ผลการประยุกต์ใช้เทคนิคการกดจุดเส้นลมปราณที่แขนต่ออาการปวดคอ บ่าไหล่ของผู้เข้าค่ายแพทย์วิถีธรรมสวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
มงคลวัฒน์ รัตนชล
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พ.ศ. 2561
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ชื่อเรื่อง : ผลการประยุกต์ใช้เทคนิคการกดจุดเส้นลมปราณที่แขนต่ออาการปวดคอบ่าไหล่ของผู้เข้าค่ายแพทย์วิถีธรรมสวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ผู้วิจัย : มงคลวัฒน์ รัตนชล
- หลักสูตรวิชา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชา : สาธารณสุขศาสตร์
- อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ภัทรพล ทองนา และอาจารย์ ดร.อรรณพ นับถือตรง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความปวดคอ บ่าไหล่ ก่อนและหลังการทดลองและเพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการแนะนำเกี่ยวกับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จุดเส้นลมปราณ และเทคนิคการกดจุดเส้นลมปราณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้เข้าค่ายแพทย์วิถีธรรม สวนป่านาบุญ 2 อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีอาการปวดบริเวณคอ บ่าไหล่ จำนวน 45 คน
ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการประยุกต์ใช้
เทคนิคการกดจุดเส้นลมปราณที่แขนต่ออาการปวดคอ บ่าไหล่ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความปวดและแบบทดสอบความรู้ที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Paired-Samples t-test
ผลการศึกษา พบว่า
ก่อนได้รับการกดจุดเส้นลมปราณที่แขน กลุ่มตัวอย่างมีระดับความปวดคอ บ่าไหล่เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X =5.31, S.D.=1.84) และหลังได้รับการกดจุดเส้นลมปราณที่แขน พบว่า ระดับความปวดคอ บ่าไหล่เฉลี่ยลดลงอยู่ในระดับน้อย ( X = 1.73, S.D. = 1.16) ระดับความปวดคอ บ่าไหล่ของกลุ่มตัวอย่าง หลังการกดจุดเส้นลมปราณที่แขนน้อยกว่าก่อนการกดจุดเส้นลมปราณที่แขนอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .05 และระดับความรู้เกี่ยวกับอาการปวดคอ บ่าไหล่ จุดเส้นลมปราณ
และเทคนิคการกดจุดเส้นลมปราณหลังการแนะนำสูงกว่าก่อนการแนะนำอย่างมีนัยสาคัญที่สถิติที่ระดับ .05
MONGKOLWAT RATTANACHON : EFFECT OF THE APPLICATION OF PRESS THE MERIDIAN TO REDUCE NECK AND SHOULDER PAIN PRACTICIAN IN DHAMMA MEDICINE AT SUANPANABOON 2, CHA-UAT DISTRICT, NAKON SITHAMMARAT PROVINCE
MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN PUBLIC HEALTH.
SURINDRA RAJABHAT UNIVERSITY.
ACADEMIC YEAR 2017.
ADVISOR : DR. PATTARAPON THONGNUM AND DR. UNNOP NAPTHUETRONG.
160 P.
ABSTRACT
This research aimed to compare pre and post experiment level of pain in the neck and shoulder and to compare knowledge before and after the introduction of pain in neck and shoulder, meridian channels point and acupressure points technique.
The study sample were selected by purposive sampling, including 45 participants that pain in neck and shoulder from the Buddhist medicine camp at Suanpanaboon 2 Cha-uat district, Nakornsithammarat province. This research was designed as pre-experimental
research, one group pre-test and post-test study experiment. The study instruments was the applied acupressure meridian channels points technique on the arms of pain in neck and shoulder program and the data were collected by pain assessment form and knowledge questionnaire that was developed by researcher. Data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and paired-samples t-test.
The results found that:
The pain score in neck and shoulder of participants was at low level ( X = 1.73, S.D.= 1 .16) after acupressure meridian channels points on the arms compared with those before the experiment which was at middle level ( X =5.31, S.D.=1.84). The level score of pain in the neck and shoulder of the participants after acupressure meridian channels points on the arms have decreased statistically at level .0 5. The level score of knowledge of pain in neck and shoulder, meridian channels point and acupressure points technique were higher after introduction with a statistical significance of level .05.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นายมงคลวัฒน์ รัตนชล |
วัน เดือน ปี เกิด | 17 มิถุนายน 2506 |
สถานที่เกิด | จังหวัดสงขลา |
ที่อยู่ปัจจุบัน | 5 ถนนวโรราษฎร์ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน | |
ปี พ.ศ. 2529-2531 | • ผู้ช่วยวิจัยภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ |
ปี พ.ศ. 2531-2537 | • บริษัทเจริญภัณฑ์อาหารสัตว์จำกัด (ซี.พี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ปี พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน | • บริษัทเอ.ไอ.เอ จำกัด จังหวัดสงขลา |
ประวัติการศึกษา | |
ปี พ.ศ. 2525 | • มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา |
ปี พ.ศ. 2529 | • วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา |