ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

คิลานสูตรที่ 1 เป้าหมายสูงสุดคือคลายจากราคะ

ชีวิตนี้เราควรจะแม่นประเด็นในเป้าหมายว่าชีวิตที่ได้เกิดมาแล้วนี่ อะไรคือความสุขสูงสุดของชีวิต เราต้องรู้ว่าอะไรคือความสุขสูงสุดของชีวิต อะไรที่เป็นประโยชน์สุขสูงสุดของชีวิต ทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ที่สูงที่สุดนั่นแหละ คุณค่าและความผาสุกสูงสุดของชีวิตนี่อยู่ตรงไหน ไม่ง่ายนะที่ใครจะรู้ ไม่ง่ายเลยที่ใครจะรู้  แต่ผู้มีปัญญา ได้พบสัตบุรุษผู้มีสัมมาทิฏฐิ ได้พบสัตบุรุษได้ฟังสัจธรรม แล้วตัวเองมีปัญญารับได้ จะรู้ว่าเป้าหมายสูงสุดของชีวิตนั้นอยู่ตรงไหน สิ่งที่ดีที่สุด สุขที่สุด เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านสูงที่สุดนั้น อยู่ที่ไหน 

ผู้ที่มีความรู้นี้ก็จะพากเพียรปฏิบัติจนเข้าถึง จนพบสัตบุรุษได้ฟังสัจธรรมของผู้ที่ทำได้มาก่อน ซึ่งผู้ที่ทำได้มาก่อนท่านรู้แล้ว และทุกชีวิตที่ได้อันนี้แล้วจะไม่มีใครถอยหลังหรอก ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงเลย ประโยชน์สุขต่อตนเองต่อผู้อื่นที่สูงที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่ชีวิตเกิดมาแต่ละชาติ ๆ นั้นต้องไขว่คว้า ไม่ใช่ปล่อยให้ชีวิตมันสูญเปล่าไป เราต้องไขว่คว้าสิ่งนี้

เรามาดูว่าพระพุทธเจ้ายืนยันว่า สิ่งนั้นคืออะไร อะไรเป็นสภาพที่ดีที่สุดต่อชีวิตมนุษย์ที่ชีวิตควรได้ ควรเป็น ควรมี ที่ดีที่สุดที่สุขที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุดทั้งต่อตนเองต่อผู้อื่น เรามาดูพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 ข้อที่ 88 มาย้ำซ้ำทวน มาเติมเต็มตรงนี้ อาจารย์เจตนาจะทั้งย้ำซ้ำทวนทั้งเติมเต็มแก่นสารสาระสูงสุดประโยชน์สูงสุด ที่ไม่มีภัยใด ๆ เลย แต่มีประโยชน์อย่างเดียวต่อตนเองและผู้อื่น เรามาดูในคิลานสูตร ที่ 1 พระไตรปิฎกเล่มที่ 18 ข้อที่ 88

สาวัตถีนิทานฯ

คือเรื่องราว นิทานแปลว่าเรื่องราว เรื่องราวในนครสาวัตถี นั่นเอง ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารโน้นมีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้ใหม่ไม่ปรากฏนามและโคตร เป็นผู้อาพาธ (เจ็บป่วย) คำว่า อาพาธมีทั้งทั้งเจ็บป่วยใจ (ใจเป็นทุกข์) เจ็บป่วยกาย (กายเป็นทุกข์) เจ็บป่วยกับเรื่องราวต่าง ๆ คือ มีเรื่องร้ายเข้ามาในชีวิตนี้ คือ คำว่า อาพาธ ก็คือทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้าย โหมกระหน่ำชีวิตเรียกว่า อาพาธ ถึงความทุกข์เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานโอกาสขอพระผู้มีพระภาคจงอาศัยความเอ็นดู(เมตตาปรารถนาดี)เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า” 

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับคำว่า (สดับแปลว่าได้ฟัง) ภิกษุใหม่ และว่าเป็นไข้ ทรงทราบชัดว่า เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

“อย่าเลยภิกษุ เธออย่าปูอาสนะไว้ที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น”

ท่านมีเมตตามากเลยนะ   นี่แหละพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า เห็นว่ากำลังเจ็บป่วยหนักอยู่ ก็บอกว่าพักเลยไม่ต้องมาปูอาสนะให้เรา เราจะนั่งในที่คนอื่นที่ปูไว้แล้ว  พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัส ถามภิกษุนั้นว่า

“เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ลดน้อยลงไม่เจริญแก่กล้าหรือ ว่านั้นน่ะ ทุกข์มันน้อยลงไม่รุนแรงขึ้น ความทุเลาย่อมปรากฏความกำเริบไม่ปรากฏหรือฯ”

ภิกษุตอบว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แก่กล้ายิ่งนัก (ว่างั้น โอ้.. ความทุกข์ทรมานน่ะมันรุนแรงเหลือเกิน มันไม่ลดน้อยไปเลย ไม่ลดน้อยมีแต่กำเริบ) ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ (แปลว่าความทุกข์ทรมานมีแต่กำเริบหนัก ความทุเลาไม่ปรากฏเลยไม่ทุเลาเลย) พระเจ้าข้า ทูลพระพุทธเจ้า”

พระพุทธเจ้า ตรัสถามว่า “ดูกรภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจไม่มีความเดือดร้อนไร ๆ หรือ ฯ”

ดูนะเขาบอกว่า ทุกข์ทรมานเหลือเกินแล้วทำไมพระพุทธเจ้ามาถามอย่างนี้  คนไม่เข้าใจจะงง ๆ นะนี่ ตั้งใจฟังให้ดีนะ แล้วจะเข้าใจ พระพุทธเจ้ากำลังสอนภิกษุให้รู้สาระแท้ของชีวิตว่าอยู่ตรงไหน กำลังซักถามเนื้อหาสาระ ที่ภิกษุสัมผัสอยู่แล้ว กำลังพาภิกษุนั้นไปสู่สาระแท้ ๆ เลยว่าอยู่ตรงไหน ก็ภิกษุบอกว่า ความกำเริบปรากฏนี้มันทรมานมันกำเริบหนัก กำเริบเสิบสานหนัก เพิ่มหนัก ความทุเลาไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า 

พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจไม่มีความเดือดร้อนไร ๆ หรือฯ ว่างั้น ถ้าคนฟังไม่เข้าใจ ก็พระพุทธเจ้าก็เขาบอก เขาทุกข์หนักทรมานอย่างหนัก เพิ่มขึ้น ยังบอกว่าเขาไม่รังเกียจไม่เดือดร้อนไร ๆ หรือฯ ยังมาบอกว่ามาถามว่าเขาไม่เดือดร้อนไร ๆ หรือฯ ความหมายคือ อย่างนี้ ไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจ 

พระพุทธเจ้าไม่รู้หรือว่าเขาทุกข์ ความหมายพระพุทธเจ้า  ท่านถามถึงจิตใจ ท่านรู้แล้วนะว่า เจ็บป่วยนี่มันก็กำเริบหนักขึ้น ๆ นี่นะ เสร็จแล้วท่านจะดูว่าความเจ็บป่วยนี่มันมีแต่ร่างกายอย่างเดียวหรือมีจิตใจร่วมด้วย พระพุทธเจ้าก็จะแยกแล้ว คราวนี้ท่านจะแยกกายแยกจิตแล้วนะ พระพุทธเจ้ากำลังจะแยกกายแยกจิตให้ว่า เธอจะต้องรู้จักแยกกายแยกจิตนะ 

กายก็อย่างหนึ่งนะ กายิกเวทนา (ความทุกข์ทรมานทางกาย) ความรู้สึกทางร่างกายก็อย่างหนึ่ง เจตสิกขเวทนา (ความรู้สึกทางใจ) ก็อย่างหนึ่ง

พระพุทธเจ้าสอนให้แยกความรู้สึกทางกายกับความรู้สึกทางใจ ท่านกำลังถาม นี่ท่านคำถามของท่านคำถามแรกนี่เป็นไง ความเจ็บป่วยมันทุเลาลงไหม อันนี้ถามรวม ๆ ความรู้สึกรวม ๆ ว่า ความเจ็บป่วยความทุกข์ทรมานเป็นยังไง มันทุเลาบ้างไหมมันไม่กำเริบใช่ไหม ภิกษุก็บอกว่า กำเริบอย่างเดียวพระเจ้าข้า ไม่ทุเลาเลยพระเจ้าข้า ทรมานอย่างหนักเลย ที่นี้พระพุทธเจ้าท่านก็สอนต่อไปตามต่อไปท่านกำลังแยก กายิกเวทนากับเจตสิกขเวทนา เพื่ออะไรเดี๋ยวฟังต่อไป เพื่ออะไร จริง ๆ ก็เพื่อที่จะ

กายิกเวทนาก็แก้ด้านร่างกายเจตสิกขเวทนาก็แก้ด้านจิตใจมันต้องแก้คนละอันนะกายก็แก้กายไปจิตก็แก้จิตไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแก้จิตได้ตอนนี้เลยจะเป็นประโยชน์ต่อจิตต่อกายทันทีเลยแล้วจิตนี่มีฤทธิ์แรงเท่ากับดินทั้งแผ่นดินในนขสิกขสูตรท่านตรัสอย่างนั้นเลยเมื่อเทียบกับกายมีฤทธิ์แรงเท่ากับฝุ่นปลายเล็บพระพุทธเจ้ายืนยันอย่างนั้น  

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็เลือกที่จะกำจัดทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดคือทุกข์ที่จิตทุกข์จิตทุกข์ใจนี่แหละมันทุกข์ที่สุดเท่ากับดินทั้งแผ่นดินเลยท่านก็เลือกเอาอันนี้ก่อนเลยเปรี้ยงเลยและถ้าดับทุกข์ทั้งแผ่นดินได้มันจะเหลือทุกข์เท่ากับฝุ่นปลายเล็บแล้วจะแก้ง่ายทุกข์ปลายเล็บแก้ไม่ยากหรอกถ้าดับทุกข์ทั้งแผ่นดินได้และทุกข์ใจนอกจากเป็นทุกข์ที่แรงทั้งแผ่นดินเมื่อเทียบกับฝุ่นปลายเล็บแล้วนี่นะยังเป็นทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดแล้วมันยังทำให้เกิดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลอีกด้วย

มันก่อให้เกิดทุกข์กายก่อให้เกิดเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลด้วยถ้าไม่ดับมันจะก่อให้เกิดทุกข์กายเรื่องร้ายสืบเนื่องต่อไปทั้งทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายสืบเนื่องต่อไปไม่จบไม่สิ้นพระพุทธเจ้าก็เลยเน้นแก่นเข้าไปตรงนี้ถ้าดับทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดในโลก 

นี่คนจะได้สุขที่สุขที่สุดในโลกท่านตรัสเลยว่าในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 ข้อที่ 24 ,33 และ 59 พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“ละเหตุแห่งทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวงละทุกข์ทั้งปวงได้เป็นสุข “

เพราะฉะนั้นเราก็ตรวจว่า นี่ถ้าเราละทุกข์โดยเฉพาะทุกข์ที่ใหญ่ที่สุดได้ จะเป็นความสุขที่สุดเลยอย่างนี้เป็นต้น ท่านรู้แก่นสารสาระว่าชีวิตควรได้อะไร ท่านก็เลยถามว่า “ดูกรภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจไม่มีความเดือดร้อนไร ๆ หรือฯ” ความหมาย เธอไม่มีความรังเกียจคำว่า ความรังเกียจ นี่เป็นใจหรือเป็นกาย เป็นใจใช่ไหม ชิงชังรังเกียจนะ อะไรก็ตามที่เราชิงชังรังเกียจ นี่เราจะมีความสุขหรือความทุกข์ ที่ได้รับสิ่งนั้น มีความทุกข์ใช่ไหม มันจะทุกข์ใจรังเกียจสิ่งใดก็ตามได้รับสิ่งนั้นก็จะเป็นทุกข์ ทุกข์ โอ้โห…ทรมาน ที่ได้รับสิ่งนั้น กลัวมันจะไม่ออกไปหรือถ้ามันออกไปแล้วเป็นไง จะกลัวว่ามันจะเข้ามา 

เพราะฉะนั้นชีวิตจะทุกข์จากความกลัวกังวลหวั่นไหวกลัวจะเข้ามาถ้ามันยังไม่เข้ามาเข้ามากลัวไม่หมดไปเห็นไหมถ้าจะถามเพื่อที่จะให้รู้ว่าชีวิตมันจะทุกข์นะ  ถ้าเธอชิงชังรังเกียจในเรื่องอะไรอยู่  เธอรังเกียจเรื่องอะไรเธอชังอะไรอยู่เธอชังอะไรอยู่เธอก็กลัวอันนั้นชังกลับกลัวก็คืออันเดียวกัน นั่นแหละ ใช่ไหม เราชังอะไรก็ตาม เราจะชอบไหม เราจะกล้าให้มันเข้ามาไหม เรื่องที่เราชังนะ ชอบไหม ก็ไม่ชอบ เราจะกล้าให้มันเข้ามาไหม คนที่ชังอะไรมากไปนะ จะกล้าหรือกลัวว่ามันจะเข้ามา กลัวใช่ไหม ลองได้ชังมาก ๆ สิ มันจะกลัว กลัว กังวล หวั่นไหวเลย ชังเรื่องไหนก็แล้วแต่ มันจะกลัวว่ามันจะเข้ามาใช่ไหม เข้ามาเสร็จแล้วเป็นไง  ก็จะกลัวว่ามันจะไม่หมดไป ใช่ไหม ชีวิตมันจะมีแต่ความกลัว กังวล หวั่นไหว ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ใช่ไหม มันจะทรมานใจนะ กลัวอะไรก็แล้วแต่บางอย่าง 

ขนาดมันไม่เข้ามานะ ยังจะสยองว่ามันจะเข้ามาใช่ไหม ถ้าเราชังมันจะเป็นอย่างนั้น มันจะทำให้กลัว มันจะทำให้เกิดทุกข์ใจ ความกลัว กังวล หวั่นไหว ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ทรมานใจ มันจะทรมานจะทุกข์ใจ พระพุทธเจ้าก็ถามเรามีความทุกข์ใจอะไรไหม ท่านก็รู้ว่า จะถามว่าทุกข์ใจบางที ก็จะงง ๆ  เมาๆ ก็เอาอันนี้ก่อน ถามว่าเธอยังมีความรังเกียจอะไรไหม เธอชังอะไรอยู่ไหม ได้คำตอบ ท่านก็รู้แล้วว่า แสดงว่ากลัวสิ่งนั้นจะเข้ามา เข้ามากลัวจะไม่หมดไป มันจะทุกข์ 

ท่านถามว่า ไม่มีความเดือดร้อนไร ๆ หรือ ก็หมายถึงใจนั้นแหละเดือดร้อนอะไรไหม ส่วนกายก็รู้อยู่แล้ว ทุกข์อยู่แล้ว เดือดร้อนอยู่แล้ว เพราะป่วยเนี้ย ใช่ไหม แล้วใจมันเดือดร้อนอะไรไหม มันทรมานอะไรไหมเดือดร้อนน่ะ ใจทุกข์ทรมานบ้างไหม ใจไม่สบายทุกข์ทรมานบ้างไหม ท่านก็ถามว่า เธอไม่มีความรังเกียจไม่มีความเดือดร้อนไร ๆ หรือฯ ที่เป็นทั้งหมดใจสบายดีอยู่ไหม ไม่มีความกลัวกังวลหวั่นไหวไม่มีความเดือดร้อนใจเลยใช่ไหมท่านถามอย่างนี้  ภิกษุตอบว่าไง…

ภิกษุ..”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความรังเกียจมีความเดือดร้อนไม่น้อยเลย พระเจ้าข้า”

มีความชิงชังรังเกียจ มากเลยนะ ความรังเกียจมันก็คือความเดือดร้อน กลัวมันจะเข้ามา เข้ามาแล้วกลัวจะไม่หมดไป กลัว กังวล หวั่นไหว ทุกข์ใจ ทรมานใจ ไม่สบายใจไม่น้อยเลย พระเจ้าข้า มากเลย อย่างมากเลย ทุกข์ทรมานใจอย่างมากเลย อย่างนั้นเอง พระพุทธเจ้าก็ถาม เพื่อดูว่าความทุกข์ทรมานใจนี่มากไหม พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อเลยว่าทราบข้อมูลแล้วว่าทุกข์ทรมานใจนี้อย่างมากเลย 

ดูกรภิกษุเธอไม่ติเตียนตนด้วยศีลบ้าง” หรือ “เธอไม่ได้ใช้ศีลติเตียนตนเองเลยหรือเธอไม่เอาศีลมาตรวจสอบเลยหรือว่าเธอปฏิบัติถูกหรือไม่ถูกน่ะถ้ามันถูกเธอก็จะเป็นสุขเธอจะไม่เดือดเนื้อร้อนใจเธอจะไม่ทุกข์ทรมานใจความหมายน่ะถ้าเธอปฏิบัติถูกเธอจะไม่ทุกข์ทรมานใจเลยไม่มีความไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามีไม่มีความทุกข์ทรมานใจใดๆเลยเธอจะมีแต่ความสุขสบายใจไร้กังวลแกล้วกล้าอาจหาญร่าเริงเบิกบานแจ่มใสสุขสบายใจไร้กังวลตลอดกาลนานถ้าเธอทำได้ถูกเธอจะสุขสบายใจไร้กังวลเลยมีความสุขเลยแต่ถ้าเธอปฏิบัติผิดศีลเธอจะทุกข์เลยความหมายของท่านอย่างนี้ 

ภิกษุก็ตอบว่า…”ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลยพระเจ้าข้า” ไม่ได้เอามาตรวจเลยว่าตนเองปฏิบัติถูกหรือปฏิบัติผิดนั่นเองทุกข์อยู่อย่างนี้ไม่เอาศีลมาตรวจเลยว่ามันปฏิบัติผิดตรงไหนมันถึงได้ทุกข์อยู่อย่างนี้ความหมายไม่เอาศีลมาตรวจเลยไม่ติเตียนตนเองด้วยศีลเลยว่า..ที่มันทุกข์อยู่อย่างนี้มันต้องผิดศีลแน่ ๆ เลยความหมายอย่างนี้ มันต้องอย่างนี้ มันต้องผิดศีลแน่ ๆ เลย ทุกข์อยู่อย่างนี้ ต้องผิดศีลแน่ ๆ เลยเข้าใจไหมทีนี้ ถ้าอ่านเองจะงง ๆ เมา ๆ นะ 

ติเตียนตนเองโดยศีลนี่ทำยังไงนะติเตียนตนเองด้วยศีลก็คือว่าสอนตัวเองติตัวเองว่าที่มันทุกข์อยู่อย่างนี้มันต้องผิดศีลแน่ ๆ เลยถ้ามันถูกศีลมันไม่ทุกข์อย่างนี้หรอกที่ทุกข์เพราะผิดศีลถ้าถูกศีลไม่ทุกข์หรอกภาษาพระพุทธเจ้า…เธอไม่ติเตียนตนโดยศีลบ้างหรือ..แปลว่าที่มันทุกข์อยู่อย่างนี้เพราะมันผิดศีลนั่นแหละไม่เอาศีลมาตรวจเลยเหรอว่าผิดศีลข้อไหนอยู่มันถึงได้ทุกข์อยู่อย่างนี้ถ้าถูกศีลไม่ทุกข์อย่างนี้หรอกมันต้องผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อมันถึงต้องทุกข์อย่างนี้ความหมายแปลว่าอย่างนี้ 

ภิกษุก็ตอบว่า…”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า” ไม่ติเลยไม่เอาศีลมาติเลย ไม่เอามาตรวจ ไม่เอามาติตนเองเลยว่ามันต้องผิดศีลแน่ ๆ มันไม่ถูกศีลหรอกมันถึงได้ทุกข์อยู่อย่างนี้ ถ้าถูกศีลมันไม่ทุกข์อยู่อย่างนี้หรอก 

พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไปว่า…”ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า” พระพุทธเจ้าก็ย้ำเข้าไปอีกว่า ที่เธอทุกข์ใจอยู่ตอนนี้ ทุกข์ทรมานใจอยู่ตอนนี้ ถ้าเธอไม่เอาศีลมาตรวจว่า เป็นเพราะทำผิดศีลข้อไหน แล้วเธอจะไปทุกข์ทรมานใจเพราะเรื่องอะไร แปลว่า คนเรามันทุกข์ทรมานใจเพราะมันผิดศีลเท่านั้น ท่านว่าอย่างนั้นนะ แล้วเธอไม่เอาศีลมาตรวจดูเลยว่ามันผิดตรงไหน แล้วไม่แก้ให้มันถูกน่ะ แล้วเธอจะเป็นทุกข์เพราะเรื่องอะไร แปลว่า ไม่มีเรื่องอะไรที่ทำให้เธอทุกข์ได้นอกจากการผิดศีลเท่านั้นไม่มีเรื่องอะไรที่ทำให้เธอทุกข์ใจได้ทุกข์ทรมานใจกลัวกังวลระแวงหวั่นไหวไม่สบายใจน้อยใจเว้าใจแหว่งใจหดหู่ห่อเหี่ยวใจ

ไม่โปร่งไม่โล่งไม่สบายไม่แช่มชื่นลีลาไหนก็ช่างเถอะมันไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามีในใจมันเกิดจากการผิดศีลอย่างเดียวเท่านั้นอื่นจากนี้ไม่มีความหมายเป็นอย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านก็จี้ลงไปอย่างนี้เลย

แปลว่าถ้าใครทุกข์ใจมันเกิดจากการผิดศีลเท่านั้นจำไว้นะเมื่อใดที่มันรู้สึกไม่ร่าเริงไม่เบิกบานไม่แจ่มใสมันไม่แกล้วกล้าอาจหาญไม่ร่าเริงไม่เบิกบานไม่แจ่มใสไม่สุขสบายใจไม่ไร้กังวลมันไม่สดชื่นในใจนั่นละมันผิดศีลทั้งนั้นแหละอื่นจากนี้ไม่มีแปลไทยให้เป็นไทยพระพุทธเจ้าบอกว่าอื่นจากนี้ไม่มีหรอกมันผิดศีลเท่านั้นแหละวันนี้ตั้งใจฟังดีนะ 

โอ้โห..ใครตั้งใจฟังดี ๆ จะแม่น ๆ เลยนะจะแม่นที่จะปฏิบัติให้พ้นทุกข์เลยนะตั้งใจฟังดี ๆ จะได้สิ่งที่ดีที่สุดในโลกถ้าฟังเข้าใจและก็ปฎิบัติได้จะได้สิ่งที่ดีที่สุดในโลก 

จี้ไปที่ใจเลยนะ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ”ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล” เมื่อเป็นเช่นนั้น ตั้งใจฟังตรงนี้ดี ๆ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่เอาศีลมาตรวจเลยนี่ เธอจะมีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า เธอจะไปทุกข์ใจไปเดือดร้อนไปทรมานใจด้วยเรื่องอะไร มันไม่มีอะไรที่ทำให้เธอเดือดร้อนใจทุกข์ทรมานใจได้หรอก นอกจากการผิดศีลเท่านั้น 

แปลว่าอย่างนี้นะ เรื่องอื่นทำให้เธอเดือดร้อนไม่ได้ ไม่มีอะไรที่ทำให้เธอเดือดร้อนได้ นอกจากเธอผิดศีลเท่านั้น เดือดร้อนใจ ทุกข์ทรมานใจอยู่ ไม่น่าได้ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีในใจอยู่เกิดจากการผิดศีลเท่านั้น 

จำไว้นะ! ใครก็ตามที่ตรวจใจตัวเองแบบนี้ แล้วรู้สึกยังไม่พอใจนะ มันยังไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี มันไม่สบายใจมันทรมานใจ ไม่แช่มชื่น มันกลัว กังวล หวั่นไหว มันเกิดจากอาการอะไรก็แล้วแต่มันไม่เข้าท่าในใจ พอ..พอรู้จักไหม ๆ อาการที่ไม่เข้าท่าในใจ พอรู้จักอยู่ไหม พอรู้จักอยู่ใช้ไหม ถ้าไม่รู้จัก อาจารย์ก็จนปัญญาละนะ … ข้าน้อยก็ยอมแล้ว ข้าน้อยยอมแล้วละ ช่วยท่านไม่ได้แล้ว ข้าน้อยช่วยท่านไม่ได้แล้ว ถ้าไม่รู้จักอาการที่ไม่เข้าท่าในใจ 

อาการที่มันไม่น่าได้ ไม่น่าเป็นในใจ อ่านมันให้ออก อันหนึ่งมันเป็นอาการที่น่าได้ น่าเป็น น่ามี ใช่ไหม รู้จักไหม รู้จักอยู่นะ มันแกล้วกล้า อาจหาญ ร่าเริง เบิกบานแจ่มใสสุขสบายใจไร้กังวลนะ มันแช่มชื่นมันสดชื่น มันมีความสุข รู้จักไหม สุขใจ ๆ มันสุขใจนั่นแหละ มันช่างสุขจังเลยนะ นั่นนะ

อาการที่น่าได้น่าเป็นน่ามีมันสุขใจ อาการไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีมันก็ทุกข์ใจนะ เอาย่อ ๆ ง่าย ๆ อย่างนี้ แต่มันมีความทุกข์ใจมันไม่เข้าท่าหรอก ก็มีแต่ผิดศีลเท่านั้นที่ทำให้ทุกข์ใจได้ 

นี่พูดโดยย่อหรือเกิดอาการไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี เหลี่ยมไหนมุมไหนก็แล้ว ต้องแยกอันนี้ให้ได้  แยกอันนี้ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะปฏิบัติธรรมยังไงละ อาจารย์ก็จนด้วยแต้ม จนปัญญาละ จนด้วยเกล้า จนด้วยปัญญา จน..ละ จนไม่ ไม่ไหวละ ช่วยไม่ได้ละ ถ้าแยกไม่ออก นี่ช่วยไม่ได้เลยนะ ถ้าแยกออกยังจะพอช่วยได้ แยกว่าอาการในใจอะไร ที่มันดีอะไรไม่ดีอะไรเป็นสุขอะไรเป็นทุกข์มันต้องแยกได้นะ พระพุทธเจ้าตรัสต้องแยกสุขเวทนาทุกขเวทนาได้นะมันต้องแยกได้สุขทุกข์ในใจ

ภิกษุก็ตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไม่รู้ธรรมะที่ท่านแสดงเพื่อสีลวิสุทธิ์เลยพระเจ้าข้าฯ สีลวิสุทธิ์คือศีลที่วิเศษที่สุดศีลที่มันดีที่สุดนั่นแหละประเสริฐที่สุดสุขที่สุดบริสุทธิ์ที่สุดศีลที่บริสุทธิ์จากทุกข์ที่สุดประเสริฐที่สุดดีที่สุด นั่นเป็นอย่างไร ไม่รู้จักเลย ศีลที่ยอดเยี่ยมที่สุด สูงสุดของศีล เอาง่ายๆ ข้าพเจ้าไม่รู้สูงสุดของศีลเลย พระเจ้าข้าฯ ว่ามันมีสภาพยังไง มันเป็นยังไง เป้าหมายอยู่ตรงไหน ปฏิบัติยังไง เป้าหมายอยู่ตรงไหน จึงจะได้สภาพที่สูงสุดของศีล  ดีที่สุดของศีล ไม่รู้ ไม่รู้จักเลย ปฏิบัติยังไง ผลสูงสุดเป็นยังไง เป้าหมายอยู่ที่ไหน ปฏิบัติอย่างไร เป้าหมายอยู่ที่ไหน สภาพสูงสุดอยู่ที่ไหน ไม่รู้จัก พระเจ้าข้าฯ 

พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไปว่าดูกรภิกษุ ถ้าว่าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิ์เพื่อศีลที่วิเศษที่สุด ประเสริฐที่สุด สุขที่สุด มีคุณค่าประโยชน์ที่สุดนะ ดีเลิศยอดที่สุดที่มนุษย์ควรได้ควรเป็นควรมี ถ้าเธอไม่รู้อันนี้ไซร์ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า แล้วเธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว เธอจะรู้ ธรรมะที่เราแสดงแล้วเธอจะประพฤติเพื่ออะไร เธอจะประพฤติอย่างไร แล้วเธอจะประพฤติเพื่ออะไร ถ้าเธอไม่รู้เป้าหมายแล้ว เธอจะประพฤติไปเพื่ออะไร มั่ว ๆ อย่างนั้นเหรอ 

พระพุทธเจ้าก็ว่า เธอจะมั่ว ๆ แล้วเธอจะประพฤติไปเพื่ออะไร เธอไม่มีเป้าหมายเลยเหรอ เธอไม่รู้วิธีปฏิบัติ เธอไม่มีเป้าหมาย แล้วเธอประพฤติมั่ว ๆ ไปเพื่ออะไร เป้าหมายเธออยู่ไหน มั่ว ๆ ไปมันไม่ได้นะ

พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น เธอไม่รู้มั่ว ๆ อย่างนี้ แล้วเธอไม่มีเป้าหมาย แล้วเธอจะปฏิบัติไปอย่างไร ปฏิบัติไปเพื่ออะไร พระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ มันต้องรู้วิธีปฏิบัติ มันต้องเข้าใจ ต้องรู้เป้าหมาย 

ภิกษุก็ตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีนี้ภิกษุก็เอาไปตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบคำสอนของ พระพุทธเจ้าทุกอย่างแล้วก็ตอบพระพุทธเจ้าละทีนี้ ไปตรวจสอบแล้ว…เข้าใจแล้วตรวจสอบแล้วก็เริ่มเข้าใจ พอพระพุทธเจ้าตรัสไปอย่างนี้ เริ่มไปตรวจสอบว่าจะปฏิบัติอย่างไร เป้าหมายอยู่ตรงไหนเป้าหมายอยู่ตรงไหนก่อนแล้วจะปฏิบัติอย่างไรจริงๆต้องรู้เป้าหมายว่าเป็นยังไงจะปฏิบัติอย่างไร 

ภิกษุก็ตอบว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเพื่อคลายจากราคะพระเจ้าข้าฯได้คำตอบละเมื่อตรวจสอบชัดเจนแล้วว่าศีลที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไรก็ตอบพระพุทธเจ้าว่าข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วตรวจสอบแล้วธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนแสดงออกมาเพื่อคลายจากราคะพระเจ้าข้าฯ 

คลายจากราคะภาษาบาลีคือวิราคะ, วิแปลว่าคลายหมดไปจากราคะ, ราคะก็คือสุขสมใจสุขสมใจอยากสุขที่ได้ดั่งใจสุขที่ได้สมใจอันเป็นสุขลิกะเป็นสุขลวงสุขหลอกสุขปลอมสุขน้อยสุขไม่เที่ยงสุขไม่มีจริงสุขไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามีสุขน้อยแป๊บเดียวหมดไปและเป็นสุขที่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลนอกจากมันน้อยแล้วไม่เที่ยงไม่มีจริงยังเป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลด้วยแล้วมันลวงมันหลอกให้อยากได้นะลวงสุขหลอกให้เราทุกข์ได้อยากได้ไปทำไมของปลอมปัดโธ่เอ๋ย! อยากได้ของปลอมสุขน้อยเป็นของปลอมไม่เที่ยงอีกต่างหากแป๊บเดียวหมดไปยังเป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล แล้วมันลวงมันหลอกให้เราอยากได้นะ หลอกให้เราอยากได้ อยากได้อะไร อยากได้สุขปลอม ปัดโธ่เอ๋ย! อยากได้ของปลอม สุขน้อยเป็นของปลอมอีกต่างหาก ไม่เที่ยงอีกต่างหาก ไม่มีจริงอีกต่างหาก แป๊บเดียวหมดไป

รู้แล้วจุดสูงสุดอยู่ตรงนี้นี่เองจุดสูงสุดอยู่ตรงนี้ต้องวิราคะคลายจากสุขที่ไม่เที่ยงสุขน้อยแล้วไม่เที่ยงไม่มีจริงแล้วทำให้เกิดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล แล้วมันหลอกเก่งด้วย หลอกสุขลวง ลวงว่าเป็นสุขมากแต่แท้ที่จริงเป็นสุขน้อย หลงว่าเที่ยงแท้ที่จริงไม่เที่ยง ลวงว่ามีตัวตนแท้ที่จริง ไม่มีตัวตน ลวงว่าเป็นสุขแท้ที่จริงเป็นทุกข์ตลอดกาล อ๋อ..เพื่อคลายราคะ จับประเด็นนี้แม่นๆ นะ จับประเด็นนี้แม่นๆ เดี๋ยวฟังจากพระพุทธเจ้าต่อก่อนแล้วอาจารย์จะต่อขยายตรงนี้เพิ่ม

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่แสดงแล้วเพื่อคลายจากราคะ ดูกรภิกษุ เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความคลายจากราคะเป็นความมุ่งหมายฯ” 

ตั้งใจฟังให้ดีฟังให้ชัดเมื่อใดที่เรามีความไม่สบายใจเวลาที่ตรวจศีลเราต้องตรวจให้ถึงตรงนี้ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเน้นย้ำว่าธรรมะทุกอย่างที่ท่านทรงแสดงไว้ไม่ว่าจะเป็นศีลสมาธิปัญญาหรือธรรมะใดที่ท่านได้ทรงแสดงธรรมไว้ไม่ว่าจะอธิบายไว้อย่างไรลีลาไหนครั้งไหนแบบไหนก็ล้วนมีความมุ่งหมายสูงสุดคือความคลายจากราคะ 

จับประเด็นให้แม่นๆ ให้เข้าใจว่า ธรรมะทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ จุดมุ่งหมายเดียวคือการคลายจากราคะ เพราะฉะนั้นที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงศีลไว้ก็เพื่อคลายจากราคะเป็นความมุ่งหมาย และที่ท่านตรัสถามว่าถ้าเธอไม่ตรวจตัวเองด้วยศีลแล้วเธอจะทุกข์ทรมานใจด้วยเหตุอันใดเล่า แปลว่า ความทุกข์ทรมานใจเกิดจากราคะ

เมื่อใดก็ตามที่มีความทุกข์ทรมานใจไม่สบายใจไม่พอใจไม่แช่มชื่นใจไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามีในใจรากเหง้าของมันอยู่ที่ราคะเท่านั้นไม่มีอื่นอย่าไปหลงกลกิเลสต้องจับประเด็นให้แม่นๆอย่าโง่ทุกข์เกิดจากราคะเท่านั้นราคะเกิดจากความอยากได้สุขสมใจอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจเท่านั้นตั้งใจฟังให้ชัดๆที่กำลังทุกข์ทรมานใจอยู่ที่เป็นทุกข์แสนสาหัสทุกข์ใจไม่ว่าจะมากหรือน้อยทุกข์ใจที่ทำให้เกิดทุกข์กายและเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลมันเกิดจากราคะคือสุขสมใจสุขที่ได้ดั่งใจเท่านั้นมันมีตัณหาที่ไปอยากได้สุขสมใจอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจเท่านั้น

เมื่อเกิดทุกข์ใจขึ้นสิ่งสำคัญคือ ต้องตรวจให้ได้ว่า ตอนนั้นมันอยากได้สุขสมใจเรื่องไหน มันอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจเรื่องไหน นี้แหละกิเลสมันอยากได้สมใจ อยากได้ดั่งใจเรื่องไหน ต้องตามตรวจหาให้เจอ ตรวจให้แม่น ไม่มีสิ่งอื่นแน่นอน นอกจากมันจะอยากได้สุขสมใจ อยากได้สุขที่ได้ดั่งใจเท่านั้น ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่าอยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์กิเลสมันอยากได้สุขสมใจมันอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจเมื่อมันไม่ได้มันจึงเป็นทุกข์เมื่อไหร่ที่เกิดทุกข์ใจให้ลองตรวจดูว่าตอนนั้นมันมีอะไรที่มันไม่ได้สมใจไม่ได้ดั่งใจมันต้องมีสักอย่างที่เราไม่ได้สมใจมันต้องมีสักอย่างที่เราไม่ได้ดั่งใจมันจึงเกิดทุกข์ใจ

เมื่อไหร่ที่เกิดทุกข์แสดงว่ามันต้องผิดศีลแน่ ผิดศีลคือหลงอยากได้ดั่งใจ อยากได้สมใจ มันต้องมีอะไรสักอย่างที่เราหลงอยากได้ดั่งใจอยากได้สมใจแน่ ๆ มันต้องหลงผิดศีลแน่ ๆ ผิดศีลคือความอยากได้ดั่งใจ อยากได้สมใจ นี้แหละคือ ผิดศีล วันนี้ตั้งใจฟังให้ดี ๆ จะพาตรวจศีลให้ชัด ๆ การตรวจศีลที่ถูกต้องให้ตรวจไปถึงใจเลย ไม่ใช้แค่กายวาจาเท่านั้น 

ผิดศีลไม่ได้ผิดแค่กายวาจาแต่มันผิดไปถึงใจเลยใจที่มันผิดศีลคืออยากได้ดั่งใจอยากได้สมใจตรวจให้ดีๆถ้าได้ดั่งใจสมใจแล้วมันจะสุขใจชอบใจถ้าไม่ได้ดั่งใจไม่ได้สมใจแล้วจะทุกข์ใจไม่ชอบใจอาการเช่นนี้มีบ้างหรือไม่ต้องตรวจให้ถึงตรงนี้ตรงนี้แหละจะพ้นทุกข์ไม่พ้นทุกข์มันอยู่ที่ตรงนี้นี้แหละที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ 

คนผิดศีลคือไปหลงอยากได้ดั่งใจ อยากได้สมใจ ถ้าได้แล้วจะสุขใจชอบใจ ไม่ได้แล้วจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ นี้แหละกำลังทำผิดศีลแล้ว ความรู้สึกกลัวจะไม่ได้มา ได้มาแล้วกลัวจะหมดไป นี้แหละผิดศีลแล้ว ถ้าเธอไม่ตรวจตัวเองด้วยศีลแล้วเธอจะไปตรวจตัวเองด้วยอะไร 

พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าถ้าเธอไม่ได้ทุกข์เพราะผิดศีลแล้วเธอจะทุกข์ใจเพราะอะไรซึ่งมันไม่มีสิ่งอื่นที่จะทำให้ทุกข์ใจได้นอกจากการผิดศีลและการผิดศีลตัวจริงเสียงจริงก็คือความอยากได้สุขสมใจอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจนั้นคือราคะเกิดเป็นความกลัวที่จะไม่ได้มาได้มาแล้วก็กลัวจะหมดไปถ้าได้จะสุขใจชอบใจถ้าไม่ได้จะทุกข์ใจไม่ชอบใจถ้ามีความรู้สึกแบบนี้นี่คือผิดศีลแล้วจะต้องเน้นย้ำสิ่งนี้กับตัวเองให้มากๆต้องแม่นประเด็นให้ได้ว่าความรู้สึกเช่นที่ได้กล่าวมาแล้วนี่แหละคือการผิดศีลพระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าไม่ผิดศีลจะไม่เกิดทุกข์ใจที่มันทุกข์ใจอยู่ตอนนี้ก็เพราะมันผิดศีลซึ่งทุกข์ใจมันทำให้เกิดทุกข์กายและทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลด้วย 

นอกจากทุกข์ใจจะเป็นทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดแล้ว มันยังทำให้เกิดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลด้วย ผิดศีลนี้คือ ความทุกข์ใจและรากเหง้าของมันก็คือความอยากได้ดั่งใจอยากได้สมใจได้เป็นสุขไม่ได้เป็นทุกข์ได้สุขสมใจไม่ได้ทุกข์ใจกลัวจะไม่ได้มาได้มาแล้วก็กลัวจะหมดไปพอสุขสมใจหมดไปแล้วก็เกิดทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจเมื่อรู้แล้วว่ารากเหง้าเกิดจากความรู้สึกอยากได้ดั่งใจและทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจสิ่งเหล่านี้คือรากเหง้าของทุกข์ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ท่านแสดงแล้วล้วนเป็นไปเพื่อคลายจากราคะเป็นความมุ่งหมาย

“ดูกรภิกษุ เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้วล้วนมีความคลายจากราคะเป็นความมุ่งหมายฯ คือต้องคลายจากการอยากได้สุขสมใจ คลายจากการอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจ จะต้องคลายจากทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ คลายจากทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ เป็นความมุ่งหมาย ต้องคลายสิ่งเหล่านี้ออกให้ได้ นี้คือจุดสำคัญที่จะต้องคลายออกให้ได้ มันจึงจะหมดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลได้”

พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าคลายสิ่งนี้ได้จะทำให้หมดทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ หมดทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ไม่มีทุกข์กายและเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลเลยเมื่อชีวิตหมดทุกข์โทษภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นได้คนที่ได้สภาพเช่นนี้จะเป็นสุขใจและสามารถคลายทุกข์โทษภัยทั้งต่อตนเองและคนอื่นตลอดกาลนั้นก็จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นสูงสุดเมื่อคนไม่มีภัยคนคลายโทษภัยต่อตนเองคนอื่นและสัตว์อื่นได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองคนอื่นและสัตว์อื่นได้คนจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์คำตอบคือจะเป็นสุขจะยินดีหรือยินร้ายคำตอบคือจะยินดี 

นี้แหละคือสิ่งที่คนจะยินดีพอใจสุขใจที่สุดในโลกสามารถเปลี่ยนพลังงานทุกข์ให้เป็นพลังงานสุข  เปลี่ยนพลังงานทำลายให้เป็นพลังงานสร้างสรรค์เปลี่ยนชั่วให้เป็นดีเปลี่ยนเลวให้เป็นดีได้ทันทีและเป็นสภาพที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรได้ควรเป็นควรมีซึ่งคนจะมีความสุขที่สุดจะต้องทำสิ่งนี้ให้ได้

ขั้นตอนการทำพระพุทธเจ้าท่านได้ขยายรายละเอียดเพิ่มไว้ในข้อที่ 89  

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ จักษุคือตา และความรู้สึกทางตา การได้เห็นทางตาแล้วเกิดความรู้สึกต่างๆเช่นความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ สุข ทุกข์ เมื่อได้เห็นสิ่งต่าง ๆ”

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง” ภิกษุตอบว่า “ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ฯ”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ” 

ภิกษุตอบว่า “ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ฯ” “ความรู้สึกใดๆที่ได้รับเมื่อกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ สุขสมใจที่ได้นั้นมันเที่ยงหรือไม่” “ภิกษุตอบว่า “ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า” 

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อว่า ” ก็สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ”

 ภิกษุตอบว่า ” เป็นทุกข์พระเจ้าข้าฯ” สุขสมใจอยากสุขที่ได้ดั่งใจเคยได้กันบ้างไหมเมื่อเคยได้สุขสมใจกันมาแล้วทุกคนสุขนั้นเที่ยงไหมคำตอบคือไม่เที่ยงถามว่าสุขสมใจนั้นอยู่นานไหมคำตอบคืออยู่ไม่นานถามว่าเคยได้สุขสมใจครั้งเดียวหรือได้หลายครั้งคำตอบคือได้หลายครั้งเมื่อเคยได้หลายครั้งแล้วสุขนั้นอยู่ที่ไหนตอนนี้เอาสุขสมใจที่เคยได้หลายครั้งนั้นออกมาดูได้ไหมคำตอบคือไม่มีสุขนั้นมันหายไปแล้วเห็นไหมว่าสุขสมใจมันไม่เที่ยงมันไม่มีจริงแต่เราก็ยังอยากได้แล้วอยากได้อีกรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสที่เราอยากได้ถามว่ามันจะได้ทุกครั้งที่เราอยากได้หรือไม่คำตอบก็คือมันก็ไม่สามารถได้สมใจทุกครั้งที่เราอยากได้เมื่อมันไม่สามารถได้ทุกครั้งมันก็คือสิ่งที่ไม่เที่ยงมันต้องลุ้นเกิดความกลัวกลัวว่าจะไม่ได้มาแค่นี้ก็เห็นแล้วว่ามันเป็นทุกข์

กลัวเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ทุกข์ใช่ไหม เห็นไหม แม้แค่วัตถุก็ทำให้เราทุกข์แล้วใช่ไหม กลัวจะไม่ได้มาได้มาก็กลัวจะหมดไปใช่ไหม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ต่าง ๆ มันก็ไม่เที่ยง ตกลงไม่เที่ยงแล้วเราก็อยากได้กลัวจะไม่ได้ ได้ก็กลัวจะหมดไป มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันเป็นทุกข์ไง นี่ไงสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์  มันก็ไม่เที่ยงมันก็เป็นทุกข์ 

ทีนี้สัมพันธ์กันอีก แม้แต่ความรู้สึกสุขที่ได้ ตั้งแต่ยังไม่ได้ ถามว่าสุขหรือทุกข์ คำตอบก็คือก ทุกข์แล้วใช่ไหม กลัวจะไม่ได้ใช่ไหม ความรู้สึกสุขนั้น กลัวจะไม่ได้สุขสมใจนั้น ได้แล้วเป็นไง… ได้แล้วก็กลัวจะหมดไปอีกใช่ไหม แล้วมันเที่ยงไหม… มันไม่เที่ยงใช่ไหม มันหมดไปแล้วทุกข์ไหม… ก็ทุกข์อีกใช่ไหม 

อยากได้มาอีกใช่ไหม ทุกข์ที่มันหมดไปทุกข์กลัวจะไม่ได้มา ได้มาก็กลัวจะหมดไปอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่รูป รส  กลิ่น เสียง สัมผัส ไปจนถึงความรู้สึกสุข ตกลงเที่ยงหรือไม่เที่ยง คำตอบคือไม่เที่ยงเลย เดี๋ยวก็ได้ เดี๋ยวก็ไม่ได้ เเม้ได้ก็ยังดับไปอีกใช่ไหม มันทำให้เรากลัวอยู่ตลอดเวลา กลัวจะไม่ได้ ได้กลัวจะหมดไป ก็มีความทุกข์อยู่ตลอดเวลาใช่ไหม 

พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือยังอยากได้ในสิ่งที่ไม่เที่ยง จะบ้าเหรอมันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนแท้ด้วย เก็บก็ไม่ได้ แล้วมันจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ล่ะ…มันก็เป็นทุกข์เนอะ อยากได้ในสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่มั่นคงไม่ยั่งยืน จะได้หรือไม่ได้ยังไม่รู้เลยได้เสร็จก็จะหมด ได้เสร็จมันก็จะหมดไปอีก มันก็จะต้องทุกข์ตลอดเลย ภิกษุตอบว่า เป็นทุกข์พระเจ้าข้า 

พระพุทธเจ้าก็ตรัสอีกสิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรานั่นเป็นเรานั่นตัวตนของเรามันควรไหมมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ด้วยมันเป็นทุกข์ยังไงบ้างสิ่งใดไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ทั้งไม่เที่ยงเป็นทุกข์ด้วยสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่าก็ตอบว่าเป็นทุกข์สิ่งใดไม่เที่ยงเราจะไปอยากได้มันมันก็เป็นทุกข์แล้วนะไม่รู้จะได้หรือไม่ได้ได้เสร็จก็ไม่ใช่ว่าจะรักษาได้ตลอดสักวันหนึ่งก็ต้องหมดไปอีกก็ต้องสยองกลัวจะไม่ได้มาได้มากลัวจะหมดไปอยู่อย่างนั้นเป็นทุกข์หรือยังก็เป็นทุกข์แล้วเป็นทุกข์ใจชีวิตต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์เสียพลังไปเกร็งตัวบีบเอาทุกข์ออกเสียพลังไปดันเอาทุกข์ออกเลือดลมไหลเวียนไม่ได้เซลล์ผิดโครงสร้างโครงรูปเจ็บป่วยป่วยได้ทุกโรคเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์อีกใช่ไหมเห็นไหมทุกข์ใจเสร็จก็ต้องเป็นทุกข์กายอีก 

ต้องลำบากในการไปแสวงหาเพื่อให้ได้ดั่งใจ แล้วลำบากในการรักษาไว้ ต้องใช้เรี่ยวแรงกำลังทุนรอน ความรู้ความสามารถใช้ทุกอย่าง เรี่ยวแรงกำลังทุนรอน ความรู้ความสามารถทุกอย่างองค์ประกอบทุกอย่างเพื่อจะให้ได้มา ได้มาแล้วก็ต้องรักษาไว้ไม่ให้หมดไป ..เหนื่อยไม่เหนื่อย… ลำบากไม่ลำบาก… สุขหรือทุกข์… ทุกข์อีกใช่ไหม หมดแรงหรือไม่หมดแรง… หมดแรงอีกใช่ไหม หมดแรงไปทำอะไร…ไปทำทุกข์ คุณจะบ้าเหรอ น่าเขกกบาลไหม คุณจะบ้าเหรอมันบ้าแล้วเสียเรี่ยวเสียแรงเสียแรงกายเสียแรงใจเสียทุนรอนเสียเวลาเสียสุขภาพเสียองค์ประกอบต่างเพื่อไปทำทุกข์ไปทำทุกข์ใจไปทำทุกข์กายให้กับตัวเองมันบ้าเหรอก็บ้าแล้วเสร็จแล้วเป็นไงอยากได้มากทำไม่ดีได้ทุกเรื่องอีกใช่ไหมแล้วก็เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก  เดือดร้อนไหมเดือดร้อนไปทั่วเลยแล้วชีวิตเป็นไงชีวิตก็บันทึกเป็นวิบากร้ายเป็นพลังสร้างผลดึงเรื่องร้ายมาสร้างผลร้ายผลทุกข์ให้กับตัวเองและผู้อื่นตลอดกาลนานมันสุขหรือมันทุกข์มันทุกข์นี่ไงสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์แบบนี้  ชัดไหมสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์มันทุกข์แบบนี้แล้วมันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ มันไม่เที่ยงด้วย มันเป็นทุกข์อย่างนี้ 

พระพุทธเจ้าก็ตรัสเลยว่า “ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา” มันควรไหม… ควรที่จะเอามาเป็นตัวเราของเราไหม ไม่เที่ยงด้วยเป็นทุกข์ด้วย  มันน่าได้ น่าเป็น น่ามีไหม  มันน่าจะเอามาเป็นตัวเราของเราไหม น่าไหม ๆมันก็ไม่น่าเลยใช่ไหม มันไม่น่าจะเอามาเป็นตัวเราของเราเลย ก็มันไม่เที่ยง ไม่มีจริง แถมเป็นทุกข์อีกต่างหาก มันไม่น่าจะเอามาเป็นตัวเราของเราเลย 

ความหมายของท่านว่าคนจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ที่เอามาเป็นตัวเราของเรามันก็ต้องทุกข์ใช่ไหมแต่ถ้าเรารู้ว่ามันไม่น่าที่จะเอามาเป็นตัวเราของเราเลยสิ่งที่ไม่เที่ยงที่เป็นทุกข์มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาลนานเป็นทุกข์โทษภัยต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาลนานมันน่าเอามาหรือน่าเอาออกไปมันน่าเอาออกไปใช่ไหมแล้วถ้าเอาออกไปได้มันจะสุขใจหรือทุกข์ใจก็สุขใจสิใช่ไหมนี่แหละความสุขมันอยู่ตรงนี้แหละ 

ตั้งใจฟังดี ๆ ความสุขใจความยินดีความพอใจความสุขใจมันอยู่ตรงนี้นี่แหละสุขที่สุขที่สุดในโลกมันอยู่ตรงนี้พอเอาออกไปเอาสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่มีจริงแถมเป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยออกไปจากชีวิตได้มันน่าจะดีใจหรือน่าเสียใจ…น่าดีใจ น่ายินดีหรือยินร้าย …น่ายินดี หน้าสุขใจหรือน่าทุกข์ใจ…ก็น่าสุขใจใช่ไหม อันนี้แหละมันก็น่าที่จะยินดีพอใจสุขใจได้ 

ถ้าเรามีปัญญาอันยิ่งเลยพฤติกรรมนี้ของเราไม่มีทุกข์ไม่มีโทษไม่มีภัยต่อใครเลยนะไม่มีทุกข์โทษภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นเลยเป็นประโยชน์ไหมเป็นประโยชน์ที่สุดเลยเป็นที่สุดต่อตนเองต่อคนอื่นต่อสัตว์อื่นมีความสุขไหมล่ะก็มีความสุขเท่านั้นเอง 

ถ้าเราไม่ต้องไปอยากได้สุขสมใจนะ ก็ไม่ต้องมีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ มันก็ไม่ต้องมีทุกข์กาย มันก็ไม่มีเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาลนาน เท่านี้นี่มีคุณค่ามีประโยชน์ไหม มากไหม มีอะไรเทียบเท่าไหม… ไม่มี เท่านี้ก็มีประโยชน์สูงสุดไม่มีอะไรเทียมเท่าแล้ว

อาจารย์ถึงบอกว่ายกตัวอย่างง่าย ๆ เราไม่มีโรค ชีวิตตอนนี้ เราตอนที่กำลังเป็นโรคอยู่ แล้วหายจากโรคเลยสุขไหม… สุขทันทีเลยใช่ไหม ตอนมีเรื่องร้ายเราหายจากเรื่องร้ายสุขไหม… สุขทันทีเลยใช่ไหม ไม่ต้องไปหาสุขที่ไหนเลยใช่ไหม ชีวิตไม่ต้องไปหาสุขที่ไหนหรอกแค่โรคหายก็สุขแล้วใช่ไหมแค่เรื่องร้ายหายก็สุขแล้วใช่ไหมแค่ทุกข์โทษภัยหายมันก็สุขแล้วใช่ไหมชีวิตแต่ก่อนมีแต่ทุกข์แต่โทษแต่ภัยพอทุกข์โทษภัยมันหายไปเลยชีวิตก็สุขแล้วอย่างนี้เป็นต้น  

พฤติกรรมนี้เราไม่ได้มีทุกข์ใจเลยเราไม่มีทุกข์ใจเลยสุขสบายใจไร้กังวลเป็นสุขไหมเป็นสุขแล้วไม่มีทุกข์ใจเลยเพราะไม่มีสุขสมใจก็ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้สมใจไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลอะไรเกิดดับเราก็ไม่ทุกข์เพราะเราไม่มีสุขที่ต้องการใช่ไหมมันก็ไม่ได้มีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจก็ไม่มีไม่มีสุขไม่มีทุกข์มันจะเกิดจะดับก็ช่างมันสิเราก็สบายใจไร้กังวลนี่แหละไม่มีสุขทุกข์ไม่มีชอบชังไม่มีอยากไม่มียึดมั่นถือมั่นมันก็ไม่ต้องไปอยากอะไรไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอะไรมันก็เป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจใช่ไหมเราดับสุขที่ได้ดั่งใจได้มันก็เป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละสุขที่ไม่ได้ดั่งใจเป็นอย่างนี้ 

สุขที่ไม่ได้สมใจสุขที่ไม่ได้ดั่งใจคนทำได้ต้องมีปัญญามากมีปัญญาประเสริฐสูงสุดถึงจะทำได้ ถึงจะได้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ฟังแล้วหูหักเลยทีนี้ ก็มีสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจสุขใจที่ไม่ได้สมใจ ทำไมถึงสุข ก็มันไม่มีทุกข์ใด ๆ  พอเรากำจัดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลได้ กำจัดทุกข์ใจได้ กำจัดได้ ทุกข์กายถูกกำจัดไปด้วย เรื่องร้ายก็ถูกกำจัดไปด้วย เพราะไม่ต้องมีทุกข์ใจแล้ว กำจัดทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจได้ก็ได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจแล้วที่นี้ก็กำจัดทุกข์กายได้ด้วยเพราะไม่ต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ไม่ต้องเสียพลังไปแก้ปัญหาทุกข์  ไม่ต้องเสียพลังไปตอบสนองกิเลสเยอะแยะ  พลังกลับมาเป็นของเราทั้งหมดเลยสร้างร่างกายให้แข็งแรงสลายโรคขับโรคออกไปเลยกล้ามเนื้อคลายตัวด้วยไม่ได้บีบทุกข์ออกเลือดลมไหลเวียนสะดวกด้วยพลังกลับมาเป็นของเราทั้งหมดด้วยเพราะอะไรเพราะเราแปรทำลายให้เป็นสร้างสรรค์แปรทุกข์ให้เป็นสุขพลังงานไม่สูญหายไปไหนเราสลายทุกข์นั้นไปมันก็เป็นสุขเท่านั้นเอง 

กิเลสมันรู้แล้วว่าคิดแบบมันเป็นทุกข์เลิกคิดดีกว่าเลิกคิดก็คิดแบบพุทธะเลยเลิกอยากได้สุขสมใจก็มาเอาสุขที่ไม่ได้สมใจก็แปรทุกข์ให้เป็นสุขเลยทุกข์ที่ไม่ได้สมใจก็หายไปมาเป็นสุขที่ไม่ได้สมใจแทนสุขที่ได้สมใจหายไปทุกข์ที่ไม่ได้สมใจก็หายไปกลายเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจสุขที่ไม่ได้สมใจสุขที่ไม่ได้ดั่งใจแทนแปรทุกข์ให้เป็นสุขเพราะฉะนั้นแปรทำลายให้เป็นสร้างสรรค์แปรชั่วให้เป็นดีแปรเลวร้ายให้เป็นดีเห็นไหมแปรทุกข์ให้เป็นประโยชน์พลังงานไม่มีวันสูญหายไปไหนเราสลายตรงนี้ไปก็เป็นพลังสุขเท่านั้นเอง 

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า วิมุติเป็นกำลัง นี่ท่านจึงตรัสว่าวิมุติเป็นกำลัง หลุดพ้นจากทุกข์ เป็นกำลังมันเป็นกำลังอย่างนี้ ก็มีกำลังสุขใจอย่างนี้ สุขกายอย่างนี้ ร่างกายก็แข็งแรงเลย กล้ามเนื้อคลายตัวเลือดลมไหลเวียนสะดวก พลังกลับมาเป็นของเรา  ดูดสารและพลังงานที่เป็นประโยชน์มาเลี้ยงชีวิตเรา สลายสารและพลังงานที่เป็นโทษออกไปจากชีวิตเรา แข็งแรงทันทีเลยเห็นไหม 

เราไม่ต้องไปเสียพลังแล้ว ก็เอาพลังไปทำสิ่งที่ดี ๆ ไม่ได้เอาพลังไปทำสิ่งที่ชั่ว เอาพลังไปทำสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์พาคนพ้นทุกข์ได้ประโยชน์แบบนี้พาคนได้ประโยชน์สุขแบบอื่น ๆ แล้วเป็นพลังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามด้วย แล้วเราเริ่มทำ ได้สุขใจ ได้สุขกายทันที เป็นพลังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามทันที แล้วเราก็ยิ่งมีความรู้ความสามารถที่จะช่วยคนอื่นต่อได้ด้วยก็ยิ่งดี แม้ไม่มีความรู้ความสามารถในการสอนคนอื่น ยังเป็นพลังเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามเลย  ได้มาหากุศลทันทีเลย 

ยิ่งเรามีปฏิภาณปัญญา จัดองค์ประกอบให้ปัญญาคน ให้เขาได้เข้าใจอันนี้ เขาก็ยิ่งพ้นทุกข์ไปอีก ก็ยิ่งได้มาหากุศลไปอีก และก็เอาเรี่ยวแรงกำลังเวลาองค์ประกอบต่าง ๆ นอกจากพาคนได้ประโยชน์สุขอันนี้ ประโยชน์สุขอื่น ๆ ที่ควรได้อาศัย ก็พากันทำ ทำอาหาร ทำยาวิธีการรักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย พลังงานทดแทน  อะไรอีกเยอะแยะ สิ่งจำเป็นในชีวิต แง่เชิงต่าง ๆ ทำเข้าไป ให้คนได้อาศัยก็ยิ่งไปเป็นประโยชน์ขึ้นไปอีก ก็เป็นมหากุศล พลังชีวิตก็บันทึกเป็นเรื่องเป็นวิบากดี ดูดสิ่งดีเข้ามา ดันสิ่งร้ายออกไป จากตัวเองและผู้อื่นตลอดกาลนาน เป็นประโยชน์ไหม เป็นประโยชน์เข้าไปอีกเลยเห็นไหม  มันไม่มีทุกข์ใด ๆ เลย 

ตั้งใจฟังให้ดีสุขที่ไม่ได้สมใจสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ  ไม่มีโทษภัยใดเลยมีแต่ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาลนี่เป็นสุดยอดวิบากดีที่ไปดันวิบากร้ายให้เบาหรือว่าหมดไปได้  ให้เบาไปก็ทำให้โรคเรื่องร้ายให้เบาไปหรือหมดไปได้โรคเรื่องร้ายเก่าที่เราพลาดทำมาแล้วก็ถูกพลังวิบากดีอันนี้ผลักดันออกไปโรคเรื่องร้ายเก่าจากวิบากร้ายเก่าที่เราทำมาแล้วก็ถูกดันออกไปดันวิบากร้ายก็ดันโรคเรื่องร้ายเก่าให้เบาไปให้หมดไปได้ด้วย  เป็นสุดยอดแห่งประโยชน์หาโทษมาสิมีไหมไม่มีเลยมีแต่ประโยชน์อย่างเดียวเลยน่าชื่นใจไหมน่าชื่นใจ 

พระพุทธเจ้าจึงตรัสในเทวธาวิตักกะว่าเมื่อเราพิจารณาแล้วพิจารณาอีกทั้งกลางวันทั้งกลางคืนพิจารณาแล้วก็ไม่มีทุกข์โทษภัยอะไรเลยในเนกขัมมะในพุทธะแบบนี้เราไม่เห็นทุกข์โทษภัยอะไรเลยมีแต่ประโยชน์ไม่เบียดเบียนตัวเองคนอื่นสัตว์อื่นไม่มีภัยต่อใครเลยมีแต่ประโยชน์ต่อทุกชีวิตมีแต่ปัญญาที่มากขึ้นเจริญไพบูลย์เท่านั้น  มีแต่สิ่งดีที่เพิ่มขึ้นก็สุขสบายใจไร้กังวลทำได้แต่ละเรื่อง ๆ  มีแต่ดีทั้งนั้น   พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มันควรหรือว่าถ้าเราเห็นว่ามันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ควรที่จะยึดว่าเป็นตัวเราของเรา พระภิกษุจึงบอกว่าไม่ควรอย่างนั้นพระเจ้าข้า   ไม่ควรยึดว่าเป็นตัวเราของเราจะมีความสุขทันที

พระพุทธเจ้าตรัสว่าดูกรภิกษุ  อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุแม้ในใจ  แม้ในหูตา  จมูกลิ้นกายใจสัมผัสแล้วเกิดเวทนาความรู้สึกสุขเวทนารวมทั้งทุกขเวทนาน่าเบื่อหน่ายสุขสมใจทุกข์ที่ไม่ได้สมใจน่าเบื่อหน่ายที่สุดเลยสุขที่ได้ดั่งใจทุกข์ทีไม่ได้ดั่งใจน่าเบื่อหน่ายที่สุดย่อมคลายกำหนัดคือวิราคะคลายกำหนัดออกไป  คลายสุขที่ได้สมใจออกไปคลายทุกข์ที่ไม่ได้สมใจออกไปไปเอาสุขที่ไม่ได้สมใจไม่ได้ดั่งใจแทนเพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น  หลุดพ้นจากทุกข์เลยได้สุขสบายใจไร้กังวลที่ไม่ได้ดั่งใจหมายทีละเรื่อง ทำไปเมื่อหลุดพ้นแล้วย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว หลุดพ้นจากทุกข์แล้ว เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว นี้ชาติสุขสมใจสิ้นแล้ว  พรหมจรรย์สุขสมใจสิ้นแล้ว ชาติที่ไม่ได้สุขสมใจสิ้นแล้ว ทุกข์กายทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลก็สิ้นแล้ว มีแต่ประโยชน์สุขอย่างเดียวเท่านั้น  พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ความสะอาดแห่งจิตพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  จรรย จริยาของพรหม  ความเมตตาปรารถนาให้ตัวเองสัตว์อื่นผู้อื่นพ้นทุกข์  กรุณา ก็ลงมือกระทำให้พ้นทุกข์   มุทิตา ยินดีทีพ้นทุกข์ แม้ไม่ได้ดีก็ยินดีแม้ได้ทำที่สุดแล้ว ยิ่งทำได้พ้นทุกข์เลย อุเบกขาได้ปล่อยวางทุกข์สิ้นเกลี้ยงแล้ว

อุเบกขา 5 ปริสุทธาจิตบริสุทธิ์จากทุกข์ ปริโยทาตา  แม้มีอะไรกระแทก กระทั้น จิตก็ยังบริสุทธิ์จากทุกข์นั้นเพราะมีปัญญาอันยิ่ง มันไม่มีทุกข์ โทษภัยต่อใครเลยเป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิต เพราะฉะนั้นจะกระแทก กระทั้น  จะมาหลอกอย่างไรให้หลงอีก มีปัญญาเอาสุขแท้ไม่เอาสุขเทียมแล้ว ไม่เอาทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล สุขนี้ชัดเจน ก็มุทุ แววไว ยินดีที่จะปรับไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างเเววไว 

กัมมัญญาจิตควรแก่การงานควรแก่สิ่งที่เป็นประโยชน์อะไรที่เป็นประโยชน์ก็ทำเลยจิตควรแก่การงานอะไรเป็นประโยชน์ก็ทำอย่างแววไว    อันนี้เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยตัดไป  พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมไม่ดีผิดศีลเป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยชัดเจนต่อตนเองต่อสัตว์อื่นคนอื่นตัดไปด้วยใจที่เป็นสุขเลยยินดีในการตัด ไม่เสพสมใจ ในเรื่องชั่วเรื่องเดือดร้อนต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นชัดเจนตัดไปทีละเรื่อง ๆ  เท่าที่ตนเองทำได้โดยเฉพาะตัวร้าย ๆ มาก ๆ ตัดไปก่อน  ตัวที่รองลงมาก็ตัด รองลงมาแล้วไปยึดดีที่ฉลาดด้วยนะ    

กัมมัญญาไปยึดดีอะไรดีไปยึดดีอะไรดีเป็นประโยชน์สุขยินดีทำถ้าทำได้  ดีไหนได้ก็ยึดเข้าไปเลยดีดั่งใจหมายเป็นสุขยึดเข้าไปเลยแล้วถึงคราวดีดั่งใจหมายเกิดไม่ได้ก็สามารถไปเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจหมายได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจหมายได้ทันทีโดยพิจารณา   พิจารณาสุขสมใจก็เป็นทุกข์ถ้าไปติดมันก็เป็นทุกข์ไม่ได้สมใจก็เป็นทุกข์ไม่ได้ดั่งใจก็เป็นทุกข์สุขสมใจก็ไม่เที่ยงไม่มีจริงพอไม่ได้ดั่งใจเป็นทุกข์เมื่อรู้ชัดเลยไม่เอาถ้าไม่อยากไม่เอาสุขที่ได้ดั่งใจก็จะไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจและจะไม่มีทุกข์กายไม่มีทุกข์ต่อเหตุการณ์ร้ายทั้งหมดทั้งมวลทั้งต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาล 

ยินดี ดีกว่า สุขกว่า ก็ยึดดีไปเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจและก็เข้าใจชัดเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง เข้าใจชัดว่าที่ยังไม่ได้ไม่ใช่กุศลของเราและผู้เกี่ยวข้องที่ให้ได้อาศัยและเป็นอกุศลของเรา ผู้เกี่ยวข้องที่ต้องชดใช้ รับเท่าไหร่หมดเท่านั้นดียิ่งออกฤทธิ์ได้มากขึ้นอีกถ้าได้อาศัย ทุกอย่างจะดับไปเราก็มีความสุข ณ  ปัจจุบันมีอะไรให้อาศัยก็มีความสุขที่ได้อาศัยกุศลของเราผู้เกี่ยวข้อง เท่าที่มันควรได้เกินนั้นไปไม่ต้องไปอยากได้ อยากได้ไปก็เป็นทุกข์อยากได้สุขสมใจก็เป็นทุกข์ไม่อยากได้ก็ไม่ทุกข์  อยากได้ก็ไม่ได้อยู่แล้วเกินกุศลของตัวเองอยากได้ก็ไม่ได้อยู่แล้วอยากได้ทำไมเกินกุศลของตัวเองไม่ต้องไปอยากได้ไม่อยากได้ก็ไม่ทุกข์ไม่ต้องไปอยากได้สมใจก็ไม่มีทุกข์ที่ไม่สมใจไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลมันก็ดีกว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่นตลอดกาลผ่องใสกว่า 

เมื่อใดก็ตามดีนั้นเกิดได้ พร้อมยึดเลยไม่เป็นปัญหาทำเป็นอยู่แล้ว ยินดีพอใจสุขใจ ที่ได้อาศัยดี ดีนั้นให้ได้ ก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป มันเกิดไม่ได้เมื่อไหร่ก็มีความสุข ที่ไม่ได้ดั่งใจเพราะสุขที่ได้ดั่งใจเป็นทุกข์ เราไม่ต้องไปอยากได้เอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจนี้สุขตลอดกาลไม่มีทุกข์เลยมีประโยชน์ตลอดกาลแววไว ปุ๊บปั๊บ ๆ รู้ว่าอะไรเป็นกุศล อกุศล   กุศลที่เราได้อาศัยก็เป็นกุศลเรา  อันไหนที่ไม่ได้อาศัยก็ยังเป็นโทษเป็นภัยเป็นวิบากร้าย ที่เลี่ยงไม่ได้ แก้เต็มที่แล้วก็ยังแก้ไม่ได้ ก็ให้ยินดีรับ ยินดีให้มันหมดไป รับเท่าไหร่หมดเท่านั้นไม่ทุกข์อะไรเป็นต้น อุเบกขา ปริสุทธา  ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา    

ปภัสสราคือ จิตผ่องใส จิตที่ผ่องใสทันที  ปริสุทธา บริสุทธิ์จากกิเลส ทุกข์จากความโง่นี่แหละ ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล ปริโยทาตา จะเอาผัสสะมากระแทกกระทั้น กระเทือน เราให้เราทุกข์เหมือนเดิม เราหลงสุขหลงทุกข์เหมือนเดิมไม่เอา ไม่มีสุขสมใจ หลงทุกข์ที่ไม่ได้สมใจทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล ไม่เอาแล้ว ไปเอาสุขที่ไม่มี  ไม่เอา สุขสมใจที่มีแต่ทุกข์ตลอดกาลตัดไปเลย มีปัญญาอันยิ่งมุทุแววไวที่จะปรับไปสู่สภาพที่เป็นประโยชน์สภาพผาสุกอันนี้เเววไวที่จะทำกัมมัญญาการกระทำที่เป็นประโยชน์ชั่วตัดไปดีไหนยึดได้ให้ยึดดีไหนที่ยึดไม่ได้ก็วางให้เร็ว มีความยินดีสุขใจตลอดกาลอย่างนี้เป็นต้น 

แววไว กัมมัญญา จิตก็ปภัสสรา ผ่องใส จิตควรแก่การงานเต็มที่ผ่องใส สามารถทำความผ่องใสได้ทันที อย่างนี้เป็นต้น สุดยอดอุเบกขานี่แหละ พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี กิจที่ดีที่สุดของชีวิตนี้ กิจอื่นนอกจากนี้ ที่ดีกว่านี้ไม่มี ก็ทำแบบนี้เท่านั้น จึงจะได้แบบนี้ แบบอื่นไม่ได้แบบนี้ และเมื่อได้แบบนี้แล้ว กิจอื่นที่มีค่ากว่านี้ประเสริฐกว่านี้เป็นสุขกว่านี้มิได้มี                                                       

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุปราศจากธุลีปราศจากมลทินแปลว่าปราศจากกิเลส ปราศจากสุขสมใจและทุกที่ไม่ได้สมใจทั้งหมดทั้งมวล เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา 

สิ่งต่างมีเกิดดับเป็นธรรมดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขสมใจอยากที่เกิดขึ้นนั้นเรามีปัญญารู้แล้วว่ามันเป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลมันไม่เที่ยงมันไม่มีจริงเป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดการสลายเลยทิ้งไปเลยให้มันเกิดมันดับไปสลายดับให้มันเกิดแล้วให้มันดับเป็นธรรมดาทำให้มันดับเป็นไปอย่างง่ายดายเป็นธรรมดาเลยเป็นอุเบกขาเลยนี่แหละเป็นปริสุทธาปริโยทาตามุทุกัมมัญญาปภัสสราสลายไปอย่างง่ายดายเป็นธรรมดาเลย ทำให้มันดับ เกิดแล้วทำให้มันดับได้ทำให้ทุกข์ดับได้ก็เห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลก เป็นธรรมดา แบบสลายกิเลสได้ แบบพุทธะ กับแบบมีกิเลสคนละเรื่อง ธรรมดาแบบพุทธะคือธรรมดาที่ไม่มีทุกข์ ใด ๆ เลย ผ่องใสไร้กังวล 

ธรรมดาแบบโลกทั่วไป กิเลสทั่วไปก็เห็นมันเกิดดับเป็นธรรมดา แต่ยังอยากได้สุขสมใจ ฉันยังทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ แต่ที่ฉันชอบทุกข์ ที่ดับไป ส่วนที่ชังทุกข์ที่มันเกิดขึ้นอย่างนี้เป็นต้น มันยังมีความทุกข์มันยังมีสุขสมใจมันยังมีทุกข์ที่ไม่ได้สุขสมใจแม้จะรู้ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดา แต่ในใจลึก ๆ ยังมีอยากได้สุขสมใจ ยังมีทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ยังมีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลอยู่ เพราะไม่ได้ล้างกิเลสได้ 

แต่ธรรมดาของพุทธะ ล้างสุขสมใจได้ล้างทุกข์ที่ไม่ได้สมใจได้ดับทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลได้จึงธรรมดาแบบสุขสบายใจไร้กังวลมีความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจและก็ยึดได้วางได้ดีไหนยึดได้ก็ได้ยึดไม่ได้ก็วางอย่างร่าเริงเบิกบานแจ่มใสไร้กังวล เพราะฉะนั้นจึงต่างกันเห็นทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดาแบบไม่มีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์เลยสุขสบายใจไร้กังวลด้วยปัญญาอันยิ่งนี่แหละยิ่งใหญ่ที่สุดธรรมดาอย่างนี้จบสูตรที่ 1                                                                                   

อธิบายใหม่ได้ความรู้เพิ่มอย่างน้อยวันนี้ตรวจศีลเป็น ตรวจศีลแต่ละเรื่อง ๆ เป็นแล้วยัง… ติเตียนตัวเองด้วยศีลเป็นแล้วยัง… เป็นแล้วนะ  ติอย่างไร…  เวลาเกิดทุกข์ใจขึ้นมาให้ติเตียนตนว่ามันต้องผิดศีลแล้วมันผิดศีลข้อไหนผิดศีลประเด็นไหนอะไรที่บ่งบอกว่าผิดศีลมันต้องอยากได้ดั่งใจแน่ใช่ไหมมันต้องมีซักอย่างที่อยากได้สุขสมใจอยากได้สุขดั่งใจ  แน่แล้วตอนนั้นเป็นไงมันได้หรือไม่ได้มันไม่ได้ดั่งใจมันจึงทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจมันจึงทุกข์ที่ไม่ได้สุขสมใจไม่ได้ดั่งใจจึงทุกข์แปลว่ารากเหง้ามันมันต้องอยากได้สุขสมใจอยากได้สุขที่ได้ดั่งใจแน่ 

มันเรื่องไหนล่ะ จี้หาเลยใช่ไหม อยากได้สุขสมใจเรื่องไหนมันทุกข์ที่ ไม่ได้สมใจเรื่องไหน มันอยากสุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจเรื่องไหน มันทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจเรื่องไหน  ไม่ได้เรื่องไหนก็ตรวจให้ชัดๆ นี่คือถูกศีลหรือผิดศีล ถ้าคิดแบบนี้ว่าได้ถึงจะสุขใจไม่ได้ถึงจะทุกข์ใจ ถูกศีลหรือผิดศีล คำตอบคือผิดศีลแล้ว อันนี้มันเป็นการผิดศีล มันต้องไม่มีสุขที่ได้ดั่งใจไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลต้องมีสุขที่ไม่ได้ดั่งใจสุขที่ไม่ได้ดั่งใจอันนี้เป็นสขที่ถูกศีลเลย   

วันนี้เก่งที่ตรวจศีลเป็น  วันนี้อาจารย์สอนวิชาตรวจศีล โดยเฉพาะ ชัดไหม ๆ… ชัดแล้ว ตรวจศีลเป็นแล้วนะ   พาตรวจศีลชัด ๆ ทุกข์มาเมื่อไหร่ ตรวจศีลให้ได้ ที่มีทุกข์เพราะมันถูกหรือผิดศีลผิดศีลเท่านั้นถ้าถูกศีลทุกข์ไหมไม่ทุกข์  

พระพุทธเจ้าบอกว่าถ้าทำถูกศีลไม่ทุกข์หรอกทุกข์เพราะคนผิดศีลถ้าถูกศีลหายทุกข์ทันที  ฉับพลันทันทีเลยเห็นไหม  ของพระพุทธเจ้า เอหิปัสสิโกเชื้อเชิญให้มาพิสูจน์กันได้ อะกาลิโกเป็นจริงตลอดกาล พิสูจน์ได้   ทิฐธรรมทุกปัจจุบันเลยยิ่งใหญ่ไหมพระพุทธเจ้า

ดังนั้นไปตรวจศีลให้ดีชัด ๆ นะ ตรวจศีล ทุกข์ใจแล้วมันต้องผิดศีลแน่ ๆ ผิดศีลแปลว่าอะไร มันอยากได้สุขสมใจแน่ ๆ เสร็จแล้วตอนนี้มันไม่ได้สุขสมใจ มันยัง ไปยึดมั่น ถือมั่น ให้ได้สุขสมใจ ไม่ได้สุขสมใจเลยทุกข์ สุขที่ได้ดั่งใจแน่ ๆ เลย ตอนไม่ได้ดั่งใจมันก็เลยทุกข์ อยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็ทุกข์นั่นแหละผิดศีล   

ถูกศีลทำไงต้องกำจัดสุขที่ได้ดั่งใจทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจให้ไปเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ทั้งหมดทั้งมวลให้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ถูกศีลเลยมีทุกข์ไหม..ไม่มีทุกข์เลยเห็นมั้ยถ้าถูกศีลไม่มีทุกข์ถ้าผิดศีลทุกข์ทันที  ถูกศีลสุขทันที 

ขอให้พี่น้องสุขที่ไม่ได้สมใจอันเป็นสุขแท้ ๆ ไม่มีโทษภัยเลย เป็นสุขที่แท้จริงต่อตนเองและผู้อื่นกันทุกท่าน…สาธุ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...