ศึกษาวิเคราะห์วิธีการสื่อสารธรรมคำคมเพชรจากใจเพชร ของ ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว
นางสาวผ่องไพรธรรม กล้าจน
สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบวัดคุณสมบัติ
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๖๖
(ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
- ชื่อสารนิพนธ์ : ศึกษาวิเคราะห์วิธีการสื่อสารธรรมคำคมเพชรจากใจเพชร ของ ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
- ผู้วิจัย : นางสาวผ่องไพรธรรม กล้าจน
- ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)
- คณะกรรมการควบคุมสารนิพนธ์ : พระครูสิริปริยัติยานุศาสก์, ดร., ป.ธ. ๕, พธ.บ. (ศาสนา), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies)
- วันเสร็จสมบูรณ์ : ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการสื่อสารธรรมในพระพุทธศาสนา และ ๒) เพื่อวิเคราะห์วิธีการสื่อสารธรรมคำคมเพชรจากใจเพชรของ ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
พบว่า แนวคิดการสื่อสารธรรมในพระพุทธศาสนา เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้วนำไปสอนผู้อื่น ทรงประพฤติเป็นตัวอย่างที่ดี และทรงแสดงธรรมสำคัญ เช่น อริยสัจ ๔ ไตรสิกขา ไตรลักษณ์ นิยาม ๕ และปฏิจสมุปบาท แก่ผู้มีศรัทธา ด้วยรูปแบบการสื่อสารแบบสนทนา บรรยาย ตอบปัญหา วางกฎข้อบังคับ ทรงใช้เสียงเป็นหลักในการสื่อสาร ยกตัวอย่างพระองค์เองและยกบุคคลอื่นเป็นสื่ออธิบาย ยกอุทาหรณ์ เปรียบเทียบ ทรงมีศิลปะในการใช้ภาษาและใช้คำในความหมายใหม่ สอนตามลำดับจากเรื่องง่ายไปสู่เรื่องยาก ผลสัมฤทธิ์ของการสื่อสารธรรมทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจหลักธรรมและเกิดศรัทธา อุทิศตนเป็นอุบาสก อุบาสิกา และบรรพชาอุปสมบทพัฒนาตนเองจนบรรลุธรรม คือ พระอรหันต์ การสื่อสารธรรมคำคมเพชรจากใจเพชรของ ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว) มีแนวคิด คือ กตัญญูศาสนา ทำชีวิตให้มีคุณค่า เมตตาผองชน ฝึกฝนโลกวิทู พึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ ทำความผาสุกที่ตนช่วยคนที่ศรัทธา สื่อสารหลักธรรม เช่น อริยสัจ ๔ ด้วย ๙ รูปแบบ ผ่านการจัดค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ ค่ายอบรมออนไลน์ บรรยายธรรม สิ่งพิมพ์ ทำวิจัย สื่อสังคมออนไลน์ จัดการความรู้และพัฒนางานด้านวิชาการ เปิดพื้นที่ศูนย์ฯ เป็นสถานที่ศึกษาดูงาน ตลอดถึงหลักอปริหานิยธรรม และ ๑๙ วิธีการด้วยการอ้างพระไตรปิฎก และประยุกต์หลักธรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ใช้ภาพ ดร.ใจเพชร กล้าจน ในอิริยาบถต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบร่วมกันกับคำคมฯ ภาษากาย เป็นตัวอย่างที่ดี ขับร้องบทเพลงธรรม อธิบายการปฏิบัติธรรมด้วยวิปัสสนา ยกพระพุทธเจ้า ใช้ตัวเอง ใช้บุคคลอื่น ยกข่าวสารเป็นสื่ออธิบาย อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตอบปัญหา องค์ปาฐก วิทยากร ให้สัมภาษณ์พิเศษ สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิพากษ์ อาจารย์สอนและบรรยายพิเศษ เกิด ๙ เครือข่ายแพทย์วิถีธรรมทั้งในและต่างประเทศ ผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสารธรรมคำคมเพชรจากใจเพชร ทำให้ลูกศิษย์และประชาชนที่สนใจนำไปปฏิบัติสามารถแก้ปัญหาและพ้นทุกข์ได้เป็นลำดับ มีจิตวิญญาณที่เสียสละและแบ่งปัน อุทิศตนปวารณาเป็นจิตอาสา เสียสละทำงานฟรี โดยไม่รับสิ่งตอบแทนใด ๆ
An Analytical Study Dhamma Propagation of Kam-Kom-Petch-Jak-Jai-Petch of Dr. Jaipetch Klajon (Morkeaw)
Miss Pongpaitham Klajon
- Researcher : Miss Pongpaitham Klajon
- Degree : Doctor of Philosophy (Buddhist Studies)
- Thematic Paper Supervisory : Phrakrusiripariyatyanusath, Dr., Pali V, B.A. (Religions), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies)
- Thematic Paper Title : An Analytical Study Dhamma Propagation of Kam-Kom-Petch-Jak-Jai-Petch of Dr. Jaipetch Klajon (Morkeaw)
- Date of Completion : June 30, 2023
ABSTRACT
The objectives of this research were to 1) to study methods of communicating the Dharma in Buddhism and 2) to analyze the method of communicating the Dhamma Propagation of KAM-KOM-PETCH-JAK-JAI-PETCH Of Dr. Jaipetch Klajon (Morkeaw).
The research findings revealed that, concepts of Dharma communication in Buddhism arose from the grace of the Lord Buddha . The principles include teaching people so that they can learn through practices and then teach others, setting a good example, and teaching the Dhamma to those who have faith. The Four Noble Truths, Trinity, the Threefold Training, the Five Definitions, and Paticca-samuppada are the topics to be communicated. Conversation, Dharma lectures, answering questions, and defining rules and regulations are among the communication patterns. Verbal communication, using the Lord Buddha and other people as explanatory media, using examples and story-telling, comparing, being a good example, playing on words and using words in new meanings, teaching by using sequences from something easy to something difficult, and using polite and easy to understand language are all examples of communication methods. As a result, learners accept and comprehend Dhamma and have faith in Buddhism, so they devoted themselves to it. Learners believe in Buddhism and accept and understand the Dhamma. They dedicated themselves as laymen and heirs in Buddhism until they attained the highest level of enlightenment, that is, Arhatship.
The concept of communicating the Dharma Propagation from KAM-KOM-PETCH-JAK-JAI-PETCH by Dr. Jaipetch Klajon (Morkeaw) includes filial piety, making life valuable, being kind to people, practicing Lokwitura, rely on self-reliance and helping others to be free from suffering, create happiness for yourself, then help those who have faith. Communicate the main principle such as The Four Noble Truths through 9 forms which are Organizing workshops, Organizing online training camps, Dharma lectures, Publications, Conducting research, Social media, Knowledge management, opening a place for field study and APARIHANIYADHAMMA. And Communicate with 19 methods which include referring to the Tripitaka, Applying principles in an easy-to-understand language, Using Dr. Jaipetch Klajon image in various postures together with KAM-KOM-PETCH-JAK-JAI-PETCH, Body language, Being a good example, Singing Dharma songs, Explaining Dharma practice through introspection, Using the Lord Buddha’s stories, Using himself, Using other people, Bringing situation news as explanatory media, Discussing and exchanging of opinions, Answering to questions, Lecturing, Speaker, Giving special interview, Giving an in-depth interview, Commentator and Teaching and giving special lectures. Then 9 Dhamma networks were formed in both domestic and foreign countries. As a result, students and people who interested and applied those teachings to their lives are able to solve problems and be free from suffering, giving or sharing with a pure heart and devoted themselves as a volunteer who works without pay.
.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นางสาวผ่องไพรธรรม กล้าจน |
วัน เดือน ปี เกิด | ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๓ |
ที่อยู่ปัจจุบัน | ๓๑/๑ หมู่ ๕ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ บ้านแม่เลา ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ |
ตำแหน่งหน้าที่การงาน | |
พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๗ | เศรษฐกร บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ |
พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๔๕ | เจ้าหน้าที่การตลาดอาวุโส บจ.ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ |
พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๒ | เจ้าหน้าที่วางแผนและติดตาม บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ |
พ.ศ. ๒๕๕๔-ปัจจุบัน | จิตอาสาแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย วิทยากรแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย วิชชาจารย์สถาบันวิชชาราม นักศึกษาสถาบันวิชชาราม |
พ.ศ. ๒๕๖๓-ปัจจุบัน | อาจารย์พิเศษวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. ๒๕๓๖ | เศรษฐศาสตร์บัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๖๑ | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ |
พ.ศ. ๒๕๖๑ | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ |