ผักเฮือดมีฤทธิ์เย็น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผักเฮือด Ficus lacor Buch-Ham. มีชื่ออื่น Ficus infectoria aunct. Ficus viren Aiton ในตระกูล Moraceae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกันกับมะเดื่อ ถิ่นกำเนิด อยู่บริเวณที่ราบ และ บริเวณรอบเนินเขาในประเทศอินเดีย ในอังกฤษ เรียกว่า มะเดื่อขาว ( white fig. ) จะเห็นเป็นไม้ใหญ๋ยืนต้น เขียวตลอดปี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ลำต้น ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 9-14 เมตร จะทิ้งใบในช่วงฤดูหนาว หรือฤดูร้อน หลังจากนั้นจะแตกยอดอ่อน ลำต้นมีรากอากาศใบอ่อนมีสีเขียวอ่อนและกาบใบสีขาว ใบเมื่อแก่มีสีเขียว
- ใบ เป็นใบเดี่ยวกว้าง6-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร
- ผล ออกตามกิ่งหรือลำต้นคล้ายลูกมะเดื่อ แต่ผลเล็กกว่า
- ดอก สีชมพู
สรรพคุณของผักเฮือด
เป็นสมุนไพรที่มีกล่าวถึงในตำราอายุรเวท และ สิทธา ในอินเดีย ใช้เป็นยาทั้งภายนอก และภายใน
- บำรุงเลือด รสฝาดช่วยสมานแผลของผู้ที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้
- เปลือก มาต้ม ใช้ล้างแผลเปื่อย สิวและ ใช้สวนทวาร ในกรณีลูคีเมีย ใช้กลั้วคอในกรณีน้ำลายไหลออกมาก และ ยังใช้กรณีประจำเดือนไม่ปกติ และ ตกขาว
- ใบ มีสารคล้ายเอสโตรเจน ทั้งต้นใช้ล้างแผลติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน ที่เข้าสู่ผิวหนังแท้ และ ระบบน้ำเหลืองได้ โดยเป็นเชื้อกลุ่ม เบต้าฮีโมไลติก สเตร็บโตคอกไค ซึ่งมักเป็นกลุ่มเอ นอกจากนี้ใช้รักษาเลือดกำเดา
- ผลสุกสด หรือแห้ง มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ในประเทศจีนใช้ ใบรักษา การปวดเส้นเอ็น ปวดดวงตา ปวดหัว แก้คัน และรักษาแผล
- เปลือก หรือ ราก สำหรับการรักษาอาการปวดไขข้อ แขนขาชา อ่อนล้า กล่าวกันว่า หมอพื้นบ้านทางภาคเหนือ ใช้เปลือกของต้นผักเฮือดประมาณครึ่งหนึ่งของฝ่ามือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง