รูปแบบการปฏิบัติและผลการสวนล้างลำไส้ใหญ่ของผู้เข้าค่ายสุขภาพ ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
ศิริพร จิระสถาวร
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พ.ศ. 2561
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ชื่อเรื่อง : รูปแบบการปฏิบัติและผลการสวนล้างลำไส้ใหญ่ของผู้เข้าค่ายสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรม
- ผู้วิจัย : ศิริพร จิระสถาวร
- หลักสูตรวิชา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาวิชา : สาธารณสุขศาสตร์
- อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.สุธีรา อินทเจริญศานต์ และดร.อติพร ทองหล่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและผลของการสวนล้างลำไส้ใหญ่ตามหลักการแพทย์วิถีธรรมที่มีต่อสุขภาพ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 23 คน ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สำหรับข้อมูล ส่วนบุคคลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 86.96 อายุเฉลี่ย 51.35 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.95) จบปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 69.57 อาชีพรับราชการร้อยละ 34.78 รายได้เฉลี่ย 21,347.83 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14,546.50) ภูมิลำเนาอยู่ในภาคอีสาน ร้อยละ 30.44 ประสบการณ์การสวนล้างลำไส้ใหญ่ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2 สัปดาห์ ถึง 12 ปี รูปแบบการสวนล้างลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่มี การประเมินภาวะร้อนเย็นก่อนทำสวนล้างลำไส้ใหญ่ ทาวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า ผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงจะทำวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) ส่วนใหญ่ใช้น้ำปัสสาวะ รองลงมาใช้น้ำสมุนไพร มักสวนล้างด้วยท่านอน ยกขวดสูง 2 ศอก ใช้น้า 1,500 มิลลิลิตรต่อการทำ 1 ครั้ง และสามารถใส่น้ำต่อครั้งการถ่าย 1,000-1,500 มิลลิลิตร กลั้นได้ 3-5 นาที ใส่สายลึกประมาณ 6 นิ้วฟุต
ผลต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่มีสุขภาพดีขึ้น กล่าวคือ ช่วยให้อาการไม่สุขสบายหายร้อยละ 73.91 หรือทุเลาลงร้อยละ 26.09 พบผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นร้อยละ 43.48 ซึ่งเป็นอาการที่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ผลต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เป็นผลจากการสวนล้างลำไส้ใหญ่เพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย แต่ถือว่าการสวนล้างลำไส้ใหญ่ตามหลักการแพทย์วิถีธรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น
SIRIPORN CHIRASATHAWORN : PATTERNS OF PRACTICE AND EFFECTS OF COLON DETOXIFICATION OF HEALTH CAMP PARTICIPANTS BY BUDDHIST MEDICINE
MASTER OF DEGREE PROGRAM OF PUBLIC HEALTH.
SURINDRA RAJABHAT UNIVERSITY.
ACADEMIC YEAR 2017.
THESIS ADVISORS : DR. SUTHEERA INTAJARURNSAN AND DR. ATIPORN THONGLAW
132 P.
ABSTRACT
The research aimed to
(1) study the patterns of colon detoxification according to Buddhist Medicine and
(2) study the effects of colon detoxification on health.
The study design was qualitative research. Data were collected by the method of purposive sampling for 23 cases. These were conducted by using in-depth interview. Data were analyzed by using qualitative method and descriptive statistics.
The results found that:
Most of the samples were female, accounting for 86.96%. The average of age was 51.35 years old. The samples with bachelor’s degree accounts for 69.57% and 34.78% are civil servants. The average of incomes is 21,347.83 baht while 30.44% of them live in the Northeastern part of Thailand. The colon detoxification was continuously operated since 2 weeks to 12 years.
For the pattern of practices, samples were evaluated for hot and cold conditions before colon detoxification and done for 1 time in the morning. In severe disease patients, the practice was done for 2 times in the morning and evening. They used some urine water and herb water for detoxification by lying down posture and raising up bottle (80 to 100 centimeters high) with the amount of water 1,500 milliliters per on time. Water could be put in at once taking 1,000 to 1,500 milliliters, holding up from 3 to 5 minutes. The cord’s length is about 6 inches. Most of health problems disappeared accounting for 73.91% or relieved accounting for 26.09%. In some cases, there were found some side effects (43.48%), which can be solved by themselves. However, colon detoxification according to Buddhist Medicine could be the alternative choice in order to relieve and support for the better health.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | ศิริพร จิระสถาวร |
วัน เดือน ปี เกิด | 24 มิถุนายน 2509 |
ที่อยู่ปัจจุบัน | บ้านเลขที่ 280/32 หมู่ 1 ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัด สระบุรี 18220 |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน | |
พ.ศ. 2529-2534 | • เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน สถานีอนามัยคำพราน หมู่ 1 ตาบลคำพราน อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี |
พ.ศ. 2534-2539 | • เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน สถานีอนามัยหลังเขา อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี |
พ.ศ. 2539 ถึง ปัจจุบัน | • พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ โรงพยาบาลวังม่วงสัทธรรม หมู่ 1 ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. 2520 | • จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี |
พ.ศ. 2526 | • จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี |
พ.ศ. 2529 | • จบการศึกษาระดับอนุปริญญาประกาศนียบัตรการสาธารณสุขชุมชน (ผดุงครรภ์อนามัย) โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย ศูนย์อนามัยแม่และเด็ก เขต 6 จังหวัดนครสวรรค์ หรือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ในปัจจุบัน |
พ.ศ. 2539 | • จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฯ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |