ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูขั้นตอนการสมัคร กดที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารลงชื่อคัดค้านกาสิโนถูกกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร กดที่นี่  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ที่นี่

เพกามีฤทธิ์ร้อนดับร้อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

ไม้ต้น สูง 3-12 เมตรแตกกิ่งก้านน้อย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเป็นฝัก รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง

สรรพคุณของเพกา

  • ราก 
    – มีรสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย ใช้บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร
    –  แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต
    –  ใช้ภายนอก รากฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อาการอักเสบ ฟกบวม
  • เพกาทั้ง 5  – คือการใช้ส่วนราก ใบ ดอก ผล ต้น รวมกันจะมีรสฝาดเย็น มีสรรพคุณสมานแผล แก้อักเสบบวม แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด
  • ฝักอ่อน  – รับประทานเป็นผัก ช่วยในการขับผายลม บำรุงธาตุ
  • เมล็ด  – ใช้เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ
  • เปลือกต้น – รสฝาดเย็น และขมเล็กน้อย เป็นยาสมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้อาการจุกเสียด
  • เปลือกต้นตำผสมกับสุรา
    – ใช้เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็กชนิดเม็ดเหลือง
    – แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้
    – ใช้ฉีดพ่นตามตัวคนคลอดบุตรที่ทนการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา
    – ทารอบ ๆ ฝี แก้ปวดฝีทาแก้อาการฟกบวมอักเสบ
  • ปลือกต้นสดตำผสมกับน้ำส้ม  ซึ่งได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์
    – รับประทานขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด
    – รับประทานแก้เสมหะจุกคอ (ขับเสมหะ) ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต
    นอกจากนี้เปลือกเพกา ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ เปลือกต้มรวมกับสมุนไพรหลายชนิด แยกเอาน้ำมันมาทาแก้
    – แก้องคสูตร
    – แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา
    – แก้ฟกบวม แก้คัน

แหล่งข้อมูล

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

พริกไทย

พริกไทย

[dsm_text_notation notation_text="พริกไทยมีฤทธิ์ร้อน" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.11.4"...

ผักชี

ผักชี

[dsm_text_notation notation_text="ผักชีมีฤทธิ์เย็น" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.11.1"...

มะนาว

มะนาว

[dsm_text_notation notation_text="มะนาวมีฤทธิ์เย็น เปลือก/ใบมีฤทธิ์ร้อน" notation_type="bracket" notation_width="3"...

แคนตาลูป

แคนตาลูป

[dsm_text_notation notation_text="แคนตาลูปมีฤทธิ์เย็น" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.10.7"...

ใบหูเสือ

ใบหูเสือ

[dsm_text_notation notation_text="หูเสือมีฤทธิ์ร้อนดับร้อน" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.10.7"...

บัวบก

บัวบก

[dsm_text_notation notation_text="บัวบกมีฤทธิ์ร้อนดับร้อน" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.10.7"...

มะระ

มะระ

[dsm_text_notation notation_text="มะระมีฤทธิ์ร้อนดับร้อน" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.10.7"...

มะเขือพวง

มะเขือพวง

[dsm_text_notation notation_text="มะเขือพวงมีฤทธิ์ร้อนดับร้อน" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.10.4"...

ข่า

ข่า

[dsm_text_notation notation_text="ข่าเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน" notation_type="bracket" notation_width="3" _builder_version="4.9.7"...