การศึกษาอัตลักษณ์และการให้ความหมายร่วมทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชนออนไลน์
มหัศจรรย์น้ำปัสสาวะ ยาดีที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
กนกพร โพธิ์พล | รหัสนักศึกษา 6108730083 |
กันต,ณัฏฐา กาญจนะ | รหัสนักศึกษา 6108730133 |
ณัฏฐา ปิยมาตย์ | รหัสนักศึกษา 6108730331 |
ธรรมธนภัทร์ รุ่งเรืองลออกุล | รหัสนักศึกษา 6108730463 |
พีรณัฐ แก้วนวรัตน์ | รหัสนักศึกษา 6108730810 |
ภูริทา แก่นจันทร์ | รหัสนักศึกษา 6108730836 |
ภูษิต ภูมีคำ | รหัสนักศึกษา 6108730844 |
ระวิวรรณ เชิญทอง | รหัสนักศึกษา 6108730885 |
สุทธิกานต์ บำรุงศรี | รหัสนักศึกษา 6108731024 |
รายวิชา ม.418 ชุมชนศึกษา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาการวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอัตลักษณ์และการให้ความหมายร่วมทางวัฒนธรรมภูมิปัญญา ในพื้นที่กลุ่มชุมชนออนไลน์ มหัศจรรย์น้ำปัสสาวะ ยาดีที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ผ่านคำถามหลักของการศึกษา คือ ชุมชนนี้มีอัตลักษณ์และการให้ความหมายในชุมชนเป็นอย่างไร โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ร่วมของผู้คนในชุมชน
2. เพื่อศึกษาการรับรู้และการให้ความหมายเกี่ยวกับชุดวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และแนวทางปฏิบัติร่วมของชุมชน และ
3. เพื่อศึกษากระบวนการต่อรองกับความเชื่อในสังคม และการแพทย์แผนปัจจุบัน ภายใต้แนวคิดอัตลักษณ์ชุมชนถึงกระบวนการประกอบสร้างอัตลักษณ์ และจุดร่วมของผู้คน ทฤษฎีพหุลักษณ์ทางการแพทย์ถึงปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจใช้น้ำปัสสาวะในการรักษาสุขภาพ และแนวคิดเรื่องวาทกรรมถึงการต่อรองกับวาทกรรมภายนอก ถึงการแสดงออกของชุมชนและการให้ความหมายภายใต้วาทกรรมหลักที่ชุมชนยึดถือ โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการเก็บข้อมูลในพื้นที่ชุมชนออนไลน์ ในช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์แบบประชุมกลุ่มย่อย
ผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่ชุมชนถูกผลักให้เป็นชายขอบของสังคมส่วนใหญ่มาจากองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวาทกรรมความสกปรกในการตีตราพฤติกรรมการใช้ปัสสาวะของชุมชน ในขณะที่ชุมชนได้ให้ความหมายต่อปัสสาวะให้เป็นเรื่องของความเชื่อและความศรัทธาแฝงอยู่มากกว่ามองว่าเป็นของเสียไร้ประโยชน์ ซึ่งแสดงออกผ่านการใช้น้ำปัสสาวะที่จำเป็นต้องควบคู่ไปกับการรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งขัดแย้งกับการแพทย์สมัยใหม่ที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ แต่กระนั้นการใช้ปัสสาวะในการรักษาทางการแพทย์นั้นเป็นเพียงหนึ่งทางเลือกที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของสมาชิกในชุมชน และสามารถใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันได้ รวมไปถึงการใช้หลักธรรมทางศาสนาเป็นเครื่องในการต่อรองกับวัฒนธรรมภายนอกในฐานะผู้ไม่รู้ จึงเลือกปล่อยวางและไม่ถือสาต่อกระแสด้านลบเหล่านั้น เพื่อเป็นแสดงออกถึงอัตลักษณ์และการดำรงอยู่ของชุมชน
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร