรมาณกาย  กายที่เนรมิตขึ้นมาเนรมิตเป็นกายของกิเลสเป็นจิตที่มันเนรมิตขึ้นมาแล้ว (นิรมาณแปลว่าเนรมิตร)  นิรมาณกาย เนรมิตรขึ้นมา ว่าเป็นกายของเราตัวเราของเรา มันเนรมิตเก่งมาก  กายตัวนี้มันจะเนรมิตครอบงำว่าทั้งกายนอก  ไล่มาจากเหุตการณ์ข้างนอก มาจนถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มาจนถึงร่างกาย อาการสบายไม่สบายในกาย หรือการคิดในอดีตปัจจุบันอนาคตหรืออะไรก็แล้วแต่  ทั้งหมดนี้ ที่มากระทบกับจิตวิญญาณกระทบในชีวิตของเรา ว่าเป็นตัวเราของเรามันจะรู้สึกว่าเป็นตัวเราของเราเลยนะกระทบมาปุ๊บรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์

รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ สุขใจชอบใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจนี่ มันจะรู้สึกเลยว่า โอ้โห ! อันนี้สุขใจชอบใจ อันนี้ทุกข์ใจไม่ชอบใจ รู้เป็นตัวเราของเราเลย เราสุขเราทุกข์ เราชอบเราชัง มันจะเป็นตัวเราของเราเลยนะ ตัวเราของเราแล้วมันจะไปให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ กับร่างกายเป็นหลัก มันจะให้น้ำหนักกับทางเหตุการณ์ทางร่างกายนี่เป็นหลักเลย ถ้าเหตุการณ์ย่ำแย่ ร่างกายย่ำแย่ ก็จะทุกข์แรง ถ้าเหตุการณ์ดี ร่างกายดีมันก็จะสุข โอ้โห ! ใจมันก็จะสุข แต่มันไปให้น้ำหนัก กับเหตุการณ์กับร่างกายเป็นหลัก ให้น้ำหนักกับกายนอกเป็นหลัก ไม่ได้ให้น้ำหนักกับใจ ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตวิญญาณเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง จิตเป็นใหญ่ จิตประเสริฐที่สุด 

ทุกสิ่งสำเร็จด้วยจิตวิญญาณ สำเร็จด้วยใจ จิตมีน้ำหนักมากที่สุดเลยแต่กาย 

กายกาลิก กายกิเลสนี่ แท้ที่จริงมันคือจิตนะ แต่จิตของกิเลส แต่มันหลอกบอกว่าเป็นกาย จิตของกิเลสมันแปลงกายออกมา กายนี่มันแปลงกาย ปรากฏกายออกมา ปรากฏกายออกมาแล้ว ครอบงำว่ามันคือร่างกาย คือเหตุการณ์ คือร่างกาย คือด้านวัตถุที่มากระทบนี่แหละ มีฤทธิ์มากที่สุด มันจะรู้สึกอย่างนั้น ทำให้เรารู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ซึ่งมันแยกกันไม่ออกเลยว่าสุข ทุกข์ทางกายหรือทางใจ มันปนกันเละเลย สุขทุกข์ทางเหตุการณ์ ร่างกาย หรือจิตใจ กิเลสมันจะปนกันเละเลย ไม่ให้รู้ว่าอะไรมีน้ำหนักมาก ทั้ง ๆ ที่จิตวิญญาณมีน้ำหนัก โอ้โห ! เท่ากับดินทั้งแผ่นดินเลย ร่างกาย เหตุการณ์เท่ากับฝุ่นปลายเล็บเลย ในความรู้สึกน่ะ 

ในสภาพที่มันเป็น แต่มันจะหลอกเราว่า ร่างกายกับเหตุการณ์ มีน้ำหนักมากที่สุดเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน ส่วนจิตใจมีน้ำหนักเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ อย่างนี้เป็นต้น เวลาครอบงำ 

มันจะรู้สึกว่านี่ตัวเราของเรา เช่น เวลาเราเจ็บป่วย อธิบายเจ็บป่วยก่อน เวลายิ่งเจ็บป่วยมาก ๆ มีโรคร้ายมาก ๆ เวลาเจ็บป่วยเป็นไงมันจะรู้สึกว่าทุกข์ไหมกับความเจ็บป่วย… ทุกข์  เราจะรู้สึกทุกข์เพราะความเจ็บป่วย ใช่ไหม เพราะป่วยนี่แหละจึงได้ทุกข์อย่างนี้ ๆ ใช่ไหม แล้วเขาแยกไม่ออกหรอก ทั้งใจทั้งกายมันปนกันเละเลยใช่ไหม รู้สึกเหมือนกับกายนะ กายที่เจ็บป่วยนี่แหละ ทำให้ทุกข์มาก ใช่ไหม เขาจะรู้สึกว่ากายที่เจ็บป่วยนี่แหละทำให้ทุกข์มาก หรือพอเกิดเรื่องร้ายอันนี้แหละ เหตุการณ์ร้ายนี้แหละจึงได้ทุกข์มาก 

อย่างอาจารย์ ตัวอย่างเรื่องร้ายยิ่งชัดเลย อาจารย์ยกตัวอย่างอันนี้ก่อนแล้วจะเล่าให้ฟังให้ชัดขึ้น เล่าให้ฟังมาหลายวันแล้วล่ะ แต่ซ้ำอีกทีว่า กิเลสมันเก่งขนาดไหน กายกาลิก นี่มันนิรมาณกาย โอ้โห ! มันเนรมิตให้จิตวิญญาณมีน้ำหนักน้อย ให้กายนอกมีน้ำหนักมาก มันรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเลย เช่น ญาติที่เรารักเสียชีวิต รักที่สุดเลยแหละเสียชีวิต หรือสิ่งที่เรารักที่สุดสูญหายไป การงานก็ตาม วัตถุก็ตามมันพังพินาศไป เสร็จแล้วเป็นอย่างไร เราไม่รู้ ๆ 

เราทุกข์อะไรไหม ๆ ไม่ทุกข์อะไรนะ แต่พอเรารู้ปุ๊บ ! เป็นอย่างไร ทุกข์แรงไหม…แรงมากเลย ทุกข์แรงมากเลย แล้วมันรู้สึกทุกข์เพราะอะไร มันคิดว่าทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะเหตุการณ์นั้นน่ะ เหตุการณ์ร้ายนั้นเป็นตัวเราของเราใช่ไหม เขารู้สึก โห ! เราต้องเผชิญเหตุการณ์ร้ายอันนี้ ใช่ไหม โอ๊ย ! นี่ทุกข์ เพราะตัวเราของเรา ทุกข์เพราะเหตุการณ์ร้าย ทุกข์แรงมาก เพราะเหตุการณ์ร้าย แต่แท้ที่จริงทุกข์แรงมากเพราะเหตุการณ์ร้าย หรือจากใจเขาสร้างทุกข์ เพราะใจที่สร้างทุกข์อย่างแรง ใช่ไหม แต่เขาจะรู้สึกว่า ทุกข์มากเพราะเหตุการณ์ร้าย นี่มันแยกไม่ถูกเลย 

ถ้ามีกิเลสมันจะแยกไม่ถูก มันจะรู้สึกทุกข์เพราะเหตุการณ์ร้าย แต่ถ้าคนล้างกิเลสได้เป็นไง ถ้าล้างกิเลสได้จริงนะ ไม่มีความสุขใจที่ได้ดั่งใจนะ สลายได้เลย สุขใจที่ได้ดั่งใจก็ไม่มีจริงหรอก รับเท่าไหร่ก็หมดเท่านั้น เกิดขึ้นสุขแป๊บเดียวก็หมดไป สุขใจที่ได้ดั่งใจไม่มีจริง เราไม่ต้องไปสร้างทุกข์ใจ เพื่อไปได้สุขที่ไม่มีหรอก ถ้ามันไม่มีจริงมันก็ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ 

เราไม่ได้ไปอยากได้ดั่งใจหมาย เราไม่ได้ไปอยากได้ดั่งใจหมายเพราะเรารู้แล้ว แม้ได้ดั่งใจหมายก็สุขแว็บเดียวก็หมดไป ไม่มีจริง เราไม่ได้ไปอยากได้ เราก็ไม่มีทุกข์ใจ พอไม่มีทุกข์ใจเป็นอย่างไร ไม่มีทุกข์ใจแล้ว 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มันก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา มันจะเป็นอย่างนั้นเลย ถ้าทำใจได้ก็รู้ อ๋อ! ก็เกิดดับไป ตามวิบากของแต่ละชีวิต วิบากเราด้วยต้องชดใช้อะไรไป วิบากเขาด้วย ก็ว่ากันไป 

รับเท่าไหร่ก็หมดเท่านั้น มันก็เป็นไปตามวิบากของแต่ละชีวิต สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม อย่างนี้เป็นต้น ก็จะรู้แต่ละชีวิตก็เป็นไปตามกรรม เขาก็เป็นไปตามกรรมของเขา เราก็เป็นไปตามกรรมของเรา มันจะรู้ แล้วเราก็ไม่มีทุกข์ใจอะไร เข้าใจความจริงตามความเป็นจริง แล้วสบายใจ ไร้กังวล ไม่ได้มีอะไร เข้าใจความจริง ก็ทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ ทำหน้าที่ไป มีหน้าที่ดี ๆ อะไรก็ทำไป ไม่ได้มีความทุกข์ใจอะไร เหตุการณ์มันทำให้เราทุกข์ใจไม่ได้ นี่เขาเรียกว่าแยกกายแยกจิต แยกกายแยกจิตออกจากกัน เราแปรสภาพกายของมาร เราสลายกายของมารให้เป็น สลายกายของมารเลยกลายเป็นจิตของพุทธะ ที่รู้ความจริงตามความเป็นจริง 

นิรมาณกายของมาร กายกาลิก กายกิเลส นิรมานกายของมารก็สลายไป สลายไปกลายเป็นจิตของพุทธะ นี่แหละเราก็แยกกายแยกจิตได้ เราแยกกายแยกจิตได้ว่าอันนี้ก็ส่วนของกายนอก แล้วจิตแท้ ๆ มันเป็นอย่างนี้นะ ส่วนกายในที่มันหลอกเรานี่ นิรมานกายนี่มันหลอกว่า โอ้โห ! ด้านนอกน่ะสำคัญมากจริง ๆ แล้วที่รู้สึกทุกข์มาก ๆ ด้านนอกไม่ได้ทุกข์มาก ๆ ที่ทุกข์มาก ๆ คือใจ ถ้าด้านนอกมันทุกข์มาก ก็ต้องทุกข์ตั้งแต่ยังไม่รับรู้ เช่น ลูกตายก็ทุกข์มากเลยนะ นึกว่าเป็นเพราะข้างนอก พอบอกลูกจะตายแล้วทุกข์มากเลย นึกว่าเป็นเพราะข้างนอก เพราะข้างนอกจึงทำให้เรา โอ้โห ! รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ขนาดนี้ ใช่ไหม เขาจะไม่รู้ว่าเป็นเพราะข้างใน ก็มันข้างนอกมันทำให้รู้สึก โห ! พอลูกเสียชีวิต ญาติเสียชีวิต โอ๊ย ! ทุกข์มากเลย นึกว่าญาติเสียชีวิต ทุกข์มากเลย เอ้า ! พอมารู้อีกทีไม่ได้เสียชีวิต เป็นอย่างไร โอ๊ย ! สุขมากเลย ก็เลยเข้าใจว่าเป็นเพราะข้างนอก ใช่ไหม 

กิเลสมันเก่งไหม เก่งนะ มันหลอกเราน่ะ ปื้ดเลยนะ หรือนึกว่า โอ้โห ! สิ่งที่เรารักพังพินาศไปหมดแล้ว การงานหรือข้าวของอะไรก็แล้วแต่ เกิดทุกข์อย่างหนักเลย พอรู้ว่าไม่เป็นอะไร โอ้ ! สุขอย่างมากเลยใช่ไหม ก็นึกว่าเป็นเพราะข้างนอก เพราะข้างนอกมันเป็นเหตุมากระทบ แล้วให้เกิดความรู้สึกขึ้น มันรู้สึกในใจขึ้น ก็นึกว่าข้างนอกนี่แหละคือตัวทำให้เกิดความรู้สึกสุขทุกข์อย่างแรงในใจ เมื่อสุขทุกข์อย่างแรงในใจขึ้นก็หลงคิดว่าเป็นเพราะข้างนอก แล้วมันก็รวมกันหมดเลยเพราะของเรา ของเราพินาศ ของเรายังอยู่ ของเราพินาศ ก็ตัวเราของเราใช่ไหม มันเป็นกายที่ โห ! เป็นตัวตนเลย ยึดเป็นตัวเราของเราเลย แม้แต่ร่างกายนี่ก็ยิ่งชัดใช่ไหม พอตัวเองแข็งแรง ๆ ไม่ป่วยอะไรไม่มีอาการอะไรเลยเป็นอย่างไร หรือมีอาการเล็กน้อย 

ยังแข็งแรงดี ไม่รู้ว่าเป็นโรคร้าย พอไปตรวจ หมอรู้แล้วว่าเป็นโรคร้าย แต่หมอยังไม่บอก ก็ยังไม่เป็นไร พอหมอบอก ปุ๊บ! เป็นอย่างไร โอ้โห ! ทุกข์อย่างแรงเลยใช่ไหม ทุกข์อย่างแรงทรุดอย่างแรงตายอย่างเร็วอย่างนี้เป็นต้น ก็มันชัดเจนจริง ๆ มันเกิดจากจิต แล้วถ้าหมอบอกว่าผมตรวจผิด โห ! บอกโทษที ตรวจผิด ไม่เป็นอะไรเลยแข็งแรงดีจะเป็นอย่างไร หายเลย ใช่ไหม ก็มันเข้าใจ โอ้โห! มันเป็นเพราะร่างกายนี่แหละที่ทำให้เรารู้สึกสุขมากทุกข์มาก มันเกิดจากร่างกายนี่แหละ ก็ให้เข้าใจอันนี้ ยิ่งบางทีผลแล็บ แหมนะ! บางคนร่างกายมาดี ๆ ๆ ๆ พอผลแล็บแย่ โอ๊ย ! ตายแล้วฉัน พอหมอบอกผลแล็บผิด ผลแล็บดีมาก เฮ้อ ! หาย นี่ว่าเป็นเพราะผลแล็บ 

ใช่ไหม ผลแล็บมากระทบแล้วมันทำให้เกิดสุขทุกข์ในใจ แล้วความรู้สึกสุขทุกข์ในใจก็ยังรู้สึกว่า สุขมาก ทุกข์มากนี่มันเกิดจากสิ่งที่มากระทบนี่แหละ 

นี่แหละนิรมาณกายมันหลอก นิรมาณกายก็คือ จิตของกิเลสนี่แหละ มันแปลงกายมาเหมือนร่างกาย รูปเป็นร่างที่ครอบงำว่าวัตถุนอกนั่นแหละ เหตุการณ์ร่างกายนี่แหละที่มีผลมากที่สุด  คนก็เลยพยายามไปแก้ร่างกายกับเหตุการณ์เป็นหลัก ไม่ได้มาแก้ที่ใจเป็นหลัก เพราะว่าเขาไม่มีปัญญา  ไม่รู้ว่าเราจะแก้ยังไง แล้วแม้รู้ว่าเออ ! จริง ๆ น้ำหนักนี่ จิตใจนี่น้ำหนักเยอะนะ หรือรู้ก็ไม่ได้รู้ด้วยสภาวะหรอก รู้ด้วยท่องด้วยเหตุผลประมาณหนึ่งพอได้ ที่อาจารย์ยกตัวอย่างนี้ก็พอได้ พอได้อยู่เหตุผลพอได้  แต่ว่ามันก็ยังไม่ชัดไม่แจ้งหรอก เพราะกิเลสมันมีจริง 

กายกาลิก กายกิเลสนี้มีจริงเราไม่สามารถแยกออกไปจากจิตของเราได้ เราไม่สามารถแยกกายของกิเลสออกไปจากจิตของเราได้ แยกแล้วก็สลายไปเลย  ทำไม่ได้  ถ้าเราสามารถแยกกายกาลิก หรือนิรมาณกายของกิเลสออกไปจากจิตของเราได้นะ แยกออกไปเลยสลายออกไปเลย เราจะเห็นความจริงตามความเป็นจริงเลยว่า น้ำหนักของจิตกับน้ำหนักของกายของจริงที่มากระทบนี่ มันมีน้ำหนักแค่ไหน มันต้องแยกเพราะอะไร เพราะทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น มันจะหายไปได้ แยกได้เพราะทุกข์ที่เกิดขึ้นนี่ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเวลามีโรคหรือมีเรื่องร้าย มันมีทั้งทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายปนกันใช่ไหม มันปนกันเละหมดเลยใช่ไหม 

อย่างมีเรื่องร้ายก็มีเรื่องร้ายกับทุกข์ใจ ปนกันอยู่ใช่ไหม ร่างกายก็มีร่างกายกับเรื่องร้ายปนกันอยู่ใช่ไหม มันปนกันเละเลย มันไม่รู้เลยว่าน้ำหนักอะไรอยู่ที่ตรงไหน จะรู้ได้จะรู้ได้ยังไง วิธีรู้เป็นนักวิทยาศาสตร์จะรู้ได้อย่างไร “ดับทุกข์ใจนั้นให้ได้” คุณดับทุกข์ใจให้ได้ ดับทุกข์ใจได้ปุ๊บนี่จะรู้เลยว่า ทุกข์ใจที่หายไปเท่าไร แล้วทุกข์ที่เหลือนี่เท่าไร  พระพุทธเจ้ารู้วิธีพิสูจน์ ดับทุกข์ใจก็คือดับกายของมาร ทุกข์ใจคือกายของมารนิรมาณกาย มันปรากฏกายขึ้นมาปรากฏอาการขึ้นมาแล้วก็ครอบงำ โอ้ ! ลึกซึ้ง ครอบงำให้รู้สึกว่า โอ้ ! เป็นตัวเราของเรากายนี้ของเรา เหตุการณ์นี้ของเรา มันมีจิตที่เชื่อมโยงเข้าไป  กายนี้ก็มันจิตที่เชื่อมโยงไปกับเหตุการณ์แล้วกับตัวเราของเรา จึงเรียกว่ากายัสสะ มีในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๒๓๐  กายัสสะคืออันนี้ อะไรก็ตามที่จิตของกิเลสนี่มันเกี่ยวข้องเป็นตัวเราของเรา มีฤทธิ์เป็นตัวเราของเรา ที่มันรู้สึกเป็นตัวเราของเรานะ กายของเราเข้าใจไหม มันรู้สึกเป็นตัวเราของเรานี่กายัสสะของเรา หาวิญญาณของมัน  ชีวิตของมารวิญญาณของมารที่มันไปยึดเอา มันแผ่จิตของมันไปยึดเอาเหตุการณ์ร่างกายเป็นตัวเราของเราไปหมด สุขก็ตามนี้ทุกข์ก็ตามนี้ ถ้าสุขก็สุขไปด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ไปด้วยกัน มันไม่สามารถแยกสลายออกไปได้ สุขก็ไม่ใช่ว่าจะสุขไปตลอด มันก็ยังกลัวสุขจะหมดไปอีก ได้กลัวจะหมดไปเลย ยังมีความกลัวสยองนี่แหละมาร  ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร กายของมาร นี่ โอ๋ ! 

สุด ๆ  มันหลายมิติ ที่นี้พอเรากำจัดทุกข์ใจได้ เราจะพบเลย โอ้โห ! อาจารย์ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร กำจัดทุกข์ใจนี่ เยอะเลยนะ ถ้าเรากำจัดทุกข์ใจได้และเราไม่กลัว ไม่กังวล ไม่หวั่นไหวแล้ว กำจัดทุกข์ใจได้ไม่ต้องไปอยากได้แล้ว เราไม่อยากได้แล้วสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เราแก้ไขร่างกายเต็มที่ สมมุติเราป่วย เราแก้ไขร่างกายเต็มที่แล้วก็ยังไม่หายนะ ก็ยังเป็นอยู่ยังทุกข์อยู่นี่ ทุกข์กายทุกข์ใจก็ยังปนกันอยู่ แต่เราก็พยายามแก้เต็มที่แล้วนะ ยังเป็นอยู่นี่ แล้วเราก็ไม่อยากได้ดั่งใจก็ได้ ถ้ามันหายจะสุขใจชอบใจ ใช่ไหม ถ้าไม่หายก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจ แต่แม้มันไม่หายนี่เราก็รู้ว่าเราก็ไม่ต้องไปอยากหายน่ะ เพราะว่าอะไร นี่แค่เราหายได้ดั่งใจ มันก็สุขแว็บเดียวหมดไป มันไม่มีจริง แต่มันทำให้เราทุกข์ใจอยู่นี่ เราทุกข์ใจไปอยากได้สุขที่ไม่มีคือ นั่นน่ะสุขใจที่มันหายนะมันไม่มี คนก็ไปอยากได้สุขที่ไม่มี ก็เลิกอยากได้มันก็ไม่มีทุกข์ใจ ยิ่งไม่มีทุกข์ใจแล้ว ยิ่งเรารู้เรื่องกรรมแจ่มแจ้งว่า เอ้ย ! วิบากมันรับมันก็ต้องรับ รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ใช่ไหม  กล้ารับกล้าให้หมดไป ยินดีรับยินดีให้หมดไป รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น มันก็ไม่มีความกลัวไม่มีความยินร้ายใช่ไหม มันไม่มีความทุกข์ใด ๆ ใจก็เป็นสุขเลย โอ้! สุขใจเลย พอสุขใจปุ๊บ !  ทุกข์ใจดับไปหมดเลย สุขใจขึ้นมาปุ๊บ ! หลายครั้งเลยใช่ไหม โรคหายฉับพลันเลย ปุ๊บเลย หายไปหมดเลยก็มีเหลือนิดหน่อยก็มีใช่ไหม 

ที่พระพุทธเจ้าตรัสในอาพาธสูตร โรคหายฉับพลัน  ในคิลานสูตร โรคหายฉับพลัน 

ก็เพราะอย่างนี้แหละท่านก็ตรัสให้คลายสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจออกไป มันจะหมดทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็ใช้ปัญญาไม่เบียดเบียนตัวเองเอาประโยชน์ให้ได้ ใช้ปัญญาเอาประโยชน์ให้ได้ เท่านั้นแหละนะ มันก็หายทุกข์ฉับพลันที่เกิดปาฏิหาริย์เยอะแยะไปหมดเลย เพราะว่าทุกข์เราก็จะเห็นเลยที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าทุกข์ใจแรงเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน ทุกข์กายเรื่องร้ายแรงเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ เมื่อเทียบก็จะเห็นเลย ดับทุกข์ใจได้ เรื่องร้ายกับทุกข์กายก็จะเบาไปเลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นที่ปนกันเละอยู่นี่มันถูกแยกกันเด็ดขาดเลยนะ ถ้าเราแยกกาย (กายนอก) คืออาการทางด้านร่างกายหรือทางด้านเหตุการณ์ กายนอกนี้เป็นอันหนึ่ง ส่วนกายในที่เป็นกิเลส (กายกาลิก) หรือนิรมาณกายนี่เราสามารถสลายไปได้เลย เปรี้ยง ! สลายตัวนี้ไป  พอสลายตัวนี้ไปปุ๊บ !  โอ้โห ! ทุกข์หายไปตั้งเยอะแน่ะ กลายเป็นจิตวิญญาณของพุทธะ สุขสบายใจไร้กังวล ไม่มีทุกข์อะไรเลย เป็นสุขที่ไม่มีทุกข์อะไรเลยเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง สุขสบายใจไร้กังวลเลยใช่ไหม ทุกข์หายไปนี่แยกกายแยกจิต 

อันนี้แยกกายของกิเลสออกจากจิตของเรา เข้าใจไหม กายกาลิก นิรมาณกายนี่ ที่เนรมิตกายขึ้นมาปรากฏกายขึ้นมา คืออาการของกิเลสนั่นแหละ มันหลอกมันปรากฏกายขึ้นมาเราสลายกายของกิเลสนี้ได้ กายของกิเลสก็คือจิตนั่นแหละ จิตของกิเลสนั่นแหละ  เราสลายได้ก็เป็นจิตของพุทธะ ใช่ไหม เอามาเป็นพลังของพุทธะเลย ซึ่งกายของกิเลสนี่มันก็ 

  1. มันปรากฏกายขึ้นมาปรากฏอาการขึ้นมาให้เห็นให้รับรู้ นั่นละที่เรียกว่ากาย 
  2. มันหลอกว่ากายข้างนอกน่ะสิ่งที่มากระทบข้างนอกนี่มันเป็นทุกข์ เป็นตัวเราของเรามีฤทธิ์เดชมาก มีน้ำหนักมากที่สุดที่ทำให้เราทุกข์ มันเป็นน้ำหนักไปดึงให้เราไปยึดมั่นถือมั่นตรงนี้ ไปเอาสิ่งที่เป็นข้างนอกมาเป็นเป็นหลักเป็นน้ำหนักมากที่สุด พอมันยึดมันครอบงำจิตเราแล้ว มันไปเอาจิตของเราเป็นตัวมันแล้วก็ไปสัมพันธ์กับเหตุการณ์ร่างกาย ไปสัมพันธ์แบบยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเราของเราเลย แน่นเลย เราสุขเราทุกข์เลย ใช่ไหมล่ะ นี่กายนี่ร่างของเรา นี่เราป่วยนี่เราหายป่วย นี่เราเจอเรื่องร้าย เราเจอเรื่องดี เราได้เรื่องร้ายเราได้เรื่องดี โอ้ ! มันเป็นเหมือนตัวเราของเราเลยนะ  

อาจารย์จะอธิบาย ยกตัวอย่างเช่น บ้านของเรา ของเรา ๆ ๆ โอ้โห ! บ้านบิ่นหน่อยหนึ่งเหมือนใจบิ่นตามเลย ทั้ง ๆ ที่อยู่นอกตัวเลยนะ เข้าใจไหม มันยึดเป็นตัวเดียวกันเลยนะ บ้านบิ่นแต่ใจบิ่นไปด้วยเลย ใช่ไหมล่ะ โอ้ ! บ้านถล่มนี่ใจถล่มเลยนะ นั่นแหละ มันไปด้วยกันเลยนะบ้านเสียหายใจก็เสียหายไปเลย มันเป็นเรื่องเดียวกันทั้ง ๆ ที่บ้านก็คือบ้านใจก็คือใจอยู่คนละอันกันเลยใช่ไหม พอเข้าใจไหมนี่ เฮ้อ ! มันคนละอันเลย แต่มันก็ของเรา ถ้าอันหนึ่งเสียหาย 

ใจก็เสียไปด้วย ถ้าอันหนึ่งดีใจก็ดีไปด้วย  จะบ้าเหรอ!  มันคนละอัน มันคนละอันน่ะ เออ ! ญาติเราดีเราก็ดีไปด้วย ญาติเราแย่ เราก็แย่ไปด้วย ใจมันก็แย่ไปด้วยกัน มันคนละอันแต่มันแยกไม่ได้ แต่มันแยกออกจากกันไม่ได้ แยกกายแยกจิตไม่ได้ มันแยกจิตออกจากกายนอกนี้ก็ไม่ได้ เพราะมันไม่สามารถแยกจิตออกจากกายใน กายในคือกายของกิเลสนี่ กายกาลิกนี่ ถ้าไม่สามารถแยกจิตแท้ ๆ ออกจากกายใน กายในคือกายกาลิก นิรมาณกาย กายก็คือกิเลสนี่ 

ถ้าเราไม่สามารถสลายมันให้เปลี่ยนเป็นพุทธะ แยกออกหรือสลายไปเลย แยกไปเลยเปลี่ยนเป็นพุทธะเลย ตัวแยกอันนี้ได้ปุ๊บ โอ้ ! มันจะมี 2 เรื่องเลย โอ้! ทุกข์ดับไปตั้งเยอะแน่ะ ความทุกข์ที่เหลือทั้งด้านร่างกายและเหตุการณ์นั้นนิดเดียว บางทีหายไปเลยไม่มีทุกข์อะไรเลย

ร่างกายเหตุการณ์ก็เป็นร่างกาย เหตุการณ์ก็มีความรู้สึกทุกข์นิดเดียว ร่างกายก็รู้สึกทุกข์น้อยลงเยอะเลย บางทีหายไปเลย เหตุการณ์ก็ยิ่งแยกขาดเลย เหตุการณ์ก็คือเหตุการณ์ เลยขาดไปเลยเหตุการณ์นี้ ยิ่งขาดกันเด็ดขาดเลย มันแยกกันได้เลย มันเป็น 2 มิตินะ จิตก็คือจิตนะ จิตเราสุขสบายใจไร้กังวล และรู้ว่าควรทำ ไม่ควรทำอะไร ส่วนเหตุการณ์ก็เป็นเหตุการณ์แก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ไม่แก้ ก็เข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง เกิดดับไปตามวิบากตามเหตุปัจจัย 

ร่างกายก็เหมือนกันอันเดียวกัน แก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ไม่แก้ เพราะสุดท้ายก็เกิดดับไป มันจะไม่ยึดเป็นตัวเราของเรา มันแยกได้ สิ่งเหล่านั้นจึงมากระทบความรู้สึก สร้างสุขทุกข์ในใจนี่ไม่ได้ มันกระทบแล้วสร้างความรู้สึกสุขให้เราฟูตาม หรือทุกข์ตามไม่ได้ มีแต่ความสุขสบายใจไร้กังวลอย่างเดียว นั่นแหละ เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่องด้วย มันเป็นอย่างนั้นไป แล้วมันก็ตัดขาดกันได้เลย มันตัดขาดได้แล้วก็รู้น้ำหนักได้ด้วยว่ามีน้ำหนักเท่าไร จะรู้เลยว่า โห ! น้ำหนักของจิตที่กิเลสครอบงำน่ะ เอาไปทุกข์หมดเลย เอาไปเป็นกายของกิเลสหมด จิตเอาไปเป็นกายกาลิกหมดเลย กิเลสมันสิง ปุ๊บ !นี่นะ กิเลสมันเข้าครอบงำปุ๊บ ! นี่ จิตของเราทั้งหมดนี่นะถูกกิเลสครอบงำ เป็นตัวมันของมันเลยนะ มันเอาจิตเราไปทำงานหมดเลย ไปเป็นตัวมันของมันหมดเลย เราก็ไปตามมัน เพราะเราไม่เอาพุทธะสู้ใช่ไหม มันเป็นกายของกิเลสเลย กายกาลิก กายกิเลส นิรมาณกาย มันเนรมิตจิตของเราเป็นกายของมันเลย มันก็ไปครอบงำเหตุการณ์ ร่างกาย ข้างนอกเป็นตัวเราของเราหมดเลย อย่างนี้เป็นต้น 

ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร มันมั่วไปหมดเลย เก่งฉิบหายเลย อาจารย์เลยอธิบายยาก ที่เราเห็นเป็นตัวเดียวกัน แล้วน้ำหนักมากที่สุดไม่ใช่จิต ใช่ไหม เป็นร่างกาย เป็นเหตุการณ์ใช่ไหม ครอบงำ 2 อย่าง มันครอบงำว่าทุกอย่างคือตัวของเราของเราหมด มันก็ทั้งนั้นแหละ ก็เจ็บไปหมด คือไม่ว่าเหตุการณ์ ไม่ว่าร่างกายถ้าแย่ ใจมันก็แย่ไปด้วยเลย โห ! เป็นหนึ่งเดียวกันเลย เวลาดีก็ เฮ้ย ! ดีไปด้วยกัน เฮ้ย ! ชื่นใจ แต่ชื่นใจก็ยังมีกลัวกังวลอีกนะ กลัวจะหมดไปอีก สภาพดี ๆ กลัวจะหมดไปอีก อย่างนี้เป็นต้น 

มันก็ทุกข์เข้าไปอีก ยังไม่ได้ก็กลัวจะไม่ได้มา ได้มากลัวจะหมดไปอีก สภาพร้าย ๆ ก็กลัวจะไม่หมดไป หมดไปกลัวจะเข้ามาอีก คือให้น้ำหนักมากเลยกับร่างกาย กับเหตุการณ์น่ะ กิเลสนี่มันจะเป็นตัวให้น้ำหนักกับสิ่งนี้มากเลย ครอบงำเก่ง ครอบงำเป็นตัวเราของเรา เหมือนกันนะ เป็นตัวเราของเราเลย ทั้ง ๆ ที่มันคนละอัน ขาดกันอยู่ ก็ยังยึดเป็นตัวเราของเรา พูดนี่ ถ้าใครไม่มีสภาวะ ก็พูดอะไร ! มันแยกไม่ได้ สลายกิเลสไม่ได้ แยกกายแยกจิตอย่างนี้ไม่ได้นี่ ไม่รู้เรื่องเลยที่อาจารย์พูด ไม่รู้เรื่องเลย คนที่ไม่มีสภาวะ ไม่ได้ปฏิบัติตามเมาหมัดเลย ไม่รู้เรื่องเลย พูดอะไร ! พูดอะไร ! พูดอะไร ! 

อตักกาวจรา คาดคะเนเดาไม่ได้เลย เดาไม่ถูกเลยนะ เอ๊ะ ! ที่พูดนี่คืออะไร อะไรนะ เดาไม่ถูกเลย คนมีสภาวะฟังอาจารย์ ปุ๊บ ! โห ! รู้เรื่องเลย ใช่เลย ๆ เออ ! มันตัวเราของเรา จริง ๆ แต่ก่อน โห ! มันยึดเป็นตัวเราของเรา เหมือนกันเลย พอแยกได้ อ้าว ! มันคนละอันนี่หว่า แยกได้ปุ๊บ ! นี่มันคนละอันเลยนะ เปลี่ยนกายกิเลสกลายเป็นจิตพุทธะเลย สลายกายกิเลส ด้วยพิจารณาไตรลักษณ์ วิปลาส ๔ ของกิเลส สลายไปเปลี่ยนเป็นพุทธะ โอ้โห ! สุขสบายใจไร้กังวลเลย ไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยทีนี้ รู้เลยอันนี้คืออันนี้ แยกกันได้ชัด จัดการอะไรได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ไม่ทำ แยกได้ แล้วก็รู้น้ำหนักด้วยแยกได้แล้วก็รู้น้ำหนักด้วยว่าใจนี่ โห ! มีฤทธิ์มาก ทุกข์มันหายไปเยอะเลย ดับทุกข์ในใจได้น่ะ คือ กายกาลิกของกิเลสก็คือ ใจ พอดับทุกข์จากกิเลสได้ก็ โอ้โห ! หายไปเลย ทุกข์หายไปเยอะเลย 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๒๓๐ ท่านตรัส กายัสสะ คือ จิต มโน วิญญาณ คือมโน คือจิต คือวิญญาณ กายัสสะ นี่ คือจิต คือมโน คือวิญญาณ ที่อาศัย มหาภูตรูป ทั้ง ๔ อยู่มหาภูตทั้ง ๔ ก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อาศัยอยู่ในร่าง กายตัวจริงเสียงจริง คือ นี่แหละ กิเลส กายกาลิก นิรมาณกาย ที่ครอบงำจิตเรา มันเป็นจิตของเรานี่แหละ จิต มโน วิญญาณนี่แหละ แล้วก็อาศัยอยู่ในร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ 

นอกจากอาศัยอยู่ในร่างแล้วเป็นอย่างไร มันยังครอบงำร่างเป็นของเขาด้วย แล้วไม่ใช่อาศัยอยู่ในร่างอย่างเดียวนะ ยังอาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔ ที่อยู่ข้างนอกด้วย เหตุการณ์ต่าง ๆ ข้างนอก ยึดเป็นตัวเราของเราหมดเลย ถ้าอะไรเป็นตัวเราของเรา มันยึดไปหมดเลย โอ้โห ! มันแผ่ไพศาลไปขนาดนั้นนะ มันเป็นตัวเราของเราหมดเลย นี่คือกาย กายัสสะ คืออันนี้ ยึดครองหมดเลย โห ! ทุนนิยมตัวจริง มันนั่นแหละ นั่นทุนนิยมตัวจริงเสียงจริงและ ประเทศกูนะ ประเทศกูใหญ่อย่างเดียวไม่พอ กูจะเอาของมึงมาเป็นของกูอีก ประเทศมึงกูก็จะเอาอีก ประเทศนั้น ประเทศนี้ก็จะเอาอีก กายกาลิกนี่มัน โอ้โห ! มันโหดจริง ๆ มันนิรมาณกาย มันจะเอาโลกทั้งโลกเป็นตัวเหมือนของมัน จักรวาลมันจะเอาเลย เอาขึ้นเครื่องบินไป จะไปเอาดาวอังคาร เป็นตัวมันของมัน เอาดวงจันทร์ เอาดาวอังคารนี่กำลังทำ โห ! ใครจะไปเที่ยวบ้าง อะไรอย่างนี้ มันยึดเป็นตัวจนถึงจักรวาลเลย แล้วมันครอบไปหมดเลยนี่แหละกายล่ะ กายัสสะ นี่แหละ คือกายัสสะ 

จิตของกิเลสที่มันพยายามที่จะยึดเป็นตัวมันของมันน่ะ มันจะยึดเป็นตัวมันของมัน โอ้โห! มันยึดไปหมดน่ะ มันยึดไปถึงไหนนั่นแหละขอบเขตของกาย กายไม่ใช่ร่างนะแต่เป็นขอบเขตของกาย ตัดเล็บหลุดไปแล้วนี่ จริง ๆ แล้วนี่เล็บนะมันไม่ใช่ของเราแล้ว แต่ยังยึดเป็นตัวเราของเรา ใครอย่ามายุ่งนะเล็บของฉัน มันก็ยังเป็นกายของเราอยู่ดีอย่างนั้น ยึดดวงอาทิตย์เป็นตัวเราของเรา มันก็กายอยู่ดี ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงดาวของมันหมดนะ เฮ้อ ! มันก็ยึดไปหมดแหละ พอพวกนั้นมันเปลี่ยนแปลงไป 

ไปรบประเทศนั้นชนะเสร็จแล้วต่อมามันแพ้ขึ้นมาเป็นอย่างไร โห ! ทุกข์ มันเป็นตัวเราของเรา ใครมาเอาไป ใครมาแย่งคืนไป เอาของเราไป ๆ ตอนไปตีของเขาไม่ว่าเขา แหม ! ถ้ายึดได้ก็ดีใจ พอมีใครมาตีคืนได้ มาเอาของเราไป กายมันใหญ่ไหม ๆ ใหญ่มากเลยนะ กายัสสะ นี่ ใหญ่บรมใหญ่เลยนี่นะ กายกิเลสนี่ใหญ่โคตรใหญ่ ทะลุจักรวาลน่ะ เอ้อ ! มันจะเอาหมดเลยนะ แท้ที่จริงจิตของมันนั่นแหละ จิตมัน โห ! มันเกาะเกี่ยวไปหมดเลย สุขทุกข์ไปตามนั้นน่ะ ดูซิใหญ่แล้วมันจะควบคุมได้ง่ายไหมล่ะ ที่ควบคุมไม่ได้มันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้นนะ โอ้โห ! ส่วนนั้นส่วนนี้เสียหายเป็นอย่างไรทุกข์จะตายเลยนะ ทั้ง ๆ ที่มันไกล ตาย นู้น ! อยู่ไหนก็ไม่รู้ ห่างกันไม่รู้เท่าไร ๆ ยังทุกข์เลย ของเราเสียหาย มันโกงเรา เราถูกโกง เราถูกอะไรก็ไม่รู้นะ เรา ๆ ๆ ของเราเลยนะนั่นน่ะ มันทุกข์ 

ประสบความสำเร็จ โห ! เราสุข พอพบเจอกับความล้มเหลวเราทุกข์ มันยังไงก็ไม่รู้นะ อาจารย์ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร มันยึดไปหมดน่ะ มันยึดเป็นตัวเราของเราไปหมด กายัสสะ กับ สักกายทิฏฐิ เป็นตัวเดียวกันนี่แหละ สักกายทิฏฐิ สักกะ แปลว่าใหญ่ หยาบ กายะ ก็กายนั่นแหละ ทิฏฐิ ก็ มีความเข้าใจ ความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ แล้วยังความเข้าใจที่มันหยาบ มันใหญ่อย่างนี้ ของกาย กายทั้งจิต มันทั้งจิตทั้งองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับจิต รวมแล้วเรียกว่ากายทั้งหมด สักกายะ ก็แปลว่า ทุกข์ใหญ่ สักกะแปลว่าใหญ่ กิเลสใหญ่ สักกายะกิเลสใหญ่ กิเลสหยาบ ที่ออกฤทธิ์แรง กิเลสใหญ่ กิเลสหยาบ มองเห็นได้ง่าย ถ้ามีตานะ ไม่มีตาก็มองไม่เห็นมันหรอก ไม่รู้จะเรียกว่าอย่างไร ถ้าเริ่มมีปัญญา ตัวที่มองเห็นง่ายสุด ตัวที่จับง่ายสุดก็ โห ! นี่อาการนี่นะ มัน โอ้โห ! มันสร้างโทษ สร้างภัย เยอะแยะไปหมดเลย

ท้าวสักกะเทวราช ไม่เคยได้ยินหรือ? ใหญ่ สักกะ สักกา ท้าวสักกะเทวราช แปลว่า ใหญ่

กายะ กายัสสะ กายตัวนี้หล่ะ กายจึงไม่ใช่ร่างอย่างเดียว ไม่ใช่วัตถุอย่างเดียว ไม่ใช่เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเดียว มีจิตเข้าไปร่วมเดียว และจิตนี่เป็นประธาน จิตนี่แหละเป็นใหญ่ 

ท่านจึงเรียกว่า จิต มโน วิญญาณ อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ ข้อที่ ๒๓๐ จิต มโน วิญญาณ

กายัสสะ คือ จิต มโน วิญญาณ อาศัยอยู่ในภูตรูปทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ทุกอย่างก็ดิน น้ำ ลม ไฟ หมดนั่นแหละ นี่ก็ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย แล้วก็แผ่ออกไปจนไปยึด มหาภูตรูปทั้ง ๔ ในโลก 

ในมหาจักรวาลส่วนไหนก็แล้วแต่เป็นตัวเราของเราอยู่นั่นแหละ ใจมันไปเกี่ยวข้อง แล้วมันก็มีผลทำให้รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ในใจ รู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ในใจ อะไรที่มีผลทำให้เรารู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ 

มันคือ กายัสสะ ทั้งนั้น มันสักกายทิฏฐิทั้งนั้น งั้นเรามาสักกายทิฏฐิ จิต มโน วิญญาณ ก็จิตนั่นแหละ มันบ้าๆ บอๆ กับร่างกาย กับเหตุการณ์ต่างๆ เอามาสุข เอามาทุกข์หมด 

อันนั้นเป็นนาม เป็นนามโดยมีรูปมาเกี่ยวข้อง ตัวจริงคือนาม ท่านให้เรียนรู้อันนี้ 

กายัสสะ อันนี้ สักกายทิฏฐิอันนี้ เบื้องต้นเลยที่จะปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์ เรียนรู้อันนี้ให้ได้ แล้วเรากำจัดมันไปเรื่อย ๆ แล้วจะรู้ว่าพอเราไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเราของเราแล้ว มันไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้นแล้ว ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้นแล้ว แต่มันสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้น ก็คือ สุขใจที่หมดอยากได้ อยากเป็น อยากมีในเรื่องนั้นแล้ว สบาย ไร้กังวลในเรื่องนั้น มันก็ตัดสักกายทิฏฐิในเรื่องนั้นไป ความรู้สึกทุกข์ในเรื่องนั้นมันก็ตัดไป ตัดให้เล็กลงเรื่อย เห็นไหมนี่คือลดตัวตน เคยได้ยินไหมที่ท่านว่าลดอัตตาอันนี้แหละอัตตา อันนี้แหละสักกายทิฏฐิ 

สักกายทิฏฐิคืออัตตา ตัวตน เคยได้ยินไหม ลดตัวลดตนน่ะ ตัวตนมันใหญ่เหลือเกิน ใหญ่เหลือเกิน ใหญ่ค้ำฟ้า ใหญ่ค้ำโลก ใหญ่ค้ำจักรวาลเลย นี่ก็ลดลง ลดลงเรื่องนี้ ปล่อยวาง ปล่อยวางได้ ปล่อยวาง นี่ไม่ใช่ตัวเราของเรา ตัดลงมาเรื่อย ๆ เรื่องนั้น เรื่องนี้ ตัดลง ตัดลงมาเรื่อย ๆ แล้ว โอ๊ะ ! เล็กลง ๆ ก็ทุกข์น้อยลงแล้ว มีปัญญา ไม่ต้องไปอยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้น เรื่องนี้ทีนี้หมดอยากมันก็ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ แล้วมันก็สุขสบายใจ ไม่มีทุกข์ มันก็สุขแล้ว ก็ตัด ตัดออกไป ตัดออกไปนี่ ตัดสักกายทิฏฐิออกไปเรื่อย ๆ ตัดออกไปเหลือน้อยลงมา เหลือน้อยลงมา เรื่องนี้ เหลือขนมก้อนเดียว เลิกไม่ได้ซักทีเอาอีกแล้ว จิ้มอีกแล้ว ไล่ลงมาเรื่อย 

ลดลงมาเรื่อย ๆ เรื่องนั้นเรื่องนี้ก็ตัดลงมาเรื่อย พวกเราตัดลาภ ยศ สรรเสริญ ตัดอบายมุข กามตั้งหลายอย่าง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โลกธรรม โอ้โห ! ศักดิ์ศรี อะไรอีกต่าง ๆ นานา ตัดลงมา สิ่งดีแง่นั้นเชิงนี้ อัตตา ตัวตน เอาแต่ใจแง่นั้นเชิงนี้ก็ตัด ลดลงมาๆ นี่เขาเรียกว่า ลดตัวลดตน นี่เรียกว่า ลดตัวตนลดทั้งรูปทั้งนาม เรียกว่าลดตัวลดตน ไปเรื่อย ๆ ลดตัวลดตน อัตตา ตัวตนนี่ อัตตกิลมถะ นี่แหละอัตตกิลมถะ อัตตาที่มันทรมานตนอยู่นี่ ที่พระพุทธเจ้าตรัสในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร ครั้งแรกเทศน์กับปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ 

อันนี้แหละตัวตน อันนี้แหละที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล ก็ลดตนลงมาเรื่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ มันก็ลดทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจมาเรื่อย ๆ ก็สลายทิ้งไป ไม่มีทุกข์ใจที่มันไม่ได้ดั่งใจ มีแต่สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เอ้อ ! ตัดไป ๆ ตัดลงมาเรื่อย เล็กมาเรื่อย มาเรื่อย ลดลงมาเรื่อย มาเรื่อย ในที่สุด ศูนย์ โอ้โห ! สบายไม่มีอะไรทุกข์แล้วชีวิตนี้ ลดมาเรื่อย ๆ จิตที่มันจะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องโน้นเรื่องนี้มันจะลดลง เข้าใจไหม น้อยลง ๆ แต่ก่อนเกี่ยวข้องเยอะกว่านี้ไหม เยอะไปหมดเลย เห็นไหม มันลดลง ๆ จิตที่มันไปเกี่ยวข้องแล้วรู้สึกสุขทุกข์ เพราะไปสลายข้างใน สลายกายัสสะของกิเลส สักกายทิฏฐิ เอ้อ ! พูดดีมากเลย เออ สักกายทิฏฐินั่นแหละ 

คือ กายัสสะ หรือ กายกาลิก หรือ นิรมาณกาย ลดมันลงมา ลดมันลงมาแล้วมันจะเห็นชัด แล้วก็ความทุกข์ใจก็ลดลง ๆ เอ้อ ! อันนั้นมันไม่ได้มีผลอะไรเลย 

ปัดโธ่เอ๋ย ! ใจนี่เองที่มันมีน้ำหนักเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน ก็ใจไปกำหนดทุกข์นี่แหละ มีน้ำหนักเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน อันนั่นมันฝุ่นปลายเล็บ ฝุ่นเล็ก ๆ ด้วย บางทีไม่สะเทือนอะไรเราเลย ก็ตัดออกมา ๆ จนมันแม้แต่ร่างกาย ความเจ็บป่วยในร่างกาย ก็นัยยะเดียวกัน ถ้าเราสลายความอยากได้ แม้น้อยเราก็รู้ว่าหายน่ะมันดี แต่แม้มันไม่หาย เราก็สุขใจที่มันยังไม่หายได้ เห็นไหม ไม่ต้องไปอยากก็ได้ มันยังไม่หายตอนนี้เมื่อดูแลเต็มที่แล้วก็ไม่ต้องไปอยาก ไปอยากมันทุกข์ ไม่อยากก็ไม่ทุกข์ ไม่หายก็ได้นะ กล้าที่จะไม่หาย 

ทีแรกกลัวที่จะไม่หาย ก็ทุกข์สิ กล้าที่จะไม่หายจะทุกข์ไหม ทุกข์ใจไหม ก็ไม่ทุกข์ รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ทุกข์ไหม ก็ไม่ทุกข์ ก็กล้าที่จะรับ ยินดีรับ ยินดีให้หมดไป รับเท่าไหร่ หมดเท่านั้น สบายไม่ต้องไปอยากได้ดั่งใจหมาย ไม่ต้องมีทุกข์ ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ ไม่ได้ดั่งใจหมาย ไม่ทุกข์ก็สุขสบายแล้วชีวิต พอทุกข์ใจหมดไป เป็นอย่างไร ทุกข์ที่เหลือก็น้อยเดียว หมดทุกข์ใจ หมดทุกข์กาย โอ้โห ! เป้าหมายของชีวิต น้อยเดียว ทุกข์กายก็ลดลงไปตั้งเยอะ แท้ที่จริงไม่ใช่ทุกข์กายหรอกที่มันหายฉับพลันปั๊บ ทุกข์ใจที่หายไป ทุกข์แค่นี้หายปั๊บเลย หรือ บางทียังเหลือทุกข์กายจริง ๆ อยู่นิดหนึ่ง เราก็จะรู้ว่า โอ้ะ ! ที่มันทุกข์มาก ๆ ทุกข์แรง ๆ แท้ที่จริงคือทุกข์ใจนี่แหละ 

ทุกข์กายมันนิดเดียว เช่นไปตรวจ หมอบอกว่าเป็นโรคร้าย อีก ๖ เดือนจะตาย ที่หมอไม่บอก มีทุกข์กายนิดเดียว บางทีไม่มีทุกข์อะไรเลย บางทีมีทุกข์กายนิดเดียว โอ้ เจ็บ ปวด แสบ คัน อะไรนิด ๆ ที่มันนิด ๆ หน่อย ๆ แต่พอหมอบอกเป็นอย่างไร ก็ทุกข์อย่างแรงเลย ทุกข์ก็ทรุดอย่างแรง ตายอย่างเร็ว แต่เวลาตัวจริง จริง ๆ ตอนที่เขาไม่ทุกข์เป็นอย่างไร ตอนที่กิเลสมันยังไม่สร้างทุกข์ เป็นอย่างไร ทุกข์กายมันนิดเดียว ใช่มั้ย ก็นี่แหละชัด ๆ เมื่อหมอยังไม่บอก ใช่ไหม ทุกกายมันนิดเดียว แต่พอบอกเป็นอย่างไร โอ้โห ! มันปนกันเละเลยนะ ทั้งทุกข์ใจ ทุกข์กายเลย แล้วมันรู้สึกว่าอย่างไร – มันรู้สึกว่า โอ้โห ! นี่เป็นโรคร้าย นี่ที่ทุกข์แรง ๆ เพราะว่าเป็นโรคร้าย โน่น มันเน้นไปที่โรคโน่น ใช่ไหม โอ้โห ! โรคร้าย จะเป็นลม โอ้ ! แย่เลย พอหมอบอกเป็นไง โอ้ ! ตรวจผิด หายเลย ปัดโธ่เอ๊ย ! เราจะทำยังไง แล้วมันก็ แล้วมันอย่างไร มันมาหลอกอีก เห็นไหม โรคหายด้านร่างกาย มีผลต่อจิตใจขนาดนี้เลย แล้วยังไปโง่ต่ออีก โอ้ ! ร่างกายมันมีผลขนาดนั้นแล้วทำไมล่ะ ก็ตอนที่ยังไม่รู้ยังไม่ทุกข์ทำไมไม่เห็นมีอะไรมากมายเลย พอมีทุกข์ใจเข้ามา ปุ๊บ ทำไมมันแย่ไปหมดเลยใช่ไหม พอหมอบอกว่าไม่เป็นไรตรวจผิด ดีใจ หายหมด ทุกข์มันก็หายหมด ก็ดีใจขึ้นมา อย่างนี้เป็นต้น ก็ใจดี อาการมาคัน ๆ ขึ้นมานิด ๆ หน่อย ๆ ก็เหมือนเดิมนะ น้ำหนักของใจมันเยอะจะพิสูจน์อย่างไร จะพิสูจน์ให้ชัดเลย บางทีมันปนกันเละเลย มันคิด ทั้งกิเลส ทั้งร่างกายปนกันมาหรือกับเหตุการณ์ข้างนอกปนกันมา เป็นอย่างไรเราต้องชำระกิเลสให้ได้ กำจัดกายของกิเลส สักกายทิฏฐิ หรือว่ากายกาลิกหรือว่านี่แหละนิรมาณกาย กำจัดมันได้อาการกิเลสในใจ กำจัดเปรี้ยงไป กลายเป็นพุทธะเลยตกลงไม่มีทุกข์แล้วมีแต่พุทธะ 

