บทความวิชาการเรื่อง ป่วยอย่างไรไม่ให้ทุกข์
ลักขณา แซ่โซ้ว
Lakkhana Saesow
พ.บ. แพทยศาสตร์
บทคัดย่อ
จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการเป็นแพทย์ ต้องพบเจอกับผู้ที่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เขียนได้เห็นความจริงของผู้ป่วย 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน คือกลุ่มที่ทุกข์ใจ (เป็นส่วนใหญ่) และกลุ่มที่ไม่ทุกข์ใจ (เป็นส่วนน้อย) ผู้เขียนจึงมีความตั้งใจที่จะศึกษาวิธีการดับทุกข์ใจที่จะสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงเมื่อเกิดความเจ็บป่วย โดยศึกษาตามแนวทางของพระพุทธเจ้า ด้วยการศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากคำอธิบายของครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติได้จริง (เมื่อดับเหตุแห่งทุกข์คือตัณหาได้จริง ก็จะหายจากความทุกข์ใจได้จริง) เมื่อผู้เขียนได้ทดลองปฏิบัติตามจนเกิดประสบการณ์จริงในการปฏิบัติด้วยตนเองคือไม่ทุกข์ใจเมื่อเกิดความเจ็บป่วย และยังได้เห็นผลจากการปฏิบัติของผู้ที่เจ็บป่วยอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่หายทุกข์ได้ด้วยการปฏิบัติตาม ‘เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว’ ที่บูรณาการมาจากหลักอริยสัจ 4 และหลักธรรมอื่นๆ ในพระไตรปิฎก (โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน) ทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายๆ ด้วยตนเองเมื่อเกิดความทุกข์ใจจากความเจ็บป่วย เมื่อไม่ทุกข์ใจก็ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เขียนเกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจนในการปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ ซึ่งก็คือการปฏิบัติตามหลักอริยสัจ 4 และอริยมรรคมีองค์ 8 ตามแนวทางของพระพุทธเจ้า โดยสรุปออกมาเป็นวิธีง่ายๆ ได้ดังนี้
‘เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว’ คือ 1. อย่าโกรธ 2. อย่ากลัวเป็น 3. อย่ากลัวตาย 4. อย่ากลัวโรค 5. อย่าเร่งผล 6. อย่ากังวล ซึ่งการทำใจให้ได้ดังที่กล่าวนี้คือยากำจัดโรคที่ดีที่สุดในโลก และออกฤทธิ์เร็วที่สุดในโลก เพราะความไม่โกรธ ไม่กลัวเป็น ไม่กลัวตาย ไม่กลัวโรค ไม่เร่งผล ไม่กังวล ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์ (ไม่เบียดเบียนตนเองด้วยความทุกข์ใจ) โรคจึงทุเลาหรือหายได้เร็ว ส่วนความโกรธ กลัวเป็น กลัวตาย กลัวโรค เร่งผล กังวล คือยาพิษที่ร้ายที่สุดในโลกและออกฤทธิ์เร็วที่สุดในโลก เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ (เบียดเบียนตนเองด้วยความทุกข์ใจ) โรคจึงทุเลาหรือหายได้ช้า
คำสำคัญ : ทุกข์จากความเจ็บป่วย เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว อริยสัจ 4 อริยมรรคมีองค์ 8
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร