ความเครียดนี่ทำให้ตายง่ายเลย ความเครียดนี่ เครียดหนัก ๆ เข้านี่ตายอย่างรวดเร็วเลย อายุสั้น ทำให้มีโรคมาก อายุสั้น มันเบียดเบียน เบียดเบียนตัวเอง พระพุทธเจ้าตรัส จะทำให้มีโรคมากอายุสั้น เหตุจากทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจ กลัวไม่ได้ดั่งใจ กลัวทุกข์ กลัวทุกข์จะไม่หมดไป หมดไปกลัวจะเข้ามา กลัวสุขจะไม่เกิดเลย เกิดก็กลัวจะหมดไป มีแต่ความกลัว กังวล หวั่นไหว ทั้งหมดคือกลัวจะไม่ได้ดั่งใจ ทำความสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจไม่เป็น คนเราทำไมมันต้องทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจด้วย ทำไมต้องไปฝึกด้วยวิชานี้ ทำไมต้องไปฝึกทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจด้วย เป็นอัตโนมัติ
ทุกอย่างเกิดจากการฝึก พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น ฝึกจนเป็นเองอัตโนมัติ ฝึกจนเก่งขนาดนั้นเลย หลับตาทำก็ถูก ลืมตาทำก็ถูก หันซ้าย หันขวา ตีลังกา ยืน เดิน นั่ง นอน ถูกหมดเลย ทำถูกหมดเลย คือเครียดได้หมด อัตโนมัติ เมื่อไม่ได้ดั่งใจนี่ ฝึกจนเก่งขนาดนั้นเลยนะ จนเป็นอัตโนมัติ ต่อไปนะ ฝึกสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้เป็นอัตโนมัตินะ ฝึกอันใหม่ ฝึกอันใหม่ นี่แหละ เป็นปัญญาสูงสุด เป็นประโยชน์สูงสุด เป็นประโยชน์สุขสูงสุด เป็นปัญญาสูงสุดของชีวิตเลย สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ดีที่สุดในโลกเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีคนทำให้เราไม่ได้ดั่งใจ ต้องขอบคุณเขาอย่างยิ่งเลยนะ ส่วนใหญ่จะขอบคุณเขา หรือชังเขาล่ะ ชังเขา โทษเขา ว่าทำให้เราไม่ได้ดั่งใจ
มันโตขึ้นไปเรื่อย ๆ นะพวกนี้ แตกตัวไปเรื่อยเลย โตไปเรื่อย ๆ เป็นอย่างไร ทุกข์แรงไหม แรง แย่เลย แย่ คนเราทำไมต้องไปโทษคนอื่น ทำไมต้องไปโทษคนอื่น ทำไมต้องไปชังคนอื่น มันจะหายทุกข์หรืออย่างไร โทษคนอื่นชังคนอื่น มันจะหายทุกข์หรืออย่างไร หายทุกข์หรือเพิ่มทุกข์ มันก็เพิ่มทุกข์ซิ เราเหนื่อยไหมล่ะ ที่จะไปแก้คนอื่น เหนื่อยไหม เหนื่อย ทำได้ตลอดไหม ไม่เลย ได้บ้างไม่ได้บ้าง นานเข้า นานเข้าก็จะไม่ได้หลายบ้าง แต่ก่อนได้บ้างไม่ได้บ้าง สูสี สูสี นานเข้า นานเข้าเป็นอย่างไร ไม่ได้หลายบ้างเลย เอาไปเอามาไม่ได้เลย ทำไมเราถึงไปอยากทำไอ้ที่มันทำไม่ได้ล่ะ มันโง่ ไม่ฉลาดเลยชีวิต ไม่ฉลาดเลย ความทุกข์ใจ มันอยู่ที่ใคร อยู่ที่เรา เพราะใจของใคร ใจเราเอง แล้วใครสร้าง ก็เราสร้างเอง แล้วให้ใครมาช่วยแก้ มันต้องแก้เอง จะไปให้คนอื่นแก้อย่างไร ถ้าเราแก้ได้ เราก็ไม่ต้องไปลำบากอะไรเลย แก้ได้ก็สบาย
เหตุการณ์ข้างนอกมันมีทั้งแก้ได้ แก้ไม่ได้ แต่ทุกข์ในใจแก้ได้ตลอด ถ้าทำเป็น ถ้ามีปัญญา แต่ถ้าไม่มีปัญญาก็ทุกข์ได้ตลอด เป็นอัตโนมัติ ทุกข์ได้ตลอดเป็นอัตโนมัติ ฝึก ๆ เดี๋ยวเราก็จะได้เรียน ได้ฝึกกัน ฝึกสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ จริง ๆ มันก็ไม่ได้ยากอะไร สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจมันจะไปยากอะไร วิธีแก้แบบโลก ๆ ก่อน แก้แบบไม่จบก่อนดีกว่า หรือเอาแก้แบบจบก่อน เอาแก้แบบจบก่อนก็ได้ มันก็ไม่ยากหรอก เราทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจแปลว่าอะไร แปลว่าเรามีบางอย่างที่เราอยากได้ดั่งใจใช่ไหม แค่นั้นแหละอยากได้ดั่งใจ แล้วพระพุทธเจ้าตรัสว่า อยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ นั่นแหละ ก็เป็นทุกข์ใจอยากได้ มันไม่ได้ก็ทุกข์ใจ จะไปยากอะไรล่ะวิธีแก้ท่านบอกดับทุกข์ดับที่เหตุ
เหตุมันคืออยาก วิธีแก้ แก้ที่เหตุคือเลิกอยาก เลิกอยากก็เลิกทุกข์ เลิกทุกข์ก็สุขทันที ชีวิตจะไปยากอะไร เลิกอยาก เลิกอยากมี 2 แบบ แบบหนึ่งแบบกดข่ม แบบหนึ่งแบบใช้ปัญญา สลายเลย แบบกดข่ม ก็ข่มเอา ใจข่ม ๆ เอา อย่าไปอยาก อย่าไปอยาก อย่าไปอยาก หรือหาสิ่งอื่นมาข่ม หรือเอาจิตไปกำหนดไว้จุดใดจุดหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือไปทำอะไรให้มันได้ความสุข แล้วเอาความสุขนั้นมาข่ม ให้เอาความลืมมาข่ม ๆ ไป ไปทำอย่างอื่น อะไรก็ได้ ให้มันเป็นสุขแล้วก็ข่ม ๆ ทุกข์นี้ไว้ ข่มความอยากไว้ อย่างนี้เป็นต้น
หรือทำอย่างไรอีกล่ะ เอาจิตข่ม ๆ ไปเลย อย่าอยาก อย่าอยาก ข่มเหมือนกัน หรือง่ายสุดเหมือนกันอีกอย่าง เขาทำกันประจำเลยนะ ไปทำให้มันได้สมใจเลย หายอยากเลย เอาจริง ๆ ได้สมใจปุ๊บนี่หายอยาก เต็มที่แล้ว พอใจแล้ว อยากต่อไหม ถ้าพอใจแล้ว ระหว่างพอใจน่ะ อิ่มเต็มพอแล้ว พอใจแล้ว ไม่อยากได้อีกแล้ว มีไหม มีเหมือนกันนะ ถ้าเราทำให้ได้สมใจ หายอยากเหมือนกันนะ หายอยากเร็วด้วยนะ ได้สมใจแล้วจะอยากต่อไหม ไม่ ตอนที่ได้สมใจ ได้สมใจแล้วจะรู้สึกสุข สบายใจ ที่ได้สมใจ จนมันพอใจ ได้หรือไม่ได้ ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ ได้ไม่ได้ก็ไม่มีทุกข์อะไร ไม่สุขไม่ทุกข์อะไร พอใจเป็นอย่างนี้ จะอยากไหม ไม่อยากเนาะ
เห็นไหม หายอยากเร็วเหมือนกันนะ แบบโลก ๆ เขา ง่ายดีเหมือนกัน แต่มันอยู่นานไหม ไม่นานหรอก เดี๋ยวมันเป็นอย่างไร หมด ความอิ่มเต็มพอนี่ หมด หิวอีกแล้ว หิวโหยอีกแล้ว อยากได้อีกแล้ว ทุกข์อีกแล้ว แล้วทุกข์เพิ่มขึ้นไหม เพิ่มขึ้น ไปเรื่อย ๆ ด้วย เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วย เพราะว่านั่นเป็นชีวิตของกิเลส ที่มันโตขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นสัจจะของเขาอย่างนี้ ก็ทุกข์แรงขึ้น ๆ เพราะฉะนั้นการแก้แบบที่ว่า ๆ มานี่ กิเลสโตขึ้นทั้งนั้นแหละ มันไม่ได้แก้อะไร มีแต่โตขึ้น โตขึ้น ไปเรื่อย ๆ ทุกข์แรงขึ้น ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจก็แรงขึ้น แรงขึ้น ไปเรื่อย ๆ นี่เป็นแก้ชั่วคราว
ส่วนการแก้ที่ยั่งยืนเป็นอย่างไร พิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลสเลย การแก้ยั่งยืนนี่เป็นการแก้ด้วยปัญญาสูงสุดของพุทธะ ปัญญาสูงสุดของพุทธะนี่แก้มันยั่งยืนเลย เอาเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลย เรามีปัญญารู้ พิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลสเลย เรามีปัญญารู้ว่าชีวิตจะสุขได้ จะหมดอยากได้ หมดอยากได้ก็คือหมดทุกข์ได้ คือการหมดทุกข์ ก็คือความสุขแท้ หมดทุกข์นี้สุขแท้เลย หมดทุกข์ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ หมดทุกข์ หมดโทษ หมดภัย หมดความไม่สบายใจ กลายเป็นสุข กลายเป็นประโยชน์ กลายเป็นความปลอดภัย กลายเป็นความสบายใจ
อันนี้ดีที่สุดเลย ทุกข์ใจไม่ชอบใจไม่สบายใจมันไม่ดี ถ้าหมดตัวนี้ได้มันจะกลายเป็นสภาพที่ไม่มีทุกข์ใจ ไม่มีความชอบใจไม่มีความไม่สบายใจ ก็จะสุขใจ ชอบใจ สบายใจทันที เปลี่ยนพลังทุกข์ใจ ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ให้มันเป็น สุขใจ ชอบใจ สบายใจ ต้องมีวิชาเปลี่ยน ให้เรารู้ว่าต้องมีวิชาเปลี่ยน สลายมันทิ้งแล้วก็เปลี่ยนทุกข์ให้มันเป็นสุข เปลี่ยนไม่ชอบใจให้เป็นชอบใจ เปลี่ยนไม่สบายให้เป็นสบาย เราต้องรู้ว่าเป้าหมายเราต้องทำอันนี้ให้ได้ แบบถาวร แบบถาวรแปลว่าเราก็ต้องสลายทุกข์ให้ได้ สลายทุกข์ใจไม่ชอบใจไม่สบายใจให้ได้ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้มันจะสุขสบายทันที เราก็หาวิธีสลาย
พระพุทธเจ้าตรัส วิธีสลายด้วยปัญญาอันยิ่ง มีปัญญาสูงสุดที่ อตักกาวจรา คาดคะเน เดาไม่ได้ เดาไม่ได้เลย เดาผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ ถึงวิธีปฏิบัติ พอเราทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้พิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลสเลย ไตรลักษณ์ของมันก็คือ สุขใจที่ได้ดั่งใจมันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนแท้มันเป็นทุกข์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง สุขใจที่ได้ดั่งใจ นี่มันเป็นสุขแป๊บเดียวแล้วก็หมดไป สุขแป๊บเดียวหมด เป็นสุขัลลิกะ ไม่เที่ยง ไม่มีจริง สุขัลลิกะ สุขลวง หลอก ปลอม สุขน้อย สุขชั่วคราว สุขไม่เที่ยง สุขไม่มีจริง สุขไม่มี ให้ชัด
เราเคยสุขมาไม่รู้กี่ทีแล้ว ไม่ว่าเรื่องชั่วเรื่องดี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ร้ายที่ดีทั้งนั้นไม่รู้กี่ทีแล้ว ที่ได้ดั่งใจสุขมาไม่รู้ตั้งกี่ทีแล้ว เก็บไม่ได้เลยที่เคยสุขมา เอามารู้สึกสุขตอนนี้ได้ไหม ไม่ได้เลย เรื่องหนึ่ง ไม่ต้องหลายเรื่อง สักเรื่องหนึ่ง ที่เคยเสพสุขมาแล้ว สักเรื่องหนึ่ง มีไหม ครึ่งเรื่อง เสี้ยวเรื่อง ไม่ได้สักอันเลย มันมีไหม ไม่มี เคยเหนื่อยกับมันไหมเคยทุกข์กับมันไหม คุ้มไหม ไม่คุ้มเลย แล้วทำไมต้องไปสร้างทุกข์ เพื่อให้ได้สุขที่ไม่มี ทำไมต้องไปสร้างทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สร้างทุกข์ใจเพราะไม่ได้ดั่งใจ แปลว่าเพราะไม่ได้สุขที่ไม่มี ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้สุขที่ไม่มี จะไปทำ ทำไม
เราก็พิจารณาไป อนิจจังสุขที่ไม่มีมันไม่เที่ยง มันไม่มีตัวตนแท้ มันอนัตตาไม่เที่ยง ไม่มีจริง นี่อย่างไรมันเก็บมารู้สึกสุขก็ไม่ได้ เราเดือดร้อนเรียกกลับมาช่วยก็ไม่ได้ ช่วยหน่อยมาไหม ไม่มาเลย ไปเหนื่อยกับที่มันไม่มา สุขที่ไม่มีสุขที่ไม่มา ไม่กลับมาทำประโยชน์อะไรเลย หมดแล้วหมดเลย ดูสิมันไม่มีค่าไม่มีประโยชน์อะไรเลย แล้วเราต้องไปทุกข์ใจไปทุกข์กาย บางทีไปทำเรื่องไม่ดีเพื่อที่จะให้ได้สุขที่มันไม่มี คุ้มไหม ไม่คุ้มเลย ทุกข์ใจที่ไม่ได้มา มันทุกข์นะ มันต้องเสียพลังไปสร้างทุกข์ เสียพลังไปเกร็งตัวบีบทุกข์ออก ดันออก เลือดลมไหลเวียนไม่ได้ โครงสร้างโครงรูปของเซลล์ผิดปกติร่างกาย หมดเรี่ยวหมดแรง เป็นโรคได้ทุกโรค เกิดทุกข์ใจทุกข์กาย
อยากได้มาก ๆ ก็ทำไม่ดีได้ทุกเรื่อง แค่ทุกข์ใจทุกข์กาย ก็ไปทำสิ่งที่ดีไม่ได้แล้ว เกิดสิ่งที่ไม่ดีขึ้นมาแล้ว กุศลก็ใช้ไปหมดไป เพราะไม่ได้ไปทำดีอะไร ใช้ไปหมดไป ดีหมดไปวิบากร้ายแทรกอีก วิบากที่พลาดทำมาหาที่ต้นที่สุดไม่ได้ ก็เล่นงานเราก็แย่เท่านั้นเอง อย่างนี้เป็นต้น ก็มีแต่แย่ อยากได้มาก ๆ ก็ทำไม่ดีได้ทุกเรื่อง เป็นพลังสนิทานเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม เดือดร้อนไปทั่วเลย ชีวิตก็บันทึกเป็นวิบากร้าย สร้างเรื่องร้าย ดึงเรื่องร้ายมาสร้างเรื่องร้ายให้ตนเองและผู้อื่นตลอดกาลเลย เห็นไหมชีวิตมันทุกข์ซ้อนทุกข์ไปตลอดเลย ใจเราก็ไม่อยากได้โรคไม่อยากได้เรื่องร้าย กลัวโรคกลัวเรื่องร้ายจะเข้ามา เข้ามากลัวจะไม่หมดไป ทุกข์ซ้อนเข้าไปไม่รู้ตั้งกี่เรื่องพันกัน ไม่รู้จบ
ยิ่งเราไปตอบสนองทุกข์ก็แค่ลดลงชั่วคราว จริง ๆ สุขมันไม่ได้มี แค่ทุกข์มันลดลงชั่วคราว เราสร้างทุกข์มาทรมานตัวเองทุกข์ใจที่อยากได้นี่แหละ สร้างทุกข์ใจมาทรมานตัวเอง พอได้สมใจ เป็นอย่างไรหลอกตัวเอง ทุกข์มันลดลงมันก็เลยดีใจ สุขมันไม่ได้มี มันมีแต่ความดีใจที่ทุกข์มันลดลง ทุกข์มันลดลงก็ดีใจแป๊บหนึ่ง ก็ดีใจแล้วบอกว่าตัวเองสุขใจ เสร็จแล้วก็พักชั่วคราว ได้ไม่ได้ ก็ไม่ทุกข์แล้ว ได้ไม่ได้ ก็ไม่สุข ไม่ทุกข์เพิ่มแล้ว สุขก็ไม่มี ทุกข์เพิ่มก็ไม่มี ได้ไม่ได้ก็ไม่สุขไม่ทุกข์ชั่วคราว อิ่มเต็มพอ ชั่วคราว สุขสบายใจกับตรงนี้ สุขสงบสบายกับตรงนี้ชั่วคราว แล้วก็หายไป แล้วก็ทุกข์ใหม่โตไปกว่าเดิม ทุกข์ใจแรงขึ้นทุกข์กายเรื่องร้ายก็มากขึ้น ตลอดกาลนาน ยิ่งตอบสนอง ก็ยิ่งเป็นอย่างนี้ เร็วด้วย ตอบสนองกิเลสยิ่งโตเร็ว ความทุกข์ยิ่งโตมาก โตมาก เป็นสัจจะอย่างนั้น
แต่ถ้าเราไม่ตอบสนองมันก็จะโตช้าหน่อย โตเหมือนกันแต่โตช้า ไม่ทำตามใจมันมันก็ทุกข์ ทุกข์ นานเหมือนกันกว่าจะลง แต่มันโตช้า ลงแล้วก็กลับมาใหม่ อยู่อย่างนี้ ชั่วกัปชั่วกัลป์ สรุปแล้ว จะตอบสนองหรือไม่ตอบสนอง มันก็จะโตขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ตอบสนองโตเร็ว กิเลสโตเร็ว ไม่ตอบสนองกิเลสโตช้า กิเลสอยากนี้แหละอยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจนี่แหละ มันอยากเป็นกิเลส ตัณหา ความอยาก อยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ มีแต่โตขึ้นไป มันไม่มีตายเลย ความทุกข์มีแต่โตขึ้นโตขึ้นในเรื่องนั้น ก็ไปอยากหลายเรื่องเข้าไปอีก อยากเรื่องหนึ่งแล้วก็ไปอยากเรื่องอื่นอีก มันจะปรุงเพิ่ม ปรุงเพิ่มไปเรื่อย ๆ แล้วเรื่องเดิมพอได้มาก ๆ มันก็จะเบื่อไปอีก เบื่อก็ไปอยากอันใหม่ไปเรื่อย ๆ เสร็จแล้วก็กลับมาอยากอันเดิมอีก นานเข้าไม่ได้เสพกลับมาอยากอีก เดี๋ยวเบื่อ เดี๋ยวอยาก ไม่รู้จบ ทรมาน ชีวิตมีแต่ทุกข์ อยากก็กลัวไม่ได้มา เบื่อก็กลัวมันจะไม่หมดไป กลัวมันจะไม่ออกไป กลัวมันจะไม่หมดไป มีแต่ทุกข์ทั้งนั้นแหละ ทั้งเบื่อทั้งอยาก มีแต่ทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น
มีแต่ทุกข์มากขึ้นมากขึ้นมากขึ้น คนส่วนใหญ่เกิดมาก็ทำอย่างนี้แหละชีวิต เราเห็นชัดเลย มันเป็นทุกข์ มันเป็นทุกข์ รากเหง้ามันอยู่ที่นี่แหละ อยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ อยากได้สุขที่ไม่มี แท้ที่จริงมันเป็นสุขที่ไม่มี แล้วมันมีแต่ทุกข์ สุขมันก็ไม่มี ไม่มีชัด ๆ คือมันก็หายไป ต่อให้มันเกิดความรู้สึกสุขใจดีใจ ดีใจสุขใจก็ไม่ใช่ ไม่ใช่เกิดจากมันสร้างสุขที่ยั่งยืนได้หรอก แท้ที่จริง ไม่ได้เกิดจากสุขมันเกิดจากทุกข์ที่ลดลง เหมือนเรา ปวดหัวมาก ๆ หรือไม่สบายอะไรมาก ๆ ทุกข์ไหม ทุกข์ พอมันหายเป็นอย่างไร มันทุกข์หรือไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์สุขไหม สุขทันทีเลยนะ เชื่อไหม หายทุกข์ทันทีเลย แล้วสุขทันทีเลย แล้วความรู้สึกสุขนั้นอยู่นานไหม ไม่นานหรอกเดี๋ยวก็ลงไป เหมือนกับอวัยวะของเราบางส่วนที่มันยังสบายอยู่ แต่ก่อนมันไม่สบาย แล้วเราก็ทำให้มันสบายได้ สบายได้ดีใจไหม ดีใจสุขใจ ถึงตอนนี้นานเข้ามาละ มันสุขใจดีใจอันนั้นอยู่ไหม ไม่อยู่แล้วมันก็หายไปแล้ว มันก็เหลือแต่ตัวสบายนี้แหละ มันก็เหลือแต่ตัวสบาย อย่างนี้เป็นต้น
มันก็ไม่ได้อยู่ไปตลอด นี่เป็นสัจจะของเขาอย่างนี้ มันก็หมดไปอย่างนั้น ความรู้สึกสุขใจ จะหมดไปอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ความรู้สึกสุขกายก็ยังอยู่ แต่ก่อนเราทุกข์กายด้วย ทุกข์ใจด้วย เราเจ็บป่วย เราทุกข์กายด้วย เราทุกข์ใจด้วย เสร็จแล้วความเจ็บป่วยมันหายไป ดูนะ ฟังนะ ด้านร่างกาย ความเจ็บป่วยด้านร่างกายหายไป สุขใจไหม ความเจ็บป่วยหายไป ก็ความเจ็บป่วยหายนะ ความทุกข์หาย ความไม่สบายหาย มันหายไป หายไปแล้วเป็นอย่างไร ทีนี้ใจเราพอทุกข์หาย ดีใจไหม ดีใจ ทุกข์ใจก็หายไปด้วย ทีแรกทุกข์ใจนะ พอหายมันหายทุกข์ใจด้วยนะ
ทุกข์กายก็หาย ทุกข์ใจก็หาย ดีใจไหม ดีใจเพิ่มเลยนะ ดีใจคือสุขใจ ดีใจสุขใจ เสร็จแล้วความดีใจสุขใจนั้นเพิ่มขึ้นไป อยู่นานไหม ไม่นานหรอก ลงมาแล้ว ลงมาเสร็จแล้วก็ไม่สุข ไม่ทุกข์ อยู่พักหนึ่ง มันอิ่มเต็มพอ สักพักหนึ่งนะ ดีใจสักพักหนึ่ง สุขใจสักพักแล้วก็หายไปเลย ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้อวัยวะหลายอย่างของเราสบาย ยังสบายอยู่เหมือนเดิม บางอย่างยังสบายอยู่เหมือนเดิม แต่ความรู้สึกดีใจสุขใจอยู่ไหม ไม่อยู่ ไปเรียบร้อยแล้ว ไปหมดเลย เห็นไหม ตกลงความสุขใจนั้นมันยั่งยืนไหม ไม่ยั่งยืน ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ทีแรกมันอยากได้อะไร อยากได้ความสบายนี่แหละ อยากได้ความสบายกาย พอได้จริง ๆ เป็นอย่างไร ดีใจแว็บหนึ่งแล้วก็ลงมา แล้วมันก็ไม่เหลือ ไปแล้ว เหลือแต่ความเฉย ๆ กับความสบายกาย แล้วมันก็เฉย ๆ อย่างนี้เป็นต้น ก็ไม่ได้อยู่ไปตลอดนะ เพราะถ้าไม่สบายกายอีกเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็ทุกข์ใจอีก เดี๋ยวมันทุกข์ใจใหม่อีก พอทุกข์มาอีก แล้วพอมันหายอีกเป็นอย่างไร ดีใจอีกนะ เพิ่มเลย ดีใจ สุขใจนะ แล้วก็หายไป
เพราะฉะนั้น ถ้าเราอยากได้ความดีใจสุขใจอีกทำอย่างไร สร้างทุกข์เข้าไปอีก สร้างโรคเข้าไปอีก ดีไหม ทำไมไม่เอาล่ะ อยากได้สุขไม่ใช่หรือ อยากได้สุข ต้องสร้างทุกข์เข้าไปนะ สร้างทุกข์เข้าไปมาก ๆ มาก ๆ มาก ๆ ทุกข์กายก็สร้างเข้าไป ทุกข์ใจก็สร้างเข้าไป สร้างทุกข์กายทุกข์ใจเข้าไปให้มาก จะไปยากอะไรล่ะ แล้วก็ลดลงให้ได้ ลดลงได้เป็นอย่างไร ก็จะได้ความดีใจสุขใจ บางทีร่างกายก็ไม่ทุกข์หรอก แต่มันก็ทุกข์ใจ ไปอยากได้อย่างอื่นก็มีนะ ไปอยากได้อย่างอื่น ทุกข์ไหม ยังไม่ได้ทุกข์ไหม ทุกข์ใช่ไหม ยังไม่ได้ทุกข์ พอได้เป็นอย่างไร แล้วก็ลดทุกข์ลงใช่ไหม ได้ปุ๊บทุกข์หายไปไหนเลย ดีใจ ดีใจสุขใจ แล้วมันอยู่ยั่งยืนไหม ไม่หรอกเดี๋ยวมันก็หายไปแล้ว
อยากได้สุขอีกทำอย่างไร ทุกข์อีก จะไปยากอะไรใช่ไหม อยากได้สุขก็ทำทุกข์เข้าไปสิ อยากได้อีกก็ทุกข์อีก สร้างทุกข์อีก สร้างความอยากอีก อยากได้อีก ยังไม่ได้ก็จะได้ทุกข์ ไม่อย่างนั้นมันจะทำสุขไม่สำเร็จ ถ้าไม่สร้างทุกข์สำเร็จ เข้าใจไหม ต้องสร้างทุกข์ให้สำเร็จ มันถึงจะสร้างสุขสำเร็จ สุขแบบกิเลสต้องสร้างได้ด้วยทุกข์ จำไว้ สุขแบบกิเลสสร้างได้ด้วยทุกข์เท่านั้น ถ้าไม่มีทุกข์สร้างไม่ได้ ดีไหม ไม่เห็นดีตรงไหนเลย ต้องสร้างทุกข์ใจให้ได้ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ จึงจะได้สุขใจที่ได้ดั่งใจ เพราะว่าเวลาได้ดั่งใจ ทุกข์มันจะหายวับเลยนะ ธรรมดาของมันเลย มันทำเป็น ถ้าได้ดั่งใจปุ๊บ ทุกข์หายวับเลย หายปุ๊บมันสบาย คนเราทุกข์หายมันสบาย สบายใจ เป็นอย่างไร มันดีใจสุขใจ มันดีใจเพิ่มเลย
ดีใจสุขใจ เหมือนกับชั่วคราว ดีใจสุขใจชั่วคราว พอใจชั่วคราวหายไปเลย อยากได้สุขอีก ทำอย่างไรอีก ทุกข์อีก ให้มันสุข ๆ สุข ๆ ไปเลยโดยไม่ต้องทุกข์ไม่ได้หรืออย่างไร ไม่ได้หรืออย่างไร ก็เอามาไว้สิ ที่เราชอบนะ แล้วก็ยัดใส่ไปเรื่อย ๆ ถ้ากินก็กินไปเรื่อย ๆ อย่าให้มันขาดตอน ให้มันสุข ๆ ๆ สุข ๆ สุข ๆ อิ่มก็ยัดเข้าไป อิ่มก็ยัดเข้าไป ไม่ได้หรืออย่างไร ไม่ต้องทุกข์น่ะ ไม่ต้องทุกข์ ไม่ต้องรอให้มันทุกข์ แม้เราสุขแล้ว ได้แล้ว สุขแล้ว พอแล้ว ยัดใส่เข้าไปอีก อย่าให้มันทุกข์ ยัดใส่เข้าไปอีกอย่าให้มันทุกข์ ได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม หรือรอให้มันเริ่มทุกข์น้อย ๆ แล้วก็ยัด หรือพอก็พอก่อน แต่เตรียมไว้เลย พอมันอยากอีกน้อยหนึ่งยัดอีก อยากอีกน้อยหนึ่งยัดอีก หรือยัดก่อนที่มันจะอยากเลย ยัดก่อนที่มันจะอยากเลย อย่าให้มันอยาก
อยากแล้วมันทุกข์ใช่ไหม ยัดไปก่อนที่มันจะอยากเลย มันจะสุขไหม ไม่อยากน่ะ ไม่อยากน่ะ เพราะมันอิ่มเต็มพอแล้วมันก็ไม่อยากใช่ไหม พอพักยกไปแล้วท้องเราก็ย่อยพอสมควรแล้ว แต่มันก็ไม่อยาก มันยังไม่อยาก รู้จักไหมยังไม่อยาก ไม่รู้หรือ รู้อยู่นะ มันยังไม่อยาก ก็มันจะได้ไม่ต้องทุกข์ คนเราจะได้ไม่ต้องทุกข์ ยังไม่อยากก็ยัดใส่ไป ยัดใส่ท้องมันก็ลงแล้ว เอากินไป ท้องมันพอใส่ได้อยู่นะถึงเวลานี้ แต่มันอิ่มเต็มพอแล้ว มันพอแล้ว ใจมันพอชั่วคราว เรารู้แล้ว ก่อนที่มันจะอยากมันต้องทุกข์ใช่ไหม มันต้องทุกข์ ได้มันถึงจะลดทุกข์ลง มันถึงจะดีใจ เพราะอย่างนั้นถ้าเราจะให้สุขต่อเนื่องเลย เราเตรียมไว้เลย ของกินก็ตาม อะไรก็ตาม เตรียมไว้เลย ตั้งแต่มันยังไม่ทันอยากเลย กะว่ามันอิ่มไปพอสมควรแล้วมันก็ยังไม่ทันอยากน่ะ ใส่เข้าไปเลย ใส่เข้าไปเลยมันจะสุขไหม อ้าวทำไมมันไม่สุขละ ก็เมื่อกี้ก็ยังสุขอยู่เลย ทำไมมันไม่สุขล่ะ ก็มันยังไม่อยาก มันยังไม่ทุกข์
จำไว้นะ มันยังไม่ทุกข์ มันจะยังไม่สุข มันเป็นอย่างไร ฟังทันไหม เพราะฉะนั้น สุขนี่มันเกิดจากทุกข์เท่านั้น มันต้องเอาทุกข์ไปแลกมันถึงจะสุข คุณต้องสร้างทุกข์ขึ้นมาก่อน แล้วลดลงให้ได้ มันถึงจะดีใจสุขใจ สุขแว็บขึ้นไป มันถึงจะดีใจสุขใจได้ ไม่อย่างนั้นมันไม่ได้ เหมือนกับเราเป็นโรค โรคทางกาย มันต้องสร้างโรคขึ้นมานะถึงจะได้สุขใจชอบใจ สร้างโรคขึ้นมาปุ๊บเป็นอย่างไร ให้โรคมันหายไป หายปุ๊บเป็นอย่างไร ดีใจเลยนะ ดีใจชอบใจ เสร็จแล้วพอมันไม่ทุกข์แล้วนี่ จะให้มันดีใจชอบใจแบบตอนทุกข์ลดทุกข์ใหม่ ๆ นั้นได้ไหม ไม่ได้ ถ้าอยากได้แบบนั้นอีกทำอย่างไร ทำโรคอีก ป่วยอีก ทำโรคอีก แล้วทำให้มันหาย ให้โรคมันหาย ดีไหม ๆ แล้วก็ดีใจสุขใจอีก แล้วก็อยากได้สุขนี้อีกทำอย่างไร ทำให้เป็นโรคอีก แล้วก็ทำให้มันหาย ถ้าทำไม่หายมันก็ไม่ได้นะ ทำให้มันหายด้วย ดีไหม ไม่ดีเลยนะ
ทุกข์ใจก็เหมือนกันนั่นแหละ ถ้าอยากได้สุขต้องทำทุกข์ให้มันได้ก่อน ทุกข์ที่อยากได้แล้วมันยังไม่ได้ อยากได้แล้วมันไม่ได้ เดี๋ยวเราได้ สักพักหนึ่งมันก็จะสุขแล้ว ทำทุกข์ไว้ก่อน พอได้ดั่งใจเป็นอย่างไร ทุกข์หายวับสบาย สบายขึ้นก็ดีใจสุขใจวาบ ดีไหม ทำไมไม่ดีละ มันทุกข์ แล้วเคยทำไหม ทำครั้งเดียว ทำหลายครั้ง ทำไมทำล่ะก็ในเมื่อไม่ดีทำไมทำ มันไม่รู้ จริงนะ คนเราทำเพราะไม่รู้นะ ถ้ารู้ไม่ทำหรอก สุขใจนี่ก็เหมือนกัน มันไม่มีอะไรหรอก สุขใจอันเดียวกันนั่นแหละ กับที่เราสุขกาย อันเดียวกัน อันเดียวกันนั่นแหละ ที่เราเป็นโรคร่างกาย แล้วเราก็หายจากโรค แล้วเราก็ดีใจ ดีใจสุขใจ มันอันเดียวกันนั่นแหละ มันอันเดียวกันเลย ทุกข์ใจก็เหมือนกันนั่นแหละคนเรานี่ ทุกข์ใจก็เหมือนกัน ต้องไปสร้างทุกข์ขึ้นมาก่อนแล้วให้ได้สมใจทุกข์จึงจะลดลง ต้องสมใจเท่านั้นทุกข์ถึงจะลดลง
เราต้องทุกข์ใจที่ไม่ได้สมใจก่อน ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ก่อน ต้องเห็นว่าให้ได้อันนี้แล้วเป็นสุขเสร็จแล้วก็ยังไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ก็ทุกข์ อยากได้สิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ทีนี้เป็นอย่างไรอยากได้สุขวาบ แบบกิเลสนะนี่ อธิบายแบบกิเลส ทุกข์เข้าใจทำ เอาให้ได้สมใจให้ได้ สมใจก็ทุกข์ลดลง ทุกข์ลดลงก็สบายขึ้น ก็สุขสบาย ดีใจวาบดีใจสุขใจขึ้นไป ก็อยู่เท่านี้ ถ้าอยากได้สุขโดยไม่ต้องทุกข์ได้ไหม ไม่ได้ ไม่เชื่อลองทำดูสิให้มันสุขอยู่อย่างนั้นตลอดอย่าให้มันหาย สุขใจชอบใจวาบแล้วก็สุขสบายใจ สุขสงบสบาย อิ่มเต็มพอสบาย สุขพอแล้วได้ดั่งใจแล้วสุขสงบสบายพอแล้วอย่าให้มันหมดนะ อันนี้ถ้าหมดเป็นอย่างไรทุกข์นะ ถ้าอยากให้มันหมดทุกข์ โสกะ มันจะซึม ๆ เศร้า ๆ ถ้าสุขสงบสบายเต็มอิ่มพอแล้ว ถ้าตัวนี้หมดฤทธิ์เป็นอย่างไร โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส ทุปายาสเลยนะ โสกะแปลว่าเริ่มซึม ๆ เศร้า ๆ หงอย ๆ อย่างไรไม่รู้ ไม่มีชีวิตชีวา จากที่เรามีชีวิตชีวา เต็ม ๆ นี่แหละ เสร็จแล้วตัวมีชีวิต ชีวาเต็ม ๆ ตัวสุขใจ อิ่มเต็มพอไม่อยากได้แบบนั้นอีกแล้วมันหมดฤทธิ์ หายไปปุ๊บจะเศร้าสร้อย เหงาหงอย เคยเป็นไหม
เสร็จแล้วเป็นอย่างไรชีวิต เศร้า ๆ หงอย ๆ ซังกะตาย เรียกว่า โสกะ มันหมดฤทธิ์ไม่มีพลังสุขนั่นแล้วจะโสกะ มันเริ่มทุกข์แบบเศร้า ๆ ปริเทวะ มันห่วงหาอาลัยอาวรณ์ คิดหาอะไร หาสุขที่ให้ได้ดั่งใจ หาอะไรถึงจะมีชีวิตชีวา จะได้สุข เริ่ม ปริเทวะ นะห่วงหาอาลัยอาวรณ์ พิรี้พิไรรำพัน เริ่มจะหาอะไรดี ความคิด ความฉลาด ความจำ สัญญา ของกิเลส ได้อะไรหนอจึงจะเป็นสุข เริ่มหา บางทีคิดหาอันใหม่ อันเก่าก็อย่างโน้น อย่างนี้ มันยังไม่ได้อีกทุกขะ เป็นอย่างไร ทุกข์ใหญ่ไปเลย มันไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์ ๆ ตกนรกแล้ว ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกขะ ร่างกายไม่เป็นดั่งใจหมาย เหตุการณ์ไม่เป็นดั่งใจหมาย เป็นทุกข์ ทุกขะประกอบชัดเลย ทุกข์ใจไม่ได้ดั่งใจ ด้านร่างกาย ด้านเหตุการณ์ ไม่ได้ดั่งใจของตัวเอง ทุกข์พันอยู่ในนั้น เรียกว่าทุกขะ
ทั้งทุกข์ใจทุกข์กาย ทุกข์กับเหตุการณ์มันเกี่ยวพันกับสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า ทุกขะ ทุกข์อยู่นานถ้าไม่ได้ดั่งใจแล้วทุกข์อยู่อย่างนั้นแหละ กว่าจะโทมนัส กว่าจะลง ไปทำโน้นทำนี้ ดูว่าโทมนัสอยู่ในใจ ลงมาได้เป็นโทมนัส สภาพที่เราไปทำอย่างอื่นแล้วหรือไม่เกี่ยวข้องกับทุกข์กายเรื่องร้ายอันนี้ แต่มันจะยังโทมนัสอยู่ในใจอยู่นั่นแหละ ไม่ได้เกี่ยวข้องมันจะลงอยู่เหมือนกัน มันจะโทมนัส โทมนัส สภาพอยู่ในใจ ทุกข์ใจมันเล็กกว่าทุกขะ ทุกขะใหญ่ ๆ มันหมดฤทธิ์มันโทมนัสลดลง ลงไปอีกนานเข้ามันไม่ตอบสนองลงไปอีก เป็นอุปายาสะ อุปายาส มันก็ยังไม่แช่มชื่นลงไปแต่ยังไม่แช่มชื่น ไม่สดชื่น แม้บางทีดูเหมือนทุกข์หายไปแต่จริง ๆ ไม่ได้สดชื่น เวลาไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์นั้นมันหายไป
นี่แหละมันค่อย ๆ ลงไป จากทุกขะ ทุกข์แรง ๆ มาเป็น โทมนัสในใจ อาการประมาณหนึ่งกลายเป็น อุปายาสะ เล็ก ๆ ลงไปมันก็ไม่ได้สดชื่นนะ มันเหมือนกับหายไป ความไม่ได้ดั่งใจ เหมือนมันหายไปชั่วคราวที่เราทำอะไร ลืม ๆ ไม่ได้สดชื่น มันยังเป็น อุปายาสะ มันไม่สดชื่น พอเข้าใจไหม ทุกข์ไม่ได้ดั่งใจที่มันหายไปเพราะไม่ได้ดั่งใจ นานเข้าแล้วมันลงไป ลงไปแบบธรรมชาติของมัน แม้นมันเหมือนหายไปแต่ไม่สดชื่น มันอุปายาสะอยู่อย่างนั้น ไม่ได้สดชื่น
เสร็จแล้ววันร้าย คืนร้ายโตขึ้นมาอีก เวียนมาอีก โสกะ หงอยเหงา เศร้าสร้อย ปริเทวะ ทุกขะ อีก ทุกข์แรงอีกไม่ตอบสนองเป็นอย่างไร มันก็โทมนัสอยู่ในใจ ไม่สดชื่น แล้วก็ลงไปอีกเป็น อุปายาสะ อึดอัดคับแค้น ไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่ผ่องใส มัว ๆ ขุ่น ๆ หรือเหมือนจะหาย แต่ก็ไม่สดชื่น ไม่แช่มชื่น แล้วไม่ได้ดั่งใจวนอยู่อย่างนี้ แม้ได้ดั่งใจวนแบบนี้ไหม วนอยู่เหมือนเดิม ใจก็สุขเพิ่มขึ้นไป ดีใจ สุขใจ หายไป วนมาเจอนี่อีกไหม หายไปก็วนมาเจอนี่อีกเหมือนเดิมโตเร็วกว่าเดิม โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส วนมาโตกว่าเดิม แรงกว่าเดิม มีแต่โต และแรงกว่าเดิมไปเรื่อย ๆ โตเร็ว ทุกขะ โทมนัส โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส โตและแรงกว่าเดิมอยู่แบบนี้ ถ้าตอบสนองยิ่งโตเร็ว ลดลงชั่วคราวอย่างรวดเร็ว ดีใจแว็บเดียว สุขใจชั่วคราวหายไป ตัวทุกข์จะโตเร็วมากเลย ถ้าไม่ตามมันโตเหมือนกัน ช้าแต่ก็โต
โอ้! ชีวิต นี่แหละชีวิตโง่ ๆ เข้าใจทำนะ ไปเรียนมาจากไหน ใครสั่งใครสอน กิเลส เรียนเอาเป็นเอาตาย ตัดหัวถวาย เท่านี้ชีวิต กองทุกข์ทั้งมวล ย่อมเกิดด้วยประการฉะนี้ พอทุกข์มาก ๆ ต่อให้ได้ดั่งใจ สุขออกไหม สุขไม่ออกเลยมันทุกข์แรง สร้างสุขไม่ออกเลย มันอยู่เท่านี้ สุขไม่ออกเพราะทุกข์ยังแรงค้างใจ ทุกข์แรงค้างใจ ค้างชีวิต สุขไม่ออกเลยนะ ได้อะไรก็สุขไม่ออก เศร้ามาก ๆ ของกินที่อร่อยที่สุดเคยชอบ อร่อยออกไหม สุขออกไหม ไม่ออก ให้ขนม นมเนย ให้อะไรดีหนอ อยากได้อะไรให้เลย แต่ไม่ให้ที่เศร้า ๆ ไม่ให้ที่รัก ที่สูญหายไป อย่างอื่นให้ไป หายไหม ไม่หาย สุขอย่างอื่นช่วยอะไรไม่ได้เลย เราพิจารณาให้ชัด ๆ ชีวิตสร้างทุกข์แสนสาหัสอย่างนี้ ให้มากขึ้น ๆ เพิ่มไปเรื่อย ๆ เพื่อไปแลกสุขที่ไม่มี จะบ้าเหรอ สร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี ๆ
เรากำลังสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี เรากำลังสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี พิจารณาไปเรื่อย ๆ อย่างนี้แหละ พิจารณาไปเรื่อย ๆ เลยซ้ำ ๆ เข้าไป เดี๋ยวจะคิดออกเอง พิจารณาไปเถอะ พิจารณาไปโดยเฉพาะสร้างทุกข์ใจนี่แหละ เรากำลังสร้างทุกข์ใจไปแลกสุขที่ไม่มี เรากำลังสร้างทุกข์ใจไปแลกสุขที่ไม่มี พิจารณาซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป สุขใจที่ได้ดั่งใจเป็นความสุขที่ไม่มี เป็นอย่างไร อีกสักพัก เออ! บ้าหรือเปล่าละนี่ บ้ามาทำทำไม โง่มาทำทำไม เราจะรู้ตัวเองน่ะ จะรู้ตัวเอง บ้ามาทำทำไม โง่มาทำทำไม ละนี่เรา เสร็จแล้วมันจะสลายตัวนั้นทิ้งไปเอง
นี่เป็นปัญญาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุขที่ไม่มีมันอนิจจัง มันอนัตตามันไม่เที่ยงมันไม่มีจริง มันทุกขัง ขังทุกข์ไว้ในชีวิตนี่ ทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายนี่ขังให้มากขึ้น มากขึ้น ถ้าเราหลงว่ามันมี สุขใจที่ได้ดั่งใจมันเป็นสุขที่ไม่มี ถ้าเราหลงว่ามันมีเป็นอย่างไร ทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจก็จะมี ทุกข์กายเรื่องร้ายสืบเนื่องก็จะมี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด
ทีนี้พอเราชัดว่ามันเป็นสุขที่ไม่มี พอเราชัดว่ามันเป็นสุขที่ไม่มีเป็นอย่างไร ก็มันเป็นสุขที่ไม่มีเราก็เลิกอยากได้ใช่ไหม อยากได้ไหมสุขที่ไม่มีอยากได้ไหม อยากเหนื่อยกับมันไหม อยากทุกข์กับมันไหม ก็ไม่อยากใช่ไหม ก็ไม่อยากเหนื่อยกับมันไม่อยากทุกข์กับมัน จะเป็นสุขที่ไม่มีในเรื่องไหนก็แล้วแต่ ที่เราไปหลงว่ามันสุข เรื่องชั่วเรื่องดีเรื่องไหนก็แล้วแต่ ที่เราหลงว่ามันสุข ที่จริงมันก็ไม่มี มันไม่มีสุข มันก็เป็นของมันอย่างนั้นมันไม่มีสุขเลย เราเคยได้มาไม่รู้กี่ทีแล้ว เรียกกลับมาก็ไม่ได้ แล้วจะไปสร้างทุกข์มาแลกสุขที่ไม่มีทำไมล่ะ
พอเราชัดเจนปุ๊บ อยากได้ไหมสุขที่ไม่มี มันก็ไม่น่าจะอยากได้แล้วใช่ไหม เราก็เลิกอยากได้เลย ยิ่งมาสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มีอีก ยิ่งน่าทำไหม ไม่น่าทำเลย มันจะมีปัญญา มันจะชัดเจนเลยจะสลาย จะไม่อยากได้สุขที่ไม่มี จิตเราก็ไม่อยากได้สุขที่ไม่มี แม้กิเลสเอง สุขที่ไม่มีมันก็รู้สุขก็ไม่มี มีแต่ทุกข์ ถ้าหลงว่ามีเป็นทุกข์ มันก็ไม่อยากทุกข์ ก็ยินดีสลายไปเลย แล้วเราก็ยินดีให้มันสลายไปเลย มันจะเป็นอย่างนี้นะ มันก็ยินดีตายไป เพราะถ้าอยู่มันต้องทุกข์แน่ มันยินดีตายไป แล้วเราก็ยินดีให้มันตายไป มันสลายไปเลยทุกข์นั้นตายไปเลย สุขทุกข์นั้นตายไปเลย
สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี สุขก็ไม่มีทุกข์ก็ไม่มี ไม่เป็นไร เราไม่อยากได้สุข เราอยากได้ไม่ทุกข์ ฟังทันไหม เราไม่อยากได้สุข เราอยากได้ไม่ทุกข์ ฟังทันไหม ทันนะ พอสุขนั้นหายไป เราก็ไม่อยากได้สุขนั้นแล้ว ใช่ไหม ช่างหัวมันเราก็ไม่อยากได้สุข แล้วเราก็อยากได้ไม่ทุกข์ ไม่ทุกข์ก็หายไปด้วยนะ ได้หรือยัง ได้แล้ว ได้ความไม่ทุกข์แล้ว ไม่ใช่ได้ธรรมดานะ
พลังสุขเปลี่ยนเป็นพลังไม่ทุกข์ เป็นพระปัญญาธิคุณที่สุด ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ยิ่งใหญ่ต่อมนุษยชาติที่สุด นี่แหละ อตักกาวจรา คาดคะเนเดาไม่ได้เลย ว่าเราพิจารณาแบบนี้แล้วมันจะสลายไป แล้วมันจะไม่ใช่สลายไปเฉย ๆ สลายแล้วมันเปลี่ยนเป็นพลังไม่ทุกข์ นี่ สุขทุกข์นี้เปลี่ยนเป็นพลังไม่ทุกข์ ยอดเยี่ยมเลย สุขไม่เอาก็ได้นะ ไม่ทุกข์ก็พอแล้วนะไม่เอาสุขก็ได้ ไม่ทุกข์ก็สุขมากแล้ว ไม่ทุกข์ก็สุขที่สุดแล้ว กลายเป็นพลังไม่ทุกข์นะไม่ใช่พลังธรรมดา เป็นพลังที่ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย ดีเยี่ยมเลย เป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิตเลยแบบนี้นะ
เราก็ดีใจนะ ยินดีเต็มใจพอใจสุขใจ ที่ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย นี่แหละ นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าสุข สุขที่สงบจากทุกข์ทั้งหมดทั้งมวล สุขที่สงบจากสุขทุกข์แบบกิเลส สงบจากสุขใจชอบใจทุกข์ใจไม่ชอบใจไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์ใด ๆ สุขไม่เอาก็ได้ เอาไม่ทุกข์ก็พอแล้ว หรือขี้โลภอยากได้สุขด้วย ต้องเอาทุกข์มาด้วยนะเอาไหม เออ! ไม่เอานะ ไม่โลภดีกว่านะ สุขไม่เอาก็ได้ขอไม่ทุกข์ก็พอแล้วนะ ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว ไม่ทุกข์ก็สุขมากแล้ว ไม่ทุกข์ก็สุขที่สุดแล้วชีวิตนะ นี่มันสุขที่สุดแล้ว
เราก็ยินดีพอใจสุขใจ กับสภาพที่ไม่มีทุกข์โทษภัยต่อใครเลย เป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิต นี่แหละสภาพนี้ ไม่มีภัยต่อใครเลย นี่แหละเป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิตเลย ใจเราก็เป็นสุข กายก็แข็งแรง ไม่ได้ไปเบียดเบียนใคร ไม่ต้องไปเหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตามด้วย ยินดีเลยเป็นวิบากดีต่อตนเองต่อผู้อื่นเลย ก็พากันทำสุขแท้อันนี้ พากันทำอย่างอื่นที่มันเป็นประโยชน์ต่อชีวิตที่มาเสริมหนุนให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตเข้าไปอีก เป็นกุศลเข้าไปอีก ดีเข้าไปอีก ถ้าทำได้ก็ทำไปก็มีแต่ดี ชั่วไม่ทำทำแต่ดี สิ่งไหนเลวร้ายก็ไม่เอาเอาแต่สิ่งดีที่ทำได้ ดีที่ทำไม่ได้เราก็สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจได้ นี่แหละเป็นสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขใจที่ไม่ได้สุขที่ไม่มี สุขใจที่ได้ดั่งใจคือสุขที่ไม่มี ใช่ไหม นั่นเป็นสุขใจที่ได้ดั่งใจใช่ไหม พอเราไม่เอาแล้วเราก็ไม่ได้สิ นั่นแหละสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขใจที่ไม่ได้สุขที่ไม่มี แต่ได้สุขที่ไม่มีภัย เข้าใจไหม ได้สุขที่ไม่ได้ดั่งใจนี่แหละ แต่ได้สุขที่ไม่มีภัย เราไม่ได้สุขที่ไม่มี แต่เราได้สุขที่ไม่มีภัย เป็นพลังที่ไม่มีภัยแทน อยากได้ไหมล่ะสุขที่ไม่มีน่ะ แต่มีภัยนะเอาไหม มันก็ไม่เห็นหน้าเอาตรงไหนเลยใช่ไหม สู้ดี เราไม่ได้สุขที่ไม่มีที่มีภัยนั้น มาเอาสุขที่ไม่มีภัย ดีกว่าไหม ดีกว่า
เป็นพลังเปลี่ยนเป็นพลังที่ไม่มีภัย ไม่มีทุกข์โทษภัยเลย มีแต่ประโยชน์ต่อทุกชีวิต ดีที่สุดเลย อย่างนี้ละ ถ้าใครได้จะรู้เลย นี่แหละ (นัตถิ อุปมา) ไม่มีอะไรเปรียบได้ (อสังหิรัง) ไม่มีอะไรหักล้างได้ (อสังกุปปัง) ไม่กลับกำเริบ (นิจจัง) เที่ยง (ธุวัง) ยั่งยืน (สัสสตัง) ตลอดกาล (อวิปปริณามธัมมัง) ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา สบายได้ตลอดเลย
แถมถ้าได้แบบนี้เสร็จจะมีของแถมอีก มีสิทธิพิเศษสามารถเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่อง เอาข้อดีเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่องเลย ชั่วไม่ทำทำแต่ดีที่ทำได้ เสร็จแล้วเอาข้อดีเอาประโยชน์ได้ทุกเรื่องเลย สามารถที่จะยินดีพอใจสุขใจในทุกสถานการณ์ได้ นี่คือความวิเศษ ของพุทธะ
ถ้าเราได้สุขใจที่ไม่มีภัยอย่างนี้แล้ว มันจะได้หรือไม่ได้สุขที่ได้ดั่งใจมันจะมีทุกข์อะไรไหม ไม่ทุกข์ ทำไมไม่ถูกล่ะ ก็เราไม่อยากได้อะไรจากมันแล้วใช่ไหมล่ะ มันกลาง ๆ แล้วมันจะเกิดจะดับเราก็ไม่ทุกข์แล้ว มันเฉย ๆ กลาง ๆ แล้วเรื่องนั้น ได้ไม่ได้ก็ไม่เกี่ยวกับเราแล้วใช่ไหม มันแยกกายแยกจิตได้แล้ว เราก็ได้แยกกายแยกจิตออกมา แต่ก่อนจิตเราไปเกี่ยวข้องกับมันอยู่ใช่ไหม ไปเกี่ยวข้องกับมัน ตอนนี้จิตเราไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับมันแล้ว มันจะเกิดจะดับนี่เรามีสุขมีทุกข์อะไรกับมันไหม ทำให้เราสุขทุกข์ได้ไหม จิตเราไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง ที่จะสร้างสุขใจที่ได้ดั่งใจทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจกับมันแล้ว เราสลายไปแล้ว เรามีแต่ความสุขที่ไม่มีทุกข์ใจใด ๆ เลย มันไม่มีสุขไม่มีทุกข์กับเรื่องนั้น มันไม่มีภัยต่อเราแล้ว เราก็เฉย ๆ นะ เราก็ยินดีพอใจที่เราไม่มีทุกข์โทษภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น สิ่งนั้นไม่สามารถทำให้เราทุกข์ใจได้
เพราะฉะนั้นมันจะเกิดจะดับมันจะได้ไม่ได้ดั่งใจ เราจะทุกข์อะไรไหม ไม่ทุกข์เลย มันจะได้ไม่ได้ดั่งใจไม่ทุกข์เลย เพราะเราไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้น ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจในเรื่องนั้น ไม่มีสุขไม่มีทุกข์กลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ สลายมันได้ไม่ใช่กดข่มเอา สลายไปเลยแล้วเปลี่ยนเป็นพลังไร้ทุกข์ในเรื่องนั้น เป็นพลังด้วยนะ เป็นพลังไม่ทุกข์ พลังไร้ทุกข์ ไร้ทุกข์ก็สุขสบายแล้ว เป็นพลังสุขสบาย
เพราะเหตุปัจจัยนั้นจะกระทบอย่างไร เราก็รู้ความจริงตามความเป็นจริง มันเป็นสิ่งดีไม่ดีเราก็รู้ มันเกิดดับ เกิดดับ เรารู้ แต่ใจเรามันก็ไม่ไปเกี่ยวข้องแล้ว จะเข้าถึงสภาพ สิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีการดับไปเป็นธรรมดา มันจะเกิดจะดับเป็นธรรมดาเลยในใจเรา ธรรมดาคือใจเราก็สบายเป็นธรรมดา สุขสบายเป็นธรรมดา เพราะมันไม่มีสุขมีทุกข์ในเรื่องนั้นแล้วใช่ไหม ไม่มีภัยเป็นธรรมดา มันก็รู้สึกมันเกิดมันดับไป มันก็เป็นสิ่งไม่ธรรมดา ไม่ธรรมดาคือ มันทำให้เราสุขเราทุกข์ที่ทำให้ใจเราแกว่ง เข้าใจไหม ถ้ามันไม่ธรรมดา ถ้าธรรมดามันจะเกิดจะดับมันก็เป็นของธรรมดา เราไม่ได้ทุกข์อะไร ถ้าไม่ธรรมดาเป็นอย่างไร ถ้ามันเกิดเราสุขนี่ธรรมดาไหม ไม่เลย มันเกิดมันดับเราทุกข์นี่ธรรมดาไหม ไม่ธรรมดาเลยอันนี้ไม่ธรรมดานะ ใช่ไหม
มันเกิดเราสุขมันดับเราทุกข์ หรือมันเกิดเราทุกข์มันดับเราสุข นี่ธรรมดาไหม ไม่ ๆ ๆ ๆ ๆ มันไม่เป็นปกติธรรมดา เข้าใจไหม มันทำให้ ในจิตเรานี่ไม่ปกติ มัน ตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ มันเป็นไบโพลาร์ (Bipolar) รู้จักไบโพลาร์ (Bipolar) ไหม เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ คนทุกวันนี้สร้างโรค ไบโพลาร์ (Bipolar) ตัวเองทั้งนั้นแหละ ไบแปลว่าสอง สองก็ธรรมะสอง (เทฺวธมฺมา) นี่แหละ ไบโพลาร์
ธรรมะ 2 (เทวะ) กิเลส ได้ดั่งใจก็สุขไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ ธรรมดาไหม ไม่นะ จริง ๆ ไม่ธรรมดานะ แต่คนรู้สึกว่านี่ธรรมดา คนก็สุข ๆ ทุกข์ ๆ เป็นธรรมดา เขาว่าอย่างนั้น มันไม่ธรรมดาหรอก อันนั้นนะขึ้น ๆ ลง ๆ ธรรมดามันก็ต้องปกติธรรมดา สบาย ๆ สุขสงบสบายเป็นธรรมดา แต่ธรรมดาของเขากับของเราไม่เหมือนกันนะ ธรรมดาของเขาสุข ๆ ทุกข์ ๆ ธรรมดาของเราคือ สุข สบายใจไร้กังวลตลอดเวลา ธรรมดาอะไรดีกว่า สบายใจไร้กังวล สุขสบายใจไร้กังวลดีกว่าใช่ไหม สุขสงบสบายใจไร้กังวลตลอดเวลาดีกว่า ของเราเป็นอย่างนี้
ของเขาสุข ๆ ทุกข์ ๆ แล้วลุ้นตลอดเลย เป็นอย่างไร ทุกข์นี่ก็ลุ้น ว่ามันจะหมดเมื่อไรมันจะหมดไป กลัวมันจะเข้ามาเข้ามาก็กลัวจะไม่หมดไป อันสุขเป็นอย่างไร ขนาดมันได้สุขแล้วนะ ยังกลัวจะหมดไปอีก กลัวจะไม่ได้มา ได้มากลัวจะหมดไปอีก ลุ้นตลอดไหม ลุ้นตลอดนี่ได้พักบ้างไหมนี่…. ไม่ได้พักเลยนะชีวิต ไม่เหนื่อยหรืออย่างไร เหนื่อยนักก็พักบ้างนะ พักตรงพุทธะบ้างก็ได้ (ร้องเพลง) ฉันยังอยู่ตรงนี้ ณ ที่เดิม ๆ บนทางเกวียนสายเก่า ๆ… แบบพุทธะ ๆ มาพักบ้าง เหนื่อยนักก็พักบ้าง รับรองพลังเต็มบึ้ม ๆ เหนื่อยนักก็พักบ้าง นี่แหละพักความทุกข์บ้าง ไม่รู้จะเอาไว้ทำไมเนาะทุกข์เนาะ มาพักตรงสุขใจที่ไม่มีทุกข์นี่แหละ สุขที่ไม่มีทุกข์ใด ๆ นี่แหละ ดีที่สุดในโลก ไม่มีทุกข์ใด ๆ เลย ดีที่สุดในโลก นี่แหละวิธีคลายความเครียด นี่แหละที่เขาว่า ระวังตระหนักโทษภัยในความเครียด
อันนี้บอกวิธีคลายความเครียด แบบยั่งยืน ทำแบบนี้ดีที่สุดในโลกเลย จะมีความเครียดอะไรไหมนี่ ไม่มี อะไรเกิดดับก็ไม่เครียดเลย สุขสบายใจไร้กังวล ร่าเริงเบิกบาน แจ่มใส สุขสบายใจไร้กังวล เอาประโยชน์ได้ทุกเรื่องด้วย ดีเกิดก็เอาประโยชน์ได้ ดีเป็นกุศลให้ได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป ร้ายเกิดเป็นอย่างไร ดี ๆ เป็นวิบากร้ายรับเท่าไรหมดเท่านั้น ดียิ่งออกฤทธิ์ได้มาก ดี ๆ ให้ได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไป มันดีไปหมด อาจารย์ ไม่เห็นอะไรไม่ดีเลยนะ ถ้าเราไม่ทุกข์มันดีไปหมดเลยนะ แล้วจะปล่อยวางได้หมดเลย เอาประโยชน์ได้หมดทุกอันเลย ขนาดว่าเรายังพอเหลือทุกข์อยู่บ้าง ฉลาด ๆ อย่างดีเลยนะ มีคนมาทำให้เราทุกข์ใจ เราไม่ชอบใจขึ้นมาเลย อือ! ดีจังเลย ดีจังเลยทำให้เราเห็นทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ เราจะได้ล้างทุกข์
โอ้! ขอบคุณมาก ๆ ขอบคุณในใจนะ บางทีไปขอบคุณเขาต่อหน้าเขาไม่รู้เรื่องกับเราก็มีนะ เผลอ ๆ หาว่าประชดประชันอีก เออ! ขอบคุณในใจ ขอบคุณเขาแล้วล้างใจเรา ขอบคุณมากถ้าไม่มีเขาเราไม่เห็นทุกข์ขนาดนี้หรอก เราไม่เห็นความโง่เราขนาดนี้หรอก เราไม่เห็นความทุกข์ขนาดนี้ ไม่เห็นความโง่ขนาดนี้ ไม่เห็นความบ้าขนาดนี้ ไม่เห็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำขนาดนี้ ทำได้ ๆ น่าอาย ๆ น่าละอายจริง ๆ
คางคกน่ะ เลือดหัวไม่ออก มันไม่รู้สึกหรอก เออ! มันต้องแรง ๆ มันถึงจะรู้สึก แต่อันนี้น้อยเดียวก็รู้สึก มันคล้าย ๆ กับคนกินพริกเวลาติดพริกมาก ๆ มันต้องเผ็ด ๆ มาก ๆ ถึงจะอร่อยใช่ไหม เผ็ดน้อย ๆ รู้สึกอะไรไหม ไม่รู้สึก เผ็ดน้อย ๆ ไม่รู้สึก แต่พอลดกิเลสได้เป็นอย่างไร น้อยเดียวรู้สึกไหม โดนไปน้อยเดียว โอ้โห! ทรมาน ๆ เป็นอย่างนั้นแหละ อันนี้ก็เหมือนกัน แต่ก่อนเราหน้ามืดกับเรื่องอะไร ๆ บางทีนะ จริง ๆ มันเรื่องเล็กเรื่องน้อยนะ แต่ก่อนเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เราก็รู้สึกแรง ๆ มันรู้สึกแรงนะ แต่ก่อนของเราเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เราก็รู้สึกแรง เรื่องแรง ๆ ยิ่งรู้สึกแรง เข้าใจไหมเรื่องแรง ๆ ยิ่งรู้สึกแรง เล็ก ๆ น้อย ๆ นี่รู้สึกแรง มันเป็นอย่างนั้นเลยนะ กิเลสเยอะเป็นอย่างนั้น ทีนี้แม้เรื่องแรง ๆ น่ะ เราจะรู้สึกเล็ก ๆ น้อย ๆ แม้เรื่องแรง ๆ เลยแต่เรารู้สึกเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เรารู้สึกมันน่าเอาไว้ไหม นี่แหละมันจะรู้สึก น่าอาย ๆ ๆ ไม่กำจัดมันจะทำอย่างไร นี่มันน่าอาย
บางทีเขาไม่รู้กับเราหรอกนะ แต่เราม้วนหางเลยนะ ไปชังเขาเสียแล้ว ถือสาเขาเสียแล้ว ปัดโธ่เอ๊ย.. เป็นกิเลสเรา มันกิเลสเรา เขามาทำประโยชน์ให้เราแท้ ๆ ไปถือสาเขา ปัดโธ่เอ๊ย..บางทีเขาอยากช่วยเราด้วยซ้ำ เขาพยายามช่วยเราด้วยซ้ำนะ แต่ว่ามันเงอะงะ ๆ เท่านั้นเอง มันไม่ถูกใจเราเท่านั้นเองนะ เขาพยายามช่วย ๆ ด้วยนะ แล้วเขาก็ทำผิด ๆพลาด ๆ แหม..เสร็จแล้วมันรู้สึกอย่างไรรู้ไหม “ปัดโธ่เอ๊ย..ทำไม่เป็นยังอยากช่วยอีก” น่าเกลียดไหม หน้าเขกกบาล เขกกบาลใคร เขาหรือเรา น่าเขกกบาลเรานี่แหละ น่าเขกกบาลใจเรา แต่ก่อนมันจะมีไหมล่ะความรู้สึกอย่างนี้ เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อยอย่างนี้ แต่ก่อนมันรู้สึกไหม กิเลสน้อย ๆ นี่มันยังรู้สึก เขาทำผิดใหญ่ ๆ แม้เราไปถือสาน้อย ๆ แต่เราก็ยังรู้สึกว่ายังถือสา เข้าใจไหม
รู้สึกว่ามันไม่ดีน่ะ รู้สึกว่าเราไปชังเขาได้อย่างไร มันกิเลสเราแท้ ๆ มันอยากได้สุขที่ไม่มี บ้าหรอ ไปชังเขา เพราะเราอยากได้สุขที่ไม่มี ชังเขา ไม่ชอบใจไม่พอใจเขา เพราะใคร เพราะเขาหรือเพราะเรา เรา อยากได้อะไร อยากได้สุขที่ไม่มี เพราะเราฉลาดหรือเราโง่ เราโง่ แล้วเราดีหรือเราบ้า บ้า แล้วเราสุขหรือเราทุกข์ ทุกข์ มันควรโทษเขาหรือโทษเรา โทษเราสิ ไปโทษเขาได้อย่างไร แล้วที่เป็นอย่างนั้น วิบากใครล่ะ วิบากเราอีก แล้วโทษใครล่ะ โทษเขา เวรกรรม วิบากเรา เราไปโทษเขา เวรกรรมจริง ๆ เกิดอะไรจงท่องไว้ กูทำเอง โดยเฉพาะทุกข์ใจอะไรจงท่องไว้ กูทำเอง ปัดโธ่เอ๊ย! มึงนั่นแหละ
มึงนั่นแหละ ไม่ใช่เขานะ ไม่ใช่มึงข้างนอก มึงข้างใน มึงกูนี่แหละ เอ็งนั่นแหละ ไม่ใช่เอ็งข้างนอก เอ็งข้างใน เรานั่นแหละ ไม่ใช่เราข้างนอก เราข้างใน ฉันนี่แหละ กูเราฉันนี่แหละทำเอง คนเรามันทำอะไรน่าเกลียดได้ขนาดนั้น มันจะรู้สึกละอ๊ายละอาย ละอายอยู่ข้างใน ม้วนอยู่ข้างใน เขาไม่รู้กับเราหรอก เขาไม่รู้กับเราด้วย เขาพยายามช่วยเรา เงอะงะ ๆ ไม่ถูกใจเราเท่านั้นเอง แล้วบางทีมันเสียหายด้วยนะ โดยเฉพาะเราให้ความสำคัญมากในสิ่งนั้น ไอ้ที่เราอยากได้ มันสำคัญมาก ๆ แล้วเขาพยายามช่วย แล้วมันก็เสียหาย แล้วเขาก็ไม่ค่อยถนัดด้วย แล้วเขาพยายามช่วย เราเห็นว่ามันสำคัญมาก ๆ เป็นอย่างไร ใจมันก็ยังบอก ปัดโธ่เอ๊ย! ไม่เป็นก็อย่ามาทำดีกว่า ไม่เป็นยังทำอยู่อย่างนั้น เสียหายหนักกว่าเดิมอีก ชาติที่เราไม่เป็นเราก็อยากช่วยคนที่เราอยากช่วย แล้วเขาก็เงอะงะ ๆ แล้วก็ทำให้ท่านรำคาญ แล้วชาตินี้เป็นอย่างไร วิบากมันมาถึงนะ
มาถึง แล้วโทษใคร โทษเขา แล้วเป็นอย่างไร หายทุกข์หรืออย่างไร ไม่ ทุกข์หนักกว่าเดิมอีก โทษใครถึงจะไม่ทุกข์ โทษเราเอง วิบากเราเอง วิบากเก่าของเราเองบวกวิบากใหม่ คือไม่ชอบใจไม่พอใจ มันสร้างทุกข์เพื่ออยากได้สุขที่ไม่มี มันโง่ มันบ้า ไปสร้างทุกข์เพราะอยากได้สุขที่ไม่มี เสร็จแล้วก็ไปโทษคนอื่นเขา ไปชังคนอื่นเขา ปัดโธ่เอ๊ย! เมื่อไหร่จะรู้สักทีนะ ว่ามีมากแล้วหนักหนา กิเลสมีมากหนักหนาแล้วนะ มีมากหนักหนา มีมากนักหนาแล้วนะกิเลสนี่ มันหลงมากแล้ว นี่แหละมันหลง หลงสุขใจที่ได้ดั่งใจ มันเลวร้ายที่สุด คนเรา ถ้าเราเพิ่มศีลไปเรื่อย ๆ เราพยายามเพิ่มศีลไปเรื่อย ๆ พยายามเพิ่มศีลไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ เราจะเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย มันจะมี 2 แบบ
- แบบหนึ่งนี่บางทีภัยนิด ๆ เราก็รู้ ภัยนิด ๆ เลยนะ อย่างเช่น อาหารรสจัดนิด ๆ อาหารรสจัดขึ้นไปหน่อยหนึ่ง พอมันเริ่มจัด เริ่มไม่สบาย เราจะรู้เลย หรือตัวไหนที่เป็นภัย ที่เป็นรูปธรรม ภัยที่เป็นรูปธรรม เหล้าบุหรี่ หรือภัยนิด ๆ หรือความพร่องโน้นนี้เราจะมองเห็นเร็วว่านี่พร่อง อยู่ที่ว่าจะแก้ได้หรือไม่ได้อีกต่างหาก แก้ได้เราก็แก้ แก้ไม่ได้เราก็ไม่แก้ แก้ได้ก็สุขใจในการแก้ แก้ไม่ได้ก็สุขใจในการไม่แก้ มันจะได้ 2 ชั้นนะ ชั้นแรกนี่มันจะตาดี จะเห็นไปหมดเลย มันจะละเอียด อาจารย์มีระบบประสาทที่ละเอียด การรับรู้ที่ละเอียด
- ชั้นที่ 2 ถ้าเรามีความสามารถจริง เราก็จะไม่ทุกข์ ถ้าแก้ไม่ได้ ถ้าแก้ได้ก็ไม่ทุกข์ แก้ได้ก็สุข แก้ไม่ได้ก็สุข ไม่ทุกข์ก็คือสุขนั่นแหละ สุขหมด ไม่ทุกข์หมด สุขหมด นี่มันจะเป็นอย่างนี้ แม้ด้านรูปธรรมเราก็จะรู้เร็ว ถ้าเราลดกิเลสได้ดี หรืออะไรที่มันถูกไม่ถูกกับร่างกาย จะรู้ได้เร็ว มันมีพลังพิเศษรู้เร็ว แต่ก่อนไม่รู้ กินพริกเป็นกำ ๆ ไม่รู้เป็นโทษเป็นภัย พอลดกิเลสได้เป็นอย่างไร แตะเกินหน่อยเดียวเป็นเรื่อง หรืออื่น ๆ ก็เหมือนกัน แต่ก่อนไม่รู้ว่าเป็นโทษเป็นภัย เดี๋ยวนี้แตะหน่อยเดียวรู้เลยเป็นโทษเป็นภัย อย่างนี้เป็นต้น
เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย ปัญญา 8 นะนี่ ปัญญา 8 ข้อที่เท่าไร ข้อที่ 4 หรือเปล่า ข้อที่ 1 เคารพศรัทธาพระพุทธเจ้าหรือผู้อยู่ในฐานะครู มีความเคารพศรัทธาอย่างแรงกล้า ข้อที่ 2 ฟังธรรมท่าน เข้าไปศึกษากับท่าน ไปสอบถามเป็นระยะ ๆ ข้อที่ 3 สุขสงบกายสงบจิตได้ สงบกาย คือ สงบกิเลสใหญ่ที่มันละเมิดทางกาย ทางวาจา สงบจิต ก็คือ สงบกิเลสขนาดเล็กที่ไม่ละเมิดทางกายทางวาจาได้ ข้อที่ 4 มีอธิศีล เป็นผู้มีศีล เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย เป็นผู้ที่มีศีลเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย เห็นภัยน้อย ๆ ที่มันอยู่ เป็นรูปก็เห็น ตาดีเห็น ความรู้สึกจะเห็น ด้านรูปธรรมหรือด้านกายก็จะเห็นแม้แต่ด้านร่างกายก็จะเห็นได้เร็ว
ส่วนด้านจิตใจเป็นอย่างไร ก็จะเห็นภัย ในโทษมีประมาณเล็กน้อย คือ ใจของเราแม้กิเลสแสดงเข้ามาแว็บหนึ่งก็เห็นแล้ว มันไม่เข้าท่า มันไม่สบาย มันแย่มากเลย มันไม่สบาย มันน่าเกลียด ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น ไม่น่ามีเลย
ที่อธิบายเมื่อกี้นี้ ถ้าเราเพิ่มอธิศีลไปเราจะเห็น แต่ไม่เพิ่มอธิศีลจะเห็นไหม จะไปเห็นอะไรล่ะ ตัวเองนี่หยาบขนาดนั้น ขนาดเขาทำผิดน้อยเดียวนี่ เป็นอย่างไร โกรธอย่างแรงเลย หน้ามืดเลยนะหน้ามืดเลยก็ยังคิดว่าตัวเองถูก เข้าใจไหม ไม่ต้องพูดถึงหรอก เขาทำผิดแรง ๆ เป็นอย่างไร เขาทำผิดแรง ๆ ก็ยิ่งโกรธแรงเลยนะ ไม่ชอบใจเรื่องไหนแรง โกรธแรงเลย อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ก็ เขาทำผิดน้อยเดียวเลย ทำไม่ถูกใจน้อยเดียว เป็นอย่างไร โกรธแรงเลย ถือสาแรงเลย เป็นอย่างไร ทุกข์ในใจของตัวเองแรง ๆ
เห็นไหม นึกว่าตัวเองถูก นึกว่าเขาผิด เห็นโทษตัวเองไหม ไม่เห็น ไม่เห็น ตาบอดทั้ง ๆ ที่ลืมตานี่แหละ ก็ตาบอด ตาบอดมองตัวเองไม่เห็น แต่มองคนอื่นเห็น เป็นอย่างไรไม่รู้ ตาดีมองคนอื่นเห็น ตาดีมองคนอื่น ตาบอดมองตัวเอง ข้อพร่องคนอื่นเห็นหมด แต่เป็นอย่างไรกิเลสตัวเองโตเบ้อเร่อเลย ถือสาอย่างแรงเลย เห็นไหม ไม่เห็น ตาบอด ตาบอดมองไม่เห็น อาจารย์ว่าทำไมเพลงอะไรมันเข้ามาหมดเลย ก็มันร้องมาเยอะนะ เพลงพวกนั้นนะ สมัยเป็นวัยรุ่นก็ร้องเพลงอะไรก็ไม่รู้ ร้องไปหมด ตาบอดมองไม่เห็นหรอก แต่มันโตเบ้อเร่อ ๆ มองไม่เห็นเลย ถ้ามันจะเล็ก ๆ นะ ขนาดเขาทำผิดมาก ๆ เลย แต่ก่อนเป็นอย่างไร เราถือสามากเลย ขนาดทำผิดเล็ก ๆ ยังถือสามากเลยใช่ไหม ทำผิดใหญ่ ๆ จะไม่ถือสามากอย่างไร ถือสามากเลย มองไม่เห็นตัวเอง
ทีนี้พอเราลดกิเลสได้เป็นอย่างไร แม้เขาทำผิด มาก ๆ แต่เราก็ไม่ถือสา มันถือสาอยู่แต่มันถือสาน้อย เขาทำผิดมาก ๆ แต่เราถือสาน้อย ถ้าเก่งเลยก็ไม่ถือสาเลย ก็ผ่องใสเลย ไม่ถือสา มีแต่ความเข้าใจมีแต่ความขอบคุณ มีแต่ความเข้าใจ ขอบคุณ ๆ ที่ให้ใช้วิบาก ขอบคุณ ๆ ที่พยายามช่วยเหลือเราตามความรู้ความสามารถของแต่ละท่าน แม้จะพร่องก็ตาม อะไรอย่างนี้ มีแต่ขอบคุณ ๆ เท่านั้นแหละ ดีหมดเลย ช่วยได้ก็ดี ช่วยไม่ได้ก็ดี ดีหมด ช่วยได้ก็เป็นกุศลร่วมกัน ช่วยไม่ได้ก็อกุศลร่วมกัน ร้ายก็หมดไป ก็ว่าไป มันก็ดีไปหมดแหละ ถ้าเราไม่ถือสา แล้วก็ปรารถนาดีต่อกัน ช่วยกันได้เท่าไหร่ก็ทำ มันดีไปหมดแหละชีวิตไม่มีอะไรไม่ดี มีปัญญาเมตตากันไปหมด ศรัทธาในส่วนดีเมตตาในส่วนด้อย ดีไปหมดเลยไม่มีอะไรทุกข์ สอดร้อยด้วยอุเบกขา วางทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลมีแต่ความผ่องใสอันนี้ล้างเกลี้ยง แต่แม้ล้างไม่เกลี้ยงมันยังมีน้อย ๆ ทำผิดตั้งมากทำไม่เข้าท่าถือสาน้อย ๆ ไปถือสาน้อย ๆ แต่ก่อนถือสาเยอะ ๆ เลยใช่ไหม แต่ก่อนเขาทำผิดเยอะ ๆ ถือสาได้เยอะ ๆ เขามองเห็นความผิดตัวเองไหม ไม่เห็น ถือสามาก ๆ เห็นแต่ความผิดคนอื่น พอลดกิเลสได้ เขาทำผิดเยอะ ๆ เราถือสาน้อย ๆ ตาดีเห็นความผิดตัวเองไหม เห็น เห็นความผิดตัวเอง ตาดีไหม
ตาดีนี่แหละเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย โทษถึงแม้เล็กแม้น้อยแต่มันไม่ดีไม่งามเลย ในใจมันไม่เข้าท่าเลย มันน่าเกลียด แต่ก่อนมันโตมาก น่ารัก ๆ เข้าใจไหม ทำไมเข้าใจแล้ว เป็นมาก่อนเป็นมาแล้วโตมากเลยแต่ก็น่ารัก คนเราเป็นได้มากนะ น่าเกลียดจะตายบอกน่ารัก ๆ ชังเขา เขาผิดนิดเดียวชังเขาแทบจะไม่เผาผีกัน บอกเราถูกต้อง เราน่ารักแล้วเราถูกต้องแล้วน่ารักแล้ว ยิ่งเขาผิดมาก ๆ โกรธ เขามาก ๆ ไม่ชอบเขามาก ๆ ยังบอกว่าเราถูกต้องเราถูกน่ารักที่สุด น่าเกลียดจะตายบอกว่าน่ารักอีก
คนหนอคนพอเรามีตาดีพอเห็นความน่าเกลียดของตัวเองลดลง ๆ จนแม้เขาทำไม่ดีมาก ๆ แต่เราถือสาน้อย ๆ รู้สึกไม่ดีเลยมันขุ่นมันไม่เข้าท่า มันกิเลสอยากได้ดั่งใจเรา มันไม่ใช่ความผิดของเขาเป็นความผิดของเรา เราอยากได้ดั่งใจเรามันเป็นวิบากของเราด้วย มันจึงไม่ได้ดั่งใจหมาย มันเป็นกิเลสของเรานี่แหละ เป็นวิบากเก่ากิเลสเก่าเรานี่แหละ ใช่ไหม วิบากใหม่ก็กิเลสใหม่เรานี่แหละ อย่างนี้เป็นต้น ทำให้ทุกข์ใจอยู่อย่างนี้ แล้วมันก็ขุ่นไม่ดีเลยเรารู้สึกว่าขุ่น เสร็จแล้วเรารู้เท่าทันก็สลายได้ มารเรารู้จักเธอแล้ว สลายไปเลยผ่องใสเลย
คนทุกคนก็ต้องพลาดอย่างนี้ด้วยกันทั้งนั้นแหละ เกิดเมตตาคนอื่นขึ้นมาอีก นอกจากเราจะเมตตาตัวเองได้สำเร็จแล้วหายทุกข์ ขอโทษใจไม่ดี ขออโหสิกรรมแล้วก็ล้างใจเรา ขออโหสิกรรมกับเขา ขอโทษที่คิดไม่ดี เขาทำประโยชน์ให้แท้ ๆ เลย ขอบคุณที่มาช่วยทำประโยชน์ให้เรา ให้เราเห็นทุกข์ในใจเราได้ล้างทุกข์ ขอบคุณมาก ๆ ให้หมดเวรหมดกรรม ถ้าเราช่วยอะไรได้เราก็จะช่วยนะช่วยไม่ได้ก็ทำตัวอย่างที่ดีให้ดูเปิดเผยข้อมูลดี ๆ ออกไป เอาไปใช้ชาติไหนก็ตามสะดวก นี่ก็เมตตาต่อกันเห็นไหม เมตตาต่อตัวเองเสร็จเมตตาต่อผู้อื่นด้วย ปรารถนาดีต่อผู้อื่นด้วยเพราะเรารู้ว่าชีวิตมันพลาดได้ตลอด นิดเดียวก็ยังพลาด
กิเลสแปลว่าเหลือนิดเดียวก็ยังพลาด ที่มันมากจะพลาดไหมก็ไม่ต้องพูดถึงเลยมันพลาดอยู่แล้ว มากนะมันฉลาดน้อยหรือมาก โง่มากล่ะสิ พระพุทธเจ้าตรัสใน เทวธาวิตักกะ ว่ากิเลสมากก็โง่มาก กิเลสน้อยก็โง่น้อย ไม่มีกิเลสเลยไม่โง่เลยฉลาดอย่างเดียว มีปัญญาอย่างเดียว เพราะฉะนั้นกิเลสมากเป็นอย่างไร โง่มากจะพลาดมากไหม พลาดมาก กิเลสปานกลางโง่ปานกลางพลาดปานกลาง กิเลสน้อยก็โง่น้อยพลาดน้อย แต่ก็ยังพลาดอยู่ เราจะซาบซึ้งเลยว่านิดเดียวก็จะพลาด แต่พลาดเราก็ควรจะยินดี
เพราะฉะนั้นเราเห็นแล้วอย่าทำทุกข์ทับถมตน เห็นแล้วก็ดีจังเลยที่ได้เห็นกิเลส ได้เห็นทุกข์ พระพุทธเจ้าบอกเห็นทุกข์จึงเห็นธรรม เห็นข้อบกพร่องตัวเองนี่แหละคือคนประเสริฐแล้ว เป็นคนดีแล้วที่เห็นข้อบกพร่องของตัวเอง ยินดีที่เราเป็นคนดี ดีกว่า เราเห็นข้อบกพร่องของคนอื่นแล้วบอกว่าเป็นคนดี เห็นข้อบกพร่องของคนอื่นแล้วก็เกลียดเขาเชียวไม่ชอบ แก้ไม่ได้ก็ทุกข์ใจแล้วก็บอกว่าเราเป็นคนดีอยู่อย่างนั้นแหละ คนทุกข์ไม่ดี เราเห็นทุกข์ในใจเรานี่แหละดีจังเลย เห็นข้อบกพร่องในใจเราเห็นทุกข์จึงเห็นธรรมเราก็ยินดีที่ได้เห็นทุกข์ ยินดีที่ได้เป็นทุกข์ เป็นทุกข์เท่าไรก็หมดวิบากเท่านั้น จะเป็นวิบากเก่าวิบากใหม่รับเท่าไรก็หมดเท่านั้น ดีจังเลยที่ได้ใช้วิบาก
ยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง ยินดีเข้าไปเลย ได้เห็นทุกข์ได้ใช้วิบาก แล้วก็จะได้แก้ที่ต้นเหตุ ที่กิเลสของเราความอยากได้ดั่งใจของเรา ความอยากได้สุขที่ไม่มีของเรามันโง่ ไปสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี โง่ตายเลยชีวิต ยินดีที่ได้รู้ต้นเหตุ ยินดีที่จะดับที่ต้นเหตุแล้วก็พ้นทุกข์ ยินดีที่ได้พ้นทุกข์ ก็ได้เป็นประโยชน์แก่คนอื่นต่อไปแล้วเราก็จะเมตตาคนอื่นเพราะเรารู้ว่ากิเลสนี่มันแก้ยากและมันพร้อมทำให้เราทุกข์ได้ตลอดเวลานี่แหละมาร ขันธมาร
นี่แหละมารขันธ์ห้าของกิเลส กิเลสมารทำให้ทุกข์ได้ตลอดเวลา พร้อมแทรกตลอดที่ไหน ๆ มันพร้อมตลอดเวลามันไม่หลับไม่นอนเลยนะกบดานและรอจังหวะอยู่ ดูอยู่ได้จังหวะเสียบเลยอยู่ในจิตเรานี่แหละ ไปไหนไปด้วยกันเพื่อนสองไม่ต้องหายากหรอกอยู่ในใจเรานี่แหละจะเห็นมันเมื่อมีผัสสะมากระทบ เจอเมื่อไรก็กำจัดไปและเราก็ได้เอาประโยชน์ ได้ขออโหสิกรรมขอโทษที่ไปโทษคนอื่นไม่เข้าท่าขอโทษ ๆ ขอโทษขออโหสิกรรมแล้วก็ยินดีรับโทษรับเท่าไรหมดเท่านั้น ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดีอันนั้น รู้ว่าไม่ดียินดีที่รู้ว่าไม่ดี ยินดีที่ได้หยุดมันแก้ไขมันสลายมันตั้งจิตที่จะ ทำดีให้มาก ๆ ยินดีที่จะได้เอาประโยชน์ไปช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่เราจะช่วยได้หรือเอาอันนี้ไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปอย่างนี้เป็นต้น
เราจะได้ประโยชน์อย่างนี้ ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างนี้ เราก็จะล้างทุกข์ของเราไปได้ นี่แหละวิธีกำจัดความเครียดกำจัดแบบนี้ไปเลย ใครจะกำจัดความเครียดทำไปเลยชีวิตจะไม่มีอะไรเครียด มีแต่ความยินดีเอาประโยชน์ได้หมด ยินดีในการละบาปสิ่งที่ไม่ดี ไม่งาม ยินดีในการทำกุศลทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ดีงาม ละบาปละสิ่ง ที่เป็นโทษภัย ไม่ดีไม่งามต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ทำกุศล ทำสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น และทำจิตใจให้ผ่องใสก็มีความยินดีในการละบาป ยินดีในการทำกุศลที่ทำได้ ยินดีในการทำจิตใจให้ผ่องใสเอาประโยชน์ได้หมด ดีเกิดได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สุขใจได้หมด เกิดดีเกิดร้ายก็ เอาประโยชน์ได้หมดไร้กังวลนี่เป็นสัจจะอย่างนี้ ไล่จากท้ายขึ้นไปก็ได้
อันที่ 4 เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย นี่อธิบายไปแล้ว ถ้าเราอยากเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย จริง ๆ มันไม่ได้น้อยนะ มันเยอะนะ มันใหญ่นะ แต่กิเลสมันบอกว่าเล็กน้อยเท่านั้นเอง แต่เราตาดีเห็น โอ้! นี่ใหญ่สำหรับเรา พอเราสัมผัสได้นี่ ผ่องใสขึ้นอีกเยอะ แข็งแรงขึ้นอีกเยอะ ใจเป็นสุขขึ้นอีกเยอะ แข็งแรงขึ้นอีกเยอะ เรื่องดีเพิ่มอีกเยอะ ไม่ใช่น้อย ๆ เราจะรู้เลยนี่ ไม่ใช่โทษน้อยหรอก แต่คนรู้สึกว่ามันโทษน้อย แต่แม้น้อยนี่ตาเราก็ดี ใช่ไหม ที่เขาว่าน้อยจริง ๆ มันไม่ได้น้อยหรอก เยอะ..ใหญ่อยู่ แต่มันก็น้อยกว่าอันที่โต ๆ ล่ะนะ โ ต ๆ เราล้างมาเล็ก ๆ แต่เราก็ยังเห็นเป็นภัย ที่เก็บไว้แล้วไม่ดี ไม่ดีเลยมันทรมาน กิลมถะ อยู่
ทรมานอยู่ รู้สึกไม่เข้าท่า แม้อย่างนี้เราก็ไม่ไว้หน้ามัน เราจะเป็นคนไม่ไว้หน้ากิเลส คำว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย คือ เห็นกิเลสแม้น้อยก็ไม่ไว้หน้ามัน เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่ากิเลสแม้น้อยก็เหม็นมาก ก็ทุกข์มาก เหม็นมากทุกข์มาก สร้างปัญหามาก แล้วมันแตกตัวได้ด้วย ท่านบอกว่าอย่างนั้น มันแตกตัวใหญ่ขึ้นมาแล้วก็เล่นงานเราได้ด้วย เพราะฉะนั้นจะเป็นผู้ไม่ประมาท จะเป็นผู้ไม่ประมาทไม่เก็บเอาไว้ กิเลสแม้น้อยก็ไม่เก็บเอาไว้ ไม่ประมาท เก็บเอาไว้ทำไมสลายทิ้ง สลายเป็นพลังพุทธะเลย ดีกว่าใช่ไหม เป็นพลังพุทธะเลย อันต่อไป อาจารย์เขียนว่า คุยกับเทวดาว่า คุยกับเทวดา คือ คุยกับตัวเองนั่นแหละ เอาอะไรไปสอนนะวันนี้ มีธรรมะอะไรนะจะไปย้ำซ้ำทวนหรือจะไปเติมเต็ม มีประมาณ 5-6 หัวข้อ
หัวข้อต่อไป “อย่ารอให้กิเลสโตแล้วค่อยตั้งศีลเลิก” จะทุกข์มากจากวิบากร้าย จะทุกข์มากจากการเลิกกิเลส ก็คือสภาพ เนกขัมมสิตโทมนัส คือมันจะมาทางพุทธะเหมือนกัน แต่มัน โทมนัส นี่ทุกข์นะ ไม่ทำตามมันน่ะดิ้น ๆ ๆ นะ กิเลสน่ะ อยากได้และไม่ได้นะมันทุกข์นะ ยิ่งหนักหนานี่มันทุกข์ ๆ ๆ ๆ เลย ทุกข์แรงน่ะ ทุกข์มากจากการเลิกกิเลส มันจะทุกข์มากทรมานมาก จะเลิกยาก พอมันทุกข์มากมันจะเลิกยาก เพราะ 1.มันทุกข์มากด้วย 2.มันโง่มากด้วย ใช่ไหม กิเลสโตน่ะมันทุกข์มากมันโง่มากนะ มันไม่ใช่จะฉลาดได้ง่ายนะ มันทำให้ไม่ทุกข์จะทำให้ฉลาดนี่มันทำได้ยาก มันเป็นอย่างนั้น และมันก็เลิกได้ช้า ใช่ไหม
เพราะรอให้มันโต เลยเลิกได้ช้า บางทีเลิกไม่ได้เลยมันเอาเราตายเลย จะบอกให้ ไม่ใช่ธรรมดา อย่ารอให้มันโตแล้วค่อยทำศีลเลิกนะ แล้วตรงกันข้ามเป็นอย่างไร คนฉลาดเป็นอย่างไร ตั้งศีลเลิกตั้งแต่มันไม่โตมากนี่แหละ ใช่ไหม ตั้งแต่เรายังมีกำลังอยู่นี่ละ ตั้งแต่มันไม่โตมากเกินไปกว่านี้น่ะ ไม่โตไปกว่านี้รีบตั้งศีลเลิกเลย พอตั้งหลักตั้งลำได้เลิก รีบตั้งศีลเลิกเลย ตั้งศีลเลิกกามในชั่วกามในดี ก็ว่าไป เลิกกามในชั่วนั่นแหละก่อน เลิกไปเลยกามในชั่ว แล้วไปทำดี เลิกกามในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เป็นภัย หรือพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น ชัดเจน เราก็ลด ละเลิก ไปเป็นตามลำดับ
กามในดี มีทั้งติดมีทั้งตัด ทำได้ก็ติดไป ทำไม่ได้ตัดออกไป ต้องสุขใจให้ได้ แม้จะทำได้หรือทำไม่ได้ แม้ในดี ถึงที่สุดแล้ว เราก็ต้องสุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจให้ได้ ต้องเริ่มต้นจากสุขใจที่ได้ดั่งใจให้ได้ก่อน ในดีนี้ใช่ไหม ออกจากชั่วมาติดดีให้ได้ก่อน สุขใจที่ได้ดั่งใจให้ได้ก่อน เสร็จแล้วพอเรามีปัญญาเป็นอย่างไร รู้ว่า โอ้โห! แม้ติดดีก็ทุกข์เหมือนกันนะ ทุกข์หนักด้วยไม่ใช่ธรรมดา ทุกข์อย่างหนักเลย เอาตายได้เลย ทรมานชั่วกัปชั่วกัลป์ได้เลย เราก็จะต้อง แม้ไม่ได้ดั่งใจก็ต้องสุขใจให้ได้ หรือคนฉลาด ๆ ก็ทำใจไว้ก่อนเลยว่า ถ้าได้ดั่งใจเราก็สุขใจได้นะ แต่ถ้าไม่ได้ดั่งใจเราก็ต้องสุขใจให้ได้นะ ตรวจใจตัวเองด้วยว่า ถ้าไม่ได้ดั่งใจแล้วจะทุกข์ไหม ถ้าไม่ได้จะทุกข์ไหม เวลาจะทำดีนั้นละนะ แน่นอนล่ะได้นะเราสุขอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ได้นะเราสุขได้ไหม คิดอย่างนี้ไว้ด้วยนะ
ถ้าคนฉลาด ๆ ตั้งศีลไว้ด้วยว่า แม้ไม่ได้ ก็สุขใจให้ได้ ถ้าได้ ก็สุขใจได้ แม้ไม่ได้ ก็สุขใจได้ ก็ตรวจใจตัวเองทำใจไว้ ก็เป็นอุเบกขาแล้วก็เอา ลุย.. ถ้าได้แล้วสุขใจได้ไม่ได้แล้วสุขใจได้ ก็ลุย… ทำได้ก็สุขใจทำไม่ได้ก็สุขใจ ใช่ไหม ก็จิตใจผ่องใส ต้องรีบเลิกกิเลสตั้งแต่มันยังไม่โต อาจารย์เคยเห็นหลายคนน่ะ ไม่รีบเลิกมัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ประมาท
ประมาทไม่รีบเลิกมันตั้งแต่มันยังเล็กอยู่ หรือลดมันลงไปได้ ก็เหลือน้อย ๆ แล้วยังไม่กำจัดมัน เหลือมันไว้น่ะ มันยังแตกตัวได้อีกนะ แตกตัวได้อีกนะกิเลสน่ะ อย่าไปคิดว่ามันไม่แตกตัวหรือมันยังแตกตัวได้อีกนะจะบอกให้ ต้องกำจัดมันให้เกลี้ยง มันอันตรายต้องกำจัดมันให้เกลี้ยง อย่าเหลือไว้ เหลือไว้มันก็เป็นภัยนี่มันอันตราย รีบกำจัดมันซะตั้งแต่มันยังเล็ก ๆ อย่ารอให้มันโตจะแก้ยาก แล้วก็ทุกข์มาก ไม่ดี ทุกข์มาก โง่มาก เลิกยาก เลิกช้า
จงตัดสินประโยชน์-โทษด้วยผลของ เวทนา กาย -ใจ พุทธะมีตัดสินความเป็นประโยชน์ เป็นโทษด้วย เวทนา คือ ความรู้สึก ทางกาย ทางใจ อะไรเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อร่างกาย เราก็ให้ดูความรู้สึกในร่างกายเราว่ามันสบายหรือไม่สบาย อะไรเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อจิตใจเรา ให้ดูความรู้สึกในจิตใจเรา ว่ามันสบายหรือไม่สบาย ไม่สบายเป็นโทษแน่นอน ถ้าสบายล่ะ ก็เป็นประโยชน์ แต่ว่า แม้เป็นประโยชน์ มันมีประโยชน์ชั่วคราวกับยั่งยืน ได้ประโยชน์ชั่วคราวมันจะเป็นโทษซ้อน ถ้าประโยชน์ยั่งยืนมันจะไม่มีโทษเลย เพราะฉะนั้นต้องเป็นประโยชน์ยั่งยืนหรือไม่มีโทษยั่งยืน มันสบายยั่งยืน ตัดสินว่า เอ๊ะ! อันนี้เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษนะ เช่น เรากินอันนี้มันจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษเราก็ นี่มันดูว่าสบายหรือไม่สบาย แล้วกินแค่ไหนมันจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ ดูที่ตกลงมันสบายหรือไม่สบาย สบาย เบากาย มีกำลัง ไหมล่ะ ไม่ใช่ไปตัดสินเอาว่า นี่ก็ว่าเป็นประโยชน์กินน้อยก็พอแล้ว ทั้งที่เรากินไปก็ไม่ทันอิ่มหรอกเราก็รู้ พลังเราไม่เต็ม แต่เราก็ใช้ปัญญาสมถะ ตามเขาว่ามา เขาว่ามาว่ามันเป็นประโยชน์มากกินน้อยก็พอแล้ว เราก็กินน้อยเราก็ โหยเลย พลังไม่เต็ม อย่างนี้เป็นต้น
เราก็ต้องกินให้มากเท่าที่เราพอดี เท่าที่เรากำลังเต็ม อย่างนี้เป็นต้น หรือเขาบอกว่าอันนี้ มันมีประโยชน์น้อยต้องกินเยอะ ๆ มันถึงจะพอ ว่าแล้วเราก็ใส่ไปเยอะ ๆ ทั้ง ๆ ที่เรากินน้อยเดียวก็พอแล้วสำหรับเรา อย่างนี้เป็นต้น มันก็ อย่าไปฟัง กิรดังได้ยินมา กับข้างนอก ๆ นี่นะ เขาจะว่าดีไม่ดีเขาจะว่ากินมากกินน้อยขนาดไหนเป็นประโยชน์ หรือบางทีบอกว่าถ้วยเดียวก็พอแล้ว แต่เราไม่พอเราต้องสามถ้วยจึงจะพอ บางทีเขาก็บอกว่าของฉันสามถ้วยถึงจะพอ แต่ของเราถ้วยเดียวก็พอแล้ว มันไม่เหมือนกันแต่ละคน ๆ อย่าไปฟังคนอื่นมากนัก ฟังใคร ฟังเราเองนี่แหละ ฟังความรู้สึกของเรา ฟังเวทนาของเรา
พระพุทธเจ้าใช้เวทนาเป็นหลัก จะมากจะน้อยจะเป็นชนิดไหนก็ใช้เวทนาของเราเป็นหลักว่ามันสบายหรือไม่สบาย จะมากจะน้อยก็ใช้เวทนาของเราเป็นหลักไม่ต้องไปแคร์คนอื่น ไม่ต้องน้ำวันละแปดแก้ว ไม่ต้องข้าววันละ สามจาน ห้าจานก็ได้ สิบ จานก็ได้ หนึ่งจานก็ได้ ได้หมด ขอให้พอดีเราอิ่มเราพอแล้ว เขาจะว่าเรากินจุก็ช่างเขาสิ เขาจะว่าเรากินน้อยก็ช่างเขาสิ เขาจะว่าเรากินพอดีก็ช่างเขาสิ เขาจะว่าอย่างไรก็ช่างเขามันพอดีสำหรับเรา อาศัยเวทนาเป็นหลัก
ในเวทนา108 พระพุทธเจ้าตรัสว่าธรรมะของท่านว่าด้วยเวทนา หรือในพระไตรปิฎกเล่มที่ 10 ข้อที่ 60 ท่านก็ว่าด้วย เวทนาเอาความรู้สึกเป็นเอกเป็นเลิศเป็นยอดที่สุดนั่นแหละดีที่สุด พระพุทธเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ ทวเยนะ เวทนายะ เทวธัมมา ทวเยนะ เวทนายะ เอกสโมสรณา ภวันติ ทวเยนะ ธรรมะสอง ถ้าเปรียบเทียบทั้งสองอย่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งระหว่างทำกับไม่ทำ อย่างนี้เป็นต้น สิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งก็ได้ทำกับไม่ทำก็ได้ นี่คือธรรมะสอง เทวธัมมา ธรรมะสอง ทวเยนะ เวทนายะ เปรียบเทียบเวทนาสองอย่าง ทำคนละอย่าง เปรียบเทียบเวทนาคือความรู้สึกสองอย่างนั้น เอกสโมสรณา เลือกเอาที่เป็นเอกะ เป็นเอก เป็น หนึ่ง เลือกเอาอันเดียวที่ยอดเยี่ยมที่สุด เป็นเอกเป็นหนึ่งที่ดีเยี่ยมที่สุดเอาเวทนาที่ดีที่สุด กายก็สบายที่สุด ไม่สบายไม่เอา
เอาสบายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กายก็สบายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ใจก็สบายที่สุดที่เป็นไปได้ เอาจนสบายยั่งยืน ทุกข์กายไม่เอา ถ้ามันทำได้ ทำไม่ได้ก็ให้ทุกข์น้อยที่สุด ที่เป็นไปได้ทุกข์ใจไม่เอาอยู่แล้วสลายทิ้งไปเลย แล้วก็ไปเลือกอีก สบายใจชั่วคราวไม่เอา เดี๋ยวจะวนมาทุกข์อีก ตรวจสอบเวทนาความรู้สึกวนมาทุกข์อีกได้อีกไม่เอา เอาสบายใจยั่งยืน อย่างนี้ความรู้สึกให้เป็นผู้ที่ตัดสินประโยชน์โทษด้วยผลของเวทนาคือความรู้สึกทางกายและหรือทางใจมันควบคู่กัน จริง ๆ แม้แต่ใจ ยังส่งผลต่อกายเลย เราคิดแบบไหนใจเราสบาย กายเราก็สบายไปด้วยกันนั่นแหละใจไม่สบายกายก็ไม่สบายด้วยเหมือนกัน บางทีอ่านใจไม่ออกอ่านกายก็ได้ ว่าเราคิดแบบนี้กายเป็นอย่างไร ไม่เข้าท่าไปดูใจสิ ใจก็ไม่เข้าท่าเหมือนกันใจเป็นทุกข์กายก็เป็นทุกข์ ใจเป็นสุขกายก็เป็นสุขไปด้วยกันเราก็จะรู้จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว
ในเทวธาวิตักกะพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าตรัสว่า กิเลสเป็นตัวเบียดเบียนจะทำให้ปัญญาดับ ถ้าเราดับกิเลสได้มันก็จะดับการเบียดเบียนได้ จะไม่เบียดเบียนใครเลย แล้วก็ทำให้ปัญญาเจริญ
ในเอชสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าใครไปให้ความสำคัญกับเรื่องใด ๆ แล้วไปยึดมั่นถือมั่น สำคัญมาก ๆ คลายไม่ออกเลยนั่นจะเป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปให้ความสำคัญกับสิ่งใด ๆ มันก็ ดีนั้นเกิดไม่ได้หรือความสำคัญนั้นเกิดไม่ได้ก็จะทำให้เราเครียดให้เราทุกข์ แปลว่าเรายึดมั่นถือมั่นแล้ว ว่าจะได้ตามนั้นจะเป็นสุข ถ้าไม่ได้จะเป็นทุกข์ ได้จะเกิดประโยชน์มาก ไม่ได้จะเสียหายมากอย่างนี้ เป็นโทษแล้ว เป็นทุกข์แล้ว
พระพุทธเจ้าบอกเป็นโรคใจแล้ว มันทุกข์มันทรมานแล้วกำจัดเลย ท่านตรัสว่า ไม่สำคัญในสิ่งใด ๆ ถึงแบบนั้นแล้วแม้สิ่งสำคัญนั้นถ้ามันไม่ได้ทำลายความสำคัญลงให้ได้ไม่สำคัญ เพราะมันไม่ใช่สุขที่มี มันคือสุขที่ไม่มีต่อให้ได้ก็คือสุขที่ไม่มี ที่ได้ก็แค่กุศลเฉย ๆ สุขใจที่ได้คือสุขที่ไม่มี กุศลนั้นเวลาทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจหลงว่ามันมี เราก็ทุกข์ใจทุกข์กายเรื่องร้ายกุศลนั้นมาช่วยดับทุกข์ใจไม่ได้เลยเวลาเราไม่ได้ดั่งใจ เพราะฉะนั้นมันไม่มีค่าอะไรเลยถ้าเราไปหลงยึดมั่นถือมั่นแม้ไม่ได้ เราก็ต้องสุขให้ได้ ได้มันไม่มีปัญหามันมีคุณค่ามีประโยชน์ตามที่เราเห็นว่ามีคุณค่าประโยชน์เห็นความสำคัญ แต่ถ้าไม่ได้นี่แหละมันจะทุกข์แต่เราต้องสุขให้ได้ วิธีที่เราจะสุขให้ได้ต้องตัดความสำคัญ
พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าเราจะพ้นทุกข์ต้องไม่สำคัญในสิ่งใด ๆ เรื่องนั้นก็ไม่สำคัญที่เราหลงว่าสำคัญสลายมันออกไปเลย ไม่สำคัญ วิธีจะคลายความสำคัญก็ต้องมีอุบาย ไม่สำคัญก็เพราะเรื่องสุขใจนั้นไม่มีจริง สุขที่ไม่มี เราต้องเอาทุกข์ไปแลกสุขทำไม ไม่สำคัญในเรื่องนั้นแม้แต่กุศลเรื่องนั้น ไม่สำคัญถ้าไม่ใช่กุศลของเราและคนที่เกี่ยวข้องมันก็ไม่ได้ มันไม่เกิดมันไม่ใช่สิ่งสำคัญที่จะต้องเกิด ถ้าได้มาก็เป็นกุศลขี้โกง กุศลขโมย กุศลไม่ยุติธรรม มันไม่น่าได้ไม่น่าเป็นไม่น่ามีหรอกไม่มีความสำคัญหรอก กุศลขี้โกงนี้ไม่สำคัญสลายทิ้งเลย ไม่เอาต่อให้ได้ดั่งใจก็แค่สุขที่ไม่มี ต่อให้เป็นกุศลแท้ ๆ ทำได้ด้วยเป็นอย่างไร เราก็ไปหลงติด สำคัญ ๆ สำคัญ ๆ ตอนที่ไม่ได้ทุกข์ไหม ทุกข์ แล้วสุขที่เคยได้กลับมาช่วยเราได้ไหมไม่ได้ แล้วมันสำคัญจริงไหม ไม่จริง ต่อให้ทำได้ก็ไม่เคยกลับมาช่วยเราได้เลย สุขใจที่ได้ดั่งใจมันไม่มี กลับมาช่วยเราไม่ได้เลย
มันไม่สำคัญ ใส่เข้าไปสิกิเลสก็หน้าหงายเลย โอ!จริงนะ มันไม่สำคัญจริง ๆ ก็หายทุกข์เลยไม่ต้องสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี หายทุกข์เลยไม่มีความสำคัญหรอก สำคัญที่สุดคือเราไม่ทุกข์ต่างหาก เราไม่ทุกข์นี่เป็นสุขที่สุดแล้ว เหนี่ยวนำให้คนอื่นเป็นตาม นี่เป็นกุศลแท้เลยไม่มีภัยใด ๆ เลย เห็นไหมดีกว่าตั้งเยอะ มันเป็นของแถมเฉย ๆ หรอกกุศลออกฤทธิ์มันก็สำเร็จ ตัวที่ว่าเราสำคัญ ๆ ตัวนั้นน่ะตัวดีที่เราว่าเป็นประโยชน์มากสำคัญมากกุศลมีมันก็ได้ กุศลเรากุศลคนที่เกี่ยวข้องมีมันก็ได้ กุศลไม่มีมันก็ไม่ได้กุศลมันก็เกิดดับ ๆ ต่อให้ได้ดั่งใจก็กลับมาช่วยอะไรเราไม่ได้ ต่อให้ได้ดั่งใจเราไปติดไปหลง วันที่เราทุกข์ที่ไม่ได้ดั่งใจกลับมาช่วย ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไรนี่คือสัจจะอย่างนี้ เรารู้เราก็สบาย
ไม่เอา ไม่สำคัญในสิ่งใด ๆ ไม่สำคัญในสิ่งใด ๆ สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจสำคัญที่สุด สุขใจที่ไม่ได้ดั่งใจสำคัญที่สุด สุขใจที่แม้ได้หรือไม่ได้ดั่งใจก็สามารถสุขใจได้สำคัญที่สุด สุขใจที่ไม่มีภัยสำคัญที่สุด สุขใจที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์สำคัญที่สุด สุขใจที่ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ไม่มีชอบไม่มีชัง สำคัญที่สุด เพราะไม่มีสุขก็ไม่เป็นไร ไม่มีทุกข์ก็พอแล้ว สุขแล้ว สุขสบายแล้ว ไม่มีทุกข์ก็สุขสบายแล้ว สบายที่สุดแล้ว เห็นไหม? เรามีปัญญาอย่างนี้ ต้องไม่สำคัญในสิ่งใด ๆ ให้เป็น ทำให้เป็น ส่วนดีไหนเกิดได้ เราก็พร้อมสำคัญได้ ไม่มีปัญหา ดีนี้มีประโยชน์ก็ยึดได้ ทำไม่ได้เมื่อไร ไม่สำคัญในสิ่งใด ๆ ไม่ทุกข์ใจสำคัญที่สุด ไม่ยึดมั่นถือมั่นสำคัญที่สุด ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ไม่มีภัยสำคัญที่สุด
ตัวสุดท้าย อุปกิเลส คือ กิเลสใหม่ที่ซ้อนในดีที่ทำได้ ตั้งแต่ดีธรรมดาโลกียะ จนถึงดีโลกุตระ แต่ละเรื่อง แต่ละเรื่อง ระมัดระวัง อุปกิเลสซ้อน อุปะแปลว่าอุบัติ กิเลสก็คือเหตุแห่งทุกข์ กิเลสก็คือสุขใจที่ได้ดั่งใจทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ สุขที่ไม่มี มีแต่ทุกข์ ระวัง มันจะไปอยากได้สุขใจที่ได้ดั่งใจซ้อน เราได้ดีเรื่องไหนเรื่องไหนก็แล้วแต่โดยเฉพาะดีถึงขั้นเราชำระกิเลสบางเรื่องได้ ชำระบางเรื่องได้ มีความสุขจริง ๆ แล้วก็อยากให้คนอื่นได้เลย นี่แหละอุปกิเลส
อยากนะมันดี แต่ว่าเวลาไม่ได้ก็ต้องสุขใจให้ได้ ส่วนใหญ่มันจะอยากให้เขาได้แล้วถ้าได้จะเป็นสุขถ้าไม่ได้จะเป็นทุกข์ มันจะซ้อนเข้าไป ระวังอันนี้แหละ มันจะเป็นอภิชฌาวิสมโลภะ โลภอยากให้ดีนั้นเกิดมาก ๆ เกิดได้จะเป็นสุข เกิดไม่ได้จะเป็นทุกข์ พอไม่ได้ก็จะพยาบาท อภิชฌาวิสมโลภะ พอไม่ได้ก็พยาบาท ชิงชังรังเกียจ ไม่ชอบใจไม่พอใจ อย่างนี้เป็นต้น คู่นี้แหละระวัง คู่ชอบคู่ชัง คู่สุขคู่ทุกข์ มันจะมีตัวนี้ซ้อนเข้าไปอีก ซึ่งมันเป็นกิเลสใหม่ ไม่ใช่กิเลสเก่า เราไม่เคยมีกิเลสนี้มาก่อน เพราะเรายังไม่เคยชำระกิเลสตัวนี้ได้ ยังไม่เคยทำดีอันนี้ได้ ยังไม่เคยชำระกิเลสตัวนี้ได้ เพราะฉะนั้น เราจะมีอุปกิเลสตอนที่เรายังไม่สามารถทำดีอันนี้ได้ มันจะมีไหม? ก็ไม่มี ก็ตอนนั้นยังไม่ได้อันนี้เลย ยังไม่เห็นคุณค่าของตัวนี้ มันก็ไม่มีกิเลสซ้อน
แต่เมื่อใดก็ตาม เราชำระกิเลสบางตัวได้หรือทำดีบางอย่างได้ มันจะมีกิเลสซ้อน ระมัดระวัง มันอยากให้คนอื่นได้ ถ้าได้จะเป็นสุข ถ้าไม่ได้จะเป็นทุกข์ จริง ๆ มีเมตตาต่อคนอื่นนั้นดีแล้ว แต่ต้องอุเบกขาให้เป็น ต้องติดเบรกให้เป็นในขาเรา แต่นี้ไม่มีเบรกเลย มีแต่คันเร่งอย่างเดียว ระวังเถอะ แข้งขามันจะเตะคนอื่น มันจะเตะตัวเอง เตะไปเตะมาเจ็บขานะ ไม่มีเบรก ต้องมีเบรกขาด้วย ใส่เบรกไว้ด้วย ปรารถนาดีต่อคนอื่นก็ดีแล้ว อยากให้มันเกิดดีก็ดีแล้ว แต่ว่าเราจะต้องไม่ทุกข์ใจถ้ามันเกิดไม่ได้ ไม่ไปติดสุขที่ไม่มี ไม่หลงสร้างทุกข์ไปสร้างสุขที่ไม่มี ไม่หลงสร้างทุกข์ไปแลกสุขที่ไม่มี อย่าไปหลง หลงมันก็ทุกข์ ไม่ต้องไปหลง แล้วก็ให้เข้าใจเรื่องกรรมแจ่มแจ้ง
กุศลใครเต็มรอบก็ได้ กุศลใครไม่เต็มรอบก็ไม่ได้ เท่านี้เอง ก็มีแต่กุศล อกุศลอยู่เท่านั้น ทำกุศลได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็ไม่ทำ จะไปยากอะไร สุขใจที่ไม่มีทุกข์โทษภัยดีกว่า สุขที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ สุขที่ไม่มีสุขใจที่ได้ดั่งใจ ไม่มีทุกข์ใจที่ไม่ได้ดั่งใจ เป็นสุขที่ไม่มีทุกโทษภัยใด ๆ เลยดีกว่า
6 หัวข้อวันนี้ ตั้งใจจะเอามาเล่าสู่ฟัง มาทบทวน มาเติมเต็ม เพื่อชีวิตจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ เมื่อถึงกาละอันควร บางท่านก็เอาไปใช้ตอนนี้ บางท่านก็เอาไปใช้ตอนหน้าหรือชาติอื่น ๆ สืบไป ก็บันทึกไว้ก่อน ถึงเวลาจะได้เอามาใช้ เป็นกำลังใจ ให้พี่น้องได้ประสบความสำเร็จในการสร้างสุขแท้ ที่ไม่มีทุกโทษภัยใด ๆ เป็นลำดับลำดับกันทุกท่าน สาธุ