งานวิจัย: สุขภาพพึ่งตนด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงกับการป้องกันและลดปัญหาต่าง ๆ อันเกิดจากโควิด 19
โดย ดร.ใจเพชร กล้าจนและคณะ
ดร.ใจเพชร กล้าจน ปรด.ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (สาธารณสุขชุมชน)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
กองการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย
อธิการบดี (วิชชาธิการบดี) สถาบันวิชชาราม
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาดทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยกับคน จำนวนมากและบางส่วนเสียชีวิต เกิดสภาพผู้ป่วยล้นเตียงล้นโรงพยาบาล ผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหาย เดือดร้อนด้านต่าง ๆ สืบเนื่องตามมา ได้แก่ ด้านจิตใจ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง “สุขภาพพึ่งตนด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรม ตามแนวศรษฐกิจพอเพียงกับการป้องกันและลดปัญหาต่างๆ อันเกิดจากโควิด” เป็นการศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์
1). เพื่อศึกษาการบูรณาการองค์ความรู้พุทธศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียง และวิทยาศาสตร์สุขภาพแผนต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากโควิด
2). เพื่อศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การบูรณาการองค์ความรู้พุทธศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียง และวิทยาศาสตร์สุขภาพแผนต่าง ๆในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากโควิด ของศูนย์หรือชุมชนอโศกและแพทย์วิถีธรรม
3). เพื่อศึกษาผลการใช้การพึ่งตนด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด การรักษาหรือบรรเทาอาการติดเชื้อโควิด หรืออาการคล้ายติดเชื้อโควิด รวมถึงการป้องกันและแก้ไขอาการข้างเคียงจากการรับวัคซีนป้องกันโควิด
4). เพื่อศึกษาผลการบูรณาการใช้ข้อดีของการพึ่งตนด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับข้อดีของการดูแลสุขภาพแผนต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละชีวิต ในการรักษาหรือบรรเทาอาการติดเชื้อโควิด
ผลการศึกษาพบว่า การบูรณาการองค์ความรู้พุทธศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียง และวิทยาศาสตร์สุขภาพแผนต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากโควิด ที่มีประสิทธิภาพ คือ ล็อกดาวน์ สวมแมส เว้นระยะห่าง ล้างมือ ถืออาริยศีล ทำสมดุลร้อนเย็น ทำกสิกรรมไร้สารพิษ เน้นการดำรงชีวิตให้สมดุล ด้วยสิ่งที่สำคัญจำเป็น ประหยัด เรียบง่าย พึ่งตนเองได้เป็นหลัก พึ่งคนอื่นหรือสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนเป็นรอง (เมื่อจำเป็น) สิ่งใดที่เกินกำลังความสามารถ ก็เกื้อกูลช่วยเหลือกัน และบูรณาการผสมผสานข้อดีของการดูแลสุขภาพแผนต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละชีวิต ในการรักษาหรือบรรเทาอาการติดเชื้อโควิด
Self-reliant health with the principles of Buddhist Medicine in the Sufficiency Economy For preventing and reducing problems arising from Covid-19
Jaiphet Klajon et al.
Dr Jaiphet Klajon, PhD Regional Development Strategies (Community Public Health)
Expert in Buddhist Dhamma Medicine,
Bureau of Alternative Medicine, Ministry of Public Health Chairman of Buddhist Dhamma Medicine Foundation of Thaila
Chairman and Rector of The Institute of Vijjaram
ABSTRACT
The global pandemic, which has also affected Thailand, has caused significant health issues amongst the people, for some of whom it has unfortunately been fatal. Patients have overwhelmed hospitals and many of them have been unable to access healthcare. Many deleterious impacts have followed, whether mental, economic, social or environmental. This article is part of a research on, “Self-reliant health with the principles of Buddhist Medicine in the Sufficiency Economy, for preventing and reducing problems arising from Covid-19”. The study has used qualitative research processes with the following objectives:
1) Study integrating knowledge of Buddhist studies, the Sufficiency Economy and various medical regimes to prevent and remedy problems from Covid.
2) Study a strategy of integrating knowledge of Buddhist studies, the Sufficiency Economy and various medical regimes to prevent and remedy problems from Covid, of the Center or Community of Asoke and Buddhist Medicine.
3) To study the results of self-reliance with the principles of Buddhist Medicine according to the Sufficiency Economy theory to prevent Covid infections, treating or alleviating the symptoms of infection or similar symptoms, and preventing or curing side-effects of Covid vaccines,
4) To study the results of integrating the good points of self-reliance under the principles of Buddhist Medicine in the Sufficiency Economy along with the positive aspects of various healthcare regimes, as appropriate for each person in treating or alleviating the symptoms of infection.
The research findings were as follows :
The study found that integrating knowledge of Buddhist studies, the Sufficiency Economy and the science of various healthcare regimes to prevent and remedy problems arising from Covid, that the efficient measures were lockdown, mask-wearing, social distancing, hand-washing, holding the ethical precepts, having a hot/cold balance, toxin-free agriculture and emphasizing a balanced lifestyle. The core essentials were economy, simplicity and self-reliance, with reliance on others or complex things secondary (when needed). With anything outside their capabilities, there was mutual aid, and integration of the positive aspects of various medical regimes, as appropriate for each person in treating or alleviating the symptoms of infection.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นายใจเพชร กล้าจน |
วัน เดือน ปี เกิด | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2515 |
ที่อยู่ปัจจุบัน/สถานที่ทำงาน | ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 114 หมู่ 11 ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120 |
ตำแหน่งปัจจุบัน | • ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรมสำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข • นักวิชาการสาธารณสุขระดับชำนาญการโรงพยาบาลอำนาจเจริญ กระทรวงสาธารณสุข • แพทย์วิถีธรรมและครูฝึกแพทย์แผนไทยศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร • ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย • ประธานหลักสูตรผู้ประกอบการสังคมสาขาแพทย์วิถีธรรมสถาบันอาศรมศิลป์ |
ประวัติการศึกษา | • พ.ศ. 2538 ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • พ.ศ. 2540 ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพบริหารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • พ.ศ. 2542 สำเร็จการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนไทย, แนวคิดและทฤษฎีการแพทย์แผนไทย, เวชกรรมแผนไทย, เภสัชพฤกษศาสตร์, ธรรมานามัยและสังคมวิทยาการแพทย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • พ.ศ. 2543 อบรมด้านการแพทย์ทางเลือกจากประเทศมาเลเซียและจีนไต้หวัน • พ.ศ. 2553 ปริญญาโทสาขาพัฒนาบูรณาการศาสตร์ (เศรษฐกิจพอเพียง) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสวนป่านาบุญอำเภอดอนตาลจังหวัดมุกดาหาร” • พ.ศ. 2555 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสาธารณสุขชุมชนด้วยผลงานการค้นพบและเผยแพร่การแพทย์วิถีธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ |
ประวัติการทำงาน | • พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน โรงพยาบาลอำนาจเจริญ • พ.ศ. 2548 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร • พ.ศ. 2546–2548 สำนักงานที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนายกรัฐมนตรี • พ.ศ. 2540–2545 สถานีอนามัยบ้านนิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึก จังหวัดมุกดาหาร • พ.ศ. 2535–2540 โรงพยาบาลหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร |