พุทธวิธีการดับทุกข์ด้วยบททบทวนธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน
นางสาวสันทนา ประวงศ์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ
๑) เพื่อศึกษาการดับทุกข์ด้วยทบทวนธรรมในพระพุทธศาสนา
๒) เพื่อศึกษาการดับทุกข์ด้วยบททบทวนธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน
๓) เพื่อวิเคราะห์การดับทุกข์ด้วยบททบทวนธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน
เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม
พบว่า การดับทุกข์ด้วยบททบทวนธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นการพิจารณาเนื้อหาของความจริงแท้ในเรื่องหนึ่ง ๆ อย่างซ้ำ ๆ โดยใช้วิธีปฏิบัติตามหลักเหตุแห่งวิมุตติ ๕ คือ การฟังธรรม สนทนาธรรม ทบทวนธรรม การตรึกตรองใคร่ครวญตามด้วยใจซึ่งธรรม และสมาธินิมิต พร้อมกับการสลายความโลภ โกรธ หลงไปเป็นลำดับตามหลักปหาน ๕ เพื่อความดับแห่งทุกข์ใจอย่างยั่งยืน
การดับทุกข์ด้วยบททบทวนธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน เป็นการกลั่นเนื้อหาธรรมจากพระไตรปิฎกมาแปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย มีทั้งหมด ๑๖๕ ข้อ ในเนื้อหาเป็นการปรับความเห็นผิดให้เป็นความเห็นถูก โดยใช้วิธีปฏิบัติ ๕ อย่าง คือ การฟังเสียงอ่านบททบทวนธรรมและการฟังธรรม การสนทนาธรรม การท่องจำบททบทวนธรรม การพิจารณาใคร่ครวญธรรม และการปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น พร้อมกับการสลายความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นไปเป็นลำดับ เพื่อดับทุกข์ใจอย่างยั่งยืน ผล คือ สามารถดับทุกข์ใจได้ในปัจจุบันขณะ พร้อมทั้งเกิดผลดีในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญาแก้ปัญหาตามมา
การดับทุกข์ด้วยบททบทวนธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน มีความสอดคล้องตามหลักเหตุแห่งวิมุติ ๕ และปหาน ๕ ในพระพุทธศาสนา เพราะมุ่งที่การดับทุกข์ใจเป็นหลัก โดยเน้นการสร้างปัญญาที่เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ด้วยการปฏิบัติเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ให้มาก จนกระทั่งสามารถดับทุกข์ใจจากเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเป็นลำดับได้ ในปัจจุบันขณะ
Buddhist Method to Release Suffering by Using Dhamma Review of Dr. Jaiphet Klajon
Miss Santana Prawong
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts (Buddhist Studies)
Graduate School
Mahachulalongkornrajavidyalaya University C.E. 2022
(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)
ABSTRACT
This research contains three objectives:
1) To study the cessation of suffering using Buddhist Dhamma Review,
2) To investigate the cessation of suffering utilizing Dr.Jaiphet Klajon’s Dhamma Review and
3) To examine the end of suffering utilizing Dr.Jaiphet Klajon’s Dhamma Review.
This is a qualitative study that includes a review of the literature, in-depth interviews, and participant observation.
The findings revealed that the 5 Causes of Deliverance, which are: listening to the Dhamma, Dhamma teaching or discussion, Dharma recitation or Dhamma Review, contemplation of the Dharma, and the mind is set correctly, along with the removal of greed, anger, and delusion in order, according to the 5 Abandonment of Defilements for Buddhism, are repeated consideration of the content of the truths in a subject, using the 5 Causes of Deliverance.
The cessation of suffering utilizing Dr.Jaiphet Klajon’s Dhamma Review involves condensing the Dhamma information from the Tiipitaka into a language that is easy to grasp and follow. There are a total of 165 items, the content of which is to change the wrong view to the right view, using 5 practices: listening to the Dhamma Review and listening to the Dharma, Dharma discussion, memorizing the Dhamma Review, contemplating the Dhamma, and practicing the precepts with wisdom and concentration, in order to quench suffering sustainably. Following the Dhamma Review results in the ability to alleviate suffering in the present now while also achieving favorable outcomes in the physical, mental, social, and intellectual realms.
The concepts of the 5 Causes of Deliverance and the 5 Abandonment of Defilements in Theravada Buddhism are congruent with the cessation of suffering utilizing Dr.Jaiphet Klajon’s Dhamma Review, because it primarily focuses on the mental cessation of suffering, by focusing on developing wisdom that clearly understands kamma to let go of the commitment, with much more practice of the 5 Causes of Deliverance until being able to quench the mental suffering from any one matter in order in the present moment.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร