มะเดื่อมีฤทธิ์เย็น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนสีเขียว หรือสีเขียวในน้ำตาล กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใบบาง รูปไข่หรือรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมนหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขน ไม่หลุดร่วงง่าย ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอก มีก้านเกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งสั้นๆ ที่แตกออกจากลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ผล รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เมื่อฉีกออกจะพบเกสรเล็กๆ อยู่ภายในผล ผลสุกมีสีแดง
ชื่ออื่น : เดื่อเกลี้ยง (ภาคเหนือ มะเดื่อเกลี้ยง มะเดื่อ มะเดื่อชุมพร กูแซ เดื่อน้ำ (ภาคใต้) มะเดื่อน้ำ เดื่อเลี้ยง มะเดื่อหอม หมากเดื่อ (ภาคอีสาน) มะเดื่อดง
สรรพคุณของมะเดื่อ
- ผลดิบ : มีรสฝาด ผลดิบ ปอกเปลือกออก ควักเนื้อข้างในทิ้ง แล้วหั่นเป็นชิ้น ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง
- ช่วยสมานแผลในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร
- แก้โรคเบาหวาน
- นำมาประกอบอาหารทำเป็นยำ ลาบ หรือใส่ในแกง เช่น แกงเขียวหวาน ต้องต้มให้สุกก่อนเพราะมียาง
- ผลสุก : รับประทานสดได้ มีรสหวานและฝาด ผลสุกสีแดง เมื่อผ่าครึ่งจะมีวุ้นเหมือนเยลลี่อยู่กลางลูก สามารถรับประทานได้จนถึงเปลือก เนื้อที่สุกมีรสหวาน กลิ่นหอมคล้ายแอปเปิ้ล
- มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
- ผลอ่อน : ใช้รับประทานกับแกงบอนหรือหลามบอน(ไทลื้อ)
- ใบอ่อน : ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก (ลั้วะ)
- เปลือกต้น :
– มีรสฝาด
– รับประทานแก้ท้องร่วง
– ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี - ราก :
– เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด
– กล่อมเสมหะ และโลหิต
แหล่งข้อมูล
- เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เว็บไซต์โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน)