ศึกษาวิเคราะห์การตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ แม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
นางสาวเพลินพิศ สังข์บุญลือ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
- ชื่อวิทยานิพนธ์ : ศึกษาวิเคราะห์การตลาดวิถีธรรม ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ แม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- ผู้วิจัย : นางสาวเพลินพิศ สังข์บุญลือ
- ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)
- คณะกรรมการควบคุมสารนิพนธ์ :
- รศ. ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง, พธ.บ. (ศาสนา), ศศ.บ. (ไทยคดีศึกษา) M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Pali and Buddhism)
- ดร.วิโรจน์ วิชัย, ป.ธ. ๓, พธ.บ. (ปรัชญา), พธ.ม. (พระพุทธศาสนา), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
- วันเสร็จสมบูรณ์ : ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ประกอบด้วยสามวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการตลาดในปัจจุบันและหลักคำสอนที่เกี่ยวข้องกับการตลาดในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาตลาดวิถีธรรม หมู่บ้านแม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ๓) เพื่อวิเคราะห์การตลาดวิถีธรรมของชุมชนภูผาฟ้าน้ำแม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดในการตลาดปัจจุบัน หรือตลาดทั่วไป คือมีการแข่งขันสูงทั้งคุณภาพ และราคาเพื่อเป้าหมาย คือการกำไรที่ให้ได้มากที่สุดและได้นำส่วนประสมทางการตลาด 7Ps มาใช้ ส่วนคำสอนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนานั้น ในเรื่องตลาดไม่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมีแต่เพียงหลักคำสอนที่เกี่ยวกับการเรื่อง มิจฉาวณิชชา ๕ ห้ามค้าขายที่มีอันตรายกับเพื่อนมนุษย์ต่อสัตว์คือ หลักสัมมาอาชีวะ สอนให้คนมีคุณธรรมเป็นหลัก มีความซื่อสัตย์ไม่โกง ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันโดยสิ้นเชิงการค้าขาย ซึ่งคิดแต่จะเอาแต่ผลกำไรเท่านั้น
ส่วนการตลาดวิถีธรรม แม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ และชุมชนแม่เลา คือแนวคิดการค้าขายแบบแบ่งปัน ไม่หวังผลกำไรจนเกินไปเน้นเรื่องศีลธรรมเป็นเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมคนดีมีศีล มีความสามัคคีในชุมชนรักถิ่นฐานเพื่อให้เกิดความกินดีอยู่ดีใช้ชีวิตพอเพียงเรียบง่ายพึ่งตนเองได้ เกิดประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของชุมชนจึงเริ่มจัดตลาดวิถีธรรมโดยใช้หลักการค้าบุญนิยม ๔ ระดับมาใช้
เมื่อวิเคราะห์ตลาดวิถีธรรมของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ แม่เลา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นตลาดทางเลือกที่ไม่เน้นเรื่องการทำผลกำไร โดยดำเนินตามหลักการ ดังต่อไปนี้ ผลผลิต: ผลิตเองหรือจากจิตอาสาและเครือข่าย ราคา: ขายราคาถูกภายในค่ายสุขภาพเท่านั้น สถานที่: ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ สนับสนุนการขาย: ขายสินค้าราคาพิเศษภายในชุมชน, บุคคล: จิตอาสาภายในชุมชนที่รักษาศีล ๕ เป็นขั้นต่ำ, กระบวนการ: เน้นการพัฒนาคนให้มีศีลธรรม, ลักษณะทางกายภาพ: ยิ้มแย้ม เรียบง่ายเป็นลักษณะเด่นของทีมงานตลาดวิถีธรรม
Study and Analysis of Buddhist Dhamma Marketing of Phuphafanam Community, Mae Lao, Mae Taeng, Chiang Mai
Miss Plernpit Soungbunlue
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of
the Requirements for the Degree of
Master of Arts
(Buddhist Studies)
Graduate School
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
C.E. 2022
(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)
- Researcher : Miss Plernpit Soungbunlue
- Degree : Master of Arts (Buddhist Studies)
- Thesis Supervisory Committee :
- Assoc. Prof. Dr. Thepprawin Chanraeng, B.A. (Religions), B.A. (Thai Studies), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Pali and Buddhism)
- Dr. Virot Vichai, Pali III, B.A. (Philosophy), M.A. (Buddhist Studies), Ph.D. (Buddhist Studies)
- Thesis Title : Study and Analysis of Buddhist Dhamma Marketing of Phuphafanam Community, Mae Lao, Mae Taeng , Chiang Mai
- Date of Completion : April 26, 2023
ABSTRACT
This dissertation encompasses three primary objectives: 1) to explore contemporary marketing theories and principles in relation to Buddhism; 2) to investigate the Dhamma-based marketing approach in Mae Lao Village, Mae Taeng District, Chiang Mai Province; and 3) to analyze the Dhamma Lifestyle Marketing of the Phu Pha Fah Nam Mae Lao Community, situated in Mae Taeng District, Chiang Mai Province. The methodology employed for this qualitative research includes document analysis, in-depth interviews, and participatory observation.
The findings reveal that prevailing marketing paradigms in the general market are characterized by intense competition concerning quality and price, with the primary goal of maximizing profit, employing the 7Ps marketing mix. In contrast, Buddhist teachings related to the marketplace are not explicitly found in the scriptures; instead, they encompass the Michavanijja 5 doctrine, which forbids harmful trade involving humans and animals, emphasizing the Right Occupational Principles. These principles advocate for virtuous conduct as the central focus, promoting honesty and discouraging deceit, which starkly contrasts with contemporary profit-driven commerce.
The marketing approach in Mae Lao, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, particularly within the Phu Pha Fah Nam and Mae Lao communities, is characterized by a philosophy of communal sharing rather than an excessive pursuit of profit. The emphasis on morality aims to foster a society of ethically-minded individuals who adhere to precepts, demonstrate unity, and cherish their communities to attain a good quality of life marked by simplicity and self-reliance. In order to optimize community benefits, a Dhamma market has been established, guided by the principles of four levels of merit-making.
Upon examining the Dhamma lifestyle market of the Phu Pha Fah Nam, Mae Lao Community, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, it becomes evident that this alternative market does not prioritize profit generation. Instead, it operates based on the following principles: Product – derived from self-production or sourced from volunteers and networks; Price – set affordably, exclusively for health camp participants; Place – situated within the Phu Pha Fah Nam Community; Promotion – offering special prices within the community; People – volunteers from the community adhering to a minimum of the five precepts; Process – highlighting moral development; Physical appearance – exemplifying a modest and cheerful demeanor as the trademark of the lifestyle market team, fostering fairness.
.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นางสาวเพลินพิศ สังข์บุญลือ |
วัน เดือน ปี เกิด | ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ |
ที่อยู่ปัจจุบัน | ๓๑/๑ หมู่ ๕ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ บ้านแม่เลา ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ |
ตำแหน่งหน้าที่การงาน | |
ผู้รับใช้ประสานงาน และจิตอาสาจรประจำภาคกลาง ศูนย์วิชาการการแพทย์วิถีธรรม สวนป่านาบุญ ๙ (จังหวัด สุพรรณบุรี) | |
เจ้าของและผู้จัดการศูนย์นาฬิกา | |
ผู้จัดการประจำเขต บริษัทเอวอน (คอสเมติคส์) ประเทศไทย | |
อาจารย์ประจำอาจารย์ฝ่ายปกครอง วิทยาลัยพานิชยการลพบุรี | |
ผู้จัดการฝ่ายอะไหล่และบริการ บริษัทไทยรุ่งเรือง (ฮีโน่) สระบุรี | |
บริษัทไบโอไพร์ ประเทศไทย จำกัด | |
ผลงานทางวิชาการ | สาระนิพนธ์ เรื่อง การทำตลาดวิถีธรรม |
ประวัติการศึกษา | |
ปี ๒๕๒๕ | ครุศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูเทพสตรี(ปัจจุบัน) มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี |
ปี ๒๕๕๘ | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาผู้ประกอบการทางสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ |