ดิบมีฤทธิ์เย็น สุกมีฤทธิ์ร้อน
- กล้วยดิบ กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก มีฤทธิ์เย็น
- กล้วยหอม กล้วยไข่ มีฤทธิ์ร้อน
กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ ปลูกและหาซื้อได้ไม่ยาก อุดมไปด้วยเส้นใย กากอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และวิตามินซี
กล้วยนั้นมีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากกว่าแอปเปิ้ลถึง 2 เท่า การกินกล้วยจะให้ผลดีที่สุดคือกินตอนเช้า เพราะจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดี และการกินกล้วยทุกวัน วันละ 2 ผลถือเป็นสิ่งที่ดีมาก ไม่ว่าจะกล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าก็ได้ทั้งนั้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ
สรรพคุณของกล้วย
ส่วนที่ใช้ : หัวปลี เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบ
- ราก – แก้ขัดเบา
- ต้น – ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
- ใบ – รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
- ยางจากใบ – ห้ามเลือด สมานแผล
- ผล – รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
- กล้วยน้ำว้าดิบ – มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
- กล้วยน้ำว้าสุกงอม – เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
- หัวปลี – (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- ขับน้ำนม – ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อย ๆ หลังคลอดใหม่ ๆ
- แก้ท้องเดินท้องเสีย
ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 – 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง
สรรพคุณเด่น :
- แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
1. แก้โรคกระเพาะ – นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยหักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
2. แก้ท้องผูก – ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
3. แก้ท้องเดิน – ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน- แก้อาการท้องเสียได้ กล้วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย
- แป้งจากผลกล้วยออกฤทธิ์สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อเมือกในทางเดินอาหาร และเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้มีการฟื้นตัวของเซลล์เยื่อบุ นอกจากนี้ยังมีผลกระตุ้นการสร้าง macrophage อันส่งผลให้การรักษาแผลหายเร็วขึ้น
- กล้วยรักษาอาการแน่นจุกเสียดและอาการท้องเสีย
- ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน) ผลกล้วยดิบหรือผลกล้วยดิบที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง รักษาโรคหรืออาการปวดท้องจุกเสียด
- ผลกล้วยดิบหั่นบางๆ ตากแดดให้แห้งและบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานแก้ท้องเสีย
สารเคมีที่พบ :
- หัวปลี มีธาตุเหล็กมาก
- หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี Serotonin Noradrenaline และ Dopamine - ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก
- กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol
- น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin
แหล่งข้อมูลของกล้วย
- เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เว็บไซต์สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล