มาเรียนสาระธรรมะพาพ้นทุกข์จากพระไตรปิฎกกัน เมื่อวานเราได้เรียน อัสสุตวตาสูตรที่ 1 พระไตรปิฎกเล่มที่ 16 ข้อที่ 230 ว่าด้วยกาย มีกายัสมิง กับ กายัสสะ มันคนละอัน ภาษาพระพุทธเจ้าใช้ ลองฟังดูนะ อาจารย์ทวนไปอีกทีหนึ่ง แล้วก็ไปเร็วหน่อยนะ ไปต่อเมื่อวานนี้ สูตรนี้ยังไม่จบ เกือบจะจบแล้ว แต่ยังไม่จบ ทวนอีกสักนิดหนึ่งนะ
อัสสุตวตาสูตรที่ 1 พระไตรปิฎก เล่มที่ 16 ข้อที่ 230 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ (อันนี้เป็นกายัสมิง) ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างอันนี้เน้นไปที่ร่างนะ กายัสมิง เน้นไปที่ความรู้สึก ว่าเป็นร่างของร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ แม้ไม่ได้ฟังธรรมะ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง
ในร่างกายนั้นคือเขาเน้นไปที่ กายัสมิง เขาเน้นไปที่ร่างกาย เน้นไปที่ร่างกาย บางทีมันแก่แล้วมันผุพังไป มันย่ำแย่ไปก็น่าเบื่อหน่ายเหมือนกัน ยิ่งตายไปเลย ก็เน่าเหม็นไปเลย หรือวัตถุข้าวของอะไร ๆ ที่มันผุพังไป สิ่งที่มันผุพังไป ที่มันไม่ได้เกี่ยวกับจิตวิญญาณ ถ้าพูดถึงว่ารูปธรรม ร่างกายก็ตามหรือวัตถุใด ๆ ก็ตาม ถ้ามันผุพังไป ใช้การไม่ได้ ปุถุชนผู้มิได้ฟังธรรมะแท้ ก็ยังเบื่อหน่ายได้บ้าง คลายกำหนัดหลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น คือก็ยังไม่ไปยึดมั่นพอมันเสื่อมมาก ๆ อย่างศพนี่ ใครจะไปอยากได้ไหมล่ะ โดยภาพรวมน่ะ ปุถุชนคนทั่วไป ใครอยากได้ศพเน่า ๆ มาอยู่ด้วยไหมละ อยากได้ไหม ไม่ ใช่ไหม เพราะมันผุพังไป มันไม่เข้าท่าแล้ว หรือกระสอบพัง ๆ ยุ่ยไปหมดแล้ว ใครจะอยากได้ไหม ไม่ อะไรที่มันผุพังแล้วเป็นเสียของแล้ว คนก็พอหลุดพ้นได้บ้างเหมือนกัน พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น ถ้าเน้นไปที่ทางร่างอันนี้
แต่ตถาคต เรียกร่างกาย ไม่ใช่ร่างกายหรอก อันนี้กายัสสะ ไม่ใช่ร่างกายหรอก เรียกว่ากาย ข้างบนน่ะเป็นร่างเอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าพูดถึงข้างบนที่ท่านตรัสมาคือร่าง ร่างที่มันผุพังไปนี่นะ เสื่อมไป ผุพังไปนี่ ไม่ต้องไปสอนอะไรมากหรอก ผุพังไปมาก ๆ นี่เน่าเปื่อยผุพังไป คนก็เบื่อหน่ายแล้วไม่เอาแล้วนะ มันน่าเบื่อหน่าย มันเสื่อมไปแล้ว ผุพังไปแล้วก็คลายกำหนัด คลายกำหนัดไม่ได้อยากไปเสพอะไรในสิ่งเหล่านั้น อย่างนี้เป็นต้น ก็มี คนที่ส่วนใหญ่ ถ้าผุพังไปหมดก็คลายได้บ้างเหมือนกัน อันนี้เอาตัวร่าง ความหมายก็คือ ตัวร่างนะ แต่คราวนี้มาเป็นแต่ตถาคต เรียกกายัสสะอันนี้ คือกาย ไม่ใช่ร่าง แต่ท่านพิมพ์มานี่ ท่านเข้าใจว่ามันเป็นอันเดียวกัน จริง ๆ คนละอัน แต่ตถาคตเรียกกายัสสะ เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิต มโน วิญญาณ คือ จิตที่มันอาศัยอยู่ในร่าง แล้วมันก็ไปยึดว่าถ้าได้ร่าง หรือได้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเหตุการณ์ต่าง ๆ มาสัมผัสแง่นั้น เชิงนี้ จะสุขใจ ชอบใจ ไม่ได้จะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ
ถ้าเป็นสภาพของจิตที่อาศัยอยู่ในร่างที่ไปยึดมั่นถือมั่น ทั้งร่าง ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ภายนอกต่าง ๆ มันไปยึด ถ้าได้ดั่งใจจะสุขใจ ชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจ จะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ เจ้าตัวนี้ กายัสสะตัวนี้ จิตนี่แหละที่เป็น จิต มโน วิญญาณ ตัวนี้ ที่ได้ดั่งใจ สุขใจ ชอบใจ ปุถุชนผู้มิได้สดับไม่อาจจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย จิตที่ไปติดใจเรื่องนู้น เรื่องนี้ ไปชอบ ได้ดั่งใจก็สุขใจ ชอบใจ มีราคะ ราคะคือสุขใจ ชอบใจ เมื่อได้ดั่งใจนั่นแหละ จะหลุดพ้นไม่อาจจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ไม่ได้ หลุดพ้นไม่ได้นะ ท่านก็กล่าวอย่างนี้
อันนี้ คือ ปุถุชน ที่ไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ เดี๋ยวเรามาดูภาษาบาลีกันสักนิดหนึ่ง จะได้เห็นความต่างนะ เห็นความต่างของ 2 อัน อันแรกนี่พระพุทธเจ้า ตรัสถึงกายัสมิง นี่ก็คือ ร่าง อันนี้ความหมายก็คือ ร่าง ท่านก็บอกว่า ร่างนี่นะไม่ต้องได้ฟังธรรมะอะไรมันก็น่าเบื่อเวลามันเน่าเปื่อยผุพังไป ไม่ต้องได้ฟังธรรมะอะไรหรอก คนจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดเลย ไม่ได้อยากไปเสพมัน แม้แต่เดิมอาจจะอยากเสพ ถ้ามันสภาพดี ๆ อยู่ พอมันเน่าเปื่อยผุพังไปแล้ว น่าเสพไหม ไม่หรอก ไม่ต้องสอนธรรมะอะไรหรอกเน่า ๆ ไม่มีใครอยากไปเสพหรอก ถ้าเน่าเปื่อยผุพังไปหมดแล้ว นี่ความหมายกายัสมิงนะ
ทีนี้อีกอันหนึ่ง ท่านตรัสถึงกายัสสะ ไม่ใช่กายัสมิงแล้ว กายัสสะก็คือ จิต มโน วิญญาณ กายัสสะเป็นจิต มโน วิญญาณ ที่อาศัยอยู่ในร่าง จิต มโน วิญญาณ ก็คือ จิตวิญญาณ ที่อาศัยอยู่ในร่าง แล้วก็จิต มโนวิญญาณนี้ ไปยึดมั่นถือมั่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสภาพในกาย ถ้าเป็นดั่งใจหมายจะสุขใจชอบใจ ไม่เป็นดั่งใจหมายจะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ ท่านบอกว่าจะเบื่อหน่ายอันนี้ ตัวนี้จะละหน่ายคลายยากมากเลย ท่านว่าอย่างนั้น ปุถุชนจะได้นิพพาน ละ หน่าย คลาย ยากอย่างนี้เป็นต้น ถ้าไม่ได้ฟังธรรมะ ละ หน่าย คลาย ไม่ได้เลย ท่านก็ตรัสว่าอย่างนี้ จะได้เข้าใจ อ่านซ้ำอีกทีหนึ่ง เพราะว่ามันมีความต่างอยู่
สรุปแล้วที่ท่านว่ามาตั้งแต่แรก ก็คือร่าง อันแรกสุดเลย ท่านบอกเฉพาะตัวร่างที่มันเน่าเปี่อยผุผังแล้วก็ยังตรัส เพราะความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดีของร่าง อันเป็นร่าง อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ย่อมปรากฏ เพราะว่า เวลามันเกิดแล้ว มันก็เสื่อม ก็ตายไป มันเสื่อม มันตาย เน่าเปื่อย ผุพัง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส แม้ไม่ได้ฟังธรรมจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง เบื่อหน่ายคลายกำหนัดหลุดพ้น ไม่ได้ไปติด ไปหลงสิ่งเหล่านั้น ตัดไปอย่างนี้เป็นต้น ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในร่างนั้น
ทีนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า แต่ตถาคตเรียก กายัสสะ กายัสมิง คนละอันนะ กายัสสะไม่ใช่ร่างแล้ว มันเป็นทั้งจิตทั้งร่างแล้ว อยู่ด้วยกันทั้งจิต ที่อาศัยอยู่ในร่าง เน้นมาทางจิตที่อาศัยอยู่ในร่างเรียกว่า กายัสสะ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เห็นไหมท่านเน้นจิต อันนี้เป็นสภาพของจิต มโน วิญญาณ คือจิตวิญญาณนั่นแหละ ที่อาศัยอยู่ในร่าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ท่านว่าอย่างนั้น
ผู้กิเลสหนา ไม่ได้ฟังธรรมะเลย ฟังธรรมะไม่รู้เรื่อง จะมิอาจเบื่อหน่ายคลายกำหนัดได้หรอก นี้เรียกว่า นิพพิทาวิราคะ เบื่อหน่ายคลายกำหนัด เข้าสู่นิพพาน ด้วยวิราคะ เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ในความรู้สึกสุขนั้นถ้าไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ ออกไม่ได้เลยท่านว่าอย่างนั้น ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต ไม่สามารถหลุดพ้นจากสุขใจที่ได้ดั่งใจ ไม่มีทางที่จะเบื่อหน่ายสุขใจที่ได้ดั่งใจ มีแต่ชอบใจสุขที่ได้ดั่งใจ คนส่วนใหญ่จะเบื่อ หรือจะชอบ ? ชอบไม่ต้องมาเถียงหรอก ไม่มีเบื่อหน่ายหรอก มีแต่ชอบใจ อยู่นั่นแหละ จะไปเบื่อหน่ายอะไร มีแต่กระโดดใส่ ชอบใจที่ได้ดั่งใจ ไม่เบื่อหน่ายหรอกท่านว่าอย่างนั้น
ไม่เบื่อหน่ายหรอกสภาพสุขใจที่ได้ดั่งใจ กิเลสหรอก ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ไม่มีทางถ้าไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ มีแต่ติด เข้าไปเรื่อยไม่มีเบื่อหรอก มีแต่ชอบติดเข้าไป อยากได้เข้าไป เท่านั้นแหละ ไม่มีทางหลุดพ้นได้ พออยากเข้ามาก ๆ พอไม่ได้ก็ทุกข์ ได้ก็กลัวจะหมดไป ไม่ได้ก็ทุกข์ใจ กลัวไม่ได้มา ได้มากลัวจะหมดไป หมดไปก็ทุกข์ใจ ได้มาก็เป็นทุกข์ใจ สืบเนื่องเป็นทุกข์กาย สืบเนื่องเป็นเรื่องร้าย ต่อตนเองและผู้อื่นตลอดกาล หลุดพ้นไม่เป็น
ท่านบอกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มิอาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ท่านบอกไม่มีทาง ไม่มีทางหลุดพ้นได้ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ จากผู้รู้ จากสัตบุรุษ หมู่มิตรดีแท้ ๆ ไม่ได้หรอก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ มันจะรวบรัดถือไว้ ด้วยตัณหา จิตอันจะรวบรัด ผู้ไม่ได้ฟัง ธรรมะแท้ ๆ มันจะทำหน้าที่รวบรัดเลย ถือเอาไว้เลยด้วยตัณหา ถือเป็นตัวเราของเรา ตัณหาความอยาก อยากสุขใจที่ได้ดั่งใจนั่นแหละ รวบรัดเอาไว้เลย อยากได้สภาพสุขใจที่ได้ดั่งใจ มันจะมีความคิดของมันนะว่า ถ้าได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ดั่งใจหมายจะสุขใจชอบใจ จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวเป็นตัวเราของเรา สิ่งที่ได้ดั่งใจหมายกับตัวเรา ของเรา สุขใจชอบใจกับตัวเราของเรายึดถือเอาไว้ด้วยตัณหา อยากได้สุขใจชอบใจ อยากได้สิ่งนั้น อยากได้สุขใจชอบใจมาเป็นตัวเรา ยึดถือด้วยทิฐิ ทิฐิความรู้ความเข้าใจ ทฤษฎีความเห็นความรู้ ความเข้าใจ เข้าใจอย่างนั้นจริง ๆ รู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรามันจะยึดเลยนะ นั่นของเรานั่นเป็นเรา
นี่ดูว่าใครยังมีกิเลสอยู่ หรือว่าใครยังมีมิจฉาทิฏฐิ ใครเข้าใจผิด คิดผิดดูง่ายดูแค่นี้ ดูแค่ความอยากมีไหมได้อะไรและสุขใจชอบใจ ไม่ได้และทุกข์ใจไม่ชอบใจ นี่แหละเป็น ฤทธิ์ของกิเลสแล้ว อันนี้ผิดแล้ว แต่ถ้าใครไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจชอบใจได้สุดยอดเลย สุดยอดเลยอันนี้ถูกต้อง ๆ ถ้าได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจอันนี้เป็นความลวงแล้ว เพราะมันไม่มีจริง จริง ๆ มันไม่มี แต่กิเลสหลอกว่ามี หลอกว่าเป็นตัวเราของเรา อย่างนี้เป็นต้น ยึดถือด้วยทิฐิด้วยความเข้าใจว่า เป็นของเรานั่นเป็นเรา ถ้าไปยึดอันนั้นอันนี้ว่าเป็นตัวเรา ของเรา คนนั้นถูกกิเลสหลอกแล้ว ถูกกิเลสหลอกนะ ถูกหลอกแล้ว กิเลสมันหลอกเก่งมาก เก่งสุดเก่งเลย แล้วไม่มีทางที่จะไม่ถูกมันหลอก ถ้าไม่ได้พบพุทธแท้ ๆ ไม่ได้พบธรรมะแท้ ๆ ที่สามารถ กำจัดราคะได้ ราคะ คือสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ จนไปสู่สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ จนไปสู่สภาพได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ สุขใจเพราะไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ
พอสลายมันได้จริง ๆ ไม่มี สลายได้ ได้สภาพที่ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นสภาพที่ไม่ทุกข์ เป็นสภาพสุขแบบพุทธะ ไม่ทุกข์นี่แหละมันสบาย ไม่ทุกข์ก็สุขก็สบายแล้ว เราก็ยินดีพอใจสุขใจที่สุข สบายไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย นั่นแหละมันถึงจะรู้ ความจริงตามความเป็นจริง ไม่เช่นนั้นถูกมันหลอกเนียน ถูกหลอกตั้งแต่ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ มันหลอกเก่งจริง ๆ เลย มีความรู้สึกอย่างนี้ก็ถูกหลอกแล้ว เพราะถ้าปฏิบัติได้ถูกตรงอันนี้จะไม่มี มันมีแต่ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจชอบใจ สุขสบายใจไร้กังวลเพราะไม่มีทุกข์ใด ๆ มันยากอาจารย์จะอธิบายอย่างไร ฟังไปเรื่อย ๆ ก่อนก็แล้วกัน เดี๋ยวก็ค่อยเข้าใจไปเรื่อย ๆ กิเลสมันหลอกเก่ง เดี๋ยวอาจารย์จะค่อย ๆ ขยายให้เห็นความหลอกลวงถ้ารู้สึก อย่างนี้ ถูกหลอกหมด
ถ้ารู้สึกอย่างนี้ถูกกิเลสหลอก ผิดศีล และชีวิตจะมีแต่ทุกข์ ถ้าได้ดั่งใจแล้วสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจและทุกข์ใจไม่ชอบใจอันนี้ถูกหลอก ความรู้สึกนี้ปุ๊บถูกหลอกปั๊บเหมือนจริงเลยแต่ไม่จริงหรอกมันแก้ได้ด้วย ถ้าแก้เป็นจะรู้เลยว่ามันไม่จริง ความจริงได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขได้ ชอบใจได้เพราะชีวิตนั้นหมดสุขหมดทุกข์แบบกิเลสหมดสุขใจที่ได้ดั่งใจ หมดทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ชีวิตไม่มีทุกข์ก็มีแต่สุขสบายยินดีความสุขสบายที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจไม่มี สลายได้ รู้ความจริงตามความเป็นจริงสิ่งนั้นอย่างนี้เป็นต้น
เป็นประโยชน์ก็เป็นประโยชน์ เป็นโทษก็เป็นโทษ มีลักษณะแบบไหนก็แบบนั้นเกิดดับไปอย่างนั้นถ้าใครปฏิบัติได้จริงแล้วก็จะไม่เกิดความรู้สึกสุขใจชอบใจหรือทุกข์ใจไม่ชอบใจเมื่อได้หรือไม่ได้ดั่งใจ ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ รู้สึกแบบนี้ถูกกิเลสหลอกเรียบร้อย ถูกหลอกเรียบร้อย ผิดศีลเรียบร้อยมันหลอกเก่งนะเหมือนจริงเลยนะ แต่ไม่จริงหรอก แต่เชื่อแล้วทุกข์เพราะอะไร มันกลัวจะไม่ได้สุขใจชอบใจ ได้ก็กลัวจะหมดไป แล้วส่วนทุกข์ล่ะมันกลัวจะได้ทุกข์ใจไม่ชอบใจ ได้ก็กลัวจะไม่หมดไป มันจะมีแต่กลัวความกังวลหวั่นไหวถ้ามีแต่ความรู้สึกทุกข์อย่างนี้เป็นต้น
- เมื่อไม่ได้ดั่งใจเราก็รู้สึกทุกข์ กลัวขนาดได้ยังกลัวจะหมดไปเลยอย่างนี้เป็นต้น มันมีความรู้สึกทุกข์ถูกหลอกให้ทุกข์ถูกหลอกให้ไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริงอันนี้อันที่หนึ่ง
- อันที่สองหลอกว่าสิ่งนั้นเป็นตัวเราของเราหลอกว่าวัตถุนั้นสิ่งที่มากระทบเรียกว่าผัสสะนอก สิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ หลอกว่านั่นตัวเราของเราว่านั่นเป็นตัวเราของเราแล้วหลอกว่าเราทุกข์สุขกับสิ่งนั้นแล้วถ้ามีสภาพอย่างนี้จะทำให้เราเป็นสุข ถ้าไม่ได้สภาพอย่างนี้ทำให้เราเป็นทุกข์มันปนกันไปหมดเลย ไม่รู้สุขทุกข์อันนี้ไม่รู้ใจไม่รู้กายปนกันไปหมด ไม่รู้ใจไม่รู้กายมันไม่รู้ร่างกายหรือว่าไม่รู้วัตถุข้างนอกอะไรมันปนกันไปเป็นหนึ่งเดียวกับกายกับจิตมันปนกันอยู่ด้วยกันแล้วจะมีความรู้สึกว่านี่ยึดตัวเราของเราใช่ไหม อันที่สองยึดตัวเราของเรา
- อันที่สามจะยึดว่าผัสสะที่มากระทบมีน้ำหนักมากกว่าจิต ผัสสะที่มากระทบมีน้ำหนักมากกว่าจิต มันจะเป็นอย่างนั้น แต่จริง ๆ แล้วจิตมีน้ำหนักมากกว่าผัสสะที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ
แต่กิเลสตัวกายัสสะ ตัวกิเลสมันจะหลอกให้รู้สึกว่ารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นสิ่งที่มีบทบาทมากที่สุดมีฤทธิ์มีน้ำหนักมีความสำคัญมากที่สุดต่อความรู้สึกสุขทุกข์ของชีวิตซึ่งมันปนกันหมดทั้งจิตใจทั้งร่างกายทั้งสิ่งที่มากระทบ มันรู้สึกสุขทุกข์กับสิ่งนั้นอย่างนี้เป็นต้น
เพราะถ้ารู้สึกอย่างนี้เป็นความรู้สึกที่ผิด เพราะว่าจริง ๆ แล้วจิตวิญญาณมีน้ำหนักมากที่สุด เท่ากับดินทั้งแผ่นดิน ส่วนวัตถุมีน้ำหนักเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ
ข้อที่สองแล้วไปยึดว่า สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบเป็นตัวเราของเราแล้วก็ความรู้สึกสุขทุกข์เป็นตัวเราของเรา ผิดเลยเพราะจริง ๆ มันไม่ใช่ตัวเราของเรา มันแยกคนละอันเลย ถ้าแยกกายแยกจิตได้มันคนละส่วนเลย แต่มันหลอกเหมือนว่าเป็นตัวเราของเรา ดูซิใครจะไปหลุดพ้นมันได้ ไม่มีความรู้พุทธะนี่แล้วเลยแหละ ไม่มีทางเลยแหละที่จะไปแยกมันได้แล้วก็ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจเป็นข้อที่หนึ่ง ได้ดั่งใจ สุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจ จริง ๆ มันไม่มีแต่มันหลอกว่ามี นั่นข้อที่หนึ่ง
ข้อสองนี่ยึดมันยึดความรู้สึก มันยึดไปหมดเลยนะทั้งจิตกายัสสะของกิเลสเป็นตัวเราของเราทั้งร่างกายทั้งเหตุการณ์มันหลงชอบว่าเป็นตัวเราของเราไปหมดยึดไปเป็นตัวเราของเราหมดเลย เราสุขเราทุกข์
ประเด็นที่สามนั้นไปให้น้ำหนักกับทางด้านที่มากระทบผัสสะนอกที่มากระทบ ผัสสะข้างนอกที่มากระทบกับชีวิต ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจว่าสิ่งที่มากระทบมีฤทธิ์มากที่สุดมีบทบาทมีความสำคัญเป็นตัวหลักเลยที่ทำให้เรารู้สึกสุขทุกข์เพราะฉะนั้นหลงแก้ ก็จะไปแก้ข้างนอก ใครที่มุ่งจะไปแก้ข้างนอกจิตวิญญาณ ใครมุ่งที่จะไปแก้ข้างนอกแก้ปัญหาต่าง ๆ มุ่งแก้ข้างนอกเป็นมิจฉาทิฏฐิเป็นความคิดของกิเลสเพราะข้างนอกมันมีฤทธิ์แค่ฝุ่นปลายเล็บ ข้างในผัสสะในคืออาการของกิเลสชีวิตของกิเลสอาการของกิเลส กายของกิเลสมีฤทธิ์มากที่สุดที่ทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ รู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ต่าง ๆ มีฤทธิ์มากที่สุด มันไม่ใช่ข้างนอก ถ้าเราไม่มาแก้ข้างในมาสลายกิเลสเราจะไม่รู้เลยว่าจิตนี้มีฤทธิ์มากที่สุด
ถ้าเราสลายกิเลสได้เราถึงจะรู้ว่าจิตมีฤทธิ์มากที่สุด มากขนาดไหนก็มากขนาดทุกข์หายไป ถ้าแก้ทุกข์จากกิเลสทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจกลายเป็นสุขที่ไม่ได้ดั่งใจได้หายไปเท่าไร แล้วเหลือทุกข์อยู่เท่าไร ทุกข์ที่หายไปนั่นแหละคือทุกข์จิต เหลืออยู่เท่าไรคือทุกข์กายกับเหตุการณ์เหลืออยู่แค่นั้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเมื่อเทียบกันแล้ว ดินทั้งแผ่นดินกับฝุ่นปลายเล็บ จิตวิญญาณเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน ฝุ่นปลายเล็บคือ กายคือเหตุการณ์อย่างนี้เป็นต้น เห็นไหมมันหลอกจนรู้สึกจนกลับหัวเลย กลับหัวกันเลยให้น้ำหนักที่ผิดกันไปหมดเลยพอให้น้ำหนักผิดแบบนี้ คนเลยแก้ปัญหาผิดให้น้ำหนักผิดใช่ไหม
- ประเด็นที่สี่คนที่แก้ผิดเลยจะมุ่งประเด็นไปแก้ที่ผัสสะที่มากระทบให้ได้ดั่งใจหมายจึงจะสุขใจชอบใจทุกข์จึงจะหายไป สุขจึงเกิดขึ้นเสร็จแล้วแก้ไม่รู้จบไม่รู้แล้ว จึงเน้นมาแก้ข้างนอกแล้วก็แก้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้บ้างไม่ได้บ้างวนไปอยู่อย่างนั้น มุ่งที่จะมาแก้ข้างนอกนี่ก็ผิดแล้ว
- ข้อที่ห้าข้อต่อไปแก้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้บ้างไม่ได้บ้างวนอยู่นี่แหละวนแก้อยู่นี่แหละ แล้วสุดท้ายก็ล้มเหลวในที่สุด นี่คือความหลอกความลวง ความหลอกความลวง หลอกลวงหลายอย่างแล้วรู้สึกว่ายิ่งรู้สึกสุขที่ได้นั้นมันจะมั่นคงยั่งยืน แสวงหาความรู้สึกสุขที่มั่นคงยั่งยืนแต่มันก็ไม่ได้ยั่งยืนสักที นั่นแหละผิดแล้ว ขนาดผิดอย่างนั้นยังพยายามที่จะหาวิธีการให้มันได้ต่อเนื่องต่อเนื่องต่อเนื่อง ให้ได้มั่นคงยั่งยืนต่อเนื่องต่อเนื่องต่อเนื่องไปตลอด แต่มันก็ทำไม่สำเร็จนั่นแหละเข้าใจผิดแล้ว เข้าใจผิดอีกแล้วมีความเข้าใจผิดหลายอย่างยังมีอีกเยอะความเข้าใจผิดเกิดปัญหาต่าง ๆ มา แล้วโทษคนอื่นผิดแล้วผิดแล้วผิด แล้วผิดแล้วโทษคนอื่นว่า คนอื่นเป็นต้นเหตุทำให้เราทุกข์ โทษคนอื่นว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เราทุกข์นั่นน่ะผิดแล้วผิดแล้ว
ยังมีความเข้าใจผิดอีกหลายอย่างในโลกนี่ดูสิยังจะมีอะไรอีกเยอะ แท้ที่จริงเรานั่นแหละทำให้เราทุกข์ กิเลสของเรานั่นแหละที่ทำให้เราทุกข์ ความโง่ของเรานั่นแหละ ความโง่ของกิเลสเรา กับชีวิตเรา ไปหลงให้กิเลสมันครอบครองชีวิตเราแล้วเราก็คิดตามมันแล้วเราก็ทุกข์ตามมันนั่นแหละความโง่ตัวนั้นทำให้เราทุกข์อย่างนี้เป็นต้น
ยังมีความโง่อีกเยอะนะ ยังมีความโง่อีกเยอะ ยังมีเหลี่ยมมุมต่าง ๆ ขนาดชำระกิเลสได้แล้ว ชำระกิเลสบางอันได้ เราหมดแล้วสุขใจชอบใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจ เราชำระกิเลสตัวนี้ได้แล้วมันยังมีอุปกิเลสซ้อนอีกยังโง่ซ้อนอีก ขนาดเราได้ดีแล้วยังมีทุกข์แปลว่า ได้ดีแล้วยังมีทุกข์นี่แปลว่ายังโง่อยู่แปลว่ายังเข้าใจผิดอยู่ขนาดว่าเราได้ตัวพ้นทุกข์แล้วนะมันจะมีอุปกิเลส ๆ ที่อุบัติใหม่ อุปะแปลว่าเกิด เกิดใหม่ซ้อนไปจากตัวเดิมเราพ้นทุกข์ปุ๊ป ก็อยากให้คนที่เรารัก เราห่วงใยได้อันนี้ไปด้วย ถ้าเขาได้เราก็จะสุขใจชอบใจเขาไม่ได้เราจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ อันนี้ก็เข้าใจผิดอีกแล้ว นี่มันจะมีตัวซ้อนเข้าไปอีก
เข้าใจผิดซ้อนเข้าไปอีก เพราะจริง ๆ ได้หรือไม่ได้เราก็สุขสบายใจไร้กังวลได้ ถ้าจริง ๆ แล้วได้หรือไม่ได้ก็สุขใจชอบใจได้หมด แต่ถ้าได้จึงจะเป็นสุข ไม่ได้เป็นทุกข์ ถ้าคนที่เรารัก เราห่วงใยได้จึงจะเป็นสุข ถ้าไม่ได้เราจะเป็นทุกข์ มีความหลอกลวง ซ้อนเข้าไปอีก มันยังซ้อนเข้าไปอีก กี่ชั้น ๆ ทีแรกก็ไม่รู้ ไม่รู้ว่ามีกิเลสซ้อน แก้กิเลสซ้อนได้ดีใจอีก ไปช่วยคน ถ้าเขาแก้กิเลสซ้อนตัวนี้ได้ จะสุขใจชอบใจ ถ้าแก้ไม่ได้ จะทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ เพราะเราแก้ตัวซ้อนได้แล้ว เราก็ไปซ้อนตัวเองอีกที ไปใส่สนุ๊กตัวเองเข้าไปอีกที ถ้าเขารู้กิเลสซ้อน เราจะเป็นสุขใจชอบใจ ถ้าเขาไม่รู้เราจะไม่ชอบใจ
มนุษย์มนาเอ๋ย…มันยังมีอะไรอีกเยอะ ความหลงในชีวิต มันช่างเยอะเหลือเกิน ถ้าจับประเด็นไม่ถูก ไม่ได้พบผู้รู้แท้ มันจะยุ่งกองร้อย มันจะไม่รู้จบไม่รู้สิ้น ใครที่ยังไม่ได้ความสบายใจตลอดเวลาในเรื่องใด ๆ ก็แล้วแต่ นั่นแหละ ถูกหลอกแล้ว ให้รู้ตัวไว้ ถูกกิเลสหลอกแล้ว โง่แล้ว บ้าแล้ว ถูกกิเลสหลอกแล้ว ทุกข์แล้ว เหตุเพราะถูกกิเลสหลอกแล้ว ถูกกิเลสหลอกให้ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำแล้ว นี่แหละ ทุกข์ เพราะ โง่ เพราะ บ้า เพราะทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะถูกกิเลสหลอก มันเหมือนจริงเลยนะ แต่มันไม่จริงหรอก
ที่อาจารย์เล่า ๆ ไปตรวจดูเถอะ ถ้ามีอาการพวกนี้ ถูกกิเลสหลอกทั้งนั้น ถ้าไม่สามารถที่จะสบายใจ ไร้กังวลในเรื่องนั้น ๆ ได้ จริง ๆ ทุกเรื่อง นั่นแหละ เอาทีละเรื่อง เอาทุกเรื่องเดี๋ยวจะแยกไม่ออก เอาเรื่องนั้น ๆ ก็ได้ เอาเรื่องไหนก็แล้วแต่ ถ้ามีความรู้สึกกังวลใจ เรื่องไหนก็แล้วแต่ วิตก กังวล ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ เรื่องไหนก็แล้วแต่ นั่นถูกกิเลสหลอกแล้ว แม้แต่ใจไม่แช่มชื่น ก็ถูกกิเลสหลอกแล้ว มันไม่มี ใจไม่แช่มชื่น มันไม่มี ๆ กำจัดมันไปก็หมด แล้วเขาจะว่าอย่างไร เขาก็เถียงอาจารย์เท่านั้นแหละ ไม่มีอย่างไร…อาจารย์ ที่อาจารย์พูดมา มันเป็นหมดเลย มันไม่มีอย่างไร มันมีหมดเลย ที่ไล่มาทั้งหมด อาจารย์จะว่าไม่มีอย่างไร มันมีหมด
อาจารย์ก็หมดปัญญาจะพูดกับเธอแล้วล่ะ หมดปัญญาจะพูดกับคุณแล้วล่ะ มันก็เหมือนจริง จริง ๆ นั่นแหละ อาจารย์ก็เชื่อว่า คุณรู้สึกว่ามันมี แต่ถ้าคุณรู้ความจริงตามความเป็นจริง จนสลายมันได้ คุณจะรู้สึกว่ามันไม่มี คุณจะเป็นเลยว่ามันไม่มี ชีวิตคุณจะมีแต่ สุขสบายใจไร้กังวลเท่านั้น ไม่รู้ ตกลง มีหรือไม่มีนะ เอาประเด็นไหนล่ะ ประเด็นคนถูกกิเลสหลอก มันก็ ” มี ” มีที่ว่า ๆ มาทั้งหลายนั่นแหละ คนรู้เท่าทันกิเลสได้ สลายกิเลสได้ มีไหม ” ไม่มี ” อาการที่ว่ามาทั้งหมด ไม่มี มันจะรู้ความจริงตามความเป็นจริง กำจัดอวิชชาได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้อง วิราคะ เท่านั้น ต้องวิราคะให้ได้ คลายจากราคะให้ได้ คลายจากสุขใจที่ได้ดั่งใจให้ได้ เห็นให้ได้ว่า สุขใจที่ได้ดั่งใจ มันเป็นสุขที่ไม่มี มันเป็นสุขัลลิกะ สุขลวง สุขหลอก สุขปลอม สุขน้อย สุขชั่วคราว สุขไม่เที่ยง สุขไม่มีจริง ได้สมใจทั้งหลาย
มันไม่มีอย่างไร มันก็สุขอยู่ เขาก็ว่าอย่างนั้นนะ อ้าว! ไหนล่ะที่ว่าสุขแล้ว สุขอยู่ ๆ เอามาให้ดูสิ ตั้งแต่เสพมา เอามาดูสิ ที่เคยสุข ที่ว่าสุขอยู่ ๆ ตั้งแต่เคยสุขมา เก็บมาสักอันสิ มีไหม? ไม่มี ไปไหนหมดแล้ว? ไม่รู้ เรียกมาก็ไม่มา เราเดือดร้อนแค่ไหน ตีฆ้องร้องป่าวก็ไม่มา ระลึกแล้ว ระลึกอีกก็ไม่มา ทำอย่างไรก็ไม่มา มันไม่มีมันสุขแป๊บเดียว แล้วก็หมดไปมันไม่มี แต่กว่าเราจะรู้ชัดว่าไม่มี พอไม่มีเราก็เลิกอยากได้มัน มันถึงจะหมดการอยากได้ หมดทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ หายไปด้วยกันเลย
พอหมดทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็หมดทุกข์กาย หมดเรื่องร้าย ที่สืบเนื่องจากสิ่งนั้นไป แล้วเราก็จะสุข สบายใจ ไร้กังวล สุขที่ไม่มีทุกข์ มันถึงจะเข้าถึงตรงนั้น แล้วจะรู้เห็นความจริงตามความเป็นจริง กลับหัวกันเลยกับที่อาจารย์พูดมาทั้งหมด ไม่รู้กี่เรื่องก็ไม่รู้ ยังไม่ได้จดไว้ ใครจดได้ก็จดไป แล้วไปเช็คดู นั่นจะหายไปหมดเลยไอ้ที่ว่ามาทั้งหมด หายไปทั้งหมดที่ว่า จะรู้ความจริงตามความเป็นจริง
พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า จิต : กายัสสะ คือ จิตที่อาศัยอยู่ในร่างนี่แหละ จิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ ปุถุชนไม่ได้ฟังธรรมะแท้ คนผู้หนาด้วยกิเลส หนาด้วยสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละ หนาด้วยสิ่งนี้ แล้วมันก็หลอกให้เราคิดผิด เข้าใจผิดไปหมด รู้สึกผิด ๆ ไปหมด รู้สึกอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งความจริง มันไม่ได้เป็นไปตามนั้น มันหลอก ให้เราให้น้ำหนัก ผิดฝาผิดตัว ปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ความอยาก อยากได้ดั่งใจหมาย ยึดถือด้วยทิฐิ ความเข้าใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา มันยึดเอาไปหมดเลย ขยันจริง ๆ ขยันยึดจริง ๆ มันช่างขยันยึด ยึดเอาหมด มันจะเอาทั้งจักรวาลเลยนะ เป็นตัวเรา ของเรา อะไรก็จะเอาหมด ที่มันถูกใจ ชอบใจ มันไม่เหนื่อย เคยไหม? นั่นก็อยากได้ นี่ก็อยากได้มาเป็นตัวเราของเรา เคยด้วยเหรอ เป็นอย่างไร? สุขหรือทุกข์ ? ทุกข์ แล้วถอยไหม? ไม่ถอย เหนื่อยไหม? เหนื่อย ทุกข์ไหม? ทุกข์ ถอยไหม? ไม่ถอย
เข้าใจทำนะตอนที่เราไม่รู้ธรรมะแท้ ถอยไหม? ไม่มีถอยหรอก บุกอย่างเดียว ตายเป็นตาย ไม่มีถอย มีแต่เพิ่ม บุกเข้าไป ทั้งเหนื่อย ทั้งทุกข์ แต่ไม่ถอย ถ้าเคยปฏิบัติธรรม หันกลับหัวทำแบบนั้น มาชำระกิเลส คงจะเจริญอย่างรวดเร็วเลย ถ้าคนหันมาชำระกิเลสเหมือนกับหันมาพอกกิเลส มันจะเป็นอย่างไร ชีวิตคนส่วนใหญ่ต่อให้รู้ธรรมะเลย หันมาชำระกิเลส เอาเป็น เอาตาย เหมือนพอกกิเลสไหม ?
ส่วนใหญ่ เทียบ ๆ กันแล้วทำอะไรมากกว่ากัน ระหว่างพอกกิเลสกับชําระกิเลส พอกกิเลสเนาะ มันเป็นอย่างไรไม่รู้เนาะ ทุ่มโถมเอาเป็นเอาตายเลย บางทีก็ไม่หลับไม่นอนเลยนะ เพื่อที่จะพอกกิเลส บางทีตื่นขึ้นมาพอกกิเลสต่ออีกนะ ฟุ้งต่อ อยากได้โน้นอยากได้นี้กลัวโน้นกลัวนี้ นอนไม่หลับเลยนะเพื่อกิเลส เพื่อให้ได้ดั่งใจหมาย แต่เพื่อให้ชีวิตพ้นกิเลสพ้นทุกข์ เป็นอย่างไรส่วนใหญ่เอาเป็นเอาตายไหม ไม่หรอกทำท่าเอาเป็นเอาตายไปสักพักเจ็บพอแล้ว มันเจ็บ
เพราะว่าจะพ้นทุกข์มันต้องแลกด้วยความเจ็บ ไม่ได้เจ็บไหนหรอก เจ็บใจนี่แหละ ทุกข์ใจ มันทุกข์มันลำบาก มันทรมานในใจ ดันไปสักพักหนึ่ง พอก่อน พอก่อน ก็เหมือนคนเขาไปสักยันต์ จะเอารูปมังกรจะเอาทุกส่วนของมังกร เอาทุกอย่างเลย ส่วนประกอบไหนเอาหมด เสร็จแล้วเป็นอย่างไรสักไปสักมามันเจ็บ เจ็บ โอ๊ย!อันนั้นก็ไม่เอาอันนี้ก็ไม่เอา ลดไปเรื่อย ลดไปเรื่อย หางมันนี่เอาออกไปก่อน เอาหางออกไป เอาตัวออกไป เอาหัวออกไป เกล็ดนี่ก็เอาออกไป ทยอยเอาออก เอาออกเหลือแต่หนวดก็ยังเอาออก เอาไปเอามาเหลือแต่หนวด หนวดก็ไม่ไหวมันเจ็บ
เหมือนกับจะมาลดกิเลสนี่แหละ ทีแรกก็จะเอาออกหมดกิเลสจะเอาออกหมด เอาไปเอามามันเจ็บ! มันเจ็บ! ก็ลดไปทีละอย่างทีละอย่าง โอ๊ย!ไม่เอา ๆ อย่าเพิ่งเอาออกเลยอันนี้ เอาไว้ก่อนเอาไว้ก่อนเอาไว้ก่อน เอาไปเอามาแม้แต่หนวดก็ไม่เอา มันเจ็บ! แต่ไปทำตามกิเลสมันเป็นอย่างไร มันเจ็บเมื่อลดกิเลส มันไม่เจ็บกว่าเหรอ ถ้าไม่มีฉันทะ อ้าว!ไม่เคยหรืออย่างไรเวลาจะไปทำให้ได้ดั่งใจน่ะ ไปทำให้ได้สุขที่ได้ดั่งใจน่ะมันรู้สึก มีชีวิตชีวาไหม อย่ามาห้ามซะให้ยาก ใครห้ามเหมือนจะเป็นศัตรูกันเลยนะ อย่ามาห้ามซะให้ยากเลย
มันมีอิทธิบาทจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ผลมันนี่นะ สุขก็แป๊บเดียวที่เหลือมีแต่ทุกข์ ทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายก็เยอะไปหมดเลย ยังกระโดดใส่เพราะอะไร เพราะมันรู้สึกว่าสุขมากทุกข์น้อย ใช่ไหม? มันรู้สึกว่าสุขมากกว่าทุกข์ รู้สึกว่าสุขยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ ตายเป็นตายตัดหัวถวายกิเลสเลย เจ้านายเราพระเจ้าของเรา นายของเราคือกิเลสของเรา กิเลสข้าใครอย่าแตะ เอา ๆ ๆ เอาเข้าไป รักถนอมยิ่งกว่าดวงใจ ไม่มีอะไรถนอมยิ่งกว่าอันนี้อีกละไม่มี ไม่มีอะไรน่าถนอมยิ่งกว่ากิเลสเราในโลกใบนี้ ปกป้องสุดชีวิต ยิ่งกว่าปกป้องสิ่งใดทั้งสิ้นในโลก
คนเราตัดหัวถวายทุ่มทุนสร้าง มีความสุขพอใจ เอาเป็นเอาตายเลยกับการพอกกิเลส สนองกิเลสพอกกิเลส เสร็จแล้วเป็นอย่างไรเวลาจะมาเลิกมันแล้วเป็นอย่างไร เอาเป็นเอาตายไหม? ส่วนใหญ่เอาเป็นเอาตายไหม รอก่อนรอก่อนเดี๋ยวก่อนรอก่อนรอก่อน เอาเป็นแต่ไม่เอาตายเหรอ เอากิเลสเป็นไม่ยอมเอากิเลสตาย มันข้ามได้ยากแสนยาก อาจารย์ก็เข้าใจ ๆ มีความรู้สึกว่าถ้าคนนี่นะ พากเพียรกำจัดกิเลสนี่เหมือนกันกับพากเพียรพอกกิเลสนี่คนเรานี่มันจะเจริญรุ่งเรือง จะพ้นทุกข์อย่างรวดเร็วเลย จะพ้นทุกข์ จะพ้นบ้า พ้นโง่ แล้วก็ได้สุขแท้ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ อย่างรวดเร็วเลย “ปัญญา”ก็จะเพิ่มพูน ๆ ๆ พ้นทุกข์อย่างเร็ว “ปัญญา”เพิ่มพูนอย่างเร็วเลย จะรู้เลยว่าถูกหลอกตั้งเยอะ แต่เอาเถอะเข้าใจอยู่เหมือนกัน มันเจ็บ อย่างไรก็พากเพียรทำทีละส่วนก็แล้วกัน จะไปเอาทั้งหมดเลย
เอ๊ะ! แต่ตอนพอกกิเลสมันเอาหมดเลยนะ มันจะเอาหมดเลยนะพอกกิเลสนี่ เอาหมดทุกอย่างมันไม่ย่อท้อเลย แต่พอจะมาทางเลิกกิเลสนี่ แรก ๆ มันก็คิดจะเอาหมดเหมือนกันนะ เอาเข้าจริง ๆ อันนี้ก็อย่าเพิ่งเลยอันนี้ก็อย่าเพิ่งเลย เอาไปเอามามันเกือบจะไม่เอาแล้ว มันเจ็บ! เข้าใจอยู่เอาไปทีละอันก็แล้วกัน เอาไปทีละอย่างทีละอย่างก็แล้วกัน ไม่อย่างนั้นมันเจ็บมากแล้วมันก็ไม่ประสบความสำเร็จ เอาไปทีละอย่างดีกว่า จบไปทีละอย่างทีละอย่าง มันทำได้จริงที่สุด ถ้าทีละหลายอย่างมันมั่ว ทีละหลายอย่างมันมั่ว เอาไปทีละอย่างดีที่สุด ก้าวหน้าที่สุด
มาต่อ “จิตเป็นต้นนี้อันปุถุชน มิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่านั่นของเรานั่นเป็นเรา” มันยึดจริง ๆ นะเป็นตัวเราของเราจริง ๆ นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้ ยึดเป็นตัวเป็นตนจริง ๆ ทั้ง “ผัสสะนอก” “ผัสสะใน” เหตุการณ์ที่มากระทบรวมทั้งจิตที่รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์นี่นะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ที่มากระทบ รวมทั้งความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ทั้งกายทั้งใจ มันยึดเป็นตัวเราของเราหมด เป็นหนึ่งเดียวเลย จิตกับกายรวมกันเป็น “กายัสสะ” หนึ่งเดียวเลย เป็นตัวตนของเรา ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ที่แท้จริงเป็นคนละส่วนกันหมด แยกกันได้หมดตลอดกาลช้านาน หาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้ฟัง จึงไม่อาจจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดหลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ถ้าไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ จาก “สัตบุรุษ” จาก “ผู้รู้แท้” แล้วไม่มีทางเลย พระพุทธเจ้า ว่าถ้าไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ ไม่อาจจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด นิพพิทา วิราคะไม่ได้ ไปสู่นิพพานไม่ได้
ไปสู่ “นิพพาน” ด้วยการคลายราคะออกไป “วิราคะ” คือคลายราคะ สลายราคะ สุขใจที่ได้ดั่งใจไม่คลายออก ไม่คลายสุขจากที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจไม่คลายออกไป จึงไม่หลุดพ้นเบื่อหน่ายคลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ความรู้สึกในจิตมันหลุดพ้นไม่ได้เลย ในร่างนี้มันพอได้ ร่างเน่าเปื่อยผุพังนี้พอคลายกำหนักได้ ไม่ได้ไปติดไปยึดหรืออะไรที่ผุพัง มันดูไม่ดีละ ก็คลายกำหนัดได้ คลายสลายสุขใจในเรื่องนั้นได้ แต่พอสภาพในจิตนี่มันไม่ได้เลย สภาพในจิตมันคลายยากมากเลย อย่างนี้เป็นต้น
[231] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต 4 โดยความเป็นตนยังชอบกว่า ความหมายก็คือว่า ปุถุชน คนผู้หนาด้วยกิเลสที่ไม่ได้ฟังธรรมะแท้ จะพึงเข้าไปยึดร่างอันนี้ กายัสมิง อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ดิน น้ำ ลม ไฟ โดยความเป็นตนยังชอบกว่า มันก็ยังถูกต้องกว่านะ เพราะว่า มันก็ยังเป็นเนื้อเป็นตัวให้ได้ยึดอยู่ ว่าเป็นตัวเราของเรา ยังถูกต้องกว่า แต่จริง ๆ มันก็ยังไม่ถูกหรอก แต่ว่าเข้าใจได้ง่ายกว่า ว่ายึดตัวตนน่ะ ยึดในสิ่งที่เป็นวัตถุแท่งก้อน เป็นตัวเราของเราก็ยังเข้าใจได้ ว่าไปหลงยึดอันนี้ก็ยังพอเข้าใจได้ ยังถูกต้องกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นตนหาชอบไม่ ไปยึดเอาจิต มโน วิญญาณ ของกิเลสว่าเป็นตัวเราของเราหาถูกต้องไม่ ท่านว่ามันไม่ถูก จะไปยึดเอาจิตของกิเลส เป็นตัวเราของเรา มันไม่ถูกต้องเลย พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น
ถ้าสลายได้นี่จะรู้เลยว่าไม่ใช่ตัวเราของเราสลายเป็นพลังพุทธะได้จะรู้ว่ามันไม่มี มันไม่มี เราสร้างขึ้นมาเอง มันไม่ถูกต้องเลย ถ้าไปยึดเอาจิต มโน วิญญาณของกิเลส คือกายัสสะนั้นแหละ จิต มโน วิญญาณ ของกิเลส คือตัวเราของเรานี่หาชอบไม่ หาถูกต้องไม่ มันไม่ใช่ตัวเราของเรา มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนแท้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าร่างนี้ กายัสมิง ร่างอันเป็นที่ประชุมลงแห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ เพราะว่าบางทีมันยังยึดไปได้ ปรากฏ ๆ อยู่ มันก็จะยึดร่างเป็นตัวเราของเรา ยังถูกต้องกว่า ท่านว่าอย่างนั้น
มันก็ยังยึด มันยังยึดไปได้ถึง 100 ปี ก็มี แต่ว่าตถาคตเรียกกายัสสะนะ อันนี้คนละอย่างเลยนะ ไม่ใช่กายัสมิงนะ กายัสสะ กายัสมิงคือร่าง กายัสสะ คือ จิตที่อาศัยอยู่ในร่างนะ ที่มันไปยึดทั้งร่าง ยึดทั้งสิ่งต่าง ๆ ในมหาจักรวาลเป็นตัวเราของเรา นี่เป็นสมบัติของเรา เป็นตัวเราของเรา สุขทุกข์นี่เป็นตัวเราของเรา ยึดกายัสสะ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูติทั้ง 4 นี้ ว่าจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เห็นไหมจิต มโน วิญญาณ จิตวิญญาณ ที่มันอาศัยอยู่ในนั้นนะ จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ก็คือ เดี๋ยวมันก็เกิด แล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปนะ คือตัวไหนเกิด เดี๋ยวมันก็ดับ สุขใจที่ได้ดั่งใจ เกิดเดี๋ยวก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เดี๋ยวก็ไปอยากอันใหม่ เกิดแล้วก็ดับ อยากอันเก่าซ้ำไปซ้ำมา เดี๋ยวก็เบื่อ เดี๋ยวก็ไปอยากอันใหม่ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ สุขใจที่ได้ดั่งใจนี่นะ มันเกิดแล้วมันก็ดับ เกิดแล้วมันก็ดับ เกิดแล้วมันก็ดับ คนก็ยังไปยึด มันไม่มีตัวตนแท้ ยังไปยืดเป็นตัวเราของเราอย่างนั้น ในกลางคืน และกลางวัน มันเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ วันหนึ่งตั้งไม่รู้กี่ที สุขใจที่ได้ดั่งใจ มันเกิดดับกี่ครั้งละวันหนึ่ง มันคงอยู่ไหม มันคงอยู่ไหม แต่ละวัน แต่ละวัน ได้ดั่งใจคงอยู่ไหม มันไม่ได้คงอยู่เลยใช่ไหม มันรู้สึกว่าแว็บหนึ่งแล้วมันก็หายไป แว็บหนึ่งแล้วมันก็หายไป แว็บหนึ่งแล้วมันก็หายไป แต่ละวันมันสุขแล้วมันก็หายไป หายไปแล้วจะไปยึดเป็นตัวเราของเราอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่มีจริง มันสุขที่ไม่มีนะ จิต มโน วิญญาณ สุขใจ ชอบใจ ได้ดั่งใจสุขใจ ชอบใจ มันเกิดแล้วมันก็ดับ บางทีของที่ได้มามันยังไม่ทันดับเลย ยึดเป็นตัวเราของเรา แต่สุขใจดับไปแล้วนะ บางทีบ้านได้มาสุขใจ ชอบใจดับไปแล้ว บ้านยังไม่ดับ ร่างกายที่แข็งแรงเรา หายโรคแล้ว เราดีใจ บางทีความดีใจหายไปหมดแล้ว แต่ร่างเรายังไม่ดับใช่ไหม อย่างนี้เป็นต้น
ดีใจ สุขใจ มันหายไปหมดแล้ว แต่ร่างมันยังไม่ดับ เห็นไหมมันยังอยู่ หลายอันมันยังไม่ดับไปด้วยซ้ำ ในด้านวัตถุ แต่จิตสุขใจ ชอบใจ ดับไปแล้ว ดับไปแล้ว มันดับไปแล้ว แล้วจะไปยึดเป็นตัวเราของเราได้อย่างไร ถ้ายึดร่างเป็นตัวเราของเรา ยึดวัตถุเป็นตัวเราของเราพระพุทธเจ้ายังว่า ยังพอเข้าใจได้ เพราะมันยังไม่ดับ ก็ยังเป็นตัวเราของเรา ยังพอพูดได้ว่านี่ของเรา ใช่ไหม ยังพอพูดได้ ยังถูกต้องกว่านะ ยังถูกต้องกว่า แต่ไปยึดว่าจิตนี้มันเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ อย่างนี้ เป็นตัวเราของเรา ได้ดั่งใจสุขใจ แล้วก็หายไปอีกแล้ว ได้ดั่งใจสุขใจแล้วก็หายไปอีก แล้ว ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ แป๊บเดียวหายไปอีก แล้วจะไปยึดเป็นตัวเราของเรา (สุขที่ไม่มีนะ) มันถูกต้องไหม? มันไม่ถูกเลย ไม่ถูกเลย ไปยึดเป็นตัวเราของเรา แล้วก็ไปอยากได้อยู่อย่างนั้น อยากได้อยู่อย่างนั้น สร้างทุกข์ใจขึ้นมาเพื่ออะไรเพื่อให้ไปได้ เพื่อกดดันให้ตัวเองไปเอามาให้ได้นะ เพื่อจะได้ลดทุกข์ใจลง จะได้ดีใจแว็บหนึ่ง
แท้ที่จริงมันไม่มีหรอกสุขนั้น ไปตั้งมาหลอกตัวเอง เมื่อทุกข์ใจมันลดลง เมื่อได้ดั่งใจทุกข์ใจมันลดลง มันสบายขึ้น มันดีใจแว็บ หลงว่าเป็นตัวเราของเรา เสร็จแล้วก็พักยกไปสักครู่หนึ่ง สุขสบายไปสักครู่หนึ่ง แล้วก็สักระยะหนึ่งก็หายไปอีกแล้ว ไม่มี ไม่มีตัวเราของเรา วันหนึ่งถ้าสังเกต มันหมดไปไม่รู้ตั้งเท่าไร
นี่แหละตัวเกิด เกิดสุขใจที่ได้ดั่งใจ เกิดความรู้สึกสุขใจที่ได้ดั่งใจ มันเกิดตั้งไม่รู้เท่าไร ใช่ไหม จิตดวงนี้ มันเกิดมาก็เพื่ออันนี้ใช่ไหม เกิดมาเพื่ออันนี้ แล้วมันได้มาเท่าไรแล้วล่ะ ตั้งแต่เด็กมาเลย ได้ความรู้สึกสุขใจที่ได้ดั่งใจ ได้มากี่เรื่องล่ะ จิตดวงนี้ ได้มากี่เรื่องแล้วล่ะ นับไม่ถูกเลยเนาะ เสร็จแล้วเป็นอย่างไร มันยังอยู่ไหม หรือมันดับไปแล้ว ดับไปแล้วเนาะ ที่เสพมาตั้งแต่เด็ก ๆ ดับไปนานหรือยัง นานแล้ว กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มันได้เกิด แล้วมันก็ดับไปแล้ว ตั้งแต่นู้นน่ะ ได้ใหม่ ๆ นี่ มีไหม ได้ใหม่ ๆ นี่ แล้วมันก็สุขใจ แล้วสักพักมันหายไป
มันไม่มีจริงนะ เราจะยึดเป็นตัวเราของเราได้ไหม ไม่ได้ ท่านถึงบอกว่า จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน มันก็เกิดดับ เกิดดับ ของมันอยู่อย่างนั้น ตั้งไม่รู้กี่เรื่อง กี่เรื่อง สุขใจที่ได้ดั่งใจมันเกิดแล้วมันก็ดับ มันเกิดแล้วมันก็ดับ อยู่อย่างนั้น พอไม่ได้ดั่งใจมันทุกข์ฉิบหายเลย นี้ก็ดับเหมือนกันนะ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ มันก็ดับเหมือนกันนะ แต่ดับเร็วหรือช้ากว่าสุข ดับเร็วหรือช้ากว่าสุข ช้ากว่าสุข ทุกข์ใจนี่ดับช้ากว่าสุขใจใช่ไหม สุขใจนี้ไปเร็วกว่า แต่แม้ดับช้า สุดท้ายมันลงเหมือนกันไหม ลงไหม ก็ลงเหมือนกัน แต่ลงช้ากว่าเท่านั้นเอง ลงเหมือนกัน
สุขใจ ทุกข์ใจ มันเกิดแล้วมันก็ดับ เกิดแล้วมันก็ดับ เพียงแต่ว่าสุขใจ ดับแล้วมันไม่กลับมาอีก ส่วนทุกข์ใจเป็นอย่างไร ดับแล้วกลับมาอีกไหม กลับมาอีก แล้วมันโตขึ้นหรือเล็กลง โตขึ้นไปเรื่อย ๆ โตขึ้นไปเรื่อย ๆ โตขึ้นไปเรื่อย ๆ ดูเหมือนอันนี้เป็นอมตะ ถ้าไปยึดว่าทุกข์ใจเป็นตัวเราของเรานี่ อาจารย์ว่าก็ยังพอถูกต้องอยู่ ยังพอเข้าใจได้ ใช่ไหมเพราะว่ามันรู้สึกว่า มันอยู่นานเนาะ มันอยู่นานกว่าหน่อย แล้วก็รู้สึกจะเยอะ ๆ หน่อย หลาย ๆ เรื่องเหมือนกัน ถ้าไปยึดตัวนี้เป็นตัวเราของเรา ก็ยังพอเข้าใจได้ แต่ไปยึดว่าสุขเป็นตัวเราของเรา เข้าใจยากเหลือเกิน เพราะมันดับเร็ว เกิดแล้วมันก็ดับ เกิดแล้วมันก็ดับ อย่างรวดเร็ว เข้าใจยากเลย ถ้าเป็นยึดเป็นตัวเราของเรา แต่มันก็โง่ ไปยึดได้ แล้วก็เอาเป็นเอาตายกับอันนี้แหละ เอาเป็นเอาตายกับอันนี้แหละ
สุขใจที่ได้ดั่งใจ กับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ทั้ง ๆ ที่มันไม่เที่ยง คนมันช่างกระไรนะ ถ้าไปยึดว่าทุกข์ใจไม่ได้ดั่งใจ เป็นตัวเราของเรา ก็ยังว่า มีเหตุมีผล หรือว่ามีข้อมูลมีน้ำหนักที่เยอะกว่าหน่อย เพราะมันอยู่นานกว่า สุขนี่มันอยู่สั้น มันไปยึดเป็นตัวเราของเราได้อย่างไร เสร็จแล้วถ้าไปชัดเลยว่า มันแป๊บเดียวหมด มันไม่มีจริง เลยเลิกอยากได้เป็นอย่างไร ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ หายไปด้วยไหม หายไปด้วยกันเลย หายไปด้วยกันเลย แล้วเราก็จะเห็นสุขใจ ก็ไม่ใช่ตัวเราของเรานะ ทุกข์ใจนี่ก็ไม่ใช่ตัวเราของเรานะ สุขใจที่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ใช่ตัวเราของเรา ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็ไม่ใช่ตัวเราของเรา มันหายไปเลย มันไม่มีเป็นสุขแล้วมันก็ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์นี่ดี ไม่มีทุกข์นี่สุขสบายดี เราก็ยินดีที่ไม่มีทุกข์ มันสลายกลายเป็นไม่มีทุกข์ใด ๆ เลย สลายไปเลย ไม่มีทุกข์ใด ๆ เลย สลายไปสุขสบายใจไร้กังวล ไม่มีทุกข์ใด ๆ เลย เป็นพลังไร้ทุกข์ เป็นพลังใจไร้ทุกข์ ไม่มีความทุกข์ใด ๆ เลย ไม่มีทุกข์นั่นแหละเป็นสุข เราก็ยินดี ก็เป็นสุข ยินดีที่เราไม่มีทุกข์ โทษภัยต่อใครเลย เราถึงได้เห็นว่า สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจนี่ มันไม่มีจริง ไม่มีจริง ถ้าเราสลายมันได้ เราจะรู้เลย
ปัดโธ่เอ๋ย! หลอกเรา ไม่ใช่ตัวเรา ของเราเลย พอสลายมันได้ ถึงจะได้รู้ความจริงตามความเป็นจริงหมดเลยทีนี้ รู้ความจริงตามความเป็นจริงไปหมดเลย ว่าทุกข์หายไปนี้เท่ากับดินทั้งแผ่นดินเมื่อเทียบกับฝุ่นปลายเล็บ ทุกข์กาย เรื่องร้ายที่เหลืออยู่ทุกข์หายไปตั้งเยอะตั้งแยะเลย สุขสบายใจ ไร้กังวล แกล้วกล้า อาจหาญ ร่าเริง เบิกบาน แจ่มใส สุขสบายใจ ไร้กังวล ทุกข์หายไปตั้งเยอะเลย เหลือทุกข์อยู่แต่ร่างกายกับเหตุการณ์นิดเดียว เราก็จะรู้ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีจริง
นั่นข้อที่1 ที่ว่ามันหลอกว่ามี ข้อที่ 2 ที่มันหลอกเรา หลอกว่าเป็นตัวเราของเรา ไปยึดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวเราของเรา นั่นแหละ ไปยึดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตัวเราของเรา วัตถุ ข้าวของ ไปจนถึงร่างกาย ไปจนถึงจิตใจ ปนกันเละ เป็นตัวเราของเราแยกกายแยกจิตไม่ได้ กลายเป็นมันไม่ใช่ตัวเราของเรา จิตก็เป็นส่วนจิต จิตสุขสบายใจไร้กังวล ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกิดดับ มันไม่เกี่ยวกันนี่ สภาพร่างกาย สภาพเหตุการณ์ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่มากระทบ มันแยกกันหมด มันไม่ใช่ตัวเราของเรา ไม่ยึดเป็นตัวเราของเรา
ประเด็นที่ 3 มันไปให้น้ำหนัก มันไปยึด ไปให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ข้างนอก ผัสสะที่มากระทบ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ รวมทั้ง สภาพของร่างกาย มันไปให้น้ำหนักมาก ทำให้มีผลทำให้เราสุขเราทุกข์ มันไม่ได้มีน้ำหนักมากเลย มันแค่ฝุ่นปลายเล็บนี่ บางอันไม่มีน้ำหนักเลย บางอันเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ น้ำหนักมากที่สุด อยู่ที่จิต จิตวิญญาณ เป็นประธานของสิ่งทั้งปวงอยู่ตรงนี้เอง มันอยู่ที่จิตนี่เอง ยิ่งถ้าจิตเป็นกิเลสเดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์แรง พอกำจัดมันได้ เป็นพุทธะ ก็สุขสบายใจ ไร้กังวลอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับข้างนอกเลย ข้างนอกจะกระทบอย่างไรก็ไม่เป็นปัญหา ก็หาวิธี วัตถุข้างนอกก็มีฤทธิ์น้อยที่จะทำให้เรารู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ก็มีฤทธิ์น้อยกว่าจิต จิตมีฤทธิ์เยอะกว่า อย่างนี้เป็นต้น
เราก็จะรู้ว่าถูกหลอก 3 อย่างแล้ว ถูกหลอกอะไรอีก จดทันไหมนั่น หลอกว่าอะไรข้อที่ 4 บอก 3 ข้อ ไล่ไปเรื่อย มันถูกหลอกทั้งหลายตามที่ว่ามานี่
- มันหลอกว่าน่าได้ น่าเป็น น่ามี—มันก็ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี
- ถูกหลอกว่าเที่ยง สุขทุกข์นั้นเที่ยง ตกลงเที่ยงไหม ไม่เที่ยงอีก
- ถูกหลอกว่ามีตัวตน มีตัวตนไหม ไม่มี ถูกหลอกว่ามันเป็นสุข มันเป็นสุข คิดแบบนี้แหละดี ถูกต้อง มันเป็นสุขแล้ว ตกลงเป็นสุขไหม ไม่เลย คิดแบบมันน่ะมีแต่ทุกข์ ใช่ไหม
- ถูกหลอกว่าน่าได้ น่าเป็น น่ามี ก็ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามี ใช่ไหม มันหลอกตั้งไม่รู้กี่อย่าง ๆ
มันหลอก เป็นวิปลาส 4 เราแก้ความหลอกมันได้หมดเลย แก้ได้หมด อย่างนี้เป็นต้น ก็ไปเกี่ยวกันเดี๋ยวอาจารย์ ไล่ไปไม่รู้กี่อย่าง ไปฟังซ้ำเอา ทั้งหมดที่มันหลอก กลับหัวเลยที่มันหลอกทั้งหลาย กลับหัวหมดเลย อย่างนี้เป็นต้น เราก็จะชัดเจน เราก็จะเข้าใจ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้ฟังธรรมะแท้ ๆ ไม่มีอุบายเครื่องออกเลย วันนี้คุยกับพี่น้องตอนเช้า ให้หาวิธี ทำทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ให้เป็นสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ห้ามมาเอากับพุทธแท้ ๆ ห้ามมาเอากับสัตบุรุษ ผู้รู้แท้ ไปหาสิ ห้ามมาเอากับ พระพุทธเจ้าหรือ สาวกแท้ของท่าน ผู้รู้แท้ ให้ไปหาเลย ทีนี้ไปหาเลยความรู้ จะทำได้ไหม —ทำไม่ได้ บอกว่าได้ดั่งใจสุขใจ ชอบใจ ถ้าไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ เปลี่ยนทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเป็นสุขใจ ชอบใจ แค่คิดก็จะเป็นลม มันจะเป็นไปได้อย่างไร ใช่ไหม มันจะเป็นไปได้อย่างไร คิดไม่ออกเลย
อตักกาวจรา —คาดคะเน เดาไม่ได้ เดาผิด 100% เลย วิธีทำจะทำอย่างไร ไปสะกดจิต ดับ ๆ ๆ ๆ พอหมดแรงสะกดเป็นอย่างไร—เหมือนเดิม เหมือนเดิม เอาอย่างไรอีกล่ะ หาที่เล่นที่เที่ยว ไปหาอะไรมาเสพ ให้มันสุขแทนตัวนี้ เป็นอย่างไร พอมันหมดฤทธิ์เป็นอย่างไร เหมือนเดิม พอพวกนั้นหมดฤทธิ์ เหมือนเดิม ยิ่งมีฤทธิ์แรงขึ้น ๆ กดอยู่ไหม ไม่อยู่ ทุกข์เหมือนเดิม ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเหมือนเดิม
มองโลกในแง่ดี พยายามหามองในแง่ดีไปหมด เสร็จแล้วพอทุกข์แรงขึ้นๆ เอาอยู่ไหม เอาไม่อยู่อีก ทุกข์เหมือนเดิมอีก ทุกข์ไม่ได้หายไปไหนเลย ทำอย่างไรอีก ให้มันได้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไปเรียนให้มันจบ ไปเรียน ตรี โท เอก ไปเรียนให้มันจบแต่ละชั้น ๆ มันจะได้แปลงทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้เป็นสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ ได้ไหม ไม่ได้อีกเหมือนเดิม แล้วไปเรียนทำไม ไปเรียนทำไม แปลงทุกข์ให้เป็นสุขก็ไม่ได้ แล้วมันต้องเจอทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจทุกวันต้องเจอไหม ต้องเจอ เยอะไหม -เยอะ ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ ทำไมไม่ไปเรียน วิชาแปลงให้มันเป็นสุขซะ
ไปหาซิจะทำอย่างไร คิดเอง คิดออกไหม ให้ไปหากับผู้คนทั่วไป การศึกษาทั่วไปในโลก คิดออกไหม คิดไม่ออก คนสอนก็ยังทุกข์เหมือนกัน ทุกข์ใจ คนสอนก็ยังทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเลย เยอะแยะไปหมดเลย เห็นไหม อตักกาวจรา พุทธเจ้าบอกว่าเดาไม่ได้หรอก เดาไม่ถูกหรอกว่าจะทำยังไง แต่ใช้ปัญญาที่สูงสุด แล้วเป็นปัญญาที่สูงสุดของชีวิตเลยนะ เดาไม่ถูกเลย เดาไม่มีทางถูกเลย ไม่มีทางเดาถูกเลย อตักกาวจรา เดาไม่ถูกเลย
นิปุณา สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ มีจริง นิปุณา ความสุขระดับนิพพาน นิปุณา เป็นปัญญาที่เป็นบุญ เป็นปัญญาที่เป็นบุญชำระกิเลส สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจแล้วเปลี่ยนเป็นสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ เปลี่ยนได้
บัณฑิตเวทนียา รู้ได้เฉพาะบัณฑิตเท่านั้น ผู้ที่เข้าถึงแล้ว ผู้ที่ทำเป็น ผู้ที่เข้าถึงแล้วเท่านั้น ที่จะได้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ เข้าไปสู่สภาพที่ ได้หรือไม่ได้ ก็สุขใจได้ ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้นี่แหละยากเลย คัมภีรา –ลึกซึ้ง ทุททสา-เห็นตามได้ยาก ทุรนุโพธา-รู้ตามได้ยาก สันตา-สงบ ปณีตา-ประณีต อตักกาวจรา-คาดคะเน เดาไม่ได้ นิปุณา-ละเอียด ละเอียดระดับนี่แหละ สุญตาเลย ระดับสูญเลย
จริง ๆ มันยิ่งกว่าละเอียด ถ้าจะแปลจริง ๆ ยิ่งกว่าละเอียด จะแปลว่าละเอียดมันก็ยังไม่ถูก ละเอียดมันยังเหลือเนื้อ ยังมีตัวมีตนอยู่เลย อันนี้มันไม่มีตัวตนของสุขทุกข์โลกีย์เลย สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเลยมันไม่มีเลย มันเป็นสูญเลย ยิ่งกว่าละเอียดอีก นิปุนา ยิ่งกว่าละเอียด เหนือละเอียด ละเอียดยังเห็นเป็นเนื้อตัว ละเอียดมันยังใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเอาเนื้อละเอียด พอส่องได้ อันนี้ส่องเข้าไปสิ สุญตา สูญ เหนือละเอียด สุขเหนือละเอียดเลย สุขที่ไม่มีทุกข์เหนือความละเอียด ไม่มีทุกข์ ใด ๆ เลย สามารถสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ บัณฑิตเวทนียา รู้ได้เฉพาะบัณฑิตผู้รู้แท้เท่านั้น อย่างนี้เป็นต้น อย่างมากทางโลกจะรู้แค่ไหน ทางโลก มีความรู้ อาจารย์ว่า บางท่านทางโลกไปเสพ ให้ได้ดั่งใจไปเลยจะได้ไม่มีทุกข์ วิธีดับทุกข์ ของเขานะไปเสพให้ได้ดั่งใจไปเลย
วิธีที่ให้ชีวิตไม่มีทุกข์และได้สุขที่ดีเยี่ยมให้ไปเสพ เสพเข้าไป ๆ ตามใจไปเลย ตกลงได้สุขยั่งยืนไหม? ไม่ได้ สุดท้ายก็ทุกข์ยั่งยืน ทุกข์หนัก สุขที่ได้เสพก็ไม่มี มีแต่ทุกข์หนัก ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจเยอะไปหมด ปรุงไปเยอะ ทุกข์ไปเยอะ ทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายกระหน่ำ ทุกข์ใจก็ไม่ได้ดั่งใจ นั่นแหละ ทุกข์ กายก็เสียพลังไปสร้างทุกข์ เสียพลังไปเกร็งตัวบีบตัวเอาทุกข์ออก เสียพลังเลือดลมไหลเวียนไม่ได้ เซลล์ผิดโครงสร้างโครงรูป เป็นโรคได้ทุกโรคแถมไปติดกินตัวที่เป็นพิษเข้าไปอีก หนักเข้าไปอีก เป็นพิษเข้าไปอีก อยากได้มาก ๆ ทำไม่ดีได้ทุกเรื่อง เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม มีแต่เรื่องร้ายไปทั่วเลย ชีวิตบันทึกเป็นวิบากร้าย ดึงเรื่องร้ายมาใส่ตัวเองและผู้อื่น ตลอดกาล
มันก็ได้จมไปเรื่อยในทุกข์ไปเรื่อย แต่มันไปเสพให้ได้ดั่งใจ สุดท้ายจะไม่ได้สุขมีแต่ทุกข์ จมไปเรื่อย ชุดหนึ่งมาสะกดจิตไว้ กำหนดจิตไว้จุดใดจุดหนึ่ง ได้สิ่งหนึ่ง เรื่องใด เรื่องหนึ่ง อย่าไปคิด ๆ สุดท้ายสะกดอยู่ไหม ?ไม่อยู่ พอหมดแรงสะกดก็กลับมาทุกข์เหมือนเดิม กลับมาได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ เหมือนเดิม มันก็แตกตัวขึ้นไป ๆ กลายเป็นทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายต่อตนเอง ผู้อื่น ตลอดกาลเหมือนเดิม เอาไม่อยู่ หรือประเภทบ่ายเบี่ยงก็อธิบายไปแล้ว หาอันโน้น อันนี้มาเสพเพื่อที่จะมากลบ ๆ ๆ
สุดท้ายเวลาทุกข์มากขึ้น ๆ กลบอยู่ไหม? ไม่อยู่ เขาก็หาวิธีทำอย่างไรดี ๆ มองโลกในแง่ดี มองแล้ว มองอีก มองแล้วมองอีก ทุกข์มากเข้า ๆ ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจมากเข้า ก็เอาอยู่ไหม ? ไม่อยู่อีกทำอย่างไรก็ไม่อยู่ ทีนี้ก็พยายามที่จะหาอำนาจวาสนา หาเงิน หาทอง หาอำนาจ วาสนาหาอะไรทุกอย่างได้ดั่งใจหมายบังคับให้มันได้ดั่งใจหมาย สุดท้ายได้ไหม ไม่ได้อีก ต่อให้ได้นั้นมาก็เสพเข้าไป ๆ ไปก็พอกความทุกข์ใจ ไม่ได้ดั่งใจอยู่ดีนั่นแหละ อันเดิมเหลือสุขใจที่ได้ดั่งใจทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เหมือนเดิมใช่ไหม มันพลัดพรากก็ต้องทุกข์ เหมือนเดิมก็ไม่รอดอีก จนชักจะเก่งขึ้นทีนี้ ดีขึ้นเก่งขึ้นวนอยู่อย่างนี้ ชักจะเก่งขึ้นก็จะได้มีปัญญาสามชั้น ชักจะดีขึ้น ๆ จนมีปัญญาสามชั้น ชักจะเข้าทางวิปัสสนามาบ้าง แต่สองอันแรกยังไม่ใช่แต่อันที่สามสูงสุดจึงใช่ เริ่ม ๆ เข้ามา หาปัญญาสูงสุด ทำความดีมากขึ้น ๆ ๆ กุศล ทำให้ได้พบสัตบุรุษได้ฟังสัจธรรม และตัวเองก็มีอัญธาตุด้วย ตัวเองมีอัญธาตุแล้วก็ได้พบสัตบุรุษได้ฟังสัจธรรม โอ้! กุศลขนาดนั้นฟังเข้าใจ อย่างนี้เป็นต้น จึงจะพ้นทุกข์ได้ แต่สองชั้นแรกยังไม่ได้พบหรอก ทำความดีมาก็ชักจะเพิ่มความรู้ขึ้น
วงการสุขภาพทั่วไปหรือความรู้ทั่วไปเริ่มบ้างบางอันเริ่มรู้ว่าด้านรูปธรรม ด้านวัตถุ อะไรเป็นประโยชน์ เป็นโทษจะเริ่มรู้บ้างอะไรเป็นประโยชน์ ของกินอันนี้ เป็นประโยชน์อันนี้เป็นโทษหรือรูปธรรมหยาบ ๆ ทำพฤติกรรมนั้น นี้ อันนี้เป็นประโยชน์นี้เป็นโทษ รูป หยาบ ๆ ยังพอเข้าใจเริ่มพอรู้ ทำอันนี้มันเป็นโทษอันนี้เป็นประโยชน์วัตถุนี้อันนี้เป็นโทษ อันนี้เป็นประโยชน์เริ่มรู้มีปัญญารู้ขึ้น มีความฉลาดรู้ขึ้นมา รู้ขึ้นมา ก็พยายามละตัวที่เป็นโทษพยายามเข้าถึงหรือทำตัวที่เป็นประโยชน์
ทำตัวที่เป็นประโยชน์หรือเข้าถึงตัวที่เป็นประโยชน์ ก็กดข่มเอา เอาสุขใจที่เราได้ละตัวที่เป็นโทษ ได้ สุขใจที่เราเข้าถึงตัวที่เป็นประโยชน์ได้นั่นแหละ มาข่มสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เพราะจริง ๆ แม้มันเป็นโทษก็ยังชอบอยู่ ๆ ถ้าได้ดั่งใจก็สุขใจ ชอบใจอยู่ ไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ใจไม่ชอบใจอยู่ รู้สึกยังคาอยู่ตรงนั้นเหมือนเดิมยังล้างไม่เป็นแต่ก็อาศัยว่าถ้าละตัวที่เป็นโทษได้มันก็จะปลอดภัยก็จะเป็นประโยชน์หรือถึงตัวที่เป็นประโยชน์แท้ก็จะสุข เป็นประโยชน์แต่บางทีตัวที่เราสุขใจชอบใจไอ้ตัวที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์ เราก็ไม่ชอบ มันเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเหตุการณ์เราไม่ชอบ ไม่ชอบแม้มันจะเป็นประโยชน์เราก็ไม่ชอบ ๆ
เราพยายามเอาความสุขที่เข้าถึงตัวนั้นข่มไว้ ๆ โดยที่ไม่ได้ล้างแล้วมันจะได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ หมดไหม ? มันก็ไม่หมดใช่ไหม? เราเอาแค่ประโยชน์ที่เราละโทษได้กล่าวถึงประโยชน์ได้ ความสุขอันนี้มาข่มมันไว้โดยที่ไม่ได้ล้างนี่แหละจิตวิญญาณที่ได้ดั่งใจ สุขใจ ชอบใจไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ มันไม่ได้ล้างกิเลส แต่มันก็ดีขึ้นมาว่า เราพยายามละตัวที่เป็นโทษเข้าถึงตัวที่ไปเป็นประโยชน์เริ่มที่จะมีปัญญามากขึ้นฉลาดมากขึ้น นี่วงการสุขภาพทั่วไปเป็นอย่างนี้
สุดท้ายเป็น อย่างไร ? ตัวที่ตัวเอง ชอบมาก ๆ แต่มันเป็น โทษ สุดท้ายเอาชนะมันได้ไหม? สุดท้ายเราไม่กินไม่ใช้ ไม่ทำมันเลยใช่ไหม? สุดท้ายก็อย่ากระนั้นเลย ไหน ๆ ชีวิตต้องตายอยู่แล้วกินไปเถอะสุดท้ายก็อดไม่ได้ใช่ไหม? มันอยากแม้มันจะเป็นโทษ อยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ รสสุขที่ได้ดั่งใจ นี่คุณเอ๋ย ! มันหวาน หอม หวาน หอม มันอยากได้มันก็สุดท้ายมันก็ไม่ไหวมันก็ต้องไปเสพ
ส่วนอะไรที่มันเป็นประโยชน์แต่ไม่ชอบ เราชัง ๆ อาหารจืด จืด จืด จืด จืด พืชจืดสบายเอาไปเอามาเป็นอย่างไร? พืชก็จริงนะจืด ๆ แต่ไม่สบายใจเลย จืด มันไม่ชอบไม่ชอบรสนี้ ชอบรสจัด ๆ ไม่ชอบ ๆ เป็นอย่างไรสุดท้ายกินลงไหม? กินไม่ลง สุดท้ายมันกลืนไม่ลงคอแม้มันดีแต่มันก็กลืนไม่ลงคอ กิเลสมันโตขึ้น ๆ ความชังตัวนี้มันแรง ชังมากขึ้น ๆ มันล้างไม่เป็น ชังมากขึ้น ๆ เอาอยู่ไหม? เอาไม่อยู่หรอก สุดท้ายก็กินไม่ลงหรือทำสิ่งนั้นไม่ลงไม่มีแรงทำเพราะมันชังอย่างนี้ เป็นต้นหรือไปทำงานกับใครกับใครเขาจะดีอย่างไรก็ไม่ชอบ เราไม่ชอบเขา มีไหมคนดี ๆ ที่คนไม่ชอบ คนดี ๆ ที่มีคนไม่ชอบ เออดี ๆ แต่คนไม่ชอบ ถ้าจะให้คน ๆ นั้นไปทำงานหรือไปช่วยเหลือไปร่วมไม้ร่วมมือ เขาเป็นอย่างไรมันไหวไหม? นานเข้า ๆ ไม่ไหว ดีก็จริง เราไม่ชอบ สุดท้ายก็ไม่ไหวไปทำงานร่วมไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น
เห็นไหมความไม่ชอบที่มันโตขึ้น ๆ ที่มันล้างไม่เป็นมันก็ชัง หรือที่มันเป็นโทษแต่มันชอบ ๆ ชอบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ ถ้าได้ดั่งใจสุขใจ ชอบใจถ้าไม่ได้ทุกข์ใจไม่ชอบใจ ทั้งทุกข์กดดันทั้งสุขกดดัน สุขอยากได้ ทุกข์ก็ไม่อยาก มันต้องได้เท่านั้นทุกข์จึงจะลด สุข ถึงจะเกิดเป็นอย่างไรสุดท้ายไหวไหม? ตอนที่ไม่ไปเสพไหวไหม? ไม่ไหวใช่ไหมสุดท้ายก็ไปเสพดีกว่าโทษก็ลุย ใช่ไหม ? นี่คือการรู้แค่วัตถุ นี้วงการสุขภาพจะรู้อันนี้พอสมควรแต่ก็ยังรู้ไม่หมดหรอก รู้บ้างแต่ก็ยังรู้ไม่ชัด ไม่ครบ แต่ก็ยังพอรู้มาบ้าง ถ้ารู้ชัด ครบ ต้องพุทธะอะไรที่สัมผัสแล้วสบายอันนั้นแหละเป็นประโยชน์ ถ้าไม่สบายเป็นโทษ แต่วิทยาศาสตร์ต้องไปวัดค่าโน้นค่านี้ สารนั้นสารนี้ ค่าโน้น ค่านี้ มายังไม่ถึงเวทนาเท่าไรเอาแต่ไม่เป็นไรดีกว่าไม่มีข้อมูลอะไรเลย นี่ก็อยู่แค่ตรงนี้ ก้าวหน้าขึ้นมาอีก ทีนี้ก้าวหน้าขึ้นมาอีก สูงขึ้นมาอีก ก้าวหน้าขึ้นมาอีกคืออะไร เข้าใจเรื่องกรรมมากขึ้น ใกล้พุทธะเข้ามามากขึ้น เข้าใจเรื่องวิบากกรรมมากขึ้น ว่าทำสิ่งที่ดีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น มันเป็นวิบากดีนะ จะดูดดึงสิ่งดีเข้ามา สร้างผลดีให้กับร่างกายให้กับเหตุการณ์ ก็เลยพลอยทำให้ใจเราเป็นสุขไปด้วย อย่างนี้เป็นต้น
ก็เริ่มรู้ สร้างผลดีอย่างนี้ พลอยทำให้ร่างกายเป็นสุข ถ้าทำสิ่งที่เป็นโทษเป็นภัยต่อผู้อื่นสัตว์อื่น จะเป็นวิบากร้าย ดึงสิ่งร้ายเข้ามา ถ้าเขาเข้ามาต่อร่างกายต่อเหตุการณ์ ก็เลยพลอยให้ใจเป็นทุกข์ไปด้วย แล้วจะเกิดผล ยิ่งรู้มากเข้าไปอีก จะเกิดผลต่อภพนั้นส่วนหนึ่ง ชาติต่อ ๆ ไปอีกส่วนหนึ่ง เริ่มรู้อดีต อดีตชาติก็มี ปัจจุบันชาติก็มี อนาคตก็มี แล้วก็มีกุศลอกุศลออกฤทธิ์ รู้มากขึ้น รู้กุศล อกุศล รู้วิบากดีร้ายมากขึ้นเท่าที่จะรู้ เท่าที่จะรู้ เสร็จแล้วเป็นอย่างไร ก็เลยพยายามละตัวที่เป็นอกุศล ตัวที่เป็นวิบากร้าย พยายามทำตัวเป็นกุศล ตัววิบากดี ก็มีความสุขในการละตัวที่เป็นโทษ มีความสุขในการเข้าถึงธรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์ ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เข้าถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็มีความสุขในการทำอันนี้
ก็เอาความรู้สึกสุขอันนี้ มาข่ม ได้ดั่งใจสุขใจ ชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจ จริง ๆ ตัวเองก็ยังชั่วหลาย ๆ อันเลยนะ พฤติกรรมที่ไม่ดี รู้นะมันเป็นวิบากร้าย แต่มันชอบ ชอบ ชอบ ถ้าได้ทำสุขใจ ชอบใจ ถ้าไม่ได้ทำทุกข์ใจไม่ชอบใจ พอไม่ได้ล้างตัวนี้ เพราะว่ารู้แค่นี้ล้างมันได้ไหม ไม่ได้ พอไม่ได้ล้างตัวนี้เป็นอย่างไร มันก็โตขึ้น โตขึ้น โตขึ้น สุดท้ายทนได้ไหม ทนไม่ได้ก็ต้องไปละเมิด
ส่วนพฤติกรรมที่ดี แต่ตัวเองไม่ชอบ ไม่ชอบทำ แล้วล้างตัวชังไม่ได้เป็นอย่างไร พอความชังตัวนี้โตขึ้น โตขึ้น ทำไหวไหม ไม่ทำแล้ว ทำไม่ได้แล้ว มันไม่ไหว ทำแล้วมันทุกข์ ถ้าไม่ได้ทำจะสุขใจชอบใจ ถ้าได้ทำจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ เป็นอย่างไร ก็เลยเอาไม่ทำดีกว่า ถ้าทำมันทุกข์ใจไม่ชอบใจ ถ้าไม่ได้ทำมันสุขใจชอบใจ พฤติกรรมที่ดีอันนั้น อย่างนี้มันเลยไม่ทำแล้วดี ไปทำชั่วดีกว่า ฉันชอบ อย่างนี้เป็นต้น
สุดท้ายมันก็พ่ายแพ้ เพราะมันล้างไม่เป็น แต่แบบนี้ก็ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรเท่าไร สองอัน อันแรก อันแรกยิ่งหยาบกว่า เพราะวัตถุเฉย ๆ วัตถุหรือพฤติกรรมหยาบ มันก็ตรงไปตรงมาอยู่นะ อันแรก วัตถุหรือพฤติกรรมหยาบ ถ้าละตัวที่เป็นโทษ ทำตัวที่เป็นประโยชน์ มันก็ได้เกิดประโยชน์ใช่ไหม จะได้พ้นโทษ จะได้เกิดประโยชน์ใช่ไหม มันก็พอเข้าใจได้ ใช่ไหม หรืออันที่สอง เข้าใจเรื่องกรรมมากขึ้น ใช่ไหม ก็ละกรรมที่เป็นโทษ ทำกรรมที่เป็นประโยชน์ ก็พอเข้าใจได้ใช่ไหม ก็ตรงไปตรงมาใช่ไหม ไม่ซับซ้อน แต่อันที่สองละเอียดกว่าอันที่หนึ่งนะ ยากกว่าอันที่หนึ่ง อันที่สองนี่ยากกว่า ละเอียดกว่า
อันที่หนึ่งยังไม่ละเอียดเท่าไร แต่ก็เป็นชั้น ๆ ไป อันที่หนึ่งยังเป็นวัตถุหยาบ พฤติกรรมหยาบ อันที่สองนี่ ละเอียดขึ้น ยากขึ้น จะได้อันที่สองก็ไม่ใช่ง่าย ๆ ยาก แต่มันจะไปเมาไปสับสนอยู่ ก็จะไม่ทำชั่วแล้ว ทำแต่ดีแล้ว บางทีวิบากร้ายก็ยังซัดอยู่ ทำไมซัดฉันอยู่ อาจจะงง ๆ เมา ๆ ก็ไหนว่ามันทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีทำไมมันได้ชั่วอยู่ จะงง ๆ เมา ๆ เหมือนกัน หรือแม้ไม่งง ไม่เมา ชัดเจนเลย เวลารู้ว่าร้ายที่ทำมาก่อน มันต้องรับ นี่รู้ด้วยว่าดีนี่ทำมามาก ถ้าไม่ทำดีขนาดนี้ เจอหนักกว่านี้ ก็รู้ชัดเจนเชื่อไหม รู้ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ร้ายรับเท่าไหร่หมดเท่านั้น ดียิ่งออกฤทธิ์ได้มากก็รู้ แต่มันก็ไม่อยากรับร้าย ใช่ไหม แต่มันก็อยากให้มันหมดไปเร็ว ๆ รับร้ายไม่อยากรับ รับแล้วเป็นทุกข์ ถ้าได้รับทุกข์จะไม่ชอบใจ ถ้าไม่ได้รับจะสุขใจ ชอบใจ ใช่ไหม มันได้ล้างตัวนี้ไหม ไม่ได้ล้างตัวนี้ใช่ไหม
แม้เข้าใจอย่างนี้ ก็ยังไม่ได้ล้างตัวนี้เลยใช่ไหม ยังเหลืออยู่เหมือนเดิม ถ้าได้รับดีจะสุขใจชอบใจ ถ้าไม่ได้รับ จะทุกข์ใจไม่ชอบใจ ได้ล้างไหม มันยังคาอยู่เหมือนเดิม เห็นไหม ตกลงมันหายทุกข์ไหม ไม่หาย พอพวกนี้ โตขึ้น โตขึ้น โตขึ้นเป็นอย่างไร สู้ได้ไหม สู้ไม่ได้ต้องไปตามทางกิเลสนี้เลยใช่ไหม สุดท้ายแม้ชั่วก็ทำ เพราะอยากทำ แม้ดีก็ไม่ทำ เพราะว่ามันไม่อยากทำ อยากทำชั่ว ทำชั่วสุขกว่า หรือแม้แต่อยากทำดี ดีทำไม่ได้ เป็นอย่างไรก็ยังทุกข์อยู่ ใช่ไหม
ต่อให้ชอบดีเลยเอา ว่ามันดี ทำไม่ได้ ทุกข์ไหมล่ะ ก็ทุกข์ ก็ยังทุกข์เหมือนเดิมนั่นแหละ ดีที่ทำไม่ได้ใช่ไหม มันพ้นทุกข์ไหมล่ะ มันก็ไม่พ้นทุกข์ ทำได้เป็นสุข ทำไม่ได้เป็นทุกข์ พ้นทุกข์ไหมล่ะ มันก็ไม่พ้นทุกข์ มันยังมีวนอยู่ในทุกข์อยู่ มันไม่ได้ล้างทุกข์ เอาสุขมากลบทุกข์เท่านั้นเอง แต่ว่าเก่งขึ้น ดีขึ้น ละเอียดขึ้น นี่สองชั้นก็ยังไม่ใช่ง่าย ๆ กว่าจะมาถึงสองชั้นนี้เนาะ แต่มันก็เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าถ้าละตัวที่เป็นโทษได้ ทำตัวที่เป็นประโยชน์ได้ มันก็เป็นสุข ถ้ารับตัวที่เป็นโทษ มันก็เป็นทุกข์ ถ้ารับตัวที่เป็นประโยชน์มันก็เป็นสุข มันพอเข้าใจได้ใช่ไหม มันก็ไม่ซับซ้อนเท่าไร
มันยังเหมือนตรรกะตรงไปตรงมาอยู่ เข้าใจไหม เหมือนตรรกะตรงไปตรงมาอยู่ มันไม่ซับซ้อนเท่าไร แต่มันพ้นทุกข์ไหม ไม่พ้นทุกข์ มันก็ยัง จะว่าไปมันก็ง่าย ๆ สองอัน ก็ไม่ยากเท่าไร ไม่ยากเท่าไรแต่บางคนก็ไม่รู้นะ แม้มาสองชั้นนี่ ชั้นหนึ่งชั้นสองก็ยังไม่รู้ ถ้าชั้นหนึ่งชั้นสองไม่รู้ เลิกเลยไม่ต้องไปชั้นสาม ปัญญาสูงสุดเลิกเลย ไม่ต้องไป จะไปชั้นสามอย่างไร ง่าย ๆ ตรงไปตรงมาก็ทำไม่ได้ แล้วมันจะไปชั้นที่สามอย่างไร
ชีวิตมันจะไปชั้นที่สามอย่างไร ชั้นที่สามนี่ยิ่งคิดไม่ออกเลย ชั้นที่สามนี่ ต้องมีปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลส เข้าใจไตรลักษณ์ของกิเลส จนสลายวิปลาส 4 ของกิเลสได้ จนเข้าสู่สภาพสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ แล้วไปสู่สภาพได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ ให้คิดเอาเฉย ๆ เลย ไม่ได้ดั่งใจแล้วให้สุขใจ ให้คิดเอา ให้คิดเอาเลย ได้ไหม คิดตามปุ๊บเป็นอย่างไร ทุกข์ปั๊บ คิดตามปุ๊บ ทุกข์ปั๊บ
ให้สร้างสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจพูดใหม่อีกที ใช่หรืออาจารย์พูดผิดพูดใหม่ได้ พูดผิดพูดใหม่ได้อาจารย์ พูดผิดพูดใหม่ได้ พูดผิดพูดใหม่ได้ พูดผิดรึเปล่า มันจะเป็นไปได้อย่างไร ให้ได้สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ มันก็มีแต่สุขใจที่ได้ดั่งใจเท่านั้นแหละ แล้วไม่ได้ดั่งใจมันเป็นอย่างไร มันก็มีแต่ทุกข์ใจเท่านั้น คิดอย่างไรมันก็คิดได้แค่นี้ ใช่ไหม มันต้องได้ดั่งใจสิ ถึงจะสุขใจชอบใจได้ มันมีเหตุมีผลกว่า ถ้าไม่ได้ดั่งใจเป็นอย่างไรจะทุกข์ใจไม่ชอบใจ คิดอย่างไรมันก็เป็นอยู่แค่นี้ แล้วจะให้ คิดแล้วให้มันสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ คิดหมดแรงเลยนะ แล้วให้ไปทิ้งสุขใจที่ได้ดั่งใจ
โอ๊ย! แค่คิดก็หมดแรงแล้ว นี่ของรักที่สุดในชีวิตนะ ของรักที่สุดในชีวิตนะ แล้วให้ทิ้งล่ะนะ คุณเอ๋ย! แล้วให้ไปทิ้ง มันจะสุขหรือมันจะทุกข์ล่ะ ทุกข์เลยแหละ สุขใจที่ได้ดั่งใจ แล้วให้เราทิ้ง แล้วบอกว่า ทิ้งแล้วจะสุข คิดออกไหม ทิ้งสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทิ้งแล้วจะสุข จะทดลองทิ้งดู เป็นอย่างไร โอ๊ย! คิดแล้วจะเป็นลม สุขตรงไหน แค่คิดก็ทุกข์แล้ว ยังไม่ทันทำเลย ก็ไม่ได้ดั่งใจอยู่ตอนนี้ตั้งหลายอย่าง มันก็ยังไม่ได้สุข มันก็ทุกข์แทบตายแล้วนี่ แล้วให้ไปเอาการไม่ได้ดั่งใจ ให้ยอม อย่าไปเอา ตามใจ ให้ยอมให้ละเสียสุขใจที่ได้ดั่งใจ ให้ไปเอาสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ พอไม่ได้ดั่งใจทีไรสุขหรือทุกข์ ทุกข์ทุกที เข้าใจหรือยัง อตักกาวจรา คาดคะเนเดาไม่ได้เดาไม่ถูก ผิด 100% เลย เดาไม่ถูกว่าจะไปอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ไปไม่เป็นเลย
แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าจะไปได้ ต้องปฏิบัติเป็น ได้ฟังจากผู้รู้ อันนี้ปัญญาสูงสุดของชีวิตแล้ว ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ ดีไหม ดี ให้ทำโดยไม่รู้วิธี ทำได้ไหม ก็ได้ดั่งใจสุขใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจเหมือนเก่านั่นแหละ ทำอย่างไรก็วนอยู่อันเดิมนี่แหละ พระพุทธเจ้าจึงตรัสรู้เรื่องนี้ ยอดเยี่ยม ยิ่งใหญ่ ที่สุดเลย สามารถที่จะดับทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ แปรเป็นสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ จนเกิดสภาพได้ไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้ จึงเป็นองค์ความรู้ที่ยอดเยี่ยม ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
มาติดตามกันต่อว่าเป็นอย่างไรจึงจะทำได้ ทำอย่างไรจึงจะทำได้ ซึ่งถ้าทำได้สุดยอดเลยนะ ได้หรือไม่ได้ดั่งใจเป็นสุขไหม จะไปทุกข์อะไร สุขตลอดเวลาใช่ไหม เป็นอมตะนิรันดร์กาล สิ่งนี้แหละที่ทุกคนอยากได้ นี่แหละมันจะมุดแบบตรรกะไม่ได้แล้ว จะเป็นสภาวะเท่านั้น ปัญญาระดับสภาวะ เท่านั้นไม่ใช่ตรรกะ เป็นปัญญาที่สุดยอดปัญญา เป็นอริยปัญญา มาฟังกันต่อไป
ข้อที่ [232] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด วานรเดี๋ยวกระโดดไปกิ่งนั้น กิ่งนี้ เดี๋ยวกลับมาที่เดิม ไป ๆ วนไปวนมา กระโดดไป กระโดดมา แม้ฉันใด กายัสสะ (จิต ที่อาศัยอยู่ร่าง จิตกิเลส กายัสสะคือกายกิเลส กายกลิ กายัสสะคือกายที่เป็นกายสักกายทิฏฐิ นั่นแหละ) กาย จิตที่อาศัยอยู่ในร่าง จิตที่เป็นกิเลสอาศัยอยู่ในร่างอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้ง 4 นี้ ดิน น้ำ ลม ไฟ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง กายัสสะคือจิตวิญญาณ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ที่อาจารย์อธิบาย สุขใจที่ได้ดั่งใจ เรื่องนั้น เรื่องนี้ เกิดแล้วก็ดับ ๆ มันไม่มีจริง
[233] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า (กายัสสะนั้นแหละจิต) เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี (นี่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อันนี้ที่ว่าปัญญาอันที่ 3 ปฏิจจสมุปบาทคือสิ่งที่อาศัยเกิดขึ้นเป็นลำดับ ๆ) เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (ก็นี่แหละสุขใจที่ได้ดั่งใจมี ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงมี ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล ทุกข์กายเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลจึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด นั่นแหละ เพราะสุขใจที่ได้ดั่งใจเกิด ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจเกิด ทุกข์กายเรื่องร้ายตลอดกาลจึงเกิด)
เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ก็นี่แหละ พอสุขใจที่ได้ดั่งใจดับไป ไม่มีหรือดับไปสิ่งนี้จึงไม่มี ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงไม่มีหรือทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงดับไป ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล ทุกข์กายเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลจึงดับตามไป ถ้าเข้าใจสัจจะอันนี้ก็จะเห็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่อันนี้ เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี สุขใจที่ได้ดั่งใจไม่มี ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งจึงไม่มี ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจดับ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงดับ ย่อให้ฟัง
- เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะความไม่รู้อริยสัจสี่ ไม่รู้จักทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ คือกิเลส ตัณหา ความไม่ได้ดั่งใจคือเหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้จักสภาพดับทุกข์ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจนั่นแหละไม่รู้จักว่าทำอย่างไรไม่รู้จักวิธีดับทุกข์ทำไม่เป็น จึงมีสังขาร มีการปรุงแต่ง สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ปรุงแต่งขึ้นมา จิตสร้างขึ้นมาเอง เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ มีธาตุรู้ มีชีวิตที่รับรู้สภาพสุขใจที่ได้ดั่งใจทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนาม รูป มีธาตุรู้แล้วก็มีนามรูป วิญญาณนี่แหละเป็นนาม รูป คือนาม อาการรูปนอกรูปใน กระทบรูปนอก มีรูปใน มีอาการข้างใน นาม รูปในพระไตรปิฎก เล่มที่ 10 ข้อที่ 60 ท่านตรัสว่าจิตคืออาการของกิเลสนั่นแหละ อาการสุข ทุกข์ในใจก็มีนามมารับรู้อาการสุขทุกข์ในใจ คือจิตวิญญาณนี่แหละ
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ มันคือจิตวิญญาณทั้งหมดนั่นแหละที่มีพลังเชื่อมต่อทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ สัมผัสกับสิ่ง ต่าง ๆ เชื่อมต่อเข้ามาให้จิตได้รับรู้ว่า ชอบใจไม่ชอบใจ สุขใจไม่สุขใจ รับรู้ว่ามีสิ่งนี้ ปรุงเป็นสุขใจชอบใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจ
- เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ มีสิ่งมากระทบข้างนอก รวมถึงข้างใน ข้างนอกก็ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ต่าง ๆ ข้างในคืออาการที่เกิดขึ้นนั่นแหละ สัมผัสใน สุขใจ ชอบใจเป็นสัมผัสใน
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา มีความรู้สึก สุขใจ ชอบใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจ อทุกขมสุข ก็เป็นกลาง ๆ ชั่วคราวไม่สุข ไม่ทุกข์ชั่วคราว อันนี้เป็นเวทนา สุขเวทนา อสุขมทุกขเวทนา ทุกขเวทนา มีผัสสะต่าง ๆ มาสัมผัส ได้จึงเกิดเวทนา กระทบ ก็สุขใจ ชอบใจ เสร็จก็ อทุกขมสุข (ไม่สุขไม่ทุกข์พักยกชั่วคราว) สุขสบาย สงบ สบายชั่วคราว แล้วก็มาทุกข์ใหม่ ทุกขเวทนา
- เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ก็มีความอยาก อยากได้สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อยากได้มา ได้มาก็อยากให้ไม่หมดไป ส่วนทุกขเวทนาก็อยาก ให้มันหมดไป อยากให้มันไม่เข้ามา
- เพราะตัณหา เป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน ก็ฝังไว้ในจิตเลย พอเกิดความรู้สึกนี้ปุ๊บ ปรุงแต่งขึ้นไปก็จะเป็นอุปาทานกบดานไว้ในจิต มีผัสสะมากระทบ จึงออกอาการเพ่นพ่าน ออกมาให้เห็นเป็นตัณหาเป็นเวทนาขึ้นมา อย่างนี้เป็นต้น
- เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ (ชนิดและปริมาณของกิเลส) หยาบ กลาง ละเอียด กามภพ รูปภพ อรูปภพ
- เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ชาติเกิดของสุขใจที่ได้ดั่งใจ ชาติเกิดของกิเลส เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมี ชรา และมรณะ ก็สุขใจที่ได้ดั่งใจมันก็แก่และตายไป อย่างรวดเร็ว ทีนี้พอมันตายไปแล้วทั้งสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ที่ดีใจ พักยก สุขสบายใจไปหมดแล้วตายแล้วมันเสื่อมแล้วมันก็ตายแล้ว มันไม่มีแล้ว ก็จะโสกะอยากได้ เริ่มโสก(โศก)แล้วทีนี้ เอ๊ะ! มันเศร้า ๆ อย่างไรไม่รู้ ชีวิตชักเศร้า ๆ ปริเทวะก็ห่วงหาอาวรณ์ พิรี้พิไรรำพัน ปริแปลว่ารอบ ๆ เทวะ สุขทุกข์นั่นแหละธรรมะสอง เทวะก็สุขทุกข์นั่นแหละ ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ มันก็ดูไปรอบ ๆ ๆ มัน ก็ห่วงหาอาลัยอาวรณ์เริ่มที่จะแสวงหาทำอย่างไรนะจะได้สุข ถ้าไม่ได้มันทุกข์
ทำอย่างไรนะจะได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ อย่างนี้เป็นธรรมะสองที่คู่กันอยู่ ดูไปรอบ ๆ แล้วอาลัยอาวรณ์เริ่มค้นหา เริ่มปรุงแต่งแล้วโสก(โศก)นี้ เริ่มโสก(โศก)นิด ๆ ปริเทวะเริ่มแรงขึ้นแรงขึ้นจนชัดแล้วอยากได้อันโน้นอันนี้ ทุกขะ นี่ก็ทุกข์ ทุกข์มันแรงขึ้นไปอีก แรงสุดแล้วทีนี้กระทบกับผัสสะต่าง ๆ แล้วมันไม่ได้ดั่งใจ มันทุกข์มันอยากได้ดั่งใจแต่ไม่ได้ดั่งใจ มันทุกข์ ๆ มีผัสสะมากระทบทั้งทางกายทางเหตุการณ์แต่มันไม่ได้ดั่งใจ มันก็ทุกข์ ๆ อยู่นั่นแหละ เสือติดจั่นทุกข์ ๆ นานเข้ายังไม่ตอบสนองมันก็เหลือโทมนัสมีแต่ในใจ
บางทีก็ไม่ได้พบผัสสะแล้ว ไม่ได้พบผัสสะนั้นแล้วแต่ว่าใจมันก็ยังทุกข์อยู่ มันก็มีอาการเบาลงแล้วนะนี่ มันเริ่มโค้งลงแล้วฝ่ายโสกะ ปริเทวะเริ่มแรงขึ้นมา โสกะ(ความเศร้าโศก)นี่เล็ก ๆ ปริเทวะ(คร่ำครวญรำพัน)แรงขึ้น ๆ ทุกข์เต็มที่เลยทรมานเต็มที่เลย มีผัสสะมากระทบต่าง ๆ ไม่ได้ดั่งใจแรงนานเข้ามันไม่ได้ตอบสนองมันก็โทมนัส(เสียใจ)มันก็อยู่ในใจนี่แหละ แม้ไม่มีผัสสะมากระทบมันก็ทุกข์อยู่ มันยังไม่ได้ตอบสนองแล้วอุปายาส(ความคับแค้นใจ) แม้มันจะลงไปเหลือน้อยมันลงไปเหลือน้อยมันก็กวนน้อย ๆ มันก็ยังทุกข์อยู่อย่างนี้เป็นต้น
แม้อุปายาสะ(ความคับแค้นใจ) แม้มันจะลงเล็ก ๆ ก็ไม่สดชื่น ทรมานไม่สดชื่นไม่แช่มชื่น มันก็วนไปวนมาอยู่อย่างนี้ ไม่แช่มชื่นเสร็จแล้วเป็นอย่างไร มันก็วนไปกลับมาโสกะอีกกลับมาโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส วนกลับไปกลับมาพันไป พันมาอยู่อย่างนี้ พันไปพันมาโตขึ้นโตขึ้น ๆ โตขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ทุกขะนี่กายไม่ได้ดั่งใจ เหตุการณ์ก็ไม่ได้ดั่งใจ กายก็เจ็บป่วย เหตุการณ์ก็ไม่ได้ดั่งใจ เหตุการณ์ร้ายสำหรับตัวเราไม่ได้ดั่งใจ ๆ ก็เป็นทุกข์บวกเข้าไปหมดเลยทุกขะนี่ บวกเข้าไปหมดเลย เสร็จแล้วมันก็วนมาอยู่อย่างนี้ถ้ายังไม่ได้ตอบสนองมันก็วน ๆ มาอย่างนี้แรงขึ้น ๆ กลับไปกลับมา ถ้าได้ตอบสนองก็ระงับชั่วคราวแล้วก็เอาอีก เข้ามาสู่สภาพนี้อีกโตขึ้นแรงขึ้นแรงขึ้นก็มีแต่ทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายอยู่ในนี้
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ มันก็มีทุกข์มากขึ้นวนเวียน ๆ วนเวียน ๆ ไม่รู้จบไม่รู้แล้ว วนอยู่นี่แหละหนักขึ้น ๆ ถ้าไม่รู้ทางออกมันก็วนอยู่อย่างนี้ชั่วกัปชั่วกัลป์ ทรมานชีวิตไม่รู้ ไม่รู้ทางออกก็วนเวียนอยู่อย่างนี้เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์แล้วก็เอาไปเอามากิเลสโตมากขึ้นก็มีทุกข์ ๆ ทุกข์ ๆ สุขน้อยลงน้อยลง ทุกข์ก็มากขึ้นเอาไปเอามาไม่สุขสักอันเลย วนอยู่อย่างนี้ ชั่วกัปชั่วกัลป์ นี่ปฏิจสมุปบาทสายเกิดทุกข์ วนอยู่อย่างนี้
อนึ่งต่อให้ตอบสนองได้สมใจก็ยังมาวนอยู่เหมือนเดิม แต่โตขึ้นเร็วถ้าตอบสนองกิเลสได้สมใจมันได้สุขสมใจ แว็บ! หนึ่งแล้วหมดไป ละทุกข์ชั่วคราวจากนั้นกิเลสโตขึ้น ๆ นั่นแหละมันทำให้กิเลสโตขึ้น ถ้าได้สมใจโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสและอุปายาสมันจะยิ่งโตเร็ว ๆ หมุนรอบเร็ว แม้ไม่ได้ดั่งใจมันก็โตๆ แต่โตช้าหน่อยเท่านั้นเอง สุดท้ายก็โตขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่กำจัดมัน ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
อนึ่ง ทีนี้สายดับทุกข์แล้วนะทีนี้ เพราะอวิชชาความไม่รู้ ความโง่ ความบ้า เพราะอวิชชาความโง่นั่นแหละความไม่รู้ ดับทีนี้ดับแล้วนะสายอวิชชาดับเพราะอวิชชาดับ ความโง่มันจะดับได้ปัญญามันจะเกิดได้ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือมีวิราคะสำรอกโดยไม่เหลือภาษาบาลีคือวิราคะ จำไว้นะใครอยากมีปัญญา อาจารย์ถึงบอกปัญญาชั้นที่สามที่ค้างไว้เมื่อกี้ มันอยู่ตรงนี้แหละ ก็นี่ชั้นที่สามจะเกิดขึ้นนี่แหละ มันยากมากเลยเป็นปัญญาระดับพระพุทธเจ้าสอนสาวกแท้เข้าใจ ทำได้แล้วมาต่อจำไว้นะ คนจะดับอวิชชามีวิธีเดียวเท่านั้นจะดับความโง่ จะดับความโง่ดับความทุกข์มีวิธีเดียวเท่านั้นคือต้องวิราคะ
เพราะอวิชชาดับความโง่ความไม่รู้ดับ ความโง่ความไม่รู้จะดับได้มีวิธีเดียวเท่านั้น ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ภาษาบาลีคือวิราคะต้องไม่เหลือด้วยนะสำรอกราคะออกไป สำรอก ละ หน่าย คลาย สลาย ๆ ราคะออกไปโดยไม่เหลือ อย่าให้มันเหลือสุขใจที่ได้ดั่งใจ ราคะคือสุขใจที่ได้ดั่งใจต้องสลายมันทิ้งอย่าให้เหลือ ถ้าไม่สลายมันทิ้งไม่มีทางที่จะหมดความโง่ ไม่มีทางจะหมดโง่ ความไม่รู้เพราะพระพุทธเจ้ารู้แล้วว่าเป็นตัวหลอก ๆ ให้หลง ๆ แบบรู้สึกจริง ๆ มันไม่ใช่แค่ด้วยเหตุด้วยผลเข้าใจไหม มันรู้สึกจริง ๆ ได้ดั่งใจสุขใจชอบใจ ไม่ได้ดั่งใจทุกข์ใจไม่ชอบใจ รู้สึกจริง ๆ ใช่ไหมมันหลอกเก่งขนาดนั้น แล้วรู้สึกข้างนอกมีฤทธิ์มาก
ญาติเสียชีวิตทุกข์มาก ญาติฟื้นคืนมาสุขมากเลยใช่ไหมรู้สึกว่า เพราะญาตินี่แหละเราจึงสุขจึงทุกข์มากใช่ไหมแล้วตอนไม่เห็นเป็นอย่างไรไม่รู้ไม่เห็น ไม่รู้ว่าเขาตายทุกข์ไหมก็ไม่เห็นทุกข์อะไรเลย พอไม่รู้ว่าเขาฟื้นสุขไหมก็ไม่เห็นสุขอะไรก็นึกว่าเขาตายใช่ไหมนึกว่าญาติตาย แต่เขาฟื้นแล้วแต่ไม่รู้ สุขไหมก็ไม่ได้สุขอะไรเห็นไหมล่ะ ก็ไม่รับรู้ก็ไม่เห็นไม่เห็นจะมีผลอะไรเลยใช่ไหม ไม่เห็นจะมีผลอะไรต่อเรา แต่พอรู้เป็นอย่างไร เป็นทุกข์เห็นไหมอย่างนี้แล้วยังไปเข้าใจว่า นั่นเกิดจากญาติตายหรือไม่ตายใช่ไหมที่ทำให้เราสุขหรือทุกข์อย่างนี้เป็นต้น
กายเจ็บป่วยไม่เจ็บป่วย เจ็บป่วยก็ทุกข์แรง พอหายป่วยดีใจแรง สุขแรงเลยก็นึกว่าเป็นเพราะร่าง แต่ไม่ได้รู้ว่าแท้ที่จริงก็ไม่ใช่ ขนาดแข็งแรง ๆ ไม่เป็นอะไรเลย เราสบายใจดีก็ไม่เป็นอะไร จริง ๆ เป็นโรคร้ายหมอไม่บอก หมอตรวจเจอแล้ว ไปตรวจหมอบอกเป็นโรคร้ายเป็นอย่างไร ตอนหมอยังไม่บอกก็ยังสบาย ๆ หมอบอกปุ๊บ! เป็นอย่างไร แย่เลยอย่างนี้เป็นต้น ก็ใจแท้ ๆ นี่เป็นทุกข์แล้วยังรู้สึกว่า มันเป็นเพราะร่างกายทำให้เราทุกข์ พอหมอบอกตรวจผิดหายทันทีเลยไม่เป็นโรคอะไรหายเลย ปัดโธ่เอ๊ย! แต่ก็ยังเข้าใจว่าเป็นเพราะร่าง
เห็นไหมกิเลสมันหลอกเก่ง ไปให้น้ำหนักผิดฝาผิดตัวนี่มันหลอกเก่ง พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าคุณจะออกจากความหลอกของมันได้นี่นะ คุณไม่มีวิธีอื่นหรอก ที่มันหลอกตั้งหลายอย่าง ที่อาจารย์ไล่ ๆ ๆ ไปตั้งแต่ต้นแล้วนะ จะออกจากความหลอกลวงของมันความไม่รู้ความโง่ ๆ ให้มันหลอก ให้เราไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริง เราไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริง มันหลอกให้เราเข้าใจผิดไปหมดเลย กิเลสมันหลอกเก่งที่สุดเลยตัวราคะนี่แหละ ตัวสุขใจที่ได้ดั่งใจนี่แหละ หลอกเก่งที่สุดเลยหลอกเก่งที่สุดเลย เป็นหัวหน้าของความหลอกเป็นรากเหง้าของความหลอก เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของความหลอก ไม่ให้เรารู้ความจริงตามความเป็นจริง
ไอ้หัวโจกตัวจริงนี่มันก็คือกิเลส ตัณหา ความอยาก อยากได้อะไร สุขใจที่ได้ดั่งใจ สุขใจที่ได้ดั่งใจ อยากได้อันนี้ มีกิเลสตัณหาความอยากได้ อันนี้แหละเป็นหัวโจก เป็นตัวหลอก สุขัลลิกะ สุขลวง สุขหลอก สุขปลอม สุขใจที่ได้ดั่งใจ สุขัลลิกะ มันเป็นอลิกะ มันลวง มันหลอก มันปลอม มันน้อย มันไม่เที่ยงมันไม่มีจริง อันนี้มันเป็นตัวหลอกให้เราหลง ไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริง แล้วปฏิบัติผิดหมดเลย ทำให้เราประมาณการกระทำอะไรก็ผิดหมด ลงมือทำอะไรก็ผิดหมด หลอกให้เราไปหลงแก้ข้างนอกอยู่อย่างนั้น แท้ที่จริงปัญหามันอยู่ข้างในใจ อย่างนี้เป็นต้น
หลอกว่าเป็นตัวเราของเราทั้งที่มันไม่ใช่ แยกกันได้ แยกกายแยกจิตได้ แต่จะพ้นความหลอกได้ มันต้อง สำรอกโดยไม่เหลือ วิราคะ เอาให้เกลี้ยงเลย ถ้าเหลือราคะอยู่เท่าไหร่ ก็ยังโง่อยู่เท่านั้น ยังเหลือเศษของราคะอยู่ ก็เหลือเศษของความโง่อยู่ ต้องเอาให้เกลี้ยงเลย เพราะอวิชชาดับ ความโง่ดับ ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ วิธีการเดียวเท่านั้น สำรอกโดยไม่เหลือ วิราคะ สำรอกสุขใจที่ได้ดั่งใจออกไป อย่าให้เหลือ วิธีสำรอกเป็นอย่างไร นี่แหละพิจารณาไตรลักษณ์ของมัน ถึงบอกว่าสุขใจที่ได้ดั่งใจนี่ เราได้มากี่ครั้งแล้ว มันก็แป๊บเดียวหมดไป มันไม่มีจริง สุขไม่มี สุขไม่มี
เอาให้ชัด ให้ชัด สุขไม่มี มันจะไปสัมผัสอะไร ๆ สุขที่ได้สัมผัสกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ต่าง ๆ สุขนั้นมันไม่มี มันแป๊บเดียวหมดไป มันไม่มี มันไม่มี มันไม่มี เอาให้มันชัด ๆ สุขนั้นไม่มี มันชัด ๆ เลย เพราะชัดเจนเลย เวลาเราทุกข์เรียกกลับมา มันไม่เคยมาสักอัน ตอนนี้เราอยากจะเอามาสุขอีกให้มันเพลิน ๆ มาไหม ไม่มา จะเอามาสุขให้เพลิน ๆ หน่อย ก็ไม่มา ปัดโธ่เอ๊ย! ให้มาเพลิน ๆ หน่อยก็ไม่ได้ ให้เราสุข ๆ หน่อยก็ไม่ได้ เรียกอย่างไรก็ไม่มา มันไม่มี มันจะมาอย่างไรก็มันไม่มี มันจะมาอย่างไร มันไม่มี นี่ก็ชัด ๆ สุขมันไม่มี
เราทุกข์แทบตาย จะเอามาสลายทุกข์หน่อย มากลบทุกข์หน่อยก็ไม่ได้ ไม่มี แล้วมันเกิดจากอะไร นอกจากไม่มี มันเกิดจากเราสร้างทุกข์ขึ้นมา หลงว่ามันมี เราก็เลยสร้างทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ แล้วพอให้ได้สมใจ สัมผัสกับอะไรได้สมใจ ใจมันลดทุกข์ลงไป พอทุกข์มันลดลงไปไม่ทุกข์ มันก็สุขสบาย มันก็สุข ดีใจ สร้างความดีใจได้สำเร็จ เสร็จแล้วเป็นอย่างไร ดีใจสุขใจอยู่อย่างนั้น มันมีตอนนี้นี่เอง แล้วมันก็หายไป แล้วก็ไปพักยกไปไม่สุขไม่ทุกข์ ได้ก็ไม่สุข ไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ สุขสบายไป ไม่สุขไม่ทุกข์ไป มันจะเป็นอย่างไรช่างมันไป เสร็จแล้วก็หมดฤทธิ์หายไปเลย
ทุกข์ใหม่ วนอยู่อย่างนี้ ทุกข์ก็แรงขึ้น แรงขึ้น ทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายก็แรงขึ้น แล้วก็ชัด มันไม่เที่ยง มันไม่มีจริง อนิจจัง อนัตตา แล้วมันทุกขัง มันเป็นทุกข์ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ตั้งแต่ทุกข์กลัวไม่ได้มา ได้มากลัวหมดไป ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจอยู่อย่างนี้ เป็นทุกข์กาย เรื่องร้ายตลอดกาล ก็พิจารณาไป เราต้องเอาทุกข์นี้มาแลกสุขที่ไม่มี ที่เราทุกข์นี่เพื่อให้ได้สุขที่ไม่มี ต้องเอาทุกข์มาแลกสุขที่ไม่มี เฮ้ย! มันโง่แล้ว มันบ้าแล้ว มันทุกข์แล้ว มันทำในสิ่งที่ไม่ควรทำแล้ว นี่มันเริ่มฉลาดขึ้นมา นี่แหละ ๆ เริ่มฉลาดขึ้นมา เป็นอย่างไร
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ดับสุขใจที่ได้ดั่งใจออกไป เห็นมันไม่มีชัดเจน มีปัญญาเห็น มันก็เลิกอยากได้ เลิกอยากได้สุขที่ไม่มี มันก็ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์กายเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาลก็ไม่มี เราทำเข้าไปจริง ๆ พิจารณา ซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ไปทีละเรื่อง ๆ เอาทีละเรื่อง ที่ละประเด็น พิจารณา ซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ เข้าไป สลายไปเลยทีนี้ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจมันก็ไม่มี สุขก็ไม่มี มันจะมาลีลาไหนมันก็ไม่มี สุขไม่มี ไม่มีในเรื่องนั้น มันไม่มี เมื่อสุขไม่มี ทุกข์มันก็ไม่มี สุขไม่มี ก็ไม่ได้อยากได้สุขที่ไม่มี มันก็ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ แล้วทุกข์มันก็หายไปด้วย แล้วหายไปอย่างไร
หายไปกลับมีพลัง พลังไม่ทุกข์ พลังไม่สุขไม่ทุกข์ สุขไม่เอาก็ได้ ไม่ทุกข์ก็พอแล้ว สุขไม่เอาก็ได้ หรือจะเอา เอาสุขกับทุกข์ไปด้วยกัน เอาไหม ไม่น่าเอา ยิ่งสุขไม่มีเลย ไปอยากได้ไหม ไม่ได้ ไปอยากได้ทำไม สุขไม่มีด้วย ยิ่งไม่เอาใหญ่เลย แล้วทุกข์จะมีไหม ก็ไม่มี ถ้าเราไม่เอา สุขไม่เอาก็ได้ ไม่ทุกข์ก็พอ ชีวิตก็ไม่แคร์แล้ว สุขมันไม่มี จะไปอยากเอาทำไม มันก็ไม่มีทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีทุกข์ใจเรื่องร้ายตลอดกาล พลังงานทุกข์ พลังงานสุข พลังงานทุกข์ เปลี่ยนเป็นพลังงานไม่ทุกข์ พลังงานสุขใจที่ได้ดั่งใจ พลังงานทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เปลี่ยนเป็นพลังงานไม่ทุกข์ เป็นพลังที่ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ก็สบาย สบายก็เป็นสุขไม่ทุกข์ก็สุขสบาย เราก็ยินดี ได้พลังสุขสบายขึ้นมา
นี่แหละสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขใจที่ไม่ได้สุขดั่งใจหมาย ไม่ได้ทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขใจที่ไม่มีภัยใด ๆ เลย นี่แหละสุขใจที่ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีทุกข์ โทษ ภัยใด ๆ เลย ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นประโยชน์ที่สุด ต่อตนเองและผู้อื่น เราก็เห็นชัดเจนเลย เอาอันนี้แหละ ก็เห็นใจที่เป็นสุข กายที่แข็งแรง ร่างกายก็แข็งแรง เรื่องดีก็เพิ่มขึ้น เรื่องร้ายก็ลดลง เพราะว่าเราก็เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามอีก ก็มีแต่เรื่องดี ๆ อย่างนี้เป็นต้น ก็เห็นชัดก็เอาอันนี้ ดีเยี่ยมที่สุดในโลก เราต้องยินดี พอใจ ในสิ่งนี้
นี่แหละปัญญาอันที่ 3 ยากนะ ให้คิดเองคิดออกไหมล่ะ ใครจะไปคิดออกว่าจะต้องทำอย่างไร ใช่ไหม หรือท่านบอกว่า ให้พิจารณาความจริงแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ไตรลักษณ์ของกิเลสแบบนี้ ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตนของสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ มันไม่มีจริง สุขไม่มี มันมีแต่ทุกข์ ต้องสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี สร้างทุกข์ มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น เรื่อย ๆ ด้วย ทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้าย มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น เพื่อไปแลกสุขที่ไม่มี ใครจะคิดออกไหม ว่าต้องพิจารณาแบบนี้ มันถึงจะสลายไป จะคิดออกไหม? จ้างก็คิดไม่ออก ใครจะไปคิดออก ให้คิดเองนะ ไปขุดหาในทะเล ขุดหาในดิน ดำน้ำไปหา ขึ้นเครื่องบินไปหา ไปยานอวกาศ ไปดวงดาว ดาวอังคาร ไปดวงจันทร์ ไปดาวอังคาร ไปดวงอาทิตย์ ไปนู่นไปนี้ เจอไหม เจอความรู้นี้ไหม? ไม่มีทาง จะไปเจอที่ไหน ไปเจอพระพุทธเจ้า เจอสัตบุรุษ หมู่มิตรดีเท่านั้นแหละ ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าให้พิจารณาอย่างนี้แล้วมันจะสลายไป พอสลายไปแล้วจะเกิดสุขอันไพบูลย์ สุขที่ไม่มีทุกข์เลย แล้วเป็นอมตะยั่งยืน เป็นพลังสุขที่ไม่มีภัย เกิดสุข สบายใจไร้กังวล ตัวนี้พระพุทธเจ้ารู้ว่าตัวนี้หัวโจก (ไม่รู้ชี้ถูกใคร อย่างนี้ก็ได้เอาๆ ถูกคนเดียว ไม่รู้ว่าใครก็คนนั้นแหละ นี่แหละหัวโจกชี้ไปจากทีวีก็ถูกหมดแหละ)
ไม่มีภัยก็สุขสบายใจไร้กังวล แล้วทำให้ความลวงทั้งหลายหายไปหมดเลย เข้าถึงสิ่งนี้เสร็จความลวงหายไปหมดเลย สุขทุกข์ที่เป็นตัวเราของเรา สุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เป็นตัวเราของเรา ไม่มีเลย มันหายไปได้ มันไม่มี เมื่อก่อนนึกว่ามันมี สลายไปเลยมันไม่มีเลย มีแต่สุขสบายใจไร้กังวล จะได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขสบายใจไร้กังวล อย่างนี้เป็นต้น
มันดีอย่างนี้นี่เอง ตัวลวงต่าง ๆ นึกว่าข้างนอก ไปยึดสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นตัวเราของเรา อ้าว! มันไม่ใช่ตัวเราของเรา แถมแยกกันได้ แยกกายแยกจิตได้ จิตก็ส่วนจิต กายก็ส่วนกาย เหตุการณ์ก็ส่วนเหตุการณ์จะเกิดดับไป ไม่เห็นจิตต้องไปทุกข์อะไร มีแต่สบายใจไร้กังวล เราก็รู้น้ำหนักด้วย จิตมีน้ำหนักเท่ากับดินทั้งแผ่นดิน ร่างกายเรื่องร้ายเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง มันหายไปตั้งเยอะ เพราะเราดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ใจได้ ทุกข์หายไปเยอะเลย สุขเกิดขึ้นมาแทน เป็นอย่างนี้นี่เอง เหลือแต่ทุกข์กายกับเรื่องร้ายเท่ากับฝุ่นปลายเล็บ มีปัญญาให้เปรียบเทียบ เห็นเลยทุกข์หายไปเยอะเลย ทุกข์เหลืออยู่เท่าไรก็เห็นเลย ทุกข์ที่หายไปจำนวนมากมหาศาล ทุกข์ที่เหลืออยู่นิดเดียว เราเคยไปให้น้ำหนักข้างนอกมาก ผัสสะนอกไม่ใช่น้ำหนักที่มาก น้ำหนักที่มากคือผัสสะใน จิตคือน้ำหนักที่มาก ไม่ใช่สิ่งที่มากระทบคือน้ำหนักที่มาก ที่จะทำให้เราสุขทุกข์ จิตวิญญาณของเราที่คิดผิด คิดถูกต่างหาก คิดผิดมีแต่ทุกข์ สุขทุกข์แบบชั่วคราว คิดผิดจะวนอยู่ในสุขทุกข์ คิดถูกมีแต่สุขอย่างเดียวไม่มีทุกข์ สุขที่ไม่มีทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้เป็นต้น มีแต่สุขอมตะนิรันดร์กาล
ต้องแก้ที่จิตไม่ใช่แก้ที่ด้านนอกเป็นหลัก ด้านนอกแก้เท่าที่แก้ได้ เราก็รู้ด้วย เดี๋ยวก็แก้ได้ เดี๋ยวก็แก้ไม่ได้ตามกุศลอกุศล ร่างกายกับเหตุการณ์ก็เป็นกุศล อกุศล เดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย แก้ได้เท่าไรก็แก้ แก้ไม่ได้ก็ไม่แก้ เพราะมันจะหมดอยู่แล้ว ไปทุกข์อะไร มันมาเท่าไรก็หมดเท่านั้น วิบากร้ายก็แค่หมดไป เราทำดีเรื่อยไปใจเย็นข้ามชาติ ดันมันออกไปเรื่อย รับแล้วก็หมดไป ดันมันออกไปเรื่อย ๆ ก็มีปัญญาที่จะสัมผัสทุกอย่างอย่างเป็นสุข อย่างนี้เป็นต้น ปัญญาเป็นปัญญาไพบูลย์ มาเหลี่ยมนั้นมุมนี้ก็คิดให้เป็นสุขได้หมด คิดให้ดีได้หมด มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็สุขได้หมด ดีได้หมด ชั่วไม่ทำทำแต่ดีที่ทำได้ เกิดอะไรขึ้นก็ดีหมด เอาประโยชน์ได้หมด สุขได้หมด มีปัญญาเหลี่ยมนั้นมุมนี้ ถ้าดับความโง่ได้ปัญญาจะเกิด
ท่านจึงตรัสไว้ใน เทวธาวิตักกสูตร ว่า ถ้าดับกิเลส กาม พยาบาท เบียดเบียน ก็คือนี้แหละ กามสุขัลลิกะ ก็คือสุขใจที่ได้ดั่งใจ กำจัดมันได้ปัญญาเกิดเลย ปัญญาเจริญเลย พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น ทำลายความลวงได้ก็เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง นี่คือสิ่งสุดยอดที่สุดที่มนุษย์ควรได้ควรเป็น ควรมี ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ตรงนี้ ใจก็เป็นสุขที่สุดเลย ไม่มีทุกข์ไม่ต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ ไม่ต้องเสียพลังไปแก้ทุกข์ พลังก็กลับมาเป็นของเรา ร่างกายกลับมาแข็งแรง ชั่วก็ไม่ทำทำแต่ดี เป็นวิบากดีเหนี่ยวนำให้คนอื่นทำตาม เป็นวิบากดีดูดสิ่งดีเข้ามา มีแต่ดีเพิ่มขึ้น ๆ ร้ายลดลง ๆ แต่ละพบแต่ละชาติมันก็มีแต่สิ่งดี ๆ ปัญญาก็จะบรรเจิดไพบูลย์ขึ้นไป ไปทำอะไรก็เก่งไปหมดทีนี้ อยากทำหรือไม่อยากจะทำเท่านั้นเอง อะไรควรทำก็ทำ ไม่ควรทำก็ไม่ทำ แล้วก็จะเก่งที่จะคิดให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เก่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้าเราจะฝึกฝนก็จะเก่งได้อย่างดีเพราะไม่มีอะไรหลอกลวงเราได้ ก็จะรู้ความจริงตามความเป็นจริง ไม่มีอะไรหลอกเราได้อีกต่อไป อย่างนี้เป็นต้น นี่แหละเพราะอวิชชาความไม่รู้ ความโง่ดับ ปัญญาเกิด พิจารณาจากสูตรอื่นของพระพุทธเจ้ามาแถมให้
เพราะสำรอกวิราคะ กำจัดสุขใจที่ได้ดั่งใจได้ สลายสุขใจที่ได้ดั่งใจได้ ก็เลยสลายทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สลายทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลได้ เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ เอาให้เกลี้ยงเลย ทีแรกมันอาจไม่เกลี้ยงก็ทำอีกทำอีก พิจารณาซ้ำจนมันเกลี้ยงในเรื่องนั้น จนไปเรื่องใหม่ต่อ เอาจากเรื่องชั่วก่อน ชั่วมาก ๆ ก่อน ไปชั่วน้อยลงน้อยลงเป็นลำดับลำดับ ไปจนถึงแม้แต่เรื่องดีก็ตาม เรื่องชั่วนั้นสลายได้ตัดไปเลย ส่วนเรื่องดี ทำได้ทำด้วยใจที่เป็นสุข ทำไม่ได้ก็สุขใจให้ได้ เอาประโยชน์ให้ได้ เราก็ผ่องใส
- เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือสังขารจึงดับ การปรุงแต่งสุขใจชอบใจเมื่อได้ดั่งใจ ทุกข์ใจไม่ชอบใจเมื่อไม่ได้ดั่งใจจึงดับ ปรุงแต่งร่างกายให้เป็นทุกข์หรือทุกข์จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ดับไปด้วยหมด นี้แหละสังขารดับ อันดับแรกก็มโนสังขารก็ดับไปด้วยเลย การปรุงแต่งสุขใจเมื่อได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจจึงดับ
- เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ชีวิตของกิเลสก็ดับ ชีวิตวิญญาณธาตุรู้ของกิเลสจึงดับ
- เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ นามรูปก็คืออาการของกิเลสก็ดับ ความอยากไปหมดแล้ว มันไม่มีอาการของกิเลส ไปหมดแล้ว
- เพราะวิญญาณดับสฬายตนะจึงดับ ความเชื่อมต่อของกิเลสก็ดับ กิเลสที่เชื่อมต่ออยู่ข้างนอกก็ดับเพราะมันไม่มีจุดเชื่อมต่อของกิเลส
- เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ ผัสสะนี้คือผัสสะใน ผัสสะนอกอาจจะกระทบชีวิตอยู่แต่ผัสสะในไม่มีแล้ว ผัสสะในคืออาการของกิเลสนั่นแหละ ชีวิตของกิเลส ลีลาของกิเลสดับหมด
- เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เวทนาก็ดับเลย นั่นแหละการสัมผัส ไม่มีผัสสะมาสัมผัสและเวทนาก็หมด ทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาดับหมดเลย แม้มีผัสสะข้างนอกมากระทบอยู่แต่ชีวิตกิเลสมันตายหมดแล้ว
- เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ ตัณหาความอยากจึงดับ หมดความอยากไปหมด อยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ อยากได้มา อยากให้ไม่หมดไป ทุกข์ใจ ไม่ได้ดั่งใจอยากให้มันหมด หมดไปไม่อยากให้มันมา อยากให้มันไม่มานั่นแหละมันดับไปหมดเลยความอยาก
- เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ มันไม่ต้องไปฝังกบดานอยู่ในจิตแล้ว
- เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ กิเลสหยาบ กลาง ละเอียด กามภพ รูปภพ อรูปภพ ชนิดและปริมาณของกิเลสดับหมดไม่เหลือ
- เพราะภพดับชาติจึงดับ ชาติเกิดของสุขใจดับไม่เหลืออีก มันไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจแล้ว เป็นไงมันจะตายไหม? มันจะแก่จะตายไหม?
- เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ มันก็ไม่มีแก่ ไม่มีตายแล้ว ไม่เกิดแล้วสุขใจที่ได้ดั่งใจ มันก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องตาย พอมันไม่แก่ไม่ตายแล้วเป็นอย่างไร มันก็ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจ มันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย
- เพราะมันสูญไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ ความเศร้าโศกที่จะไปได้มัน มันก็ไม่มี มีแต่สุข ปริเทวะก็ไม่ได้ห่วงมัน มันมีแต่ทุกข์จะไปห่วงอะไร สุขมันไม่มี มีแต่ทุกข์ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากมัน ทุกข์ใจ ทุกข์กาย เรื่องร้ายดับหมด จากมันไม่มี โทมนัสทุกข์ใจ แม้มันจะมีอะไรมาสัมผัส แล้วมันจะเป็นทุกข์ใจเพราะไม่ได้มันก็ไม่มี เพราะมันไม่ได้ไม่ได้ต้องไปห่วงอะไรมัน อุปายาส แม้นทุกเล็กทุกน้อยก็ไม่มี หมดเกลี้ยง เรารู้แล้วมันเป็นโทษเป็นภัย เพราะฉะนั้นมันดับหมดเลย เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลย่อมดับด้วยประการฉะนี้
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดับหมดเลย มีแต่สุขสบายใจไร้กังวลแล้วทีนี้ ดับทุกข์ก็มีแต่สุขสบาย ดับความไม่สบายไปได้มันก็สบาย ดับทุกข์มันก็สุข แล้วก็ยินดีพอใจกับสิ่งนี้ ทีแรกก็จะดีใจแรง ๆ นานเข้าก็เมื่อย ๆ ลดลงเป็นยินดีแบบสบาย ๆ เป็นอภิปปโมทยังจิตตัง สบาย ๆ แต่ละเรื่องก็เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แยกกาย แยกจิตได้หมดเลย เปลี่ยนกายของกิเลสก็คือจิตวิญญาณของจิตกิเลส เป็นกายเป็นจิตของพุทธะ จบ แยกกาย แยกจิต แยกทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้หมด มีแต่สุขแท้เท่านั้น
ข้อ [234] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป รูปนอก รูปใน รูปในก็อาการของกิเลส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาความรู้สึกของกิเลส สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาของกิเลส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญาความหมายรู้ของกิเลส ความจำได้หมายรู้ของกิเลสน่าเบื่อหน่าย เป็นกุศลสัญญา กามวิตก กามสัญญา กามพยาบาทเบียดเบียน สัญญาในอกุศล อกุศลสัญญาทั้งหลาย กาม พยาบาทเบียดเบียน สุขใจที่ได้ดั่งใจในเหลี่ยมนั้นมุมนี้ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจในเหลี่ยมนั้นมุมนี้ ความหมายรู้ในพวกนั้นมันก็ไม่เอาแล้ว เอาความหมายรู้ของพุทธะดีกว่า ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร การปรุงแต่งสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ในเรื่องนั้นเรื่องนี้ทั้งหลาย เบื่อหน่ายไปหมดเลย ทำทีละอัน เกลี้ยงไปหมดเลย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ ธาตุรู้ของกิเลส ชีวิตของกิเลส เบื่อหน่าย ๆ มีแต่ทุกข์ ๆ สุขก็ไม่มี ก็มีแต่สุขเท่านั้นเอง ไม่เอาก็ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขแท้เท่านั้นเอง เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด คลายกำหนัดสุขใจที่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็คือคลายกำหนัดวิราคะนั่นแหละ เมื่อคลายกำหนัดวิราคะได้สำเร็จจึงหลุดพ้นทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจทุกข์กายเรื่องร้ายทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล เมื่อหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เกิดปัญญาญาณ ว่าพ้นแล้ว เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้แล้ว สุขแบบไม่มีภัยเลย
ดี ดี ดี สุดยอด ได้ดั่งใจไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้หมดเลย เพราะเราสุขที่ไม่มีภัยได้แล้ว ไม่ว่ากระทบอะไร เพราะไม่ได้อยากได้ดั่งใจ ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจ ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลตลอดกาล สลายพลังงานพวกนั้นเป็นความพ้นทุกข์หมดแล้ว ก็สุขสบายใจไร้กังวล ดีที่สุด ยินดีในสิ่งนี้ย่อมทราบชัดว่า เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว ชัดเลยว่า ชาติกิเลสสิ้นแล้ว ชาติพุทธะเกิดแล้ว ชาติที่สิ้นคือ ชาติกิเลส ชาติสุขใจที่ได้ดั่งใจสิ้นแล้ว ทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลก็จบหมดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ความพ้นทุกข์อยู่จบแล้ว พ้นทุกข์สำเร็จแล้ว พรหมจรรย์ จรรยะ จริยาของพรหม เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จบแล้ว
เมตตาปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่น ปรารถนาให้พ้นทุกข์นี่แหละ กรุณาก็ลงมือทำ โดยเฉพาะต่อตนเองนี่แหละ ลงมือทำต่อตนเองต่อผู้อื่นด้วยก็ได้ให้พ้นทุกข์ มุทิตาก็ยินดีที่ได้ดี ยินดีที่เกิดดี ยินดีที่พ้นทุกข์ได้ เราพ้นทุกข์ คนอื่นพ้นทุกข์ด้วยก็ได้ เท่าที่ทำได้กับคนอื่น แต่เรานั้นทำได้แล้ว อุเบกขาก็ได้ความบริสุทธิ์จากทุกข์สำเร็จแล้ว ปริสุทธา ปริโยธาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา อยู่จบแล้ว ปริสุทธาจิตบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส ปริโยธาตาถูกกระเเทกอย่างไรก็บริสุทธิ์อยู่ ยังสุขสบายใจไร้กังวล มุทุเเววไว พร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนไปสู่จุดที่เป็นประโยชน์ กัมมัญญาจิตควรแก่การงาน ปภัสสรา จิตผ่องใส นี่พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว จิตผ่องใสไร้กังวลแล้ว ไม่มีทุกข์ใด ๆ กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้
ไม่มีกิจอื่นหรอกที่จะทำให้เกิดอันนี้ได้และไม่จำเป็นต้องไปทำกิจอื่น ทำกิจนี้แหละมีประโยชน์ที่สุด ส่วนกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้ ต้องทำแบบนี้เท่านั้นจึงจะได้แบบนี้ นี่คือสาระที่สุดที่จะพาผู้อื่นพ้นทุกข์ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล จบสูตรที่หนึ่ง
จบแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว ความพ้นทุกข์จบแล้ว สูตรที่หนึ่งจบแล้ว แต่ไม่รู้จิตของเราจบหรือยัง จบเป็นเรื่อง ๆ หรือยัง พ้นทุกข์เป็นเรื่อง ๆ ไป ทีละเรื่องทีละเรื่อง ได้สุขแท้ไปเรื่อย ๆ จนได้สมบูรณ์ ในที่สุด
ขอให้พี่น้องประสบความสำเร็จ เป็นกำลังใจให้พากเพียร จนประสบความสำเร็จ ในการพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์ไปเป็นลำดับกันทุกท่าน สาธุ