ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคพรรคสัมมาธิปไตย กดที่นี่  ดูขั้นตอนการสมัคร กดที่นี่ 

ดาวน์โหลดเอกสารลงชื่อคัดค้านกาสิโนถูกกฎหมาย และไม่เห็นด้วยกับการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร กดที่นี่  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ที่นี่

ข่าวสัมมนาเชิงวิชาการอาหารเป็นหนึ่งในโลก

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ นิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและสาขาวิชาปรัชญา ได้จัดงานสัมมนาเรื่อง “อาหารเป็นหนึ่งในโลก” ณ ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ทราบถึงวิกฤติการขาดแคลนอาหารในโลกและนำองค์ความรู้ที่เกิดจากกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นแนวทางประยุกต์ใช้เกี่ยวกับความมั่นคงของอาหารของชุมชนและตนเอง งานสัมมนาครั้งนี้จัดทั้งระบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom และ On site ในพื้นที่ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  มีผู้เข้ารับฟังการอบรมออนไลน์ ๑๐๘ คน และ ลงทะเบียนหน้างาน ๕๐ คน รวม ๑๕๘ คน

  • เริ่มเปิดงาน เวลา ๙.๐๐ น. กล่าวรายงานการจัดโครงการโดย พระขจร ขนฺติสาโร นิสิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา 
  • เวลา ๙.๑๐ น. พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ กล่าวเปิดงาน และร่วมเสวนากับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิอีก ๓ ท่าน คือ พระมหาดนัยพัชร์ คมฺภีรปญฺโญ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง, ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และ ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว) ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย

ใจความโดยย่อของการสัมมนาครั้งนี้ มีดังนี้

“อาหารเป็นหนึ่ง” มาจากหัวข้อในพระบาลีว่า สัพเพสัตตาอาหารัฏฐิติกาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ “สามเณรปัญหา” ข้อ ๔) ในสังคีติสูตร ในพระสุตตันตปิฎกนั้นเป็นการรวบรวมหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหมวดหมู่ โดยหมวดหนึ่งได้พูดถึงพระบาลีดังที่กล่าวว่า สัพเพ สัตตา อาหารัฏฐิติกา สัตวทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหารเราก็แปลได้ว่า อาหารเป็นหนึ่งในโลก เพราะนี่คือหมวด ๑ สิ่งที่เป็นหนึ่งในโลกนั้น หมายความว่า ถ้าคนเรามีอาหารบริโภคก็จะดำรงชีวิตอยู่ได้ เมื่อคนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็จะพัฒนาโลก พัฒนาชีวิตตนเอง พัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรืองได้

คำว่าอาหารเป็นหนึ่งในโลกนั้น เราก็ต้องนึกถึงว่า สรรพสิ่งในโลกนั้นดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร แต่จะทำอย่างไรให้อาหารนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ผมเคยถามพี่น้องที่ชุมชนภูผาฟ้าน้ำว่าหากเกิดเหตุการณ์ เอลนีโญ ลานีญา (ปรากฏการณ์ที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศของโลก) ปลูกพืชไม่ได้จะทำอย่างไร พี่น้องบอกว่าอาจารย์ไม่ต้องกังวล เพราะว่าเราไม่ได้มีเฉพาะที่ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ เรามีเครือข่ายของเราอยู่ทั่วประเทศ เพราะเรามีเครือข่ายที่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน คือการไม่หวงแหน การรู้จักแบ่งปัน และการช่วยเหลือกันและกันในยามที่ขาดแคลน ในยามที่จำเป็นนั้น ถือว่าเป็นการช่วยเหลือกันและกันเท่าที่ชีวิตจะอยู่ได้  และที่เราเป็นอยู่อย่างนี้เพื่ออะไร อยู่เพื่อเป็นประโยชน์ เพื่อปฏิบัติธรรม แม้ว่าอาหารจะมีอย่างเหลือเฟือ แต่ถ้าเราไม่มีการแบ่งปันกันและกันมันก็จะทำให้เกิดความลำบากที่จะอยู่ร่วมกัน อาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

อาหารที่สำคัญที่สุดนอกจากจะเป็นอาหารด้านกายภาพแล้ว อาหารที่เป็นไปทางจิตวิญญาณทางด้านสติปัญญาก็สำคัญไม่น้อยเพราะฉะนั้นสองสิ่งนี้จะต้องมาบรรจบกัน ระหว่างอาหารที่ว่าด้วยการจัดการบริหารสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่พวกเราได้ฟังไปแล้วก็สำคัญประการหนึ่ง จะทำอย่างไรสิ่งสำคัญดังกล่าวจะสามารถขับเคลื่อนไปด้วยผู้คน ต้องอาศัยความเข้าใจว่าทุกอย่างในโลกมันเริ่มเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ถ้าเราไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะยืดอายุ แต่เราคงชะลอไม่ได้ ยืดอายุการใช้งานให้พอเหมาะพอสมกับโลกปัจจุบัน ในสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น ยิ่งโลกวิกฤติมากเท่าไหร่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เราได้ยินได้ฟังมาก็มีความจำเป็นมากเท่านั้น โลกกำลังขาดแคลน เรื่องอาหาร เรื่องน้ำ เรื่องระบบ ความไม่สมดุลเรื่องดินน้ำลมไฟ ก็อยากจะฝากทุกท่านว่า ทำอย่างไรเราจะมีส่วนร่วมในการที่จะไปช่วยบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การทำกสิกรรมไร้สารพิษทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหาร เนื้อแท้ของความพ้นทุกข์คือ อาหารที่หาได้ง่าย เป็นประโยชน์และไม่มีโทษ จะสอดคล้องกับแพทย์ทางเลือกที่ว่า อาหารที่ดีที่สุด คือ พืชที่อยู่ใกล้ตัวเรารัศมีประมาณ ๓ กิโลเมตร พืชที่หาได้ง่ายใช้ปุ๋ยน้อย แข็งแรงโตไว เมื่อเราเอามากินก็จะนำมาซ่อมสร้างเซลล์ได้อย่างดี พืชที่ปลูกง่ายกินแล้วแข็งแรงกว่า พลังเยอะกว่าเทียบกันไม่ได้เลย ที่ชุมชนภูผาฟ้าน้ำใช้หลักการทำกสิกรรมไร้สารพิษ ๖ ข้อ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ดังนี้

. พันธุ์ดี ต้องคัดเลือกพันธุ์พืชที่เป็นพันธุ์ที่ดี ให้ผลผลิตสูง มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืช

. ดินดี คือ ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินร่วน ดินลูกรัง หรือดินอื่นๆ ก็สามารถปรุงให้เป็นดินดีได้ ต้องรู้จักบำรุงดิน คือใส่อินทรียวัตถุเข้าไป ดินจะเป็นแบบไหนแก้ได้ทุอย่าง ดังในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่านได้ตรัสเอาไว้ว่า “ดินนั้นพัฒนาขึ้นมาได้โดยไม่ยากนัก ดินจะเค็ม จะเปรี้ยว จะจืด อะไรก็ตาม สามารถที่จะทำให้ดีขึ้นได้ ภายในไม่กี่ปีโดยใช้เทคนิคแบบโบราณ คือใช้ปุ๋ยหมักหรือใช้ตะกอนที่ลงมาตามลำห้วย มาพัฒนาดิน อันนี้เป็นวิธีที่ง่าย”

(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๓๖)

และอินทรียวัตถุที่ดีที่สุดคือพืชที่เกิดง่าย อย่าง “หญ้า” ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของเรา เอามาตัดแล้วกองไว้ตรงที่เราจะปลูกประมาณ ๑ เดือนก็จะเปื่อยให้ใส่หนา ๆ หน่อยแล้วจึงปลูกพืช หญ้าและองค์ประกอบของพืชทุกอย่างใช้ได้หมด หญ้า ปุ๋ยดี ปุ๋ยฟรี ปุ๋ยตลอดกาล มหาสมบัติของกสิกรไทย 

. น้ำดี น้ำคือชีวิต น้ำเป็นจุดกำเนิดของชีวิต เป็นจุดกำเนิดของทุกอย่าง น้ำสร้างได้ทุกอย่างในมหาจักรวาล สร้างพืชได้ สร้างดินได้ สร้างไฟได้ สร้างลมได้ สร้างอากาศได้ สร้างพลังงานได้ มีน้ำเราจะมีทุกอย่าง น้ำท่วมเราอยู่ได้ น้ำแล้งเราตาย น้ำคือ ความมั่นคง เราต้องเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อพึ่งตนและช่วยคนให้พ้นทุกข์

. แสงดี คือ พืชต้องการแสงมาใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร ถ้าขาดแสงพืชก็สังเคราะห์แสงไม่ได้ พืชแต่ละชนิดต้องการแสงไม่เท่ากัน ต้องเรียนรู้ว่าพืชชนิดใดต้องการแสงมาก พืชชนิดใดต้องการแสงน้อย จัดสภาพแสงให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด

๕. ศีลดี คือ การปลูกพืช ไม่ใช่แค่ดินน้ำลมไฟ ไม่ใช่แค่รูปธรรม ไม่ใช่แค่วัตถุ ไม่ใช่แค่ พันธุ์ดี ดินดี น้ำดี แสงดี เท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งเป็นหัวใจหลัก คือต้องมีศีล กับมีมิตรดีด้วย เป็นมิติที่วงการกสิกรรมทั่วไปไม่รู้จัก มีฤทธิ์มากที่สุดถึง ๗๐% บวกเกิน ๑๐๐% ศีล คือ ใจไร้ทุกข์ ใจดีงาม ใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นสิ่งที่มีฤทธิ์มากที่สุด ที่ทำให้เกิดสิ่งที่ดีงามทั้งปวง ตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ใจเป็นใหญ่ ใจประเสริฐสุด ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ (มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา) ใจเป็นประธาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ข้อ ๑๑) ศีลยอดเยี่ยมในโลก (สีลัง โลเก อนุตตรัง) (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อ ๘๖) ศีลมีในบุคคลผู้มีปัญญา ปัญญามีในบุคคลผู้มีศีล และมิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี คือทั้งหมดทั้งสิ้นของการปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์ มิตรดีคือสิ่งที่ดีที่สุดในโลก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ ข้อ ๕) คือ แสงอรุณ ๗ ข้อแรก ความเป็นผู้มีมิตรดี (กัลยาณมิตตา) (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ ข้อ ๑๒๙-๑๓๖) ดังนั้น กสิกรรมไม่ใช่แค่วัตถุอย่างเดียว ต้องมีศีล มีมิตรดีด้วย จึงจะทำให้ทุกอย่างดี ใน ธรรมมิกสูตร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ ข้อ ๗๐) พระพุทธเจ้าตรัสว่าศีลดีจะทำให้ดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ฝนลมฟ้าอากาศดี พืชพันธุ์ธัญญาหารจะดี ดินน้ำลมไฟดี การมีศีลและมีมิตรดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ จะทำอะไรก็ตามก็ต้องมีศีลจึงจะเจริญได้ ศีลคือการลดกิเลส ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เบียดเบียน ตัวเอง คนอื่น สัตว์อื่น และเป็นประโยชน์ต่อตนเอง คนอื่น สัตว์อื่น

ปฏิบัติศีลให้ดี จะส่งผลให้พืชแข็งแรง พืชแข็งแรงแมลงก็จะไม่มากิน ก็เหมือนกับคนที่แข็งแรง คนอื่นก็ไม่กล้ามารังแก เพราะมีธาตุมีพลังงานที่ทำให้ศัตรูไม่มารังแก ในทางตรงกันข้าม ถ้าปฏิบัติศีลไม่ดี จะมีวิบากร้าย เช่น มีแมลงมากิน มีโรคระบาด ผลผลิตไม่มีคุณภาพเป็นต้น

๖. มิตรดี คือ พลังความดีของหมู่มิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี คือพลังแห่งความพ้นทุกข์ เป็นพลังสนิทานที่เหนี่ยวนำกันและกัน เหนี่ยวนำไปสู่สิ่งดี เหนี่ยวนำไปสู่สิ่งสุข ตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มิตรดีสหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของการปฏิบัติธรรมสู่ความพ้นทุกข์ (พระไตรปิฏกเล่ม ๑๙ ข้อ ๕) มิตรดีก็จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน น้ำใจและมิตรไมตรีของมิตรดีสหายดี คือหัวใจของความอยู่รอดปลอดภัย คือหัวใจของความอยู่เย็นเป็นสุข คือความเจริญที่แท้จริงของมนุษยชาติ เป็นพลังกุศลที่ส่งผลให้เราดีขึ้นในทุกภพทุกชาติ รวยความดีรวยมิตรดีเป็นความรวยที่มีคุณค่าและผาสุกที่สุดในโลก ความผาสุกมั่นคงที่แท้จริง ไม่ใช่การกอบโกยความมั่งคั่งร่ำรวย ในทรัพย์สมบัติวัตถุข้าวของต่าง ๆ ความผาสุกที่แท้จริง คือ การพึ่งตนในปัจจัย ๔ คือการให้ การเสียสละ การแบ่งปัน การมีความดี การมีมิตรดี นี่คือความผาสุกมั่นคงที่แท้จริงของมนุษยขาติ แม้เราไม่ได้ร่ำรวยเงินทอง แต่เราก็ร่ำรวยอาหารการกินไร้สารพิษ ร่ำรวยมิตรดี สหายดี ร่ำรวยความผาสุก ร่ำรวยความอยู่เย็นเป็นสุข นี่คือความร่ำรวยที่แท้จริง จุดหมายปลายทางของกสิกรรมไร้สารพิษ คือเป็นผู้ให้ ไม่ใช่ผู้เอา พึ่งตนและแบ่งปันเพื่อมวลมนุษยชาติ เป็นการให้ ให้แล้วคิดที่จะไม่เอาอะไรจากใครให้ได้

ความร่ำรวยที่แท้จริงคือ น้ำใจ ความยากจนที่แท้จริง คือ แล้งน้ำใจ รวยความดี รวยมิตรดี รวยปัจจัย ๔ คือ ความรวยที่มั่นคงยั่งยืนที่สุดในโลก ชีวิตเรา แม้ไม่ต้องมีอะไรมากมาย เราก็มีความสุขได้ กสิกรรมไร้สารพิษ ไม่รวยแต่รอด เป็นคนจนมหัศจรรย์ แบ่งปันตลอดกาล

  • จบการบรรยายช่วงเวลา ๑๑.๓๐ น. ฉันเพล/รับประทานอาหาร โดยอาหารที่ทางชุมชนภูผาฟ้าน้ำเตรียมมาในวันนี้เป็นอาหารมังสวิรัติ จากพืชผักผลไม้ไร้สารพิษในชุมชนและเครือข่ายพี่น้องจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมภาคเหนือ ในระว่างพักรับประทานอาหารก็มีวีดิทัศน์เกี่ยวกับชุมชนภูผาฟ้าน้ำให้ชมด้วย
  • ๑๒.๓๐ น. – ๑๔.๑๕ น. กิจกรรม ปลูกข้าวเดือนแม่เกี่ยวเดือนพ่ออ.หมอเขียว พาผู้เข้าร่วมอบรมไปแปลงนาที่ชื่อแปลงเลี้ยงง่าย ถอนกล้าดำนาในนาเล็ก บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนานทั้งผู้เข้าร่วมอบรม พระอาจารย์ คณาจารย์ นิสิตทั้งสงฆ์และฆราวาส พี่น้องชาวค่าย ร่วมกันถอนกล้าดำนามีทั้งมืออาชีพและมือสมัครใจ
  • ๑๔.๒๐ น. เป็นช่วงเวลาเรียนรู้ผักป่า  สองข้างทางระหว่างเดินเท้าไปดูฝายชะลอน้ำ อ.หมอเขียวแนะนำผักป่าหลายชนิด เช่น
    • ดาวดอย (ปืนนกไส้) มีสรรพคุณ แก้อักเสบเป็นหลัก แก้ติดเชื่อในทางเดินหายใจส่วนบน กินสดได้ ต้มกินน้ำได้ เอาไปต้มแล้วสูดดมได้ เกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ ดาวดอยแก้ได้ดี
    • อ่อมแซบป่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่ากินได้ ส่วนใหญ่อ่อมแซบป่าคนจะถางทิ้ง อ่อมแซบป่าเกิดเก่งมาก เขามีฤทธิ์เย็น ถอนพิษร้อนดีมาก วันก่อนอาจารย์กินอาหารที่มีรสจัดเกินไปแล้วปวดท้อง กินอ่อมแซบป่าหายอย่างรวดเร็ว แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดีมาก กินสดกับน้ำพริก ต้มกินก็ได้ ทำเป็นปุ๋ยได้
    • ผักปราบหญ้าปราบใบแหลม มีฤทธิ์เย็น ถอนพิษร้อน แก้ไข้ แก้อักเสบ
    • สาบเสือ เป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็นอยู่ในตัว มีความเด่นพิเศษในการแก้แผล แก้อักเสบ เคี้ยวใบสาบเสือแปะห้ามเลือด สมานแผล
  • ๑๔.๓๐ น. เรียนรู้ฝายชะลอน้ำทำไมต้องทำฝายชะลอน้ำ? ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่านตรัสไว้ว่า การทำฝายชะลอน้ำหรือแก้มลิง จะเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นการบริหารจัดการน้ำที่ดี ถ้าให้ดี ทำตั้งแต่ต้นน้ำ ทำฝายชะลอน้ำเป็นระยะ ๆ เมืองไทยก็ไม่ขาดน้ำ 

ปกติน้ำไหลทางเดียว ก็จะพุ่งแรง กระแสน้ำจะแรง หากมีน้ำป่าไหลหลากไม่มีการชะลอมันก็พุ่งไปเลย แต่ถ้าเราทำฝายชะลอน้ำจะทำให้กระแสน้ำลดความแรงลง การทำฝายชะลอน้ำทำได้สองแบบคือ

  1. การทำฝายชะลอน้ำด้วยการเบี่ยงสายน้ำเดิม สายน้ำเดิมอยู่ตรงไหนเราก็ทำเบี่ยงไปนิดนึง
  2. สายน้ำเดิมก็มี เสร็จแล้วเราก็ทำฝายชะลอน้ำข้าง ๆ พอเราทำฝายชะลอน้ำข้างๆ มันจะเกิดอะไรขึ้น  เวลามวลน้ำใหญ่มา มันจะมาปะทะมวลน้ำที่มีอยู่แล้ว หรือมันยังไม่ปะทะก็ตาม สมมุติไม่มีน้ำเลย มันก็จะสะสมน้ำก่อนจนเต็มน้ำถึงจะไหลไปได้ พอมีน้ำมวลใหญ่มาก็จะมาชนกับน้ำในฝายชะลอน้ำ หรือแก้มลิงของเรา เมื่อน้ำมาชนกับฝายก็จะอ่อนกำลังลง น้ำอ่อนกำลังลงก้จะไม่ไหลไปรุนแรง

ในประเทศไทยถ้าต่างคนต่างงช่วยกันทำฝายชะลอน้ำแก้มลิง แต่ละที่ทำคนละเล็กละน้อย ทำแก้มลิง

ไปคนละที่ ๆ จากภาคเหนือถึงภาคกลาง ถ้าทำฝายชะลอน้ำคนละเล็กคนละน้อย ใครทำได้ก็ทำ หน่วยงานราชการก็ตาม ประชาชนก็ตาม ถ้าทำฝายชะลอน้ำได้มาก มันก็จะชะลอไปเรื่อยๆ มวลใหญ่มากมาชนก็จะชะลอและไหลไป น้ำอ่อนแรงแล้วค่อยไหลไป ต่างฝ่ายต่างชะลอน้ำเก็บไว้ น้ำก็ไม่ท่วม น้ำจำนวนมากก็ไม่ท่วมที่ใดที่หนึ่ง เหมือนกับแบ่งน้ำกัน แต่ละบ้านเก็บน้ำไว้ น้ำก็ไม่รวมกันที่เดียวที่หนักเกินไป  เป็นการแบ่งกัน  แล้วทีนี้ก็มีประโยชน์อะไรต่อก็ได้เก็บน้ำไว้ใช้ จะมีน้ำใต้ดินและน้ำที่ซึมไว้ข้างๆ

  • ๑๕.๐๐ น. เรียนรู้ไฟแดด ปัญหาทุกวันนี้ก็คือ น้ำมันแพง แก๊สแพง ไฟฟ้าแพง ฟืนก็หายาก ทางชุมชนภูผาฟ้าน้ำก็คิดว่าจะทำอย่างไรเพราะพลังงานแพงหมดเลยก็เลยให้ทีมงานศึกษาหาความรู้เรื่องไฟแดด ไฟแดดมีหลายระบบ ที่นี่ใช้ 15 กิโลวัตต์, 10 กิโลวัตต์, 5 กิโลวัตต์ จริงๆ ที่เราใช้อยู่ตอนนี้คือไฟแดดทั้งหมด ถ้าไฟหลวงดับเราก็อยู่ได้ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะที่นี่สายไฟแรงสูงของการไฟฟ้าจะอยู่ใกล้กับต้นไม้ใหญ่ เรียกว่าล้มทับประจำเลยงานเราสะดุดตลอด แล้วเราก็เป็นคนจน เราต้องพึ่งตนให้หมด เพื่อความมั่นคงในการใช้พลังงานของเราเอง  เพื่อความประหยัดด้วย เราเน้นที่จะถ่ายทอดความรู้ออกไป 24 ชั่วโมง เราก็เลยคิดว่ายังไงเราก็ต้องพึ่งตนด้านไฟแดดให้ได้
  • ๑๕.๓๐ น. รศ. ดร. เทพประวิณ จันทร์แรง เป็นตัวแทนคณาจารย์กล่าวสรุปขอบคุณ 

“วันนี้รู้สึกประทับใจมากๆ เหมือนกับมาศึกษาดูงาน มาทำความเข้าใจ มาเรียนรู้ที่ชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ต้องขอกราบขอบพระคุณ อ.หมอเขียวและทีมงาน ที่ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งเกี่ยวกับการทำนา ที่ได้ลงไปดำนาด้วย ทำให้เราได้เรียนรู้การดำนา วิถีชีวิตของความเป็นชาวนา ได้ไปดำนาแล้วก็รู้สึกประทับใจและก็เข้าใจเกี่ยวกับระบบของการปลูกข้าว การทำนาจะขาดไม่ได้คือน้ำ หลังจากที่ อ.หมอเขียวพาไปดำนาเรียบร้อย ก็พาไปดูระบบน้ำที่ฝายน้ำล้น พูดถึงเรื่องการกักเก็บน้ำ แล้วก็พาไปดูเรื่องสมุนไพร เห็นอาจารย์หมอเขียวเด็ดใบไม้ต้นไม้ต่างๆ ก็นึกถึงหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่ไปเรียนที่ตักศิลา แล้วอาจารย์บอกว่าให้ไปดูว่าต้นไม้ต้นไหนไม่ใช่สมุนไพรให้เอากลับมาปรากฏว่าท่านกลับมามือเปล่า ทุกต้นไม้เป็นยาสมุนไพร อ.หมอเขียว พาไปดูทั้ง ดิน น้ำ ลม แล้วมาจบที่ไฟแดด ครบวงจร ภูผาฟ้าน้ำ มีทั้งองค์ความรู้ ดิน  น้ำ ลม ไฟ สมุนไพรแล้วก็พืช ต้นข้าวด้วย ขอกราบขอบพระคุณ อ.หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน และทีมงานทุกๆท่าน ที่ได้เมตตาให้องค์ความรู้กับคณะคณาจารย์และนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในวันนี้”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมแพทย์วิถีธรรมวันที่ ๑๐-๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมแพทย์วิถีธรรมวันที่ ๑๐-๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้มี ๓ ข่าว แพทย์วิถีธรรม รวมพลังฟื้นฟูบวรราชธานีอโศก ด้วยกสิกรรมไร้สารพิษ แบบนาเล็ก แพทย์วิถีธรรม...

กิจกรรมแพทย์วิถีธรรมวันที่  ๒๖ พ.ย – ๒ ธันวาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมแพทย์วิถีธรรมวันที่  ๒๖ พ.ย – ๒ ธันวาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้มี ๓ ข่าว แพทย์วิถีธรรม รวมพลังจัดงานสัมมนาปรัชญากับวิถีชีวิตร่วมสมัย  แพทย์วิถีธรรม ร่วมกอบกู้ฟื้นฟูบ้านราช ...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๒๘ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๒๘ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้มี ๔ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ค่ายสุขภาพและกสิกรรมไร้สารพิษ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง รุ่น ๔...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๑๕ – ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๑๕ – ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้มี ๕ ข่าว แพทย์วิถีธรรม ร่วมงานตักบาตรเทโว ที่บวรลานนาอโศก  ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๘ – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๘ – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้มี ๔ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  โรงบุญอาหารมังสวิรัติ ๑๓ ตุลาคม...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๑ – ๗ ตุลาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๑ – ๗ ตุลาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้มี ๔ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  รวมพลังแก้ปัญหา พายุเข้า น้ำป่าไหลหลากภูผาฟ้าน้ำ...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๑๐ – ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำวันที่ ๑๐ – ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้มี ๓ ข่าว กสิกรรมไร้สารพิษ ทำแนวกันนกแปลงสันโดษ ปรับซ่อมถนนด้วยบล็อกปูน พึ่งตน เรียบง่าย ไตล์ พวธ.  พลังงานไฟแดด...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ๒๗ สิงหาคม – ๒ กันยายน ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ๒๗ สิงหาคม – ๒ กันยายน ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้ มี ๓ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  ค่ายสุขภาพและกสิกรรมไร้สารพิษวิถีธรรม รุ่น ๒...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๖ – ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๖ – ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้ มี ๕ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  โรงบุญอาหารมังสวิรัติวันแม่แห่งชาติ...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม – ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม – ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้ มี ๔ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  กสิกรรมไร้สารพิษ บำเพ็ญทำนาเล็ก-ถอนกล้า-ดำนา...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๙ – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๙ – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้ มี ๕ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  จิตอาสาแพทย์วิถีธรรม บำเพ็ญติดตั้งชุดไฟแดด...

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๒ – ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕

กิจกรรมชุมชนภูผาฟ้าน้ำ วันที่ ๒ – ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕

สัปดาห์นี้ มี ๔ ข่าว ท่านสมณะและญาติธรรม บวรลานนาอโศก เยี่ยมเยียนชุมชนภูผาฟ้าน้ำ  นิสิตพุทธศาสนา ป.เอก มจร.เชียงใหม่...