ความยินดีนี่สำคัญมาก ๆ เลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยินดีแม้น้อยก็ช่วยเสริมพลัง ต้องยินดีพยายามยินดีไว้หาเรื่องยินดีเข้าไว้ ยินดีให้ถูกธรรม
มาดูสมบัติพระอรหันต์ ต้องเป็นผู้มีความยินดี พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ “กิมัตถิยสูตร” ข้อที่ ๑ พระพุทธเจ้า ตรัสเอาไว้ว่า ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตผลโดยลำดับดังนี้
- อรหัตผล คือความเป็น อรหันต์
- อะระ แปลว่า ไม่
- หัตตา ก็คือ อัตตาตัวตนของความยินร้าย ตัวตนที่ทำให้ทุกข์ ทุกข์ใจ ตัวตนของทุกข์ใจอันทำให้เกิดเรื่องร้ายตลอดกาล
- อะ แปลว่า ไม่ ก็ไม่มีความทุกข์ใจ ไม่มีความยินร้าย แต่มีความยินดีในธรรมตลอดเวลา จนถึงความยินดีในธรรมที่ไม่มีภัยต่อตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่นเลย มีโดยลำดับดังนี้
ต้องปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น ศีลที่เป็นกุศล คือการปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น ปฏิบัติศีลด้วยปัญญาที่ถูกตรงอย่างตั้งมั่น จนสลายทุกข์ได้ ชีวิตก็เลยมีแต่ความสุขแท้ ดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ละเหตุแห่งทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง ละทุกข์ทั้งปวงได้ คือ ความสุข พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความยินร้าย คือ ความทุกข์ ความยินดี เป็นความสุข ตรัส ใน “สุขสูตร”เลย ความยินดีในธรรม คือความสุขที่แท้จริง
ความเป็น อรหันต์ ๑๐ ประการ ใน “กิมัตถิยสูตร”
๑. อวิปปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)
คือเป็นผู้ที่ไม่มีภัยใด ๆ การประพฤติปฏิบัติของท่านนั้นไม่เกิดภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นก็เลยไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะท่านไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นภัย ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น แต่ท่านประพฤติสิ่งที่ดีต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นเท่านั้น ท่านก็เลย อวิปปฏิสาร ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ และท่านก็ทำด้วยความเบิกบานยินดี เบิกบานที่ชีวิตไม่ต้องมีภัย เบิกบานที่ละบาปได้ ละสิ่งที่เป็นโทษเป็นภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น และไม่ต้องทำสิ่งที่เป็นโทษเป็นภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น ไม่ว่าจะเป็นด้านเหตุการณ์ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ไม่มีภัยต่อใครเลยก็ยินดี
นอกจากไม่มีภัยแล้วยังเป็นตัวอย่างของการไม่มีภัย ก็เป็นกุศล อยู่ในที เป็นประโยชน์อยู่ในที ยิ่งช่วยคนอื่นต่อไป ให้ได้รับประโยชน์ อีก ก็ได้ประโยชน์ซ้อนเข้าไปอีก ก็เบิกบานยินดี ละบาปบำเพ็ญกุศลก็ทำสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ที่ทำได้ ทำจิตใจให้ผ่องใส จะได้ดีดั่งใจหมาย ได้ทำดีเกิดดีดั่งใจหมาย หรือไม่ได้ทำดีไม่ได้เกิดดีดั่งใจหมาย แม้แต่เกิดร้ายขึ้นมาแทนก็ยังยินดีได้ เบิกบานยินดีมีความสุขได้ เพราะสามารถเอาประโยชน์ได้ ได้ทำดีเกิดสภาพดีดั่งใจหมาย ก็รู้ว่าเป็นกุศล ของเราและคนที่เกี่ยวข้องให้ได้อาศัย ก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป ไม่ได้ทำดี ไม่ได้เกิดดีดั่งใจหมาย หรือเกิดร้ายแทนเลย ก็รู้ว่า นี่เป็นอกุศล เป็นวิบากร้ายของเราและคนที่เกี่ยวข้อง เมื่อพยายามแก้ไขอย่างเต็มที่แล้วก็ยังแก้ไม่ได้ ร้ายยังเกิดอยู่ เป็นอกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้องให้ได้ชดใช้ รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น เป็นผู้ที่มีความยินดี สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ
คนส่วนใหญ่เจอสภาพไม่ได้ดั่งใจ ไม่ได้สมใจอยาก ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ ไม่แช่มชื่นใจ ทรมานใจ ไม่เข้าท่าเลยในใจ แต่ พระอรหันต์ หรือ พุทธะนั้นไม่หรอก แปรเป็น พลังความสุขได้ สุดยอดฝีมือ เพราะรู้ว่า ชังก็เป็นทุกข์ ชอบก็เป็นสุข ชอบดีกว่า ยินร้ายเป็นทุกข์ ยินดีเป็นสุข ยินดีดีกว่า ทำความรู้สึกเศร้าก็เป็นทุกข์ เบิกบานก็เป็นสุข เอาเบิกบานดีกว่า สามารถเอาประโยชน์ได้ก็เป็นสุข ก็เอาประโยชน์ดีกว่า ไม่ชอบใจไม่พอใจก็เป็นทุกข์ ชอบใจพอใจก็เป็นสุข ชอบใจพอใจดีกว่า ในเมื่อต้องรับอยู่แล้ว ยินดีชอบใจพอใจสุขใจแม้ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ คนมีปัญญาแม้ตกทุกข์ก็ยังหาสุขพบ ก็รู้ว่าอันนี้สุขกว่า ต้องเอาประโยชน์ได้ คิดอย่างนี้เป็นสุขรับแล้วก็หมดไป ชั่วก็ไม่ได้ทำ ทำแต่ดี รับแล้วมันก็หมดด้วย ร้ายก็หมดไปด้วย ไปเสียดายทำไม รับเท่าไหร่ก็หมดเท่านั้น รู้สึกทุกข์เท่าไหร่ก็หมดทุกข์ไปเท่านั้น ที่ยังไม่หมด คือ กิเลสส่วนเหลือ รับเท่านั้นก็หมดแล้ว รู้สึกทุกข์เท่าไหร่ก็หมดไปแล้ว ยังมีกิเลสส่วนเหลือที่ยังออกฤทธิ์อยู่ รับเดี๋ยวก็หมด ก็ดีไม่ใช่เหรอ สิ่งร้ายหมดไป น่าจะดีใจ น่าจะพอใจ น่าจะสุขใจ จะไปเศร้าใจทำไม ร้ายหมดไปอีกแล้ว สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
คนเราพลาดทำชั่วหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ทำผิดศีล ทำตามกิเลสตัณหา ทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ที่พระพุทธเจ้าตรัส ในปัพพตสูตร คงคาสูตร ติงสมัตตาสูตร เป็นเช่นนั้น มีเรื่องร้ายเข้ามาเป็นระยะ ๆ เรื่องไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามี เรื่องไม่น่าชอบใจ ไม่พึงใจ เรื่องร้ายเรื่องไม่ได้ดั่งใจเข้ามาเรื่อย ๆ เราก็ทำกุศลเป็นระยะอยู่ ก็มีเรื่องที่ดีเป็นระยะเหมือนกัน เราก็ทำกุศลมาไม่น้อย ก็จะมีสภาพดีได้อาศัย เหมือนกัน แต่เราก็ทำอกุศลมาไม่น้อย ทำชั่วมาไม่น้อย ก็จะกวนเป็นระยะ ๆ ผู้ที่มีปัญญารู้แล้วว่า กุศลมาก็เป็นสุขอยู่แล้ว คนเราเรื่องดี ๆ มาทำไมจะไม่สุข สุขอยู่แล้วไม่มีปัญหาหรอกเรื่องนั้น แต่เรื่องไม่ดีมานี่สิ เรื่องไม่น่าชอบใจ ไม่น่าพอใจ เราไม่สบายใจ เราทุกข์ทรมานใจ ไม่แช่มชื่นในใจ กลัว กังวล หวั่นไหว อันนี้สิ เรื่องที่เข้ามาแล้วรู้สึกมีอาการอย่างนี้ไม่เข้าท่า เราต้องแปร พระพุทธเจ้านี่ฉลาดนะ ท่านแปร ให้เป็นความสุขให้ได้ สุดยอดฝีมือนะแปรทุกข์ให้เป็นสุขได้ สุดยอดฝีมือนะ ไม่ใช่ธรรมดา สุดยอดฝีมือที่ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดในโลก เป็นประโยชน์ที่สุขที่สุดในโลกจนไม่มีทุกข์เลย สามารถแปรพลังงานเลวร้าย พลังงานทุกข์ให้เป็นพลังงานสุขได้ มาเลย ๆ ทุกข์มาเลย เรามาแปรเป็นสุขให้หมด จะเอาทุกข์มาแต่ไหน ไม่มีทุกข์เลย ความทุกข์มาเลยจะแปรให้เป็นสุขให้หมด เพราะมันมีจริงนะพลังทุกข์ใจ บางทีก็มากด้วยนะ มีมากยิ่งดีเพราะจะได้แปรเป็นสุขให้มาก พลังงานไม่มีวันสูญหายมีแต่แปรสภาพเฉย ๆ นักวิทยาศาสตร์ยังยืนยันเลย พลังงานไม่มีวันสูญหาย มีแต่แปรสภาพเฉย ๆ
๒. ปามุชชะ (เบิกบานยินดี)
ทีนี้พระพุทธเจ้ามีวิชาแปรทุกข์ให้สุข สุดยอดไหม แปรทุกข์ให้เป็นสุขได้ ก็แปรทุกข์ให้เป็นสุขเลยจะไปยากอะไร ก็ให้ปัญญา ถ้าเรายินดีก็จะเป็นสุข ยินร้ายก็เป็นทุกข์ อยากได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นี่ก็ทุกข์ เราไม่อยากได้ก็ไม่ทุกข์ เราก็ต้องไม่ไปอยากได้ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อเกิดดีนั้นไม่ได้ร้ายเกิดแทนแล้ว ระหว่างร้ายเกิดเราไปอยากได้ดีจะได้ไหม เกิดร้ายแต่ร้ายยังไม่หมดแต่เราไปอยากให้หมด ณ เวลานั้นจะได้ไหม ก็ไม่ได้ ไม่ได้แล้วจะอยากอยู่อย่างนั้น เป็นสุขหรือทุกข์ล่ะ ถ้าเลิกอยากล่ะ ก็เลิกทุกข์ ไม่ต้องอยากให้อยู่ซะเลยจะยากอะไร อยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ อยากได้สิ่งใดได้สิ่งนั้นก็หายทุกข์ อยากไปซะเลยสิ จะไปยากอะไรล่ะ อยากซะเลย ชอบซะเลย ยินดีซะเลย เป็นสุขซะเลย ก็เห็นประโยชน์ให้ได้เอาประโยชน์ให้ได้ ประโยชน์ยิ่งใหญ่อันหนึ่งเลย ที่สำคัญอย่างยิ่งเลยก็คือแม้ร้ายมาขนาดไหนก็หมดไปขนาดนั้น จะมาขนาดไหนจะมาถี่มาห่างมาปานกลางขนาดไหน ๆ จะเล็กจะกลางจะใหญ่ มาถี่ ๆ มากลาง ๆ มาห่าง ๆ มายังไงมันก็หมด มาแค่ไหนก็หมดแค่นั้น จะไปทุกข์อะไรล่ะ ดีสิ มาเท่าไหร่ก็หมดเท่านั้น
ไปกลัวอะไรเราไม่ได้หวั่นไหวอะไร รู้อยู่แล้วว่าต้องหมดไป ทำร้ายเราไม่ได้ มาเท่าไหร่หมดเท่านั้น ร้ายหมดมากก็น่ายินดีน่าจะพอใจ น่าจะชอบใจน่าจะสุขใจ ถ้าร้ายหมดควรยินดีหรือยินร้ายล่ะ ควรยินดี ควรสุขหรือควรทุกข์ ควรจะเป็นสุขใช่ไหม จะทุกข์ไปทำไม ชีวิตก็ต้องเป็นสุขสิ เอาสุขให้ได้ มารตายเลย เราก็พุทธะเกิด นี่แหละแปรทุกข์ให้เป็นสุขเลย ทุกข์ที่กลัว กังวล หวั่นไหว ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ยินร้าย ทรมานใจ ไม่สบายใจ จับได้แปรให้เป็นสุขเลย ก็เป็นพลังที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตเรา เป็นตัวอย่างต่อผองชนอีก ผองชนก็ได้ประโยชน์ อีก เป็นกุศลดูดดึงสิ่งที่เป็นกุศลเข้ามาอีกดีกว่า
ชีวิตต้องเอาประโยชน์ให้ได้ จะมีเรื่องที่จะให้เราเอาประโยชน์ได้เยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะเอาประโยชน์จากสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจ คนส่วนใหญ่ไม่ได้ดั่งใจเป็นสุขหรือทุกข์ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ส่วนคนมีปัญญา จะทุกข์ใจหรือสุขใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ “สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ” มีปัญญาทำให้ได้ นี่เป็นภารกิจหลักของคนที่ต้องการพ้นทุกข์ คนที่ต้องการประโยชน์สุขที่ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อย่าเนิ่นช้า พยายามทำกิจอันนี้แหละ แต่ละวัน ๆ ทำอะไรไม่ได้ก็ทำอันนี้ให้ได้ อะไรที่เรารู้สึกว่าถ้าชีวิตเราได้รับแล้วมันจะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่แช่มชื่นใจ ไม่สบายใจ ทรมานใจ หดหู่ ห่อเหี่ยว กลัวกังวล หวั่นไหว ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้ดีไหม ถ้ายังมีสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนี้ก็ไม่ดีเลยใช่ไหมล่ะ ไม่ดีเลย แม้ยังไม่เข้ามาก็ยังไม่ดีเลย เพราะยังสยองอยู่ ไม่มีประโยชน์ แม้ยังไม่เข้ามาในชีวิตเลยสิ่งที่เรารู้สึกว่าไม่ดีต่อใจเรา แม้ไม่เข้ามาก็รู้สึกไม่ดี ถ้าเรายังมีอาการนี้อยู่ เพราะทำให้เรารู้สึกกลัว กังวล หวั่นไหว ไม่เป็นสุขใจอยู่ ยิ่งเข้ามา เป็นไง ยิ่งตายเอา ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เพราะชีวิตคนมีโอกาสจะเจอสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว
คนแต่ละคนทำชั่วมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ มีโอกาสจะเจออยู่แล้ว ไม่อันใดก็อันหนึ่งหรือไม่ก็หลายอัน มันมีโอกาสจะเจออยู่แล้ว ต้องทุกข์ถ้าเราไม่แปรให้เป็นสุขให้ได้ ถ้าเราไม่แปรให้เป็นสุขใจให้ได้มันก็ต้องทุกข์ แต่ถ้าเราแปรเป็นสุขใจให้ได้ก็ไม่ทุกข์ ก็เป็นสุขที่ดีกว่า ต้องฝึก หรือมันไม่เข้ามาในชีวิต แต่เราไม่กลัว ไม่ได้มีอาการกลัว กังวล หวั่นไหว ชิงชัง รังเกียจในสิ่งเหล่านั้น มันเข้ามาแล้วเราก็เอาประโยชน์ให้ได้ ก็เป็นสุข แม้มันไม่เข้ามาในชีวิตแต่เราไม่กลัว ไม่กังวล ไม่หวั่นไหวถ้ามันจำเป็นต้องเข้ามาเรารู้เลยว่า ถ้ามันเข้ามามีวิบากอะไรที่ทำให้มันเข้ามา เรายังเอามาเป็นประโยชน์ได้ เอาความสุขได้ เอาความพอใจ สุขใจ ยินดีแม้มันจะเข้ามาในชีวิต เราก็ไม่ทุกข์มีความสุขมันจะเข้ามาหรือไม่เข้ามา เราก็มีความสุขได้ทุกเวลา เราต้องฝึกอันนี้ ชีวิตต้องฝึกให้หมด ตรวจให้ดี ใจเราอย่าให้มีสิ่งเหล่านี้ มันเป็นภัย มันเป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัย ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น กลัวแล้วก็ยินดีในการกำจัดมัน กำจัดมันออก อาศัยเหตุการณ์จริงที่มากระทบนี่แหละมันเกิดอาการจริง เจอเมื่อไหร่ ของดี ๆ เป็นทุกข์ที่กินชีวิตเรามานานแล้ว สร้างทุกข์สร้างโทษสร้างภัยให้เรามานานแล้ว ถึงตาข้าบ้างแล้ว มันเป็นพลังงานจริง ๆ นะ ของดีที่เรานำมาเป็นประโยชน์ได้ ยังเหลือพลังงานที่ยังเป็นประโยชน์ต่อชีวิตเราอยู่ เป็นพลังงานแท้ ๆ เลย พลังทุกข์แท้ ๆ ยังเหลือสิ่งที่เราจะนำมาเป็นประโยชน์ได้อีกเป็นพลังงาน ถ้าเรามีวิชาวิเศษ เปลี่ยนให้เป็นสุขได้ก็เปลี่ยนให้เป็นสุขสิ เปลี่ยนจากมิจฉาให้เป็นสัมมา เปลี่ยนจากโทษให้เป็นประโยชน์ เปลี่ยนจากทุกข์ให้เป็นสุขเลย ผู้มีปัญญาเปลี่ยนได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนมีปัญญาแม้ประสบทุกข์ก็ยังหาสุขพบ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่ ๒,๔๔๔ ทำได้ ฝึกได้ ฝึกแล้วทำได้ อาจารย์ยืนยันทำได้ทำได้และทำได้ พระอรหันต์ทำมาแล้ว ท่านจึงเป็นผู้ไม่มีโทษ ไม่มีภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น ท่านยินดีพอใจสุขใจที่ไม่มีโทษไม่มีภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น เป็นตัวอย่างที่ดีต่อตนเองคนอื่นสัตว์อี่น ก็ได้พลังมหากุศลแล้ว มีโอกาสก็ช่วยเหลือคนอื่นให้ได้รับประโยชน์นี้ เท่าที่ทำได้ ก็มีความสุขที่สุดในโลกแล้ว ที่เหลือก็อะไรที่มันไม่ดีไม่เป็นประโยชน์ ที่เข้ามาในชีวิตเราแก้ไม่ได้ แต่ก็ยังเข้ามาอยู่ ก็ยินดีได้อย่างนี้ก็ผ่องใส ต้องฝึกเรื่อย ๆ จะเก่งไปเรื่อย ๆ เราก็จะเบิกบานยินดีอาจารย์อธิบายความเบิกบานยินดี คนเราต้องเบิกบานยินดี
๓. ปีติ (อิ่มใจ)
ปิติก็อิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส ความเป็นอรหันต์ต้องไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจ จิตนี้ไม่เดือดร้อนเลย พฤติกรรมนั้นไม่สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นผู้ที่ไม่มีภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นนั่นเองสบายใจเลย มีแต่ประโยชน์ต่อตน เองคนอื่นสัตว์อื่น ปามุชชะ (เบิกบานยินดี) ต้องเป็นผู้เบิกบานยินดี ปิติ (อิ่มใจ) ปิติ อิ่มเอิบ เบิกบาน แจ่มใส
๔. ปัสสัทธิ (สงบระงับกิเลส)
สงบระงับทุกข์ใจทั้งหลายทั้งปวงนั่นแหละ นี่แหละเป็นความสุขอันเกิดจากความสงบ ซึ่งปัสสัทธิความสุขนี้ ก็นอกจากความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจแล้ว ยินดี พอใจ สุขใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ แล้วเป็นไง ก็ยินดีพอใจ สุขใจ ได้ด้วยก็ได้ ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่แม้ไม่ได้ดั่งใจ ก็ยังสุขใจได้ นั่นแหละ แล้วก็มีความปิติยินดีที่แรงที่เราทำได้ พอนานเข้าก็เริ่มจะเมื่อย ๆ ก็ลดลง ปัสสัทธิลง ให้มันสบาย ๆ เรียกว่ามีความยินดีมีความสุขแรง ๆ ขึ้นไป จากนั้นถ้าเมื่อยเราก็ลดลงให้สบาย ๆ มีแรงอีกก็ยินดีได้อีก ในแต่ละเรื่อง ๆ ที่เราปฏิบัติได้ ก็ยินดีได้ มีความยินดีได้เห็นไหมว่า
พระอรหันต์ นี่มีความสุขนะ มีความสบายใจไร้กังวล เบิกบานยินดี มีความไม่มีภัย อวิปปฏิสาร แปลว่าไม่มีโทษไม่มีภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นประโยชน์ต่อตนเองคนอื่น สัตว์อื่น
๕. ปามุชชะ (เบิกบานยินดี)
ปิติ (อิ่มใจ) ปัสสัทธิ(สงบระงับกิเลส) สงบระงับทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละก็มีความสุข สุขที่เกิดจากความสงบ สุขที่ไม่ได้ดั่งใจที่ปรับความยินดีที่พอเหมาะได้ จากความยินดีมาก ๆ จากปิติถ้ามันแรงมันเหนื่อยนักก็ลดลง ปัสสัทธิลงมา ปัสสัทธิก็รู้สึกยังเหนื่อยอยู่ มันลดลงมามันสบายขึ้นอยู่ แต่ว่านานเข้าเมื่อย ๆ อยู่ก็ลดลงไปอีก ให้เหลือสุขสบาย ๆ ก็เหลือความสุขอันเกิดจากความสงบจากกิเลส ชุดแรกกับชุดหลัง ชุดแรกก็กิเลสที่เรากำจัด ชุดหลังก็ตัวปิติ ปัสสัทธิที่มันแรงไป ตัวยินดี ตัวดีใจ ตัวอิ่มเอิบ ยินดี ดีใจที่มันแรงเกินไป นานเกินไปมันเมื่อย ลดลงให้มันสบาย ๆ ยินดีสบาย ๆ เป็นความสุขของพุทธะ
๖. สมาธิ (จิตตั้งมั่น)
ก็ต้องมั่นในความผาสุกที่ทำได้นี่แหละ เป็นไปตามลำดับไปในแต่ละเรื่อง ๆ ได้ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียด ไปในแต่ละเรื่องอย่างนี้เป็นสมาธิ คนเราต้องมีความยินดีความสุขในธรรมนะ พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข การประพฤติธรรมนำสุขมาให้ นี่แหละสุขแบบนี้ สมาธิก็ตั้งมั่นในความผาสุก อันนี้แหละ ในความพ้นทุกข์ในความผาสุกไปเป็นลำดับในเรื่องนั้นก็เป็นไปตามลำดับ หยาบ กลางละเอียด และก็หลายเรื่องก็สะสมเข้าไปหลายเรื่อง หลายประเด็นเข้าไป ถ้าใครรู้จักวิธีปฏิบัติธรรม สั่งสมสมาธิได้สบาย ๆ เลย มันมีเหตุการณ์เข้ามา มีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจไม่ชอบใจไม่พอใจทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเมื่อไหร่ สร้างสมาธิเลย แปรเป็นความยินดี พอใจ สุขใจเลย เอาประโยชน์ให้ได้ ในเมื่อแก้เต็มที่แล้วมันไม่หมดไป ก็ไม่ต้องไปอยากให้มันหมดหรอก เอาประโยชน์มันซะเลย ไม่ต้องไปอยากให้มันหมดในเมื่อมันไม่หมด ช่างหัวมัน อยู่ก็เอาประโยชน์มันซะเลย เอาประโยชน์ได้ก็มีความสุขได้ คนเราความสุขมันอยู่ที่เราเอาประโยชน์ได้ โลกก็มีแต่ประโยชน์กับโทษเท่านั้น เอาโทษมันก็ทุกข์ เอาประโยชน์มันก็สุขมันก็มีเท่านี้ คนเราเป็นสัจจะอย่างนี้ ก็เอาประโยชน์มันซะเลย นี่แหละตั้งมั่นในความพ้นทุกข์ ตั้งมั่นในความผาสุก เราก็ได้ไปทีละเรื่อง ๆ สมาธิเราก็มาก ๆ นี่แหละสมาธิตั้งมั่นเป็นดังนี้ ก็ได้สมาธิที่มาก ตั้งมั่นในความพ้นทุกข์ ตั้งมั่นในความผาสุกที่มาก หลายเรื่องเข้าแม้เรื่องนั้นก็ได้ทีละส่วน บางทีทุกข์มาเต็มร้อยเราลดได้ครึ่งหนึ่งก็ได้สมาธิครึ่งหนึ่ง เราลดได้เต็มร้อยก็ได้สมาธิเต็มร้อย ในเรื่องนั้น เอาเรื่องอื่นก็ไปอีกยิ่งสั่งสมสมาธิเข้าไป ทำเรื่องอื่นอีกให้มันพ้นทุกข์ให้มันผาสุก แกล้วกล้า อาจหาญ ร่าเริง เบิกบานแจ่มใส ไร้กังวลในแต่ละเรื่อง ๆ ให้มีความยินดี พอใจ สุขใจในเรื่องนี้ไม่ได้ดั่งใจก็ยินดี พอใจ สุขใจได้ ได้ดั่งใจก็ยินดีพอใจสุขใจ ไม่มีปัญหาทำได้อยู่แล้ว แม้ไม่ได้ดั่งใจก็เก่งในการทำความยินดี พอใจ สุขใจได้ ตัดตัวสุขที่ได้ดั่งใจออกไปมาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้ สุดยอดเลยเก่งปรับไปปรับมาได้ ไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ สุขตลอดเวลาสั่งสมความเป็นสมาธิ ทำสมาธิได้หลายเรื่องก็ได้สมาธิหลายเรื่อง นี่แหละสมาธิพุทธเป็นเช่นนี้ นี่แหละสมาธิจิตตั้งมั่น ถ้าปฏิบัติศีลได้ถูกตรง ปฏิบัติศีลว่าเราจะละทุกข์ทำสุขแท้ให้กับชีวิต จะทำความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ ตั้งศีลไว้ เราจะเปลี่ยนทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจให้เป็นสุขที่ไม่ได้ดังใจให้ได้ นี่คือศีลของเธอประการหนึ่ง และก็ลงมือปฏิบัติด้วยปัญญาอันยิ่ง เราก็จะได้นิโรธ ได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจ เรื่องนั้นเรื่องนี้ไปเรื่อย ๆ ทำไปทุกเรื่องก็พ้นทุกข์ได้ทุกเรื่อง แถมยังสามารถสุขที่ได้ดั่งใจได้ด้วย ไม่มีปัญหาได้เท่ากัน สุขเท่ากัน ทำได้ คนเราฝึกดี ๆ ทำได้ เป็นอรหันต์ทำอย่างนี้ ทำอรหันต์เป็นเรื่อง ๆ ไป แม้ไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้มันยิ่งใหญ่นะ ทำสมาธิอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างในเรื่องที่มันเลวร้าย หมายความว่าพฤติกรรมที่มันสร้างความเลวร้ายสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองคนอื่นสัตว์อื่นที่มันชัดเจน พฤติกรรมใดที่มันสร้างความเลวร้ายเดือดร้อนต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ชัดเจน เช่น การฆ่าสัตว์ การกินสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
การสร้างความเดือดร้อนเลวร้ายในแง่นั้นเชิงนี้ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น การลักขโมยฉ้อโกง การประพฤติผิดในกาม ผิดผัวเขาเมียใครลูกใคร หมกมุ่นเรื่องเพศมากเกินไป ไปเสพ รูป รส กลิ่นเสียง สัมผัสที่เป็นภัย ไปใช้วาจาที่ส่งเสริมผิดศีล 3 ข้อแรกที่พูดไปดังต่อไปนี้ วาจาโกหก วาจาส่งเสริมการผิดศีลที่ไม่เข้าท่า หรือใจที่มีความโลภโกรธหลง ในการอยากผิดศีลแล้วเป็นสุข ไม่ได้ผิดศีลก็เป็นทุกข์ มันโลภโกรธหลงที่จะผิดศีลมันก็จะผิดศีล ๕ อย่างนี้ นี่แหละ กายวาจาใจที่มันสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เราก็ลดละเลิก เมื่อเราลดละเลิกได้ทีละเรื่อง เราพิจารณาโทษของมัน ตั้งแต่พฤติกรรมหยาบเลยว่ามันมีโทษยังไง พฤติกรรมหยาบ ๆ เห็นโทษเห็นได้ชัด พฤติกรรมหยาบ ๆ ไปจนถึงโทษละเอียด โทษระดับวิบากกรรมที่ละเอียดเลย กว่าที่จะเห็นไตรลักษณ์ของกิเลสว่าวิบากกรรมละเอียดที่สุดคือไตรลักษณ์ของกิเลส ว่าได้เสพสมใจอยากนี่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กิเลสสุขสมใจนี่มันอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังคือมันไม่เที่ยง สุขสมใจแว้บเดียวก็หมดไปมันไม่เที่ยง ไม่มีจริง มันอนัตตาไม่มีตัวตนแท้ แล้วมันก็เป็นทุกข์ไม่ใช่สุข มันเป็นทุกข์ สุขก็ไม่มี ไม่เที่ยงไม่มีและมันก็เป็นทุกข์ด้วย เป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลด้วย ตั้งแต่ทุกข์ใจ กลัวที่จะได้มา ได้มาก็กลัวจะหมดไป มันทุกข์แล้ว พอได้สมใจก็ลดทุกข์ชั่วคราวดีใจแว้บนึงก็ละลายไป ไม่มีอยู่จริง นอกนั้นก็กลัวที่จะหมดไป กลัวไม่ได้มามันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น ทุกข์ใจชีวิตก็ต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ใจ ซึ่งเป็นทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดในโลก แรงเท่ากับดินทั้งแผ่นดินและก็เสียพลังไปสร้างทุกข์ใจเสียพลังไปเกร็งตัวบีบทุกข์ใจออก เสียพลังไปดันออกอีก โครงสร้างโครงรูปของเซลล์ผิดปกติ เลือดลมไหลเวียนไม่ได้ ป่วยได้ทุกโรค แย่ไปได้ทุกโรคเลย ไปติดวัตถุที่เป็นพิษอีก เสพเข้าไป ทำร้ายตัวเองเข้าไปอีกจากจิตใจ ๗๐ เปอร์เซ็นต์บวกเกินร้อยเปอร์เซ็นต์บวกวัตถุ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ บวกลบ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ บวกเกินร้อย แย่ก็ไปอีก
อยากได้มาก ๆ ทำไม่ดีได้ทุกเรื่องเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก เดือดร้อนไปทั่วเลย พลังชีวิตก็บันทึกเป็นวิบากร้าย ดึงเรื่องร้ายเข้ามาและสร้างสภาพร้าย ๆ ให้กับตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ตลอดกาลนานเลย มันเป็นทุกข์ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ สุขก็ไม่มี ไม่เที่ยง ไม่มีจริง เป็นทุกข์ทำจนมันเป็นอนัตตา สลายไปเลย ว่าไม่เอาแล้วทุกข์แบบนี้ไม่เอา สุขก็ไม่เอา ทุกข์ก็ไม่เอา ไม่เอาอะไรแล้วไม่เอาสุขไม่เอาทุกข์แบบนี้ ไม่เอาสุขสมใจอยาก ไม่เอาทุกข์ที่ไม่ได้สมใจอยาก ไม่เอาทุกข์ทั้งมวลตลอดกาล แบบนี้เรายินดีในการทิ้งเลย.
ไม่เป็นโทษเป็นภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น ยินดีในการทิ้งเลย นี้แหละ ปามุชชะ(ความปราโมทย์) เบิกบานยินดี นี้แหละคือ อวิปปฏิสาร ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีภัย ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น พฤติกรรมนี้ ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความเลวร้ายใดๆ แล้วก็ปามุชชะ เบิกบานยินดีที่ชีวิตไม่ต้องสร้างสิ่งที่เป็นภัย ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น ก็ยินดีที่ไม่ต้องมีภัย ไม่ต้องมีวิบากร้ายใดๆ และเป็นตัวอย่างที่ดีต่อตนเองคนเองและสัตว์อื่น เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม คนอื่นก็พ้นทุกข์ตามก็เป็น
สุดยอดวิบากดี ยิ่งมีฝีมือในการช่วยคนได้เข้าไปอีก ยิ่งดีเข้าไปอีก
ชีวิตก็จะมีประโยชน์ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น ยิ่งเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีกด้วยก็เป็น
มหากุศล สืบเนื่องเลย เราก็เบิกบานยินดีเพราะเรามีปัญญาเห็น เรายินดีที่จะได้ไม่ต้องทำพฤติกรรมชั่ว เมื่อก่อนเรายินดี มีความสุขที่ได้ทำพฤติกรรมชั่ว ทุกข์ที่ไม่ได้ทำพฤติกรรมชั่ว แต่เดี๋ยวนี้เรากลับใหม่เรามีความสุขที่ไม่ได้ทำพฤติกรรมชั่ว มันต้องสุขให้ได้อย่างนี้ ยินดีพอใจสุขใจให้ได้อย่างนี้ในเรื่องพฤติกรรมชั่ว สุขที่ไม่ได้ทำสิ่งชั่วสิ่งเลวร้าย แง่นั้นเชิงนี้
ยินดีพอใจสุขใจที่ชีวิตเราไม่มีภัยต่อใครๆเลย มีแต่ประโยชน์ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น อย่างเดียวเท่านั้น นี้แหละเราก็ยินดีพอใจสุขใจ ที่ไม่ได้ทำพฤติกรรมชั่ว
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง (บาปทั้งปวงไม่ทำ) เราละสิ่งชั่วไปเป็นลำดับๆ ละบาปละชั่ว เลวร้าย ไปเป็นลำดับๆ ที่ละเรื่องๆ ในขณะที่ทำไปเราก็ กุสลัสสูปสัมปทา (ยังกุศลให้ถึงพร้อม) สิ่งไหนดีเกาะขึ้นมายินดีในการทำดีขึ้นมา ดีไหนทำได้ก็ยินดีพอใจสุขใจ ชื่นใจที่ได้ทำดี ยินดีที่ดีเกิดขึ้นต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น เราก็ทำไปด้วยความชื่นใจ แช่มชื่นในใจ พอใจ สุขใจ มีความสุข ทำดีให้โลกให้เราได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป ดีเกิดได้เราก็รู้ว่านี่เป็นกุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้องให้ได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป
แต่เมื่อไปเจอดีที่เกิดไม่ได้แต่เราอยากให้ดีนั้นเกิด ถ้าเกิดจะสุขใจชอบใจ ถ้าไม่เกิดจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ ถ้าเกิดร้ายจะยิ่งรู้สึกไม่ชอบใจ มันไปชนเหตุการณ์นั้นเข้า ผัสสะสิ่งที่เข้ามากระทบก็จะทำให้เราไปเจอตัวนั้นเข้า เพราะกุศลเราและคนที่เกี่ยวข้องก็มีจำกัด เมื่อมันมีจำกัดมันก็มีเท่าที่มี ได้เท่าที่ได้ ก็ต้องพอใจเท่าที่ได้ เราอย่าไปอยากได้มากกว่านั้น เพราะถ้าได้มากกว่านั้นจะเป็นทุกข์ พอมันไปชนตัวที่เราอยากได้มากกว่านั้น แต่มันไม่ได้แต่กลับได้ร้ายมาแทน ก็รู้แล้วว่านี่ไม่ใช่กุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้องที่จะได้สิ่งนั้นแล้ว แต่มันเป็นวิบากร้ายของเราและคนที่เกี่ยวข้องที่ต้องรับ
เมื่อพยายามแก้ไขเต็มที่แล้วยังไม่ได้มันก็ต้องรับ เราก็กล้ารับ กล้าให้หมดไป ยินดีรับยินดีให้หมดไป พอใจรับ ชอบใจรับ สุขใจรับ รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ถ้าทุกข์ใจรับในก็ทุกข์ สุขใจรับดีกว่า รับแล้วมันก็หมดไป ยิ่งหมดก็ยิ่งดี รับมากหมดมาก รับนานหมดนาน รับเยอะหมดเยอะ
รับหยุมหยิมหมดหยุมหยิม มันก็จะเข้ามาเรื่อยๆเป็นระยะๆ ตามความชั่วของเราทำมา
หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ มันมาอยู่แล้ว มันไม่ได้ดั่งใจอยู่แล้ว เราไปอยากได้ดีกว่านั้นมันก็ทุกข์
อยากให้ร้ายหมดอยากให้ดีเกิด แต่เมื่อมันไม่เป็นดั่งใจหมาย มันก็ทุกข์ เราก็เลิกอยากซะ ก็เลิกทุกข์พิจารณาไปเมื่อเราไม่อยากแล้วก็ไม่ต้องทุกข์ แล้วยังมาเอาประโยชน์ได้อีก ในเมื่อเลี่ยงไม่ออกอยู่แล้วโดนอยู่แล้ว เราก็เต็มใจรับอย่างเป็นสุขซะเลย
รับเท่าไหร่วิบากร้ายมันก็หมดไปเท่านั้น และความจริงคือเราได้รับน้อยกว่าที่เราทำมาด้วย เพราะเค้าแบ่งส่วนให้แล้ว เราจะได้รับชาตินี้ส่วนนึง ชาติต่อไปส่วนนึงและชาติต่อ ๆ ไปอีกส่วนนึง แบ่งส่วนให้ด้วยนะพี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๗ ข้อที่ ๑๖๙๘
เค้าแบ่งส่วนให้ด้วย แถมมีดีที่เราทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ดันออกไปด้วย ให้ได้รับน้อยกว่าที่ทำมา โห ได้รับขนาดนี้ดีมากแล้ว ถ้าไม่ทำดีไว้ หนักกว่านี้ ถ้าไม่ทำจิตใจผ่องใสไว้ หนักกว่านี้
นี่ดีนะที่เราทำดีไว้ ทำจิตใจผ่องใสไว้ ก็เบา อย่างนี้ เป็นต้น ก็ยินดีรับ ยินดีให้หมดไป รับเท่าไหร่ หมดเท่านั้น ดีก็จะยิ่งออกฤทธิ์ได้มาก เพราะไม่มีร้ายมาขวาง พลังดียิ่งออกฤทธิ์ได้มากให้ได้อาศัย ก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป สุดท้ายทุกอย่างก็ต้องดับไป นี่เราจะคิดอย่างนี้แหละ ให้เราหายทุกข์
เราอย่าไปคิดว่า ทำไมมันหนักจัง ทำไมมันเยอะจัง กลัว กังวล หวั่นไหว เมื่อไหร่ มันจะหมดซักที ทำไมมันเยอะจัง กิเลสหลอกนะนั่น ทำไมมีแต่เพิ่มขึ้น ทำไมมีแต่เพิ่มขึ้น กิเลสมันหลอกนะ คิดแบบนั้น สุขมั้ย ทำไมมีแต่เพิ่มขึ้น ทำไมไม่หมดซักที คิดแบบนั้นสุขมั้ย -ไม่สุขเลย / สุขหรือทุกข์ -ทุกข์ / ดีไม่ดีทุกข์- ไม่ดี / แล้วคิดถูกหรือคิดผิด – คิดผิดแล้ว ทุกข์นี่คิดผิดแล้ว ใช่มั้ย เอ๊ะเราคิดผิดแล้วนะนี่ มันไม่ถูกความจริงนะนี่ มันไม่ถูกความจริงนะ มันถึงได้ทุกข์อย่างนี้ มันไม่ได้ถูกความจริงที่พ้นทุกข์ แล้วมันไม่ถูกความจริงตามความเป็นจริงด้วย เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าใครรู้ความจริงตามความเป็นจริง ชีวิตย่อมพ้นทุกข์ ท่านตรัสไว้อย่างนี้เลยนะ นี่ในข้อต่อไป ท่านบอก ยถาภูตณาณทัสสนะ รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง จะนิพพิทา เบื่อหน่าย กิเลส คือ ความคิดที่คิดแล้วทุกข์นั่นแหละ วิราคะ จางคลาย สิ้นความยินดีในการคิดที่คิดแล้วทุกข์ ก็จะเข้าสู่วิมุตติณาณทัสสนะ รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น นี่แหละ ก็รู้ความจริงตามความเป็นจริง มันต้องรู้ความจริงตามความเป็นจริง มันทุกข์มันไม่ได้มากขึ้น นะนั่นหน่ะ มันน้อยลง แบ่งส่วนให้ ทำมาเท่าไหร่ มันไม่ได้ให้หมด แบ่งส่วนให้ด้วย ไม่ได้รับมากเท่าที่ทำมาหรอก ได้รับน้อยกว่าที่ทำมา มีดีที่ทำดันออกไปด้วย รับน้อยกว่าที่ทำมานะ ทุกข์มันน้อยกว่าที่ทำมานะ นอกจากน้อยกว่าแล้ว มันรับเท่าไหร่ก็หมดไปด้วย รู้สึกทุกข์ ก็หมดไปเท่าที่เรารู้สึกทุกข์นั่นแหละ รู้สึกทุกข์เท่าไหร่
ก็แปลว่าเราได้ชดใช้เท่าที่เรารู้สึกทุกข์ โอ้ นี่ทุกข์ขนาดนี้หมดไป ดีจังเลย โอ๊ นี่ทุกข์ขนาดนี้หมดไป ดีจังเลย โอ๊ ทุกข์ขนาดนี้หมดไปดีจังเลย มันทุกข์เท่าไหร่ มันหมดเท่าที่เราทุกข์นั่นแหละ ไอ้ที่มันยังไม่หมด ก็คือ มันยังออกฤทธิ์อยู่ ส่วนที่หมด มันก็หมด ไอ้ส่วนที่มันยังไม่หมด มันก็ไม่หมด จะอธิบายยังไง
อย่างสมมติ เรากินไก่ ๑๐๐ ตัวมา มันมาทีละตัว เป็นไง ตัวที่ ๑ มันก็ออกฤทธิ์แล้ว ทำให้เราทุกข์ทรมานยังไงก็แล้วแต่ โอ๊ รู้สึกทุกข์ -แล้วมันก็หมด ไอ้ตัวที่ ๒ มันก็เสียบ ปึ๊ก อ้าวมันก็เลยเหมือนเท่าเดิมนะ
ตัวที่ ๒ หมดแล้ว ไอ้ตัวที่ ๓ เสียบปึ๊กเลย มันก็เป็นอย่างนั้น มันก็เสียบอยู่อย่างนั้น มันก็เลยเป็นหลายตัว แต่ที่จริงมันก็ หมดไป หรือมันเท่าเดิม —มันหมดไป หรือ มันเท่าเดิม มันหมดไปเรื่อยๆใช่ไหม ตัวที่ ๑ ก็หมดแล้ว ตัวที่ ๒ ก็เสียบอยู่ มันปวดเท่าเดิม มันทรมานเท่าเดิม ใช่มั้ย อ้าวตัวที่ ๓ หมดแล้ว ตัวที่ ๔ ก็เสียบอีก อย่างนี้เป็นต้น มันก็หมดไปเรื่อยๆ ๑ ก็หมด ๒ มันก็เสียบ ๒ หมด ๓ ก็เสียบ ๓ หมด ๔ ก็เสียบ มันก็เลย เหมือนเท่าเดิม บางทีนะ มันไม่ได้เสียบทีละตัวนะ มันเสียบทีละ ๔-๕ ตัวมันก็เลยเหมือนขึ้น ใช่มั้ย เออ มันเสียบทีละ ๔-๕ ตัว ปรื้ดขึ้นไป โอ้โฮ มันหนักกว่าเดิม จริงๆมันหนักกว่าเดิม หรือ มันหมดไปมากกว่าเดิม มันหมดไปมากกว่าเดิม มันเสียบเท่าไหร่ มันก็หมดไปเท่านั้น ใช่มั้ย แล้วเราก็ไม่เข้าใจ เราก็นึกว่ามันมากขึ้น เราคิดผิด คิดผิดแล้วสุขหรือทุกข์ -ทุกข์ ใช่มั้ย โอ๊ทำไมมันเยอะจัง ทำไมไม่หมดซักที ก็ทุกข์ใช่มั้ย แล้วเราคิดถูกเป็นไง —โอ๊นี่มันหมดไปตั้งเยอะแหนะ
สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา
อาจารย์ยังไม่เคยเห็นทุกข์อะไรที่มันไม่ดับเลย สุดท้ายแล้วมันก็ดับทั้งนั้นแหละ มันก็ดับ มันหมดไปตั้งแยะ แทนที่จะดีใจ ทรมานตั้งเยอะแปลว่าทุกข์หมดไปตั้งเยอะ ทุกข์หมดไปตั้งเยอะแทนที่จะดีใจกลับเสียใจ แบบนี้เรียกว่า โง่หรือฉลาด ๆ โง่ นะสิ จะโง่ไปถึงไหน นี้แหละไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริง
ทุกข์เท่าไหร่มันก็หมดไปเท่านั้น อาจารย์ถึงบอกว่า เวลาที่ร้ายเข้ามาเมื่อไหร่นั้นแหละ โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว ๆ ถ้าเป็นโรคก็เจ็บปวดทุกข์ทรมานแง่ไหนเชิงไหนก็แล้วแต่ ถ้ามันเข้ามาเมื่อไร่ก็หาย ๆ ๆ มันไอก็หาย ๆ ๆ มันเจ็บก็หาย ๆ ๆ มันปวดก็หาย ๆ ๆ มันเพลีย มันล้าก็หาย ๆ ๆ มันเป็นเท่าไหร่มันก็หายไปเท่านั้นแหละ ไอ้ที่ยังไม่หายคือตัวที่สองที่สามที่สี่ที่ห้า หรือหลาย ๆ ตัวรวมกัน หรือร้ายแง่นั้นเชิงนี้ก็หาย ๆ ๆ โชคดีอีกแล้ว ร้ายหมดอีกแล้ว รับเต็ม ๆ หมดเต็ม ๆ เป็นไงเป็นกันรับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ถ้ามันเยอะ ๆ นาน ๆ หนัก ๆให้ใช้ว่า เราแสบสุด ๆ มันก็ต้องรับสุด ๆ มันจะได้หมดไปสุด ๆ เราจะได้เป็นสุขสุด ๆ คิดแบบนี้แล้วมันจะทุกข์อยู่อีกไหม มันก็ไม่ทุกข์หรอก
ยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง คนมีปัญญาจะไปทุกข์อะไรเพราะสุดท้ายมันก็ดับไปทั้งหมด เราก็เบิกบานแจ่มใสดีกว่าที่มันสามารถดับทุกข์ไปได้เรื่อย ๆ ทุกข์ก็หมดไปเรื่อย ๆ ใช้ปัญญา ใช้ปฏิภาณ เอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตายกับการแปรทุกข์ให้เป็นสุข
มันเป็นสุดยอดฝีมือ มันเป็นสิ่งที่น่าได้น่าเป็นน่ามี คือสิ่งที่ควรทำที่สุด ถ้าไม่ทำสิ่งนี้แล้วจะไปทำอะไร จะเอาแต่ต้องได้ดั่งใจจะเป็นสุข แต่ตอนนี้จะได้ดังใจได้ไหมละ มันก็ไม่ได้ มันต้องให้ทุกข์หายไปให้หมดตอนนี้แล้วจะเป็นสุข ถ้าไม่หายจะเป็นทุกข์ ถ้ามันยังไม่หายไปคุณก็ต้องทุกข์อยู่แบบนั้น เมื่อมันไม่ได้ดั่งใจก็ต้องสุขใจให้ได้ เอาประโยชน์ให้ได้
ถ้ามีปัญญาชีวิตก็จะมีแต่ความสุข ฝึกเข้าไป ๆ ถ้าไม่ฝึกมันจะได้เหรอ ยินดีที่เราจะไม่ทำชั่วอีกแล้ว ดีจังเลยจะได้ไม่ทำชั่วอีก ชัดเจนแล้ว ๆ การทำชั่วทำตามกิเลสมันทุกข์แบบนี้นี่เอง จะไม่ทำตามอีกแล้วดีจังเลย เราสำนึกแล้ว เราก็ยินดีที่ได้รู้ว่ามันไม่ดี ยินดีที่ได้ชดใช้ ยินดีที่ได้หยุดมัน ยินดีที่ได้รู้ว่ามันไม่ดี ยินดีที่ได้ทำดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จิตเราจะได้ไม่ต้องไปคิดชั่วอีก อย่างนี้เป็นต้น
ใช้ปัญญา ใช้ปฏิภาณไป ชีวิตมันก็มีแต่ความสุข ต้องอ่านให้ออกว่ามันยังจะให้เราทุกข์เหลี่ยมไหนมุมไหนอีก มันจะเอาเหตุการณ์ไหนมาให้เราทุกข์ใจ ให้เราไม่ชอบใจ ไม่พอใจ
เราต้องรับอยู่แล้วและเราก็เลี่ยงไม่ได้ และมันก็ยังยัดเยียดความทุกข์ใจ ความไม่สบายใจความไม่พอใจ ความทรมานใจ ให้เราอยู่อีก เมื่อมันยัดเยียดกาย ยัดเยียดเหตุการณ์ร้ายให้เราแล้ว ในเมื่อมันต้องรับอยู่แล้ว แถมยังมาเติมทุกข์จากการทำทุกข์ทับถมตนเข้าไปอีก
ในเมื่อกายกับเหตุการณ์มันก็ทุกข์อยู่แล้ว แล้วเราจะไปทำทุกข์ใจเพิ่มอีกทำไม พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าอย่าทำทุกข์ทับถมตน กายกับเหตุการณ์มันก็ทุกข์มากอยู่แล้ว แล้วจะไปทำทุกข์ใจเพิ่มอีกทำไม จะบ้าเหรอ ที่ต้องทุกข์อยู่นี่มันยังทุกข์ไม่พอรึไง เป็นพวกซาดิสท์เหรอ หรือทุกข์ที่มีอยู่มันยังน้อยไปหรือไง ทุกข์กายกับเหตุการณ์มันคงน้อยไป เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่ามันแรงเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ เลยต้องเติมทุกข์ใจ เติมทุกข์ที่หนักเท่ากับดินทั้งแผ่นดินเข้าไปอีก มันจะได้ทุกข์มาก ๆ ถ้าฉลาดจะคิดแบบนั้นก็เอา ถ้าคิดว่าแบบนั้นฉลาดแล้วก็ทำเข้าไป ทำทุกข์ทับถมตนเข้าไป แล้วก็หมดเรี่ยวหมดแรงในการทำความสุข ในการทำความดี หมดไปเรื่อย ๆ
จะทำทุกข์ทับถมตนทำไม ก็ทำสุขให้กับตนสิ คนมีปัญญาแม้ตกทุกข์ก็ยังหาสุขพบ ยังหาประโยชน์พบ ก็ต้องหาประโยชน์ให้พบ พระพุทธเจ้าตรัสว่ามี ทำได้ ๆ และทำได้ คนมีปัญญาแม้ตกทุกข์ก็ยังหาสุขพบ มีมันยังมีสุขในนั้นอยู่ สุขที่เราไม่ต้องไปอยากได้ดั่งใจหมาย ทิ้งมันไปเลยสุขที่อยากได้ดั่งใจหมายทิ้งมันไปเลย ไม่เอามันเป็นทุกข์ มันทำให้เราต้องทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย สุขที่ไม่ได้ดั่งใจหมายสุขที่ได้รับประโยชน์ แม้เกิดทุกข์ อย่างน้อยที่สุดก็ทุกข์หมดไป อย่างน้อยที่สุดรับเท่าไหร่มันก็หมดไปเท่านั้น ต่อให้เราแก้ไม่เก่ง แก้ยังไงก็แก้ไม่ได้ แต่อย่างน้อยมันก็ดับไป
ความจริงแล้วเราไม่ต้องแก้ไขอะไรเก่งเลยก็ได้ ถ้ามันแก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้มัน เพราะมันเกิดมันก็ต้องดับไปอยู่แล้ว แต่ถ้ามันแก้ได้เราก็แก้ เราไม่ได้โง่นิ แต่ถ้ามันแก้ไม่ได้แสดงว่าเค้าไม่ให้แก้ ก็ปล่อยให้มันดับไป เราก็แก้ด้วยการไม่แก้ มันจะไปยากอะไร ก็มันต้องดับไปอยู่แล้ว แต่ถ้าสิ่งนั้นมันแก้ได้เราก็แก้ ถ้าแก้ไม่ได้เราก็ไม่แก้ มันก็จะดับไป
ยถาภูตญาณทัสสนะ คือการรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง เห็นจริงอย่างนี้มันจะชัดขึ้น เก่งขึ้น สุขสมใจอยากที่คู่กับทุกข์ที่ไม่ได้สมใจอยาก ซึ่งมันจะคู่กับทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล สุขสมใจอยากมันเป็นอย่างนี้นี่เอง สุขกิเลสที่คู่กับทุกข์สมใจอยาก ที่คู่กับทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลนั้น มันไม่มีจริง สุขสมใจอยากมันไม่เที่ยงไม่มีจริง เป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล
เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้วเราก็ไม่เอาสุข ทุกข์แบบนี้ เราไม่เอาก็ตัดทิ้งไปเลย ชีวิตก็ยินดีที่ไม่มีภัยจากสิ่งนี้ ยินดีในความไม่สุขไม่ทุกข์ไม่ชอบไม่ชังไม่อยาก ไม่ยึดมั่นถือมั่น ยินดีในการไม่มีภัย ยินดีที่เราจะต้องไม่มีภัยจากสิ่งเหล่านั้น ยินดีในการที่เราไม่ต้องมีสุข ทุกข์ ชอบ ชัง ไม่ต้องมีอยาก ไม่ต้องมียึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น ก็ยินดีพอใจ สุขใจที่จะตัดทุกข์นั้นออกไป เห็นแล้วมันไม่มีสุขมีแต่ทุกข์ก็ตัดมันออกไปเลย สบาย ไม่ต้องอยากได้ดั่งใจหมาย ไม่ต้องทุกข์ที่อยากได้ดั่งใจหมาย ไม่ต้องทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล เราก็มีความยินดี ยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจ พอใจชอบใจสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ มันดีกว่าตั้งเยอะ เมื่อแก้เท่าไหร่ก็แก้ไม่ได้ เราก็สุขใจซะเลย สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ แม้ได้ดั่งใจเราก็ซ้อนไปสุขใจได้ไม่มีปัญหา สุขใจในสิ่งที่ดีงามที่เป็นประโยชน์ได้
๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ
คือการรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ถ้าเรามีความสุขสบายใจไร้กังวลได้อย่างนี้ ใจก็เป็นสุข กายก็แข็งแรง ชั่วไม่ทำ ทำแต่ดี ก็จะเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม เป็นกุศล เป็นมหากุศลต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ก็จะดูดดึงสิ่งดี ๆ ต่าง ๆ เข้ามา สร้างสภาพดี ๆ ให้กับตนเองและผู้อื่นตลอดกาล ดันเหตุการณ์ร้ายให้ออกไป ให้เบาลง แล้วสร้างสภาพดี ๆ ขึ้นมาตลอดกาล ให้เราได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป ยถาภูตญาณทัสสนะ เช่นนี้ก็จะ นิพพิทาวิราคะ
๘. นิพพิทา
คือความเบื่อหน่าย เห็นว่ากิเลสน่าเบื่อหน่ายกิเลสตัวที่คิดผิดคิดแล้วทุกข์ เมื่อคิดอยากได้สมใจอยาก แต่ยังไม่ได้ก็ทุกข์ บางครั้งก็ได้สุขสมใจอยากมา ได้มาแล้วก็กลัวหมดไป หมดไปก็กลัวไม่ได้มา วนอยู่เช่นนี้ ทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้ ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย การคิดแล้วเป็นเหตุแห่งทุกข์
๙. วิราคะ
จางคลายสิ้นความยินดีในสุขสมใจอยาก ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจอยากและทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล ความคิดแบบกิเลสนี้จะไม่เอาอีกเลย จะไม่มีความยินดีในสุขสมใจอยากแต่จะรู้สึกยินดีที่จะตัดมันออกไป ยินดีที่ได้ตัดภัยนั้นออกไป เรียกว่า
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนะ
รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น หลุดพ้นมันดีอย่างนี้นี่เองชีวิตไม่ได้ไปทำโทษ ทำภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ทำแต่ประโยชน์แท้ให้กับตนเองคนอื่น สัตว์อื่น แม้แต่เราไม่ได้มีเวลาไปลงมือทำอะไรเลย แค่เป็นตัวอย่างที่ดีมันก็เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง คนอื่นสัตว์อื่นแล้ว เป็นมหากุศลแล้ว ยิ่งได้ช่วยชี้ทางให้คนอื่นพ้นทุกข์ด้วย ยิ่งเป็นประโยชน์เข้าไปอีก มันดีอย่างนี้นี่เอง ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่อย่างนี้ เช่นนี้เป็นต้น
นี้คือการหลุดพ้นจากทุกข์ ชีวิตของพระอรหันต์ต้องเป็นเช่นนี้ เราสั่งสมความเป็นพระอรหันต์ไปเป็นลำดับ ๆ สะสมไปทีละเรื่อง ๆ เรื่องละเล็กเรื่องละน้อย เป็นอรหันต์เต็มร้อยได้ก็เต็มถ้าไม่เต็มก็ได้บางส่วนในเรื่องนั้น ๆ ก็สะสมความพ้นทุกข์ไป ยินดีในความผาสุกไป ได้หนึ่งเรื่องก็สะสมหนึ่งเรื่อง สะสมความเป็นอรหันต์เรื่องที่สอง เรื่องที่สาม เรื่องที่สี่ เรื่องที่ห้า
ความเป็นอรหันต์จึงเป็นความสุขแห่งชีวิต เป็นสุขแท้ ดีแท้ ดังนั้นความเป็นอรหันต์ จึงมีอานิสงส์ ๑๐ ศีลที่เป็นกุศล ย่อมถึงอรหัตตผล โดยลำดับดังนี้
๑. อวิปปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ)
๒. ปามุชชะ (เบิกบานยินดี)
๓. ปีติ (อิ่มใจ)
๔. ปัสสัทธิ (สงบระงับกิเลส)
๕. สุข (ความสุขอันเกิดจากความสงบ)
๖. สมาธิ (จิตตั้งมั่น)
๗. ยถาภูตญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง)
๘. นิพพิทา (เบื่อหน่ายกิเลส)
๙. วิราคะ (จางคลายสิ้นความยินดี)
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น)