กะเพรามีฤทธิ์ร้อน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
สรรพคุณของกะเพรา
- ใบหรือทั้งต้น ใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว
- ใบรสเผ็ดร้อน ต้มเอาน้ำดื่มเป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้จุกเสียด แก้ลมตานซาง แก้คลื่นเหียนอาเจียน น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน
- น้ำคั้นจากใบใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน รักษาหูด หยอดหูแก้อาการปวดหู
- ใบแห้งใช้ชงดื่มกับน้ำแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- น้ำมันจากใบใช้เป็นยาฆ่ายุงได้ซึ่งมีฤทธิ์ได้นาน 2 ชั่วโมง หรือไล่แมลงวันทอง
- บดเป็นยานัตถุ์ แก้คัดจมูก
- ยาชงหรือน้ำต้มใบใช้แก้ตับอักเสบและบำรุงธาตุสำหรับเด็ก
- ดอกรสเผ็ดร้อน ผสมกับน้ำผึ้งรับประทานแก้หลอดลมอักเสบ
- เมล็ดรสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ และไตอักเสบ, เมื่อนำเมล็ดไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาวใช้พอกบริเวณตาเมื่อฝุ่นละอองเข้าตาหรือตามีผง และจะไม่ทำให้ตาช้ำ
- รากรสเผ็ดร้อน ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับเหงื่อในคนไข้โรคมาลาเรีย แก้ธาตุพิการ
- ทั้งห้าหรือทุกส่วนของต้น เป็นยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังหลอดบุตร ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
- แก้คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
ใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทาน
เด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ
ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัม
ภายนอก เด็กอ่อน ใบสด 10 ใบ
วิธีใช้
- ยาภายใน
- เด็กอ่อน – ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อนเพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
- ผู้ใหญ่ – ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ
- คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ
- ยาภายนอก
- ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้
- กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว
- ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด
ใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อย ๆ หลังคลอดใหม่ ๆ - เป็นยารักษากลากเกลื้อน
ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย - เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง
ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด ๆ - เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง
ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้ - เป็นยารักษาหูด
ใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด
ข้อควรระวัง: น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง- อย่าให้เข้าตา
- ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก