ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔
นางเอมอร แซ่ลิ้ม
สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบวัดคุณสมบัติ
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๖๖
- ชื่อสารนิพนธ์ : ผลศึกษาวิเคราะห์กระบวนการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔
- ผู้วิจัย : เอมอร แซ่ลิ้ม
- สาขาวิชา : สาธารณสุขศาสตร์ คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษา : พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, ดร., ป.ธ. ๕, พธ.บ. (ศาสนา) M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies)
- วันเสร็จสมบูรณ์ : ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖
บทคัดย่อ
งานสารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักอริยสัจ ๔ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหานำเสนอรายงานแบบพรรณนา
ผลวิจัยพบว่า “หลักอริยสัจ ๔” เป็นหลักแห่งการเห็นกระบวนการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท แสดงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ”เป็นลักษณะเป็นเหตุผลสอดคล้องกันเป็นกฏธรรมชาติที่อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นความจริงอันประเสริฐ ซึ่งยังปุถุชนผู้ปฏิบัติตามมรรค ๘ ให้เป็นอริยะ มี ๔ ประการ ได้แก่
- ๑.ทุกขอริยสัจ คือ อาการไม่สุขสมใจในอารมณ์ต่าง ๆ
- ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ คือความอยากที่ร่วมด้วยความกำหนัดยินดีในอารมณ์นั้น
- ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ คือการละความอยากที่ร่วมด้วยความกำหนัดยินดีในอารมณ์นั้น
- ๔. ทุกขนิโรคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือการปฏิบัติไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างตั้งมั่น เพื่อละความกำหนัดในอารมณ์นั้น
กระบวนการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ คือ การละตัณหาหรือความอยากแบบยึดมั่นถือมั่นอันเป็นเหตุแห่งทุกขอริยสัจ ด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา โดยการตั้งศีล ละเว้นกาย วาจา ใจที่เสพหรือปฏิบัติสิ่งที่เป็นโทษภัยหรือเกินความจำเป็น ลดกิเลสตัวหยาบ กลาง ละเอียด (อธิศีล) ดับทุกข์ด้วยการปฏิบัติอริยสัจ ๔ ด้วยการ ๑. พิจารณาโทษของกิเลส ๒.พิจารณาประโยชน์ของการล้างกิเลสได้ ๓. เข้าใจชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง ๔. พิจารณาไตรลักษณ์ ๕.ฟังธรรม สนทนาธรรม ใคร่ครวญ กำจัดกิเลสด้วยปัญญาแห่งธรรม (อธิปัญญา) จนเกิดความละหน่ายคลายกำหนัด สงบระงับจากกิเลส ลดทุกข์ได้เป็นลำดับ เพียรให้มาก จนจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน (อธิจิต หรือ สมาธิ) จนทุกข์ดับสิ้นเกลี้ยง ทำให้จิตของเราไม่ประมาท มีความเพียร มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม (อธิปัญญา) เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ไปเป็นลำดับ ผลของการดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ ทำให้เกิดความเบาใจ และเข้าถึงธรรม อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นผู้อ่านเวทนา สุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจได้ เป็นผู้ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ มีความเบิกบานยินดี อิ่มใจ สงบ สำราญใจ จิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน มุทุ แววไวต่อกิจการการงาน พร้อมทั้งเกิดผลดีด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาของตนเองและผู้อื่นอย่างยั่งยืน
An Analytical Study of the Process of Cessation of Suffering According to the Four Noble Truths
Emorn Saelim
- Researcher : Mrs. Em-orn Saelim
- Degree : Doctor of Philosophy (Buddhist Studies)
- Thematic Paper Supervisory : Phrakrusiripariyatyanusath, Dr., Pali V, B.A. (Religions), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies)
- Thematic Paper Title : An Analytical Study of the Process of Cessation of Suffering According to the Four Noble Truth
- Date of Completion : July 21, 2023
ABSTRACT
This thesis has two objectives: 1) to study the Four Noble Truths in Theravada Buddhism; 2) to study and analyze the process of cessation of suffering according to the Four Noble Truths. It is a documentary research, collecting, and data by analysis the content analysis presenting a descriptive report.
Research results was found that:
The“Four Noble Truths” are the principles realizing the process of suffering’s origination and its cessation. It is also known as Paticcasamuppada (Inter-dependent origination) having explained the relativity of all things such as “When this is, this is. Because this happens,so this happens. When this does not exist, This does not exist. Because this has ceased, this ceased.” It is characterized by consistency of cause and effect; a natural law that relies on each other. According to the Four Noble truths in Buddhism are four things that ordinary people who practice the Noble Eightfold Path must understand: suffering or unsatisfactoriness, the cause of suffering or origin of suffering, the cessation of suffering or extinction of suffering, and the path leading to the cessation of suffering.
The process of cessation of suffering according to the Four Noble Truths is the renunciation of craving or clinging to the cause of all the noble truths, by adhering to the threefold principle, by establishing precepts, refraining from body, speech, and mind that consumes or performs things that are harmful or unnecessary. Reduction of coarse, medium and subtle defilements (advanced precepts) and cessation of suffering by practicing the Four Noble Truths by
- 1. Considering the consequences of defilement
- 2. Considering the benefits of eliminating defilements
- 3. Clearly understanding kamma clearly
- 4. Contemplating the three characteristics
- 5. Listening to Dhamma talk Dhamma, contemplating, eliminating defilements with the wisdom of Dhamma (advanced wisdom) peace from passion to reduce suffering gradually, to persevere so much that the mind is not distracted (advanced citta or concentration) until the suffering is completely gone. Makes our mind careless, persistent, conscious, fully aware (adhipanya) for greater knowledge. for enlightenment, for Nibbana, in order.
The result of cessation of suffering according to the Four Noble Truths leads to relief and access to Dhamma live happily in the present read the symptoms of happiness in and suffering that arises in the mind ,no worries. Joyous, happy, contented, calm, concentrated, the mind is not distracted, sensitive to work. Along with creating good results in terms of physical, mental, social, and wisdom in solving problems of oneself and others sustainably.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นางเอมอร แซ่ลิ้ม |
วัน เดือน ปี เกิด | ๑๐ มีนาคม ๒๕๑๒ |
ที่อยู่ปัจจุบัน | บ้านเลขที่ 319/8 ซอยจอมสมบูรณ์ ถนนพระราม 4 ตําบลมหาพฤฒาราม อําเภอบางรัก จังหวัดกรุงเทพฯ 10500 |
ประสบการณ์การทำงาน | |
พ.ศ. ๒๕๒๙ | พนักงานบัญชี บ.วิศวสหพันธ์ จก. |
พ.ศ. ๒๕๓๓ | พนักงานบัญชี บ.น้ำตาลราชบุรี จก. |
พ.ศ. ๒๕๓๖ | ผู้ช่วยผู้จัดการบัญชี บ. ทรานสปอร์ต แอนด์เฟรตโฟเวิร์ดดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จก. |
พ.ศ. ๒๕๔๔ | ผู้จัดการฝ่ายบัญชี บ. โกลบอลคอนเทนเนอร์ไลน์ จก. |
พ.ศ. ๒๕๔๕ | เจ้าของธุรกิจเสื้อผ้า |
พ.ศ. ๒๕๕๓ | จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม – ปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร |
พ.ศ. ๒๕๖๖ | นายทะเบียนสมาชิกสาขาพรรคสัมมาธิปไตย จังหวัดอุบลราชธานี |
ผลงานทางวิชาการ | ๑. งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลของการปฏิบัติศีลและการทำผิดศีลในการรับประทานอาหารปรับสมดุลของจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม”,วรสารวิชาการวิชชาราม,ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม): ๑๗-๓๘. ๒. บทความวิชาการเรื่อง “การรับประทานเนื้อสัตว์กับโรคมะเร็ง”, วารสารวิชาการวิชชาราม, ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม): ๕๑=๕๘ |
ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) | อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร อาจารย์ ศูนย์การเรียนสถาบันวิชชาราม วิทยากร แพทย์วิถีธรรม กรมการเลือกแพทย์ทางเลือก กระทรางสาธารณสุข |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. ๒๕๑๖ | มัธยมต้น โรงเรียนกรุงเทพวิทยา |
พ.ศ. ๒๕๒๘ | ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาการบัญชี โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๓๓ | ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาการบัญชี โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย |
พ.ศ. ๒๕๓๖ | ศิลปศาสตรบัญฑิต สาขา การจัดการทั่วไป(คอมพิวเตอร์) วิทยาลัยครูสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. ๒๕๖๑ | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา ผู้ประกอบการสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ วิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. ๒๕๖๒ | ปัญญาตรี หลักสูตรจิตอาสาวิถีธรรมบัณฑิต สถาบันวิชชาราม |