ผลของโปรแกรมสวดมนต์และทบทวนธรรมตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ต่อระดับความเครียดของผู้ต้องขังหญิง เรือนจำกลางนครพนม จังหวัดนครพนม
ลักขณา วรพงศ์พัฒน์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พ.ศ. 2561
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ชื่อเรื่อง : ผลของโปรแกรมสวดมนต์และทบทวนธรรมตามหลักการแพทย์วิถีธรรมต่อระดับความเครียดของผู้ต้องขังหญิง เรือนจากลางนครพนม จังหวัดนครพนม
- ผู้วิจัย : ลักขณา วรพงศ์พัฒน์
- หลักสูตรวิชา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชา : สาธารณสุขศาสตร์
- อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.อรรณพ นับถือตรง และดร.อติพร ทองหล่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการสวดมนต์และทบทวนธรรมตามหลักการแพทย์วิถีธรรมที่มีต่อความเครียดของผู้ต้องขังหญิง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design)
กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำกลางนครพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น กลุ่มตัวอย่างทำการวัดระดับความเครียด โดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง (SPST-20) กรมสุขภาพจิต ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสวดมนต์และทบทวนธรรมตามหลักการแพทย์วิถีธรรม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ 7 วัน สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Paired Sample t-test กาหนดความมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา พบว่า
- ผู้ต้องขังหญิงมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( X =54.4, S.D.= 9.75) หลังการทดลองผู้ต้องขังหญิงมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( X = 44.33, S.D.= 9.37)
- ความเครียดของผู้ต้องขังหญิงลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลอง เมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง
สรุปผลการวิจัยได้ว่า โปรแกรมสวดมนต์และทบทวนธรรมตามหลักการแพทย์วิถีธรรม สามารถลดความเครียดของผู้ต้องขังหญิงได้ ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ผู้ต้องขังหญิงมีการปฏิบัติการสวดมนต์และการทบทวนธรรมเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยลดความเครียด ลดความทุกข์ภายในจิตใจและเพิ่มความผาสุกในชีวิตได้อย่างยั่งยืน
LUKKHANA WORAPONGPAT : THE EFFECT OF CHANTING AND DHAMMA REVIEW PROGRAM WITH BUDDHIST MEDICINE ON STRESS LEVELS OF FEMALE PRISONERS IN NAKHON PHANOM CENTRAL PRISON AT NAKHON PHANOM PROVINCE.
MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN PUBLIC HEALTH,
SURIN RAJABHAT UNIVERSITY.
ACADEMIC YEAR 2017.
ADVISOR : DR.UNNOP NAPTHUETRONG AND DR.ATIPORN THONGLAW
167 P.
ABSTRACT
The purpose of this research was to examine the effect of a chanting and dhamma review program with Buddhist medicine on stress levels of female prisoners.
This research was pre-experimental research, using a one-group pretest-posttest design. The sample group comprised 30 female prisoners from the Nakhon Phanom Central Prison , Nakhon Phanom province. The participants were selected based on the inclusion and exclusion criteria established by the researchers. The participants were measured the stress level at the pretest using the stress measurement method called SPST-20 by Mental Health Department. For four weeks and seven days a week , they participated in the chanting and dhamma review program with Buddhist medicine.
After the treatment, they were given a posttest, which was identical to the pretest. The obtained data were analyzed using frequency, percentage, mean score, and standard deviation. The pretest and posttest scores were analyzed using a paired sample t-test, at the level of .05.
The results found that:
- At the pretest, the stress of female prisoners was at a high level ( X = 54.47, S.D. = 9.75) After the treatment, the level of the stress at the posttest was also at a high level ( X = 44.33 , S.D. = 9.37)
- The comparison between the pretest and posttest scores revealed that the stress level of female prisoners reduced significantly after the treatment, p < .05
In conclusion, based on the findings of the study, the chanting and dhamma review program with Buddhist medicine could help reduce female prisoners’ stress. Therefore, female prisoners should be encouraged to practice chanting and dhamma review daily to reduce stress and mental sufferings and to increase their sustainable happiness.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นางสาวลักขณา วรพงศ์พัฒน์ |
วัน เดือน ปี เกิด | 24 เมษายน 2511 |
สถานที่เกิด | อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต |
ที่อยู่ปัจจุบัน | 28 หมู่ 7 ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120 |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน | |
พ.ศ. 2535-2554 | • ธุรกิจครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดตรัง |
พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน | • จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม มูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. 2522 | • จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัฒนาศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง |
พ.ศ. 2528 | • จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสภาราชินี อำเภอเมือง จังหวัดตรัง |
พ.ศ. 2535 | • จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยรามคำแหง |