การประยุกต์ใช้คิลานสูตร เพื่อป้องกันและรักษาโรคโควิด ๑๙ ของเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม
นางสาวแสงอรุณ สังคมศิลป์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
- ชื่อวิทยานิพนธ์ : การประยุกต์ใช้คิลานสูตร เพื่อป้องกันและรักษาโรคโควิด ๑๙ ของเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม
- ผู้วิจัย : นางสาวแสงอรุณ สังคมศิลป์
- ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)
- คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
- พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์, ผศ. ดร., ป.ธ. ๔, พธ.บ. (พุทธจิตวิทยา), พธ.ม. (พระพุทธศาสนา), พธ.ด. (พระพุทธศาสนา)
- รศ. ดร.พูนชัย ปันธิยะ, พธ.บ. (พระพุทธศาสนา), ศศ.ม. (ปรัชญา), Ph.D. (Buddhist Studies)
- วันเสร็จสมบูรณ์ : ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักการรักษาโรคในพระพุทธศาสนาตามหลักคิลานสูตร (๒) เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันและรักษาโรคโควิด ๑๙ ของแพทย์วิถีธรรม (๓) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์หลักคิลานสูตรรักษาผู้ป่วยจากปัญหาโควิด ๑๙ ของจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม ผลการวิจัยพบว่า
การรักษาโรคในพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ โรคทางกาย (กายิกโรโค) และโรคทางใจ (เจตสิกโรโค) การรักษาโรคทางกาย ต้องออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนอาหาร ใช้ยาสมุนไพรให้สมดุล โรคทางใจต้องรักษาด้วยกระบวนการปรับเปลี่ยนอารมณ์ โดยใช้ธรรมะ “คิลานสูตร” นั้นเป็นหนึ่งในพระสูตรในการรักษาโรคในพระไตรปิฎก เป็นหลักธรรมรักษาโรคที่สำคัญในการอบรมค่ายสุขภาพ ที่บูรณาการเพื่อให้เกิดความสุข ความสบาย ความสมบูรณ์ ด้านจิตใจ เครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมได้บูรณาการมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรค
วิธีป้องกันและรักษาโรคโควิด ๑๙ ของแพทย์วิถีธรรมนั้น มีแนวคิดหลัก คือ การฝึกฝนปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสภาวะของความสุข คือ ใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง พึ่งตนเอง ประหยัดเรียบง่าย มีประโยชน์ไม่มีโทษ พิสูจน์ผลได้ด้วยตนเอง มีการอธิบายกลไกการเกิดการหายของโรคอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีวิธีปฏิบัติมีการบูรณาการการใช้ธรรมชาติกับพระพุทธศาสนาในการรักษาโรคที่ดี คือหมอที่ดีได้แก่ตัวเราเอง เบื้องต้นคือการลดกิเลสรักษาโรค โดยมีแนวคิด “ศูนย์บาทรักษาทุกโรค”
ผลของการปฏิบัติของผู้ป่วยในโรคโควิด ๑๙ พบว่ารักษาโรคได้จริง ก่อให้เกิดความสุข ความสบาย ความสมบูรณ์ของชีวิต เข้าใจการลดกิเลสรักษาโรคครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งวิทยาศาสตร์เชิงนามธรรมและรูปธรรม
Application of Gilana Sutta to Prevent COVID-19 Treat Infected Patients in the Buddhist Dhamma Medicine Volunteer Network
Miss Sangaroon Sungkomsilp
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of
the Requirements for the Degree of
Master of Arts
(Buddhist Studies)
Graduate School
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
C.E. 2023
(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)
- Researcher : Miss Sangaroon Sungkomsilp
- Degree : Master of Arts (Buddhist Studies)
- Thesis Supervisory Committee :
- Phrakrupariyathijethiyanuruksa, Asst. Prof. Dr., Pali IV, B.A. (BuddhistPsychology), M.A. (Buddhist Studies),
Ph.D. (Buddhist Studies) - Assoc. Prof. Dr. Phoonchai Punthiya, B.A. (Religions), M.A. (Philosophy), Ph.D. (Buddhist Studies)
- Phrakrupariyathijethiyanuruksa, Asst. Prof. Dr., Pali IV, B.A. (BuddhistPsychology), M.A. (Buddhist Studies),
- Thesis Title : Application of Gilana Sutta to Prevent COVID-19 Treat Infected Patients in the Buddhist Dhamma Medicine Volunteer Network
- Date of Completion : June 2, 2023
ABSTRACT
This research aims to achieve three objectives: (1) to examine the principles of treatment in Buddhism as outlined in the Gilana Sutta, (2) to explore the methods of prevention and treatment of COVID-19 employed by Dhamma practitioners, and (3) to analyze the application of the Gilana principles in the treatment of COVID-19 patients using a volunteer spirit medicine approach with a Dhamma orientation.
The findings reveal that the treatment of diseases in Buddhism can be classified into two categories: physical diseases (Kãyikaroko) and mental diseases (Cetasikaroko). Physical ailments necessitate dietary modifications and the use of herbal medicine to restore balance, while mental illnesses require emotional adjustment through the application of the “Gilana Sutta,” one of the sutras for treating diseases found in the Tipitaka. This principle serves as a crucial guideline for the health camp training’s disease treatment. By integrating these practices, happiness, comfort, and a sense of wholeness of mind can be achieved.
The Dhamma Medicine approach to preventing and treating COVID-19 is centered on the idea of attaining a state of happiness, where the mind assumes a central role, emphasizing self-reliance, simplicity, and frugality without sacrificing efficacy. The results can be empirically verified, and the disease mechanism has been scientifically described. The integration of nature and Buddhism in disease treatment demonstrates a commendable approach. Individuals can become their own reliable doctors by initially reducing attachment to disease using the concept of a “Zero Baht Center for Cure All Diseases”.
The practical application of Dhamma Medicine in COVID-19 patients has yielded positive outcomes, leading to happiness, comfort, and a sense of completeness in life. It contributes to a reduction in defilements and offers comprehensive treatment of diseases from both abstract and concrete perspectives.
.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นางสาวแสงอรุณ สังคมศิลป์ |
วัน เดือน ปี เกิด | ๑ ธันวาคม ๒๕๒๔ |
ที่อยู่ปัจจุบัน | ๓๑/๑ หมู่ ๕ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ บ้านแม่เลา ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน | |
พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ. ๒๕๔๙ | เลขานุการสมาคมฝรั่งเศสไทยเชียงราย |
พ.ศ. ๒๕๔๙ | ฝ่ายประสานงาน บริษัทพอลทัลเอเชีย จำกัด |
พ.ศ. ๒๕๕๐ | พนักงานขายหนังสือแผนกสนามบินสุวรรณภูมิ บริษัท เอเชียบุ๊ค จำกัด |
พ.ศ.๒๕๕๑ – ๒๕๖๐ | ฝ่ายเก็บข้อมูล/ฝ่ายการตลาด บริษัทสำนักวิจัยอินรา จำกัด |
พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึงปัจจุบัน | จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม มูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย |
ปีที่เข้าศึกษา | ปีการศึกษา ๒๕๖๔ |
ปีที่สำเร็จการศึกษา | ปีการศึกษา ๒๕๖๖ |
ประวัติการศึกษา | |
พ.ศ. ๒๕๔๗ | ปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |