ดาวน์โหลดใบสมัครพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูรายละเอียดการสมัคร กดที่นี่

เรามาเรียนรู้ธรรมะพาพ้นทุกข์ จากพระไตรปิฎกกัน ที่นี้นะ วันนี้เราจะได้มาเน้นย้ำ มาเติมเต็มเรื่องราวของชีวิตนี่แหละ

การเกิดมามีชีวิต อะไรที่เป็นสิ่งปรารถนาสูงสุดของชีวิ?
ความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ชีวิตแต่ละชีวิตนั้นปรารถนาสูงที่สุด ทุกชีวิตต้องการความสุขที่ยั่งยืน ทำอะไรก็ชั่งทุกวันนี้ เขาก็เพื่อไปสู่สุขเวทนาทั้งนั้น 

สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือเวทนาคือความรู้สึก ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับความรู้สึก ความรู้สึกสำคัญที่สุดในชีวิต ชีวิตคือความรู้สึก ความรู้สึกคือชีวิต และความรู้สึกนี่แหละสำคัญที่สุด ถ้าสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ๆ นี่แหละ สุข ทุกข์  เฉย ๆ ความรู้สึกที่แย่ที่สุดคือความรู้สึกทุกข์  ชีวิตใดก็ไม่ต้องการ ดีขึ้นมาหน่อยความรู้สึกเฉย ๆ เฉยก็ไม่ใช่จะสุขอะไรนักหนาหรอก เฉย ๆแบบบื้อ ๆ ก็ไม่ได้เป็นสุขอะไร แต่ความรู้สึกสุขนี่ ความรู้สึกยินดี ความรู้สึกเป็นสุขนี่แหละ เป็นความรู้สึกที่ดีที่สุด เป็นเวทนาเป็นความรู้สึกที่ดีที่สุด แล้วความรู้สึกสุขนั้นมีสุขชั่วคราวกับสุขถาวร สุขถาวร สุขมั่นคงยั่งยืน ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุด 

การเกิดมาเป็นชีวิตมนุษย์ หรือแม้แต่ชีวิตสัตว์ จิตนิยาม ทั้งมนุษย์หรือสัตว์ต่าง ๆ ทำอะไรลงไปทั้งหมด ก็เพื่อความสุขทั้งนั้นแหละ จะคิดพูดทำอะไร ๆ ก็เพื่อให้ได้สุขเวทนาที่ยั่งยืนทั้งนั้น ไม่มีอื่นจากนี้หรอก เป้าหมายสูงสุดของชีวิตแล้ว เพื่อให้ได้สุขเวทนา ความรู้สึกสุขที่ยั่งยืน จริง ๆ มีใครจะเถียงไหม?  ไม่มีใครเถียงใช่ไหม? ไม่เถียงนะ  อยากได้ทุกข์ที่ยั่งยืนหรือ  อยากเฉย ๆ ที่ยั่งยืนหรือ เฉย ๆ บื้อ ๆ ทุกข์เลย อยากได้ไหมล่ะ? ทุกข์ทรมานที่ยั่งยืน หรือเฉย ๆ เฉยเฉื่อยชา เฉยเฉื่อยชา ความหมายของเฉย อยากได้ไหม เฉยเฉื่อยชาที่ยั่งยืน ไม่เข้าท่าเนาะ ทุกข์ก็ไม่เข้าท่า เฉยเฉื่อยชาก็ไม่เข้าท่า แต่สุขเนี่ย ยินดี พอใจ สุขใจ สดชื่นมีชีวิตชีวา ดีไหม? มันก็ดี มีอะไรดีกว่านี้ไหม? ไม่มีอะไรดีกว่านี้  เห็นไหมมันก็ต้องการได้อันนี้แหละ คนเราต้องการความสุข ความสุขใจ ความยินดี พอใจ ความสดชื่นมีชีวิตชีวา 

ความร่าเริงเบิกบานแจ่มใสไร้กังวล ความแกล้วกล้าอาจหาญ ร่าเริงเบิกบานแจ่มใส สุขสบายใจไร้กังวล นี่แหละเป็นสิ่งที่ชีวิตต้องการ มันไม่มีอย่างอื่นหรอกนอกจากอันนี้ แต่สิ่งนี้ก็มีแบบยั่งยืน กับแบบชั่วคราว ชีวิตแท้ ๆ ก็ต้องการแบบยั่งยืน แต่ใครหละจะค้นพบอันนี้ ใครจะค้นพบอันนี้ นั่นแหละคือสิ่งที่สำคัญ จริง ๆ ก็ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์จะพบสิ่งนี้ ส่วนนอกนั้น นอกนั้นปุถุชนทั่วไปนี่ ไม่พบไม่รู้จักอันนี้

พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ สาวกแท้ของท่านจะรู้จักความสุขที่ยั่งยืน นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ สิ่งหนึ่งที่คนในโลก หรือในสังคมนั่นแหละ สังคมพุทธก็ตามหรือสังคมทั่วไปก็ตาม แม้แต่ชาวพุทธเองก็มักเข้าใจผิดว่า การบรรลุธรรมของพุทธ จะยินดีไม่ได้ ยินดีไม่ได้จะมีความสุขไม่ได้ 

ถ้ายินดีถ้ามีความสุข แสดงว่า หลงยินดีหลงสุข ความจริงมันไม่ใช่นะ พุทธนี่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความยินดีเลย ยินดีได้ สุขได้ ของพระพุทธเจ้า แล้วต้องทำให้ได้ยั่งยืนด้วย ต้องทำให้ยั่งยืนด้วย ยินดีได้ สุขได้เป็นเป้าหมายสูงสุดด้วย แต่ต้องทำให้ยั่งยืน เพียงแต่คนในโลกเขาไม่เข้าใจว่าความยินดีความสุขเนี่ย มันมี 2 ขั้ว ขั้วนึงมันเป็นแบบกิเลส ขั้วนึงเป็นแบบพุทธะ ด้านนึงมันไม่ยั่งยืน มันไม่เที่ยง ไม่มีจริง มันไม่เที่ยงแล้วมันก็เต็มไปด้วยทุกข์ ด้านกิเลส ด้านอวิชชา ด้านโง่ ด้านไม่รู้มันจะเต็มไปด้วยทุกข์ แล้วคนไปจมอยู่ด้านนั้นเยอะ อยู่ด้านนั้นน่ะเยอะ ส่วนด้านพุทธะเนี่ย ยินดีในธรรม ยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง ด้านพุทธะเนี่ย ด้านนี้จะเป็นความสุขที่ยั่งยืน แต่เป็นด้านที่คนไม่รู้จัก บางครั้งการอ่านพระไตรปิฎก ถ้าไม่เข้าใจสภาวะก็ทำให้งง เมาได้เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักสภาวะ บางทีพระพุทธเจ้าบอกเราหมดสิ้นแล้วความยินดียินร้าย เราหมดสุขหมดทุกข์แล้ว ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย พอคนไม่เข้าใจก็นึกว่าเป็นสภาพเฉย ๆ แบบบื้อ ๆ  เฉยเฉื่อยชา ไม่ใช่นะ ถ้าท่านกำจัดความยินดียินร้ายได้แล้ว กำจัดสุขทุกข์ได้เนี่ย หรือเป็นอุเบกขาอยู่ในนั้นแล้ว ในเรื่องใด ๆ ก็ตาม ท่านจะมีความยินดีซ้อนอยู่ในนั้น 

มีความยินดีเป็นหัวหน้า ยินดีที่ไม่ยินดียินร้าย ในเรื่องนั้น ๆ  ยินดีที่ไม่มีสุขทุกข์ ในเรื่องนั้นเรื่องนั้น ๆ อย่างนี้เป็นต้น ยินดีที่จะตัดเรื่องนั้นไป ยินดีที่จะอาศัยเรื่องนั้น อย่างนี้เป็นต้น ยินดีเฉย ๆ กับเรื่องนั้นก็ได้ ยินดีที่จะเฉยกับเรื่องนั้นก็ได้ ยินดีที่จะชอบเรื่องนั้นก็ได้ ยินดีที่จะชังเรื่องนั้นก็ได้ 

พระพุทธเจ้าจึงมีความยินดีหล่อเลี้ยงตลอดเวลา แต่คนไม่เข้าใจ จริง ๆ ท่านตรัสเรื่องของความไม่ยินดีไม่ยินร้าย หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ต้องมีความยินดี มีความสุขกับการไม่ยินดี ไม่ยินร้าย การไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น หรือจะไปชังในสิ่งใด ก็ต้องยินดีในการชัง ชอบสิ่งใดก็ยินดีในการชอบ เฉยสิ่งใดก็ยินดีในการเฉย แล้วมีปัญญาว่าจะชัง จะชอบ หรือจะเฉย ในอะไรทำได้ด้วยนะ แต่ก่อนจะมาตรงนี้ได้ก็ต้องยินดีในความไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่สุข ไม่ทุกข์ให้ได้ก่อน ต้องมีความยินดีตัวนี้ได้ พอยินดีในความเป็นกลาง ๆ นี้ได้ ในการไม่ชอบไม่ชัง ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่อยากไม่ยึดมั่นถือมั่น พอทำอันนี้ได้คราวนี้จะยินดีในชอบ ในชัง ในเฉย ในเรื่องไหน ๆ ทำได้หมดเลย ตามความเหมาะควรเลย  ในอินทรียภาวนาสูตร พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเอาไว้ เพราะฉะนั้นเรื่องความยินดีเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เรามาเริ่มต้นตรงนี้ 

อาจารย์พยายามที่จะไขความเข้าใจผิด พยายามแก้ไขความเข้าใจผิดของคน คนเข้าใจว่าพุทธะเนี่ย บื้อ ๆ ๆ ๆ นะ เฉยเฉื่อยชาเหมือนวัวเหมือนควาย เวลาปฏิบัติไปเสร็จ เห็นอะไรก็อย่าไปยินดียินร้าย อย่าไปสุขไปทุกข์ เฉย ๆ ๆ ๆ เฉย ๆ แล้วก็ทำบื้อ ๆ ๆ ไป บื้อ ๆ เฉย ๆ คุณว่าเป็นความรู้สึกที่ดีเหรอ ดีที่สุดเหรอ ดีที่สุดหรือยัง น่าได้ น่าเป็น น่ามีไหม? ก็ไม่น่าเป็น น่ามี

ใช่ไหม? มันไม่ได้ดีที่สุดนะ มันไม่ได้ น่าได้ น่าเป็น น่ามีอะไรเลย เป็นนักวิทยาศาสตร์ดูสิ พิสูจน์ดูสิ ก็ทำความรู้สึกนั้นดูสิ น่าได้ น่าเป็น น่ามีไหมล่ะ ไม่ได้น่าได้ น่าเป็น น่ามีอะไรเลย ความรู้สึกอย่างนั้นน่ะ ไม่ได้เข้าท่าอะไรเลย ยิ่งทุกข์ ไม่ต้องไป ไม่ต้องพูดถึงเลยความรู้สึกทุกข์ชัด ๆ นี่นะ ความรู้สึกทุกข์ทรมาน  ทรมานกาย ทรมานใจ ใจกลัวกังวลหวั่นไหว ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ ทุกข์ทรมานใจแง่ไหนเชิงไหนก็แล้วแต่ มันยิ่งไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีหรอก อันนั้น ยิ่งไม่เข้าท่าอะไรเลยแหละ อันนั้นน่ะ ไม่เข้าท่าเลย ตัวนั้นไม่เข้าท่าเลย ความรู้สึกทุกข์ยิ่งไม่ควรได้ ไม่ควรเป็น ไม่ควรมีเลย แม้แต่เฉย ๆ เฉยเฉื่อยชาเนี่ยนะ  บื้อ ๆ ๆ ก็ไม่เข้าท่าหรอก หรือ ดับไม่รับรู้อะไร ก็ไม่ได้เข้าท่าหรอก ตอนเรามีชีวิตอยู่เนี่ย  ก็ลองทำดูสิ มันน่าได้ น่าเป็น น่ามีไหม? มันก็ไม่เห็นจะน่าได้ น่าเป็น น่ามีอะไร ความรู้สึกยินดี ยินดี พอใจ สุขใจ นี่มันดีกว่า มันเป็นความรู้สึกที่ดีกว่า ดีที่สุดด้วย มันไม่มีอะไรดีกว่านี้เลย ชีวิตมันมีแค่นี้แหละ สุข ทุกข์ แล้วก็ไม่สุขไม่ทุกข์ สุขก็คือชอบ ทุกข์ก็คือชัง  ไม่สุขไม่ทุกข์ก็คือเฉย มันก็มี ชอบ ชัง เฉย  ชอบยินดีพอใจสุขใจชอบใจ อย่างนี้มันก็เป็นสภาพที่ดีที่สุด เพียงแต่คนเข้าใจพุทธะนี่ผิด คือสภาพความยินดี 

มันมี จริง ๆ แล้วพุทธะต้องมีความยินดีนี่แหละเป็นแก่นเป็นแกนให้มั่นคง ยั่งยืน ตลอด แต่จะยินดีในอะไรเท่านั้นเองนะ จะยินดีในชอบ ยินดีในชัง ยินดีในเฉย ที่ไม่มีภัย พุทธะทำเป็น ชอบ ชัง เฉย นี่ก็มีแบบมีภัย กับมีแบบไม่มีภัย  แบบมีภัยกับแบบไม่มีภัย พุทธะยินดีในชอบ ในชัง ในเฉย ที่ไม่มีภัย แต่กิเลสะหรืออวิชชา  ความไม่รู้ ความโง่  จะไปยินดี ในชอบ ชัง เฉย ที่มีภัย มันมีซ้อนอยู่อย่างนี้  ความลึกซึ้งของชีวิต จึงต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ เพราะถ้าเรียนรู้ไม่เข้าใจ นี้ก็แย่เลย จะงงจะเมาไปหมดเลยภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้นี่  ถ้าผู้ใดไม่เข้าใจสภาวะ แตะไม่ถูกสภาวะนี่ งงเลยเมาเลยนะจะบอกให้ จะงง  จะเมา ถ้ารู้ไม่รอบ แต่ถ้ารู้รอบไปเป็นลำดับ ลำดับ  จะไม่งง จะไม่เมา ยิ่งได้พบกับผู้รู้แท้ที่อธิบายให้พิสูจน์เป็นวิทยาศาสตร์ได้ พาปฏิบัติจริงและพิสูจน์จริงเป็นวิทยาศาสตร์ได้  ก็สามารถพิสูจน์ความจริงได้ทุกปัจจุบัน ของพระพุทธเจ้าไม่ได้รอนาน  พิสูจน์ความจริงได้ทุกปัจจุบัน ทิฏฐธัมเทียวเลยนะ ทุกปัจจุบันเลย ไม่ใช่ว่าต้องไปรออะไร 

ของพระพุทธเจ้าพิสูจน์ความจริงทุกปัจจุบันเลย ทุกปัจจุบันเลย พิสูจน์ได้เลย  ถ้าทำผิดก็ทุกข์ทันที พระพุทธเจ้าตรัสเลย  ถ้าทำถูกก็สุขทันทีเลย ของพระพุทธเจ้าเองเป็นอย่างนั้นเลย ทำถูกปุ๊บสุขยั่งยืนทันที ทำผิดปุ๊บก็ทุกข์ปั๊บ ทำถูกปุ๊บก็สุขปั๊บของพระพุทธเจ้า รวดเร็ว ทันใจ  เอาจริง ๆ อาจารย์ชอบใจพระพุทธเจ้าตรงนี้แหละนะ โอ้โห! เอหิปัสสิโกเชื้อเชิญให้มาพิสูจน์กันได้ อกาลิโก เป็นจริงตลอดกาล และพิสูจน์ความจริงทุกทิฏฐธัมทุกปัจจุบันเทียวท่านว่าอย่างนี้นะ ถ้าทำได้ถูกต้อง ก็เข้าถึงความสุขทุกปัจจุบันเข้าถึงอยู่เลย  ไม่ใช่ว่าจะต้องไปรอตอนนั้น ตอนนี้ ไม่ต้องรอ

ไม่ว่าจะมีสิ่งดีสิ่งร้ายกระทบเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะมีสภาพอะไรกระทบเข้ามาในชีวิต ทำถูกปุ๊บสุขปั๊บทำผิดปุ๊บทุกข์ปั๊บเลย ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้น โดยเฉพาะใจนี่แหละนะ ใจนี่แหละ ทำถูกก็สุขทันทีทำผิดก็ทุกข์ทันที  อาจารย์ชอบใจพระพุทธเจ้า ที่ตรัสในคิลานสูตร   

คิลานสูตรที่ ๑ ที่ท่านสอนภิกษุที่เจ็บป่วย พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ ข้อที่ ๘๘ ภิกษุเจ็บป่วย  พระพุทธเจ้าก็ถามอาการเป็นอย่างไร  อ้าว! อาการโดยรวมนี่ก็มีแต่แย่ลง แล้วพระพุทธเจ้าถามว่าชิงชัง ร้อนใจบ้างไหม ทุกข์ใจบ้างไหม มีทุกข์ใจบ้างไหม ภิกษุก็บอก 

โอ้!ทุกข์พ่ะย่ะค่ะ ทุกข์ใจ เดือดร้อนใจ ทุกข์ใจอยู่ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าไม่มีอะไรที่ทำให้เธอทุกข์ใจได้หรอก   นอกจากการผิดศีลของเธอ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เธอได้ตรวจศีลของเธอไหม พูดภาษาบ้าน ๆ ตรวจศีลเธอไหม เอาศีลมาตรวจไหม ภิกษุบอกไม่ได้ตรวจเลยพ่ะย่ะค่ะ ไม่ได้ติเตียนตนโดยศีลเลย ตรวจศีลไหม พระพุทธเจ้าบอก อ้าว! ก็เธอไม่ตรวจศีลแล้วเธอจะเดือดร้อนด้วยอะไรเล่า ถ้าไม่ใช่เดือดร้อนเพราะผิดศีล มีแต่การผิดศีลเท่านั้นที่ทำให้เธอทุกข์ใจ

อาจารย์ชอบใจตรงนี้จริง ๆ ใครจะฟังออกไหมหนอ มีแต่การผิดศีลของเธอเท่านั้นที่ทำให้เธอทุกข์ใจได้ ถ้าเธอไม่ผิดศีลเธอไม่ทุกข์ใจหรอก เธอจะสุขสบายใจทันทีเลย เธอหายทุกข์ สุขสบายใจทันทีเลย เพราะฉะนั้นใครทุกข์ใจอยู่ตอนนี้ ผิดศีลอยู่ทั้งนั้นแหละทุกข์ใจอยู่ตอนนี้ ทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ อยู่ตอนนี้  ผิดศีลทั้งนั้นแหละ ใครทุกข์ใจอยู่ตอนนี้ ผิดศีลทั้งนั้นแหละ ไม่มีอื่นจากนี้  อาจารย์ชอบใจ จริง ๆ เลยพระพุทธเจ้าตรัสคำนี้ ยิ่งใหญ่จริง  มีแต่การผิดศีลเท่านั้นแหละที่ทำให้เธอทุกข์ใจได้  นอกนั้นไม่มี พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้  ถ้าถูกศีลแล้วไม่มีทุกข์ใจหรอก อ้าว! ทีนี้ แล้วท่านว่าไง 

ผิดศีลเป็นอย่างไร  แล้วถูกศีลเป็นอย่างไร เวลาทุกข์ใจมันก็มีอันเดียวเท่านั้นแหละ 

พระพุทธเจ้าตรัสว่าอยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ใจแปลว่ามันไม่ได้สุขสมใจ ใช่ไหม มันไม่ได้สุขที่ได้ดั่งใจ เท่านี้แหละที่มันทุกข์ใจ คนเรามันไม่ได้สุขสมใจ มันไม่ได้สุขที่ได้ดั่งใจ  มันก็เลยทุกข์ใจ ตกลงสุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจ ตกลงมันมีแต่สุขที่ไม่มีทุกข์แทรกเลยใช่ไหม มันดีไหม ดีไหม สุขสมใจ ตกลงมันดีไหม ถ้าไม่ได้แล้วมันทุกข์ใจ  ตกลงมันดีไหม อ้าว!ไม่ดี ทำไมว่ามันไม่ดีล่ะ ก็มันก็ยังมีทุกข์ในตอนที่ยังไม่ได้ใช่ไหม อ้าว!ถ้าดีจริงมันก็ต้องไม่ทุกข์นะ 

ใช่ไหม สุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ดี  ไม่ดีตรงไหน ไม่ดีตรงที่เวลาไม่ได้แล้วทุกข์ ขนาดว่าได้แล้วเป็นไง ยั่งยืนไหม ไม่ยั่งยืนอีก ก็ไม่เห็นจะดีตรงไหน ได้ก็ไม่ยั่งยืน ไม่ได้ก็ทุกข์ ได้ก็ไม่ยั่งยืน เดี๋ยวก็สลายไป เห็นไหม สุขสมใจนี่มันก็ไม่เข้าท่า  เอาล่ะ เอาประเด็นตรงนี้ จริง ๆ แล้วมันทำให้เกิดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลด้วย  ทำให้กลัวจะไม่ได้มา ได้มากลัวจะหมดไป ทำให้เจ็บป่วย ทำให้ทำชั่วได้ทุกเรื่อง เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม  เกิดสิ่งเลวร้ายต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาล เป็นวิบากร้าย ดึงเรื่องร้ายมาใส่ตัวเองและผู้อื่นตลอดกาล ไม่เห็นจะดีตรงไหนเลย 

เพราะฉะนั้นการผิดศีล คือ อยากได้อะไรแล้วไม่ได้แล้วทุกข์ใจนี่แหละเรียกว่าผิดศีล อยากได้อะไรพอไม่ได้แล้วทุกข์ใจนั่นแหละผิดศีลแล้ว อยากได้สุขสมใจ อยากได้สุขที่ได้ดั่งใจ อยากได้อะไร ๆ ๆ แล้ว เวลาไม่ได้แล้วทุกข์ใจนั่นแหละผิดศีลแล้ว นี่คือการผิดศีลตัวจริงเสียงจริ 

การถูกศีลล่ะ เป็นอย่างไร ถูกศีลคือ แม้ไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้  นี่แหละ ถูกศีลเลยที่นี้ สุดยอดเลย แม้ไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ โอ้โห! นี่แหละถูกศีลเลย จะได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้  นี่คือถูกศีล ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องทำให้ได้ ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุข สบายใจไร้กังวลได้  นี่แหละถูกศีลสมบูรณ์เลย  อันนี้ศีลสมบูรณ์เลย เพราะฉะนั้นต้องตรวจดู ตอนที่มีไหมล่ะ เวลาไม่ได้ดั่งใจแล้วทุกข์ใจ ไม่ได้สมใจแล้วทุกข์ใจ  ไม่ได้ตามที่อยากแล้วทุกข์ใจน่ะ มีไหม มีไหม 

ทุกข์ใจขึ้นมาเมื่อไหร่ อันเดียวเท่านั้นแหละ มันไม่ได้ตามที่อยาก อยากอะไร อยากได้ดั่งใจ อยากได้สุขสมใจ อยากได้ สุขที่ได้ดั่งใจ ก็มีเท่านั้นแหละ อยากได้ดั่งใจ มันจะไปยากอะไรทุกข์ใจขึ้นมา  แหม!ใครฟังวันนี้ดี ๆ นะ มันง่าย ง้ายง่ายนะ ปฏิบัติศีล ง่าย ๆ หายทุกข์ เข้าสู่สุขยั่งยืนนี่มัน ง้ายง่าย ๆ ทุกข์ใจขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่ามันไม่ได้ดั่งใจ มันผิดศีล 

ผิดศีล ข้อไหน อยากได้ดั่งใจแล้วไม่ได้ดั่งใจ วิธีแก้จะไปยากอะไร ก็สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจซะ ก็หายทุกข์แล้ว ใช่ไหม มันต้องไปเหนื่อยทำให้มันได้ดั่งใจไหม ไม่ต้องเหนื่อยเลย 

ของพระพุทธเจ้าสุขได้ตลอดเวลาไม่ต้องไปเหนื่อย แค่ทำให้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ ไม่ต้องเหนื่อยให้ได้ดั่งใจเลย ทำใจให้ได้ความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ นี่ก็หายเลย หายทุกข์ละ ง้ายง่าย ปฏิบัติธรรมชั่งง่ายดายเหลือเกิน ง่ายจริง ๆ เท่านี้ก็สุขแล้วชีวิต ไม่ต้องไปเหนื่อยอะไรเลย ง้ายง่าย ไม่ต้องไปยากลำบาก ไม่ต้องกิลิมถะไม่ต้องไปทรมานตน อาจารย์ก็เจาะลึกไปอย่างนั้น ผู้ใดทำได้ก็ทำไปเลย ทำวันนี้สุขวันนี้ เลิกอยากได้สุขสมใจซะ ก็จะไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ จะเป็นสุขที่ได้ดั่งใจทันที จะเป็นสุขที่ได้ดั่งใจทันทีเลย

เรามาดูพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ ข้อที่ ๘๘๗ วันนี้อาจารย์จะว่าด้วยพุทธะเป็นการปฏิบัติสู่ความยินดีที่ยั่งยืน สู่ความยินดีเต็มใจ พอใจ สุขใจที่ยั่งยืน ไม่ใช่การปฏิบัติที่ไม่มีชีวิตชีวา มีความทุกข์หรือไม่ก็เฉยเฉื่อยชา ไม่ใช่ ทุกข์หรือเฉยเฉื่อยชา ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พุทธะ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เฉยเฉื่อยชา ไม่มีหรือผู้เศร้า ๆ ผู้บื้อ ๆ นี่ไม่ใช่พุทธไม่ใช่อย่างนั้น 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ ข้อที่ ๘๘๗ พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุผู้มีดวงตาเห็นธรรมแจ่มแจ้ง มีพระปัญญาธิคุณแจ่มแจ้งนั่นเอง ย่อมปรากฏเด่นชัดแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระองค์ทรงกำจัดมืดทั้งปวง ใจที่มันมืดบอด จมอยู่ในทุกข์ วนอยู่ในทุกข์ ๆ พระองค์กำจัดได้หมด ความมืดบอดที่ทำให้ชีวิตจมวนอยู่ในทุกข์ทั้งปวง กำจัดได้เลย เป็นบุคคลผู้เอกเป็นเอกเป็นหนึ่งเลย ๆ พระพุทธเจ้า เป็นเอกเป็นหนึ่งเลย บรรลุแล้วซึ่งความยินดี เห็นไหมพระพุทธเจ้าบรรลุความยินดีที่เป็นเอกเป็นหนึ่งเลยนะ เนี่ย! ใครไปคิดว่าพระพุทธเจ้าไม่บรรลุความยินดีไม่ได้นะ หาว่าท่านไม่ยินดีไม่ได้ พระพุทธเจ้ามีความยินดีเป็นเอกเป็นหนึ่งเลย 

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความยินดีโดยเฉพาะ เป็นเอกเป็นหนึ่งเลย บุคคลผู้เป็นเอกเป็นหนึ่ง ไม่มีใครเทียมเท่า บรรลุแล้วซึ่งความยินดี ยินดีพอใจสุขใจนี่แหละ ดีที่สุดในโลกเลย บรรลุแล้วซึ่งความยินดี ความยินดีนี่คือความสุข มันไม่มีอะไร ดียิ่งกว่าความยินดี และท่านรู้หมดนะ ยินดีอะไรที่มันน่าได้ น่าเป็น น่ามี ยินดีอะไรที่ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี ท่านทำลายความยินดีที่ ไม่น่าได้น่าไม่เป็น ไม่น่ามี ไปเอาความยินดีที่ น่าได้ น่าเป็น น่ามี พระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้ท่านรู้ ไม่เอายินดีที่มีภัยท่านไม่เอา ท่านไปเอาความยินดีที่ไม่มีภัย ไปเอาความยินดีที่มีประโยชน์อย่างเดียวไม่มีโทษ ไม่มีภัยเลย  ไปเอาความยินดีที่มีประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีโทษไม่มีภัยเลย 

ท่านบรรลุอันนี้ เอาความยินดีที่ทุกข์ มีโทษมีภัยอยู่ ดีที่สุดหรือยัง ก็ยัง ความยินดีที่ไม่มีทุกข์โทษภัยมีประโยชน์อย่างเดียวดีไหม ดีที่สุดเลย คนเราต้องยินดีในสภาพดี ๆ ที่ไม่มีทุกข์โทษภัย มีประโยชน์อย่างเดียวเป็นสภาพยินดีที่ดีที่สุดในโลกที่มนุษย์ควรได้ควรเป็นควรมี ยินดีอันนั้นมันควรเป็นยินดียังไง 

พระพุทธเจ้าตรัสในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๓๔ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๓๔ ความยินดีที่ไม่มีทุกข์โทษภัยเลย เป็นยินดีที่มีประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น ทั้งต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น คือยินดีในธรรม ยินดีพอใจสุขใจในธรรมนี่แหละ ชนะความยินดีทั้งปวง รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง โอ้โห! เป็นรสที่ดีที่สุดเลย 

รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง รสนั้นคือยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง เรียกว่าความยินดีอะไร ๆ ในโลกใบนี้ ก็ไม่มีความยินดี ไม่มีความสุข ไม่มีความเลิศยอด เท่ากับความยินดี ในธรรม ธรรมะแท้ ๆ ที่ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น มีแต่ประโยชน์แท้ต่อตนเอง คนอื่นสัตว์อื่น นี่แหละเป็นสิ่งที่น่ายินดีที่สุด คนเราเข้าถึงอันนี้ได้ ก็ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อชีวิต

เรามาดูว่าความยินดี  พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร สาวกแท้ของท่านก็กล่าวว่า ความยินดีนี่แหละคือความสุข ความไม่ยินดีนี่แหละคือความทุกข์ เป็นความยินร้ายเป็นความทุกข์เลย เดี๋ยวจะไปที่พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ข้อที่ ๖๖ 

พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ข้อที่ ๖๖ สุขสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๖๖ สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชก ชื่อว่าสามัณฑกาณิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า “ดูกรท่านพระสารีบุตรในธรรมวินัยนี้ อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์” ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า “ดูกรท่านผู้มีอายุ ในธรรมวินัยนี้ ความไม่ยินดีแลเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข” เห็นไหม นี่พระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวา ที่พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่าเป็นผู้เลิศยอดด้านปัญญาเท่าเทียมกับพระพุทธเจ้าเลย ท่านก็ยืนยันอย่างนี้ 

ความไม่ยินดีแล เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข ถ้ายินดีปุ๊บสุขปั๊บเลยคนเรา ยินดีในอะไรก็ตาม เป็นสุขได้หมดนั่นแหละ แต่ยินดีในตัวนั้นมันจะสุขยั่งยืนหรือชั่วคราวอีกเรื่องหนึ่งนะ ถ้ายินดีปุ๊บเป็นเหตุให้เกิดสุขปั๊บเลย แต่ไม่ยินดีปุ๊บทุกข์ปั๊บเลย

ไม่ยินดีมี 2 สภาพ สภาพหนึ่งคือเฉย ๆ ไม่ยินดีก็เฉย ๆ เป็นยังไง

ยินร้ายเลยใช่ไหม ความไม่ยินดีมี 2 สภาพ ๆ ยินร้ายก็ไม่ใช่ยินดี ใช่ไหม ยินร้ายก็ไม่ชอบใจไม่พอใจ กลัว กังวลหวั่นไหว ไม่ชอบใจไม่พอใจ ไม่ต้องการ มันยินร้าย มันทุกข์ ยินร้ายเลย ไม่ชอบใจไม่พอใจ ไม่แช่มชื่น ไม่เข้าท่า กลัว กังวล หวั่นไหว ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็นไม่อยากมี ยินร้ายตรงนั้นเลย ยินร้ายก็ทุกข์อยู่แล้วชัดเจน แม้แต่ไม่ยินดีแบบเฉย ๆ เฉยเฉื่อยชา ไม่ยินดีแบบเฉย ๆ เฉยเฉื่อยชา เป็นไง สุขไหม 

สุขหรือทุกข์ มันก็ทุกข์นะ ลึก ๆ เหมือนเศร้า ๆ ด้วยนะ เฉยเฉื่อยชา ไม่ได้สดชื่นนะ มันเป็นความไม่สดชื่นอย่างหนึ่ง ใช่ไหม เฉยเฉื่อยชา ไม่ได้สดชื่นนะ เศร้า ๆ ยังไงก็ไม่รู้ มันออกไปทางบื้อ ๆ เศร้า ๆ ลองทำดูก็แล้วกัน อยากได้ไหม อยากได้ไหม อยากได้ก็ทำเอาไม่อยากได้นะไม่อยากได้ก็ไม่เอา อาจารย์ก็ไม่เอาเหมือนกันนะ ให้ไปเฉย ๆ เฉยเฉื่อยชา บื้อ ๆ เศร้า ๆ  มันออกไปทางเศร้าด้วยซ้ำ มันไม่แช่มชื่น ๆ ไม่สดชื่น มันไม่เข้าท่า ยังไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี มันยังเป็นความไม่ยินดี มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี แต่ถ้ายินดีเลยเป็นความสุขเลย ใช่ไหมยินดี ดีกว่าอย่างนี้เป็นต้น

เอาละ ตกลง ท่านสารีบุตรยืนยันว่า ความไม่ยินดีแลเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข ดูกรผู้มีอายุเมื่อมีความไม่ยินดี เป็นอันหวังทุกข์ได้ ใครมีความไม่ยินดีเป็นอันหวังได้ทุกข์นี้คือ ตั้งใจฟังนะ ใครอยากได้ทุกข์ก็ ให้ทำดูนะ ก็จะได้ทุกข์ เป็นอันหวังได้เลยว่างั้น เป็นอันหวังได้ เมื่อมีความไม่ยินดี เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้ คือ บุคคลผู้มีความไม่ยินดีแม้เดินอยู่ ก็ไม่ประสบความสุขสำราญ เห็นไหม ไม่สุขสำราญเนาะ บุคคลผู้มีความไม่ยินดีแม้ยืนอยู่ แม้นั่งอยู่  แม้นอนอยู่ แม้อยู่ในบ้าน แม้อยู่ในป่า แม้อยู่ในโคนไม้ แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า แม้อยู่ในที่แจ้ง แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมไม่ประสบความสุขความสำราญ จะไปอยู่ไหน ๆ ถ้าไม่ยินดีจะไปอยู่ไหน ๆ จะทำอะไร ๆ ก็ตาม ถ้าไม่ยินดีก็ทุกข์อย่างเดียว ไปอยู่ที่ไหน ๆ จะคิดพูดทำอะไร ใช่ไหม จะอยู่ที่ไหนจะคิดพูดทำอะไรในที่นั้น ๆ น่ะ คุณจะไปอยู่ที่ไหน ๆ แต่ถ้าไม่ยินดีแล้วเป็นไง  ทุกข์อย่างเดียว จะคิด จะพูด จะทำอะไรอยู่ที่ไหน ก็มีแต่ทุกข์ ย่อมไม่ประสบความสุขสำราญ 

ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความไม่ยินดีก็เป็นอันหวังได้ความทุกข์นี้ ท่านก็ว่าอย่างนั้นนะ ก็จะได้ความทุกข์พวกนี้แหละ  

ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ความสุขนี้ คือ พอยินดีปุ๊บก็หวังได้เลยว่าชีวิตมีความสุขแน่ ๆ คือบุคคลผู้มีความยินดีแม้เดินอยู่ ก็ย่อมประสบความสุขความสำราญ บุคคลผู้มีความยินดีแม้ยืนอยู่ แม้นั่งอยู่ แม้นอนอยู่ แม้อยู่ในบ้าน แม้อยู่ในป่า แม้อยู่ที่โคนไม้ แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า แม้อยู่ในที่แจ้ง แม้ตากฝน แม้ตากแดด แถมให้นะเนี่ย ท่านไม่ได้พูด อาจารย์พูดเอง ตากฝน แม้ตากแดด  แม้ลำบาก ยากลำบาก อยู่ในที่ยากลำบาก จะคิดพูดทำอะไรก็แล้วแต่ อยู่ที่ไหน ๆ ก็แล้วแต่ สรุปแล้ว จะอยู่ที่ไหน ๆ ก็แล้วแต่ ถ้ามีความยินดี ก็ดีหมด แม้อยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็ย่อมประสบความสุขความสำราญ อยู่ที่ไหน ๆ ก็สุขสำราญ 

ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ความสุขนี้  จบสูตรที่ ๖

ท่านยืนยันเลยความยินดีนี่แหละ คือ ความสุข ความยินดี เต็มใจ พอใจ สุขใจ เป็นความสุขทันทีเลย มนุษย์แสวงหาความสุข ต้องรู้จักทำความยินดี พอใจ สุขใจให้ได้  

เรามาดูต่อ ที่จริงพระพุทธเจ้าก็ยังยืนยันนะความสุขเนี่ย ความสุขก็คือความยินดีนั่นแหละ พระพุทธเจ้าก็ยังยืนยันอีกนะ ถ้าอยากได้ความสุขก็ต้องยินดี เราไปดูความสุขที่พระพุทธเจ้าตรัสความยินดี ตกลงความยินดีคือความสุขนะ  

มาดู พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๓๔๙ จะได้ชัดเจนว่าพระพุทธเจ้าขอให้คนมีความสุขด้วยความยินดีนี่แหละ ยอดเยี่ยมที่สุดเลย

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๓๔๙ สุขสูตร 

สูตรว่าด้วยความสุข เมื่อกี้ท่านสารีบุตรท่านก็กล่าวนะ ว่าความยินดีคือความสุข ใช่ไหม ไปอยู่ที่ไหน ๆ ถ้ามีความยินดีมีความสุขเลย ที่นี้พระพุทธเจ้าก็ยืนยัน พระพุทธเจ้าพระบรมศาสดา ก็ยืนยันกันว่าความยินดีนั่นแหละคือความสุข และพระพุทธเจ้าก็สอนความสุขที่มั่นคงยั่งยืนด้วย ในสุขสูตร เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๓๔๙

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการย่อมเป็นผู้มากด้วยสุข และโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว” เห็นไหม มีความสุขก็มีสภาพดี ๆ สุขสภาพดี ๆ มีอะไรมาผัสสะ ก็มีความสุข แม้ไม่มีอะไรมาผัสสะ ก็มีความสุขใจ มากด้วยสุข ก็มันมีอะไรมากระทบ ๆ ชีวิตก็มีความสุข และโสมนัสนี่ แม้ไม่มีอะไรมากระทบ อยู่ในสภาพในใจ ก็มีความสุข มีอะไรมากระทบ หรือไม่มีอะไรมากระทบ ก็มีความสุขใจอยู่ตลอด อยู่ในปัจจุบันเทียว เห็นไหม อยู่ในปัจจุบันเลย และย่อมเป็นผู้มี ย่อมเป็นผู้ปรารภ ปรารถนามุ่งไป จิตปรารถนานั้น ปรารภนี่จิตมุ่งไป ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพื่อให้สิ้นไปแห่งอาสวะ คือกิเลสทั้งหลาย แต่ละเหลี่ยมแต่ละมุม หยาบ กลาง ละเอียดเลย ให้หมดเลย เพราะรู้ว่ากิเลสเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล กำจัดได้ก็เป็นสุข ปัจจุบันเทียว 

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรม ๑ เห็นไหม ยินดีในธรรม ธรรม ๖ ประการนี่ ข้อแรกเลยเป็นไง ยินดีในธรรม  ยินดีในธรรม ธรรมะแท้ ๆ นี่แหละ ก็ต้องเป็นผู้ยินดีในธรรม ธรรมะแท้ ๆ ท่านย่อ ก็ละโทษทำประโยชน์ ให้กับตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น ไม่ว่าด้านเหตุการณ์ ร่างกาย จิตใจ นี่ย่อนะ ย่อจุลศีลข้อที่ ๑ ละโทษทำประโยชน์ให้กับทุกชีวิตเท่าที่เราจะทำได้ ทั้งเหตุการณ์ ร่างกาย โดยเฉพาะจิตใจ นี่ย่อจุลศีลข้อที่ ๑ ก็จะประสบความสุข พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น ไม่มีภัยใด ๆ เลย ไม่มีทุกข์โทษภัยใด ๆ มีแต่ความสุขเท่านั้น ท่านก็ตรัส หรือย่อเป็นโอวาทปาฏิโมกข์ คือการละบาป บำเพ็ญกุศล ทำจิตใจให้ผ่องใส  ยินดีในการละบาป การบำเพ็ญกุศล การทำจิตใจให้ผ่องใส  นี่ก็เป็นการยินดีในธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ยินดีในธรรม ๑ ท่านก็ย่อเลย ท่านก็ขยายอีกยินดีในธรรมของท่านเป็นไง ย่อมเป็นผู้ยินดีภาวนา ๑ ย่อมยินดีภาวนา  ภาวนาก็ อินทรียภาวนาสูตร นั่นแหละ อินทรียภาวนาสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่ายังไง โอ้! มีผัสสะมากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วต้องอ่านความชอบใจ ไม่ชอบใจ ความสุขใจ ชอบใจ ความทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ ใช่ไหม อ่านอาการได้เป็นไง ให้พิจารณาทุกข์โทษภัยของมัน ให้อึดอัด เบื่อระอา ชิงชัง ให้อึดอัดเบื่อหน่าย เบื่อระอามัน ในทุกข์โทษภัยของความสุขใจ ชอบใจ ความทุกข์ใจไม่ชอบใจ ให้เบื่อหน่าย อึดอัด เบื่อระอา รังเกียจ  ชิงชังรังเกียจเลย อย่างนี้เป็นต้น 

อินทรียภาวนาสูตร ก็คือ ท่านให้เห็นทุกข์โทษภัยของมัน ให้เห็นทุกข์โทษภัยของมัน แล้วมันจะสลายไปแล้วก็จะมีความยินดี ในภาวะของวิปัสสนา ภาวนา คือ ภาวะของวิปัสสนา ภาวะ คือ สภาพ ภาวนาคือ ภาวะ + วิปัสสนา  ภาวะคือสภาพนั้น ๆ วิปัสสนา วิ ก็วิเศษ ปัสสะ ปัสสี คือความรู้ ความเห็น ความเข้าใจความจริงตามความเป็นจริง  โดยเฉพาะเข้าใจไตรลักษณ์ของกิเลสนั่นแหละ ว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์  มันไม่มีตัวตนแท้ ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี พิจารณาจนกิเลสสลาย พุทธะเกิด นั่นแหละเรียกว่า ภาวะของวิปัสสนา พุทธะก็เกิด

โอ้! เกิดความยินดีพอใจ สุขใจ ที่กิเลสสลายไป ความสุขสมใจ ความทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ความทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล สลายไปจากจิตวิญญาณ ก็กลายเป็นพลังพ้นทุกข์ อะไรเกิดดับอะไรก็ไม่ทุกข์ นี่แหละเป็นผู้ยินดีภาวนา ยินดีในภาวนาและสามารถที่จะชอบชัง เฉย อะไรก็ทำได้หมด ทำด้วยความยินดี ยินดีในภาวนา นี่คือเป็นอย่างนี้ โอ้โห! ผู้ใดยินดีในภาวนานี้จะได้ความสุขและจะขยายเข้าไปเรื่อย ๆ และก็ทำให้ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ ท่านก็ขยายอีก ขยายในรายละเอียดไปอีก ยินดีในภาวนาก็ทำไปตามลำดับ ๆ ย่อมเป็นผู้ยินดีในการละ ยินดีในการละอะไร  ก็ละในสิ่งที่เป็นทุกข์โทษภัยต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่นนั่นแหละ ท่านก็ให้ละอะไรที่เป็นทุกข์ โทษ ภัย ต่อตนเองคนอื่นสัตว์อื่น เราก็ลด ละเลิก ไปตามลำดับ ละจนไปถึงใจเลย ใจที่มันไปติดสุขสมใจ มันทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ก็ละไป 

โอ้โห! ละในสิ่งที่เป็นทุกข์โทษภัยได้อย่างสุขใจ ละไปจนถึงสุขสมใจ ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ไปเอาสุขที่ไม่ได้สมใจแทน ย่อมเป็นผู้ยินดีปวิเวก ๑ ก็พอทำได้ก็ โอ้! ยินดีในเราปวิเวก วิเวกก็แปลว่า มันสงบสงัด ชีวิตเรานี้ที่สงบสงัดจากกิเลส ยินดีที่สงบสงัดจากกิเลส  เอ้อ! มันดีที่สุดนะ พอทำได้แล้วก็มีความยินดีที่เราสงบสงัดจากกิเลส มันดีที่สุดแล้ว มันไม่มีอะไรดีกว่านี้  มีปัญญารู้ว่าการสงบสงัดจากกิเลสเป็นลำดับ ๆ นี่มันดีที่สุดเลย กิเลสสุขสมใจทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลนี้แหละ โอ้! ดีที่สุดเลย สงบสงัดจากสุขที่ไม่มี มีแต่ทุกข์ตลอดกาล โอ้!..สงบสงัดไปเลย เป็นลำดับ ๆ ย่อมเป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท ๑ นี้ก็ไม่ชิงชังรังเกียจ แม้ไม่ได้ดั่งใจหมาย ไปประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ก็สามารถล้างความชิงชังรังเกียจได้ด้วยการ ไม่ต้องไปอยากได้ดั่งใจหมาย เวลาไปเจอในสิ่งที่เราไม่ชอบใจไม่พอใจเราจะอยากอะไร อยากให้มันออกไป ใช่ไหม ออกไปเสร็จอยากให้มันไม่เข้ามา ใช่ไหม อยากเหมือนกัน โอ้โห! ถ้ามันออกไปได้หรือไม่เข้ามาได้ สุขไหม ก็สุข แต่ถ้ามันไม่ออกไปหรือมันเข้ามาเป็นไงทุกข์เลยใช่ไหม 

นี่แหละเราก็ไม่ต้องไม่อยากสิ  อยากได้สุขสมใจมันก็เป็นทุกข์ต่อให้ได้ก็ไม่เที่ยงไม่มีจริง ใช่ไหม มันก็ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ โอ้! ทุกข์ทรมานเหมือนเดิมนั่นแหละ ทุกข์ทรมาน อย่างนี้เป็นต้น มันก็เป็นทุกข์ทรมานเป็นทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้าย ตลอดกาล กลัวไม่ได้มาตามที่ต้องการ กลัวที่จะไม่ได้สภาพตามที่ต้องการ ได้มากลัวจะหมดไป มันก็อันเดิมนั่นแหละมันก็ทุกข์อยู่ เราก็ไม่ต้องไม่อยากได้ เราก็ไม่ต้องไปทุกข์อะไร แม้มีเรื่องร้ายที่มันเข้ามา ถ้าแก้ไขเต็มที่ป้องกันแก้ไขเต็มที่ มันก็ยังเข้ามาอยู่ เราก็ไม่ต้องไปอยากได้ดั่งใจหมาย เราก็ไม่มีอะไรทุกข์ แล้วก็เอาประโยชน์ให้ได้ ในเมื่อแก้ไขเต็มที่แล้ว มันยังเข้ามา ป้องกันแก้ไขเต็มที่แล้ว มันก็ยังเข้ามาในชีวิตอยู่ เราก็เอาประโยชน์ให้ได้ นอกจากที่เราได้ประโยชน์สุขสูงสุด ก็ไม่ต้องไปอยากได้ดั่งใจหมาย ในเมื่อมันไม่ประสบความสำเร็จ

ในการป้องกันแก้ไข มันก็ยังเข้ามาอยู่ ก็มีความสุขที่มันไม่ได้ดั่งใจให้ได้ ก็คือมันเข้ามานั่นแหละ ป้องกันไม่ได้ก็มีความสุขได้ และก็เอาประโยชน์ได้ เข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง เมื่อเป็นวิบากก็ต้องรับ รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ดียิ่งออกฤทธิ์ได้มาก โอ้!..ก็ยิ่งดีอีก ไม่ต้องไปทุกข์ใจอะไร  

ชีวิตยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เราทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ ใช่ไหม ก็ยิ่งทำดีให้มาก ๆ ดีไหนทำได้ก็ยิ่งทำเข้าไป ๆ ทำได้ก็ยินดีทำ ทำไม่ได้ก็ยินดีไม่ทำ ยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็สุขแล้วชีวิตไม่มีอะไร

ไม่มีทุกข์อะไร เพราะฉะนั้น เราก็ไม่ไปพยาบาท ไม่ชิงชังรังเกียจ มีแต่เอาประโยชน์ได้หมดเลย ไม่มีไปโทษใคร ถือโทษโกรธเคืองใครไม่มี มีแต่สุขสบายใจไร้กังวล มีแต่เข้าใจทุกชีวิตเข้าใจตัวเองเข้าใจผู้อื่น ก็ไม่ถือโทษโกรธเคืองใคร เป็นคนยินดีในความไม่พยาบาท ไม่กลัวไม่กังวลไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด ๆ ไม่ชิงชังในสิ่งใด ๆ เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง ย่อมเป็นผู้ยินดี ในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ธรรมที่ไม่เนิ่นช้าเป็นยังไง  ธรรมที่ไม่เนิ่นช้าก็ คือ เจอกิเลสรีบกำจัดกิเลสนี่แหละเรียกว่าธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่เจอกิเลสก็เลี้ยงไว้ ๆ เร็วไหม  พ้นทุกข์เร็วไหม เร็วอะไรก็ยิ่งช้าใช่ไหม เจอกิเลสก็เลี้ยงไว้ ๆ เจอสุขสมใจทุกข์ที่ไม่ได้สมใจก็เลี้ยงไว้ ๆ ตายพอดีแหละ ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้าก็คือ เจอกิเลสอะไรที่เรากำจัดได้ ที่เรามีความสามารถกำจัดได้ ให้รีบกำจัด ๆ ไปเป็นลำดับ ๆ นี่คือธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ใช่ไหม กิเลสตัวไหนกำจัดได้ ก็กำจัดไป ๆ ส่วนตัวไหนกำจัดไม่ได้ก็เอาไว้ก่อน  มันจะทำให้เราสุขเราทุกข์ ก็ให้มันทำไป เพราะเราสู้มันไม่ได้ อะไรที่สู้มันไม่ได้ ก็ยอมมันไปก่อน ยังสู้ไม่ได้ก็ฝากไว้ก่อนนะโอฬาร เอ็งจะทำให้ข้าสุขข้าก็สุข เอ็งจะทำให้ข้าทุกข์ ข้าก็ทุกข์ ยอม ๆ ยอมสุขยอมทุกข์ เพราะยังไงข้าจัดการเอ็งไม่ได้อยู่แล้ว เชือดเอ็งไม่ได้อยู่แล้ว สลายเองไม่ได้อยู่แล้ว ข้ายังไม่มีความสามารถยอมเอ็งไปก่อน แต่ตัวไหนที่เราสู้ได้ ชนะได้เป็นไง โอ้โห!..สู้เลยชนะเลย ใช่ไหม สลายเลย ทำไปเป็นลำดับ ๆ ทำไปทีละเรื่อง ๆ ตามลำดับเอาเป็นเรื่อง ๆ เลย สลายตัวนี้เสร็จค่อยไปสลายอีกตัวหนึ่ง มันมา 10 ตัวก็สลายตัวเดียวก่อน เปรี้ยง ตัวนี้ให้ได้ก่อน ค่อยเอาอีก

ได้ปุ๊บก็ค่อยเอาตัวต่อไป ๆ ได้แล้วค่อยเอาตัวต่อไป ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละ จับกิเลสจับ ง่าย ๆ ใช่ไหม 

ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละกิเลส นั่นแหละผิดศีลจะไปยากอะไร เจอทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจเมื่อไหร่นั่นแหละ ก็ผิดศีลเมื่อนั้น มันต้องสุขที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ พอเจอทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจเป็นไง แปรเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจเลย ใช่ไหม เราทำได้เลยมีปัญญาทำ โอ้! เกิดสุขที่ไม่ได้ดั่งใจเลย 

เมื่อเจอกิเลสที่เรากำจัดได้ เรามีความรู้ความสามารถที่จะกำจัดได้ ไอ้ตัวนี้ ซัดมันเลย สลายมันเลย ตัวไหนกำจัดไม่ได้ ก็ให้มันกำจัดเราไปก่อน  เอ้า!…ก็กำจัดมันไม่ได้ ก็จะไปอยากได้มากกว่าที่คุณจะทำได้มันก็ยิ่งทุกข์เข้าไปอีกใช่ไหม อยากได้มากกว่าที่เป็นไปได้มันก็ยิ่งทุกข์ใจเข้าไปใหญ่นะสิ ไอ้ทุกข์จากเดิมน่ะก็ทุกข์อยู่แล้ว ไอ้ที่กำจัดไม่ได้นี่ก็แย่อยู่แล้ว ยังไปเติมทุกข์ที่อยากได้มากกว่าที่เป็นไปได้อีก อยากกำจัดให้ได้เร็ว ๆ ทั้ง ๆ ที่มันก็ทำไม่ได้ มันก็ทุกข์เท่านั้นเอง มันไม่ได้นะ ตัวไหนสู้ไม่ได้ก็ยอมมันซะ ไม่ต้องไปใจร้อน ใจร้อนอยากได้เร็ว ๆ มันก็ไม่ได้ แต่ตัวไหนสู้ได้เราก็พิจารณาทุกข์ โทษ ภัยของมันไป พิจารณาประโยชน์ของการไม่มีมันไปเรื่อย ๆ แล้วไม่ต้องไปเร่งว่ามันจะสลายตอนไหน สลายตอนไหนก็ตอนนั้น พิจารณาไปเรื่อย ๆ มันสลายตอนไหนก็ตอนนั้น แล้วมันจะลงเร็วที่สุด แต่ถ้าเราไปเร่ง ๆ ๆ ต้องสลาย ๆ ๆ เดี๋ยวนี้ ๆ ๆ สั่งมันได้ไหม ก็ไม่ได้ เมื่อสั่งมันไม่ได้  มันไม่ยอมสลายนะจะบอกให้ สั่งมันไม่ได้ พิจารณาโทษมันไปเรื่อย ๆ ๆ ๆ แล้วมันจะสลายเองมัน อย่าไปสั่งมันลงเร็ว ๆ ๆ มันไม่ลง 

มันจะลงเมื่อเราให้ปัญญากับมันจนมันเถียงไม่ได้ เพราะมันเป็นธาตุรู้มันเถียงไม่ได้ ว่ามันเป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัย มันจะยอมสลายเอง เพราะมันก็ไม่อยากทุกข์ สลายดีกว่า สลายแล้วก็ไม่ทุกข์ เปลี่ยนเป็นพุทธะเลย อย่างนี้เป็นต้น 

เราก็ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า แบบนี้ไม่ต้องไปเนิ่นช้า เจอกิเลสที่เรามีความรู้มีความสามารถกำจัดมันได้ก็กำจัดเลย ยกเว้นตัวไหนที่กำจัดไม่ได้ก็ยอมมัน มันจะให้เราสุขก็สุขมันจะให้เราทุกข์ก็ทุกข์ ยอมมันให้หมด ยังไงก็สู้มันไม่ได้อยู่แล้ว เราอย่าบวกทุกข์เข้าไปอีก 

อย่าทำทุกข์ทับถมตนเข้าไปอีก ไปใจร้อนอยากให้มันหายเร็ว ๆ ๆ จะไปเร็วยังไง ก็เราสู้มันไม่ได้ สู้มันไม่ได้ก็ต้องยอมมัน อย่างนี้เป็นต้น ก็ทำไปเป็นลำดับอย่างนี้  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ย่อมเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายฯ จบสูตรที่ ๔

เป็นผู้ยินดีในธรรมเหล่านี้ เห็นไหม ยินดีในธรรมเหล่านี้เป็นผู้มากด้วยสุขเมื่อมีผัสสะอะไร ๆ มากระทบ จิตวิญญาณก็ทำความสุขได้ สุขใจได้ แล้วมันจะมีแต่สิ่งดี ๆ ด้วย 

จากพฤติกรรมใหม่จะมีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามา ถ้ามีสิ่งร้ายปนเข้ามา นั้นเป็นวิบากเก่าเท่านั้นไม่ใช่วิบากใหม่ มีโรคมีเรื่องร้ายปนมาก็เป็นวิบากเก่าเท่านั้นและมาน้อยกว่าที่ทำมาด้วย ถึงมาใจเราก็ไม่ทุกข์ นี่แหละจะมีเหตุการณ์ที่มันดีหรือไม่ดีเข้ามา ใจเราก็เป็นสุขได้ และโสมนัสเนี่ย โสมนัสมีอยู่ในใจโสมนัสนี่อยู่ในใจ แม้ไม่มีอะไรมากระทบไม่มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อะไรมากระทบ  ชีวิตก็ยังสามารถมีความสุขได้ ไม่ใช่ต้องไปหาอะไรมากระทบ มีอะไรมากระทบก็สุขได้ ไม่มีอะไรมากระทบก็สุขได้ อยู่ในปัจจุบันเทียว  นี่มีความสุขอยู่ในปัจจุบันเทียว ไม่ได้ต้องไปรอทำได้ถูกต้อง มีความสุขเลย เป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว 

แปลว่า ไม่ว่าจะมีอะไร หรือไม่มีอะไรมากระทบชีวิตก็สามารถสุขใจได้ตลอดเวลาเลย พิสูจน์ความจริงได้ทุกปัจจุบันไม่ใช่ต้องไปรอ เห็นไหม ความยินดีเป็นความสุข ยิ่งยินดีในธรรม ไม่มีภัยใด ๆ เลย ไม่มีภัยด้านจิตใจ ร่างกาย เหตุการณ์เลย แล้วยังไปดันโรคเรื่องร้ายให้เบาลงได้ด้วย และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ กิเลสทั้งหลายเหลี่ยมไหนมุมไหน  ขนาด หยาบ กลาง ละเอียด ขนาดไหนเล็กขนาดไหนก็ โอ้โห!…ไม่เสียดายเลย ผู้ที่มีปัญญาแล้วจะไม่เสียดายกิเลส จำไว้นะ 

ผู้มีปัญญาจะไม่เสียดายกิเลส แต่คนโง่เท่านั้นที่เสียดายกิเลส  จำไว้ ผู้มีปัญญาแท้แล้วไม่เสียดายกิเลสจริง ๆ นะ อาจารย์นี่ ไม่เสียดายมันเลยนะ  เสียดายไหม ๆ ไม่เสียดายเนาะ มีแต่จะเอามันออกไม่ได้เท่านั้นแหละนะ ผู้มีปัญญาแล้วไม่เสียดายกิเลสหรอก ไม่ได้เสียดายหรอก กำจัดมันให้หมดไปเสียดายมันทำไม มันมีแต่ทุกข์ สุขก็ไม่มีไม่ยั่งยืน สุขก็น้อย เกิดแล้วก็ดับอย่างรวดเร็ว ไม่เที่ยงไม่มีจริง ไม่ยั่งยืนไม่มีตัวตนแท้เลย แต่มีแต่ทุกข์นั่นแหละตลอดกาลเลยโอ้! มันไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามีเลยนะ

ผู้มีปัญญาจะไม่เสียดายกิเลส แต่ผู้ไม่มีปัญญาผู้โง่จะเสียดายกิเลส กิเลสเป็นสิ่งที่น่าเสียดายสำหรับคนโง่ แต่สำหรับคนฉลาดคนมีปัญญาแล้วไม่เสียดายกิเลสเลย นะไม่เสียดายเลย 

กำจัดได้หมด หมดเลย ไม่หมดก็ยังเพียรอยู่นั่นแหละ ขนาดส่วนที่ยังไม่หมดก็เพียรอยู่นั่นแหละ มันต้องให้ได้นะ ต้องกำจัดให้ได้นะ กำจัดให้ได้ ๆ ฉันต้องกำจัดทุกข์ที่ไม่ได้สมใจได้  เปลี่ยนเป็นสุขที่ไม่ได้สมใจให้ได้ ด้วยการกำจัดสุขที่ได้สมใจซะ นี่แหละกำจัดสุขที่ได้สมใจซะ กำจัดสุขที่ได้ดั่งใจซะ เห็นทุกข์โทษภัยมันให้มาก มันไม่เที่ยง มันสุขน้อย ไม่เที่ยง ไม่มีจริง หลอกให้เราทุกข์ตลอดกาล “อู๊!….ไม่เอา” อย่างนี้เป็นต้นนะ กำจัดได้ก็หมดทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ หมดทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล ได้สุขตลอดกาล สุขที่ไม่ได้สมใจตลอดกาล ได้เสร็จก็ยึดไม่ยึดก็ได้ ไอ้ชั่วนี่ตัดไปเลย 

พฤติกรรมชั่วเลวร้ายตัดไปได้เลยเหลือแต่ความยินดี ส่วนพฤติกรรมที่ดีสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ ยึดอาศัยได้ก็ยินดียึดอาศัยเลย ถ้าอาศัยไม่ได้ก็ยินดีที่ไม่ได้ดั่งใจ แล้วก็ยินดีที่ได้ใช้วิบาก รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ก็มีแต่ความสุข ยินดีแกล้วกล้าอาจหาญ ยินดีที่ได้ชดใช้วิบาก

กล้ารับกล้าให้หมดไป ยินดีรับยินดีให้หมดไป รับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ก็ไม่มีอะไรทุกข์ มีแต่ดีออกฤทธิ์ได้มากให้ได้อาศัย ก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป เห็นไหม เราจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าสอน เรื่องความยินดีในธรรมนี่นะเป็นความสุขที่สุดในชีวิต 

เราก็พากเพียรทำไปตามลำดับ ๆ ก็ตรวจดูดี ๆ สิมันน่าเสียดายตรงไหน กิเลสเนี่ย น่าเสียดายตรงไหน ถ้ามีปัญญาแล้วน่าเสียดายตรงไหน ก็ไม่มีอะไรน่าเสียดายเนาะ ถ้าโง่ล่ะ มันน่าเสียดายตรงไหน ก็ตรงมันสุขนั่นแหละเนาะ ถ้าเราโง่มันก็เสียดายตรงมันสุขนั่นแหละ 

สุขน้อยนึงนั่นละเนาะ สุขที่ได้ดั่งใจน่ะหวานหอมเหลือเกิน สำหรับคนโง่ แต่มันขมขื่นเหลือเกินนะสำหรับคนฉลาด เอาจริง ๆ สุขที่ได้ดั่งใจเนี่ย และทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจเนี่ย โอ๋…หวานหอมสำหรับคนโง่ แต่มันขมขื่นสำหรับคนมีปัญญา โอ้!… มันเป็นทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล มันไม่เที่ยงไม่มีจริง สุขน้อยด้วยไม่เที่ยงไม่มีจริงด้วยทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลด้วย โอ้!…ขมขื่นไม่เอาตัดไปดีกว่า สุขใจกว่า สังเกตนะ

กลับมาตรงประเด็นนี้ว่า  พระพุทธเจ้าตรัสคือความยินดี พระพุทธเจ้าพระสารีบุตร สาวกแท้ ของท่านแต่ละท่าน ๆ ก็ยืนยันทั้งนั้นแหละว่าความยินดีคือความสุข แต่ความสุขที่ยั่งยืนคือความยินดีในธรรม ใช่ไหม เราต้องมีความสุขที่ยั่งยืน ยินดีก็ยังมีความละเอียด จะยินดีแรง ๆ ก็ได้ กลาง ๆ ก็ได้ จะสบาย ๆ เบา ๆ สบาย ๆ ก็ได้ ตามความเหมาะสม ณ คราวนั้น 

แรก ๆ ที่ได้สภาพพ้นทุกข์ ใหม่ ๆ สภาพดี ๆ ใหม่ ๆ ก็ยินดีแรง ๆ ได้ ยินดีแรง ๆ ไปเลยไม่มีปัญหาหรอกแต่ต้องให้รู้ว่าอีกสักพักก็ต้องลดลง ไม่งั้นมันเมื่อย มันกินแรงมันเมื่อยก็ลดลง 

ให้มันกลาง ๆ ให้มันเบา ๆ สบาย ๆ แค่เราพ้นทุกข์ก็ดีแล้ว เราได้สิ่งดีนั้นนี้ก็ดีแล้ว หรือคนนั้นคนนี้ได้สิ่งดีนั้นนี้ก็ดีแล้ว เราก็สบาย ๆ แต่ถ้าเราต้องการที่จะยินดีแรง ๆ เมื่อไหร่ก็ทำได้  เราจะยินดีแรง ๆ กลาง ๆ เบา ๆ ทำได้หมด หยั่งจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ เลือกเอาว่าตอนนั้นมันจะยินดีขนาดไหนที่มันพอเหมาะพอดี นั่นแหละทำได้ประมาณได้ 

เอาละนะวันนี้ดู สามสูตรแล้วนะเนี่ย ตั้งใจเอามาหกสูตร ดูสิว่า จะทันไหม จริง ๆ ค้นมามากกว่านั้น แต่ไม่เป็นไรได้เท่าไหร่ก็เท่านั้นไม่มีปัญหาหรอกเรายินดี เท่าที่เป็นไปได้ จะได้ไม่ทุกข์ …มาดูต่อนะ มาดูต่อ เอาข้อไหนดี มาดูมายืนยันว่า พุทธะ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ สาวกแท้ของท่าน สอนเรื่องความยินดีไม่ได้สอนเรื่องอื่น ๆ หรอก ไม่ได้สอนเรื่องอื่นเลย สอนเรื่องความยินดีทั้งนั้นแหละ ..มายืนยันอีก ยินดีที่มันถูกต้องยินดีที่มันดีที่สุด 

มาดูใน  “กิมัตถิยสูตร”

อานิสงส์ ๑๐ ประการใน  “กิมัตถิยสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๑  “กิมัติยสูตร ” มาดูอานิสงส์ของศีล ๑๐ ประการ อานิสงส์ แปลว่าประโยชน์ ประโยชน์ของศีล ๑๐ ประการ 

ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตผลโดยลำดับ ดังนี้ ศีล ที่เป็นกุศลนี้ทำให้ ได้ความเป็นอรหันต์ อรหัตผลคือความเป็นอรหันต์โดยลำดับ อะระ อะ แปลว่า ไม่ อัตตะคือนี่อัตตาตัวตนของทุกข์ ไม่มีตัวตนของทุกข์เป็นผลโดยลำดับดังนี้ ศีลที่เป็นกุศลหรือการปฏิบัติศีลด้วยปัญญาอย่างตั้งมั่น อย่างถูกตรงเลยนะ ก็ตั้งศีลถูกตรงก็กำจัดราคะให้ได้ วิราคะให้ได้ ศีลที่ถูกตรงต้องไปสู่วิราคะ พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น เป้าหมายมุ่งหมายสูงสุดที่วิราคะ 

คือคลายสุขสมใจ สุขที่ได้ดั่งใจให้ได้ แล้วมันจะกลายเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจทันที จะหมดทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจกลายเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ ทันทีเลย ก็จะกลายเป็นสุขแม้เป็นสุขที่ได้ดั่งใจหรือไม่ได้ดั่งใจก็เป็นสุขได้ มันจะสุดยอดขนาดนั้นเลยแหละ …มาดูคนสภาพเป็นอรหันต์ไปเป็นตามลำดับ ดังนี้ เอาแค่ ๒ ข้อก็พอนะ

๑. อวิปปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ) แปลว่าไม่มีภัยใด ๆ ทั้งทางด้านจิตใจ ร่างกาย เหตุการณ์ ไม่มีภัยใด ๆ เลยจากพฤติกรรมใหม่ จะไม่มีภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจ ทุกข์โทษภัยใด ๆ ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เลย เป็นแต่ประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เท่านั้น อวิปปฏิสาร

พุทธะเนี่ยจะเบิกบาน ยินดีในความไม่มีโทษไม่มีภัย ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เห็นไหมยินดีในศีล ยินดีในสภาพที่ไม่มีทุกข์โทษภัย ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่นเลย จะเป็นอย่างนี้ มีแต่ประโยชน์ต่อทุกชีวิตเพราะศีลเนี่ย พระพุทธเจ้าตรัสว่าให้ละโทษใช่ไหม 

จุลศีลข้อที่ ๑ ให้ละทัณฑะโทษทัณฑ์ ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น และให้ทำประโยชน์ มีความเอ็นดู มีความกรุณา ลงมือกระทำ หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ก็มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ แก่ตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ศีลก็คือสภาพที่ไม่มีโทษ สภาพที่เป็นประโยชน์ ตัวตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นอวิปปฏิสาร (ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ) ปามุชชะ  (เบิกบานยินดี)  เนี่ยพระอรหันต์

อรหัตตผลคือพระอรหันต์ เนี่ยมีความยินดี  ยินดีในความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ แล้วความยินดีก็เป็นความสุข พระพุทธเจ้าตรัสเห็นไหม ความสุข ข้อที่ ๕ คือความสุข มี ปิติ (อิ่มใจ)  ปัสสัทธิ (สงบระงับ กิเลส) แล้วก็มีความสุขที่สงบระงับกิเลสได้ สมาธิ คือ (จิตตั้งมั่น) ตั้งมั่นที่ได้ความผาสุกดังนี้ ยถาภูตญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง) รู้ตามความเป็นจริงเลยว่า สุขสมใจเนี่ยมันเป็นทุกข์ มันสุขน้อย ไม่เที่ยง ไม่มีจริง เป็นทุกข์ตลอดกาล ไม่มีสุขสมใจนี่แหละ จะไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล มีแต่สุขที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขที่ไม่ได้สมใจ สุขที่ไม่ต้องอยากได้อยากเป็น อยากมีอะไร ไม่ต้องไปได้สมใจมันชั่งสุขเหลือเกิน รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง มันก็ โอ! นิพพิทา (เบื่อหน่ายจางคลายสิ้นความยินดีในกิเลส)เลย สิ้นความยินดีในกิเลส มายินดีในสภาพหมดกิเลส สภาพพุทธะแทน วิมุตติญาณทัสสนะ (รู้แจ้งเห็นจริงในความหลุดพ้น) ก็เห็นเพราะว่าเปรียบเทียบได้ ว่าหลุดพ้นเนี่ยมันดีที่สุดแล้วใน “กิมัตถิยสูตร” 

สรุปแล้วก็จะเห็นว่า พระอรหันต์เนี่ย จุดสูงสุดของคำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องผู้ที่มีความเบิกบาน ยินดี ไม่เป็นผู้เศร้าสร้อยหงอยเหงา ไม่ใช่เป็นผู้เฉยเฉื่อยชานะ ไม่เฉย เฉื่อยชา ไม่เศร้าสร้อย เหงาหงอย พระอรหันต์ต้องเบิกบานยินดี ยินดีในธรรมด้วย ยินดีในสภาพที่ไม่มีทุกข์ โทษ ภัย ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น เป็นสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ทันทีเลยยินดี ยินดีได้ ดีเป็นอมตะเลย 

พระพุทธเจ้าตรัสกับ ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ว่า เราพบอมตะธรรมที่ชีวิตต้องการแล้วเธอพากเพียรปฏิบัติ เธอตั้งใจเรียน เธอพากเพียรปฏิบัติ ไม่นานเธอจะได้อมตะธรรมนั้น ธรรมที่เป็นอมตะความสุขที่เป็นอมตะนั้นในทิฏฐธัมเทียว ปัจจุบันเลย เข้าถึงอยู่ด้วยปัญญาอันยิ่งของเธอเอง พุทธเจ้าก็ตรัสอย่างนั้น เข้าถึงอยู่ด้วยปัญญา อันยิ่งของเธอเองเลย เธอฟังให้เข้าใจ เธอปฏิบัติ เธอก็เข้าถึงด้วยปัญญาอันยิ่งของเธอเองเลย ท่านก็ตรัสอย่างนี้นะ เนี่ยเห็นไหม พุทธะเนี่ยมีความยินดี มีความสุขความยินดี เนี่ยนะเป็นความสุข พุทธะ เป็นอย่างนี้ 

พระอรหันต์เลยนะเนี่ย มีความยินดี มีความสุข ใน อวิปปฏิสาร ในศีล ในอวิปปฏิสาร ในความไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ไม่มีภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น มีสภาพที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ตามศีล จุลศีลข้อที่ ๑ เธอละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ ที่เป็นโทษเป็นภัย เป็นโทษเป็นทัณฑ์ เป็นภัย ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ศาสตราอาวุธ หรือวิชา วิธีที่เบียดเบียน มีความละอาย ก็ละอายต่อบาป นี่ก็ทุกข์โทษภัยต่อกัน สร้างทุกข์โทษภัยให้กับตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่นนี่แหละ ไม่ว่าเหตุการณ์ ร่างกาย จิตใจ แล้วก็มีความเอ็นดู  เมตตาปรารถนาดี มีความกรุณา ลงมือกระทำ หวังประโยชน์ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ จากตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง เห็นไหม ปฏิบัติศีลก็ละโทษทำประโยชน์ให้กับตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น ทั้งด้านเหตุการณ์ ร่างกาย จิตใจ ไปจนถึงจิตใจนี่แหละสุดยอดที่สุดเลย ทำควบคู่กันไป พุทธะเนี่ย สอนเรื่องความยินดีความสุขที่ถูกต้อง ที่ไม่มีภัย 

ทีนี้มาดูให้ชัดขึ้นทีนี้ คนที่ไม่ใช่พุทธะ สอนผิดทั้งนั้นแหละ พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้นนะ มาดู

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๑๑๔-๑๑๖ เราก็จะเห็นชัดว่า พุทธะกับทั่วไป นั้นสอนความสุขคนละอย่าง พุทธะนี่รู้ความสุขทั้งสองด้าน ความสุขที่ผิดศีล กับความสุขที่ถูกศีล พระพุทธเจ้าตรัสถึงความสุขเอาไว้ 2 ลักษณะ มีความสุขที่ผิดศีล กับความสุขที่ถูกศีลนะ

ในโลก แล้วมันต่างกันยังไง ถูกศีลกับผิดศีล เดี๋ยวมาดูมันจะต่างกันยังไง มันต่างกันแน่ละนะ ผิดเนี่ยมันสุขชั่วคราวแล้วมันทุกข์ตลอดกาล มันมีทุกข์ตามมา แต่ถ้าถูกศีลเนี่ยมันสุขที่ไม่มีทุกข์ปน  มาดูนะ 

พระไตรปิฎก เล่มที่  ๑๑ ข้อที่ ๑๑๔ ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ คือพวกที่เป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้า พวกที่ตั้งตนเป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้าในปริพาชกอัญญเดียรถีย์ คือพวกที่ไม่เข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้า ตั้งตนเป็นคู่แข่ง ตั้งตนเป็นศัตรู มุ่งให้เกิดผลเสีย มุ่งทำลาย มุ่งให้เกิดผลเสียกับพระพุทธเจ้าและสาวกแท้ของท่าน ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือ การที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตน ให้ติดเนื่องในความสุขอยู่ ดังนี้ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ กล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 

“ดูกรอาวุโส การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขนั้นเป็นไฉน” คือ พวกอัญญเดียรถีย์นี่ก็ไปโจมตีว่า พวกสมณะศากยบุตรเป็นพวกติดสุข พวกสมณะศากยบุตรเนี่ยนะ พระพุทธเจ้าหรือสาวกของท่านทั้งหลายเนี่ย ลูกศิษย์ลูกหาของพระพุทธเจ้าเป็นผู้ขวนขวายการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขอยู่ เป็นคนติดสุข ว่างั้นนะ ติดความสุข ๆ เขาก็ว่าไปอย่างนี้ เนี่ยเขาก็โจมตีอย่างนี้ มาดูต่อว่ายังไงนะ ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้ 

“อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขนั้นเป็นไฉน” เพราะว่าแม้การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข มีมากหลายอย่าง ต่าง ๆ ประการกันไป ให้บอกว่า มันมีความสุขเนี่ย มันมีความสุขหลายอย่างนะ ต่างกันไปนะ ก็อธิบายให้เข้าใจว่า การติดสุขเนี่ยมันติดกันยังไงบ้าง  

“ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นของเลว” มันมีของเลวกับของดีนะ การติดเนื่องความสุข ๔  อย่างเหล่านี้เป็นของเลว ฟังดู อันนี้ถ้าใครติดแล้วก็ของเลวเลยนะ เป็นของชาวบ้าน  เป็นแบบเคหะสิตะ เป็นแบบกิเลสน่ะ เป็นของปุถุชน เป็นของผู้หนาด้วยกิเลส ไม่ใช่ของพระอริยะ ถ้าติดสุขแบบนี้ไม่ใช่ของพระอริยะ คือไม่ใช่อริยสัจ ๔ ไม่ใช่ทางปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ ไม่ใช่สุขที่ยั่งยืน ไม่ใช่อริยสัจ ๔ คือเรียนรู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ 

สภาพดับทุกข์ วิธีดับทุกข์ ที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นของนักบวชหรือฆราวาสที่ปฏิบัติอริยสัจ ๔ ได้ถูกต้อง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แปลว่าเป็น โทษ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด  ไม่หน่าย ไม่คลายกำหนัดในสุขสมใจนั่นแหละ เป็นโลกียสุข สุขัลลิกะ สุขลวง สุขหลอก สุขปลอม สุขน้อย สุขัลลิกะ คือสุขลวง สุขหลอก สุขปลอม สุขน้อย สุขไม่เที่ยง สุขที่ไม่มีจริงแต่เป็นทุกข์ตลอดกาล เพื่อความดับทุกข์ เพื่อความสงบระงับ ระงับกิเลส ระงับทุกข์ เพื่อความรู้ยิ่งคือความรู้ที่มีคุณค่ายิ่ง เพื่อความตรัสรู้ก็สามารถทำได้เลย เพื่อนิพพาน คือสุขที่พ้นจากกิเลสได้ กิเลสมันสงบเพราะมันตายไป ความสุขที่เลว ๔ อย่างที่ไม่ใช่เป็นไปเพื่อนิพพาน ไปนิพพานไม่ได้ไปสู่ความพ้นทุกข์แท้ไม่ได้ เป็นสิ่งที่เลวร้ายไม่มีประโยชน์มีแต่โทษ

“ความสุข ๔ อย่างที่เลวเป็นไฉน” 

“ดูกรจุนทะ คนพาล (แปลว่าคนโง่ คนชั่ว คนทุกข์) บางคนในโลกนี้ฆ่าสัตว์แล้ว” รวมถึงการกินสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หรือทำให้ตนเองคนอื่นสัตว์อื่นเดือดร้อนด้วยเหตุต่าง ๆ นี้แหละคือปาณาติบาต เมื่อทำปาณาติบาตแล้ว ยังตนให้ถึงความสุข ได้ทำชั่วแล้วมีความสุข ฆ่าตนเองคนอื่นสัตว์อื่นก็ได้ ยังตนให้ถึงความสุขให้อิ่มเอิบอยู่ มีความสุขอิ่มเอิบอยู่ในการผิดศีลข้อที่ ๑ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ (สัตว์นี้คือตนเองคนอื่นและสัตว์อื่น) มีความสุขอิ่มเอิบอยู่ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑ ดูกรจุนทะ นี้แหละความสุขที่มันเลวร้ายเป็นทุกข์ต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาล 

“ดูกรจุนทะข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ แล้วยังตนให้ถึงความสุขให้อิ่มเอิบอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ข้อที่ ๒ (นี้คือพวกลักขโมยฉ้อโกง )” 

