รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม
นางนิตยาภรณ์ สุระสาย
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พ.ศ. 2563
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- ชื่อเรื่อง : รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม
- ผู้วิจัย : นางนิตยาภรณ์ สุระสาย
- ปริญญา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
- สาขาวิชา : ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิศานาจ โสภาพล
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณฑิชา รักศิลป์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยมีการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปในเขตสุขภาพที่ 7 ที่เคยผ่านการอบรมสุขภาพวิถีธรรม จำนวน 384 คน การสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 16 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ จิตอาสาแพทย์วิถีธรรมและบุคลากรสาธารณสุข โดยการเลือกแบบเจาะจง
ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม กลุ่มเป้าหมายคือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์วิถีธรรม จำนวน 15 คน และทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง
และระยะที่ 3 การประเมินผลรูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์วิถีธรรม โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการ การประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้
- หลักการ คือการดำเนินการพัฒนาบุคคลให้บูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรมในวิถีชีวิต หรือ ใช้“ไตรศาสตร์การดูแลตนแบบวิถีธรรม” (Trilogy of Cultural Self Care Model) ประกอบด้วย การดูแลตนแบบเลิศ (E) หลัก (M) เสริม (S) ได้แก่
- (1) เลิศด้วยธรรม (E : Excellent) ด้วยวิธีการสวดมนต์ ฟังธรรม ทบทวนธรรม สนทนาธรรม ตั้งศีลมาปฏิบัติ และรู้เพียรรู้พักให้พอดี
- (2) กระทำเป็นหลัก (M : Main) ด้วยการรับประทานอาหารปรับสมดุลและออกกำลังกายให้เป็นหลักอย่างพอเพียง และ
- (3) เสริมรู้จักประมาณ (S : Supplement) ด้วยเลือกใช้วิธีการระบายพิษปรับสู่สมดุลให้พอเหมาะ
- วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคคลให้สามารถใช้ไตรศาสตร์การดูแลตนแบบวิถีธรรมในวิถีชีวิต
- การดำเนินการ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (5P) ได้แก่
- (1) สร้างความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ (P1 : Problem Awareness)
- (2) ศึกษาให้เข้าใจและทดลองพิสูจน์ (P2 : Perceive & Prove)
- (3) ปฏิบัติด้วยอิทธิบาท 4 (P3 : Practicality)
- (4) เป็นแบบอย่างที่ดี (P4 : Paragon)
- (5) รวมพลังแบ่งปันด้วยใจที่บริสุทธิ์ (P5 : Power of sharing)
- ประเมินผลความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง การปฏิบัติและสุขภาวะองค์รวม
- เงื่อนไขแห่งความสำเร็จได้แก่
- (1) ปัจจัยภายใน : แรงบันดาลใจ เปิดใจเรียนรู้ ศรัทธาแบบอย่างที่ดี เชื่อเรื่องวิบากกรรม
- (2) ปัจจัยภายนอก : ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว จิตอาสา บุคลากรสาธารณสุข แหล่งเรียนรู้การแพทย์วิถีธรรม มูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคม
An Integrated Model of Health Care Cultures with Buddhist Dhamma Medicine.
Nittayaporn Surasai.
A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for
the Doctor of Philosophy Degree
in Regional Development Strategies Graduate School,
Ubon Ratchathani Rajabhat University 2020
ABSTRACT
This research aimed to develop an integrated model of health care cultures with the Buddhist Dhamma Medicine. The research was conducted in a form of research and development (R&D). It was divided into 3 phases.
The first phase was to study current conditions of health care with the Buddhist Dhamma Medicine. The samples, selected by purposive sampling, were 384 people who were older than 20 years old, lived in Health Zone 7 and were trained in the Buddhist Dhamma Medicine Health Care.
The focus group discussion consisted of 12 participants. The in-depth interviews were conducted by interviewing 16 interviewees. The main informants, selected by purposive sampling, were Buddhist Dhamma Medicine volunteers and public health staff.
The second phase was to develop the integrated model of health care cultures with the Buddhist Dhamma Medicine. The integrated model was tried out with the target group consisting of 60 samples selected by purposive sampling,
The third phase was to evaluate the integrated model of health care cultures with the Buddhist Dhamma Medicine. The target group consisted of 19 experts who had knowledge and experience in health and Buddhist Dhamma Medicine, selected by purposive sampling.
The research instruments were a test, a questionnaire, focus groups discussion records, and an in-depth interview form. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test and content analysis
The research findings were as follows :
The integrated model of health care cultures with the Buddhist Dhamma Medicine consisted of 5 components: principles, objectives, operation, evaluation and conditions for success.
- The principles referred to the implementation of the personnel development to integrate health care cultures with the Buddhist Dhamma Medicine in their lifestyles or “ a Trilogy of Cultural Self Care Model.” The Trilogy of Cultural Self Care Model consisted self-care in the forms of excellent (E), main (M) and supplement (S).
- (1) Excellent with Dhamma (E: Excellent) was implemented by chanting, listening to dhamma, reviewing dhamma, discussing dhamma, practicing Buddhist principles and knowing balance of being and resting perseverance.
- (2) Practicing to be the main (M: Main) was implemented mainly by consuming balanced diet and exercising appropriately.
- (3) Supplementing for moderation was implemented by selecting ways to release stresses to bring emotion to be balanced.
- The objectives were to develop individuals to use the Trilogy of Cultural Self Care Model with Buddhist Dhamma Medicine in their lifestyles.
- The operation consisted of 5 procedures (5P), namely,
- (1) creating health problem Awareness, (P1: Health Problem Awareness),
- (2) studying to perceive and prove (P2: Perceive and Prove),
- (3) practicing with Four Base of Success (P3: Practicality),
- (4) being paragon (P4: Paragon) and
- (5) gathering the power to share each other with sincerity (P5: Power of sharing).
- The evaluation involved the evaluation of knowledge, perception of self-ability, implementation and holistic health.
- The conditions of success included
- (1) Internal factors consisting of inspiration, opening mild to learn, good typical faith and belief in karma and
- (2) External factors consisting of supporting from families, volunteering, public health personnel, sources to learn Buddhist Dhamma Medicine. foundation of Buddhist Medicine of Thailand, government agencies or organizations and public social sectors.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ-สกุล |
นางนิตยาภรณ์ สุระสาย |
วันเกิด |
25 มกราคม 2510 |
สถานที่เกิด |
อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร |
สถานที่อยู่ปัจจุบัน |
บ้านเลขที่ 95 หมู่ที่ 6 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 37000 |
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน |
ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข รองประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม |
สถานที่ทำงานปัจจุบัน |
มูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย |
ประวัติการศึกษา |
|
พ.ศ. 2532 |
ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี |
พ.ศ. 2535 |
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
พ.ศ. 2559
|
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี |
พ.ศ. 2563
|
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี |