ผักพายเป็นผักฤทธิ์ร้อนดับร้อน
ตาลปัตรฤๅษี (ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnocharis flava (L.) Buchenau) หรือ ผักพาย หรือ ผักคันจอง ของอีสาน มีชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ บอนจีน นางกวัก หรือ ตาลปัตรยายชี เป็นไม้น้ำ เป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง ลำต้นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น บางครั้งมีไหลสั้น ๆ จำนวนมาก
ชื่ออื่น ๆ : ผักคันจอง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) คันช้อน (นครราชสีมา) นางกวัก บัวค้วก บัวลอย ตาลปัตรยายชี บอนจีน ผักพาย ผักตบใบพาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ชอบอาศัยอยู่ในน้ำ สูง 30-50 เซนติเมตร อวบน้ำ ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ๆ ใต้ดิน มีไหลสั้น ๆ มีน้ำยางสีขาวที่ก้านและใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม. กว้าง 12 ซม. มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาวประมาณ 30 ซม. ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยม แผ่นใบใหญ่และแผ่นคล้ายใบ ตาลปัตรดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อย ประมาณ 1.5 ซม.
สรรพคุณของผักพาย
- ใบ ช่วยเจริญอาหาร และป้องกันไข้หัวลม
- ใบอ่อน ก้านใบอ่อน ช่อดอก เป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริก ลาบ
- ทั้งต้น เป็นอาหารสัตว์ และทำปุ๋ย
- ช่วยให้เจริญอาหาร
- ป้องกันไข้หัวลม ลดไข้
คุณค่าทางอาหาร
ผักตาลปัตรฤๅษี 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 0.8 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 501 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม
แหล่งข้อมูล