“ดูกรจุนทะข้ออื่นยังมีอีกคนพาลบางคนในโลกนี้ กล่าวเท็จแล้วยังตนให้ถึงความสุขให้อิ่มเอิบอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๓” 

“ดูกรจุนทะข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพียบพร้อมพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔” ในกามคุณทั้ง ๕ ก็ไปติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ดั่งใจหมาย สุขใจชอบใจ ไม่ได้ทุกข์ใจไม่ชอบใจโดยเฉพาะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เป็นโทษเป็นภัยนั้นแหละก่อน ถ้าได้แล้วจะรู้สึกสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้ก็จะรู้สึกทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ เช่นนี้เป็นต้น ไม่ได้รู้จักอาศัยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่เป็นประโยชน์ เท่าที่จะอาศัยได้ นี้คือการบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ติดรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คนที่ได้สิ่งเหล่านี้ดั่งใจจะรู้สึกสุข นี้คือสิ่งเลวร้ายท่านก็ว่าเช่นนั้น 

“ดูกรจุนทะการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ไม่ใช่การได้ความสุขที่ยังยืน แต่เป็นความสุขชั่วคราวและยังได้ความทุกข์ที่ยั่งยืน”

 [๑๑๕] “ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔  อย่างเหล่านี้อยู่ ดั่งนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อันพวกเธอพึงกล่าวว่าพวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย ก็คือพวกอัญญเดียรถีย์จะบอกว่าเราไปติดสุขแบบที่ว่ามาทั้ง ๔ ข้อ ซึ่งเป็นสุขอันเลวร้ายต่อตนเองคนอื่นและสัตว์อื่น สุขที่ไม่พ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านบอก ให้บอกกับเขาว่า พวกเธออย่ากล่าวอย่างนั้น เราไม่ได้ติดสุขอย่างนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นนึกว่าเราไปติดสุข ๔ อย่างดังนี้”

“อันพวกเธอพึงกล่าวว่าพวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ” ความหมายก็คือ ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้นเลยนะ “เมื่อจะกล่าวโดยชอบ” แปลว่าถ้าจะว่าให้ถูกต้อง “พึงกล่าวกับพวกเธอหามิได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นพึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มี ไม่เป็นจริงก็หามิได้” ความหมายก็คือ จะว่าเราติดสุขก็ไม่จริง แต่จะว่าเราไม่ติดสุขก็ไม่จริง จะว่าเราติดสุขก็ไม่จริงเพราะเราไม่ได้ติดสุขแบบนั้น แต่จะว่าเราไม่ติดสุขก็ไม่จริง เพราะเราไปติดสุขอีกอันนึง

“พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นพึงกล่าวตู่เธอด้วยสิ่งที่ไม่เป็นจริงก็หามิได้” คือ จะว่าเราไม่ติดสุขก็ไม่ใช่ จะว่าเราติดสุขก็ไม่ใช่ แต่จะว่าเราติดสุขก็ไม่ใช่สุขแบบนั้น แต่เป็นสุขอีกอย่างนึง จะว่าเราไม่ติดสุขก็ใช่เราไม่ติดสุขแบบนั้นแต่เป็นสุขอีกแบบนึง จะว่าเราติดสุขก็ใช่แต่เป็นสุขที่ดีไม่ใช่สุขที่เลว ก็คือเราไม่ติดสุขอันเลวแต่เราไปติดสุขที่ดี 

“ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้” (พระพุทธเจ้าท่านให้ติดสุขนี้ได้ ติดไปเลย ให้ยินดี พอใจ สุขใจไปเลย) “ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว  ๔ ประการเป็นไฉน”

เพื่อความหน่ายเพื่อความคลายกำหนัด คลายจากสุขลวงทุกข์จริง เพื่อความดับทุกข์ เพื่อความสงบจากทุกข์ เพื่อความรู้ยิ่งเลย เพื่อความรู้ที่เป็นประโยชน์ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ถ้าทำได้จะได้สภาพนิพพาน ได้สุขสงบมั่นคงยั่งยืน โดยส่วนเดียวเลย เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ส่วนเดียวเลย 

นิพพาน นี้เป็นสภาพ นัตถิ อุปมา (ไม่มีอะไรเปรียบได้) อสังหิรัง (ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง (ไม่กลับกำเริบ) นิจจัง (เที่ยง) ธุวัง (ยั่งยืน) สัสสตัง (ตลอดกาลนาน) อวิปริณามธัมมัง (ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา) โอ้โห! ได้ความสุขที่ไม่มีสิ่งใดเทียมเท่าเลย นิพพานัง ปรมัง สุขัง พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องสุข เป็นสุขเหนือสุขหรือยิ่งกว่าสุข สุขที่เหนือสุขโลกียะ ซึ่งเป็นสุขโลกุตระ 

 ๔ ประการไฉน “ดูกรจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม” คือการสงัดจากการเสพสุขสมใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มาสู่สุขที่ไม่ได้สมใจ สงัดจากกาม ทุกข์ที่ไม่ได้สมใจในการเสพรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส สงบจากทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล มาสู่สุขที่ไม่ได้สมใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสแทน สงัดจากอกุศลธรรมก็คือการผิดศีลทั้ง ๔ ข้อนั้นแหละคืออกุศลธรรม อกุศลธรรม นี่แหละ การผิดศีลทั้ง ๔ ข้อนั่นแหละ อกุศลธรรม การฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์  ฆ่าตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น เบียดเบียนคนอื่น สัตว์อื่น กินสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทั้งหลาย ลักขโมยฉ้อโกง เขาก็มีความสุขน่ะ แต่ก่อนนะ ใช่ไหมแต่ก่อนน่ะ อกุศลแล้วเป็นไงแต่ก่อนน่ะ

ศีลข้อที่ ๑ ก็มีความสุขที่ได้ ฆ่าสัตว์ได้กินสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ใช่ไหม ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองคนอื่นสัตว์อื่น แล้วมีความสุข   มีความสุขมีความยินดี มีความสุขอย่างนั้นนะ คราวนี้ก็มีความสุขที่ไม่ได้ทำอันนั้นแทน  เข้าใจไหม แต่ก่อนได้ทำแล้วเป็นสุข เป็นไง ได้ผิดศีลข้อที่ ๑ แล้วเป็นสุข แต่ไม่ได้ผิดศีลแล้วเป็นไง เป็นทุกข์ใช่ไหม แต่คราวนี้เป็นไง โอ้!…เราไม่ได้ผิดศีลแล้วเป็นสุข แต่ก่อนไม่ได้ผิดศีลแล้วเป็นทุกข์ เดี๋ยวนี้เราไม่ได้ผิดศีลแล้วเป็นสุข ศีลข้อที่ ๑ ก็ตาม ๒ ๓ ๔ ก็ตาม ใช่ไหม 

ลักขโมย ฉ้อโกงก็ตาม ประพฤติผิดในกามก็ตาม โกหกก็ตาม ใช้วาจาที่ไม่ดีก็ตาม แต่ก่อนเป็นไง  โอ้โฮ้ ! ได้ทำแล้วเป็นสุข ไม่ได้ทำแล้วเป็นทุกข์ แต่ตอนนี้เป็นไง ไม่ได้ทำแล้วเป็นสุข ใช่ไหม อย่างนี้เป็นต้น นี่สงัดจากอกุศลธรรม เป็นอย่างนี้แหละ พอไม่ได้ทำแล้วเป็นสุขเพราะว่ามีปัญญารู้ว่าได้ทำไปนะ ความสุขที่ได้จากการผิดศีลน่ะมันก็ไม่เที่ยง ไม่มีจริง มันทุกข์ตลอดกาล สุขน้อยไม่เที่ยงไม่มีจริง แล้วเป็นทุกข์ตลอดกาล “ฮู้!…ไม่เอา” นะมีความสุขที่ไม่ทำดีกว่า มีความสุขที่ไม่ทำผิดศีล จริง ๆ นี่นะศีลข้อที่ ๑-๒-๓- นี้ก็คือ กิเลสที่ การผิดศีลข้อที่การผิดศีลข้อที่ ๑-๒-๓ นี่มันเป็นกิเลสที่ โลภ โกรธ หลง สุขทุกข์ชอบชังอยากยึดมั่นถือมั่นโลภ โกรธ หลงที่ทำให้ ผิดศีลทางกาย

ศีลข้อที่ ๔ นี่เป็น ทางวาจา ผิดศีลข้อที่ ๔ ก็เป็น กิเลสที่ทำให้ผิดศีลทางวาจา ถ้ากำจัดกิเลสได้กำจัดเนี่ย กิเลสในข้อที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ก็จะไม่ผิดศีล ข้อที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ยินดีมันจะเหลือกิเลสอยู่ที่ศีลข้อที่ ๕ อยู่ที่ใจ เข้าใจไหม  อาจารย์พยายามจะอธิบายว่ากิเลสที่มันหนา ๆ นี่มันจะทำให้ผิดศีลทางกาย ถ้าเรากำจัดได้อีก มันก็จะทางวาจา หรือเอาบางทีวาจามันก็ โหดยิ่งกว่ากายก็มีนะ เอาละกิเลสที่หนา ๆ มันจะ ผิดศีลทางกาย ทางวาจา ถ้ากำจัดกิเลสที่หนา ๆ นั้นได้จนไม่ ผิดศีลทางกายทางวาจาแล้ว เป็นไง… มันจะเหลือ กิเลสที่อยู่ในใจ ศีลข้อที่ ๕ จริง ๆ คือกิเลสที่อยู่ในใจ ยังเมาที่เป็นอยู่ในใจไม่ละเมิดทางกาย ทางวาจาแล้วแต่ยังอยู่ในใจอยู่ นั่นแหละคือการผิดศีล ข้อที่ ๕ เมา ยังเมาที่อยู่ในใจอยู่ มันเป็นศีลข้อที่ ๕ ก็ต้องกำจัดแม้แต่เมาอยู่ในใจ เป็นภวภพ ก็ต้องกำจัด อย่างนี้เป็นต้น กามภพ นี้ต้องละเมิดทางกาย วาจา กำจัดกามภพได้ ก็เหลือภวภพ ก็เหลืออยู่ในใจนั่นแหละ ต้องกำจัดให้เกลี้ยงเลยปฏิบัติศีล ๕ เป็นอรหันต์เลย 

อ้าว!ปฏิบัติให้ถูกตรงนะ กำจัดกิเลสให้ได้จริง ๆ นะ เป็นอรหันต์เลย ปฏิบัติศีล ๕ นี่แหละ เป็นอรหันต์เลยกำจัดให้จริงก็แล้วกัน นะเอาให้สมบูรณ์เลยเป็นอรหันต์ 

“ดูกรจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม” สงัดจากการเสพสุขสมใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วก็ทุกข์ที่ไม่ได้เสพ กลายเป็นสุขที่ไม่ได้เสพนั่นเอง สงัดจากอกุศลธรรม ก็คือ จากการทำผิดศีล แต่ละข้อ ๆ ก็มีความสุขที่ไม่ได้ทำผิดศีลแต่ละข้อ ๆ บรรลุปฐมฌาน เนี่ยฌานที่ ๑ มีวิตกวิจาร ยังมีวิตก วิจาร คือมี วิตก วิตกะ คือความคิดของกิเลส ก็ใช้ความคิดของพุทธะเข้ามาสอนมันเข้ามาปราบมัน ใช้ปัญญาของพุทธะ ใช้ความคิดของพุทธะ เข้ามาปราบกิเลสเข้ามาพิจารณากิเลสจนกิเลสสลายไป ก็จะมีวิจาระ จาระ จริยาที่วิเศษ ที่วิเศษ ก็จะวิจาร ก็จะเป็น…โอ้โฮ้! มันก็ได้ทั้ง กำจัดกิเลส พอกำจัดกิเลสได้เนี่ยก็จะควบคุมกายวาจาใจได้สมบูรณ์นั่นเอง วิตกนี้ก็สู้กันในจิตปุ๊บปั๊บ ๆ ยังไม่สมบูรณ์ สู้ ๆ กันอยู่..โอ้โฮ้ ! เคลื่อนกันอยู่ จนสู้ได้ชนะดีขึ้นก็จะเป็นวิจาระ วิตก วิจาร วิจาระนี้ทำได้ดีขึ้น มั่นคงขึ้น กายวาจา ใจ ควบคุมได้ดีขึ้น พอควบคุมได้ดีขึ้นเป็นไง ก็มีปีติ มีสุข มีปีติอิ่มใจมีความสุขนะ เห็นไหม ฌานข้อที่ ๑ ก็มีความสุขนะไม่ใช่จะไม่มีนะ อันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี่การสงบจากกิเลสไปเป็นลำดับ ๆ สงบสงัด วิเวกนี่แปลว่าสงบสงัด สงัดจากกิเลสเพราะกำจัดกิเลสได้อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่อง ในความสุขข้อที่ ๑ เห็นไหมติดสุข ข้อที่ ๑ เนี่ย อย่างดีเลย สุขอย่างดีเลย ติดได้อันนี้ติดไปเลย ข้อที่ ๑ ก็อ่านอาการกิเลสได้ก็ใช้ปัญญาสู้กับกิเลสได้แล้วก็ชนะ เริ่มชนะได้ก็..โอ้โฮ้ ! มีปีติมีสุข นี่ในข้อที่ ๑ สู้ไปทีละเรื่อง

“ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก  ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีความผ่องใสแห่งจิตภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ” เนี่ย..โฮ้ ! จิตนี่ผ่องใสขึ้นไปอีก เพราะอะไร ..เพราะชนะมันแล้ว ชนะกิเลสแล้ว แล้วก็โอ้โฮ้!…ไม่ต้องวิตกวิจารแล้ว ชนะแล้ว ชนะแล้วก็ดีใจ ยินดีดีใจ..โอ้! เราชนะแล้ว ๆ นะก็เป็น โอ้โฮ้!…ไม่น่าเชื่อนะสลายมันได้ไงวะ แต่ก่อนมีแต่มันสลายเรา คราวนี้เราสลายมันได้ สลายได้ก็ โอ้โฮ้!… ดีใจ ๆ นี่ดีใจเลยมีความผ่องใส ผ่องใสเพราะอะไร ผ่องใสเพราะกำจัดกิเลสได้ ฮู้ย..ตรวจดูอุ้ย!.. มันไม่มีทุกข์อะไรเลย โฮ้!…ไม่มีเงื่อนไขที่ทำให้ใจเป็นทุกข์เลย ไม่มีสุขสมใจอยาก ไม่มีทุกข์ไม่ได้สมใจอยาก ..โอ้! ไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล ..โอ้! มีแต่สุขที่ไม่ได้สมใจอยาก มีแต่สุขที่ไม่ได้ดั่งใจ อุ้ย!.. เป็นไปได้ยังไง แต่ก่อนที่ไม่สุขสมใจ ไม่ได้ดั่งใจมีแต่ทุกข์ เฮ้ย ๆ คราวนี้มันสุขได้..ไง  โอ้โห!..ผ่องใสเลยอะไร ๆ เกิดดับก็ไม่ทุกข์แล้วเรื่องนั้น ผ่องใสแห่งจิตภายในธรรมเอกผุดขึ้น..โอ้โฮ้! โอ้โฮ้! วิเศษจริง ๆ ไม่น่าเชื่อ 

อุ้ย!..มีอย่างนี้ด้วยในโลก เป็นสุขที่ยอดเยี่ยมอย่างนี้ในโลก เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตกวิจารคือชนะมันแล้ว แปลว่าไม่ต้องไปต่อสู้กับมันแล้วเพราะชนะมันแล้ว ไม่ต้องไปวิตกไม่เห็นวิตกะคือความคิดของกิเลส ตกะ วิตกะสังกัปปะ ความคิดของกิเลสไม่มีแล้ว เราใช้ความคิดของพุทธะปราบไปแล้ว ใช้วิตกะของพุทธะปราบไปแล้ว ก็ไม่มีวิจาระอีกแล้ว ไม่มีวิตกวิจารอีก โอ้!.. มันต้องวิตกะ โอ้โห! ความคิดวิตกวิจาร วิจาระก็ลงมือปฏิบัติ วิจารน่ะเคยได้ยินไหม วิจารว่ากิเลสมันไม่ดียังไง ๆ ๆ พุทธะดีกว่ายังไง ไม่ต้องมีแล้วเพราะพุทธะชนะแล้ว สบายแล้วก็มีปีติและสุข จากสมาธิอยู่ เห็นไหม สมาธิก็คือความตั้งมั่นในปีติและ สุขอันนี้แหละ..โอ้!ก็มีปีติมีสุข ..โอ้! ดีใจแรง ๆ เลยเนี่ย ที่ไม่มีกิเลส มีปีติมีสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ก็ตั้งมั่นในความสงบสุขจากกิเลส  กิเลสมันสงบไป เราก็ตั้งมั่นในความสงบจากกิเลสนั้น เพราะมันสลายไปแล้วก็มีปีติ มีปีติมีสุข อันแต่สมาธิมีอยู่ ฮู้!. มีความสุขอย่างนี้ ๆ นี่เอง ไม่มีภัยต่อใครเลยมีแต่ประโยชน์อย่างเดียว โฮ้!.. มีปีติมีสุข ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ข้อที่ ๒ เห็นไหมชีวิตมีความสุขได้นะ 

“ดูกรจุนทะข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ” มีอุเบกขาเนี่ย  โฮ้..นี่กำจัดกิเลสได้แล้วอุเบกขาเลย ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา อุเบกขานี่ก็จิตบริสุทธิ์จากกิเลสนี่แหละจากทุกข์ ปริโยทาตา กระแทกกระทั้นกระเทือนอย่างไร ยังไงเรามีปัญญาแล้วเราก็ไม่หลงกลกิเลส เราก็ยังมีความสุขที่ไม่ได้ดั่งใจหมาย อย่างสบายนะ มีสติ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ ก็ แววไว พร้อมปรับ พร้อมเปลี่ยนไปสู่ในจุดที่เป็นประโยชน์ กัมมัญญาจิตควรแก่การงาน  รู้เหมาะรู้ควรในกิจกรรมการงานต่าง ๆ แล้วก็นี่แหละ ละชั่ว ละบาป บำเพ็ญกุศลที่ทำได้ ทำจิตใจให้ผ่องใส   ก็ปภัสสรา   จิตใจก็ผ่องใสเลย ได้ไม่ได้ดั่งใจหมายก็สุขใจได้ นี่ อุเบกขา  ได้ตัวนี้แล้ว มีสติ ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อม มีสัมปชัญญะ  ปัญญา ( สัมป คือ สัมมา)   (ปะ คือ ปัญญา)   (สัมมา + ปัญญา + ชัญญะ) ก็ (สฬายตน +ฌาน)   (ฌาน+สฬายตน)  ก็แปลว่าอะไร  ฌาน +สฬายตน  ชัญญะ   ฌานก็มีปัญญาเพ่งเผากิเลส  พิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลส พิจารณาวิปลาส ๔ ของกิเลส เมื่อมีผัสสะมากระทบ ทางตา หู จมูก  ลิ้น กาย แม้แต่ในใจ ก็มีปัญญาที่กำจัดกิเลสอย่างสัมมา สัมปชัญญะ  เสวยสุข    กรึ่ม ๆ อยู่นั่นแหละ  เสวยสุขด้วยกาย เพราะ ปีติสิ้นไป  ปีติเสวยสุขด้วยกาย  เพราะปีติสิ้นไปด้วยกาย คือจิตที่อาศัยอยู่ในร่าง  (กายคือจิตที่อาศัยอยู่ในร่าง) 

พระพุทธเจ้าตรัส ใน พระไตรปิฎก  เล่มที่ ๑๖ ข้อที่  ๒๓๐ จิตที่อาศัยอยู่ในร่างนั่นแหละ ก็เสวยสุขเพราะปีติสิ้นไป ดีใจแรง ๆ สิ้นไป ก็ลดมันลง มีหลายสูตรที่พระพุทธเจ้า ตรัสว่า เห็นโทษภัยของปีติ  ปีติจึงลดลง มีอยู่หลายสูตรเหมือนกัน คือดีใจแรง ๆ นานเข้ามันจะเมื่อย จะกินแรงเขาจะมีปัญญารู้   เออ ๆ ลง ๆ ก็ดีแล้ว ถ้าเรารู้แค่นั้นแหละ เดี๋ยวก็ลง  สุขกรึ่ม ๆ มันก็ยัง ฟู ๆ อยู่  แบบนี้สบายกว่า เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป อ้าว! ต่อไป  บรรลุ ตติยฌาน  ฌานที่สี่ ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ที่ปฏิบัติความพ้นทุกข์ สรรเสริญว่า  ผู้ได้ฌานนี้ ฌานสี่ เป็นผู้มีอุเบกขา  นี่แหละ ปริสุทธา  ปริโยทาตา  มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา มีสติอยู่  อยู่เป็นสุข อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่อง ในความสุข  ข้อที่๓ 

มาดูข้อที่ ๔ “ดูกร จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก” ขยาย ข้อที่ สาม สุขกรึ่ม ๆ อยู่  “ดูกร จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีกภิกษุบรรลุ จตุตถฌาน (ฌาน สี่ )ไม่มีทุกข์” ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์ (ก็คือไม่มีทุกข์ที่ไม่สมใจ ไม่มีสุขที่ได้สมใจ ) เพราะละสุข ละทุกข์ ละสุขที่ได้สมใจ ละทุกข์ที่ไม่ได้สมใจ ก็ไปได้สุขที่ไม่ได้สมใจนั่นแหละ เเละดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ รู้ชัดแล้วว่า สุขทุกข์ชอบชังนี่ สุขทุกข์ชอบชัง อยาก ยึดมั่น ถือมั่น ไม่ว่าอะไร  กระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือแม้แต่อยู่ในใจอย่างเดียวไม่มีอะไรมากระทบนี่มัน โอ้โห ! มันเป็นทุกข์ ชัดเจนด้วยปัญญาแล้วว่า  สุขทุกข์ มีผัสสะมากระทบ  หรือแม้แต่สุขทุกข์ในใจ มีผัสสะมากระทบ  เรียกว่าสุข ทุกข์นี้ก็ ละสุขละทุกข์นี้ และดับ โสมนัส โทมนัส  ก่อน ๆ ได้ โสมนัสก็สุขใจ โทมนัสก็ทุกข์ใจ แม้ไม่มีผัสสะอะไรมากระทบแต่มันปรุงอยู่ข้างในก็ดับได้ ดับได้สนิทก็มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่    ก็ลดปีติลงไป  ลดปีติลงไปหรือลดความยินดี ความสุขกรึ่ม ๆ ลงไปเหลือยินดี 

ยินดีแบบสบาย ๆ เรียกว่า อภิปโมทยังจิตตัง ก็ยังมีความยินดีอยู่ ยินดีแบบสบาย ๆ เราได้จิตบริสุทธิ์อันนี้ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔ เห็นมั้ยมีความสุขอยู่นะไม่ใช่ไม่มีนะ ความสุขคือความยินดีท่านว่าอย่างนั้น คือความยินดีก็มีความสุขใช่มั้ย แปลว่าฌานที่ ๔ ยังเหลือความยินดีอยู่มั้ย…ยังมีอยู่  ไม่ต้องมากแค่นั้นเอง ถ้าใครได้ก็จะรู้มันเบา ๆ สบายแล้ว ก็มันชนะแล้ว ชนะ ร้อยครั้ง  พันครั้ง หมื่นครั้ง  แสนครั้ง สบาย ๆ แรก ๆ ดีใจหน่อยไม่เคยชนะ นานเข้า ๆ มันก็ชินชา  ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว ชนะแล้วก็ดีแล้ว ก็สบาย ๆ สบาย ๆ แล้วทำเรื่องนี้ได้แล้ว  ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่ติดอบายมุขแล้วสบาย ๆ ไม่กินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แล้ว  ไม่กินรสจัดแล้ว  อย่างนี้เป็นต้น ก็สบาย ๆ ไม่ติด รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มันก็ลดได้แต่ละเรื่องนะ อบายมุข กาม  โลกธรรม  อัตตา ลดได้ก็เบา สบายไป สบาย ๆ นี่ก็ได้แล้วข้อที่ ๔ ก็สุขแบบสบาย ๆ 

“ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว”  “ดูกรจุนทะ  ก็ฐานะนี้แลย่อมมีได้  คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข  ๔ ประการเหล่านี้แล ถ้าบอกอย่างนี้ถูก ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้  เมื่อจะกล่าวกะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดย  ชอบ ถูกต้อง  ก็เราติดสุข  ๔ อัน  อันหลังนี่สุขที่ดีไม่มีภัย มีแต่ประโยชน์ บอกได้ถูกต้อง พวกปริพาชกอัญญเดียรถีเหล่านั้น  พึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มีจริงไม่เป็นจริง  หามิได้ นี่แหละจะกล่าวตู่เราด้วยคำไม่มีจริงไม่เป็นจริง หาไม่ได้  กล่าวแบบนี้ถูกต้อง  กล่าวตู่เรา ว่าเราติดสุขที่ไม่มีภัย ติดสุข ในฌาน ๔ สุขที่ไม่มีภัย สุขที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว” นี่  เออ ๆ กล่าวตู่ถูก  กล่าวตู่เราถูกแล้ว แต่เราไม่ได้ไปติดสุขที่ผิดศีลที่มีกิเลสมีภัย ติดสุขที่ไม่มีกิเลสแทน เพราะฉะนั้น พุทธะมีความสุขได้มั้ย…มีได้ พุทธะมีความสุขได้  มีความยินดีได้ สุขในฌาน ที่เพ่งเผากิเลสได้สุขในวิมุต  สุขในนิพพาน วิมุตหลุดพ้นจากทุกข์  นิโรธดับทุกข์ นิพพานก็สงบจากทุกข์ สุขได้  ชีวิตเราสุขได้  สุขที่ไม่มีทุกข์ โทษภัยต่อใคร มีประโยชน์ต่อทุกชีวิต สุขได้มีความยินดี พอใจ สุขใจได้   

วันนี้ก็พอสมควร ได้นำความสุขที่แท้จริงของพุทธะมาอธิบายสู่พี่น้องฟังกัน ขอให้ทุกท่านได้ประสบความสำเร็จได้ความยินดี สุขใจ พอใจแห่งพุทธะไปเป็นลำดับ ๆ ทุกท่าน…สาธุ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

ทิ้งสุขที่ได้ดั่งใจ มาเอาสุขที่ไม่ได้ดั่งใจ

https://youtu.be/VEdGDffwsGI อาจารย์ประทับใจพระพุทธเจ้า ชอบใจมากเลยธรรมะของพระองค์ท่านเนี่ยนะ ท่านตรัสไว้ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่...