ศึกษากสิกรรมวิถีพุทธในมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย : กรณีศึกษาชุมชนภูผาฟ้าน้ำ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
นายแก่นศีล กล้าจน
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๖๕
(ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ
๑) เพื่อศึกษาหลักการทำกสิกรรมตามหลักพระพุทธศาสนาและกสิกรรมทางเลือก
๒) เพื่อศึกษาหลักการทำกสิกรรมวิถีพุทธของมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย ณ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
๓) เพื่อวิเคราะห์หลักการทำกสิกรรมวิถีพุทธในมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย ณ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า
หลักการทำกสิกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา บนพื้นฐานการประพฤติปฏิบัติศีล ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นสัมมาอาชีวะ และกสิกรรมทางเลือก ล้วนยังมุ่งเพิ่มผลิต ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ พึ่งตนเองและไม่เบียดเบียน เน้นในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
หลักการทำกสิกรรมวิถีพุทธในชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ใช้หลัก พันธุ์ดี ดินดี น้ำดี แสงดี ศีลดี และมิตรดี โดยปฏิบัติศีล อย่าขี้เกียจ อย่าใจร้อน อย่าโลภ พอประมาณ และรู้จักแบ่งปัน มีรูปแบบนาแปลงเล็ก ปลูกพืชพันธุ์พื้นเมือง พืชป่า ดูแลสุขภาพที่สมดุลร้อนเย็น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร พืชผัก ข้าว ถั่ว ธัญพืชที่จำเป็นแท้ เพื่อวิถีชีวิตผาสุก ทั้งประหยัด เรียบง่าย พึ่งตนและแบ่งปัน มีการคบและเคารพมิตรดี ศีลดีและมิตรดี คือ สมบัติแท้จริงของทุกชีวิต
ผลกสิกรรมวิถีพุทธเชิงสุขภาวะ ด้านร่างกาย สุขภาพแข็งแรงปรับสมดุลร้อนเย็นได้ ด้านจิตใจ จัดการความวิตกกังวลได้เหมาะสม เชื่อและเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม ด้านสังคม สร้างสิ่งที่ดีงามมีประโยชน์ อยู่ในสังคมอย่างเป็นศานติสุข ด้านปัญญา พัฒนาศักยภาพทางจิตวิญญาณ ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ทำประโยชน์ช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน
A Study of Buddhist Farming in the Buddhist Medicine Foundation of Thailand : A Case Study of Phu Pha Fah Nam Community, Mae Taeng District, Chiang Mai Province
Mr. Kaensila Klajon
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Arts (Buddhist Studies)
Graduate School
Mahachulalongkornrajavidyalaya University C.E. 2022
(Copyright by Mahachulalongkornrajavidyalaya University)
ABSTRACT
The objectives of this research were to
1) investigate the principles of farming practices based on Buddhism principles and Alternative Farming,
2) investigate the Buddhist Farming principles of the Buddhist Medicine Foundation of Thailand at Phu Pha Fah Nam Community, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, and
3) analyze the Buddhist Farming principles of the Buddhist Medicine Foundation of Thailand at Phu Pha Fah Nam Community, Mae Taeng District, Chiang Mai Province.
The research findings revealed that Buddhist farming practice is an agricultural practice based on Buddhist ideals of not disturbing oneself or others, which is the proper livelihood. Alternative farming strives to enhance productivity, decrease expenditures, boost revenue, be self-sufficient, and avoid mistreatment, with an emphasis on economic, social, and environmental problems.
In the Phu Pha Fah Nam community, the principles of Buddhist farming include the utilization of excellent seeds, good soil, good water, good sunshine, good commandments, and good companions who practice the following: don’t be lazy, don’t be impatient, don’t be greedy, modesty, and know how to share. Buddhist agricultural techniques include small-scale farming and nurturing high-nutrient native plants.
Buddhist farming produces food security and medicines, such as herbs, fruits, vegetables, rice, nuts, and grains, which are required to live a happy life. The true jewels of every life are the precepts of Buddhist farming in valuing excellent relationships and morality. The physical health consequence is good health and chemical-free and fresh balanced hot and cold foods. The mental result can correctly handle anxiety, believe in and comprehend karma, and the repercussions of karma. The societal result is to serve others and to live happily in society. The wisdom outcome is to enhance spiritual potential and serve society.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร