หูเสือมีฤทธิ์ร้อนดับร้อน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ค่อนข้างกลม กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-7 ซม. โคนใบมนตัดมีครีบยาว ปลายใบมน ขอบใบจักมน แผ่นใบสีเขียว มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เนื้อใบหนา มีกลิ่นเฉพาะ ใบมีกลิ่นหอม คล้ายพิมเสน ก้านใบยาว 2-4.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกยาว 10-20 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ดอกสีฟ้า กลีบเลี้ยงโคนเชื่อติดกันเป็นรูประฆัง ด้านนอกมีขน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนตั้งตรง กลีบล่างยาวเว้า ออกดอกยาก ผล รูปทรงกลมแป้น กว้าง 0.5 มม. ยาว 0.7 มม. ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อน
สารประกอบสำคัญ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นด้วยไอน้ำ ได้ผลลัพธ์เป็นน้ำมันหอมระเหยปริมาณเป็น 0.04-0.05% ประกอบด้วย terpinolene (3.75%), -pinene (3.20%), -pinene (2.50%), caryophyllene (4.20%), methyl eugenol (2.10%), thymol (41.3%), 1,8-cineole (5.45%), eugenol (4.40%), carvacrol (13.25%) และ-phellandrene (1.90%).
ชื่ออื่น : หอมด่วนหลวง (เหนือ) ผักหูเสือ เนียมหูเสือ หรือหูเสือ ชื่อเรียกทางเหนือเรียก หอมด่วนเสือ หอมด่วนหูเสือ เนียมอีไหลหลึง
สรรพคุณของใบหูเสือ
- ใบ – แก้ปวดหู แก้ฝีในหู แก้หูน้ำหนวกได้ดี รับประทานเป็นผักกับเครื่องจิ้ม
- วิธีใช้ – ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำมาหยอดหู แก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู หูน้ำหนวก
- มีการใช้ และการวิจัยหูเสือในหลายประเทศ ในทางพื้นบ้าน มาเลเซีย ใช้น้ำต้มใบ รักษาหืด ไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน รูมาติสซึ่ม ไอ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และอาการชัก
- การใช้ภายนอก ใช้รักษาแผล ปวด บวม และไฟไหม้
- จากการทบทวน การใช้แบบพื้นบ้านในหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย บราซิล ศรีลังกา มาเลเซีย มีการใช้แบบพื้นบ้านหลากหลาย สรุปการใช้
- ในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดบิด อาการธาตุพิการ ช่วยขับถ่าย
- ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ หืด หลอดลมอักเสบ หวัด ไอ และ ปอดบวม
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่อาการหลอดเลือดหัวใจ ขาดเลือด และ ความดันหิตสูง แก้ปวด และ ปวดอักเสบ ปวดลำไส้ รูมาติสซึม ปวดหู เยื่อบุตาอักเสบ
- ระบบประสาท เช่น อาการนอนไม่หลับ ชัก มึนงง หรือวิงเวียน และแก้ อาการทางตับ และระบบประสาท
- ในอินเดียใช้รากเป็นเครื่องเทศ หรือดอง เหยาะกิน
แหล่งข้อมูล
- เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เว็บไซต์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่