อาการภาวะร้อนเกิน เช่น ไอ มีเสมหะ ไข้ขึ้นสูง เป็นต้น วัดอุณหภูมิได้เลยว่าร้อนหรือเปล่า วัดแบบปรอทหรือแบบยิงเลเซอร์ ถ้าร่างกายร้อน 37.5 c ชัดเจนว่า โควิด19 เป็นร้อนเกิน
HIV(เอดส์) เวลาเชื้อลงก็เป็นร้อนเกิน หนองเต็มตัว (ฟังต่อ)
ช่วงที่ 1
ช่วงที่ 2
ควรปรับสมดุลร้อนเย็นให้เป็น เช่น การลดทานเนื้อสัตว์ที่มีกรด ใช้ถั่วแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น ถั่วหลากหลายชนิด ควรทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็นให้มาก
- ลด.. โปรตีน ไขมัน พืชผัก ผลไม้ = ฤทธิ์ร้อน
- เพิ่ม..โปรตีน ไขมัน พืชผัก ผลไม้ = ฤทธิ์เย็น
คุณลักษณะของสมุนไพร ผลไม้ ผัก หรืออาหารที่มีฤทธิ์ร้อน และฤทธิ์เย็น
ลักษณะที่เป็นฤทธิ์ร้อนหมายถึง
สมุนไพร ผลไม้ ผัก หรืออาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้ว ดื่มน้ำตามจะรู้สึกสดชื่นขึ้น และเพิ่มอาการไม่สบายจากการกระทบอากาศร้อน ลดอาการไม่สบายจากการกระทบอากาศเย็น
ลักษณะที่เป็นฤทธิ์เย็นหมายถึง
สมุนไพร ผลไม้ ผัก หรืออาหาร เมื่อกินเข้าไปแล้ว ดื่มน้ำตามจะรู้สึกรสของน้ำจืดกว่าปกติ และเพิ่มอาการไม่สบายจากการกระทบอากาศเย็น ลดอาการไม่สบายจากการกระทบอากาศร้อน
เทคนิค 9 ข้อ ของการพึ่งตนในการดูแลสุขภาพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล
- กัวซาหรือขูดซาหรือขูดพิษหรือขูดลม
- การสวนล้างลำไส้ใหญ่ (ดีทอกซ์)
- การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร
- การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน คือเมื่อใช้แล้วรู้สึกสบาย
- การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ที่ถูกต้อง
- การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย
- ใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด
- รู้เพียร รู้พักให้พอดี
- พัฒนา=สร้างแหล่งอาหารไร้สารพิษเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนอาหาร ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคง ซื้อเขาอาจปนโรคและสารพิษ ใช่ว่ามีเงินแล้วจะได้ของปลอดภัย
- ถอนพิษร้อนให้เป็นก็จะสามารถยับยั้ง COVID-19 ได้
- สามารถสร้างภูมิต้านทานเองได้
ตามหลักแพทย์วิถีธรรมพบว่า อาการเจ็บป่วยแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
(1) กลุ่มอาการของภาวะร่างกายร้อนเกิน
ตัวอย่างอาการของภาวะร้อนเกิน อาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะร้อนเกิน ได้แก่ ปากคอแห้ง กระหายน้ำ ปวด บวม แดง ร้อน ตึง แข็ง มึน ชา แผลพุพอง ผื่น คัน ปัสสาวะเข้มปริมาณน้อย อุจจาระแข็ง กำลังตก ชีพจรเต้นแรง ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด การติดเชื้อตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น
เมื่อมีภาวะร้อนเกิน ให้แก้ด้วยการใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย
(2) กลุ่มอาการของภาวะร่างกายเย็นเกิน
ตัวอย่างอาการภาวะเย็นเกิน อาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะเย็นเกิน ได้แก่ ปากคอชุ่ม ไม่กระหายน้ำ รสของน้ำจืดผิดปกติ ปวด เหี่ยว ซีด เย็น ตึง แข็ง มึน ชา ท้องอืด หัวตื้อ มืดเย็น เท้าเย็น หนาวสั่น ปัสสาวะใสปริมาณมาก อุจจาระเหลว กำลังตก ชีพจรเต้นเบา
ถ้ามีภาวะเย็นเกิน ให้แก้ด้วยการใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นเท่าที่รู้สึกสบาย
(3) กลุ่มอาการของภาวะร่างกายร้อนเกินและเย็นเกิน เกิดขึ้นพร้อมกัน
ตัวอย่างอาการร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน มีไข้สูง ร่วมกับเย็นมือ เย็นเท้าหรือหนาวสั่น ปวดศีรษะ ตัวร้อนร่วมกับท้องอืด ในร่างกายมีบางส่วน ปวด บวม แดง ร้อน บางส่วน ปวด เหี่ยว ซีด เย็น เป็นต้น
วิธีแก้ทั้งภาวะร้อนและเย็นเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็น โดยผ่านไฟหรือกดน้ำร้อนใส่หรืออาจผสม สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นสดเท่าที่รู้สึกสบาย
(4) กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายร้อนเกินตีกลับเป็นอาการเย็นเกิน (เย็นหลอก)
กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายร้อนเกินตีกลับเป็นอาการเย็นเกิน (เย็นหลอก) คือ ต้นเหตุจากร้อนแต่มีสภาพตีกลับจนเกิดอาการเย็นเกิน เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม แต่พอใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็น เพราะต้นเหตุเกิดจากร้อน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง(พระไตรปิฎก เล่มที่ 25 ข้อ 59) ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข (พระไตรปิฏก เล่มที่ 25 ข้อ 33) จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าพบว่า การดับทุกข์ที่ต้นเหตุจะทำให้ทุกข์ดับและเกิดความสุขขึ้น
(5) กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายเย็นเกินตีกลับเป็นอาการร้อนเกิน (ร้อนหลอก)
กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายเย็นเกินตีกลับเป็นอาการร้อนเกิน (ร้อนหลอก) คือ ต้นเหตุจากเย็นแต่มีสภาพตีกลับจนเกิดอาการร้อนเกิน เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม แต่พอใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน เพราะต้นเหตุเกิดจากเย็น การดับทุกข์ที่ต้นเหตุจะทำให้ทุกข์ดับและเกิดความสุขขึ้น
ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
ประธานมูลนิธิแพทย์วิถีธรรมแห่งประเทศไทย