จิตเพียว ๆ ที่เหลือก็กาย เพียว ๆ เหตุการณ์เพียว ๆ มีน้ำหนักเท่าไรก็เท่านั้น นี่แยกกาย แยกจิต สามชั้นเลยนะ แยกกาย แยกจิต ชั้นแรกก็คือ กายที่มากระทบ ใช่ไหม ผัสสะที่มากระทบนี่คือกายอย่างหนึ่งคือส่วนประกอบของกายอย่างหนึ่งผัสสะที่มากระทบ จิตว่าอะไรมีน้ำหนักเท่าไร แล้วไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นมีน้ำหนักแยกออกจากกันโดยแยกกายอีกอันหนึ่ง กายของกิเลสออกจากจิต ก็คืออาการของกิเลสแยกออกจากจิต แยกออกจากกายด้วย แยกออกหมดเลย แยกออกจากจิตเราสลายให้เป็นพุทธะ แยกออกจากทั้งจิตด้วย จิตก็ไม่มีกิเลสครอบงำกลายเป็นพุทธะ แล้วมีสุขที่ไม่ทุกข์ สุขไม่มีทุกข์โอ้ ! ดี สุขผ่องใสไร้กังวล แยกกิเลสออกจากจิตแล้วก็กำจัดออกไป สลายเป็นพุทธะหมดแล้วก็แยกออกจากกายที่มากระทบด้วย แยกออกไปหมดเลยสลายออกไปหมดเลย นี่แหละแยกกายแยกจิต เลยไม่รู้จะอธิบายอย่างไร 

สามระดับ พอจะชัดขึ้นไหมวันนี้แยกกายจิตชัดไหมโอ้โห! ชัดเลยนะแต่ก่อนฟังแล้วอย่างไรเมา ๆ นะ ที่ได้ยิน ไปปฏิบัติธรรมที่นั่น ที่นี่ แยกกาย แยกจิต แยกกาย แยกจิต เสร็จแล้วไปแยก ๆ มัน เอากายอยู่ตรงนี้ เอา จิตไปไว้ไหนดี ภูเขาคิชฌกูฏโน่น อย่าไปคิดเรื่องอื่น อย่าไปคิดเรื่องกาย เอาจิตไปกำหนดไว้ตรงโน้นตรงนี้ อย่าไปยุ่งเรื่องร่างไป สะกดจิตไป หรือสะกดในร่างเอาตรงนั้นตรงนี้ที่เดียว อย่าให้ไปรับรู้ เรื่องกาย แยกไป คนละอันเลย สะกดจิต ดับ ๆ ๆ ๆ มันคนละเรื่องเลย ไปเล่น ไปเที่ยวไป ให้ไปคิดข้างนอก อย่ามาคิดในร่างกาย อย่ามาคิด ในนี้ แยกกาย แยกจิตก็จิตไปคิดเรื่องโน้น กายก็ว่ากันไป เรื่องจิตก็ว่าไปกำหนดไว้โน่น ต้นเสา โน่น ภูเขาคิชฌกูฏโน่น กำหนดไว้ที่ไหน พระพุทธรูป หรือกำหนด อะไรก็แล้วแต่ ศรัทธาอะไรก็แล้วแต่กำหนดไป กำหนดไว้ข้างในกำหนดไว้ตรงไหนแล้วแต่จะคิดเอาสะกดจิตไปเฉย ๆ ข่มไปเฉย ๆ แต่พอความทุกข์มันมากขึ้น ๆ ข่มอยู่ไหม ไม่อยู่หรอก ทุกข์เหมือนเก่านั่นแหละ ก็ยังทุกข์เหมือนเก่า หนักกว่าเก่าอีก ถ้าไม่เรียนรู้ให้ถูกตรง ซวยเลยนะ

ชีวิตจมเลย แล้วเมื่อไรจะพ้นทุกข์ สะกดจิตไว้จุดใดจุดหนึ่ง สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เรื่องใด เรื่องหนึ่ง แล้วเมื่อไรจะพ้นทุกข์ เมื่อไร? ไม่มีวันพ้นทุกข์เลย จนกว่าจะมาเรียนรู้ให้เข้าใจ จากผู้ที่รู้แท้ และก็มีผัสสะมากระทบ แล้วก็อ่านกายนอก กายใน แล้วกำจัดกายในที่เป็นกิเลส ที่เป็นอาการของกิเลสข้างใน เข้าใจให้ถูกตรง อ่าน สักกายทิฏฐิ กายตัวนี้ให้ถูกต้อง กายกาลิก นิรมาณกายให้ถูกต้อง สลายมันให้ได้ สลายมันได้ ปุ๊บ โอ้โห ! จะรู้ไปหมดเลยความจริงเป็นอย่างนี้เอง สลายมาเป็นพุทธะในจิตของพุทธะ แยกจิตออก จิตเป็นของพุทธะ สลายเป็นพุทธะเลย แยกกายนอกกับกายในออกจากกันเลย จะเห็นผลเลยว่าอะไรมีฤทธิ์อย่างไร รู้ความจริงไปหมดเลย พ้นความยึดมั่นถือมั่นพ้นทุกข์เลย ที่อื่นให้จิตกับกายแยกกัน ไม่เกี่ยวกับกิเลสนะ ปวดก็ปวดไป ไม่เกี่ยวกับใจ ดีนะ แต่ตัวเรานี่แหละเจ็บ มันสะกดจิตได้มันไม่หนักเกิน ก็พอได้ ฝึกสมถะมาก ๆ ก็พอได้ ก็พอกิเลสโตมาก ๆ ๆ ก็ไม่ไหว พอทุกข์ใจ มันแรง ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ มันโต มันสู้ไม่ได้ ไม่ไหวหรอกมันยึดเป็นตัวเรา ของเราเหมือนเดิม เราเจ็บ ถ้าไม่ล้างกิเลสจะไม่รู้ 

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าถ้ากำจัดกิเลสได้จึงจะมีปัญญา กำจัดไม่ได้ไม่มีปัญญาหรอกคนเรา มันต้องมีปัญญาในการกำจัดกิเลส กำจัดได้ มีปัญญาเพิ่มเข้าไปอีก ท่านตรัสในเทวธาวิตักก กำจัดกิเลสไม่ได้ ไม่มีปัญญาหรอก กำจัดกิเลสได้จึงจะมีปัญญา เราจะรู้ ว่าที่เราหลงโง่มีอะไรบ้าง ขอให้พี่น้องพบกับความสุขที่แท้จริงมีปัญญาแยกกาย แยกจิตจนพ้นทุกข์อย่างแท้จริงกันทุกท่าน สาธุ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...