ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายตามหลักการแพทย์วิถีธรรม กับสุขสมรรถนะของประชาชนวัยทำงาน ผู้ที่ผ่านค่าย ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
แพรลายไม้ กล้าจน
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พ.ศ. 2561
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ชื่อเรื่อง : ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายตามหลักการแพทย์วิถีธรรมกับสุขสมรรถนะของประชาชนวัยทำงาน ผู้ที่ผ่านค่ายศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสวนป่านาบุญ 1 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
- ผู้วิจัย : แพรลายไม้ กล้าจน
- หลักสูตรวิชา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชา : สาธารณสุขศาสตร์
- อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.อรรณพ นับถือตรง และอาจารย์ ดร.ภัทรพล ทองนำ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายตามหลักการแพทย์วิถีธรรมที่มีต่อสุขสมรรถนะของประชาชนวัยทำงาน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นประชาชนวัยทำงาน ที่ผ่านค่ายศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีอายุระหว่าง 20-59 ปี จานวน 30 คน ซึ่งได้มาจากเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออกที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น ประชาชนวัยทำงานทำการทดสอบสุขสมรรถนะ 5 ด้าน ก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรม การออกกาลังกายตามหลักการแพทย์วิถีธรรม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 90 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้า (One-Way ANOVA with Repeated Measures) ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอโรนี กำหนดความมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา พบว่า
ก่อนและหลังการทดลอง ประชาชนวัยทำงานมีคะแนนเฉลี่ยของสุขสมรรถนะด้านสัดส่วนของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือดแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปผลการวิจัยได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ส่งผลดีต่อสุขสมรรถนะ ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสัดส่วนของร่างกาย ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือดของประชาชนวัยทำงาน ซึ่งเหมาะสมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น
PRAELAIMAI KLAJON : EFFECTS OF BUDDHIST MEDICINE EXERCISE PROGRAM ON HEALTH-RELATED PHYSICAL FITNESS OF WORKING AGE PEOPLE PRACTITIONERS OF SUANPANABOON 1: THE LEARNING CENTER FOR SELF HEALING IN ACCORDANCE WITH THE PRINCIPLES OF SUFFICIENCY ECONOMY, DONTAN DISTRICT, MUKDAHAN PROVINCE.
MASTER OF SCIENCE PROGRAM IN PUBLIC HEALTH.
SURINDRA RAJABHAT UNIVERSITY
ACADEMIC YEAR 2017.
THESIS ADVISORS : DR. SUTHEERA INTAJARURNSAN AND DR. ANNOP NABTEUTRONG
128 P.
ABSTRACT
The purpose of this study was to examine the effects of Buddhist medicine exercise program on health-related physical fitness of working aged people. This study adopted a pre-experimental research. A one-group pretest-posttest design was used in the study with a pretest, treatment and posttest.Thirty working aged people ages between 20 and 59 years selected based on the inclusion and exclusion criteria specified by the researchers were included in the study. All the participants had previously participated in a health camp at the Center for Healing according to the principles of sufficient economy in Suanpanaboon 1, Dontan District, Mukdahan Province.
Before the exercise program, the participants were given a health-related physical fitness test based on five components : body composition, muscle strength, muscular endurance, flexibility and cardiovascular fitness. The participants then participated in a 90-minute exercise program, three days a week for eight weeks. After the treatment, the participants were given a posttest identical to the pretest. The data were analyzed for frequency, percentage, mean, and standard deviation. A one-way ANOVA with repeated measures was used to determine the main effect with a priori alpha of .05 and Bonferoni adjustment was used to determine significant differences in pairwise comparisons.
The results found that:
Comparisons between the pretest and posttest revealed significant differences in all the five components of the health-related physical test, p < .05.Therefore, it may be concluded that the Buddhist medicine exercise program has positive effects on health-
related physical fitness of working aged people and can be used in everyday life for stronger health.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นางสาวแพรลายไม้ กล้าจน |
วัน เดือน ปี เกิด | 17 ธันวาคม 2517 |
ที่อยู่ปัจจุบัน | บ้านเลขที่ 114 หมู่ 11 ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120 |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน | |
พ.ศ. 2542-2543 | • ตำแหน่ง Export Officer บริษัท Nippon Express (Thailand) Co. , Ltd. |
พ.ศ. 2543-2545 | • ตำแหน่ง Multi-Fuctional Customer Service Agent Call Center บริษัท DHL International (Thailand) LTD. กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. 2545-2547 | • ตำแหน่ง Customer Service Back Line บริษัท DHL International (Thailand) LTD. กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. 2547-2549 | • ตำแหน่ง Customer Support Executive บริษัท DHL International (Thailand) LTD. กรุงเทพมหานค |
พ.ศ. 2553-2553 | • ตำแหน่งเลขานุการ ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว |
พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน | • ตำแหน่งจิตอาสาประจา ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. 2518 | • จบการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพมหานคร |