ศีลข้อ1 ที่เป็นอริยศีลรักษาโรค
นายใจเพชร กล้าจน
ปร.ด.(ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค), วท.ด.(กิตติมศักดิ์),
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์วิถีธรรม
ที่มา : วารสารวิชชาราม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2561
บทคัดย่อ
อริยศีล มีประสิทธิภาพสูงสุดกว่าทุกวิธีในการป้องกันและกำจัดหรือบรรเทาโรคได้ทุกโรค ป้องกันและกำจัดหรือบรรเทาเรื่องร้ายได้ทุกเรื่อง และดูดดึงสิ่งดีงามมาสู่ตนได้มุกมิติ
ข้อปฎิบัติศีลเบื้องต้น คือ ไม่ฆ่าสัตว์ (สัตว์ คือ ตัวเรา หรือคนอื่น หรือสัตว์อื่น) หรือทำให้เกิดผลโหดร้ายรุนแรงกับสัตว์ใด ๆ โดยเจตนา รวมถึงไม่ก่อโรค ไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าชีวิตตนเองหรือผู้อื่น ข้อปฏิบัติ คือ ฝึกลดความกลัวตาย กลัวโรค เร่งผล กังวล และความโกรธที่รุนแรงต่อคน สัตว์ สิ่งของ โรค ภัยหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น โดยฝึกปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องกรรมและวิบากกรรม และฝึกใช้ความเข้าใจเรื่องกรรมและวิบากกรรมมาดับหรือบรรเทาทุกข์ในชีวิตให้ได้ โดยใช้เนื้อหาเทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว บททบทวนธรรม หรือเนื้อหาอื่น ๆ ที่ดับทุกข์ได้
ศีลสูงขึ้น คือ ลดละเลิกต้นเหตุแห่งการฆ่าสัตว์ ขังสัตว์ แย่งชิงของรักของหวงของสัตว์เบียดเบียน หรือทรมานสัตว์ (สัตว์ คือ ตัวเรา หรือคนอื่น หรือสัตว์อื่น) ข้อปฎิบัติ คือ ลด ละ เลิก การรับประทานสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมถึงเลือกวิธีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับตนไม่เบียดเบียนตน ณ เวลานั้น
ศีลที่สูงขึ้นไปอีก คือ ไม่ก่อโรค ไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าชีวิตตนเองหรือผู้อื่น ด้วยความกลัวตาย กลัวโรค เร่งผล กังวล และความโกรธที่เบาบาง ข้อปฎิบัติ คือ ฝึกล้างความกลัวตาย กลัวโรค เร่งผล กังวล และล้างความโกรธที่เบาบางต่อคน สัตว สิ่งของ โรค ภัย หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้สิ้นเกลี้ยง
การปฏิบัติอริยศีลที่ถูกต้องถูกตรงนั้น มีฤทธิ์สูงที่สุดกว่าทุกวิธีในการกำจัดหรือบรรเทาโรคทุกโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคใจ โรคกาย และสามารถกำจัดหรือบรรเทาสิ่งเลวร้ายทั้งมวลออกจากชีวิตตนได้รวมถึงสามารถดูดดึงสิ่งดีงามทั้งมวลมาสู่ชีวิตตนได้
คำสำคัญ : ศีล 5, ศีลข้อ 1, รักษาโรค, แพทย์วิถีธรรม, อริยศีลรักษาโรค
Unblemished moral principle cures diseases.
JAIPHET KLAJON
ABSTRACT
The basic practice of morality is, to abstain from killing* or causing harm resulting in violence on purpose. This also includes an abstention from acting to spread diseases, creating disturbance, and taking life of either oneself or others. These principles mean to lesson the fear of death, and worries from getting sick as well as to accelerate the successful process of anger management around human, animals, things, ailments or any events. By practicing to let go of any attachment, learning to understand the karma and its consequence and mastering the understanding about karma to extinguish or alleviate the suffering in life. By utilizing mental technique and dharma or those relating to it to recover from diseases.
Higher moral principles mean to lessen, refrain and abstain from being the cause of killing, confining, stealing from, harassing and torturing animals. In practice, meat and animal products should be reduced, avoided and eventually halted. This includes finding an appropriate alternative to take care of ones’ health without being too austere.
The higher moral principle is to refrain from being the source of diseases, encroaching on others, and not taking life of oneself or others due to the fear of death. Those with fear of diseases, a rush to fast recovery, worries and anger can find complacency from practicing not to fear death/diseases, not to worry about speedy recovery and extinguish the anger towards human, animals, materials, diseases or any other circumstances.
The righteous undertaking of the unblemished moral principles is the most capable method to eliminate or alleviate all diseases whether it be of mental or physical health. Futhermore, it is believed that by following the unblemished moral paths, ones can exterminate all evils from attract all goodnesses into ones’life.
Keywords : Five precepts, The first silo (precept), cures diseases, Higher Morality cures diseases.
วิธีใช้ Embed PDF
- กรุณากดลูกศร ซ้าย-ขวา ในการเปลี่ยนหน้า
- ถ้าหากตัวอักษรเล็ก-ใหญ่เกินไป กรุณากดเครื่องหมาย บวก-ลบ เพื่อปรับขยาย-ลดตัวอักษร
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ –สกุล | นายใจเพชร กล้าจน |
วัน เดือน ปี เกิด | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2515 |
ที่อยู่ปัจจุบัน/สถานที่ทำงาน | ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 114 หมู่ 11 ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร 49120 |
ตำแหน่งปัจจุบัน | • ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรมสำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข • นักวิชาการสาธารณสุขระดับชำนาญการโรงพยาบาลอำนาจเจริญ กระทรวงสาธารณสุข • แพทย์วิถีธรรมและครูฝึกแพทย์แผนไทยศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร • ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย • ประธานหลักสูตรผู้ประกอบการสังคมสาขาแพทย์วิถีธรรมสถาบันอาศรมศิลป์ |
ประวัติการศึกษา | • พ.ศ. 2538 ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • พ.ศ. 2540 ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพบริหารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • พ.ศ. 2542 สำเร็จการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนไทย, แนวคิดและทฤษฎีการแพทย์แผนไทย, เวชกรรมแผนไทย, เภสัชพฤกษศาสตร์, ธรรมานามัยและสังคมวิทยาการแพทย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • พ.ศ. 2543 อบรมด้านการแพทย์ทางเลือกจากประเทศมาเลเซียและจีนไต้หวัน • พ.ศ. 2553 ปริญญาโทสาขาพัฒนาบูรณาการศาสตร์ (เศรษฐกิจพอเพียง) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสวนป่านาบุญอำเภอดอนตาลจังหวัดมุกดาหาร” • พ.ศ. 2555 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาสาธารณสุขชุมชนด้วยผลงานการค้นพบและเผยแพร่การแพทย์วิถีธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ |
ประวัติการทำงาน | • พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน โรงพยาบาลอำนาจเจริญ • พ.ศ. 2548 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร • พ.ศ. 2546–2548 สำนักงานที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของนายกรัฐมนตรี • พ.ศ. 2540–2545 สถานีอนามัยบ้านนิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึก จังหวัดมุกดาหาร • พ.ศ. 2535–2540 โรงพยาบาลหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร |