ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรมต่อภาวะสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ในค่ายสุขภาพสวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
ดินแสงธรรม กล้าจน
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พ.ศ. 2561
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
- ชื่อเรื่อง : ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรมต่อภาวะสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้าหนักเกินและโรคอ้วน ในค่ายสุขภาพสวนป่านาบุญ อ้าเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
- ผู้วิจัย : ดินแสงธรรม กล้าจน
- สาขาวิชา : สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา 2560
- อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร. ภัทรพล ทองน้า และอาจารย์ ดร. อรรณพ นับถือตรง.
- จำนวนหน้า: 181 หน้า
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนีเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรม และเพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพ การปฏิบัติตามโปรแกรมสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรม ก่อนและหลังการทดลองของ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีภาวะน้าหนักเกินและโรคอ้วน ในค่ายสุขภาพสวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหารจำนวน 117 คน
จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทุกคนผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับโปรแกรมสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรม 9 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังทดลอง โดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตามโปรแกรม ฯ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเครื่องวัดความดันโลหิต นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired Samples t-test
ผลการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.10 มีอายุเฉลี่ย 51.91±5.97 ปี หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ระดับดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิตตัวบน และความดันโลหิตตัวล่าง ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตามโปรแกรม ฯ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าโปรแกรมสุขภาพตามหลักการแพทย์วิถีธรรม 9 วัน สามารถช่วยให้ผู้เข้าร่วมมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก ระดับดัชนีมวลกาย และระดับความดันโลหิตได้จริง แต่อาจต้องใช้เวลาในการติดตามผลการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพจนกลายเป็นวิถีชีวิตประจำวัน จะมีส่วนช่วยมีภาวะสุขภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน
EFFECTIVENESS OF BUDDHIST MEDICINE HEALTH PROGRAM ON HEALTH STATUS OF OVERWEIGH AND OBESITY PARTICIPANTS AT SUANPANABOON, DONTAN DISTRICT, MUKDAHAN PROVINCE
DINSAENGDHAM KLAJON
MASTER OF SCINCE PROGRAM IN PUBLIC HEALTH,
SURIN RAJABHAT UNIVERSITY. ACADEMIC YEAR 2017
ADVISOR : DR.PATTARAPOL THONGNUM AND DR.UNNOP NAPTHUETRONG.
181 P.
ABSTRACT
The purpose of this pre-test and post-test Quasi-experimental research was to study the effectiveness of Buddhist Medicine Health Program and the effect of practising the principle of Buddhist Medicine Health Program on overweight and obesity participants.
A sample was selected from overweight and obesity participant, in Suanpanaboon Health Camp at Dontan District, Mukdahan. a sample of 117 cases were drawn from the Purposive Samplings technique. Subject was screened according to criteria and received the Buddhist Medicine Health Programme during 9 days.
The data were collected pre and post-test experiment by using behavior measurement according the principle of Buddhist Medicine Health Program, recording personal data, weighing machine, height measuring machine and blood pressure monitor. The data were statistically analysed through Min, Max, Mean, Standard Deviation and Paired Samples t-test by using testing of statistical hypotheses
The Result found that :
most of the experimental groups were 76.10% of females. The mean of age was 51.91 ± 5.971 years, After experimenting in 9 days, the experimental group had statically significance of the mean difference score of weight, body mass index (BMI), systolic and diastolic pressure were lower statistically significant than before experiment at the level 0.05. The better behavior of sample group after experiment was statistically significant at 0.05 The consequences of this study suggested that Buddhist Medicine Health Program has a good impact and assisted participants in the camp to change their BMI and blood pressure level in 9 days. However, it required amount of time to monitor health behaviors and to become a daily lifestyle. Furthermore, it will contribute to have sustainable good health.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | ดินแสงธรรม กล้าจน |
วัน เดือน ปี เกิด | 14 ธันวาคม 2518 |
ที่อยู่ปัจจุบัน | บ้านเลขที่ 114 หมู่ 11 ตาบลดอนตาล อาเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120 |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน | |
พ.ศ. 2540-2543 | • นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ |
พ.ศ. 2544-2552 | • ค้าขายส่วนตัว |
พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน | • จิตอาสาประจาสวนป่านาบุญ 1 มูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย อาเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. 2529 | • จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทรายแก้ว อาเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
พ.ศ. 2535 | • จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
พ.ศ. 2539 | • จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |